แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - story

หน้า: 1 ... 544 545 [546] 547 548 ... 653
8176


เมื่อวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๕๕ ได้อ่านพบแถลงการณ์ของกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ได้ออกแถลงการณ์ว่ามีกลุ่มคนอ้างว่าเป็น “กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ”มีวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มขึ้นมาเพื่อ จับตาการดำเนินงานของรัฐบาลรวมทั้งต้องการให้มีการเปิดโปงความไม่โปร่งใสของการบริหารจัดการส่วนกลางลงไปจนถึงในจังหวัดและสถานพยาบาล รวมทั้งการเสนอข้อเท็จจริงเพื่อแสดงว่าการบริการในระบบบัตรทองมีมาตรฐานและคุ้มค่า

  ผู้เขียนอ่านแล้วก็ดีใจที่กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีวัตถุประสงค์เหมือนผู้เขียนในแง่ที่อยากจะเปิดโปงความไม่โปร่งใสของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

 แต่กลุ่มคนเหล่านี้ เมื่อดูรายชื่อแล้ว พบว่ากลุ่มรักหลักประกันฯนี้ไม่ได้เป็นผู้มีความรู้ในเรื่องยา การรักษา หรือความรู้ใดในทางที่เกี่ยวกับวิชาการแพทย์เลย นอกจากเป็นประชาชนที่อาจจะต้องไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลเมื่อเจ็บป่วยแล้วเท่านั้น และบางคนอาจจะอ้างว่ามีความรู้เกี่ยวกับการประกันสุขภาพเนื่องจากเคยไปเป็นกรรมการหรืออนุกรรมการในคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และได้รับผลประโยชน์ตอบแทนในเรื่องเบี้ยประชุมต่างๆ  จนทำให้อยากสงวนตำแหน่งกรรมการและอนุกรรมการไว้สำหรับกลุ่มพวกที่เกี่ยวข้องกับตนเท่านั้น ถึงกับไปฟ้องศาลปกครองว่าการเลือกตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการหลักฯไม่ถูกต้อง

 ผู้เขียนก็เลยจะแลกเปลี่ยนข้อมูลความไม่โปร่งใสของการบริหารงานของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและเลขาธิการของสปสช. เพื่อที่กลุ่มคนรักหลักประกันฯจะได้รับทราบข้อมูลอย่างครบถ้วน

  อนึ่งการอ้างชื่อว่ามีกลุ่มคนที่จ้องจะ “ทำลายระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ “ โดยกลุ่มสผพท.ที่ผู้เขียนเป็นประธานอยู่ก็ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในกลุ่มจ้องทำลายระบบหลักประกันฯด้วย ก็เลยขออ้างสิทธิการพาดพิง อธิบายความจริงเกี่ยวกับเรื่องต่างๆทั้งหมด เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ไม่บิดเบือนจากเหตุการณ์จริงดังต่อไปนี้คือ

๑. สผพท.ไม่ได้จ้องจะทำลายระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แต่เราต้องการ “ทำลายเหลือบในกรรมการและอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสปสช.” ที่บริหารงานโดยผิดมติครม. ผิดระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ผิดประกาศของ สตง. ผิดระเบียบของสปสช.เอง และผิดพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๔๕ ตามที่ สตง.ได้ชี้ประเด็นความผิดแล้ว  ๗ ประเด็น และนายวิทยา บุรณศิริ ได้ตั้งกรรมการตรวจสอบแล้ว แต่ยังมีการบริหารที่ผิดพลาดอีกหลายประเด็นที่สตง.ยังไม่ได้ชี้มูลความผิด และกำลังรอการชี้แจงจากเลขาธิการสปสช.อยู่

ผู้เขียนขอถือโอกาสนี้ เรียกร้องไปยังนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้เร่งรัดการสอบสวนให้กระจ่าง ไม่บิดเบือนลำเอียง และรีบแถลงให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบผลการสอบสวนโดยเร็ว

๒. การที่สปสช.บริหารงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวสำหรับประชาชนอย่างไม่ถูกต้อง ทำให้โรงพยาบาลมีเงินที่จำเป็นในการใช้จ่ายเพื่อรักษาประชาชนไม่เพียงพอ โรงพยาบาลขาดสภาพคล่องทางการเงิน จนโรงพยาบาลบางแห่งไม่สามารถที่จะซื้อยามาจ่ายให้ประชาชนได้ เพราะบริษัทยาไม่ยอมส่งยาให้ เนื่องจากโรงพยาบาลมีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่สามารถล้างหนี้ได้ ผลเสียหายจึงต้องตกอยู่กับประชาชนที่เจ็บป่วย และจะไม่มียาที่เหมาะสมมารักษา

๓. การอ้างว่าประชาชนเป็นผู้ผลักดันให้รัฐบาลออกกฎหมายหลักประกันสุขภาพนั้น เป็นการพูดข้างเดียว แต่ความจริงที่นพ.วิชัย โชควิวัฒน์ได้เปิดเผยไว้ในข้อเขียนใน แพทยสภาสารก็คือ นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ได้ไปเข้าพบพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เพื่อเสนอแนวทางในการจัดระบบหลักประกันสุขภาพและพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้เป็นผู้เห็นด้วย และ “สั่ง”ให้พรรคไทยรักไทยรับหลักการพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และแต่งตั้งนพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ มาเป็นเลขาธิการคนแรกของสปสช. และมีกลุ่มเอ็นจีโอและกลุ่มแพทย์ที่เป็นกลุ่มเดียวกับนพ.สงวน ฯ มาเป็นกรรมการบอร์ดหลายคน เช่น นายอัมมาร สยามวาลา นายจอน อึ้งภากรณ์ นพ.วิชัย โชควิวัฒน์ นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ รวมทั้งกลุ่มนางยุพดี สิริสินสุข นางสุภัทรา นาคะผิว ฯ

 แต่เมื่อพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถูกปฏิวัติ ต้องออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี  กลุ่มคนเหล่านี้ต้องการลบภาพพ.ต.ท.ทักษิณ ออกจากความเกี่ยวข้องกับ ระบบหลักประกันสุขภาพฯแห่งชาติ ที่ประชาชนเรียกติดปากว่า “๓๐ บาทรักษาทุกโรค” นพ.มงคล ณ สงขลา จึงเลิกเก็บเงิน ๓๐ บาท และคนเหล่านี้ก็ยกยอปอปั้นว่า นพ.สงวน นิตยรัมภ์พงศ์ เป็น “บิดาแห่งหลักประกันสุขภาพไทย” ทั้งๆที่นพ.สงวน จะไม่สามารถทำให้เกิดระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเกิดขึ้นได้เลย ถ้าพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะไม่เห็นด้วย เพราะว่ามันเป็นนโยบายประชานิยม ที่ทำให้พ.ต.ท.ทักษิณฯและพรรคไทยรักไทยได้ชัยชนะแบบถล่มทะลายในการเลือกตั้งสมัยที่สอง

๔. ในช่วงแรกของการมีระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เงินงบประมาณรายหัวที่จ่ายให้แก่โรงพยาบาลนั้น เป็นงบประมาณติดลบหรือขาดดุลอย่างมาก แต่เนื่องจากโรงพยาบาลยังมีเงินบำรุงหรืองบกองทุนสำรอง(เหมือนเงินคลังหลวง) เหลืออยู่หลายพันล้านบาท โรงพยาบาลจึงต้องเอาเงินทุนสำรองมาใช้จ่ายในการดูแลรักษาประชาชน แต่เมื่อนานเข้า เงินบำรุงนี้ก็หมดไป ทำให้ตัวเลขขาดดุลงบประมาณของโรงพยาบาลในกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นหน่วยบริการหลักในระบบหลักประกันสุขภาพนั้นเห็นได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น สปสช.ต้องของบประมาณรายหัวเพิ่มมากขึ้นทุกปี แต่สปสช.ก็ใช้ “อำนาจ” ในการเป็นผู้ “ถือเงินงบประมาณ” มาบริหารจัดการงบประมาณรายหัวเอง โดยเฉพาะแบ่งเงินไว้ทำ “Vertical Program” อีกหลาย (เช่น การผ่าตัดเปลี่ยนเล็นส์แก้วตาเทียม การผ่าตัดหัวใจ ฯลฯ) ทั้งๆที่ไม่ใช่หน้าที่ของสปสช.ตามพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และสปสช.ยังหักเงินค่าบริหารในแต่ละโครงการอีกโครงการละ ๑๐% ทั้งๆที่เงินค่าบริหารสปสช.ก็มีอยู่แล้วต่างหากเป็นงบประมาณ ๑%ของงบประมาณเหมาจ่ายรายหัว

นอกจากนั้นสปสช.ยังเอาเงินไปซื้อเวชภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์  มาให้โรงพยาบาลโดยที่ไม่ใช่หน้าที่ของสปสช.ตามกฎหมาย สปสช.ซื้อยาและเครื่องมือแพทย์ราคาถูกแต่เอาไปขายให้รพ.ในราคาแพง (มีแพทย์ในกระทรวงสธ.ที่พร้อมจะให้ข้อมูลเรื่องนี้) สปสช. ค้ากำไรกับรพ.สธ. และยังเอาผลประโยชน์ที่ได้รับจากการซื้อยาและเวชภัณฑ์ ไปใช้อย่างผิดกฎหมายตามที่สตง.ได้ชี้ประเด็นความผิดแล้ว

ผลจากการที่สปสช.อ้างว่าซื้อเวชภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์ในราคาถูก แต่แพทย์ผู้ใช้เวชภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์เหล่านั้น เช่น เสต็นท์ (ที่ใช้ขยายหลอดเลือดหัวใจ) หรือเล็นส์แก้วตาเทียม ที่ด้อยคุณภาพ ก็จะส่งผลเสียหายกับประชาชนผู้ได้รับสิ่งเหล่านี้เข้าไปในร่างกาย และอื่นๆอีกมากมาย

๕. การอ้างว่าระบบหลักประกันสุขภาพรักษาได้ดีมีมาตรฐาน ประหยัดงบประมาณนั้น เป็นแค่การกล่าวอ้างลอยๆ ถ้าอยากรู้ความจริงก็จะเปิดโปงว่า นพ.สงวนฯเมื่อป่วยเป็นมะเร็งก็สั่งซื้อยาจากต่างประเทศมารักษา นพ.วิชัย โชควิวัฒน์ ประธานองค์การเภสัชกรรมเป็นเบาหวาน ก็ไม่ใช้ยาที่ผลิตจากองค์การเภสัชกรรม แต่ซื้อยาของบริษัทต่างประเทศมารักษา ยาบางอย่างก็อาจจะใช้ยาสามัญได้ แต่ยาบางอย่างก็จำเป็นสำหรับการเจ็บป่วยที่รุนแรงที่ไม่สามารถใช้ยาสามัญได้

๖. งบประมาณในการรักษาประชาชนที่สปสช.จ่ายให้โรงพยาบาลนั้นไม่พอใช้ แต่โรงพยาบาลได้รับงบประมาณการรักษาจากสปส.(สำนักงานประกันสังคม) และงบประมาณในการรักษาจากระบบสวัสดิการข้าราชการได้ไม่ขาดทุน ทำให้รพ.ยังพอที่จะบริหารการเงินได้ และรพ.ใหญ่ที่รับผู้ป่วยประกันสังคมและผู้ป่วยสวัสดิการข้าราชการก็จะพอบริหารการเงินให้พออยู่ได้

   แต่เมื่อสปสช.ได้โอ้อวดว่าสปสช.สามารถบริหารจัดการการเงินผู้ป่วยในได้ดี สามารถประหยัดงบประมาณได้ดี ทำให้ระบบสวัสดิการข้าราชการหันมาใช้ระบบจ่ายเงินผู้ป่วยใน(นอนรักษาในโรงพยาบาล)แบบเดียวกับสปสช.คือDRG ในอัตราเดียวกัน ทำให้ตัวเลขการขาดดุลทางบัญชีของโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุขมีเพิ่มมากขึ้น (อ้างอิงจากหนังสือ “รายงานสถานะการเงินหน่วยบริการ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข” ISBN 978-616-11-04339-9) เนื่องจากไม่มีเงินจากระบบสวัสดิการข้าราชการที่สมดุลเหมือนเดิม เพื่อมาช่วยผ่อนภาระการขาดทุนของโรงพยาบาล

๗. การอ้างว่าระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติรักษาดีมีมาตรฐาน และคุ้มค่านั้น เป็นการกล่าวอ้างโดยไม่มีหลักฐานมายืนยัน แต่ผู้เขียนจะชี้ให้เห็นว่า ถ้าการรักษามีมาตรฐานจริง ทำไมพวกผู้บริหารหรือเจ้าหน้าที่สปสช.จึงไม่ใช้มาตรฐานการรักษาในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีแต่ขอกลับไปใช้สิทธิเดิมของข้าราชการ และไม่ใช้ยาขององค์การเภสัช? และถ้ารพ.ได้รับเงินอย่างคุ้มค่า ทำไมรพ.เอกชนจึงทะยอยลาออกจากการทำงานรักษาผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และทำไมโรงพยาบาลรัฐบาล ทั้งรพ.มหาวิทยาลัย และรพ.เอกชน จึงอยากรักษาผู้ป่วยในระบบประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ รับรักษาผู้ป่วยที่จ่ายเงินเองหรือมีประกันสุขภาพเอกชน มากกว่ารับรักษาผู้ป่วยบัตรทอง  ไม่ใช่เพราะรังเกียจหรือแบ่งแยกชนชั้น คำตอบก็คงชัดเจนในตัวมันเองอยู่แล้ว

๘. การอ้างว่าถ้าการรักษาในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีมาตรฐานแล้วทำไมจึงเกิดเหตุการณ์ดังนี้

๘.๑ อัตราตายของผู้ป่วยหลายๆโรคไม่ลดลง บางโรคกลับมีอัตราตายเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ

๘.๒ มีการกล่าวหาและฟ้องร้องแพทย์มากขึ้น  หาว่าไม่รักษาตามมาตรฐาน ทั้งๆที่หมอก็เป็นคนกลุ่มเดิมๆเป็นส่วนมาก ทำไมหมอจึงทำชุ่ยมากขึ้น? เพราะถูกบังคับให้ใช้ยาที่ไม่มีคุณภาพหรือเปล่า? ถูกบังคับด้วยปริมาณผู้ป่วยที่มากเกินกำลังที่จะตรวจรักษาตามมาตรฐานหรือไม่?

