ผู้เขียน หัวข้อ: อัปเดตเทรนด์ศัลยกรรม เกาหลีหลบไป...ลูกครึ่งรีเทิร์น!  (อ่าน 1490 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9782
    • ดูรายละเอียด
ในรอบปีที่ผ่านมา เทรนด์ความสวยความงามแบบเกาหลีมาแรงแบบฉุดไม่อยู่จริงๆ โดยเฉพาะการแต่งเสริมเติมสวยหล่อด้วยมีดหมอหรือที่เราเรียกว่าการ “ศัลยกรรม” ซึ่งทุกวันนี้กลายเป็นเรื่องธรรมดาในสังคมที่เดินไปไหนมาไหนเชื่อได้ว่าคนที่เดินสวนกับคุณไปนั้นต้องมีใครคนใดคนหนึ่งทำศัลยกรรมอย่างแน่นอน ดังนั้น ปีหน้าฟ้าใหม่ หากอยากปรับเปลี่ยนตัวเองให้ดูดีด้วยมือแพทย์ ลองมาอัปเดตเทรนด์ศัลยกรรมเลิศๆ ก่อนตัดสินใจกันดีกว่า
       
       นพ.นพรัตน์ รัตนวราห หรือ คุณหมอสอง อาจารย์พิเศษ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ และแพทยผู้เชี่ยวชาญด้านการศัลยกรรมตกแต่ง เปิดฉากอธิบายว่า แนวโน้มการทำศัลยกรรมตกแต่งในปีนี้ ส่วนใหญ่สามารถทำได้ทั้งหน้า ได้ทั้งตัว ซึ่งคนเอเชียส่วนใหญ่จะมีปัญหาเรื่องของใบหน้า ดังนั้นเทรนด์การทำศัลยกรรมของคนเอเชียโดยเฉพาะคนไทยก็จะทำที่หน้าเป็นหลักซึ่งจุดหลักที่แก้ไขกันมากที่สุด คือ “จมูก” เพราะจมูกเป็นจุดศูนย์กลางของใบหน้าที่ทำให้โครงสร้างหน้าของเราเปลี่ยนแปลงได้มากสุด ขณะเดียวกันคนไทยก็เผอิญมีปัญหาของจมูกที่ไม่โด่งพอจมูกโด่งขึ้นหน้าก็จะเปลี่ยนแปลงไปได้เยอะ
       
       คุณหมอหนุ่มมือฉมังด้านการศัลยกรรม อธิบายต่อว่า รองลงมาบนใบหน้าก็จะเป็นเรื่องของการทำตา และในปัจจุบันเทรนด์ของการทำคางและทำปากบางก็เพิ่มมากขึ้นเพราะว่าคนจะชอบทำตามแฟชั่น ทำตามดาราเกาหลีมากขึ้น ส่วนในเรื่องของตัวหลักๆก็จะมีอยู่ 2 อย่าง คือการเสริมหน้าอกที่คนไทยหรือคนในเอเชียจะมีหน้าอกขนาดเล็กเมื่อเทียบกับชาวยุโรป และการดูดไขมันสะสมตามสะโพก ต้นขา และหน้าท้อง หรือคนที่มีอายุมากขึ้น รวมถึงผู้ที่มีบุตรแล้วก็จะให้ความนิยมมาทำกันมาก ส่วนอื่นๆจะน้อยมาก เช่น การตัดผิวหนังหน้าท้องสำหรับผู้ที่มีบุตรแล้วไม่ต้องการมีบุตรหรือผู้ที่ประสบปัญหาท้องลาย แต่ทั้งนี้ ก็ต้องแลกกับรอยแผลเป็นที่เกิดขึ้นด้วย
       
       “ความนิยมในปัจจุบันยังคงนิยมการศัลยกรรมแบบเกาหลีหลังจาก 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ก็ยังเป็นเกาหลีอยู่เนื่องจากว่าดาราเกาหลี นักร้องเกาหลีมาแรงมาก แต่สังเกตว่าในช่วงท้ายๆ ของปีที่ผ่านมานี้เทรนด์ลูกครึ่งเริ่มกลับมา เพราะดาราลูกครึ่งบ้านเราจะเยอะ ฉะนั้น เทรนด์ก็จะเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาอย่างนี้ตลอดเวลา”
       
