แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - story

หน้า: 1 ... 605 606 [607] 608 609 ... 651
9091
ณ ห้องประชุมกระทรวงแรงงานชั้น ๗ เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๘ พฤษภาคมนี้  ลูกจ้างชายร่างสันทัด ผิวกร้านดำ ได้ลุกขึ้นพูดอย่างทะนงตัวตามใจความข้างต้น  กลางที่ประชุมผู้ใช้แรงงานกว่า ๒๐๐คน  ที่พากันมาสัมมนาพูดคุยกันว่า   ควรหรือไม่ที่ผู้ใช้แรงงาน กว่า ๙ ล้านคน   จะยกพวกเอาประกันสุขภาพของตนออกจากระบบประกันสังคมไปอยู่ในระบบบัตรทองของฟรีจากรัฐบาล   ดังที่เอ็นจีโอกลุ่มหนึ่งกำลังเคลื่อนไหวผลักดันในทุกวันนี้

      อะไรคือเหตุผลที่ชายผู้นั้น และผู้ใช้แรงงาน กว่า ๒๐๐ คน ที่ลงมติเป็นเอกฉันท์ในภาคบ่ายว่าไม่เอาของฟรี  และยอมที่จะลงขันในอัตราโดยเฉลี่ย คนละ ๘๐๐ บาทต่อปี  เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพของพวกตนเองในระบบประกันสังคม ต่อไปอีก     ก็เป็นข้อที่ผมจะขอรายงานไปโดยลำดับดังนี้

     ระบบประกันสังคม

     ที่ประชุมวันนั้นได้ให้ข้อความคิดเป็นความหมายของระบบประกันสังคมไว้ชัดเจนก่อนว่า  เป็นระบบที่สมาชิกพร้อมจะรับผิดชอบตัวเองอยู่ก่อนแล้ว   แล้วจึงออกเงินมารวมเป็นกองทุนกลางเพื่อเป็นหลักประกันสุขภาพร่วมกันของทุกคน    ถ้าเป็นระบบของผู้ใช้แรงงานไทยก็ออกกันเฉลี่ยปีละ ๘๐๐ บาท  มีรัฐกับนายจ้างสมทบให้อีกก้อนหนึ่ง จนทุกคนก็ได้หลักประกันไปถ้วนหน้า  เช่นถ้าใครป่วยเป็นมะเร็ง โดนค่าใช้จ่ายไป ๕ แสนบาท  ก็เอาจากกองกลางนี้ได้   ทั้งๆที่เพิ่งออกเงินไปแค่ ๑๐ ปี  เป็นเงิน ๘ พันบาทเท่านั้นเอง   เป็นต้น

     การลงเงินสร้างหลักประกันร่วมกันเช่นนี้   อาจเกิดขึ้นโดยการร่วมกันซื้อกรมธรรม์ประกันสุขภาพของบริษัทเอกชนก็ได้    หรือแม้ในกรณีสวัสดิการรักษาพยาบาลฟรีของข้าราชการนั้น    พิเคราะห์ให้ลึกๆแล้วก็เป็นประกันสังคมเช่นกัน   เพราะสวัสดิการอย่างนี้คือเหตุผลสำคัญที่ดึงดูดคนให้มาทำราชการด้วยเงินเดือนต่ำได้   ส่วนต่างของเงินเดือนข้าราชการที่ต่ำกว่าตลาดนี่เอง ที่เปรียบได้เช่นเงินที่ข้าราชการได้นำมาลงขันกันไว้เป็นรายเดือน    แล้วจ่ายจริงออกมาจากกรมบัญชีกลางเมื่อมีใครเจ็บป่วย 

     ความเข้าใจเช่นนี้พิเคราะห์ให้ลึกซึ้งต่อไปอีก   ก็จะได้ความคิดต่อไปว่า คนเราถ้าอยู่โดยลำพังไม่ร่วมมืออะไรกันเลย    ก็จะเกิดหลักประกันอะไรขึ้นมาไม่ได้  ต่อเมื่อลงทุนร่วมกันเป็นสังคม  ชีวิตส่วนตนก็จะมีหลักประกันดีขึ้น    เช่นร่วมกันสร้างหลักประกันสุขภาพก็ได้  ร่วมกันสร้างเป็นความฝันหวานถ้วนหน้าทุกสองอาทิตย์สำหรับทุกคนที่ซื้อสลากกินแบ่งก็ได้   

     แม้กระทั่งการร่วมกันโดยสารรถเมล์ตอนเช้า  ไม่ว่านั่งหรือโหนอยู่ท้ายรถ ก็จ่ายตั๋ว ๗ บาทเท่ากันหมด  ซึ่งถ้าดูเฉพาะเที่ยวเช้านั้นรถคันนั้นก็กำไรเละ    แต่พอเที่ยว ๔ ทุ่ม  นั่งอยู่ ๕ คน ก็จ่าย ๗ บาทอีกเหมือนเดิม  ซึ่งถ้าดูเฉพาะเที่ยวดึกนั้นก็ถือว่าขาดทุนยับ   แต่ที่ยังเดินรถดึกได้ในราคาเดิม ก็เพราะอาศัยกำไรจากเที่ยวเช้ามาเฉลี่ยนั่นเอง   มองอย่างนี้แล้วระบบขนส่งมวลชนนี้ก็เป็นหลักประกันของการเดินทางในเมือง  ที่เราทุกคนช่วยกันสร้างไว้เหมือนกันว่า  ทุกคนมีโอกาสต้องกลับดึกได้เสมอ   จึงต้องสร้างระบบกลางเป็นประกันไว้ว่า๔ ทุ่มแล้วก็ยังกลับบ้านได้ในราคา ๗ บาทนั่นเอง

     เมื่อเข้าใจอย่างนี้แล้ว “ ประกันสังคม”  คือหลักประกันที่เกิดจากการลงทุนลงแรงร่วมกันเป็นสังคม  และจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าต่างคนต่างอยู่กันไปตามลำพัง
ระบบโรงทานสังคม

     ระบบรักษาฟรีจากงบประมาณของรัฐนี้มีมานานแล้ว   เพิ่งมาปรับขยายรักษาฟรีไปถึงทุกคนที่ไม่เป็นข้าราชการหรือลูกจ้าง รวม ๔๘ ล้านคน   เมื่อในสมัยรัฐบาลทักษิณ ๑ นี่เอง   โดยใน๖ ปีแรก  มีการเก็บค่าธรรมเนียมครั้งละ ๓๐ บาท   จนมาในปี ๒๕๕๐  ถึงได้เลิกเก็บเงิน จนเปลี่ยนฉายาจาก ๓๐ บาทรักษาทุกโรค เป็น  บัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกโรคไปในที่สุด

     จากการอภิปรายในที่ประชุมผู้ใช้แรงงานได้ปรากฏข้อมูลของระบบนี้ ขึ้นมาโดยลำดับว่า

     ๑)  ระบบนี้ครอบคลุมทั้งคนยากจนจริงประมาณ ๒๐ ล้านคน   และคนที่พอดูแลตัวเองได้กว่า ๒๐ ล้านคน

     ๒) ระบบนี้เรียกตัวเองเป็นกองทุนประกันสุขภาพ   แต่ตัวจริงไม่ได้มีรายได้อะไรนอกจากแบมือของบประมาณแผ่นดินในลักษณะเหมาจ่ายมาเทรวมกันเป็นกอง  แล้วเรียกว่ากองทุนเท่านั้น   การคิดเหมาจ่ายจะคิดเป็นรายหัว หัวละ ๑๒๐๐ บาทในปีแรกแล้วบานปลายขอเพิ่มมาเรื่อยๆ  จนเ ป็น ๒,๘๕๐ บาท/หัว ในปีนี้ และกำลังจะขออีก ๗๐๐ บาท/หัว  ในปีหน้า  เหตุเพราะเงินที่ให้ในอัตราปัจจุบันไม่พอใช้ จนโรงพยาบาลหลวงร้อยกว่าแห่งขาดทุนกว่า๕ พันล้านบาทแล้ว

     ๓) สอบถามกันต่อไปอีกพบว่า  เงินที่เหมาจากรัฐบาลนั้น รวมเงินเดือนบุคลากรด้วย,งบลงทุนด้วย, กิจกรรมพิเศษของ สปสช.ด้วย  เหลือมาเป็นค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลประชาชนจริงๆ เพียง ๖๐๐บาท/หัวเท่านั้น    ซึ่งก็หาได้พอกับค่าใช้จ่ายจริงของโรงพยาบาลแต่อย่างใดไม่  ทำให้โรงพยาบาลต้องสำรองจ่ายแล้วได้คืนไม่ครบอยู่ทุกปี   จนขาดสภาพคล่องสิ้นไขมันสิ้นทุนรอนที่เคยสะสมไว้ไปถ้วนหน้าในที่สุด

     ๔) สภาพบานปลายอย่างนี้เกิดขึ้นอย่างก้าวกระโดดเมื่อรัฐบาล ขิงได้เลิกค่าธรรมเนียม ๓๐ บาท ทำให้ผู้คนมาขอยาจากโรงพยาบาลกันมากขึ้นง่ายขึ้น   หมอทั้งหลายนั้นเมื่อถูกเอ็นจีโอพาคนไข้มาร้องเรียนฟ้องร้องมากเข้า  ก็เลยต้องสั่งตรวจประกอบการรักษาอย่างถี่ยิบไว้ก่อนเพื่อป้องกันตัว   ส่วนเตียงในทุกโรงพยาบาลก็ล้นมากขึ้น ล้นเพราะคนป่วยเรื้อรังและญาติไม่ต้องการให้นอนป่วยที่บ้านอีกต่อไป ฯลฯ 

     ๕) ด้วยภาระที่มากแต่จ่ายน้อยจ่ายยากอย่างนี้   โรงพยาบาลหลายแห่งจึงทยอยถอนตัวจากระบบบัตรทองนี้มากขึ้นทุกวัน   ทั้งโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย โรงพยาบาล กทม. โรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่  เหลือแต่โรงพยาบาลกระทรวงสาธารณะสุขที่ดิ้นไปไหนไม่ได้  ต้องรับดูแลราษฎร ๔๘ ล้านคน   ด้วยคิวคนไข้ที่ยาวเหยียด  ตั้งแต่ ตี ๕  และภาระหนักอึ้งแทบไม่มีเวลากินข้าวกินปลาที่ตกแก่หมอพยาบาลในปัจจุบันนี้

