ผู้เขียน หัวข้อ: พิศลึก-แลคำ-รำลึก "คึกฤทธิ์" วิจารณ์-ต่อต้านประชาธิปัตย์ และคุณสมบัติ "อภิสิทธิ์  (อ่าน 2048 ครั้ง)

pani

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 756
    • ดูรายละเอียด
20 เมษายน 2554 วาระ 100 ปีชาตกาล วันได้รับเกียรติจากยูเนสโก ยกย่องพลตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็น "บุคคลสำคัญของโลก"

แม้ภาพของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์จะถูกมองเป็น "พวกประชาธิปัตย์" เพราะเป็น ผู้ก่อตั้งพรรค เป็นแกนนำพรรค และถูกเข้าใจว่าเป็นพวก "กษัตริย์นิยม"

แต่สถานการณ์ทางการเมืองยุคจอมพล ป. ไฉนไม่เอื้อ ทำให้ "ม.ร.ว.คึกฤทธิ์" เป็นฝ่ายเดียวกับประชาธิปัตย์ ?

จริงหรือ? ที่บทบาทการเมืองในสภาผู้แทนฯของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์สมัยนั้น สร้างวีรกรรมด้วยการอภิปรายโจมตี ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ภายใต้การนำของ "นายควง" ในที่ประชุมรัฐสภา เพราะเหตุอะไร?

จริงหรือ? ม.ร.ว.คึกฤทธิ์วิพากษ์ วิจารณ์พรรคประชาธิปัตย์อยู่เสมอ โดยหวังจะให้ประชาชนเห็นความอ่อนแอของพรรค และชี้ให้เห็นว่าประชาธิปัตย์ไม่ใช่ทางเลือกสำหรับคนไทย !!

ช่วง 2510-2514 ม.ร.ว.คึกฤทธิ์วิจารณ์รัฐบาลทั้งเรื่องภาพพจน์ การทุจริต ความล้มเหลวในการแก้ปัญหาให้คนจน ไปจนถึงราคาข้าว ?  และมีข้อเสนอเรื่อง "ราชประชาสมาศัย" ที่ถูกตีความไปไกล และนำไปสู่การแต่งตั้ง "นายกรัฐมนตรีพระราชทาน" และสมัชชาแห่งชาติขึ้นในปี 2516

ในบทความส่วนตัวของ คอลัมน์ "สยามรัฐหน้า ๕" วันที่ 31 สิงหาคม 2514 ท่านเขียนถึงประชาธิปัตย์ไว้อย่างไร?

และจริงหรือ? ที่ "ม.ร.ว.คึกฤทธิ์" และ "อภิสิทธิ์" จบการศึกษาจากสถาบันเดียวกัน?
................................
รายละเอียด

วาระที่ทั้งปัญญาชน นักคิด นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ และนักการเมืองไม่อาจไม่หวนรำลึกถึง "ม.ร.ว.คึกฤทธิ์"

ชื่อ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ปรากฏในสนามการเมืองอย่างจริงจัง ในวัย 33 ปี ในฐานะหัวหน้าพรรคก้าวหน้า ต่อด้วยการเป็นเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์

แม้ภาพของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์จะถูกมองเป็น "พวกประชาธิปัตย์" เพราะเป็น ผู้ก่อตั้งพรรค เป็นแกนนำพรรค และถูกเข้าใจว่าเป็นพวก "กษัตริย์นิยม" แต่สถานการณ์ทางการเมืองยุคจอมพล ป.ไม่เอื้อ ทำให้ "ม.ร.ว.คึกฤทธิ์" เป็นฝ่ายเดียวกับประชาธิปัตย์

แต่หลังรัฐประหาร 2494 "ม.ร.ว. คึกฤทธิ์" ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มความคิดสาย "กษัตริย์นิยม"

บทบาท การเมืองในสภาผู้แทนฯของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์นั้น ท่านสร้างวีรกรรม ตั้งแต่วัยหนุ่ม ช่วง 2491 ด้วยการอภิปรายโจมตี ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ภายใต้การนำของ "นายควง" ในที่ประชุมรัฐสภา เพราะสภาลงมติขึ้นเงินเดือนให้ตัวเอง คนละ 1,000 บาท

ในคราวนั้น เล่ากันว่า ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ได้รับความนิยม-ยกย่องจากประชาชนเป็นจำนวนมาก บางคนถึงกับนำทองคำเปลวไปติดที่ตัวของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์เลยทีเดียว

มีข้อวิเคราะห์ของสำนักข่าวต่างประเทศในเมืองไทยขณะนั้นวิเคราะห์ด้วยว่า "เขาต้องการจะเป็นนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งของเมืองไทย"

ผ่านช่วง 2492 ไม่นาน หลังจากนั้น ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ก็ถูกโดดเดี่ยว-และต้องยุติบทบาททางการเมืองไประยะหนึ่ง เพราะถูก "บีบ" ให้ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