       สำหรับดาราเกาหลีที่คนไข้ของคุณหมอสองนิยมนำไปเป็นต้นแบบในการเสริมจมูก 3 อันดับแรกคือ คิม แต ฮี, ซอง เฮ เคียว และแองเจล่า เบบี้ซึ่งคนนี้เป็นซุปเปอร์โมเดลจากฮ่องกง ส่วนดาราชายจะคละเคล้ากันไป เช่น จมูกแบบนิชคุณ หรเวชกุล และคิม บอม ส่วนปากบางนั้นนิยมทำแบบ อั้ม-พัชราภา ไชยเชื้อ ทั้งนี้ คุณหมอสองยังระบุด้วยว่าเมื่อก่อนรูปที่นำมาให้ดูเป็นแบบอย่างส่วนใหญ่เกิน 100% เป็นสไตล์เกาหลีแต่ตอนนี้เหลือประมาณ 80% โดยมีขั้นตอนที่ต้องพูดคุยตกลงกัน 3 ข้อ อ 1.นำความชอบของแต่ละคนมาพูดคุยกันก่อนว่าชอบแบบไหนโด่งมาก น้อย แล้วก็จะอธิบายให้ฟังว่าจมูกที่ทำออกมาไม่เหมือนในรูปนี้ทั้งหมดแต่จะพยายามทำให้ใกล้เคียงที่สุด 2.จมูกที่จะแก้ไขให้นั้นจะทำให้เข้ากับใบหน้า และ 3.เนื้อเยื่อบริเวณจมูกเขาพร้อมที่จะทำหรือเปล่า รับไหวไหม ซึ่งคุณหมอสองจะนำทั้ง 3 อย่างนี้มารวมกันก่อนปั้นสวยหล่อด้วยมีดและซิลิโคน
       
       อาจารย์สองของนิสิตแพทย์ มศว อธิบายต่อว่า ส่วนเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศัลยกรรมตกแต่ง ความสวยความงาม หรือทางผิวหนังทุกๆ ปีก็จะมีสิ่งใหม่ออกมาโดยตลอดเวลาแต่หลายๆเทคนิค สารพัดการคิดค้นที่เกิดขึ้นจะเลือกทำอันไหนต้องเลือกให้ดี รอบคอบเพราะหลายๆอย่างเมื่อทำไปแล้วไม่ได้ดี ไม่เกิดผล ทั้งยังทำให้เสียเงินเปล่า เจ็บตัวฟรี รวมถึงเป็นอันตรายต่อร่างกายอีกด้วยเพราะแม้จะมีรายงานทางวิชาการรองรับแต่ไม่ได้หมายความจะใช้ได้ผลดีเสมอไป ซึ่งพอทำไม่ได้ผลดีสักระยะหนึ่งเทรดน์อันนั้นก็จะเสื่อมสลายไป
       
       “บางอย่างมาฮิตมาก เขาบอกเป็นเทคโนโลยีใหม่ไม่เจ็บเห็นผลชัด พอซื้อมาปุ๊ปเขาก็พยายามที่จะทำการตลาดเพื่อให้คุ้มค้ากับเงินที่ได้ลงทุนไปแต่เมื่อถึงระดับที่คนไม่นิยมมาก สิ่งนั้นก็จะหายไป เช่น ยุคนึงไอออนโต้ฮิตมากทุกคนที่ซื้อเครื่องมาที่ก็ต้องทำให้คืนทุน แต่เมื่อทำแล้วไม่ได้ผลดีก็ต้องเลิกทำซึ่งมีหลายแห่งได้ยกเลิกไปบ้างแล้ว เวลาที่ผมไปประชุมวิชาการใหม่ๆผมจะไม่นำสิ่งเหล่านั้นมาใช้เลยทีเดียว เพราะบางสิ่งบางอย่างไม่ว่าจะทฤษฎีหรือการปฏิบัติจริงก็ไม่น่าจะเป็นไปได้แต่เราไปเพื่อรับรู้เมื่อคนไข้ถามก็ตอบได้ ส่วนการจะนำมาใช้นั้นก็จะต้องวิเคราะห์ก่อน ผมจะเลือกที่เห็นผลและชัวร์จริงๆโดยจะมีการทดลองกับตัวเองก่อน เช่น การฉีดฟิลเลอร์ โบท๊อกก็จะทดลองฉีดหน้ากระจกด้วยตัวเอง หรือหากรีบ ไม่ถนัดก็จะให้หมอที่รู้จักฉีดให้ซึ่งทำปุ๊ปหากไม่มีผลแทรกซ้อนหรืออยู่ในภาวะที่รับได้จึงจะนำมาใช้จริงกับคนไข้”
       