๘.๓ ทำไมประชาชนมาใช้บริการโรงพยาบาลมากขึ้น จากที่เคยมารับการรักษาปีละ ๑๐๐ ล้านครั้งในปีแรกๆของระบบหลักประกันสุขภาพ เพิ่มเป็นปีละ ๒๐๐ ล้านครั้ง แต่จำนวนแพทย์เพิ่มจาก ๗,๐๐๐ คนเศษ มาเป็นเพียง หมื่นคนเศษใน ๑๐ ปี ทั้งๆที่เพิ่มโรงเรียนแพทย์ รับนักศึกษาแพทย์เพิ่มขึ้นมากมาย บังคับให้แพทย์ใช้ทุนสารพัด แต่แพทย์ส่วนหนึ่งก็ยังเลือกที่จะลาออกจากการเป็นแพทย์ในกระทรวงสาธารณสุข ที่จะอยู่รับใช้ประชาชน ทั้งนี้เพราะสาเหตุงานหนัก (ต้องรับผิดชอบตรวจรักษาผู้ป่วยวันละเป็นร้อยๆคน ยิ่งทำมากเท่าไรก็ยิ่งเสี่ยงต่อความผิดพลาดและความไม่พอใจของประชาชน และเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องมาก ได้รับค่าตอบแทนต่ำ กว่าภาคเอกชนอย่างมาก

แพทย์ที่ยังอยู่ตรวจรักษาประชาชนในกระทรวงสาธารณสุขจึงสมควรได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ที่เสียสละและอดทนอย่างสูง สมควรได้รับการช่วยเหลือให้ได้มีภาระงานลดลง เพื่อสามารถรักษาคุณภาพมาตรฐานเพื่อความปลอดภัยของประชาชนให้มากขึ้น

๘.๔ การเรียกร้องให้มีการรักษาผู้ป่วยในกองทุนหลักประกันสุขภาพ ประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการให้เสมอภาคและเท่าเทียมกันนั้น จะเป็นการลดมาตรฐานการรักษาให้เลวลงเท่าระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีสถิติในประเทศไทยว่า อัตราตายของผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพสูงสุด ระบบประกันสังคมรองลงมา และระบบสวัสดิการข้าราชการมีอัตราตายต่ำสุด

 แล้วจะเรียกร้องให้ประชาชนได้รับการรักษาเหมือนสส.สว. รัฐมนตรี หรือไม่ เพราะมีข่าวว่าค่าเหมาจ่ายรายหัวในการรักษาสส. สว. และรัฐมนตรีจะเพิ่มมากมายมหาศาลจากที่เคยสูงกว่างบค่าหัวบัตรทองอยู่แล้ว? ถ้าเรียกร้องให้เสมอภาคและเท่าเทียมก็จริงก็คงจะดีมาก แต่รัฐบาลจะต้องไปกู้เงินมาอีกกี่แสนล้าน หรือประชาชนยินดีจะเสียภาษีเพิ่มขึ้นอีก เพื่อให้มีเงินมาใช้นีระบบหลักประกันให้เพียงพอต่อการรักษามาตรฐานทางการแพทย์ที่ดี?

  ฉะนั้นจึงอยากจะบอกกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติว่า ถ้าจะรักก็ต้องตรวจสอบว่าสปสช.และคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้บริหารจัดการการเงินของระบบอย่างสุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้ และใช้เงินภาษีของประชาชนอย่างคุ้มค่าและเป็นประโยชน์แก่ประชาชนอย่างแท้จริงหรือไม่ หรือมีการฉ้อฉลเพื่อประโยชน์ของตนเอง และพวกพ้อง?

 และท้ายที่สุดแล้ว ขอเรียกร้องให้ปปช.ตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และเลขาธิการสปสช.ทุกปี เนื่องจากเป็นผู้รับผิดชอบบริหารเงินงบประมาณแผ่นดินถึงปีละ ๒๐๐,๐๐๐ ล้านบาท

(เอกสารอ้างอิง แถลงการณ์ของกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ และแผนภูมิกลุ่มก๊วนที่วางแผนล้มระบบหลักประกัน)

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย (สผพท.)
๑๑มกราคม ๒๕๕๕

8177
นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมว.สธ.) กล่าวถึงโครงการด้านสุขภาพสำหรับประชาชนในปี 2555 ว่า จะยกเลิกนโยบายเดิมของอดีตรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ และเดินหน้าโครงการเก็บเงินสมทบ 30 บาท แต่เนื่องจากเกิดสถานการณ์น้ำท่วม ดังนั้นตนอาจจะยกเหตุผลนี้ไปหารือกับนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อหาช่วงเวลาและรูปแบบที่เหมาะสมที่จะเริ่มโครงการ ส่วนตนเห็นว่าอาจจะเป็นช่วงหลังจาก 90 วัน  - 6 เดือนต่อจากนี้ เพราะประชาชนยังอยู่ในช่วงฟื้นฟู
     รมว.สธ. กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกันจะต้องพัฒนาการให้บริการในระบบดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพ และประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้ทั่วถึงอย่างสมศักดิ์ศรี โดยเฉพาะเราจะเน้นการพัฒนาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  (รพสต.) ซึ่งเป็นเหมือนคลินิกใกล้บ้านใกล้ใจที่ดูแลสุขภาพของประชาชน เพื่อช่วยประชาชนประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
    นายวิทยากล่าวอีกว่า สำหรับการพัฒนา รพสต.นั้น เดิมจะมีแพทย์ประจำคอยตรวจวัดคนไข้ ตรวจวัดความดัน และบริการอื่นๆ อยู่แล้ว แต่เราจะนำเอาระบบการให้คำปรึกษาระบบออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ตไปเสริม ซึ่งจะทำให้ทราบผลการตรวจได้ทันที อีกทั้งระบบดังกล่าวยังไม่ต้องลงทุนมาก
     “ผมจะนำเรื่องวิกฤติที่เกิดขึ้นเสนอ ฯพณฯ ว่าควรชะลอโครงการออกไปก่อนอย่างน้อย 90 วัน - 6 เดือน ตั้งแต่ปีใหม่เป็นต้นไป เพราะเป็นระยะที่พี่น้องกำลังฟื้นตัวจากสถานการณ์น้ำท่วม และต้องพิจารณาจากภาพรวมของอุตสาหกรรมอื่นๆ ด้วยว่าสอดรับกับความเป็นอยู่ของพี่น้องแล้วหรือยัง” นายวิทยากล่าว
    ทั้งนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเป็นสถานพยาบาลประจำตำบลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีขีดความสามารถระดับปฐมภูมิ (Primary Care) ได้รับการยกฐานะจากสถานีอนามัย หรือศูนย์สุขภาพชุมชน ตามนโยบาลของรัฐบาลนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อปี  พ.ศ.2552 ซึ่งได้จัดสรรงบประมาณภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555  เพื่อยกระดับสถานีอนามัย หรือศูนย์สุขภาพชุมชนให้เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล.

ไทยโพสต์ 11 มกราคม พ.ศ. 2555

8178
ตั้งแต่หัวจรดปลายเท้า วิทยาการศัลยกรรมยุคนี้สามารถแก้ไขได้หมดแทบทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาผิวหน้าเหี่ยวย่นไปจนถึงเล็บเท้า
    อย่างไรก็ตาม ไม่ว่ามีดหมอจะดีมากแค่ไหนก็ไม่สามารถตกแต่งสีตาของเราได้ แม้เราจะพยายามเท่าไหร่ก็ไม่สามารถเปลี่ยนตาสีน้ำตาลให้กลายเป็นสีฟ้าเหมือนคาเมรอน ดิอาซ ได้ นอกจากจะใส่คอนแท็กต์เลนส์ย้อมสี
    ทว่า ล่าสุดบริษัท สโตรมาเมดิคัล จากมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ได้ยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรเหนือเทคโนโลยีใหม่ ที่อวดอ้างว่าสามารถเปลี่ยนตาสีน้ำตาล ให้กลายเป็นสีฟ้าได้ในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์
    ดร.เกรก โฮเมอร์ ศาสตราจารย์ด้านชีววิทยา และนักประดิษฐ์ ผู้ก่อตั้งบริษัทยืนยันว่า เทคโนโลยีของเขามีความปลอดภัยแน่นอน และสามารถเปลี่ยนชีวิตของคนนับแสนที่ต้องการเปลี่ยนสีตาอย่างถาวร
    การทดลองกับอาสาสมัครให้ผลลัพธ์ที่น่าตื่นตาตื่นใจ รูปภาพเปรียบเทียบก่อนและหลังการเข้าเปลี่ยนสีตาด้วยเครื่องเลเซอร์ชี้ให้เห็นว่า สีตาอาสาสมัครเปลี่ยนไปอย่างชัดเจน
    คาดกันว่า เครื่องเปลี่ยนสีตาสโตรมา จะเปิดให้บริการในทวีปอเมริกาใต้ เอเซีย ตะวันออกกลาง และยุโรปใต้ อย่างเร็วที่สุดอีกราวปีครึ่ง แต่ขณะนี้ยังไม่ชัดเจนว่าเทคโนโลยีนี้มีผลข้างเคียงกับร่างกายมนุษย์หรือไม่ อีกทั้งบริษัทยังต้องการเงินลงทุนอย่างต่ำถึง 500 ล้านบาทก่อน จึงจะสามารถเปิดบริการได้
    ส่วนลูกค้าในสหรัฐและอังกฤษอาจต้องรอถึงปี 2558 เนื่องจากทั้งสองประเทศมีกฎหมายความปลอดภัยทางการแพทย์ที่เข้มงวดมากที่สุดในโลก
    ดร.โฮเมอร์ยืนยันว่า ผลประกอบการบริษัทมีกำไรแน่นอน เนื่องจากในตอนนี้มีผู้สอบถามรายละเอียดของเทคโนโลยีถึงวันละ 300 ครั้ง แม้ว่าเทคโนโลยีนี้จะยังไม่เปิดให้บริการก็ตาม เขาเชื่อว่าลูกค้าในประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่มีตาสีน้ำตาล จะยอมจ่ายถึง 15,000 บาทต่อการยิงเลเซอร์หนึ่งครั้ง
    แม้จะไม่มีผลยืนยันทางวิทยาศาสตร์ ผู้คนส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ดีต่อการมีตาสีฟ้า ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของผู้ที่มีเชื้อสายยุโรปเหนือ และในบางกรณีในตะวันออกกลาง เช่น อัฟกานิสถานและอิหร่าน มีสัดส่วนเพียงแค่ 8% ของทั้งโลกเท่านั้น
    นอกจากนี้ยังมีผลวิจัยบางชิ้นในสหรัฐที่ระบุว่า เด็กที่มีตาสีฟ้ามักจะมีผลการศึกษาดีกว่าเด็กทั่วไป ไม่ว่าจะในชั้นเรียนหรือในห้องสอบก็ตาม
    อย่างไรก็ตาม รายละเอียดของเทคโนโลยีเป็นความลับของบริษัท แต่สโตรมาเผยว่า เทคโนโลยีนี้หยิบยืมแนวคิดมาจากศัลยกรรมผิวหนังเพื่อลดเซลล์สีผิวด้วยเลเซอร์ เช่นเดียวกับการรักษาผิวหมองคล้ำ ฝ้าและกระต่างๆ
    การเปลี่ยนสีตาจะใช้เลเซอร์ยิงใส่ม่านตาเพื่อกำจัดเม็ดสีลง ทั้งนี้ตาสีฟ้าไม่ได้เป็นเพราะว่าม่านตามีสีฟ้า แต่เป็นเพราะม่านตามีเม็ดสีน้อยจนแสงสามารถสะท้อนกลับเป็นสีฟ้าได้
    เชื่อกันว่า การเปลี่ยนสีตามีผลถาวร และทางบริษัทก็ยืนยันด้วยผลการทดสอบ แต่ทางองค์กรอนามัยยังต้องรอพิจารณาผลข้างเคียง เพื่อสรุปว่าเทคโนโลยีนี้ปลอดภัยเพียงพอหรือไม่
    ดร.นิก โลว์ แพทย์ผิวหนังจากกรุงลอนดอน และอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เชื่อเช่นกันว่า เทคโนโลยีนี้อาจเป็นที่ต้องใจของคนจำนวนมาก แต่เขาเตือนว่าเราไม่ควรรับการศัลยกรรมที่มีผลรุนแรงเพื่อความสวยงามเท่านั้น เพราะวงการแพทย์ยังไม่มีข้อมูลผลข้างเคียงที่ชัดเจน
    ดร.มาร์ก โคโรลคีเอวิกซ์ จักษุแพทย์ของบริษัท อุลตราเลส ที่ให้บริการเลเซอร์ปรับแต่งสายตา ระบุว่า แม้ในปัจจุบันจะใช้เทคโนโลยีเลเซอร์เพื่อปรับแต่งสายตาเป็นเรื่องปกติ แต่เทคโนโลยีนี้มีความแตกต่างจากเลเซอร์ของบริษัท สโตรมา
    เขาชี้ว่า โดยปกติการปรับแต่งสายตาด้วยเลเซอร์ จะยิงเลเซอร์ใส่กระจกตาและผิวตาชั้นนอกเท่านั้น แต่เทคโนโลยีใหม่มีขั้นตอนที่ต้องยิงเลเซอร์เข้าไปในดวงตา ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อดวงตาได้
    ด้าน ดร.โฮเมอร์แย้งว่า เครื่องสโตรมาจะยิงใส่ม่านตาชั้นนอกเพื่อลดเม็ดสีเท่านั้น และยืนยันว่าไม่มีผลข้างเคียงใดๆ เกิดขึ้นกับอาสาสมัครทั้ง 17 คนที่เข้ารับการศัลยกรรม.