เส้นทางการเมืองจากนั้น คึกฤทธิ์ปล่อยของ-สร้างฐานความรู้-ฐานการเมืองผ่านวรรณกรรมและคอลัมน์ส่วน ตัวผ่านหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ที่ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์จงใจประกาศวันก่อตั้งวันที่ 25 มิถุนายน 2493 ล้อกับวันการเปลี่ยน แปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475

หลังการเลือกตั้งทั่วไป 26 กุมภาพันธ์ 2500 ม.ร.ว.คึกฤทธิ์เขียนบทความในสยามรัฐว่า "...การต่อสู้นั้นต้องต่อสู้ด้วยอาวุธที่มีอยู่ไปก่อนคือปากกา เมื่อมีโอกาสที่จะต่อสู้ทางการเมืองได้ก็จะต่อสู้ต่อไปไม่ลดละ...ฉะนั้น ถ้าหากว่ามีการเลือกตั้งธรรมดาต่อไป ผมก็จะสมัคร..."

อ.สายชล สัตยานุรักษ์ วิเคราะห์ไว้ในหนังสือ "คึกฤทธิ์กับประดิษฐกรรมความเป็นไทย" ไว้ว่า ในครึ่งแรกของทศวรรษ 2510 ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ "แสดงความปรารถนาที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี ทั้งอย่างตรงไปตรงมาและโดยนัยยะ เพราะเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญของประเทศไทย"

พร้อมกันนั้น ม.ร.ว.คึกฤทธิ์วิพากษ์ วิจารณ์พรรคประชาธิปัตย์อยู่เสมอ โดยหวังจะให้ประชาชนเห็นความอ่อนแอของพรรค และชี้ให้เห็นว่าประชาธิปัตย์ไม่ใช่ทางเลือกสำหรับคนไทย ทางเลือกที่ดีที่สุดคือ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์เอง ซึ่งพร้อมจะเป็นนายกรัฐมนตรี

ช่วง 2510-2514 ม.ร.ว.คึกฤทธิ์วิจารณ์รัฐบาลทั้งเรื่องภาพพจน์ การทุจริต ความล้มเหลวในการแก้ปัญหาให้คนจน ไปจนถึงราคาข้าว และมีข้อเสนอเรื่อง "ราชประชาสมาศัย" ที่ถูกตีความไปไกล และนำไปสู่การแต่งตั้ง "นายกรัฐมนตรีพระราชทาน" และสมัชชาแห่งชาติขึ้นในปี 2516

ในทศวรรษนั้น ม.ร.ว.คึกฤทธิ์วิจารณ์ประชาธิปัตย์ ในฐานะที่เป็นอุปสรรคในการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของตนเอง สารพัด อาทิ...

"พรรคประชาธิปัตย์นั้นไม่เป็นโล้เป็นพายเอาเสียเลย..."

หรือ "พรรคประชาธิปัตย์แก่กฎหมายเสียจนน่ากลุ้มใจ จะกระดิกตัวอะไรก็กลัวผิดกฎหมายไปหมด"

"ตัวบุคคลในทีมประชาธิปัตย์ไม่ได้เรื่อง เพราะเป็นคนแก่ศีล แก่ธรรม แก่อุดมคติ แก่อุดมการณ์ จนมีแต่ลมปาก ไม่แน่ใจว่าจะทันต่อเหตุการณ์ หรือมีไหวพริบเชิงนักเลงพอที่จะต่อสู้ผู้ทุจริต หรือผู้ที่ประชาชนไม่ไว้ใจ เพื่อประโยชน์ของประชาชนได้จริงจัง"

ในบทความส่วนตัวของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ คอลัมน์ "สยามรัฐหน้า ๕" วันที่ 31 สิงหาคม 2514 ท่านเขียนถึงประชาธิปัตย์ว่า

"...ดูเรื่องราวและความแตกแยก วุ่นวายในประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นข่าวขึ้นบ่อย ๆ แล้ว พอจะสรุปได้ว่า

พรรคประชาธิปัตย์มีแต่หัวหน้าพรรค

แต่ไม่มีพรรคประชาธิปัตย์ ไม่มีผู้นำ

เพราะพรรคประชาธิปัตย์คลั่งประชาธิปไตยจนขาดระเบียบ ถือเอา แต่เสียงข้างมากเป็นเกณฑ์

ไม่มีการวางแนว (direction)

ไม่มีการนำ (leadership)

เพราะเหตุนั้นจึงขาดการคิดริเริ่ม (innitiative)

แล้วก็ยกมือนับเสียงข้างมากกันในพรรค

พรรคประชาธิปัตย์ก็เลยเละเทะทุกที

ผมไม่แน่ใจเหมือนกันว่า ถ้าหากพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาล พรรคประชาธิปัตย์จะมีเทวดากี่องค์..."

