ผู้เขียน หัวข้อ: กทม.เสี่ยงน้ำท่วมทุกพื้นที่!แนะประชาชนอพยพสู่ 5 จังหวัด  (อ่าน 1191 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9759
    • ดูรายละเอียด
อาสาสมัครอิสระเตือนผู้ประสบภัย พื้นที่ กทม.ไม่มีสถานที่ไหนปลอดภัยอีกแล้ว ระบุทั่วทุกเขตเป็นเสี่ยงทั้งหมด เตรียมเสนอย้ายศูนย์พักพิงอพยพไป 5 จว.รอบนอก เตรียมเสนอ “มธ.โมเดล”เป็นต้นแบบการบริหารจัดการสำหรับอนาคต
       
       อุทกภัยครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของเมืองไทยทำให้เราได้เห็นความสับสนอลหม่านในการอพยพผู้คนจำนวนนับแสนคนเพื่อไปพักอาศัยในศูนย์พักพิงสำหรับผู้ประสบอุทกภัย ซึ่งในขณะนี้ศูนย์พักพิงหลายแห่งก็กลายเป็นแหล่งรวมผู้ประสบภัยเช่นเดียวกัน
       
       เปิดศูนย์แต่ขาดความพร้อม
       
       วิลาวัณย์ บุญอินทร์ อาสาสมัครอิสระ บอกว่า ในขณะนี้ศูนย์พักพิงหลักหลายแห่งโดยเฉพาะศูนย์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประสบปัญหาน้ำท่วมด้วยทำให้เกิดความลำบากในการอพยพผู้ประสบอุทกภัย เรื่องนี้เกิดขึ้นเพราะหลายฝ่ายไม่คาดว่าจะเกิดขึ้นในพื้นที่แห่งนี้
       
       จากการที่ได้ลงพื้นที่ทำงานมาตลอดหลังเกิดเหตุอุทกภัยในพื้นที่ภาคกลางและหลายหน่วยงานได้มีการจัดตั้งศูนย์พักพิงเพื่อรองรับผู้ประสบภัยพบว่าแต่ละแห่งขาดความพร้อมเรื่องการจัดการทั้งนี้เพราะการอพยพเข้ามาของประชาชนเป็นจำนวนมากในขณะที่ศูนย์พักพิงแต่ละแห่งเกิดขึ้นเพราะ “คำสั่งของผู้บังคับบัญชา”ของแต่ละหน่วยงานเมื่อตั้งขึ้นแล้วก็มีเจ้าหน้าที่จากหลายหน่วยงานเข้ามาทำงานร่วมกันทำให้เกิดความสับสนในการปฏิบัติหน้าที่
       
       ประการสำคัญการขาดการบริหารจัดการที่ดีก็ทำให้เกิดความไม่สะดวกในศูนย์พักพิง ต่างคนต่างทำหน้าที่กันแต่ขาดการประสานงานกันเพื่อให้การทำงานไปในทิศทางเดียวกันทำให้เกิดปัญหาชุลมุนอย่างที่เห็นอยู่ เช่นบางแห่งรับผู้อพยพได้ 100 คนแต่ปรากฏว่ามีผู้อพยพเกินจริง ขณะที่บางศูนย์เปิดรับผู้อพยพแต่กลับไม่มีผู้อพยพเข้าไปนั่นแสดงถึงการขาดการประสานงานกันของเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบแต่ละศูนย์ซึ่งควรจะมีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิด
       
       “ความจริงการเปิดศูนย์รองรับผู้อพยพของแต่ละหน่วยงานเป็นความตั้งใจที่ดีมากแต่เราก็ต้องยอมรับว่าบ้านเมืองเราไม่เคยประสบเหตุการณ์ใหญ่ๆอย่างนี้มาก่อนอาจจะทำให้ขาดประสบการร์ตรงแต่นับจากนี้ไปเชื่อว่าหากเกิดเหตุการณืในลักษณะนี้อีกเหตุการณ์ครั้งนี้จะเป็นบทเรียนที่ดี แต่ก็ภาวนาว่าอย่าให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีกเลย”
       
       ตั้งศูนย์ฯ ในพื้นที่เสี่ยง
       
       สำหรับการเปิดศูนย์รองรับผู้ประสบภัยในครั้งนี้ต้องยอมรับว่ามีบางหน่วยงานที่ทำได้ดีมาก เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ถือเป็นต้นแบบที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่งเพราะที่นี่มีการบริหารจัดการที่ดีมากๆ ในช่วงแรกๆทำได้ดีเป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่ายเพราะที่แห่งนี้มีความพร้อมทั้งความปลอดภัย มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบแต่เนื่องจากไม่คาดว่าเหตุการร์จะลุกลามมาจนเป็นอย่างที่เห็นเลยทำให้เกิดความโกลาหลขึ้น
       
       “ มธ.โมเดลจะเป็นแบบอย่างในการจัดตั้งศูนย์พักพิงสำหรับผู้ประสบเหตุภัยพิบัติทุกประเภทในอนาคตและหลายๆฝ่ายที่ทำงานด้านนี้เห็นพ้องต้องกันว่าจะนำเสนอโมเดลของที่นี่เป็นแบบอย่างในการรับมือกับภัยพิบัติในอนาคต”
       