     ด้วยสภาพอย่างนี้บรรดาคุณหมอกว่า ๕ ท่าน  จึงได้แจ้งต่อที่ประชุมผู้ใช้แรงงานว่า  ของฟรีแล้วดีด้วย ในโลกนี้ไม่มีแน่นอน   แต่ฟรีแล้วได้มาตรฐานต่ำสุดโดยถ้วนหน้าแบบคอมมิวนิสต์นั้นมีแล้วในระบบบัตรทองนี้นี่เอง    ดังนั้นถ้าพวกคุณดูแลตัวเองได้ มีระบบของคุณอยู่แล้ว จะดีชั่วอย่างไร ก็เป็นเงินของคุณ อยู่ในอำนาจของคุณที่จะปรับแก้ให้ดีขึ้นได้   ก็ขออย่ามาเป็นภาระเพิ่มลงไปในระบบบัตรทองที่กำลังจะตายมิตายแหล่  และไม่มีคนจะดูแลรับผิดชอบได้อีกเลยความไม่เสมอภาค

     ต่อปัญหาที่กลุ่มเอ็นจีโอพยายามดันหลังให้ผู้ใช้แรงงานกลุ่มหนึ่งไปฟ้องศาลปกครองว่ารัฐบาลเลือกปฏิบัติไม่ให้ผู้ใช้แรงงาน ๙ ล้านคนเข้าโรงทานคือรับการรักษาฟรีในระบบบัตรทองโดยเสมอภาคกับผู้อื่นนั้น   ก็ปรากฏข้ออภิปรายโต้แย้งโดยชัดเจนดังนี้

     ๑) สำหรับข้อที่รัฐธรรมนูญระบุว่า บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในบริการสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐานนั้น    ก็หาได้หมายความว่าต้องมีระบบประกันสุขภาพระบบเดียว
อย่างเช่นที่เอ็นจีโอเข้าใจเอาเองแต่อย่างใดไม่   จะมีหลายระบบก็ได้แต่ต้องเกินมาตรฐานขั้นต่ำทุกระบบ  และทุกคนต้องเข้าถึงได้เท่านั้นเอง

     ๒) ที่ประชุมเห็นต่อไปว่า  ปัญหาความไม่เสมอภาคที่แท้จริงนั้น  น่าจะอยู่ตรงที่การให้คนที่พออยู่พอกินที่อยู่นอกระบบเงินเดือน  ไปแย่งคนจนเพื่อรับรักษาฟรีมากกว่า    ซึ่งผู้ใช้แรงงานก็จะไม่ขอยอมไปร่วมแย่งกับเขาด้วย

     การปฏิบัติต่อคนจนแร้นแค้นกับคนพอมีฐานะโดยให้การรักษาฟรีเสมอกันด้วยระบบบัตรทองเช่นนี้ต่างหาก  คือความไม่เสมอภาค ที่จะต้องแก้ไข  โดยดึงคนเหล่านี้มาเข้าสู่ระบบประกันสังคม  ไม่ใช่เอาคนในระบบประกันสังคมไปเข้าโรงทานเพิ่มขึ้นอีก

      อิสระชน
 
     “ ผมมีงานมีการทำ....ไม่ต้องการไปขอทานใคร! ”

     จากเนื้อหาที่นำเสนอกันในที่ประชุมผู้ใช้แรงงานเช่นที่ผมได้ลำดับมา  ผมจึงฟังคำกล่าวนี้

     ด้วยความซาบซึ้งและคารวะในจิตใจอิสระชนของท่านผู้พูดเป็นอย่างยิ่ง

     นี่คือ “อิสระชน” ที่เป็นอิสระจากความโลภ  รู้จักละอาย  เมื่อเห็นว่าตนเองยังพอช่วยตัวเองได้  ก็ไม่ขอเห็นแก่เล็กแก่น้อยไปแย่งโอกาสเบียดเสียดกับคนจน

     นี่คือ “อิสระชน” ที่ไม่คิดว่าชีวิตนี้ต้องอ้อนวอนเฝ้ารอของฟรี รอสินค้าประชานิยมต่างๆนานาจากรัฐหรือนักการเมือง   หรือร่วมเคลื่อนไหวกับนายหน้าค้าความจนทั่วราชอาณาจักรเช่นเอ็นจีโอปัจจุบันนี้

     นี่คือ “อิสระชน”  ที่ประกาศว่า เงินประกันสังคมคือสิทธิของผู้ใช้แรงงาน  ข้าราชการเป็นแค่ผู้จัดการและเสมียนเท่านั้น   ผู้ใช้แรงงานจะต้องเข้ามีส่วนร่วมจัดการ ตรวจสอบ และติดตามตรงนั้นตรงนี้

     คนอย่างนี้ สำนึกอย่างนี้นี่เอง  ที่ต้องเบิกบานขึ้นมากๆ ให้เต็มแผ่นดินโดยไม่จำกัดชนชั้น  ราวกับดอกไม้ร้อยชนิดร้อยสีร้อยดอก   เพื่อพาสังคมให้พ้นจากความเจ็บป่วยทางความคิดนานาที่ สิงสู่ผู้คนจนทำให้บ้านเมืองต้องตกปลักไปไหนไม่เป็น เช่นทุกวันนี้

แก้วสรร อติโพธิ

9092
ปภ.รณรงค์ 10 ปี แห่งความปลอดภัยทางถนน ตามเจตนารมณ์ขององค์การสหประชาชาติ เผยคนไทยตายจากอุบัติเหตุวันละ 25 คน คิดเป็นมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจกว่าปีละ 2.3 แสนล้านบาท ...

เมื่อวันที่ 11 พ.ค. ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ( ศปถ.) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ( ปภ.) ได้จัดงานประกาศเจตนารมณ์ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน พ.ศ 2554-2563 โดยนายวิเชียร ชวลิต ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวเปิดงานว่า ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุเฉลี่ยวันละ 25 คน คิดเป็นมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจกว่าปีละ 2.3 แสนล้านบาท หรือร้อยละ 2.8 ของจีดีพี ทั้งนี้ องค์การสหประชาชาติ ได้ประกาศให้ปี ค.ศ.2011-2020 หรือ พ.ศ.2554-2563 เป็นทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน และสนับสนุนให้มีการประกาศเจตนารมณ์พร้อมกันทุกประเทศ ในวันที่ 11 พ.ค. สำหรับเป้าหมายของประเทศไทยนั้น คือ ผลักดันให้ทุกฝ่ายร่วมกันสร้างความปลอดภัยทางถนนตามมาตรฐานสากล โดยลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนของไทยให้ต่ำกว่า 10 คนต่อแสนประชากร การจัดงานนี้เป็นจุดเริ่มต้นของทุกภาคส่วน ทั้งรัฐ เอกชน องค์กรมูลนิธิ ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนน ได้ร่วมกันลดอัตราอุบัติเหตุ และสร้างความปลอดภัยของไทยให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล 10 ปีจากนี้ ศปถ.จะมุ่งสร้างถนนทุกสายในประเทศไทย ให้เป็นถนนสายปลอดภัย

นายวิเชียร กล่าวต่อว่า สำหรับนโยบายรัฐที่รณรงค์ให้เกิดเป็นรูปธรรม อาทิ
1 ส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัย 100% โดยให้ทุกหน่วยงานมีมาตรการส่งเสริม
2 ลดพฤติกรรมเสี่ยงจากการเมาแล้วขับ
3 แก้ไขพื้นที่ที่เป็นจุดเสี่ยงทุกจุด
4 ปรับพฤติกรรมการใช้ความเร็วของผู้ขับขี่
5 สร้างมาตรฐานยานพาหนะสาธารณะปลอดภัย
6 พัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน.

ไทยรัฐออนไลน์
11 พฤษภาคม 2554


9093
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 10 พ.ค. กระทรวงสาธารณสุข ​และ จ.ตาก ​ได้ส่งหนังสือ​การ​แต่งตั้ง น.ส.พนิดา กาวิน่า พยาบาลวิชาชีพ 7 ​เป็นรอง ผอ.ด้าน​การพยาบาล​หรือหัวหน้าพยาบาล รพ.​แม่สอด จ.ตาก ​ให้ รพ.​แม่สอดทบทวน​ใหม่ ​แม้จะอ้างว่า​เป็น​การ​เลือกตั้งจากพยาบาล​และ​เจ้าหน้าที่​ทั้งหมด ​เพราะ​ผู้ที่จะดำรงตำ​แหน่งดังกล่าวต้อง​เป็นซี 8 ​เท่านั้น นางพนิดา​จึงขาดคุณสมบัติ ​ซึ่งหนังสือตีกลับนี้นับ​เป็นครั้งที่ 2 ​แล้ว ​ซึ่ง​แหล่งข่าว​เปิด​เผยว่า ​การคัดสรรมีมาตั้ง​แต่​เดือน ส.ค.53 ​โดย​ใช้​การ​เลือกตั้ง มี​ผู้​ได้รับ​การพิจารณา 3 คนคือ น.ส.พนิดา กาวิน่า พยาบาลวิชาชีพ 7 นางสุนารี ​แสนพรหม พยาบาลชำนาญ​การพิ​เศษซี 8 ​และว่าที่ ร.ต.ฉวีวรรณ ​เชาวกีระติพงษ์ พยาบาลชำนาญ​การพิ​เศษซี 8 ​แต่ผล​การ​เลือกตั้ง น.ส.พนิดามีคะ​แนนมา​เป็นอันดับ 1 จนมี​การวิพากษ์วิจารณ์กันว่ามี​การ​เกณฑ์พยาบาล​และ จนท.​ไปลงคะ​แนนตามที่มี​การชี้นำ.

