ผู้เขียน หัวข้อ: มหากาพย์การเดินทางของปลาไหล(สารคดีเนชั่นแนลจีโอกราฟฟิก)  (อ่าน 4523 ครั้ง)

pani

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 756
    • ดูรายละเอียด

ปลาไหลน้ำจืดสกุล Anguilla เป็นปลาโบราณที่วิวัฒน์ขึ้นบนโลกมานานกว่า 50 ล้านปีแล้ว โดยแตกสาแหรกออกเป็น 16 ชนิดพันธุ์และ 3 ชนิดย่อย ปลาอพยพส่วนใหญ่ เช่น แซลมอนและแชด เป็นปลาสองน้ำที่วางไข่ในแหล่งน้ำจืด (anadromous fish)  และใช้ชีวิตช่วงโตเต็มวัยในน้ำเค็ม แต่ปลาไหลน้ำจืดเป็นหนึ่งในปลาอพยพเพียงไม่กี่ชนิดที่ทำตรงกันข้าม พวกมันเป็นปลาสองน้ำที่วางไข่ในน้ำเค็ม (catadromous fish) แต่ ไปใช้ชีวิตช่วงโตเต็มวัยในทะเลสาบ แม่น้ำ หรือบริเวณปากแม่น้ำที่ติดต่อกับทะเล โดยทั่วไปแล้วเรามักพบปลาไหลเพศเมียบริเวณต้นแม่น้ำ ขณะที่เพศผู้อาศัยอยู่ตามปากแม่น้ำ ปลาไหลอาจใช้ชีวิตอยู่ในแม่น้ำหลายสิบปีก่อนจะว่ายกลับไปวางไข่ในมหาสมุทร แล้วก็ตาย ที่ผ่านมายังไม่มีใครเคยเห็นการวางไข่ของปลาไหลน้ำจืดเหล่านี้เลย ด้วยเหตุนี้ การแพร่พันธุ์ของพวกมันจึงเป็นความลี้ลับที่นักชีววิทยาผู้ศึกษาปลาไหล กระหายจะได้ทราบเป็นอย่างยิ่ง

ในห้องเรียนวิชาชีววิทยา เราเรียนรู้ว่าปลาไหลที่จับได้ตามลำธารและหนองบึงนั้นถือกำเนิดจากไข่ที่ล่องลอยอยู่ในมหาสมุทร  เรา รู้ว่าปลาไหลน้ำจืดวางไข่ในมหาสมุทร เพราะมีผู้พบเห็นตัวอ่อนลอยอยู่ใกล้ผิวน้ำห่างจากชายฝั่งหลายพันกิโลเมตร แต่เดิมเราเข้าใจว่าตัวอ่อนปลาไหลที่มีหัวขนาดเล็กจ้อย ตัวผอมบาง ใสและเรียวยาวเหมือนใบต้นหลิว ปากมีฟันแหลมยื่นออกมาเป็นปลาอีกชนิดพันธุ์หนึ่ง จนกระทั่งปี 1896 เมื่อนักชีววิทยาชาวอิตาลีสองคนได้เห็นตัวอ่อนตัวหนึ่งในถังเลี้ยงเปลี่ยนรูปร่างไปเป็นปลาไหล ความคิดนี้จึงเปลี่ยนไป

ปลา ไหลมีความสามารถในการย้ายถิ่นอย่างน่าอัศจรรย์ เราพบพวกมันในทะเลสาบ ห้วยหนอง และแม้แต่หลุมที่ขุดไว้สำหรับปักเสา แหล่งน้ำเหล่านี้ไม่ได้เชื่อมต่อกับทะเลแต่อย่างใด เคยมีผู้พบเห็นปลาไหลนับพันตัวอพยพจากบึงแห่งหนึ่งไปยังแม่น้ำในคืนวันฝนตก โดยต่างใช้ร่างชื้นๆของกันและกันเป็นสะพาน