       คุณหมอสอง เล่าอีกว่า ขณะที่การฉีดสารเพื่อสะลายไขมันหากฉีดให้ตนเองแล้วไม่ได้ผลดีก็จะไม่นำไปใช้กับคนไข้ด้วยเช่นกันเพราะตนเองได้ทดลองสารมาหลายชนิดแล้ว ดังนั้นจึงไม่ต้องพูดถึงเครื่องมือที่ทำจากภายนอกเพราะขนาดฉีดใส่เข้าไปในร่างกายยังไม่เห็นผล ฉะนั้นจึงไม่จะเป็นต้องเสียเงินแพงๆ ในการซื้อคอร์สทำพวกนี้
       
       “คนไข้ที่มาดูดไขมันก็จะเล่าให้ฟังว่าไปซื้อคอร์สสลายไขมันมาเป็นแสนแต่ไม่ได้ผลเลย อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าต่อไปจะมีเทคโนโลยีใหม่ๆมาอันไหนดีก็จะได้ไปต่อ เช่น โบท๊อก ส่วนการฉีดฟิลเลอร์แต่การฉีดฟิลเลอร์หรือสารหรือสารเติมเต็มซึ่งส่วนใหญ่นิยมฉีดที่ร่องแก้มภาวะแทรกซ้อนอาจรุนแรงกว่าการฉีดโบท๊อก ควรเลือกยี่ห้อที่ปลอดภัยสุดผ่านอย. สลายได้เป็นส่วนใหญ่ซึ่งคนมักเข้าใจผิดว่าสลายได้หมดแต่ข้อเท็จจริงไม่มีฟิลเลอร์ยี่ห้อไหนสลายได้หมด 100% แต่หากเลือกที่สลายได้น้อยภาวะแทรกซ้อนก็จะมากกว่า บางคนฉีดฟิลเลอร์เมื่อฉีดเข้าไปแล้วจะอยู่ได้ 4 เดือนจากนั้นก็จะสลายออกด้านข้างแบนลงและสะสมอยู่ภายในผิวหนังทำให้เนื้อหนาขึ้น เมื่อฉีดบ่อยๆเข้าก็จะทำให้จมูกโต การผ่าตัดแก้ไขจะยากมาก บางทีต้องขูดออก หรือบางคนฉีดเสริมคาง ดังนั้นหากเป็นผมจะเลือกทำในบางรายเท่านั้น”
       
       ปัจจุบันมีการโฆษณาส่งเป็นข้อความทางบีบี หรือทางอีเมล์เพื่อแจ้งว่าจะมีการฉีดสารนั้นสารนี้แต่เขาไม่ได้บอกว่าใครเป็นคนฉีดซึ่งเมื่อไปถึงแล้วกลับกลายเป็นผู้ที่ไม่ใช่แพทย์ซึ่งเคยเป็นพยาบาลที่เคยกับคลินิกนี้หรือโรงพยาบาลนี้เป็นผู้ฉีดให้ซึ่งหากเกิดผลแทรกซ้อนเราก็ไม่สามารถที่จะตามตัวได้เลย ซึ่งมีหลายเคสที่มาหาคุณหมอสองเพื่อให้แก้ไขให้
       
       “เขาไม่มีความรู้ทางการแพทย์ในด้านนั้นเหมือนกับแพทย์ที่จบมาเฉพาะด้านโดยตรงซึ่งแม้แต่แพทย์ที่จบด้านศัลยกรรมตกแต่งมาก็ยังต้องอาศัยประสบการณ์เพราะทางการแพทย์ไม่มีอะไร 100% แต่เมื่ออยู่ในมือหมอที่ชำนาญแล้วก็สามารถผ่อนหนักให้เป็นเบาช่วยเราได้ อย่างไรก็ตาม อย่าคาดหวังว่าการศัลยกรรมจะช่วยให้เราเปลี่ยนจากอีกคนหนึ่งไปเป็นอีกคนหนึ่ง เราต้องยอมรับผลแทรกซ้อนด้วย และอย่าคิดว่าการศัลยกรรมจะช่วยแก้ปัญหาครอบครัวได้ต้องพิจารณาให้ดีเพราะมันไม่เกี่ยวกันไม่ใช่ทุกคนจะ Extreme Make Over ก่อนจะตัดสินใจทำอะไรควรที่จะศึกษาให้ชัดเจน ผลดี ผลเสีย อีกทั้งนวัตกรรมอะไรใหม่ๆที่เข้ามาควรพิจารณาให้ดีอย่าเชื่อคำโฆษณา” คุณหมอสอง ฝากทิ้งท้าย

ASTVผู้จัดการออนไลน์    2 มกราคม 2555