​ไทย​โพสต์  11 พฤษภาคม 2554

9094
คนกินเส้นหายห่วง อย.มีมาตรการกำกับดูแลโรงงานก๋วยเตี๋ยวรอบด้าน ทั้งทางกฎหมาย การสุ่มตรวจการเฝ้าระวัง และการฝึกอบรมทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค มุ่งพัฒนาสถานที่ผลิตให้ได้ตามหลักเกณฑ์จีเอ็มพี    เพื่อผลักดันให้เป็นโรงงานต้นแบบ กรณีฝ่าฝืนกฎหมาย อย.จะดำเนินการขั้นเด็ดขาด มีโทษทั้งจำทั้งปรับ  แนะ ผู้บริโภคที่จะซื้อเส้นก๋วยเตี๋ยวมาทำอาหารเอง ควรเลือกซื้อเส้นแห้ง และเส้นก๋วยเตี๋ยวที่มีฉลากจะดีที่สุด
       
       นพ.นรังสันต์ พีรกิจ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ในฐานะที่สำนักงานคณะกรรมการ-อาหารและยา (อย.) เป็นหน่วยงานที่คุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพให้ได้บริโภคอาหารที่ ปลอดภัย คุ้มค่า และสมประโยชน์ กรณีเส้นก๋วยเตี๋ยวซึ่งเป็นอาหารที่ผู้บริโภคนิยมบริโภค และมีผู้ประกอบการ    ทั่วประเทศกว่า 160 ราย   ซึ่งอันตรายที่อาจพบในเส้นก๋วยเตี๋ยว อาทิ วัตถุเจือปนอาหารประเภทวัตถุกันเสีย หรือ  สารกันบูด ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งน้ำมันทาเส้นก๋วยเตี๋ยวที่มีสารโพลาร์เกินมาตรฐาน
       
       
       ดังนั้น เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความปลอดภัยจากการบริโภคก๋วยเตี๋ยว อย.จึงมีมาตรการทางกฎหมายเพื่อกำกับดูแลหลายมาตรการ ได้แก่ ประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร, สารโพลาร์ในน้ำมันที่ใช้ทอดหรือประกอบอาหารเพื่อจำหน่าย ฉลาก และภาชนะบรรจุ รวมทั้ง ได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดวิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร หรือจีเอ็มพี (GMP) สำหรับก๋วยเตี๋ยวและเส้นหมี่ที่ทำจากแป้งข้าวเจ้า ซึ่งประกาศฉบับใหม่นี้มีผลบังคับใช้แล้ว ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2554 และสำหรับผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้ ให้เป็นไปตามประกาศฉบับนี้ภายใน 2 ปี คือ ภายในวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2556
       
       รอง เลขาธิการฯ อย.กล่าวต่อไปว่า ขอผู้บริโภควางใจการดำเนินงานของ อย.ในการควบคุม กำกับดูแลสถานที่ผลิตก๋วยเตี๋ยว อย.มีมาตรการกำกับดูแลอย่างเข้มงวด ทั้งการสุ่มเก็บตัวอย่าง การเฝ้าระวังสถานที่ผลิตและจำหน่ายเส้นก๋วยเตี๋ยว รวมทั้งดำเนินโครงการพัฒนาสถานที่ผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวทั่วประเทศให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์จีเอ็มพี ซึ่งหากปฏิบัติได้ตามเกณฑ์ อย.จะยกระดับให้เป็นต้นแบบโรงงานเส้นก๋วยเตี๋ยว นอกจากนี้ อย.ยังจัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการเส้นก๋วยเตี๋ยว เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง
       
       
       ที่สำคัญ อย.ยังมีมาตรการทางกฎหมายร่วมด้วย โดยห้ามมิให้ผู้ใดผลิตเพื่อจำหน่ายอาหาร โดยไม่ได้รับอนุญาต กรณีฝ่าฝืน อย  จะ ดำเนินคดีตามกฎหมายจำคุก 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กรณีโรงงานผลิตก๋วยเตี๋ยวและเส้นหมี่ที่ทำจากเส้นแป้งข้าวเจ้าไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจีเอ็มพี มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และกรณีฉลากไม่เป็นไปตามกฎหมาย มีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท และเรื่องของคุณภาพเส้นก๋วยเตี๋ยว  หากตรวจพบวัตถุกันเสียเกินมาตรฐาน   มีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท
       
       รองเลขาธิการฯ อย.กล่าวในตอนท้ายว่า อย.ขอแนะวิธีการเลือกซื้อเส้นก๋วยเตี๋ยวมาทำอาหารเพื่อบริโภคควรเลือกเส้นก๋วยเตี๋ยวที่มีภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท และสังเกตฉลากที่ระบุชื่อผลิตภัณฑ์ สถานที่ผลิต วันที่ผลิตหรือ  วันหมดอายุ และส่วนประกอบที่สำคัญ เป็นต้น นอกจากนี้ ควรซื้อเส้นแห้งมาบริโภค เนื่องจากสามารถเก็บไว้  ได้นาน กรณีซื้อเส้นสดมาเพื่อบริโภค ไม่ควรเก็บไว้นาน ข้อสังเกตคือ หากเส้นสดสามารถเก็บไว้ได้นาน โดยยังคงสภาพเดิมให้พึงระวัง เนื่องจากอาจมีส่วนผสมของวัตถุกันเสียที่เกินมาตรฐาน เป็นอันตรายต่อสุขภาพ       

ASTVผู้จัดการออนไลน์    11 พฤษภาคม 2554

9095
 คณะทำงานวิชาการกลูโคซามีน เสียงแข็ง ยันผลศึกษายากลุ่มข้อเข่าเสื่อมประสิทธิผลไม่ชัดเจน ส่วนกรมบัญชีกลางจะทบทวนประกาศยกเลิกการเบิกจ่ายหรือไม่ เป็นสิทธิของหน่วยงาน
       
       วันนี้ (10 พ.ค.) ที่สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข ผู้อำนวยการ สวรส.ในฐานะรองประธานคณะทำงานวิชาการทางการแพทย์ภายใต้คณะกรรมการบริหารระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง แถลงข่าวเรื่อง คณะทำงานวิชาการทางการแพทย์ชี้แจงกระบวนการทำงานวิชาการและข้อค้นพบพร้อมหลักฐานสำคัญที่เสนอยกเลิกเบิกยากลูโคซามีน ว่า หลังจากที่กรมบัญชีกลางได้ประกาศยกเลิกการการเบิกจ่ายยากลุ่มกลูโคซามีน เมื่อวันที่ 1 ม.ค.2554 โดยได้มีคณะทำงานวิชาการฯ ศึกษาข้อมูลเพื่อนำเสนอประกอบการตัดสินใจไปนั้น จนถึงปัจจุบันได้มีข้อถกเถียงกันมาก แต่ยังคงยืนยันเหมือนเดิม ว่า การศึกษาที่เสนอให้กับกรมบัญชีกลางนั้น อ้างอิงมาจากผลงานวิจัยที่เชื่อถือได้ แต่กรมจะตัดสินใจอย่างไรจะกลับลำให้มีการเบิกจ่ายหรือไม่ก็แล้วแต่จะตัดสินใจ
       
       ด้าน นพ.สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์ เลขานุการคณะทำงานวิชาการฯ กล่าวว่า การศึกษาวิจัยได้ทำการศึกษาอย่างรอบด้าน โดยได้รวบรวมและศึกษาทบทวนเอกสารวิชาการเกี่ยวกับกลุ่มยากลูโคซามีนจากทั่วโลก และคัดเลือกงานวิจัยที่อ้างอิงได้จำนวน 134 ฉบับ โดยไม่ยอมรับงานวิจัยที่มีบริษัทยาสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง ซึ่งปรากฏว่า ยากลุ่มดังกล่าวมีประสิทธิผลไม่ชัดเจน และก่อนจะสรุปทางคณะทำงานฯ ได้ส่งรายงานไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ฯ ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู มูลนิธิโรคข้อ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) เป็นต้น ซึ่งเมื่อมีข้อโต้แย้งกลับมาก็ได้ชี้แจงกลับแล้วเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่างานวิจัยทั้งหมดเชื่อถือได้ ส่วนจะทบทวนหรือไม่นั้น ขณะนี้ยังไม่มีผลการศึกษาใหม่ๆ หากมีข้อโต้แย้งใดๆ ก็พร้อมจะพิจารณารับฟังและพิจารณาแต่ต้องมีข้อมูลทางวิชาการที่ชัดเจน
       
       ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล อนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ กล่าวว่า ข้อสรุปของการศึกษาเรื่องนี้ คือ กลูโคซามีนมีประสิทธิผลไม่ชัดเจน ซึ่งไม่ได้บอกว่าไม่มีประสิทธิผล แต่ผลลัพธ์ของการใช้ยาไม่ชัดเจน เนื่องจากจะพบว่า ข้อมูลที่สรุปว่ายาดังกล่าวมีประสิทธิผลนั้น มาจากผลการศึกษาที่มีคุณภาพแต่เป็นการนำผลงานหลายระดับมาปะปน แต่หากวิเคราะห์เฉพาะผลการศึกษาคุณภาพสูงที่มีการประเมินชัดเจนนั้น จะพบว่า กลูโคซามีนให้ผลพอๆกับการไม่ใช้ยา ขณะเดียวกันกลูโคซามีนเป็นยาที่ไม่มีความคุ้มค่า เพราะมีค่าใช้จ่ายสูงถึง 7.3 ถึง 26 เท่าของเกณฑ์มาตรฐานความคุ้มค่าในการใช้ยาของประเทศไทย
       
       “จากการทบทวนข้อมูลทั่วโลก ทั้งสหราชอาณาจักร สกอตแลนด์ สาธารณรัฐไอร์แลนด์ และสวีเดน ก็ไม่ได้แนะนำหรือไม่อนุมัติให้มีการเบิกจ่ายยาเหล่านี้ในระบบสาธารณสุขของรัฐบาล เนื่องจากพบว่า งานวิจัยที่มีคุณภาพไม่สามารถแสดงให้เห็นว่า กลูโคซามีนมีประโยชน์อย่างชัดเจนทางการแพทย์ ซึ่งสอดคล้องกับข้อสรุปของคณะทำงานฯ ของไทย”

ASTVผู้จัดการออนไลน์    10 พฤษภาคม 2554

9096
การเงินการคลังของระบบบริการสาธารณะด้านสาธารณสุข

  ถึงเวลาที่หน่วยงานภาครัฐ ต้องตรวจสอบสปสช.อย่างเข้มข้นแล้วหรือยัง?

   กระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานหลักของประเทศในการที่จะจัดการให้มีบริการสาธารณะด้านการแพทย์และสาธารณสุขแก่ประชาชนทุกคน  โดยรัฐบาลผู้บริหารประเทศต้องจัดหาสิ่งที่จำเป็นในการดำเนินการของกระทรวงสาธารณสุขดังนี้คือ

   1.งบประมาณ

   2.บุคลากร ทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติการ

   3.อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกในการทำงาน

  ทั้งนี้เพื่อให้มีบุคลากรทำงานอย่างมีคุณภาพมาตรฐาน ประชาชนได้รับความสะดวกสบาย มีความปลอดภัย  ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ

  ซึ่งบทความนี้ จะกล่าวถึงเรื่องงบประมาณที่กระทรวงสาธารณสุขได้รับจากรัฐบาลทั้งในยุคก่อนและหลังระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

1.งบประมาณก่อนระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

  ก่อนระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ งบประมาณในการดำเนินการของกระทรวงสาธารณสุข ได้รับมาจากงบประมาณแผ่นดินในการดำเนินงานทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างและพัฒนาอาคารสถานที่ จัดหาสิ่งจำเป็นในการดำเนินงาน รวมทั้งเงินเดือนให้แก่บุคลากรและข้าราชการทั้งหมด นอกจากนั้น โรงพยาบาลยังสามารถเรียกเก็บเงินจากประชาชนที่มารับการตรวจรักษาจากโรงพยาบาล (ในราคาถูก ถือว่าเป็นสวัสดิการแก่ประชาชน) เงินเหล่านี้ เรียกว่าเงินบำรุงโรงพยาบาล ซึ่งผู้บริหารโรงพยาบาลสามารถนำเอาเงินเหล่านี้ ไปใช้จ่ายหมุนเวียนในการทำงานได้ตามระเบียบของทางกระทรวงสาธารณสุข

2. งบประมาณของกระทรงวสาธารณสุขภายหลังระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ

ก่อนจะเริ่มระบบหลักประกันสุขภาพ งบประมาณแผ่นดินด้านสาธารณสุขประมาณ 64,500ล้านบาท ปัจจุบันประมาณ 200,000 ล้านบาท โดยงบประมาณด้านสาธารณสุขจะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณ 4.37% ต่อปี แต่หลังมีระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติแล้ว งบประมาณด้านสาธารณสุขจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 12 % ต่อปี และมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

โดยงบประมาณสาธารณสุขก่อนมีระบบหลักประกันสุขภาพส่วนใหญ่มากกว่า 90% เป็นงบประมาณของกระทรวงสาธารณสุข แต่หลังจากมีระบบนี้แล้ว งบประมาณของกระทรวงสาธารณสุขลดลงเหลือเพียง 30.4%ในปีพ.ศ. 2554

ทั้งนี้ เนื่องจากงบประมาณด้านสาธารณสุขส่วนใหญ่  ถูกจัดสรรผ่านไปให้สปสช. แม้แต่เงินเดือนของบุคลากร การซ่อมแซมและพัฒนาอาคารสถานที่ การจัดซื้อยาและเวชภัณฑืบางอย่าง ก็ต้องไป “ขอ” มาจากสปสช.

โดยงบประมาณค่ารักษาประชาชนตามรายหัว(จำนวน)ประชาชน เพิ่มจาก 1,202 บาทต่อคนเพิ่มเป็น 2,895 บาท หรือเพิ่มจาก 51,408 ล้านบาทในปีพ.ศ. 2545 เป็น 117,969 ล้านบาทในปีพ.ศ. 2552และจะเพิ่มขึ้นเป็น 140,000 ล้านบาทในปีพ.ศ. 2555

  หลังจากระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติผ่านไปแค่ 2 ปี จำนวนโรงพยาบาลทั้งน้อยใหญ่มีงบการเงินติดลบ (เงินบำรุง วัสดุคงคลัง ลดลง หนี้สินเพิ่มขึ้น ) พร้อมๆกับที่โรงพยาบาลจำนวนไม่น้อยปรับลดการลงทุน(ซ่อมแซม พัฒนาอาคารสถานที่ และจัดหาเครื่องมือ เทคโนโลยี) เนื่องจากไม่มีเงิน

    งบประมาณของสปสช.เพิ่มขึ้นอย่างมากมายมหาศาล  ในขณะที่โรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขก็มีตัวเลขรายงานการขาดทุนอย่างต่อเนื่อง

  ถึงแม้ว่าผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข จะได้รายงานการขาดทุนเหล่านี้ไป สปสช.ก็ไม่เพิ่มเงินให้แก่โรงพยาบาลให้สมดุลกับค่าใช้จ่ายเลย

   กระทรวงสาธารณสุขจึงได้พยายามแก้ไขปัญหาการขาดทุนเอง โดยการปรับขึ้นราคาค่าบริการโรงพยาบาลทุกชนิด เพื่อหารายได้ของโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นให้สมดุลกับต้นทุนค่าใช้จ่าย

   แต่อัตราเพิ่มเหล่านี้ ไม่สามารถเรียกเก็บได้จากสปสช. เนื่องจากสปสช.จะปฏิเสธการจ่ายเงินตามอัตราเหล่านี้  แต่จะตั้งราคากลาง ซึ่งมีอัตราต่ำกว่าต้นทุนของโรงพยาบาล

  แต่ถึงแม้สปสช.จะตั้งราคากลางไว้แล้ว เมื่อถึงเวลาจ่ายเงินให้โรงพยาบาล สปสช.ก็จะไม่จ่ายตามราคากลางที่ตนตั้งไว้ โดยอ้างว่าไม่มีเงินแล้ว

   แต่สปสช.จะแบ่งเงิน(เอาไว้ก่อนแล้ว) เพื่อเอาไปทำโครงการรักษาผู้ป่วยเอง เป็นโครงการเฉพาะเรื่องเรียกว่า Vertical Program และจ่ายเงินเหล่านี้ให้แก่โรงพยาบาลที่อยากเข้าร่วมรายการ และแบ่งไป(อ้างว่า)ไว้ “จ่ายหนี้ค้างชำระ” อีกปีละหลายหมื่นล้านบาท โดยไม่ได้เอาไปชำระหนี้ตามอ้าง  แต่เอาไปทำอย่างอื่นตามอำเภอใจของสปสช. โดยไม่จ่ายเงินที่ยังจ่ายไม่ครบให้แก่กระทรวงสาธารณสุข

ฉะนั้น ไม่ว่าสปสช.จะของบประมาณเพิ่มขึ้นตามราคารายหัวมากขึ้นเท่าใดก็ตาม โรงพยาบาลก็จะยังขาดทุนในการดำเนินงานต่อไป  แต่สปสช.จะยังมีเงินหลายหมื่นล้านไว้เงินใช้จ่ายตามโครงการที่สปสช.กำหนดทั้งๆที่ไม่ใช่หน้าที่ของสปสช.

  การกระทำของสปสช.นี้ ทำโดยการอ้างมติของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่มีกรรมการโดยตำแหน่งมากมาย ซึ่งอาจจะส่ง “ผู้แทน”เข้าประชุม ทำให้ไม่รู้เท่าทันแผนการของคณะกรรมการที่มาจากกลุ่มพวกที่อยู่เบื้องหลังเลขาธิการสปสช. จึงทำให้มีมติการประชุมออกมาตามการ “จัดการ” (manipulation) ของเลขาธิการสปสช.ได้

  และยังไม่มีหน่วยงานตรวจสอบใด สามารถตรวจสอบการกระทำอันไม่ชอบด้วยกฎหมายของสปสช.ได้

 

  แนวโน้มของงบประมาณของสปสช.ยังเพิ่มขึ้นอีกต่อไป ถ้ายังไม่มีการแก้ไขระบบให้ดีกว่านี้ โดยสปสช.จะมีอำนาจของบประมาณ มีอำนาจ “จัดสรรเงิน” และใช้เงิน  เนื่องจาก “มีเงิน” อยู่ในมือ

แต่กระทรวงสาธารณสุขซึ่งมีภาระการทำงานก็จะยังขาดเงินในการทำงานอีกอย่างต่อเนื่อง

สำหรับแนวโน้มของงบประมาณในอนาคตนั้น ก็ยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกอย่างไม่หยุดยั้ง ทั้งนี้มีเหตุผลสำคัญดังนี้คือ

1.คนไทยมีสาเหตุของปัญหาด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น มีชีวิตยืนยาวขึ้น

2. มีโรคอุบัติใหม่เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งปัญหาภัยพิบัติจากสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น

3.ประชาชนคาดหวังว่าคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จึงควรจะมีบริการด้านสุขภาพที่มีคุณภาพและครอบคลุมมากขึ้น

4. มีเทคโนโลยีทางการแพทย์และเวชภัณฑ์ใหม่ ซึ่งมีราคาสูงเกิดขึ้นตลอดเวลา สามารถช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิตได้ แต่เป็นโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้น

5.รัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณสำหรับระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติฝ่ายเดียว โดยประชาชนไม่ต้องร่วมจ่ายเลย ทำให้มีการใช้บริการด้านสาธารณสุขเพิ่มขึ้น

 

ปัญหาที่จะต้องเผชิญในอนาคต

   หากงบประมาณด้านการสาธารณสุขยังเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่าอัตราการเพิ่มงบประมาณในการพัฒนาประเทศด้านอื่น จะส่งผลถึงความยั่งยืนของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในอนาคต

ระบบการจ่ายเงินงบประมาณให้สปสช.แบบนี้ เป็นระบบที่แปลกประหลาดที่สุดสำหรับกระทรวงสาธารณสุข เพราะทำให้กระทรวงสาธารณสุขมีภาระงานที่จะต้องรับผิดชอบดำเนินการในการรักษาประชาชนแทนรัฐบาลผู้บริหารประเทศ แต่กระทรวงสาธารณสุขไม่สามารถวางแผนจัดทำงบประมาณได้เอง ไม่สามารถกำหนดงบประมาณตามภาระงานที่ต้องรับผิดชอบ และไม่ได้รับงบประมาณโดยตรงจากรัฐบาลที่มอบหมายให้ทำงาน แต่ต้องไปรับงบประมาณจากหน่วยงานอิสระที่ไม่อยู่ใต้การบังคับบัญชาของผู้บริหารสูงสุดของกระทรวงสาธารณสุข

ถ้าไม่มีการตรวจสอบที่เข้มแข็ง และรู้ทันสปสช. งบประมาณด้านสาธารณสุขของประเทศจะถูกใช้ไปอย่างไม่ถูกต้อง และไม่เกิดประโยชน์แก่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศอย่างแท้จริง

  ถึงเวลาที่หน่วยงานภาครัฐ ต้องตรวจสอบสปสช.อย่างเข้มข้นแล้วหรือยัง?