เมื่อถึงคราวที่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์เสนอตัวเป็นนายกรัฐมนตรีในระบอบประชาธิปไตย มากกว่าหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ที่ยอมรับ "ประชาธิปไตยแบบไทย" ที่มีคำจำกัดความ 6 ข้อ คือ

1.บุคคลคณะหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ควบคุมกำลังทหารของประเทศ สามารถแต่งตั้งตนเองเป็นรัฐบาลปกครองประเทศได้

2.รัฐบาลที่ตั้งขึ้นด้วยวิธีการนี้คงจะเป็นรัฐบาลต่อไป ตราบใดที่ยังมีกำลังทหารสนับสนุนอยู่

3.การเลือกตั้งผู้แทนนั้นมีอยู่ในระบอบนี้ แต่ถึงแม้ประชาชนจะเลือกพรรคการเมืองใดเข้ามาเป็นเสียงข้างมากในรัฐสภา พรรคนั้นก็ไม่สามารถที่จะตั้งรัฐบาลได้ เพราะไม่มีกำลังทหารสนับสนุน

4.ประชาชนจึงไม่มีสิทธิอันแท้จริง ที่จะตั้งรัฐบาลของตนเองด้วยวิธีใด ๆ ทั้งสิ้น

5.ประชาชนจะเปลี่ยนรัฐบาลให้ถูกใจตนเองด้วยวิธีใด ๆ ก็ไม่ได้

6.พรรคการเมืองต่าง ๆ นั้นไม่เป็นทางเลือกให้แก่ประชาชนในอันที่จะเลือกเอารัฐบาลถูกใจตนเอง

เมื่อครั้งที่ "คุณชาย" เป็นนายกรัฐมนตรี ได้รับเชิญไปปราศรัยกับสมาชิกสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ ท่านบอกว่า "กระผมไม่ใช่นายกรัฐมนตรีในอุดม การณ์"

แต่นายกรัฐมนตรีในอุดมการณ์ของ "ม.ร.ว.คึกฤทธิ์" นั้นบังเอิญคล้ายคุณสมบัติของ "อภิสิทธิ์" อาทิ

"ต้องเป็นคนหนุ่ม อายุสัก 45 ปี จะได้มีพลังกายเข้มแข็ง สู้งานได้ 18 ชั่วโมงต่อวัน ควรเป็นคนสายตาแหลมคม มีวิจารณญาณดี รู้จักวินิจฉัยสิ่ง ต่าง ๆ โดยตลอดอย่างทั่วถึงถ้วนทุก แง่มุม ทั้งในด้านที่ผลจะเกิดขึ้นภายในบ้านเมืองเอง และในความสัมพันธ์ระหว่างชาติ"

"ควรเป็นคนที่สามารถทำให้กลุ่มพลังผลักดันทุกกลุ่มพอใจได้ โดยสามารถเกลี้ยกล่อมบุคคลที่คิดจะมาจองล้างทางการเมืองให้หันมาเห็นดีเห็น ชอบด้วยได้"

"ในเวลาเดียวกัน นายกรัฐมนตรีต้องเก่งกาจในศิลปะทางการเมือง ถึงขนาดเล่นกลเรียกคะแนนเสียงมาช่วยให้ร่างพระราชบัญญัติที่สำคัญ ๆ ผ่านสภา ไปได้"

"ควรเป็นคนมีพรสวรรค์ชั้นพิเศษ มีบุคลิกที่สามารถดึงดูดใจชาวไทยส่วนใหญ่ให้เกิดศรัทธาในตัวเขา ในวิจารณญาณ และในความสุจริตของเขา โดยปราศจากข้อกังขา"

"ควรเป็นคนที่เคย ตระเวนไปทั่วโลก และอ่านมาก รู้มาก จะได้เรียนรู้ว่าสิ่งใดเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในสกลจักรวาล แล้วนำสิ่งนั้นมาปรับให้ใช้ได้ในประเทศของเรา"

"ควรมีชีวิตส่วนตัวที่สะอาด บริสุทธิ์ ไร้มลทิน และจุดอ่อนที่จะทำให้เพลี่ยงพล้ำได้ง่าย"

"และต้องเป็นคนที่รักชาติ บ้านเมือง เป็นผู้มีมนุษยธรรม และการุณยกรรมสูง มีความเข้าใจในทุกข์ยากของมนุษยชาติ"

ไม่ควรลืมว่า ทั้ง "ม.ร.ว.คึกฤทธิ์" และ "อภิสิทธิ์" จบการศึกษาจากสถาบันเดียวกัน สาขาเดียวกัน คือ Oxford Philosophy., Politics and Economics. (PPE)

ทรรศนะ-วิธีคิด และการเคลื่อนไหวทางการเมือง ผ่านการสร้าง "ญัตติสาธารณะ" ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์นั้น กลายเป็นแบบอย่าง ที่นักการเมือง- ราชนิกูลรุ่นหลังนำมาปรับใช้

อย่างน้อยก็มีคนอย่าง ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้มีสถานะเป็น "หลานน้า" ที่สร้างเครือข่ายการเมือง แทรกตัว อยู่ในวงการ-สถาบันที่เกี่ยวข้องกับประดิษฐกรรม "ความเป็นไทย"

อย่างน้อยก็มีบางพรรคการเมือง ที่ถึงกับประกาศนโยบาย แสดงตัว "ปกป้องสถาบัน"

ประชาชาติธุรกิจ
23 เมษายน พ.ศ. 2554