       อย่างไรก็ตามเราต้องถอดบทเรียนจากการตั้งศูนย์พักพิงในปีนี้ให้ดีเพราะที่ผ่านมาเราได้จัดตั้งศูนย์แต่ละแห่งในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงคือเปิดในสถานที่ที่คาดว่าจะเกิดภัยพิบัติและก็อาศัยการเคลื่อนย้ายอพยพไปที่ต่างๆหากเกิดเหตุการณ์ขึ้นซึ่งไม่ใช่เรื่องดีเพราะเท่ากับเป็นการซ้ำเติมสภาพจิตใจของผู้อพยพที่ต้องคอยหวาดระแวงว่าสถานที่ที่ตั้งศูนย์ที่ตนเองอยู่นั้นปลอดภัยหรือไม่ ซึ่งในอนาคตเราควรจะหาสถานที่นอกเขตภัยพิบัติ แทนที่จะเปิดศูนย์ในพื้นที่เสี่ยง เช่นหากเกิดเหตุในพื้นที่จังหวัดใดจังหวัดหนึ่งควรจะอพยพผู้คนไปในจังหวัดรอบๆที่ไม่ประสบเหตุจะทำให้ผู้อพยพรู้สึกปลอดภัยกว่า
       
       “เหตุการณ์ในตอนนี้ต้องยอมรับว่าพื้นที่ที่ตั้งศูนย์อพยพในพื้นที่ กทม.ทั้งหมดไม่มีที่ไหนปลอดภัยอีกต่อไปพวกเราจึงได้ประชุมหารือกับหน่วยงานที่ทำงานด้านนี้เพื่อที่จะเสนอต่อรัฐบาลเพื่อจะจัดทำศูนย์พักพิงที่มีความปลอดภัยมากที่สุดคือเมื่อย้ายเข้าไปยังศูนย์แล้วมั่นใจได้ว่าจะไม่ต้องย้ายอีก โดยเสนอในจังหวัดรอบนอก กทม. 5 จังหวัด คือ นครนายก สระบุรีตอนบน ชลบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ซึ่งคาดว่าจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลแน่นอน”
       
       แนะวิธีให้ความรู้แก่ประชาชน
       
       สำหรับการแก้ไขปัญหาในอนาคตนั้น วิลาวัณย์ บอกว่า การจัดตั้งศูนย์พักพิงควรจะมีหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งมารับผิดชอบโดยตรงพร้อมกับให้ความรู้แก่ผู้นำชุมชนต่างๆเพื่อให้เขามีความรู้ในการบริหารจัดการเพราะเท่าที่ดูในปัจจุบันปรากฏว่าผู้นำชุมชนมีบทบาทมากในการช่วยเจ้าหน้าที่บริหารจัดการ ต่อไปเจ้าหน้าที่ภาครัฐจะต้องให้ความรู้แก่ประชาชนเพื่อรับมือกับภัยพิบัติทุกประเภทซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต โดยเน้นให้ประชาชนเข้าใจและเตรียมรับมือกับเหตุการณืที่ไม่คาดฝันคือ เมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีกก็ให้เตรียมตัวไปพักผ่อนคือรู้ว่าน้ำจะท่วมก็ควรจะพาคนในครอบครัวย้ายไปในพื้นที่ที่ปลอดภัยโดยถือโอกาสพักผ่อนไปด้วย ส่วนคนที่ตั้งรับไม่ทันเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นต้องกลายเป็นผู้อพยพก็จะอาศัยศูนย์พักพิงต้องเตรียมตัวให้พร้อมโดยขั้นต้นต้องช่วยเหลือตัวเองก่อน เมื่อช่วยเหลือตัวเองได้แล้วก็พร้อมที่จะช่วยเหลือคนอื่นต่อไป
       
       ส่วนพักยาวนั้นจะใช้ในกรณีที่เกิดเหตุการร์แล้วและประชาชนกลุ่มนี้ไม่สนใจที่จะไปพักผ่อน หรือพักพิง เขาก็จะมีโอกาสได้พักยาวเพราะอย่าลืมว่าในช่วงวิกฤตเช่นนี้ทุกคนต้องช่วยตัวเองและต้องไม่ทำตัวเป็นภาระของคนอื่นเพราะคน 3 กลุ่มในสังคมคือ คนป่วย คนแก่ เด็ก จะกลายเป็นภาระที่หนักอึ้งอยู่แล้วและคนสามกลุ่มนี้จะถูกช่วยเหลือก่อนแต่คนที่แข็งแรงก็ต้องพยายามช่วยเหลือตัวเองให้มากที่สุด
       
       “ความจริงไม่อยากเห็นเหตุการณ์อย่านี้อีกแต่อนาคตเป็นของไม่แน่นอนจึงควรมีการเตรียมการให้พร้อมเพื่ออนาคตจจะได้ไม่ลำบากโดยหากหน่วยงานใดคิดจะตั้งศูนย์พักพิงควรคำนึงถึงปัจจัยหลัก 2 ประการคือ
1.ต้องมีความปลอดภัยคือสถานที่ตั้งต้องอยู่ในพื้นที่ปลอด
2.ต้องใช้ระบบการบริหารจัดการแบบมืออาชีพเข้ามาช่วย
คือ ต้องจัดระบบให้ครบคือ
1.ต้องมีที่นอนที่พอเพียง
2.ต้องมีโรงครัวที่พร้อม
3. ต้องมีห้องน้ำที่ต้องมีทั้งสถานที่อาบน้ำและสถานจที่ขับถ่าย
4.ต้องมีลานเอนกประสงค์เพื่อให้ผู้อพยพได้ใช้เป็นที่พักผ่อนและสุดท้ายต้องมีสถานพยาบาลเพื่อรองรับคนเจ็บไข้ได้ป่วย ซึ่งทั้ง 5 ประการนั้นต้องทำให้ศูนย์อพยพเป็นเหมือนบ้านหรือชุมชนนั่นเอง”

ผู้จัดการ 360° รายสัปดาห์    27 ตุลาคม 2554