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้นการแพทย์
และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย(สผพท.)
10 พ.ค. 54

9097
โต​เกียว--10 พ.ค.--​เกียว​โด ​เจบี​เอ็น — ​เอ​เชีย​เน็ท / อิน​โฟ​เควสท์
- คาดว่าจะช่วยป้องกัน​โรคทาง​เดินอาหารอัก​เสบ​ซึ่งระบาดหนัก​ในบ้านพักคนชรา

​แผนกปฏิบัติ​การวิจัย​โปร​ไบ​โอติกของวิทยาลัย​แพทย์ศาสตร์​แห่งมหาวิทยาลัยจุน​เทน​โด (นากาตะ ซา​โตรุ, ยามาชิ​โร่ ยูอิจิ​โร่ ​และอื่นๆ) ​ได้​ทำ​การศึกษาด้วย​การ​ให้นม​เปรี้ยวผสม​โปร​ไบ​โอติก (​แบคที​เรียที่มีประ​โยชน์ต่อร่างกาย) กลุ่ม​แลค​โตบาซิลลัส คา​เซอิ สายพันธุ์ชิ​โรต้า (LcS) ​แก่​ผู้สูงอายุ​ในบ้านพักคนชรา ​และผลที่​ได้ยืนยันว่า​เครื่องดื่มดังกล่าวช่วยลด​ไข้ที่​เกิดจาก​โรคทาง​เดินอาหารอัก​เสบ​เฉียบพลัน ​ซึ่งมีสา​เหตุมาจาก​เชื้อ​โน​โร​ไวรัส

ผล​การวิ​เคราะห์​แบคที​เรีย​ในอุจจาระพบว่า ​การดื่มนม​เปรี้ยวผสม LcS ช่วย​เพิ่ม​แบคที​เรียที่มีประ​โยชน์ (​ไบฟิ​โด​แบคที​เรีย, ​แลค​โตบาซิลลัส) ช่วยลด​แบคที​เรียที่มีอันตราย (​แบคที​เรียกลุ่ม​โคลิฟอร์ม) ​และช่วย​เพิ่มกรด​ไขมันสายสั้น ​แสดง​ให้​เห็นว่า​แบคที​เรีย​ในลำ​ไส้​และสภาพลำ​ไส้ที่ดีขึ้นจะช่วยบรร​เทาอา​การของ​โรคทาง​เดินอาหารอัก​เสบ

​โน​โร​ไวรัส​เป็นสา​เหตุหลักที่​ทำ​ให้​เกิด​โรคทาง​เดินอาหารอัก​เสบ​เฉียบพลัน ​ซึ่งบางกรณีอาจมี​ความรุน​แรงมาก ​โดย​เฉพาะ​ใน​ผู้สูงอายุที่ภูมิคุ้มกันอ่อน​แอ​ทำ​ให้​เสี่ยงต่อ​การ​เกิดภาวะขาดน้ำ ​ในระยะหลัง​ไวรัสดังกล่าวระบาดอย่างหนัก​ในบ้านพักคนชราหลาย​แห่ง ​การป้องกัน​การติด​เชื้อ​จึง​เป็น​เรื่องที่ท้าทาย​ความสามารถ

ปัจจุบัน​เรามีข้อมูลน้อยมาก​เกี่ยวกับประสิทธิผลของ​โปร​ไบ​โอติกอย่าง​แลค​โตบาซิลลัส ​และ​เท่าที่​เรารู้​ก็ยัง​ไม่มีรายงาน​เกี่ยวกับ​โน​โร​ไวรัส​เลย

​การค้นพบของ​เรา​แสดง​ให้​เห็นว่า ​การ​ให้​โปร​ไบ​โอติก​เป็นอาหาร​เสริมอาจ​เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ​ใน​การป้องกัน​โรคทาง​เดินอาหารอัก​เสบ ​ซึ่งรวม​ถึง​การติด​เชื้อ​โน​โร​ไวรัส​ในบ้านพักคนชรา ​ซึ่ง​เป็นสถานที่ที่​ผู้สูงอายุที่มีภูมิคุ้มกันอ่อน​แอมาอยู่รวมกัน​เป็นกลุ่ม

ผลวิจัยนี้​ได้รับ​การ​เผย​แพร่​ในวันที่ 27 ​เมษายน 2554 ​ในวารสารวิทยาศาสตร์ British Journal of Nutrition ฉบับออน​ไลน์
1. ภูมิหลัง

​โน​โร​ไวรัส​เป็นสา​เหตุหลักของ​โรคทาง​เดินอาหารอัก​เสบ​เฉียบพลัน ​โน​โร​ไวรัสสามารถ​เข้าสู่ร่างกาย​ได้ทางปากจากนิ้วมือ​และอาหารที่มี​เชื้อ ส่งผล​ให้​เกิด​การอา​เจียน ท้อง​เสีย​และ/​หรือปวดท้อง ​เมื่อ​ไวรัส​เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวด​เร็ว​ในลำ​ไส้ ​ผู้ที่มีสุขภาพ​แข็ง​แรงอาจมีอา​การ​เพียง​เล็กน้อย​และฟื้นตัวอย่างรวด​เร็ว ​แต่สำหรับ​เด็กทารก​และ​ผู้สูงอายุที่มีภูมิคุ้มกันอ่อน​แอจะมีอา​การรุน​แรง ​และอาจ​ถึงขั้น​เสียชีวิต​เพราะ​โรคปอดบวมจาก​การสำลักอาหาร​และน้ำ​เข้าปอดหลัง​การอา​เจียน ​หรือ​เพราะ​การขาดน้ำอย่างรุน​แรง ​โดย​เฉพาะ​ในบ้านพักคนชรา​ซึ่งมี​ผู้สูงอายุที่มีภูมิคุ้มกันอ่อน​แอมาอยู่รวมกัน​เป็นกลุ่ม ​การป้องกัน​โรคติด​เชื้อต่างๆมี​ความสำคัญมาก ​แต่​การควบคุม​การติด​เชื้อ​ได้อย่างสมบูรณ์​ก็​เป็น​เรื่องยากมาก ดังนั้น​การลดอันตรายจาก​การติด​เชื้อ​ให้​เหลือน้อยที่สุด​จึงถือ​เป็น​เรื่องที่ท้าทาย​ความสามารถ

ทีมวิจัยของ​เรา​ได้ศึกษาประสิทธิผลของ​การป้องกัน​การติด​เชื้อ​โน​โร​ไวรัส ด้วย​การดื่ม​เครื่องดื่มผสม​แลค​โตบาซิลลัส (​แลค​โตบาซิลลัส คา​เซอิ สายพันธุ์ชิ​โรต้า ​หรือ LcS) ​ซึ่ง​เป็นที่รู้กันว่าช่วยป้องกัน​การติด​เชื้อ​และมีสารควบคุม​การตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน
2. รายละ​เอียด​การศึกษา

ทีมวิจัย​ได้​ทำ​การศึกษา​ใน​ผู้สูงอายุ 77 คนที่อาศัยอยู่​ในบ้านพักคนชรา (อายุ​เฉลี่ย 84 ปี) ​โดยมี​การ​แบ่ง​ผู้สูงอายุออก​เป็นสองกลุ่ม กลุ่ม​แรก​ได้รับ LcS (39 คน) ​และกลุ่มที่สอง​ไม่​ได้รับ (38 คน) กลุ่มที่​ได้รับนม​เปรี้ยวผสม LcS (หนึ่งขวดมีขนาด 80 มิลลิลิตร ประกอบด้วย LcS จำนวน 4 หมื่นล้านตัว) หนึ่งขวดทุกวัน​เป็น​เวลานาน​โดย​เริ่มตั้ง​แต่​เดือนตุลาคมปี 2549 จากนั้นมี​การตรวจสุขภาพของ​ผู้สูงอายุ​ทั้งสองกลุ่มจากประวัติสุขภาพประจำวัน ​และหากพบว่ามีอา​การท้อง​เสีย จะมี​การ​เ​ก็บตัวอย่างอุจจาระ​ไปตรวจด้วยชุดตรวจ​โน​โร​ไวรัส ผลปรากฏว่า​ผู้สูงอายุหลายคน​เริ่มติด​เชื้อ​โน​โร​ไวรัส​ในทาง​เดินอาหาร​ใน​เดือนธันวาคมปี 2549 ​แม้ว่า​ทั้งสองกลุ่มจะมีจำนวน​ผู้ติด​เชื้อ​ไม่​แตกต่างกันมากนัก ​แต่ช่วง​เวลาที่กลุ่มที่​ได้รับ LcS ​เป็น​ไข้ที่อุณหภูมิ 37 องศา​เซล​เซียส​หรือสูงกว่านั้น จะสั้นกว่ากลุ่มที่​ไม่​ได้รับ LcS

