ผู้เขียน หัวข้อ: มติแพทยสภา : มาตรา12- ตั้ง กก.ศึกษาร่วมดูปัญหาทั้งระบบและหาทางออก  (อ่าน 2040 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9782
    • ดูรายละเอียด
แพทยสภาแถลงข่าวกรณี กฎกระทรวง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย
 
      วันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๕.๓๐น. ณ ห้องประชุมชัยนาทนเรนทร ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข  แพทยสภาได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน นำโดย ศ.คลินิก นพ.อำนาจ กุสลานันท์ นายกแพทยสภา, พญ.ประสบศรี อึ้งถาวร อุปนายกแพทยสภาคนที่ ๑, นอ.(พ) นพ.อิทธพร คณะเจริญ รองเลขาธิการแพทยสภา, นพ.บุญส่ง พัจนสุนทร และ นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ กรรมการแพทยสภา โดยมีมติจากการประชุมคณะกรรมการแพทยสภาครั้งที่ ๗/๒๕๕๔ กรณีเกี่ยวกับกฎกระทรวงเรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริกา รสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตหรือเพื่อยุติ การทรมานจากการเจ็บป่วย สรุปดังนี้

๑.แพทยสภาเห็นด้วยในหลักการของการมีกฎหมายเรื่องสิทธิปฏิเสธการรักษาของผู้ป่วย
 
๒.เพื่อรักษาผลประโยชน์และชีวิตของประชาชน แพทยสภามีความคิดเห็นเพิ่มเติมดังนี้
 
๒.๑ รายละเอียดของกฎกระทรวงบางประเด็น อาจทำให้เกิดการเสียชีวิตของผู้ป่วยโดยไม่สมควร เช่น การยุติการรักษาในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับความทรมานทางกายหรือใจ โดยที่ผู้ป่วยยังมิได้อยู่ในวาระสุดท้ายของโรคจริง
 
๒.๒ แนวทางการปฏิบัติของสำนักงานสุขภาพแห่งชาติบางประเด็น อาจเป็นการออกคำสั่งที่เกินกว่าอำนาจที่พรบ.ให้ไว้ เช่น การบัญญัติให้ผู้ประกอบวิชาชีพถอดถอน(Withdraw) การรักษาผู้ป่วย ซึ่งอาจขัดกับความเชื่อทางศาสนาของผู้ปฏิบัติงาน และอาจขัดต่อศีลธรรมหรือมโนธรรมของผู้ปฎิบัติงาน
 
คณะกรรมการแพทยสภาจึงมีความต้องการให้ทุกภาคส่วนที่ต้องรับผิดชอบชีวิตของผู้ป่วยได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข คณะแพทยศาสตร์ เจ้ากรมแพทย์ทหาร นายแพทย์ใหญ่สำนักงานตำรวจแห่งชาติสำนักการแพทย์กรุงเทพมหานคร และสำนักงานสุขภาพแห่งชาติมาร่วมกันหาแนวทางเพื่อให้ได้กฎหมายและแนวทางปฏิบัติที่เป็นประโยชน์และเกิดความปลอดภัยต่อประชาชน และเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถทำความต้องการของผู้ป่วยได้โดยไม่ส่งผลกระทบ อันไม่สมควรต่อศีลธรรมอันดีงามของสังคม
แพทยสภาจะเป็นตัวกลางในการดำเนินการเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาประชุมหารือกันต่อไป
 
สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา