ผู้เขียน หัวข้อ: กรมแพทย์แผนไทย เล็งเพิ่มการผลิตแพทย์แผนไทย รองรับการเข้าสู่อาเซียน  (อ่าน 997 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9787
    • ดูรายละเอียด
  “กรมแพทย์แผนไทย” เล็งขยายกำลังการผลิตแพทย์แผนไทย เพิ่ม เชื่อไทยมีศักยภาพแข่งขันระดับอาเซียน
       
       นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมพัฒนาแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า หลังจากที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมอาเซียน นั้น เชื่อว่า ความต้องการแพทย์แผนไทยมีมากขึ้น กรมฯ จึงได้จัดทำเรื่องการเพิ่มกำลังการผลิตแพทย์แผนไทยระยะ 10 ปี เพื่อรองรับสังคมอาเซียน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างสำรวจพื้นที่ที่ต้องการกำลังแพทย์ด้านดังกล่าวตามจริง ขณะที่จำนวนแพทย์แผนไทยทั่วประเทศในปัจจุบันมีเพียง 500 คนเท่านั้น โดยจะประจำอยู่ที่ โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ทั่วประเทศ ซึ่งแพทย์จำนวนดังกล่าวนั้นได้รับการสนับสนุนงบประมาณการผลิตทั้งส่วนของ กรมฯ เงินบำรุงโรงพยาบาล และ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) แต่ในจำนวนนี้ก็ยังไม่พอ เนื่องจาก รพ.สต.มีอยู่มากถึง 9,700 แห่ง กรมฯ จึงจำเป็นต้องเร่งสำรวจความเหมาะสมของอัตรากำลัง เพื่อจะได้ประสานงานกับสถาบันการศึกษาให้เปิดเป็นคณะ หรือศาสตร์สาขาวิชา ให้นักศึกษาได้เข้ามาเรียน อย่างไรก็ตาม สธ.ไม่ได้คาดหวังว่า จะต้องกระจายกำลังด้านแพทย์แผนไทยให้ประจำอยู่ทุกตำบล แต่อาจจะสร้างเครือข่ายเข้ามาเพิ่ม เช่น รพ.สต.3-4 แห่ง อาจมีแพทย์แผนไทยประจำแค่คนเดียวก็เป็นได้
       
       “นอกจากเรื่องการสำรวจความพร้อมของพื้นที่แล้ว ยังจำเป็นต้องเดินหน้า เรื่องการส่งเสริมแนวคิดแก่นักศึกษารุ่นใหม่ด้วย ว่า แพทย์ไทยไม่ใช่หมอนวด อย่างเดียว แต่หมายถึงแพทย์ที่สามารถวินิจฉัยโรค และรักษาอาการของโรคได้ด้วยนวัตกรรมยาไทย ยาแผนโบราณ ตลอดจนประยุกต์ศาสตร์อื่นๆ เพื่อการรักษาได้ เช่น การนวดแบบฤๅษีดัดตน การนวดแก้ปวดหลัง เพื่อให้อาการอักเสบหายไป ปวดกระดูกหายไป เป็นต้น โดยหากเรียนจบระดับปริญญา กรมฯก็จะออกใบประกาศวิชาชีพให้ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในช่วงนำร่องระบบ โดยมี รพ.แพทย์แผนไทยประมาณ 9 แห่ง และมีสถานพยาบาลที่บริการฯ จากมหาวิทยาลัยเข้าร่วม อีก 3 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน สกลนคร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาราชภัฏเชียงราย ขณะที่การเรียนการสอนเกี่ยวกับศาสตร์ดังกล่าวในสถาบันอุดมศึกษานั้นมีกว่า 20 แห่ง กระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยกรมก็จะประเมินศักยภาพหลักสูตรดังกล่าวเพื่อต่อยอดโครงการการผลิต โดยมีการรายงานความสำเร็จในการเรียนการสอนแก่ รมว.สธ.ทราบเป็นระยะๆ” นพ.สุพรรณ กล่าว
   
       อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย กล่าวด้วยว่า กรมฯ ได้ส่งทีมนักวิชาการเพื่อเรียนรู้เทคนิคการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยด้านการแพทย์ในต่างประเทศ เพื่อศึกษาจุดอ่อนจุดแข็ง ซึ่งในภาพรวมนั้นประเทศไทยยังติดปัญหาเรื่องขอบรรจุตำแหน่งเป็นเป็นข้าราชการ ซึ่งทราบกันดี ว่า บุคลากร สธ.หลายคนอยู่ในฐานะลูกจ้างชั่วคราว ส่วนนี้ทำให้หลายคนไม่มันใจที่จะเข้าศึกษา เพรากังวลเรื่องความมั่นคงของหน้าที่การงาน ทั้งนี้ หาก สธ.สามารถเสนอระเบียบการจ้างงานให้อยู่ในรูปแบบลูกจ้าง สธ.แทนลูกจ้างชั่วคราวได้ เชื่อว่า อาจขยายการผลิตได้ง่ายขึ้น
       
       นพ.สุพรรณ กล่าวด้วยว่า สำหรับศาสตร์ที่จำเป็นต้องผลักดัน และเชื่อว่า จะแข่งขันในประเทศอาเซียนได้นั้น เป็นศาสตร์การนวดรักษา ซึ่งต่างจากการนวดเชิงส่งเสริมสุขภาพ หรือนวดเพื่อผ่อนคลาย ซึ่งหากพัฒนาด้านกำลังคนได้ก็ต้องได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะหากจะเร่งพัฒนาศักยภาพด้านสมุนไพร หรือยาไทยด้านเดียว ก็อาจล่าช้า ไม่ทันต่อการแข่งขันระดับนานาชาติ เพราะขณะนี้ประเทศเพื่อนบ้าน อาที เวียดนาม มีการเรียนการสอนแพทย์พื้นบ้านมานาน อีกทั้งมีการก่อตั้งกรมพัฒนาแพทย์พื้นบ้าน(Traditional Medicine) มานานกว่า 50 ปี ขณะที่ไทยก่อตั้งกรมพัฒนาแพทย์แผนไทยฯ แค่ 10 ปี เท่านั้น

ASTVผู้จัดการออนไลน์    17 เมษายน 2555