​ผู้สูงอายุ 10 คนที่อาศัยอยู่​ในสถานที่​เดียวกัน (อายุ​เฉลี่ย 83 ปี) ​ได้รับนม​เปรี้ยวผสม LcS ​แบบ​เดียวกันทุกวัน​เป็น​เวลา 2 ​เดือน ​และมี​การ​เปรียบ​เทียบ​แบคที​เรีย​ในอุจจาระก่อน​และหลัง​ได้รับนม​เปรี้ยว ผลปรากฏว่า​แบคที​เรียที่มีประ​โยชน์อย่าง​ไบฟิ​โด​แบคที​เรีย​และ​แลค​โตบาซิลลัสมีจำนวน​เพิ่มขึ้นหลังดื่มนม​เปรี้ยวผสม LcS ​ในทางตรงกันข้าม ​แบคที​เรียอันตรายอย่าง​โคลิฟอร์มมีจำนวนลดลง ขณะ​เดียวกันอัตรา​การตรวจพบ​แบคที​เรียสู​โด​โมนาส ​ซึ่งอาจก่อ​ให้​เกิด​โรคติด​เชื้อฉวย​โอกาส​และ/​หรือ​โรคติด​เชื้อ​ใน​โรงพยาบาล ​ก็ลดลง​เช่นกัน นอกจากนั้น​การดื่มนม​เปรี้ยวผสม LcS ยังช่วย​เพิ่ม​ความ​เข้มข้น​โดยรวมของกรด​ไขมันสายสั้น​ในอุจจาระด้วย
3. ​การอภิปราย​และ​ความคาดหมาย​ในอนาคต

​การศึกษาครั้งนี้​แสดง​ให้​เห็นว่า ​การดื่มนม​เปรี้ยวผสม LcS มีประสิทธิภาพ​ใน​การลด​ไข้ที่​เกิดจาก​การติด​เชื้อ​โน​โร​ไวรัส นอกจากนั้นยังช่วย​เพิ่มจำนวน​แบคที​เรียที่มีประ​โยชน์อย่าง​ไบฟิ​โด​แบคที​เรีย​และ​แลค​โตบาซิลลัส ช่วยลดจำนวน​แบคที​เรียอันตรายอย่าง​โคลิฟอร์ม​และสู​โด​โมนาส รวม​ถึงช่วย​เพิ่ม​ความ​เข้มข้นของกรด​ไขมันสายสั้น (กรดอะซิติกพื้นฐาน) ​ซึ่งกรด​ไขมันสายสั้น​ในลำ​ไส้ช่วยยับยั้ง​การ​เจริญ​เติบ​โตของ​แบคที​เรียที่ก่อ​ให้​เกิด​โรค​ในคน อาทิ ​แบคที​เรียกลุ่ม​โคลิฟอร์ม ช่วย​เพิ่มประสิทธิภาพ​การดูดซึมน้ำ​และอิ​เล็ก​โทร​ไลต์รวม​ถึง​การบีบตัวของทาง​เดินอาหาร ​และยัง​เป็น​แหล่งพลังงานสำหรับ​เซลล์​เอน​เทอ​โร​ไซต์ นอกจากนั้น​การดื่มนม​เปรี้ยวผสม LcS อย่างต่อ​เนื่องยังช่วยฟื้นฟู​เซลล์​เพชฌฆาต สรุปว่า​การดื่มนม​เปรี้ยวผสม LcS ช่วย​ให้​แบคที​เรีย​ในลำ​ไส้​และระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น ​จึงช่วย​ทำ​ให้​ไข้ลดลง

ผล​การศึกษานี้​แสดง​ให้​เห็นว่า LcS อาจ​เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ​ใน​การป้องกัน​โรคทาง​เดินอาหารอัก​เสบ ​ซึ่งรวม​ถึง​การติด​เชื้อ​โน​โร​ไวรัส ​การติด​เชื้อทาง​เดินหาย​ใจ ​และ​การติด​เชื้ออื่นๆ ​ในสถานที่ที่​ผู้สูงอายุที่มีภูมิคุ้มกันอ่อน​แอมาอยู่รวมกัน​เป็นกลุ่ม

Asianet Press Release  10 พฤษภาคม 2554

9098
องคมนตรีติง ตั้งหน่วยงานตระกูล “ส.” ต้นเหตุทำแพทย์ทะเลาะกัน พ้อไม่รู้ทำไม ล่าสุดห่วงสปสช.กับสปส.ขัดแย้ง
       
       นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษ “พระมหาบารมี 84 พรรษา กับการแพทย์ไทย” ในงานเทิดพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสพระชนมายุ 84 พรรษา และครบ 73 ปี รพ.หัวเฉียว ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับด้านการแพทย์ และการสาธารณสุขมาโดยตลอด ทรงจัดตั้งหน่วยแพทย์เพื่อลงพื้นที่ให้บริการประชาชนในถิ่นทุรกันดาร เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2508 ทรงจัดตั้งแพทย์หลวงเคลื่อนที่พระราชทาน พ.ศ.2512 ทรงจัดตั้งหน่วยแพทย์พระราชทาน พ.ศ.2513 ทรงจัดตั้งหน่วยจักษุแพทย์พระราชทาน ขณะเดียวกัน นอกจากการรักษาพยาบาลแล้วพระองค์ยังทรงให้ความสำคัญไปถึงการโภชนาการ การเจริญเติบโต รวมไปถึงการประกอบอาชีพ ดังนั้นพระองค์จึงทรงจัดตั้งสถานสงเคราะห์เด็กกำพร้า มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ และบางครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังทรงจัดการแสดงดนตรีเพื่อหาทุนมาช่วยผู้ป่วยด้วย
       
       นพ.เกษม กล่าวต่อไปว่า ในส่วนพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระมหากรุณาธิคุณมาก โดยเมื่อครั้งอหิวาตกโรคระบาดในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ.2486-2490 และ พ.ศ.2501-2502 พระองค์ทรงจัดตั้งกองทุนปราบอหิวาตกโรคขึ้นเมื่อ พ.ศ.2501 และเมื่อเกิดการระบาดของโรคโปลิโอเมื่อ พ.ศ.2495 พระองค์ก็ทรงจัดตั้งกองทุนโปลิโอ เพื่อสงเคราะห์และให้การรักษาผู้ป่วย นอกจากนี้พระองค์ทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ให้สภากาชาดไทยผลิตวัคซีนรักษาวัณโรค ทั้งยังทรงตั้งสถาบันราชประชาสมาสัยเพื่อรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อน และทรงตั้งโรงเรียนราชประชาสมาสัย เพื่อให้บุตร หลาน ของผู้ที่เป็นโรคเรื้อนแต่ยังไม่ติดโรคเรื้อนได้เข้ามาศึกษาแบบอยู่ประจำ เพื่อป้องกันการติดต่อโรคเรื้อน ซึ่งถือว่าเป็นแนวทางที่ได้รับการชื่นชมจากองค์กรอนามัยโลกว่าเป็นแนวทางที่ป้องกันการระบาดของโรคนี้ได้อย่างดี
       
       องคมนตรี กล่าวด้วยว่า ขณะเดียวกัน พระองค์ยังทรงชื่นชมในความสามัคคีของแพทย์ด้วย โดยเมื่อครั้งเสด็จฯเปิดอาคารของแพทยสมาคม ซ.ศูนย์วิจัย เมื่อ 43 ปีที่แล้ว ทรงมีพระราชดำรัสชื่นชมแพทย์ว่ามีความสามัคคีกันมาก แต่ปัจจุบันพอได้อ่านข่าวเกี่ยวกับวงการแพทย์ในปัจจุบัน กลับพบแต่ข่าวแพทย์ทะเลาะกัน โดยเฉพาะข่าวในขณะนี้ก็เป็นข่าวการทะเลาะกันของแพทย์ ในส่วนของ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กับแพทย์ของสำนักงานประกันสังคม (สปส.) และเท่าที่สังเกตหากมีหน่วยงานตระกูล ส. ตั้งขึ้นมาเมื่อใด จะมีข่าวแพทย์ออกมาทะเลาะกันทุกครั้ง ซึ่งก็ไม่รู้ว่าทำไม จากเดิมที่แพทย์ไม่ค่อยจะทะเลาะกัน ก็ทะเลาะกันมาก

ASTVผู้จัดการออนไลน์    10 พฤษภาคม 2554

9099
สธ.​เร่ง​เชื่อมระบบฐานข้อมูล​ให้​ผู้ประกันตนรักษา​ได้ทุก รพ.​ในสังกัด คาด​ได้ข้อสรุป​ทำ  MOU ร่วมกับ สปส. 1-2 สัปดาห์ "สารี" ​โต้ปลัด​แรงงานจง​ใจ​ให้ร้าย ปัด​เอา​เงิน สปส.รวมกับบัตรทอง

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่า ​การกระทรวงสาธารณสุข ​แถลงภายหลัง​การ ประชุม​ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณ สุข (สธ.) ​ถึงกรณีที่ สธ.ร่วมกับสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ​เตรียม​ความพร้อม​ใน​การ​ให้​ผู้ประ กันตน​ในระบบประกันสังคมสามารถ​เข้ารับบริ ​การทาง​การ​แพทย์​ได้ทุก​โรงพยาบาล​ในสังกัด สธ. ว่า ที่ประชุมมีข้อสรุปดังนี้ 1.​เร่งพัฒนาระบบ ฐานข้อมูล​และ​การ​เชื่อม​โยงกับฝ่ายต่างๆ ที่​เกี่ยว ข้องร่วมกัน ​เพื่อ​ให้บริ​การ​แก่​ผู้ประกันตน ​และ 2.พิจารณาทบทวน​เพิ่มค่า​ใช้จ่าย​แบบ​เหมาจ่ายรายบุคคล​ในทุกปีอย่าง​เหมาะสม  ​เพื่อ​ไม่​ให้​เกิด​การขาดทุน ​ซึ่งปัจจุบัน​เหมาจ่ายที่ 1,404 บาทต่อคน

ทั้งนี้ หากข้อตกลง​ทั้งหมด​เป็นที่ยอมรับของ​ทั้ง 2 ฝ่าย จะมี​การ​แต่งตั้งคณะ​ทำงานร่วม​และลงนาม​ในข้อตกลงร่วมกัน (MOU) ต่อ​ไป ​โดย​เบื้องต้น นพ.สม​เกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวง​แรงงาน คาดว่าจะสามารถดำ ​เนิน​การ​ให้​ได้ข้อสรุป​ใน 1-2 สัปดาห์

ด้าน น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ​โฆษกชมรมพิทักษ์สิทธิ​ผู้ประกันตน กล่าวว่า ​การที่ชมรม​เคลื่อน​ไหว​เพื่อ​ให้มี​การยก​เลิก​การร่วมจ่ายสม ทบสิทธิสุขภาพ​ในระบบประกันสังคมนั้น ​ไม่มีวัตถุประสงค์​เพื่อต้อง​การที่จะนำ​เงินของ สปส.มารวมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพ​แห่งชาติ (สปสช.) ​แต่​การที่นายสม​เกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัด​แรงงานพูด​เรื่องนี้ซ้ำๆ ​เป็น​การขยาย​ความ​เข้า​ใจผิด​ไป​เรื่อยๆ  ​ทั้งที่รู้อยู่​เต็มอกว่าข้อ​เท็จจริงคืออะ​ไร ​ซึ่งตนตระหนักดีว่านี่​เป็น​เงินสม ทบของลูกจ้างทุกคนที่​ไม่ควร​ไปรวมอยู่​ในกอง ทุน​ไหน​ทั้งสิ้น ดังนั้นขอ​ให้สบาย​ใจ​ได้ว่า ​ไม่​ใช่​การยึดกองทุน​แน่นอน วาทกรรม​แบบนี้​เป็น​การจับ​แพะมาชน​แกะ.