ไทยโพสต์ 11 มกราคม พ.ศ. 2555

8179
การประชุมนานาชาติรางวัลสม​เด็จ​เจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2012“ก้าวสู่หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า: ​เร่งพัฒนาระบบ​การ​เงินสุขภาพ”
(Moving towards Universal Health Coverage: Health Financing Matters)

นับ​เป็นอีกครั้งที่​การประชุมนานาชาติรางวัลสม​เด็จ​เจ้าฟ้ามหิดล​ได้​เวียนมา​ถึง ​โดย​ในปีนี้มูลนิธิรางวัลสม​เด็จ​เจ้าฟ้ามหิดล กระทรวงสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล ​และองค์กรสุขภาพ​ในระดับ​โลก อาทิ องค์​การอนามัย​โลก (WHO) ธนาคาร​โลก (World Bank) องค์​การ​ความร่วมมือระหว่างประ​เทศของญี่ปุ่น ​หรือ ​ไจก้า (JICA) ​เป็น​เจ้าภาพร่วม​ใน​การประชุมนานาชาติ ประจำปี 2012 ​ในหัวข้อ​การประชุมว่า “ก้าวสู่หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า: ​เร่งพัฒนาระบบ​การ​เงินสุขภาพ” (Moving towards Universal Health Coverage: Health Financing Matters)

ศาสตราจารย์ นพ. วิจารณ์ พานิช ประธานคณะกรรม​การจัด​การประชุม ​การประชุมนานาชาติรางวัลสม​เด็จ​เจ้าฟ้ามหิดล กล่าวว่า ​การประชุมที่จะ​เกิดขึ้นนี้มีวัตถุประสงค์​เพื่อร่วมกันขับ​เคลื่อนน​โยบาย​ให้​เกิด​การคุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้า​ในระดับ​โลก​ให้บรรลุผล ​โดยมุ่ง​เน้น​เรื่องปัจจัย​ความสำ​เร็จ​ใน​การพัฒนาระบบ​การ​เงินสุขภาพ สนับสนุน​การ​เจรจา​ความร่วมมือ​ในระดับ​โลก ​และ​แลก​เปลี่ยนประสบ​การณ์​การขับ​เคลื่อนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าระหว่างกลุ่มประ​เทศที่มีราย​ได้​แตกต่างกัน ​เพื่อ​ให้ประชาชนทุกคนมีสุขภาพดี สามารถ​เข้า​ถึงบริ​การด้านสุขภาพ​เมื่อคราวจำ​เป็น ​โดย​ไม่มีอุปสรรคด้านค่า​ใช้จ่าย

“กิจกรรม​ใน​การประชุมครั้งนี้ จะประกอบ​ไปด้วย​การศึกษาดูงานด้านสาธารณสุขของ​ไทย ​ในกรุง​เทพฯ​และพื้นที่​ใกล้​เคียง ​การจัดนิทรรศ​การของหน่วยงานต่างๆ ​และ​การประชุม​ในหัวข้อที่สำคัญ​ในประ​เด็นหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”

​ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ นพ. วิจารณ์ พานิช กล่าวว่า ที่ผ่านมา​ได้มี​ความพยายามผลักดันประ​เด็นที่จะ​ทำ​ให้​เกิด​การคุ้มครองสุขภาพ​แบบถ้วนหน้า (Universal Health Coverage) มาตั้ง​แต่ปี 2005 จากมติที่ประชุม The World Health Assembly resolution, WHA 58.33 ต่อ​เรื่อง “sustainable health financing, universal coverage and social health insurance” ​เรียกร้อง​ให้ประ​เทศสมาชิก​ให้​ความสำคัญ​ในระบบ​การ​เงินสุขภาพ ​เพื่อกระจาย​ความ​เสี่ยง​และสร้าง​ความ​เป็น​เอกภาพ ​และจาก​การประชุมระดับ​โลกครั้ง​แรกขององค์​การอนามัย​โลก​และสมาชิก​เรื่อง​การวิจัยระบบสุขภาพ ​ในปี 2010 ที่มี​แนวคิดมาจาก “science to accelerate universal health coverage” ​เพื่อส่ง​เสริม​ให้​เกิด​แรงขับ​เคลื่อน​ใน​เรื่องของ​การประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Coverage)

จากรายงาน​ในหัวข้อ “​การจัดหาระบบ​เงินสุขภาพ: ​เส้นทางสู่​การประกันสุขภาพถ้วนหน้า” (health system financing: the path to universal coverage) ​เมื่อปี 2010 ที่กรุง​เบอร์ลิน ประ​เทศ​เยอรมัน ​และกรุงปักกิ่ง ประ​เทศจีน ​โดยรายงานดังกล่าว​เชื่อมั่นว่าทุกประ​เทศสามารถปรับปรุงระบบ​การ​เงินสุขภาพ​และสามารถสร้าง​การคุ้มครองสุขภาพ​แบบถ้วนหน้า​ได้

นอกจากนี้​แล้ว ยังมี​การ​เคลื่อน​ไหวร่วมกัน​เพื่อปรับปรุงระบบ​การ​เงินสุขภาพ ​และมุ่งสู่​การคุ้มครองสุขภาพ​แบบถ้วนหน้าต่อ​ไป

ตลอดจน​การประชุมสุดยอด G8 ​ในปี 2009 ​ก็ยังมุ่งมั่น​เสริมสร้าง​ความ​เข้ม​แข็งของระบบสุขภาพ ​โดยมุ่ง​เน้น​ความสัมพันธ์ของ 3 องค์ประกอบ อัน​ได้​แก่ ระบบข้อมูลด้านสุขภาพ ​การพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพ ​และระบบ​การ​เงินสุขภาพ นอกจากนี้ ยังมี​การ​เคลื่อน​ไหว​ในระดับ​โลก ระดับภูมิภาค​และระดับประ​เทศที่​ให้​การสนับสนุน​ความร่วมมือทางวิชา​การ ​เพื่อขับ​เคลื่อนระบบสุขภาพถ้วนหน้า

“​การ​แบ่งปันประสบ​การณ์ที่มีค่าจะนำมา​ซึ่ง​การพัฒนาระบบ​การ​เงินสุขภาพที่​เหมาะสม ​และนำ​ไปสู่​การ​แปลง​เป็นน​โยบายที่มีประสิทธิภาพ​ใน​การปฏิบัติ ​เพื่อ​ให้ประชาชนสามารถ​เข้า​ถึงบริ​การสุขภาพ​ได้อย่างทั่ว​ถึง“ ศาสตราจารย์ นพ. วิจารณ์ พานิช กล่าว

อย่าง​ไร​ก็ตาม ​การประชุมนานาชาติรางวัลสม​เด็จ​เจ้าฟ้ามหิดล ​เป็น​เวที​แลก​เปลี่ยน​ความรู้ ประสบ​การณ์ ​และ​ความคิด​เห็นของ​ผู้นำด้านสาธารณสุขจากนานาประ​เทศ ​ในประ​เด็นด้านสาธารณสุขที่สำคัญระดับ​โลก ​เพื่อประ​โยชน์ด้านสุขภาพของมนุษยชาติ ​และ​เพื่อ​เผย​แพร่พระ​เกียรติคุณ​ใน สม​เด็จพระมหิตลาธิ​เบศร อดุลย​เดชวิกรม พระบรมราชชนก องค์บิดา​แห่ง​การ​แพทย์​แผนปัจจุบัน​และ​การสาธารณสุขของ​ไทย

​การประชุมนานาชาติรางวัลสม​เด็จ​เจ้าฟ้ามหิดล ​เป็น​การประชุมนานาชาติด้านสุขภาพที่​ได้รับ​การยอมรับระดับ​โลก มีนักวิชา​การ ​ผู้ทรงคุณวุฒิ ​และ​เจ้าหน้าที่ระดับสูงของหน่วยงานระดับนานาชาติ​เข้าร่วมประชุม ​และ​เสนอประ​เด็นน​โยบายด้านสุขภาพที่สำคัญ​เป็นประจำทุกปี ที่สำคัญคือ นักวิชา​การ​และ​ผู้นำด้านสาธารณสุขของ​ไทยจะมี​โอกาส​ใน​การสร้าง​เครือข่ายกับองค์กร นักวิชา​การ ​และ​ผู้นำด้านสาธารณสุข​ในระดับ​โลก รวม​ถึงสร้าง​ความประทับ​ใจกับ​ผู้​เข้าร่วมประชุม ​เพื่อ​ให้​เกิดภาพลักษณ์ที่ดีกับประ​เทศ​ไทย ​และส่งผลบวกต่อบทบาทของ​ไทย​ใน​เวที​โลก​ในที่สุด
หัวข้อ​การประชุมนานาชาติรางวัลสม​เด็จ​เจ้าฟ้ามหิดล ปี 2007-2011

ปี 2007 (พ.ศ.2550) หัวข้อ: ​การ​เข้า​ถึง​เทค​โน​โลยีด้านสุขภาพสำหรับ​โรคที่ถูกมองข้าม​และคนที่ถูกละ​เลย (Improving Access to Essential Health Technologies: Focusing on Neglected Diseases, Reaching Neglected Populations) นำประ​เด็น​การ​เข้า​ถึง​เทค​โน​โลยีด้านสุขภาพสำหรับ​โรคที่ถูกมองข้าม​และคนที่ถูกละ​เลยมา​เป็นหัวข้อ​การประชุม ​เพื่อก่อ​ให้​เกิด​การ​แลก​เปลี่ยน​ความคิด​เห็น​และ​เกิดคำ​แนะนำ​ใน​การดำ​เนิน​การต่างๆ ​เพื่อนำ​ไปสู่​การปรับปรุง​การ​เข้า​ถึงทางด้านสุขภาพ​และปรับปรุงสุขภาพของประชาชน​ให้​ได้มากที่สุด​และด้วย​เหตุนี้จะนำ​ไปสู่​ความสำ​เร็จของ​เป้าหมาย​การพัฒนา​แห่งสหัสวรรษต่อ​ไป (MDGs)

ปี 2008 (พ.ศ.2551) หัวข้อ: ​เหลียวหลัง​แลหน้า: สามทศวรรษของ​การสาธารณสุขมูลฐาน (Three Decades of Primary Health Care: Reviewing the Past and Defining the Future” to commemorate the 30th anniversary of Primary Health Care) นำ​เสนอ​แนะน​โยบาย​และ​การดำ​เนิน​การ​ในทางปฎิบัติ ​โดยประ​เทศกำลังพัฒนา​และ​ผู้มีส่วน​เกี่ยวข้องกับ​การพัฒนา ​เพื่อ​ให้บรรลุ​เป้าหมายของ​การ​ทำงานของระบบ​การดู​แลสุขภาพ​เบื้องต้น

ปี 2009 (พ.ศ.2552) หัวข้อ: ​การขับ​เคลื่อนมิติสุขภาพสู่น​โยบายสาธารณะ (Mainstreaming Health into Public Policies) มีสาระสำคัญ​ใน​การประชุม คือ ​การหารือ​เพื่อร่างมติ / น​โยบาย​การขับ​เคลื่อนมิติสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ​และสามารถนำ​ไป​ใช้จริง​และยั่งยืน​ในทุกๆ ระดับต่อ​ไป

ปี 2010 (พ.ศ.2553) หัวข้อ: ​การจัด​เวทีระดับ​โลก ครั้ง​แรก ​เรื่องสารสน​เทศด้านสุขภาพ (Global Health Information Forum) หัวข้อ​การประชุม กระตุ้น​ให้​เกิด​การจัด​การข้อมูลทรัพยากรพื้นฐานทางด้านสุขภาพ​ในระดับ​โลกอย่าง​เร่งด่วน ​เพื่อ​ให้บรรลุ​เป้าหมาย​การพัฒนา​แห่งสหัสวรรษ​และ​การ​เข้า​ถึงสากล​เพื่อสุขภาพ