นอก จากความสามารถในการปรับตัวได้เป็นเลิศแล้ว การอพยพย้ายถิ่นของปลาไหลตัวเต็มวัยนับล้านตัวจากแม่น้ำไปสู่มหาสมุทร ต้องติดทำเนียบมหากาพย์การเดินทางอันยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาสัตว์โลกทั้งมวล และยังไม่เคยมีใครพบเห็นอีกด้วย พวกมันเดินทางเป็นระยะทางหลายพันกิโลเมตร เผชิญกับภยันตรายสารพัดตลอดเส้นทาง ทั้งเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ การเปลี่ยนเส้นทางของแม่น้ำ มลพิษ โรคภัยไข้เจ็บ และสัตว์นักล่าต่างๆ รวมทั้งการล่าจากมนุษย์ที่เพิ่มขึ้นทุกวัน แลการเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำมหาสมุทรที่เกิดจากภาวะโลกร้อนอาจทำให้พวกมัน หลงทิศทางขณะอพยพได้

กำเนิด ของปลาไหลเป็นเรื่องที่นักธรรมชาติวิทยาเสนอทฤษฎีกันไปต่างๆนานา ตั้งแต่อาริสโตเติล ไปจนถึงคาร์ล ลินเนียส เป็นต้นว่าตัวอ่อนของปลาไหลเกิดจากโคลนบ้าง ปลาไหลออกลูกออกหลานจากการถูตัวกับหินบ้าง หรือไม่ก็ออกลูกเป็นตัวบ้าง ปัญหาข้อหนึ่งก็คือ ไม่มีใครบอกได้ว่าสเปิร์มและไข่ของปลาไหลหน้าตาเป็นอย่างไร แม้แต่เรื่องที่ว่าปลาไหลมีเพศหรือไม่ก็ยังไม่มีใครบอกได้ เพราะไม่มีใครทราบว่าอวัยวะสืบพันธุ์ของมันมีลักษณะอย่างไร (ปรากฏว่าอวัยวะสืบพันธุ์ของปลาไหลจะเจริญขึ้นพร้อมไข่และสเปิร์ม เมื่อพวกมันว่ายออกจากปากแม่น้ำเพื่อไปยังแหล่งวางไข่ในมหาสมุทรแล้วเท่า นั้น ซึ่งเป็นช่วงที่ไม่มีใครพบเห็นพวกมันอีก)

ล่วง ถึงปลายศตวรรษที่สิบเก้า ในเมืองตรีเอสเต ประเทศอิตาลี นักศึกษาแพทย์คนหนึ่งชื่อซิกมุนด์ ฟรอยด์ ได้รับมอบหมายให้ศึกษาอัณฑะของปลาไหลเพศผู้ ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นห่วงสีขาวๆอยู่ในช่องลำตัวของปลา (บทความเรื่องปลาไหลนี้เป็นผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ชิ้นแรกของฟรอยด์) ต่อมาในปี 1897 เรื่องนี้ได้รับการยืนยันเมื่อมีผู้จับปลาไหลเพศผู้วัยเจริญพันธุ์ได้ที่ช่องแคบเมสซีนา

ในปี 1904 โยฮันเนส ชมิดท์ นักสมุทรศาสตร์และนักชีววิทยาหนุ่มชาวเดนมาร์ก ได้รับว่าจ้างให้ร่วมเดินทางไปกับเรือ ธอร์ ซึ่งเป็นเรือสำรวจทางวิทยาศาสตร์สัญชาติเดนมาร์ก วันหนึ่งในฤดูใบไม้ผลิปีนั้น ขณะลอยลำอยู่ทางตะวันตกของหมู่เกาะแฟโร ตัวอ่อนของปลาไหลพันธุ์ยุโรป (Anguilla anguilla) ตัวหนึ่งติดมากับอวนลากของเรือ เป็นไปได้หรือไม่ว่าปลาไหลที่อาศัยอยู่ตามลำธารในเดนมาร์กจะว่ายออกไปวางไข่ ไกลถึงกลางมหาสมุทรแอตแลนติก