​ไทย​โพสต์ 10 พฤษภาคม 2554

9100
บอร์ด สปสช.เห็นชอบตั้งกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการระดับจังหวัด เปิดโอกาสให้ผู้พิการเกือบ 8 แสนคน เข้าถึงบริการด้านสุขภาพ ตั้งเป้า 12 แห่ง ภายในปี 2555
       
       วันนี้ (9  พ.ค.) นพ.วินัย สวัสดิวร  เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ให้สัมภาษณ์หลังการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ว่า  วันนี้มติบอร์ด สปสช.ได้เห็นชอบในเรื่อง “การกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพระดับจังหวัด” ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตของผู้พิการ ซึ่งขณะนี้มีคนพิการลงทะเบียนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจำนวน  795,000 ราย เพิ่มจากในปี 2548 ที่มีอยู่เพียงจำนวน  380,000 ราย ที่ผ่านมาพบปัญหาการเข้าถึงบริการของคนพิการ คือ คนพิการที่จำเป็นต้องได้รับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพหรืออุปกรณ์เครื่องช่วยจำนวนมากยังไม่ได้รับบริการทั่วถึง  เนื่องจากข้อจำกัด เช่น ระยะเวลาการพักฟื้นในโรงพยาบาล และระยะเวลาการครองเตียงสั้น ต้องกลับไปฟื้นฟูเองที่บ้าน การขาดแคลนบุคลากรด้านการฟื้นฟูในโรงพยาบาล ความยากลำบากในการเดินทาง ความร่วมมือกับหน่วยงานในท้องถิ่นยังมีไม่มาก
       
       
       นพ.วินัยกล่าวต่อว่า   ในปี 2554 สปสช.จัดสรรงบรายหัวเพื่อตั้งเป็นกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ 12 บาทต่อประชากร รวมเป็น 573.6 ล้านบาท สำหรับสนับสนุนโรงพยาบาลจัดบริการฟื้นฟูทั้งในด้านกายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด จิตบำบัด พฤติกรรมบำบัด การฟื้นฟูการได้ยิน การแก้ไขการพูด การฟื้นฟูการเห็น และมีรายการอุปกรณ์ที่เบิกจ่ายมากสุด เช่น 1.เท้าเทียมที่ต้องใส่ร่วมกับขาเทียมแบบต่างๆ 2.สายเข็มขัดเทียม 3.แป้นสายเข็มขัด 4.รถนั่งคนพิการ 5.เบ้าขาเทียมใต้เข่า 6.ไม้เท้าอะลูมิเนียมแบบสามขา 7.ไม้เท้าสำหรับคนตาบอด 8.ไม้ค้ำยันรักแร้ เป็นต้น   โดยได้นำร่องจัดตั้งกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในระดับจังหวัดตั้งแต่ปี 2552-2553  ในพื้นที่ 3 จังหวัด คือ อำนาจเจริญ อุบลราชธานี และหนองบัวลำภู เพื่อดูแลช่วยเหลือคนพิการได้อย่างครบวงจร โดยตั้งเป้าไว้ว่าจะเร่งเชิญชวนภาคท้องถิ่นให้เข้ามาร่วมกองทุนฯ ให้ได้อย่างน้อย 12 จังหวัด ภายในปีงบประมาณ 2555
       
       
       “ในเรื่องของการจัดตั้งงบประมาณนั้น  สปสช. จะสนับสนุนงบประมาณและมีการสมทบงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดและท้องถิ่นอื่น เพื่อให้กลุ่มดังกล่าวเข้าถึงบริการได้ทั่วถึง รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาระบบ รูปแบบการดูแล และสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจึงมีมติออกเป็นประกาศเพื่อการดำเนินการในระดับจังหวัดทั่วประเทศต่อไป” นพ.วินัยกล่าว

ASTVผู้จัดการออนไลน์    9 พฤษภาคม 2554

9101
สภา​เทคนิค​การ​แพทย์ ​รับรอง 11 สถาบัน ผู้​ผลิต​บัณฑิต​เทคนิค​การ​แพทย์ เพื่อใช้เป็น​ข้อมูล​ให้​นักเรียน​และ​ผู้​ปกครอง​ใช้​ใน​การ​ตัดสินใจ​เลือก​เข้า​ศึกษา​ใน​สถาบัน​ที่​ได้​รับ​การ​รับรอง​แล้ว...

รศ.​สมชาย วิริยะ​ยุทธ​กร นายก​สภา​เทคนิค​การ​แพทย์เปิดเผย​ว่า สภา​เทคนิค​การ​แพทย์​เป็น​องค์กร​วิชาชีพ​ที่​มี​อำนาจ​หน้าที่​ใน​การ​ควบคุม​ผู้​ประกอบ​วิชาชีพ​เทคนิค​การ​แพทย์​ให้​บริการ​ที่​ได้​มาตรฐาน​มี​คุณภาพ​แก่​ประชาชน​ผู้​ใช้​บริการ โดย​ผู้​ประกอบ​วิชาชีพ​เทคนิค​การ​แพทย์​ต้อง​มี​ใบ​อนุญาต​ใน​การ​ประกอบ​วิชาชีพ​เทคนิค​การ​แพทย์ ตาม พ.ร.บ.​วิชาชีพ​เทคนิค​การ​แพทย์ พ.ศ. 2547 และ​ขณะ​นี้​ทาง​สภา​เทคนิค​การ​แพทย์​ได้​ให้การ​รับรอง​สถาบัน​ผู้​ผลิต​บัณฑิต​เทคนิค​การ​แพทย์ 11 แห่ง ​เพื่อ​ประโยชน์​ใน​การ​สมัคร​เป็น​สมาชิก​ของ​สภา​เทคนิค​การ​แพทย์​ใน​การ​ขอ​ขึ้น​ทะเบียน​เป็น​ผู้​ประกอบ​วิชาชีพ​เทคนิค​การ​แพทย์ หลัง​สำเร็จ​การ​ศึกษา หลักสูตร​วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิค​การ​แพทย์) และ​เพื่อ​เป็น​ข้อมูล​ให้​นักเรียน​และ​ผู้​ปกครอง​ใช้​ใน​การ​ตัดสินใจ​เลือก​เข้า​ศึกษา​ใน​สถาบัน​ที่​ได้​รับ​การ​รับรอง​แล้ว​ได้แก่ คณะ​เทคนิค​การ​แพทย์ ม.​มหิดล, ม.​เชียงใหม่, ม.​ขอนแก่น, ม.​รังสิต, ม.​หัวเฉียว​เฉลิม​พระ​เกียรติ, คณะ​สห​เวชศาสตร์ จุฬาฯ, ม.​ธรรมศาสตร์, ม.​นเรศวร, ม.​พะเยา, สำนัก​วิชา​สห​เวชศาสตร์​และ​สาธารณสุข​ศาสตร์ ม.​วลัย​ลักษณ์, โครงการ​จัดตั้ง​คณะ​เทคนิค​การ​แพทย์ ม.​สงขลา​นครินทร์.

ไทยรัฐออนไลน์ 11 พค 2554

9102
ประชุมร่วมนัดแรก ผู้แทนสองบอร์ด "สปส.-สปสช." ไม่ได้ข้อสรุป ม.10 พ.ร.บหลักประกันสุขภาพฯ มีมติเลื่อนประชุมครั้งหน้า 9 มิ.ย. ให้แต่ละบอร์ดกลับไปทำการบ้านเสนอใหม่อีกครั้ง...

 

10 พ.ค. ที่สำนักงานประกันสังคม (สปส.) มีการประชุมร่วมผู้แทนของคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) นำโดย นายปั้น วรรณพินิจ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) และคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) นำโดย นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานคณะอนุกรรมการยุทธศาสตร์ บอร์ด สปสช. เพื่อหารือถึงประเด็นมาตรา 10 ของพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมในการให้บริการสาธารณสุขแก่ผู้ประกันตน โดยการประชุมยาวนานร่วม 2 ชั่วโมง ซึ่งบรรยากาศภายในการประชุม มีนายพนัส ไทยล้วน ประธานฝ่ายลูกจ้าง บอร์ด สปส. ไม่เห็นด้วยกับแนวทางตามมาตรา 10 โดยเกรงว่า หากนำผู้ประกันตนไปรวมอยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ บัตรทอง จะส่งผลต่อการรับบริการทั้งสิทธิประโยชน์ ความแออัดของโรงพยาบาล การได้รับบริการต่างๆ

นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานคณะอนุกรรมการยุทธศาสตร์ บอร์ด สปสช. ในฐานผู้แทนเจราจาฝ่ายบอร์ด สปสช. และยังเป็นหนึ่งในกรรมการแพทย์ บอร์ด สปส. กล่าวภายหลังประชุมว่า การประชุมครั้งนี้ มีมติให้ตนและเลขาธิการ สปส.เป็นประธานร่วมการหารือในแต่ละครั้ง ซึ่งครั้งนี้ที่ประชุมยังไม่ได้ข้อสรุปชัดเจน เนื่องจากเป็นการประชุมครั้งแรก แต่เบื้องต้นได้ข้อสรุปในหลักการ 3 เรื่อง ได้แก่ 1.การเจรจาจะต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ เน้นหลักมาตรา 10 และมาตรา 66 รวมทั้งหมายเหตุท้าย พ.ร.บ.ซึ่งมีสาระสำคัญในเรื่องการลดปัญหาสิทธิซ้ำซ้อน และการจัดทำระบบใหม่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมทั้งต้องลดค่าใช้จ่ายในการบริหาร