ปี 2011 (พ.ศ.2554) หัวข้อ: Second Global Forum on Human Resources for Health: Reviewing progress, renewing commitments to health workers towards MDGs and beyond ​เป็น​การทบทวน​ความก้าวหน้า​และยืนยันพันธสัญญา ​ใน​การกระตุ้น​ให้บุคลากรทาง​การ​แพทย์หันกลับมา​ทำงาน​ในชุมชนของตน​ให้มากขึ้น ​และยังมี​ความพิ​เศษ คือ​การมอบรางวัล HRH Awards ​ให้​แก่บุคคลที่​เสียสละอุทิศตน​เพื่อวง​การ​แพทย์​และสาธารณสุข ขึ้น​เป็นครั้ง​แรกของ​โลก ​โดยคัด​เลือกจากบุคคลวง​การ​แพทย์​และสาธารณสุขจากทั่ว​โลกอีกด้วย

ThaiPR.net  10 มกราคม 2555

8180
  “หมอวิชัย” วางมือประธานบอร์ด อภ.หลัง อายุครบ 65 ปี   สพศท.จี้ สรรหาใหม่ ให้โปร่งใส อย่าเล่นพวก
       
       รายงานข่าวแจ้งว่า องค์การเภสัชกรรม (อภ.) จะมีการสรรหาตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร อภ.(บอร์ด อภ.) ใหม่ นั้น นพ.วิชัย โชควิวัฒน  ประธานคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม (บอร์ด อภ.) กล่าวว่า เนื่องจากตนจะครบเกณฑ์การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายกำหนด โดยจะมีอายุครบ 65 ปี ในวันที่ 2 ก.พ.นี้ ซึ่งแน่นอนว่า ทางบอร์ดจำเป็นต้องสรรหากรรมการใหม่  ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนอยู่แล้ว
       
       นพ.วิชัย กล่าวว่า   นอกจากนี้ จะมีกรรมการรายอื่นๆ ที่ยอมลาออกในวันที่ 3 มี.ค.2555 ขณะที่ นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการ อภ.ยังต้องอยู่ตามวาระต่อไป  โดยกรรมการคนอื่นๆ ต้องสรรหาใหม่ตามขั้นตอนของกฎหมาย ทั้งนี้ สำหรับการดำรงตำแหน่งอื่นของ นพ.วิชัย เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จะหมดวาระตามเงื่อนไขของอายุในตำแหน่งรองประธานกรรมการคนที่ 2 เมื่ออายุ 70 ปีบริบูรณ์  ในขณะที่คณะกรรมการในสัดส่วนของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ซึ่งปัจจุบัน นพ.วิชัย ดำรงตำแหน่งในสัดส่วนคณะกรรมการตัวแทนภาคเอกชน ไม่มีการกำหนดอายุของคณะกรรมการ
       
       ด้าน พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ   ประธานสมาพันธ์ โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป (สพศท.) กล่าวว่า  การวางมือเรื่องนี้ เป็นข้อจำยอมที่กฎหมายกำหนด อย่างไรก็ตามตนในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุข อยากเรียกร้องให้คณะกรรมการที่ดำเนินการสรรหา บอร์ดชุดใหม่ มีความโปร่งมากกว่าเดิม อย่าพยายามใช้เส้น และเดินเกมด้วยการดึงพรรคพวกเข้าบริหาร เพื่อหวังผลประโยชน์อย่างเดียว

ASTVผู้จัดการออนไลน์    10 มกราคม 2555

8181
สปส.ระบุ รพ.เอกชน เข้าใจเรื่องค่ารักษาตามกลุ่มโรคร้ายแรงแล้ว เผย ส่งหนังสือชวน รพ.ต่างๆ เข้าร่วมโครงการรักษากลุ่มโรคร้ายแรงแล้ว เผย ช่วงปีใหม่มีผู้ประกันตนเข้ารับการรักษาพยาบาล 692 คน ส่วนใหญ่ประสบอุบัติเหตุ แนะ เดือน ม.ค.-มี.ค.ผู้ประกันตนแจ้งเปลี่ยนโรงพยาบาล 
           
       วานนี้ (9 ม.ค.) นพ.สุรเดช  วลีอิทธิกุล ผอ.สำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน   กล่าวถึงกระแสข่าวโรงพยาบาลเอกชนจะออกจากการเป็นคู่สัญญาของ สปส.เนื่องจากยังไม่มีความชัดเจนเรื่องสัญญาค่าใช้จ่ายกลุ่มโรคร้ายแรง ว่า ขณะนี้โรงพยาบาลคู่สัญญาทั้งหมดเข้าใจดีแล้ว ในเรื่องการเพิ่มเรื่องโรคร้ายแรงเข้ามา ซึ่งขณะนี้ได้มีการออกหนังสือเชิญโรงพยาบาลต่างๆ เช่น โรงพยาบาลเฉพาะทาง ศูนย์แพทย์ และโรงพยาบาลรัฐต่างๆ มาร่วมโครงการรักษากลุ่มโรคร้ายแรง  ส่วนมาตรการควบคุมการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลและมาตรฐาน ขณะนี้มี 3 แนวทางหลัก คือ การจ้างแพทย์ พยาบาล เพิ่มเติมจาก 8 คน เป็น 14 คน ในการตรวจสอบว่า มีการเบิกจ่ายตรงตามรักษาหรือไม่ รวมถึงการจัดทำระบบตรวจสอบใน 3 กองทุน และจัดให้มีเจ้าหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลมากขึ้น
                 
       ในช่วงเทศกาลปีใหม่ระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม 2554 -  4 มกราคม 2555 มีการเดินทางกลับภูมิลำเนาจำนวนมาก ส่งผลให้ผู้ประกันตนต้องมีการใช้สิทธิ์รักษาพยาบาลนอกพื้นที่ โดยช่วง 8 วัน มีผู้ประกันตนเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลนอกบัตรรับรองสิทธิ์จำนวน 692 คน ส่วนใหญ่จะเป็นการรักษา เนื่องจากอุบัติเหตุ เจ็บป่วยฉุกเฉิน และเจ็บป่วยทั่วไป
       
       ขณะเดียวกัน ยังมีผู้ประกันตนบางส่วนที่ไม่ได้แจ้งโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิ์ เมื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลโรงพยาบาลอื่น ที่ยังไม่มาเบิกค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายก่อนคืน นอกจากนี้ในช่วงที่ผ่านมามีโรงพยาบาล เข้า-ออกจากการเป็นคู่สัญญาของ สปส.ในจำนวนที่เท่ากัน คือ 6 แห่ง ส่วนสาเหตุที่ออกเนื่องจากเป็นนโยบายของโรงพยาบาล ที่ต้องการเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายในการรักษา ซึ่งขณะนี้ สปส.มีโรงพยาบาลคู่สัญญาจำนวน 240 กว่าแห่ง ที่เปิดให้บริการผู้ประกันตน
                 
       นพ.สุรเดช กล่าวอีกว่า ช่วงตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม 2555 หรือช่วงนี้ของทุกปี จะเปิดให้ผู้ประกันตน หรือสถานพยาบาลสำรวจความต้องการของผู้ประกันตน ว่า มีความต้องการเปลี่ยนโรงพยาบาลในการรักษาพยาบาลหรือไม่ ซึ่งผู้สนใจตรวจสอบรายชื่อโรงพยาบาลสามารถเข้าไปดูได้ที่ www.sso.go.th หรือ ติดต่อที่สำนักงานประกันสังคมใกล้บ้าน

ASTVผู้จัดการออนไลน์    10 มกราคม 2555

8182
 4 หน่วยงาน หนุนโครงการพยาบาลชุมชนคืนถิ่น มอบทุนการศึกษาให้พยาบาลชั้นปี 3-4 จำนวน 25 คน ประจำปี 54 ตั้งเป้าให้กลับไปรับใช้ชุมชน โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล ตามภูมิลำเนาของตน หรือพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่ห่างไกล
       
       วันนี้ (10 ม.ค.) ที่สภาการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข มีพิธีมอบทุนการศึกษานักศึกษาพยาบาลในโครงการพยาบาลของชุมชนคืนถิ่น ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สภาการพยาบาล และ ธนาคารเพื่อการเกษตร
       
       นพ.วีระวัฒน์ พันธ์ครุฑ รองเลขาธิการ สปสช.เปิดเผยหลังลงนามความร่วมมือ ว่า โครงการพยาบาลของชุมชนคืนถิ่นเกิดจากการประสานความร่วมมือระหว่าง สปสช.สภาการพยาบาล และกระทรวงสาธารณสุข เพื่อร่วมดำเนินงานโครงการ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อเป็นทุนการศึกษา จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำนวนเงินรวม 9 ล้านบาทถ้วน เพื่อสนับสนุนการร่วมผลิตพยาบาลโครงการพยาบาลของชุมชนคืนถิ่น จำนวน 2 รุ่น จำนวนรวม 45 คน โดยสนับสนุนเป็นทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาพยาบาลที่กำลังศึกษาชั้นเรียนปีที่ 3 และ 4 ในสถาบันการศึกษาภาครัฐและเอกชน ทุนการศึกษาละ 200,000 บาท/คน/2 ปีการศึกษา คือ โดยแบ่งเป็นทุนการศึกษา รุ่นที่ 1 ปีการศึกษา2554 จำนวน 25คน และทุนการศึกษา รุ่นที่ 2 ปีการศึกษา 2555จำนวน 20 คน
       
       รองเลขาธิการ สปสช.กล่าวต่อว่า การผลิตพยาบาลในครั้งนี้เป็นแนวทางการร่วมผลิตพยาบาลที่มีความรู้ ทักษะ และเจตคติที่เหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ ได้กลับไปปฏิบัติงานประจำในโรงพยาบาลพื้นที่ห่างไกล ทุรกันดารระดับ 1 และ 2 รวมทั้งการจัดระบบสนับสนุนและธำรงรักษาพยาบาลชุมชน ให้สามารถคงอยู่ในพื้นที่และพร้อมที่จะเป็นกำลังสำคัญในการดูแลสุขภาพ ประชาชนชนบทในเขตพื้นที่ทุรกันดารที่อยู่ห่างไกล ให้ได้รับบริการด้านสุขภาพที่ดีอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันในระบบบริการสุขภาพ เพื่อเป็นการสนับสนุนระบบบริการปฐมภูมิที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน และเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพยาบาลชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชนบทห่างไกล

ศ.เกียรติคุณ ดร.วิจิตร ศรีสุพรรณ นายกสภาการพยาบาล กล่าวว่า การมอบทุนให้นักศึกษาในครั้งนี้ เป็นนักศึกษาพยาบาลโครงการพยาบาลของชุมชนคืนถิ่น รุ่นที่ 1 ปีการศึกษา 2554 ซึ่งเป็นนักศึกษาพยาบาล ชั้นเรียนปีที่ 3 จำนวน 25 คน ที่ผ่านกระบวนการคัดเลือกเพื่อรับทุนการศึกษาตามเกณฑ์การคัดเลือกของโครงการ โดยเป็นนักศึกษาพยาบาลที่มีผลการเรียน เกรดเฉลี่ย 2.57-3.76 จากสถาบันการศึกษาภาครัฐ 6 แห่ง จำนวน 11 คน และจากสถาบันการศึกษาภาคเอกชน 5 แห่ง จำนวน 14 คน นักศึกษาพยาบาลที่ได้รับการคัดเลือก เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติและความพร้อมที่จะไปปฏิบัติงานในพื้นที่ภูมิลำเนาของ ตนเองหรือพื้นที่ใกล้เคียงที่เป็นพื้นที่ชนบทที่ห่างไกลและทุรกันดาร ซึ่งเมื่อจบการศึกษาแล้วจะไปปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน ในพื้นที่ทุรกันดารระดับ 1 จำนวน 14 คน และ พื้นที่ทุรกันดารระดับ 2 จำนวน 11 คน ซึ่งเป็นโรงพยาบาลชุมชนในพื้นที่ทุรกันดารภาคใต้ 3 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 8 แห่ง ภาคเหนือ 5 แห่ง และภาคกลาง 1 แห่ง
       
       นายกสภาการพยาบาล กล่าวต่อว่า นักศึกษาพยาบาล ส่วนใหญ่เป็นเด็กที่มาจากชนบท การสร้างแรงผลักดันและแรงจูงใจให้ได้กลับไปปฏิบัติงานในภูมิลำเนาเกิดของตนเองจะสามารถกลับไปทำประโยชน์ให้แก่พื้นที่บ้านเกิดตนเองได้ เพราะนักศึกษาพยาบาลจะได้รับการปลูกฝังด้านคุณธรรมจริยธรรม การพัฒนา ความรู้ ความสามารถ เพื่อให้ได้พยาบาลบัณฑิต ที่มีความรู้ ความสามารถ เป็นคนดี มีความสุข มีสุขภาพกาย สุขภาพจิต และจิตวิญญาณที่ดี และมีความพร้อมที่จะเป็นพยาบาลของชุมชนในพื้นที่ชนบท ตลอดจนมีเจตคติที่ดีต่อการกลับไปสร้างสรรค์ความเจริญให้แก่ท้องถิ่นของตนเอง

ASTVผู้จัดการออนไลน์    10 มกราคม 2555

8183
บอร์ด สปสช.เลือกคณะอนุกรรมการ 12 ชุด แต่ต้องสรรหารายชื่อก่อนเสนอบอร์ดต้น ก.พ.นี้ “นิมิตร” มั่นใจ ไม่เก็บสามารถเก็บ 30 บาทได้ เหตุยังมีดีเบตกันยาว เชื่อคำ “นายกฯ” ย้ำ หากระบบบริการไม่มีคุณภาพไม่เดินหน้า
       
       นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ให้สัมภาษณ์ว่า ภายหลังการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) เมื่อวันที่ 9 ม.ค.ที่ผ่านมา ที่ประชุมมีการพิจารณาการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการในการทำงานด้านต่างๆ ทั้งหมด 12 ชุด ประกอบด้วย
1.คณะอนุกรรมการด้านบริหารยุทธศาสตร์
2.คณะอนุกรรมการเพื่อการพัฒนาสิทธิประโยชน์และการบริการ
3.คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง
4.คณะอนุกรรมการประเมินผลระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
5.คณะอนุกรรมการกลั่นกรองกรณีอุทธรณ์
6.คณะอนุกรรมการด้านการพัฒนาและบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์
7.คณะอนุกรรมการด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
8.คณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพระดับเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
9.คณะอนุกรรมการตรวจสอบ (มาตรา 21)
10.คณะอนุกรรมการธรรมาภิบาล
11.คณะอนุกรรมการการมีส่วนร่วม และการคุ้มครองสิทธิ และ
12.คณะอนุกรรมการทบทวนกฎ ระเบียบ ข้อบังคับของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (เฉพาะกิจ)

ซึ่งทั้งหมดได้มอบหมายให้คณะทำงาน โดย นายจรัล ตฤนวุฒิพงศ์ กรรมการบอร์ด สปสช.สาขาแพทย์และสาธารณสุข เป็นประธานคณะทำงานไปดำเนินการเพิ่มเติมถึงรายละเอียดรายชื่อกรรมการ และให้เสนอในการประชุมครั้งต่อไปในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์
   
       ต่อข้อถามว่า กรณีที่ นายกรัฐมนตรี มอบหมายให้บอร์ด สปสช.พัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้ดีกว่าเดิมก่อนเก็บ 30 บาท นพ.วินัย กล่าวว่า ยังไม่มีวาระดังกล่าวในการประชุมครั้งที่ผ่านมา ซึ่งหลังจากนายกฯมอบนโยบายบอร์ด สปสช.ก็จะต้องไปหารือในการดำเนินการ นอกจากนี้ ในกรณีที่นายกฯต้องการให้ 3 กองทุน ทั้งระบบหลักประกันสุขภาพฯ ระบบประกันสังคม ระบบสิทธิสวัสดิการข้าราชการ รวมทั้งกระทรวงมหาดไทย มาหารือกันว่าจะทำอย่างไรให้ทุกระบบมีสิทธิการรักษาที่เท่าเทียม ตรงนี้ต้องมาดูว่านิยามของคำ สิทธิขั้นพื้นฐาน คืออะไร มีอะไรบ้าง ซึ่งคงต้องประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการหารืออีกครั้ง
       
       ขณะที่ นายนิมิตร เทียนอุดม กรรมการ สปสช.สัดส่วนภาคประชาชน กล่าวว่า กรณีเรียกเก็บ 30 บาท ตนเชื่อว่า รัฐบาลไม่มีทางเก็บแน่นอน เนื่องจากในการประชุมมีการถกเถียงมาก เพราะกรรมการที่เป็นแพทย์ส่วนใหญ่เห็นด้วย แต่ทางภาคประชาชนยังคงคัดค้าน เนื่องจากเชื่อว่ายังมีนัยยะทางการเมืองที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนอยู่ โดยส่วนตัวเห็นว่า รัฐบาลควรจะสร้างแบรนด์ใหม่ตามคำของนายกฯ ที่ระบุว่า เน้นบริการสาธาณสุขที่เท่าเทียม ซึ่งดีกว่ากลับมาใช้แบรนด์เก่า ซึ่งชัดเจนว่าเหลื่อมล้ำ แต่เหตุผลที่ทำให้มั่นใจว่า รัฐบาลอาจไม่เก็บ 30 บาท เนื่องจากตอนที่นายกฯ มอบนโยบายในการประชุมที่ผ่านมา ระบุว่า หากบริการสาธารณสุขยังไม่มีคุณภาพดีพอก็ไม่ควรเรียกเก็บเงินใดๆ

ASTVผู้จัดการออนไลน์    10 มกราคม 2555

8184
ปัญหาขาดแคลนแพทย์ในระบบราชการ ผูกโยงอยู่กับปัญหาค่าตอบแทน ความก้าวหน้าในอาชีพ ภาระงานที่หนักอึ้งอย่างแยกไม่ออก กลายเป็นปัญหาใหญ่และเรื้อรังในวงการสาธารณสุขไทย ขณะที่การแก้ไขปัญหายังคงมืดมนหาทางออกได้ยากยิ่ง
       
       “ใน 1 วัน จะมีแพทย์ 1 คน รับหน้าที่ตรวจวินิจฉัยโรคให้ผู้ป่วยประมาณ 100-120 ราย ขณะที่อัตราการกระจายแพทย์ของประเทศไทยนั้น ยังอยู่ที่แพทย์ 1 คนต่อระชากร 10,000 คน ซึ่งนับว่าขาดแคลนอย่างมาก และการเผชิญภาวะของความเหนื่อยหนักในพื้นที่ชนบท ก็ทำให้รู้ว่า ความสามารถในการแบกรับภาระของแพทย์แต่ละคนก็เริ่มลดน้อยถอยลงทุกที” นพ.ชรินทร์ ดีปินตา รักษาการผู้อำนวยการโรงพยาบาล (รพ.) บ้านหลวง อ.บ้านหลวง จ.น่าน และรองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) น่าน กล่าวถึงการทำหน้าที่ในฐานะแพทย์ชนบทประจำโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) บ้านหลวง ซึ่งเป็นพื้นที่ทุรกันดาร
       
       นพ.ชรินทร์ มองปัญหาในวงกว้าง ว่า ความขาดแคลนแพทย์และการรับภาระรักษาผู้ป่วยทั้งชาวไทย และคนไร้สัญชาติ เป็นเรื่องปกติของ รพช.ที่ติดชายแดนต้องพบเจอ โดยในช่วงฤดูหนาวผู้ป่วยนอกจะหลั่งไหลเข้ามามากเป็นพิเศษ ประมาณ 100-120 คนต่อวัน เนื่องจากเกิดการเจ็บป่วยทางระบบทางเดินหายใจมาก และเข้าถึงยาได้น้อย จึงต้องมาเข้ารับบริการตามรพช.ที่ใกล้ที่สุด
       
       เมื่อถามถึงกรณีที่ภาครัฐมีโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท หรือ CPIRD ว่า สามารถพยุงสถานการณ์ได้มากน้อยเพียงใด นพ.ชรินทร์ กล่าวว่า ตามหลักการแล้วการบังคับให้แพทย์จบใหม่ในโครงการดังกล่าวประจำการตามชนบทนานประมาณ 3 ปี เป็นโครงการที่น่ายกย่องในเรื่องของคุณภาพการศึกษาทำให้เด็กในชนบทได้เข้าสู่อาชีพแพทย์มากขึ้น และการปฏิบัติหน้าที่ช่วงชดใช้ทุนนั้นช่วยแบ่งเบาภาระของ รพ.ได้ประมาณ 20 -30% และคงจะเป็นการดีหากขยายเวลาเพิ่มเติมเพื่อให้แพทย์จบใหม่ได้ทำหน้าที่ แต่เรื่องจำนวนปีที่เหมาะสมนั้น โดยส่วนตัวมองว่า 4-5 ปี น่าจะเหมาะสม และจะดีมากหากนำโครงการ 1 อำเภอ 1 แพทย์ หรือ ODOD ที่ต้องชดใช้ทุนนาน 12 ปี มารวมกันแล้วแบ่งงบประมาณกระจายไปให้พอ เพื่อที่จะได้นำเวลามาหารกันสองโครงการ แต่คงต้องสอบถามความเห็นของแพทย์ที่เป็นนักศึกษารุ่นใหม่ และศึกษาสถานการณ์การขาดแคลนแพทย์ในภาพรวมทั้งประเทศ
       
       แม้ นพ.ชรินทร์ จะไม่แสดงความเห็นเรื่องของสัดส่วนค่าตอบแทนที่เหมาะสม แต่ก็ยังเชื่อเสมอว่า หาก สธ.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดการปัญหาเรื่องการขาดแคลนได้ดี การแบ่งค่าตอบแทนที่เหมาะสมก็จะตามมาเอง เพราะถึงอย่างไรความลำบากของแพทย์ในชนบทและแพทย์ในเมืองย่อมต่างกันด้วยบริบททางสังคมอยู่แล้ว

นพ. มงคล ณ สงขลา
       ทว่า ในมุมมองของ นักศึกษาแพทย์อย่าง นศพ.ธวัชสภณ ธรรมบำรุง นายกสหพันธ์นักศึกษาแพทย์แห่งประเทศไทย (สพท.) ระบุอย่างชัดเจนว่า หากแพทย์มีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่จริงๆ ไม่ได้เกี่ยงเรื่องของค่าตอบแทนแน่นอน เพราะเป้าหมายของ นศ.แพทย์หลายคน พยายามจะเรียนต่อเพื่อพัฒนาด้านสาขาวิชาชีพ อย่างไรก็ตาม การเดินหน้าโครงการ CPIRD ย่อมเป็นผลดี แต่เรื่องของการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไข ทาง สพท.ต้องขอเวลาในการรวมรวมข้อมูลเพื่อนำเสนอต่อ ประธานคณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพต่อไป
       
       ขณะที่ นพ. มงคล ณ สงขลา ประธานคณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ เปิดเผยถึงผลการหารือครั้งล่าสุดเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแพทย์และการดำเนินงานในโครงการ CPIRDว่า จำเป็นต้องมีการเพิ่มค่าปรับเพิ่มจาก 4 แสนบาท เพราะเป็นอัตราที่น้อยมากเมื่อเทียบกับความสามารถในการหารายได้ของแพทย์ในปัจจุบัน และการลงทุนของรัฐบาลในการผลิตแพทย์ซึ่งมีค่าใช้จ่ายถึง 1.8 ล้านบาท นั้นสูงกว่าค่าปรับหลายเท่า ส่วนการขยายเวลาการใช้ทุน มีข้อเสนอให้ทบทวนการเพิ่มระยะเวลาให้รอบคอบ โดยอาจหามาตรการเสริมให้แพทย์อยู่ปฏิบัติงานครบ 3 ปี หากจะปรับระยะเวลาชดใช้ทุนเป็น 6 ปี ควรพิจารณาระยะเวลาที่จะอนุญาตให้ศึกษาต่อด้วย เพราะความต้องการไปศึกษาต่อเป็นปัจจัยหนึ่งที่แพทย์ให้ความสำคัญและเป็นสาเหตุให้แพทย์ลาออกก่อนกำหนด ทั้งนี้ การไปศึกษาต่อต้องมีเงื่อนไขที่ชัดเจน เพื่อตอบสนองความต้องการของระบบบริการสาธารณสุขของประเทศ

ASTVผู้จัดการออนไลน์    10 มกราคม 2555

8185
"ปู" ​โปรยยาหอมทุกคนต้อง​ได้รับ​การรักษา​เท่า​เทียมกัน สั่ง 3  หน่วยงานหลัก​ทำ​เวิร์กช็อป จัดระบบสุขภาพมาตรฐาน​เดียว ขณะที่ตัว​แทนภาค ปชช.งัดข้อ​แพทยสภาต้าน​เ​ก็บ 30 บาท

ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ​เมื่อวันที่ 9 มกราคม ​เวลา 14.00 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ​ได้ร่วมประชุมกับคณะกรรม​การหลักประกันสุขภาพ​แห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ​โดยมอบน​โยบายว่า วันนี้คุณภาพชีวิต​เป็น​เรื่องสำคัญ ดังนั้นระบบหลักประกันสุขภาพ​จึงต้องมี​และ​เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของคน​ไทยทุกคน ​ไม่มี​การ​แบ่ง​แยกชั้นวรรณะ ​เพศ ​และชนชั้น ​โดย​การรักษาพยา บาลขั้นพื้นฐาน ประชาชนทุกคนควร ​ได้รับบริ​การที่มีมาตรฐาน​เหมือนกัน ​และ​ได้รับ​การดู​แลสุขภาพอย่าง​เท่า ​เทียมกัน ​แต่หากต้อง​การ​ความสะดวกสบาย​เพิ่มขึ้น​ก็สามารถจ่าย​เพิ่ม​ได้

​ทั้งนี้ จะ​เชิญหน่วยงานที่​เกี่ยวกับ 3 ระบบหลักประกันสุขภาพมา​ทำ​เวิร์กช็อป ​เพื่อ​ให้รู้ว่าสิ่งที่จะ​เดิน​ไปข้างหน้ามีอะ​ไรบ้าง ทิศทาง 3-5 ปี รวม​ไป​ถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน​การรักษาประ ชาชน​เป็นอย่าง​ไร ​และจะมี​การยกระดับ​การรักษาอย่าง​ไรตามสิทธิที่มีอยู่

น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า​เป็นน​โยบายที่​ได้รับ​การยอมรับ​และชื่นชอบจากประชาชนมา 10 ปี​แล้ว หลังจากที่​ได้มี​การประกาศน​โยบาย 30 บาท ​จึง​ให้บอร์ด สปสช.สานต่อ ปรับปรุงระบบ​ใหม่​ให้ดีกว่า​เดิม  ​และขอฝาก 2 ​เรื่องคือ ​การขยายสิทธิประ​โยชน์รักษาพยาบาล มีอะ​ไรที่​ไม่ครอบคลุม​และสามารถ​ทำ​ได้ รวม​ไป​ถึง​การ​เพิ่มประสิทธิภาพ​การบริ​การที่ต้องดีขึ้นจาก​เดิม ​และ​การจัด​เ​ก็บค่าบริ​การ​เพื่อ​ให้ระบบสามารถอยู่​ได้ ​แต่​ในส่วนของ​ผู้ที่​ไม่มีราย​ได้ ​ให้ดูรายละ​เอียดว่าจะขอยก​เว้น​การจัด​เ​ก็บอย่าง​ไร ​เพราะหากจะจัด​เ​ก็บ 30 บาทจริง ต้องมี​การพัฒนาระบบ​ให้ดีกว่า​เดิมก่อน

นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข ​ในฐานะประธานบอร์ด สปสช. กล่าวว่า สธ.จะร่วมกับกอง ทุนสุขภาพ​ทั้ง 3 ระบบ คือ สปสช. สำนักงานประกันสังคม ​และระบบ สวัสดิ​การข้าราช​การ รวม​ถึงกระทรวง ​แรงงาน กระทรวงมหาด​ไทย ​และกระทรวง​การคลัง จัด​การประชุม​เชิงปฏิบัติ​การ​เรื่อง​การวางกรอบสิทธิ ขั้นพื้นฐานของประชาชน​ใหม่​ให้ทุก ระบบ​เท่า​เทียมกันหมด ​เพื่อ​ให้​เป็น มาตรฐาน​เดียวกัน ​ไม่​เหลื่อมล้ำ​เหมือน ที่ผ่านมา ส่วน​การจะกลับมา​เ​ก็บ​เงิน 30 บาทนั้น  นายกฯ รับจะสานต่อ ​เนื่องจาก​เป็นน​โยบายดั้ง​เดิมของพรรค​เพื่อ​ไทยอยู่​แล้ว

ขณะที่ นายนิมิตร์ ​เทียนอุดม กรรม​การ สปสช. กล่าวภายหลัง​การประชุมว่า ​การหารือวันนี้​แบ่ง​เป็น 2 ฝ่าย มีฝ่าย​แพทย์ที่นำ​โดย​แพทยสภา​เชียร์​ให้จัด​เ​ก็บ 30 บาท อ้างว่าจะป้องกัน​การรักษาที่พร่ำ​เพรื่อ​ได้ ขณะที่อีกฝ่ายคือตัว​แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น​และ​เอ็นจี​โอที่​เห็นว่า​ไม่ควร​เ​ก็บ ​แต่ขอ​ให้​เน้นคุณภาพ​การบริ​การที่ดีขึ้น​แทน ​ซึ่งนายกฯ ​ก็รับฟัง​และบอกว่า​เรื่องนี้ต้อง​เวิร์กช็อปกันอีกครั้ง ​แล้ว​จึงมาชั่งน้ำหนัก

​ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อน​การประชุมบอร์ด สปสช. มีกลุ่มตัว​แทนคนรักหลักประกันสุขภาพประมาณ 100 คน นำ​โดยนายบารมี ชัยรัตน์ ​โฆษกของกลุ่ม ​ได้ยื่นหนังสือต่อนายกฯ ​เพื่อขอ​ให้รัฐบาล​เดินหน้าพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ​ให้​เกิด​ความ​เป็นธรรม ลด​ความ​เหลื่อมล้ำ พร้อมขอ​ให้ทบทวนน​โยบายจัด​เ​ก็บ​เงิน 30 บาท ​โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์รับจะนำ​ไปหารือกับคณะกรรม​การ ​โดย​เห็นด้วยที่หลักประกันสุขภาพต้อง​ทำ​ให้​เกิด​ความ​เท่า​เทียม.

ไทย​โพสต์  10 มกราคม 2555

8186
 สช.รวมพลังเครือข่ายสมัชชาฯ พลิกวิกฤตเป็นโอกาส พัฒนาระบบจัดการภัยพิบัติ พร้อมรับมือทุกภัยในอนาคต เน้นสร้างชุมชนเข้มแข็งช่วยเหลือตัวเองก่อน
       
       วันนี้ (9 ม.ค.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และสำนักงานปฏิรูป (สปร.) แถลงข่าวเปิดเวที “สังเคราะห์บทเรียน : จากมหาอุทกภัย สู่ขอเสนอการพัฒนาระบบจัดการภัยพิบัติ” โดยร่วมกับสมัชชาเครือข่ายกว่า 20 องค์กรทั่วประเทศ อาทิ สถาบันองค์กรชุมชน (พอช.) สถาบันระบบสาธารณสุข (สวรส.) สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เครือข่ายจิตอาสา สมาคมผังเมืองไทย เครือข่ายวางแผนและผังเมืองเพื่อสังคม  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพแห่งชาติ (สสส.)       
           
       นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กล่าวว่า จากสถานการณ์มหาอุทกภัยที่ผ่านมา ทุกฝ่ายไม่ควรปล่อยให้ผ่านไปโดยปราศจากการทบทวนบทเรียน และแทนที่จะเห็นเพียงแค่ด้านลบของหายนะ ทุกภาคส่วนน่าจะพลิกเปลี่ยนความทุกข์เป็นความหวัง และโอกาสในการร่วมมือกัน โดยใช้สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เป็นเวทีสาธารณะในการสร้างระบบการจัดการภัยพิบัติที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง
       
       
       “สมัชชาสุชภาพครั้งนี้ คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ได้เห็นชอบให้ดำเนินงานภายใต้แนวคิดหลักเรื่องการเตรียมรับมือกับภัยพิบัติอยู่ก่อนแล้ว แต่ด้วยน้ำท่วมที่ผ่านมานั้น เป็นเหตุสุดวิสัยต้องเลื่อนการจัดงานออกไปเป็นวันที่ 2-4 กุมภาพันธ์ 2555 ระหว่างนี้จึงใช้เวลาในการปรับปรุงร่างข้อเสนอเชิงนโยบายฯ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปทาง สช.จึงร่วมมือกับ สปร.และภาคีเครือข่ายกว่า 20 องค์กร ระดมความรู้ความคิดและประสบการณ์ ร่วมประชุมกันอย่างจริงจังในการสร้างระบบจัดการภัยพิบัติอย่างรอบด้านและมัประสิทธิภาพสูงสุด" เลขาธิการ กล่าว
         
       นพ.ศุภกิจ  ศิริลักษณ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวในส่วนระบบการแพทย์การสาธารณสุขเพื่อรับมือภัยพิบัติ ว่า ระบบการแพทย์ในสถานการณ์คับขัน จำเป็นต้องได้รับการสัังเคราะห์บทเรียน เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับภัยครั้งต่อไป จะเป็นการตรวจสอบอย่างใกล้ชิด ระบบสื่อสาร การจัดการอาหาร เครื่องช่วยหายใจและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จำเป็นทุกชนิด ยานพหนะสำหรับการขนส่ง และขยะ การเตรียมระบบการออกหนาวยพยาบาลเคลื่อนที่ การเตรียมสถานที่รักษาผู้ป่วยนอกสถานพยาบาล ระบบการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากพื้นที่ประสบภัย การฝึกฝนเสริมทักษะให้แก่บุคคลสาธารณสุข และอาสาสมัครในช่วงวิกฤต ตลอดจนการวางแผนระยะยาว เช่น กฏหมายควยคุมอาคารสถานพยาบาลที่ต้องอำนวยต่การทำงานในสถานการณ์ฉุกเฉิน
         
       “กระทรวงสาธารณสุข ได้ตื่นตัว  เร่งให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยตั้งแต่ก่อนสถานการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมาแล้ว พอเกิดน้ำท่วมใหญ่ทำให้พบข้อบกพร่องหลายอย่างที่ต้องนำมาแก้ไขปรังปรุง จนได้หลักการ 2p2R คือ การเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ (Preparation) ตั้งแต่เวชภัณฑ์จำเป็นไปจนกระทั่งการส่งต่อผู้ป่วย การวางระบบป้องกัน (Prevention)ที่มีประสิทธิภาพ เช่น การข่าวและการประสานงานกับเครือข่ายเฝ้าระวัง ด้ารการบริหารจัดการภาวะฉุกเฉินก็สำคัญ จึงแบ่งคณะทำงานจัดการแต่ละเรื่องโดยเฉพาะทั้งหมด 10 เรื่อง และต้องมีการจัดการหลังเกิดภัยแล้ว ซึ่งจะเป็นเรื่องของการฟื้นฟูเยียวยาทั้งคนสิ่งแวดล้อม สถานบริการ รวมถึงงบประมาณด้วย” ผอ.สำนักนโยบาย กล่าว
         
       นพ.พลเดช  ปิ่นประทีป เลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา กล่าว่า ชุมชนต่างๆ มีการสรุปบทเรียน หลังจากที่ผ่านเหตุการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำป่าที่ภาคใต้หลายปีที่ผ่านมา หรือเหตุการณ์ดินถล่ม จมมาถึงเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ที่ผ่านมา ชุมชนได้เรียนรู้ที่จะช่วยเหลือตัวเอง โดยไม่รอความช่วยเหลือจากภาครัฐ และภัยพิบัติยังเตือนให้ชุมชนต้องริเริ่มจัดวางระบบและการจัดการต่างๆ ในการรับมือกับภัยพิบัติทุกประเภทอย่างจริงจัง โดยอาศัยทุนทางสังคมของตน และเสริมด้วยฐานพลังความรู้เชิงวิชาการและพลังทางสังคมจากทุกเครือข่าย”  นพ.พลเดช กล่าว

ASTVผู้จัดการออนไลน์    9 มกราคม 2555

8187
 ภายใต้นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่รัฐเป็นผู้ดูแลค่าใช้จ่ายในการรักษาให้กับประชาชนได้ท้าทายความสามารถในการบริหารจัดการด้านการเงินของทุกโรงพยาบาลที่ต้องรับภาระ ทั้งค่าตอบแทนบุคลากร ค่าดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย ฯลฯ ขณะที่งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรในแต่ละปีมีอยู่อย่างจำกัด
       นพ.มนัส กนกศิลป์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี นำพาโรงพยาบาลก้าวสู่อันดับหนึ่งในกลุ่มโรงพยาบาลที่มีความมั่นคงทางการเงินสูงสุดของประเทศ ด้วยการดำเนินโยบายและยุทธวิธีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด
       
       นพ.มนัส เล่าว่า การเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ปัญหาทางการเงินการคลัง และระบบหลักประกันสุขภาพ ของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อประเมินผลสถานะทางการเงินของโรงพยาบาลในสังกัดร่วม 900 แห่งทั่วประเทศ ไม่ให้เกิดปัญหาวิกฤตการเงินการคลัง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการให้บริการรักษาผู้ป่วยและการจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง
       
       ล่าสุด จากผลการประเมินที่ได้รับแจ้งผ่านการประชุมทางไกลผ่าน E-conference เรื่องการเฝ้าระวังสถานการณ์ปัญหาการเงินการคลังและระบบประกันสุขภาพหน่วยบริการทั่วประเทศทุกวันพุธที่ 3 ของเดือน โดยศูนย์ปฏิบัติการการเงินการคลัง กลุ่มประกันสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 20 ธ.ค.2554 จากรายงานการเงินการคลัง 2 ไตรมาสสุดท้ายของปีงบประมาณที่ผ่านมา ปรากฏว่า โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ได้แซงหน้าขึ้นสู่อันดับหนึ่งแทน โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ซึ่งครองตำแหน่งโรงพยาบาลอันดับหนึ่งของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่มีสถานะความมั่นคงทางการเงินสูงสุดมาก่อนหน้านี้
       
       ภายในระยะเวลา 3 ปี ที่ นพ.มนัส ได้บริหารโรงพยาบาลด้วยนโยบายการลดต้นทุนและนโยบายเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผลหลากหลายรูปแบบทำให้โรงพยาบาลได้ขยับขึ้นจากโรงพยาบาลที่มีผลประกอบการทางด้านการเงินการคลังเกินกว่าสิบอันดับแรกของประเทศ และ ณ วันนี้ สามารถก้าวสู่อันดับหนึ่งได้สำเร็จ ซึ่งถือเป็นข่าวดี
       
       “ขณะที่หลายๆ คน คิดว่า โรงพยาบาลของรัฐไม่จำเป็นต้องมีกำไรก็ได้ แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เนื่องจากเมื่อก่อนนี้โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ มีบุคลากรแค่หลักร้อยเป็นข้าราชการและลูกจ้างประจำเกิน 95% อีกไม่ถึง 5% เป็นลูกจ้างชั่วคราว ต้องใช้เงินบำรุงโรงพยาบาลจ่ายเป็นค่าจ้าง ค่าตอบแทน แต่ปัจจุบันโรงพยาบาลฯ มีบุคลากรมากกว่า 3,000 คน มากกว่าครึ่งเป็นลูกจ้างชั่วคราว ซึ่งต้องใช้เงินบำรุงโรงพยาบาลจ่ายเป็นค่าตอบแทนเป็นจำนวนมาก ดังนั้น ถือเป็นความจำเป็นในการอยู่รอดทางการเงินการคลังที่ต้องมีรายได้เพื่อนำมาจ่ายค่าตอบแทนบุคลากร”
       
