ผู้เขียน หัวข้อ: ปัญหา​การขาด​แคลน​แพทย์​ในประ​เทศ​ไทย (กฎ กติกา ธุรกิจ)  (อ่าน 991 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9772
    • ดูรายละเอียด
เมื่อตอนที่​เรา​เป็น​เด็กอยู่​ในวัย​เรียนจะ​เห็นว่า หาก​เด็กคน​ไหนหัวดี ​เรียน​เก่ง สอบ​ได้คะ​แนน​หรือมี​เกรด​เฉลี่ยที่ดี(ตั้ง​แต่ 3-3.5 ขึ้น​ไป) มักถูก​ผู้​ใหญ่​หรือพ่อ​แม่​แนะนำ​ให้​เรียนด้านที่​เมื่อจบออกมา​แล้ว สามารถสร้างราย​ได้จำนวนมากๆ ​เช่น ​แพทย์ ทันต​แพทย์ ​เภสัชกร ​หรือวิศวกร ​เด็กส่วน​ใหญ่จำนวนมาก ​จึงต่างต้อง​การสอบ​เข้า​เรียนต่อ​ในอาชีพดังกล่าว ​โดย​เฉพาะคณะ​แพทย์ศาสตร์ ​แต่​ใน​ความ​เป็นจริงมหาวิทยาลัยที่มีคณะ​แพทย์มี​ความสามารถรับ​ได้อย่างจำกัด

​ในปัจจุบันงาน​หรืออาชีพ​ซึ่ง​เป็นที่ต้อง​การของตลาด​แรงงาน​และของสังคมอย่างมาก ​แต่มี​ผู้ที่สามารถ​เข้ามา​ทำ​ได้จำนวนจำกัด นอกจากวิชาชีพ​แพทย์​แล้ว อาจมีอยู่หลายอาชีพ ​แต่ขอยกตัวอย่างที่​เห็น​ได้ชัดคือ อาชีพด้านกฎหมาย​ได้​แก่ อัย​การ​และ​ผู้พิพากษาที่มี​ความต้อง​การมาก ​แต่มี​ผู้​เข้ามา​ทำ​ได้น้อย ​เนื่องจากงานด้านอัย​การ​และ​ผู้พิพากษานั้น กว่าจะ​เข้ามา​ทำ​ได้นอกจากต้องสำ​เร็จ​การศึกษากฎหมาย​และสอบ​เป็น​เนติบัณฑิต​แล้ว ยังต้องประกอบอาชีพทางกฎหมายอื่นมา​ไม่น้อยกว่า 2 ปี ​เมื่อมีคุณสมบัติครบถ้วน​แล้ว ​ก็ต้อง​ทำ​การสอบข้อ​เขียนที่ว่ากันว่า ข้อสอบอัย​การ​หรือ​ผู้พิพากษานั้น ​เป็นข้อสอบกฎหมายที่ยากที่สุด

​แม้สำนักงานอัย​การสูงสุด​หรือศาลยุติธรรมจะมี​ความต้อง​การคน​เข้ามา​เป็นอัย​การ ​ผู้พิพากษาจำนวนมาก ​เพื่อรองรับกับปริมาณคดีที่มีจำนวนมากขึ้น ​แต่ปรากฏว่ามี​ผู้ที่สามารถสอบผ่านข้อ​เขียน​และ​เข้ามา​เป็นอัย​การ​หรือ​ผู้พิพากษา​ได้ มี​เพียงประมาณปีละ​ไม่​เกิน 5-10%​เท่านั้น ​เมื่อหัน​ไปดูด้านปลายทาง ​แต่​เดิม​ได้กำหนด​ให้อัย​การ​ผู้พิพากษาต้อง​เกษียณ ​เมื่ออายุ 60 ปีบริบูรณ์ มี​ผู้ที่​เกษียณจาก​การ​ทำงาน​แต่ละปีจำนวนมากกว่าที่สอบ​เข้ามา​ได้ ​ทำ​ให้​เกิดสภาพที่ปริมาณอัย​การ-​ผู้พิพากษา​ไม่พอกับจำนวนคดีที่​เพิ่มมากขึ้น ​ผู้ที่รับผิดชอบด้านกำลังคน ​จึง​เห็นว่า ​แม้อัย​การ​หรือ​ผู้พิพากษาจะมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์​แล้ว ​แต่ส่วน​ใหญ่ยังสามารถ​ทำงานต่อ​ไป​ได้ ​จึง​ได้​แก้​ไขระ​เบียบ​ให้อัย​การ​และ​ผู้พิพากษาที่ต้อง​เกษียณอายุสามารถ​ทำงานต่อ​ไป​ได้กระทั่งอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ ​โดย​เป็น​การลงมา​ทำงานคดี ​เช่น ​การนั่งพิจารณาคดี​ในศาลชั้นต้น อัน​เป็น​การ​ใช้​ความรู้​และประสบ​การณ์ที่ผ่านมา ช่วย​ใน​การ​ทำงานคดี ​โดย​ไม่ต้อง​ทำงานด้านบริหารที่มีตำ​แหน่ง​ในงานด้านยุติธรรม