"ประเด็นการลดสิทธิซ้ำซ้อน ปัจจุบันไม่ใช่ปัญหามากนัก แต่จะมุ่งไปที่การเพิ่มประสิทธิภาพ ความเท่าเทียมกัน เพื่อลดปัญหาการไปรับบริการแล้วถูกถามว่าอยู่ในสิทธิใด ซึ่งไม่ถูกต้อง แพทย์ไม่ควรมีการถามถึงสิทธิ แต่ควรทำหน้าที่ในการให้บริการรักษา ขณะเดียวกันต้องมีการดำเนินการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ประกันตน และต้องให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อระบบสาธารณสุขในภาพรวมของประเทศ" นพ.วิชัย กล่าว

นพ.วิชัย กล่าวอีกว่า 2. ในการหารือเพื่อให้บรรลุตามหลักการทุกประเด็นต้องให้ได้ฉันทามติทั้งสองฝ่าย หากไม่ได้ให้รอไปก่อน และ 3. จากการหารือครั้งนี้ได้มีการหยิบยกประเด็นต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์มากในแง่ของการแสดงความคิดเห็น การแสดงความห่วงใยของทั้งสองฝ่าย ซึ่งนำไปสู่การเตรียมพร้อมในการประชุมครั้งหน้า ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 9 มิถุนายน 2554 ที่สปสช. โดยได้มอบหมายแต่ทั้งสองหน่วยงานไปทำการบ้าน เพื่อนำมาหารือในประเด็นของตน คือ สปส.มีความห่วงใยในเรื่องใดบ้างเกี่ยวกับการหารือเรื่องนี้ และ สปสช.มีความพร้อมในแง่ใดในการบริหาร อย่างไรก็ตาม แม้ครั้งนี้จะยังไม่ได้ข้อสรุปลึกซึ้ง แต่อย่างน้อยก็เป็นสัญญาณที่ดีที่ได้รับทราบความคิดเห็นของทั้งสองฝ่าย ส่วนผลจะออกมาอย่างไร ยังไม่ทราบ ทั้งหมดเป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ตามกฎหมาย หากได้รับผลลัพธ์อย่างไรต้องเสนอให้ทั้งสองบอร์ด

ส่วนจะมีประชาพิจารณ์ หรือสอบถามผู้ประกันตนหรือไม่ เรื่องนี้ยังไม่ได้หารือ ผู้สื่อข่าวถามว่า มีข้อห่วงใยในมาตรา 10 หรือไม่ นพ.วิชัย กล่าวว่า ยังไม่ได้เจาะลึกเรื่องนี้ เพียงแต่มอบหมายให้แต่ละหน่วยงานไปดำเนินการหน้าที่ของตน เพื่อเสนอในการประชุมครั้งต่อไป

ไทยรัฐออนไลน์ 11 พค 2554

9103
สปสช.จัดระบบเครือข่าย ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน ดึง 700 รพ.เข้าร่วมโครงการ เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพ...

เมื่อวันที่ 9 พ.ค. นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า โรคหลอดเลือดสมอง เป็นโรคที่ทำให้เกิดความพิการในระดับต้นๆ ซึ่งเป็นปัญหาของระบบสาธารณสุขไทย เมื่อเกิดอาการโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันแล้ว ผู้ป่วยเหล่านี้ต้องได้รับการรักษาภายใน 3 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม ในปีงบประมาณ 2553 ที่ผ่านมาพบว่ามีผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดทันเวลา มีเพียงร้อยละ 0.90 เท่านั้น ซึ่งทำให้มีอัตราการเสียชีวิตและความพิการสูงมาก จึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วน ที่ต้องมีระบบการดูแลรักษาที่ถูกต้องรวดเร็ว และมีความพร้อมจะช่วยลดความพิการและอัตราเสียชีวิตลงได้ ทั้งนี้ ที่ผ่านมา สปสช.ได้ใช้วิธีการบริหารจัดการเฉพาะสำหรับโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน โดยจัดเป็นระบบเครือข่ายบริการเพื่อให้ผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพเข้าถึงบริการได้ทันเวลา ลดภาวะแทรกซ้อน ลดอัตราการเสียชีวิตและทุพพลภาพ เพิ่มคุณภาพชีวิต

เลขาธิการ สปสช. กล่าวต่อว่า สำหรับอาการเบื้องต้น ที่แสดงถึงภาวะหลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตันเฉียบพลัน คือ มีอาการหน้าเบี้ยวข้างใดข้างหนึ่ง เมื่อบอกให้ผู้ป่วยยิ้มหรือยิงฟัน มีอาการแขนตกข้างใดข้างหนึ่ง โดยให้ผู้ป่วยยกมือยื่นตรงทั้ง 2 ข้าง เมื่อให้ผู้ป่วยลองกำมือ จะมีแรงลดลงข้างใดข้างหนึ่ง และมีการพูดผิดปกติ เมื่อมีอาการญาติติดต่อเข้ารับบริการที่ รพ.ใกล้ที่สุดก่อน ไม่ต้องเป็น รพ.ตามสิทธิ หรือติดต่อสายด่วน สปสช. 1330 ซึ่งเจ้าหน้าที่จะซักประวัติเบื้องต้น หากเข้าเกณฑ์ภาวะหลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตันเฉียบพลัน ก็จะแนะนำให้เข้ารับบริการที่ รพ.ในโครงการ และหากผู้ป่วยมีภาวะวิกฤติก็จะประสานสายด่วน 1669 ในการให้บริการรถนำส่ง รพ.

อย่างไรก็ตาม โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเป็นโรคที่ต้องได้รับการรักษาโดยการฉีดยา ละลายลิ่มเลือดทันเวลาภายใน 3 ชั่วโมง ปัจจุบันมี รพ.ทั่วประเทศเข้าร่วมกว่า 700 แห่ง เป็นโรงพยาบาลที่สามารถให้ยาละลายลิ่มเลือดได้กว่า 130 แห่ง ซึ่งสอบถามข้อมูลได้ที่สายด่วน สปสช. 1330

ไทยรัฐออนไลน์ 11 พค 2554

9104
    "ปชป.แจงอาทิตย์หน้าขรก.เบิกจ่ายยา กลูโคซามีนซัลเฟตได้แล้ว หลังเกิดปัญหาถูกตัดจากบัญชีรักษาพยาบาล พร้อมเดินหน้ากู้เงินจากโครงการบ้านหลังแรก

    นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ได้รับแจ้งจากกระทรวงการคลังว่า สัปดาห์หน้า กรมบัญชีกลาง จะแก้ไขระเบียบให้ข้าราชการให้สามารถเบิกจ่ายยา กลูโคซามีนซัลเฟต ( Glucosamine sulfate) ที่จะใช้รักษาโรคไขข้อเสื่อม ให้กับข้าราชการสูงอายุได้แล้วตั้งแต่สัปดาห์หน้า เป็นต้นไป หลังจากที่เคยมีปัญหาถูกตัดออกจากสิทธิการรักษาและมีการข้าราชการออกมาร้องเรียน

เนชั่นทันข่าว 8 พค. 2554

9105
 “จุรินทร์” เผยข้อสรุปร่วมกับประกันสังคม มอบหมายปลัด สธ.ประสานปลัด รง.เร่งพัฒนาระบบข้อมูลเชื่อมโยงเครือข่าย พร้อมทั้งพิจารณางบเหมาจ่ายรายหัวทุกปี หากข้อตกลงเป็นที่ยอมรับ พร้อมลงนามข้อตกลงในการทำงานร่วมกันต่อไป
       
       วันนี้ (9 พ.ค.) ที่กระทรวงสาธารณสุข นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมผู้บริหาร ว่า เรื่องการดำเนินการร่วมกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุขกับสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ซึ่งได้มอบหมายให้นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประสานงานกับปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานกองทุนประกันสังคม ซึ่งขณะนี้มีความคืบหน้า 3 ข้อ คือ 1.กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงแรงงาน จะพัฒนาระบบฐานข้อมูลและระบบการเชื่อมโยงฐานข้อมูลไปสู่เครือข่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมกัน เพื่อใช้เป็นฐานในการที่จะให้ผู้บริการผู้ประกันตนอย่างมีศักยภาพต่อไป
       
       2.เรื่องค่าใช้จ่ายเหมาจ่ายรายหัวซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 1,404 บาทจะมีการพิจารณาทบทวนทุกปีเพื่อให้ได้ตัวเลขที่มีความเหมาะสม และให้กระทรวงสาธารณสุขในฐานะหน่วยบริการให้บริการได้อย่างมีคุณภาพและศักยภาพเป็นอย่างดี 3.หากข้อตกลงทั้งหมดเป็นที่ยอมรับทั้ง 2 ฝ่ายจะให้มีคณะทำงานร่วมกันเพื่อดำเนินการร่างข้อตกลง เพื่อลงนามร่วมกันต่อไป ซึ่งเบื้องต้นปลัดกระทรวงแรงงานคาดว่าจะสามารถดำเนินการให้ได้ข้อสรุปภายใน 1-2 สัปดาห์
       
       ในส่วนของการเบิกจ่ายเมื่อมีผู้ประกันตนมาใช้บริการสถานพยาบาลในสังกัดของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 40 ที่ผู้ประกันตนจะมาใช้บริการ ได้มอบหมายให้กลุ่มประกันสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข เชื่อมข้อมูลกับสำนักงานประกันสังคม ซึ่งจะทราบว่ามีการใช้บริการอย่างไรบ้าง และขณะเดียวกันจะติดตามการจ่าย หากพบว่าไม่มีการจ่ายกระทรวงสาธารณสุขจะเป็นผู้กำกับให้เกิดการจ่ายร่วมกับประกันสังคม นายจุรินทร์ กล่าว

ASTVผู้จัดการออนไลน์    9 พฤษภาคม 2554

หน้า: 1 ... 605 606 [607] 608 609 ... 651