       โจทย์ใหญ่ในความจำเป็นข้างต้น ผอ.มนัส บอกว่า ทีมบริหารโรงพยาบาล ซึ่งมีรอง ผอ.มากที่สุดถึง 12 คน ได้ร่วมกันวาง 3 ยุทธวิธี เพื่อเพิ่มความมั่นคงทางการเงินการคลังของโรงพยาบาล โดยยุทธวิธีแรก คือ การจัดซื้อจัดจ้างรวมทั้งการต่อรองราคาให้ประหยัดที่สุด ยุทธวิธีที่สอง คือ การบริหารจัดการส่งข้อมูลในการเรียกเก็บเงินให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด และยุทธวิธีที่สาม คือ การสร้างค่านิยมให้องค์กรรู้จักประหยัดและมุ่งเน้นการรักษาพยาบาลที่เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางที่ได้ค่าตอบแทนสูง และการจ่ายค่าตอบแทนที่ส่งเสริมให้เกิดรายรับขึ้นในโรงพยาบาลแล้วแบ่งรายรับบาลส่วนไปจ่ายเป็นค่าตอบแทนผลงานของบุคลากร ซึ่งสอดรับกับความต้องการที่แท้จริงของประชาชน
       
       สำหรับยุทธวิธีเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างที่เกิดการประหยัดจากการต่อรองราคา การประหยัดจากการปรับระบบขนส่งวัสดุคงคลังต่างๆ ทั้งหมดนี้ได้รับความร่วมมือจากรอง ผอ.ในสายงาน โดยเฉพาะ นพ.วิศิษฐ์ สงวนวงศ์วาน รอง ผอ.ฝ่ายการแพทย์ และ นางเขมจรินทร์ วงศ์ตระกูลไชย รอง ผอ.ฝ่ายบริหาร พร้อมด้วยคณะรอง ผอ.อีก 4 คน ที่เข้ามาช่วยในรายละเอียด โดยทีมงานของ นพ.เจนฤทธิ์ วิตตะ รองผอ.ด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ทำให้เกิดการจัดซื้อจัดจ้างจะต่อรองราคากันสุดๆ
       
       การดำเนินยุทธวิธีเช่นนี้ทำให้ในปี 2552 สามารถจัดซื้อจัดจ้างได้ถูกกว่าปกติถึง 94 ล้านบาท ใช้กำลังเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการต่อรองราคา 138 คน ต่อมาในปี 2553 สามารถประหยัดในการจัดซื้อจัดจ้างประมาณ 54 ล้านบาท มีกำลังเจ้าหน้าที่เข้ามาช่วย 143 คน และในปี 2554 มีการจัดซื้อจัดจ้างได้ถูกกว่าปกติอีก 68 ล้านบาท มีกำลังเจ้าหน้าที่ช่วยในการต่อรองราคามากกว่า 100 คน รวมเบ็ดเสร็จยอดสะสม 3 ปี กว่า 100-150 ล้าน
       
       ยุทธวิธีที่สอง คือ การจัดทำข้อมูลเพื่อเรียกเก็บเงิน ซึ่งมี นพ.ศักดิ์ชัย ธีระวัฒนสุข รอง ผอ.ด้านพัฒนาคุณภาพบริการ ขุนพลหลักที่กำกับดูแลเรื่องนี้โดยมีกำลังเจ้าหน้าที่มากกว่า 300 คน ทั้งแพทย์ฝึกหัด แพทย์ Extern, Coder, Auditor นักศึกษาแพทย์ และแพทย์ Staff รวมทั้งเจ้าหน้าที่เวชสถิติและพยาบาล ช่วยกันทำข้อมูลเพื่อเรียกเก็บเงิน ซึ่งปีนี้มีรายได้จากการเรียกเก็บเงินจากสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติสูงที่สุดในประเทศไทย คือ 143 ล้านบาท อาจกล่าวได้ว่า สรรพสิทธิประสงค์ เป็นโรงพยาบาลที่รับผู้ป่วยจากการส่งต่อมากที่สุดในประเทศ โดยในปี พ.ศ.2553 โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา มียอดผู้ป่วยในมากที่สุดในประเทศไทย คือ ประมาณ 91,000 คน ส่วนโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ มีผู้ป่วยในมากที่สุดเป็นอันดับสองของประเทศ (มากกว่า รพ.ศิริราช) คือ 90,216 คน แต่โรงพยาบาลมหาราช รับผู้ป่วยจากการส่งต่อ ประมาณ 55,000-60,000 คน ขณะที่ สรรพสิทธิประสงค์ รับผู้ป่วยในจากการส่งต่อมากกว่า 80,000 คน ซึ่งน่าจะมากที่สุดในประเทศไทย
       
       “เราเป็นโรงพยาบาลที่ไม่เคยปฏิเสธการรักษา มีค่านิยมขององค์กรแข็งแกร่งในเรื่องนี้ ดังนั้น เราเก็บเงินทุกบาททุกสลึงที่หล่นๆ จากการส่งต่อคนไข้ไปรักษาที่อื่นโดยไม่จำเป็น ทั้งนี้ เพราะเรามีขีดความสามารถสูงและรักษาเองได้แทบทุกโรค เรารักษาเองและจะไม่ส่งต่อผู้ป่วยที่เราคาดว่าจะรักษาเองได้ไปที่อื่น อีกทั้งผู้ป่วยก็ยังมีความศรัทธาโรงพยาบาลของเราและไม่ยอมไปรักษาที่อื่นด้วย นี่คือประเด็นหลักที่ทำให้เรามีรายได้เหลือมากกว่ารายจ่ายเยอะที่สุดในประเทศ” นพ.มนัส กล่าว
       
       ด้วย 2 ยุทธวิธีข้างต้น ทำให้ทำยอดรวมกันแล้วเป็นรายรับที่ได้จากการประหยัดและการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดทำข้อมูลเพื่อเรียกเก็บเงินนี้ร่วม 80-90% ของเงินรายได้ทั้งหมดของ
       เงินรายได้สุทธิที่มีประมาณ 330 ล้านบาท ในปีนี้ ส่วนที่เหลืออีกเล็กน้อยมาจากการเพิ่มรายได้ซึ่งไม่น่าจะถึง 20% ของเงินรายได้สุทธิทั้งปี ส่วนยุทธิวิธีที่สาม คือ การสร้างค่านิยมประหยัด โดยเชิญผู้เกี่ยวข้องทั้งในระดับแพทย์ เภสัชกร พยาบาล และเจ้าหน้าที่ทุกระดับประมาณ 3,000 กว่าคน รับทราบนโยบายดูแลผู้ป่วยเหมือนญาติตนเอง และคิดว่าเป็นการจ่ายเงินตนเองไม่ใช่เงินหลวง ให้ใช้หลักการประหยัดคำนึงถึงความอยู่รอดของประเทศชาติและองค์กร ความคุ้มค่าของผลการรักษาที่ผู้ป่วยจะได้รับเป็นหลัก
       
       นอกเหนือจากการวางยุทธวิธีที่ชัดเจนในเป้าหมายแล้ว นพ.มนัส ยังเน้นย้ำถึงเคล็ดลับบริหารที่สำคัญว่า ไม่ว่ายุทธศาสตร์ ยุทธวิธีใดๆ ปัจจัยชี้ขาดของชัยชนะคือคนนั่นเอง ดังนั้น การบริหารจัดการและการควบคุมการเงินการคลังของโรงพยาบาล จึงมีรองผอ.อย่างน้อย 7 คน ที่เข้ามาช่วยดูแล โดยมี 3 คน ปฏิบัติหน้าที่โดยตรง คือ รองฯ ฝ่ายการแพทย์, รองฯ ฝ่ายบริหาร และ ภก.ดนุ
       
       ภพ ศรศิลป์ รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนงานงบประมาณและตรวจสอบภายใน ซึ่งทำหน้าเป็น Chief Finance Officer (CF0) ของโรงพยาบาล ส่วนรองฯ อีก 4 คน เข้ามาช่วยควบคุมการเงินการคลังเช่นกัน โดย นพ.สุรพล ตั้งสกุล รองผอ.ฝ่ายติดตามและประเมินผลจะเข้ามาช่วยติดตามประเมินผลโครงการต่างๆ ขณะที่ นพ.ปรีดา อิทธิธรรมบูรณ์ รองผู้อำนวยการด้านบริการทุติยภูมิและตติยภูมิ เป็นผู้คิดวิธีการหารายได้ช่องทางใหม่ๆ มาใช้เป็นทางเลือกในอนาคต เช่น ช่องทางเปิดคลินิกนอกเวลาราชการ ซึ่งขณะนี้โรงพยาบาลมีบริการตรวจคลินิกพิเศษนอกเวลาราชการ และมีระบบนัดแพทย์ออนไลน์ ผ่าน "http://www.sappasit.go.th/clinic">www.sappasit.go.th/clinic ขณะเดียวกัน โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ยังวางแผนขยายรับผู้ป่วยจากประเทศเพื่อนบ้าน ทั้ง ลาว เวียดนาม เพื่อรองรับการเปิดเสรีอาเซียน ซึ่งเป็นความร่วมมือกันทางการแพทย์ในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกัน โดยขณะนี้การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร เช่น การจัดทำปฏิทินปีใหม่ 2555 คู่มือการให้บริการคลินิกนอกเวลาราชการ ได้จัดทำเป็น 3 ภาษา คือ ไทย ลาว และเวียดนาม เป็นต้น
       
       “หน้าที่ผมโดยแท้จริงแล้ว ก็คือ การมีกุศโลบายในการเลือกใช้คนให้เหมาะสมกับงานและบังเอิญโชคดีที่เรามีคนดี มีความสามารถจำนวนมากในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์แห่งนี้” ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ กล่าวทิ้งท้าย

ASTVผู้จัดการออนไลน์    9 มกราคม 2555

8188
“นายกฯ” เยือน สธ.เจอม็อบดักพบเพียบ! ทั้งเครือข่ายภาคประชาชน และเครือข่ายวิชาชีพ สธ.พร้อมใจยื่นเรื่องร้องเรียนสารพัด เจ้าตัวยันอยากให้ สธ.สานต่อนโยบาย 30 บาท  ยังพ่วงปัญหาห้ามสื่อเข้าฟังนโยบายระหว่างประชุม       
       
       วันนี้ (9 ม.ค.)   น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี  เดินทางเป็นประธานเข้าร่วมประชุมมอบนโยบายระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โดยมีนายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) คณะผู้บริหาร สธ.  รวมทั้งเครือข่ายภาคประชาชน และเครือข่ายวิชาชีพรอเข้าคิวยื่นหนังสือร้องเรียนหลายกรณี   อาทิ    กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ มีการยื่นหนังสือข้อเสนอภาคประชาชนต่อการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ เพื่อขอให้รัฐบาลทบทวนเรื่องนโยบายการเก็บ 30 บาท ในระบบหลักประกันสุขภาพ   และขอให้รัฐบาลเดินหน้าระบบประกันสุขภาพให้เป็นมาตรฐานเดียว
       
       ด้าน ภญ.อมราพักตร์  สารกุล เภสัชกรประจำ รพ.จอมพระ  จ.สุรินทร์  ตัวแทนจากเครือข่ายเภสัชกรลูกจ้างชั่วคราว กล่าวว่า ตัวแทนลูกจ้างชั่วคราวจำนวน 40 คนทั่วประเทศ  ได้เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนเรื่องการไม่ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการ (เภสัช)    เนื่องจากมีลูกจ้างชั่วคราวที่เป็นเภสัชกรรายปีที่จบในปีการศึกษา 2543-2548  จำนวนราว 1,000 คน ไม่ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการ ขณะที่ผู้จบการศึกษาในปี 2549 ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการแล้ว                 
       ขณะที่ พญ.อรพรรณ์ เมธาดิลกกุล  รองประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย (สผพท.) และหัวหน้าคณะทำงานเข้าชื่อเสนอกฎหมายทบทวนยกเลิก พ.ร.บ.ที่เกิดขึ้นจากการบริหารงานบกพร่องของ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) สำนักงานคณะกรรมการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (สช.).
       