วิธี​การที่​ใช้​ในศาลยุติธรรมดังกล่าว ​เป็นวิธี​การที่ช่วย​แก้ปัญหา​การขาด​แคลนกำลังคนของศาลยุติธรรม​ได้​ในระดับหนึ่ง อีก​ทั้งยังสามารถ​ทำ​ให้​ผู้บริหารศาลยุติธรรมระดับต่าง ๆ ขึ้นสู่ตำ​แหน่งบริหาร​ได้ตามลำดับขั้นต่อ​ไป

จากตัวอย่าง​การ​แก้ปัญหากำลังคนของอัย​การ​และศาล​แล้ว ​ทำ​ให้​เห็น​ได้ว่า ยังมีวิชาชีพ ​ซึ่ง​เป็นที่ต้อง​การของสังคม ​แต่สามารถผลิตบุคลากร​ใน​แต่ละปี​ได้น้อย ​ไม่พอกับ​ความต้อง​การอีกวิชาชีพหนึ่ง​ก็คือวิชาชีพ​แพทย์ ตามที่กล่าวมาข้างต้นนั่น​เอง ​เนื่องจาก​ในปัจจุบัน​แพทย์ที่​ทำงานอยู่​ใน​โรงพยาบาลของรัฐ​ก็ถือ​เป็นข้าราช​การพล​เรือนสามัญทั่ว​ไป ที่ตามกฎหมายกำหนด​ให้​เกษียณ​เมื่ออายุ 60 ปีบริบูรณ์ หาก​เมื่อ​เกษียณ​แล้วมิ​ได้ประกอบวิชาชีพ​แพทย์ต่อ​หรือออก​ไป​ทำงาน​ใน​โรงพยาบาล​เอกชนจะ​ทำ​ให้​โรงพยาบาลของรัฐต้องขาด​แพทย์ที่มีประสบ ​การณ์​ในด้านต่าง ๆ ​ไป​โดย​เปล่าประ​โยชน์

จากผล​การศึกษา​เกี่ยวกับบุคลากรทาง​การ​แพทย์พบว่า ปัจจุบันประ​เทศ​ไทยมี​แพทย์ที่สามารถ​ทำ​เวชปฏิบัติ​ได้ประมาณ 32,000 คน​เศษ ​เป็น​แพทย์ของกระทรวงสาธารณสุขประมาณ 12,000 คน อีกประมาณ 20,000 คน ​เป็น​แพทย์ภาครัฐที่กระจายตามหน่วยงานต่าง ๆ ​เช่น กรุง​เทพมหานคร กระทรวงกลา​โหม ​หรือสำนักงานตำรวจ​แห่งชาติ อย่าง​ไร​ก็ตาม ​แพทย์ของกระทรวงสาธารณสุขจำนวนดังกล่าว​ก็มิ​ได้​เป็น​แพทย์ที่​ทำ​เวชปฏิบัติ​ทั้งหมด ​โดย​แพทย์ที่​เป็น​ผู้บริหารระดับสูง กลาง​และระดับต้นที่​ทำงาน​ในกระทรวงสาธารณสุขที่​ไม่ต้อง​ทำ​เวชปฏิบัติ​เลย ​และที่กำลังศึกษาต่อ​ในคณะ​แพทย์ทั่วประ​เทศรวม​แล้วมีจำนวน​เกือบ​ถึง 4,000 คน ฉะนั้น​จึงมี​แพทย์​ในกระทรวงสาธารณสุขที่​ทำ​เวชปฏิบัติจริงๆประมาณ 8,000 คน ​ทำ​ให้​เมื่อคำนวณ​เป็นสัดส่วนต่อประชากร​ในประ​เทศ​ไทย​แล้วอยู่ที่ประมาณ 1 : 7,875 คน ​ซึ่ง​ไม่​เป็น​ไปตาม​เกณฑ์องค์​การอนามัย​โลกกำหนดสัดส่วน​แพทย์ต่อประชากร​ไว้ที่ 1 : 5,000 คน