       น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวในเป็นประธานเปิดการประชุม ว่า  การพัฒนาคุณภาพของระบบหลักประกันสุขภาพ นับเป็นนโยบายสำคัญที่รัฐบาลได้กำหนดให้เป็นนโยบายเร่งด่วน โดยเฉพาะในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ขอให้สานต่อ แต่อยากให้สานต่อแบบดีกว่าเดิม คือ ต้องทำให้คนไทยแข็งแรง และเจ็บป่วยน้อยลง  และต้องพัฒนาระบบให้ดีขึ้น ซึ่งต้องพัฒนาทั้งการดูแลรักษารักษาพยาบาล และการบริการขั้นตอนต่างๆ ทั้งลดเวลาการรับบริการ ขณะเดียวกัน ประสิทธิภาพการรักษาพยาบาล การบริการต้องดีขึ้น  นอกจากนี้ ในเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานการรักษาพยาบาลของประชาชนต้องมีความเสมอภาค ต้องไม่แบ่งชั้นวรรณะ เพศ ทุกคนต้องได้รับความเท่าเทียม ทั้ง 3 ระบบ คือ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประกันสังคม และสิทธิสวัสดิการข้าราชการ
               
       “ส่วนระบบไหนจะไปเพิ่มสิทธิพิเศษตามแต่ละระบบก็ไปจัดการกันเอง  แต่สิทธิพื้นฐานต้องเหมือนกัน โดยจะมีการประชุมเชิงปฏิบัติการทั้ง 3 กองทุน ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย เพื่อพิจารณาว่าสิทธิขั้นพื้นฐานของแต่ละกองทุนแตกต่างกันอย่างไร ระบบไหนเป็นเช่นใด และจะพัฒนาอย่างใดให้เท่าเทียม  ซึ่งจะมีการประชุมในเร็วๆ นี้” นายกรัฐมนตรี กล่าว
                 
       น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ จากการที่อัตราผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ต้องพิจารณาเรื่องการดูแลผู้สูงอายุโดยเฉพาะกลุ่มที่เป็นโรคเรื้อรัง ซึ่งค่าใช้จ่ายต่อหัวในการรักษาอาจจะต้องสูงขึ้น ดังนั้น ระบบหลักประกันสุขภาพจำเป็นต้องวางแผนในการลดภาระค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต อาทิ ส่งเสริมยาไทยแทนการนำเข้ายานอก ส่วนเรื่องการส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งมีหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ คือ สสส.ดังนั้น บอร์ด สปสช.ต้องหารือร่วมกับ สสส.เพื่อเดินหน้าระบบส่งเสริมสุขภาพ ลดการเจ็บป่วยของประชากรโดยเฉพาะผู้สูงอายุ ให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี  อีกทั้ง ฝากให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) และต้องเร่งดำเนินการนโยบายการบำบัดยาเสพติดเพื่อบำบัด และเยียวยาอดีตผู้ติดยาให้สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ด้วย
               
       “นอกจากนี้ ต้องพิจารณาเรื่องการควบคุมค่าใช้จ่ายระยะยาวก็มีความจำเป็น เพราะทุกวันนี้ค่าใช้จ่ายในการักษาต่อหัวมีการเพิ่มขึ้นจากเดิม ซึ่งอาจจะต้องหารือกันว่าจะมีการเพิ่มรายหัวเพื่ออำนวยความสะดวกในการรักษาโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง โดยอาจแยกเป็นกลุ่มโรคที่แตกต่างกันไป” น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าว
       
       นายวิทยา กล่าวภายหลังมอบนโยบายและหารือร่วมกับนายกฯ และผู้บริหาร สธ.ว่า นายกฯมีความห่วงใยเรื่องการบริหารจัดการเรื่องหลักประกันสุขภาพที่คุณภาพต้องดีขึ้นในอนาคต  ภายใต้วงเงินที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณและความเสมอภาคในการรับบริการ ซึ่งเป็นการบ้านที่คณะกรรมการบริหาร บอร์ด สปสช.ต้องดำเนินการให้เกิดมาตรฐานในการดูแลพี่น้องประชาชน  โดยในส่วนของงบประมาณเบื้องต้นนายกฯอยากทราบว่างบเหมาจ่ายรายหัวปี 2555 จำนวน 2,700 บาทต่อคนต่อปี จะครอบคลุมระยะยาวอย่างไร สำหรับประเด็นการฟื้นเก็บค่าธรรมเนียม 30 บาทนั้น มีการแสดงออกของบอร์ดบางคนที่บอกว่าจะไม่คุ้ม แต่นายกฯไม่อยากให้มองเรื่องความไม่คุ้ม อาจต้องพัฒนามากกว่า เรื่องเก็บหรือไม่ นายกฯไม่ซีเรียส แต่อยากให้บอร์ดดูให้รอบคอบ 
               
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการมอบนโยบายครั้งนี้ ไม่อนุญาตให้ผู้สื่อข่าวรับฟัง แต่จากการสอบถาม ปรากฏว่า ในการประชุมมีการถกเถียงเรื่องการเรียกเก็บ 30 บาทมาก โดยแบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ 1.ฝ่ายแพทยสภา รพ.เอกชน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในบอร์ด สปสช.เห็นด้วยกับการเรียกเก็บ เพราะจะช่วยลดการรักษาโดยไม่จำเป็น ลดปัญหาความแออัดลงได้ และ 2.ฝ่ายภาคประชาชน นำโดย นายนิมิต เทียนอุดม กรรมการ สปสช.ฝ่ายประชาชน ไม่เห็นด้วย เพราะหากเก็บจะเบียดเบียนประชาชน และหากจะรีแบรนด์ เรื่องนี้ก็ควรให้ทุกระบบเป็นมาตรฐานเดียวจริงๆ  ซึ่งสุดท้าย น.ส.ยิ่งลักษณ์ บอกให้บอร์ด สปสช.ไปพิจารณาอย่างถี่ถ้วน โดยแม้การเรียกเก็บ 30 บาทจะช่วยลดการรักษาโดยไม่จำเป็นได้ แต่จะไม่เก็บตอนนี้แน่ๆ เพราะจะต้องพัฒนาให้ดีกว่าเดิมก่อน
             
       นายบารมี ชัยรัตน์ โฆษกกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ กล่าวว่า ทางกลุ่มได้ทำข้อเสนอมอบแก่นายกฯ พิจารณา   ซึ่งนายกฯ รับทราบ และรับปากว่า จะพิจารณาด้วยความเป็นธรรม อาทิ   ขอให้ยกเลิกการเก็บเงินสมทบ 30 บาท ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพราะถือเป็นการถอยหลัง และก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติ ที่สำคัญ เงินที่ได้รับมาก็ไม่ได้มากมาย     ขอให้ดำเนินการให้ระบบสุขภาพของประเทศเป็นมาตรฐานเดียวกัน ลดความเหลื่อมล้ำ ทั้งระบบหลักประกันสุขภาพฯ ประกันสังคม และสิทธิสวัสดิการข้าราชการ    และขอให้รัฐบาลผลักดันให้รัฐสภาเร่งพิจารณาร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ...เพื่อลดความขัดแย้งระหว่างผู้ให้บริการกับผู้ป่วย ลดการฟ้องร้อง  และดีกว่าการขยายมาตรา 41 ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ  เนื่องจากมาตรานี้ให้ความช่วยเหลือเพียงผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพฯเท่านั้น
       
       วันเดียวกัน พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (สพศท.) กล่าวว่า ตนได้เดินเข้ายื่นหนังสือถึง นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สธ.ในฐานะประธานบอร์ด สปสช.ให้ปลดคณะกรรมการ สปสช.จำนวน 5 คน ได้แก่ นพ.วิชัย โชควิวัฒน  ตัวแทนด้านผู้สูงอายุ  น.ส.บุญยืน ศิริธรรมตัวแทนด้านเกษตรกร  นางสุนทรี เซ.กี่ ตัวแทนด้านผู้ใช้แรงงาน  นายนิมิตร เทียนอุดม ตัวแทนด้านผู้ติดเชื้อเอชไอวี  และ นายชูศักดิ์ จันทยานนท์  ตัวแทนด้านคนพิการ ฐานบกพร่องในหน้าที่โดยไม่เข้าร่วมการประชุมถึง 3 ครั้ง

ASTVผู้จัดการออนไลน์    9 มกราคม 2555

8189
ที่แท้! เป็นขาคนป่วยเบาหวานถูกตัด! ญาติจ้างนำไปฝังดันเอาไปทิ้ง

ผกก.แสมดำ เผย ชิ้นส่วนเท้าข้างขวาของมนุษย์ที่พบกลางพงหญ้าย่านวงเวียนใหญ่-มหาชัย เป็นท่อนขาคนไข้ป่วยเบาหวานที่ รพ.ตัดออกเพื่อรักษาชีวิตคนไข้ แล้วมอบให้ญาติไปทำลาย หรือประกอบพิธีกรรมทางศาสนาตามความเชื่อ โดยญาติว่าจ้างคนนำไปฝังแต่กลับนำไปทิ้งในกอหญ้าแทน
       
       วันนี้ (9 ม.ค.) เมื่อเวลา 15.00 น.ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังจากพบชิ้นส่วนมนุษย์ภายในกอหญ้าริมทางกลับรถใต้สะพานข้ามทาง รถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กทม.โดยเป็นชิ้นส่วนเท้าข้างขวาของมนุษย์ถูกตัดด้วยของมีคมและมีร่องรอยถูกสัตว์กัดแทะ และมีถุงพลาสติกสีส้มตกอยู่ใกล้เคียงกัน เมื่อวันที่ 7 ม.ค.ที่ผ่านมานี้ นั้น ซึ่งหลังจากเกิดเหตุ พ.ต.อ.นครินทร์ สุคนธวิท ผกก.สน.แสมดำ ได้นำกำลังออกสืบสวนในเขตพื้นที่ เพื่อหาร่องรอยสาเหตุของชิ้นส่วนดังกล่าว
       
       พ.ต.อ.นครินทร์ เปิดเผยว่า จากการสืบสวนได้เบาะแสว่ามีคนป่วยเป็นโรคเบาหวานที่ได้รับการรักษาจากโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งย่านพระราม 2 จึงได้เข้าทำการตรวจสอบกับทางโรงพยาบาลแห่งนั้นทันที โดยทางโรงพยาบาลได้ให้ข้อมูลว่า ได้รับ น.ส.อรุณศรี วิวรรธ์ภัทรกิจ อายุ 59 ปี ผู้ป่วยโรคเบาหวาน เข้ามารักษาตัวในโรงพยาบาล ซึ่งอาการของผู้ป่วยจะต้องทำการรักษาด้วยวิธีการตัดขาข้างขวาออกเพื่อรักษาชีวิต เมื่อวันที่ 4 ม.ค.ที่ผ่านมา โดยหลังจากนั้นโรงพยาบาลได้นำอวัยวะของผู้ป่วยที่ถูกตัดออกมาบรรจุในถุงพลาสติกสีส้ม และได้มอบให้กับทางญาติของคนไข้ เพื่อนำไปทำลายหรือประกอบพิธีกรรมทางศาสนาตามความเชื่อ ซึ่งญาติของผู้ป่วยได้ว่าจ้างให้บุคคลอื่นนำไปฝังไว้ แต่กลับถูกพบว่านำไปทิ้งไว้ในบริเวณกองขยะใกล้ที่เกิดเหตุตามที่สื่อมวลชนได้นำเสนอไป
       
       ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำชิ้นส่วนอวัยวะดังกล่าวไปตรวจดีเอ็นเอ เพื่อยืนยันผลทางวิทยาศาสตร์แล้ว พบว่า ไม่ได้เกิดจากการประทุษร้ายต่อร่างกาย สำหรับการเอาผิดกับผู้ที่นำชิ้นส่วนอวัยวะมาทิ้งในที่สาธารณะนั้นกำลังอยู่ในการสอบสวนเพื่อพิจารณาดำเนินคดีต่อไป

ทีมข่าวอาชญากรรม    9 มกราคม 2555
manager.co.th

8190
“นายกฯ” รับปากกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ จะทำให้ระบบประกันสุขภาพมีมาตรฐานเดียวกัน เร่งพิจารณาร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข
       
       วันนี้ (9 ม.ค.) ที่กระทรวงสาธารณสุข น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เดินทางมาเป็นประธานประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ โดย นายวิทยา บูรณศิริ รมว.สาธารณสุขและ นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รมช.สาธารณสุข ให้การต้อนรับ โดยระหว่างที่จะเข้าประชุมนั้น มีกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ กว่า 50 คน เข้ายื่นข้อเสนอในฐานะภาคประชาชนต่อการพัฒนาระบบบริการสุขภาพต่อ นายกฯ เพื่อให้การพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เดินหน้าต่อไป และลดความเหลื่อมล้ำสร้างความเป็นธรรมให้เป็นระบบสุขภาพมาตรฐานเดียวทั้งประเทศ กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพได้ร่วมกับเครือข่ายผู้เสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์ เครือข่ายผู้ป่วยโรคไต โรคมะเร็ง ผู้ติดเชื้อเอชไอวี จึงเสนอแนวทางการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยขอให้รัฐบาลพรรคเพื่อไทยทบทวนนโยบายการเก็บเงินสมทบ 30 บาท และให้รัฐบาลดำเนินการให้ระบบสุขภาพของประเทศเป็นมาตรฐานเดียวกันด้วยการสนับสนุนงบประมาณในการดูแลสุขภาพของผู้ประกันตน
       
       พร้อมกันนี้ ขอให้รัฐบาลสนับสนุนและผลักดันให้รัฐสภาเร่งพิจารณาร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข และขอให้เพิ่มค่าใช้จ่ายในการจ่ายต่อโรคในการรักษาพยาบาล (drg) ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้เท่ากับระบบสวัสดิการการรักษาพยาบาลของข้าราชการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ
       
       นอกจากนี้ กลุ่มคนรักประกันสุขภาพ ยังได้ขอให้รัฐบาลดำเนินการตามมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ กรณี นพ.เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์ นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งมีผลประโยชน์ทับซ้อน และมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมเป็นปฏิปักษ์ต่อระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังรับการรับหนังสือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวขอขอบคุณทุกท่านที่มายื่นหนังสือ ขอรับเรื่องนี้ไว้ และจะนำไปหารือร่วมกับคณะกรรมการ และรัฐมนตรี พร้อมยืนยันว่า หลักประกันสุขภาพที่รัฐบาลสนับสนุน เน้นความเสมอภาค และความเท่าเทียมกันทุกคน
       
       ขณะที่กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ ได้มอบเสื้อสีดำขลิบชมพูให้กับนายกฯ เป็นที่ระลึกและเชียร์นายกฯใส่ทันที ซึ่งนายกฯได้จับเสื้อของตนเองที่วันนี้ใส่สีชมพู พร้อมกับบอกว่า เราเสื้อสีเดียวกัน แต่นายกฯก็ไม่ได้ใส่เสื้อตามแรงเชียร์ดังกล่าว

ASTVผู้จัดการออนไลน์    9 มกราคม 2555

หน้า: 1 ... 544 545 [546] 547 548 ... 653