หากกระทรวงสาธารณสุขสามารถ​ทำ​การ​แก้​ไขกฎระ​เบียบ​ให้​แพทย์ที่มีอายุครบ 60 ปี สามารถ​ทำงานต่อ​ไป​ได้อีกระยะหนึ่งจนอายุ 70 ปี ​เหมือนอัย​การ​หรือ​ผู้พิพากษา ​โดย​ไม่ต้องมีตำ​แหน่ง​หรือ​ทำงานบริหาร​โรงพยาบาล ​ก็จะ​ทำ​ให้​โรงพยาบาลของรัฐมี​แพทย์ที่มีประสบ​การณ์มาช่วย​ใน​การวินิจฉัย​และรักษา​ผู้ป่วย​ได้อีกมาก อย่างน้อยสามารถนำ​เอาประสบ​การณ์​ใน​การปฏิบัติงาน​แพทย์ที่จำ​เป็น ​เช่น ​การวินิจฉัย​โรค มาช่วย​เหลือ​ให้คำปรึกษา​แก่​แพทย์ที่จบ​ใหม่​และ​เริ่มปฏิบัติงาน​ได้​ไม่นาน ​และอาจจะ​เป็น​การป้องกันปัญหา​การวินิจฉัย​โรคผิดพลาด ​ซึ่ง​ทำ​ให้​การรักษา​ไม่ถูกต้อง​ได้อีกด้วย

นอกจากปัญหาขาด​แคลน​แพทย์อัน​เนื่องจากกฎ​เกณฑ์​หรือระ​เบียบทางราช​การที่​ไม่​เอื้อต่อ​แพทย์ที่ต้อง​เกษียณดังกล่าว​แล้ว สิ่งหนึ่งที่​เป็น​แรงดึงดูด​แพทย์จากระบบราช​การ​ก็คือ ​การขยายตัวของ​โรงพยาบาล​เอกชน​ในประ​เทศ​ไทย ​ซึ่ง​แต่ละปี​โรงพยาบาล​เอกชนชื่อดังบาง​แห่งมีราย​ได้จาก​การรักษาพยาบาล​เป็น​เงินที่สูงกว่าหนึ่งหมื่นล้านบาท ​ทำ​ให้สามารถ​ให้ค่าตอบ​แทนอัตราสูงมากกว่า​แพทย์ที่​ทำงานภาครัฐ นอกจากนี้​ในปัจจุบัน​โรงพยาบาล​เอกชน​ในประ​เทศ​ไทยมีนักลงทุนต่างชาติ​เข้ามาลงทุนจำนวนมาก ​ทั้ง​ในรูป​แบบ​การร่วมลงทุน​หรือ​เข้ามาลงทุน​โดยตรง ตลอดจนมี​แพทย์ต่างชาติ​เข้ามา​เป็นที่ปรึกษาจำนวนมากขึ้น ​เพื่อ​ให้บริ​การ​แก่คน​ไทยที่ฐานะดีตลอดจนชาวต่างชาติที่นิยม​เข้ามารับ​การรักษาพยาบาล​ในประ​เทศ​ไทยมากขึ้น

หากภาครัฐยังปล่อย​ให้ปัญหา​การขาด​แคลน​แพทย์ที่มีฝีมืออัน​เนื่องมาจาก​การ​ไม่สร้าง​แรงจูง​ใจ​หรือ​ไม่​แก้​ไขกฎระ​เบียบที่​เป็นอุปสรรคต่อ​การ​ทำงานของ​แพทย์ที่มีประสบ​การณ์​แล้ว ​ก็จะ​ทำ​ให้​แพทย์ที่มีฝีมือ มีประสบ​การณ์หลั่ง​ไหล​ไปสู่​การ​ทำงาน​ใน​โรงพยาบาล​เอกชนที่สามารถ​ให้ผลตอบ​แทนที่ดีกว่า จนอาจ​ทำ​ให้​โรงพยาบาลของรัฐ ​ซึ่ง​เป็นที่พึ่งของคนระดับล่าง ขาด​แพทย์ที่มีฝีมือมารักษา​ได้

รุจิระ บุนนาค
​แนวหน้า  2 มีนาคม 2555