ชมิดท์ รวบรวมข้อมูลที่ชี้ให้เห็นว่า ยิ่งไกลจากชายฝั่งทวีปยุโรปออกไปเท่าไร ปลาไหลยิ่งมีขนาดเล็กลง เขายังเชื่อว่าปลาไหลต้องวางไข่ในทะเลซาร์แกสโซ ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ชมิดท์บันทึกไว้ในปี 1923 ว่า “ยังไม่เคยพบหลักฐานว่ามีปลาชนิดไหนต้องเดินทางถึงหนึ่งในสี่ของเส้นรอบวงโลกเพื่อให้ครบวงจรชีวิตของมัน”

หลังจากชมิดท์เสียชีวิตในปี 1933 นัก วิทยาศาสตร์บางคนตั้งข้อสงสัยในสมมุติฐานเรื่องทะเลซาร์แกสโซของเขา พร้อมตั้งข้อสังเกตว่าชมิดท์ปกปิดข้อมูลบางอย่าง มิหนำซ้ำพวกเขายังตั้งคำถามว่าชมิดท์แน่ใจได้อย่างไรว่า ทะเลซาร์แกสโซเป็นแหล่งวางไข่ของปลาไหลเพียงแห่งเดียว ในเมื่อเขายังไม่เคยเห็นลูกปลาไหลฟักออกจากไข่ และแทบไม่ได้มองหาปลาไหลจากแหล่งอื่นๆเลย ทว่าคำอธิบายเรื่องปลาไหลของชมิดท์ดูจะยังคงเป็นความจริงจนถึงทุกวันนี้

ต่อมาในปี 1991 มี การเดินทางสำรวจที่เป็นการค้นพบใหม่อีกครั้งหนึ่ง การสำรวจในครั้งนั้นนำโดยคัทสึมิสึกะโมะโตะ จากสถาบันวิจัยบรรยากาศและมหาสมุทร มหาวิทยาลัยโตเกียว และมีไมเคิล มิลเลอร์ ซึ่งขณะนั้นเป็นนักศึกษาบัณฑิตวิทยาลัยจากมหาวิทยาลัยเมน ร่วมอยู่ในทีมด้วย ในคืนเดือนมืดคืนหนึ่ง ทางทิศตะวันตกของเกาะกวมกลางมหาสมุทรแปซิฟิก ทีมสำรวจได้พบตัวอ่อนของปลาไหลพันธุ์ญี่ปุ่น (Anguilla japonica) อายุไม่กี่วันหลายร้อยตัว การค้นพบดังกล่าวทำให้เราทราบแหล่งวางไข่ของปลาไหลชนิดนี้เป็นครั้งแรก อีก 19 ปีต่อมา สึกะโมะโตะและมิลเลอร์ก็ยังคงออกท่องมหาสมุทรเพื่อค้นหาปลาไหลที่กำลังวางไข่

ประชากรปลาไหลทั้งพันธุ์อเมริกัน ยุโรป และญี่ปุ่น ต่างลดจำนวนลง บางชนิดลดลงอย่างน่าใจหาย เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2004 สอง พี่น้อง ได้แก่ ดั๊ก วัตส์ นักหนังสือพิมพ์อิสระ กับทิม วัตส์ นักการภารโรงในรัฐแมสซาชูเซตส์ เข้ายื่นหนังสือขอให้กรมประมงและสัตว์ป่าของสหรัฐฯขึ้นทะเบียนปลาไหลพันธุ์ อเมริกัน (Anguilla rostrata) เป็นชนิด พันธุ์ที่ถูกคุกคามหรือถึงขั้นเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ทั้งคู่ได้แรงจูงใจจากเอกสารของจอห์น แคสเซิลแมน นักชีววิทยา ที่รายงานว่า จำนวนประชากรปลาไหลในแถบต้นแม่น้ำเซนต์ลอว์เรนซ์ลดลงอย่างฮวบฮาบ ตั้งแต่กลางทศวรรษ 1980 จนถึงกลางทศวรรษ 2000 จำนวนปลาไหลวัยเยาว์ที่นั่นลดลงเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ ภูมิภาคแถบนี้ซึ่งประกอบด้วยต้นแม่น้ำเซนต์ลอว์เรนซ์และทะเลสาบออนแทรีโอ ตลอดจนลำน้ำสาขาต่างๆ ถือเป็นแหล่งอนุบาลปลาไหลที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือ

อุปสรรค ประการหนึ่งสำหรับประชากรปลาไหลในแถบนี้ คือการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งขวางเส้นทางอพยพของปลาไหล แม้ปลาไหลวัยเยาว์อาจว่ายทวนน้ำขึ้นไปทางต้นน้ำได้โดยอาศัยบันไดปลาโจน แต่เมื่อมันกลับลงมาในสภาพตัวเต็มวัย (เพศเมีย) มันก็อาจถูกกังหันของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดูดเข้าไป “บางตัวออกมาในสภาพโดนถลกหนังทั้งตัวเลยครับ” ดั๊ก วัตส์ บอกผม ยิ่งตัวใหญ่ก็ยิ่งอันตราย อย่างปลาไหลครีบยาวในนิวซีแลนด์ที่ตัวยาวได้ถึงสองเมตรหรือกว่านั้น กังหันหมายถึงความตายสถานเดียว

ปลา ไหลที่เอาตัวรอดมาจากเขื่อนได้ก็อาจไม่พ้นเงื้อมมือนักล่าชั้นยอดของโลก (เป็นใครไปไม่ได้นอกจากมนุษย์) การค้าปลาไหลระหว่างประเทศมีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีแรงผลักดันสำคัญจากความนิยมรับประทานปลาไหลย่างหรือ คะบะยะกิ ของชาวญี่ปุ่น ซึ่งเชื่อกันว่าปลาไหลมีสรรพคุณช่วยเสริมพลังให้ร่างกายทนต่ออากาศร้อนได้ดี และวัน โดะโยะอุชิโนะฮิ หรือวันปลาไหล ก็มักตรงกับช่วงปลายเดือนกรกฎาคม ที่ตลาดอาหารทะเลสึกิจิอันโด่งดังในกรุงโตเกียว มีการขายปลาไหลสดๆในช่วงเดือนนี้เมื่อปีที่แล้วมากกว่า 50,000 กิโลกรัมทีเดียว

ปลา ไหลที่เสิร์ฟตามภัตตาคารในแมนแฮตตันอาจฟักออกจากไข่ในมหาสมุทรแอตแลนติก ไปติดอวนที่ปากแม่น้ำในแคว้นบาสก์ของฝรั่งเศส ถูกส่งต่อไปยังฮ่องกงโดยทางเครื่องบิน ได้รับการเพาะเลี้ยงในฟาร์มที่มณฑลฝูเจี้ยนหรือกวางตุ้งบนจีนแผ่นดินใหญ่ แล้วส่งเข้าโรงงานใกล้ๆฟาร์มเพื่อล้างทำความสะอาด ปรุงสุก และบรรจุหีบห่อ ก่อนจะส่งขึ้นเครื่องบินไปยังนครนิวยอร์ก กระบวนการเตรียมปลาไหลเพื่อจำหน่ายนั้นมักเริ่มจากการจับลูกปลาซึ่งเป็นตัว ใสๆ (เป็นที่มาของชื่อ “ปลาไหลแก้ว”) หลังจากที่พวกมันว่ายจากมหาสมุทรไปถึงแหล่งน้ำจืดแล้ว ลูกปลาเหล่านี้จะถูกส่งไปขุนให้อ้วนที่ฟาร์มซึ่งมีลักษณะคล้ายโกดังในจีน ปัจจุบันการค้าปลาไหลยังต้องพึ่งการจับลูกปลาจากแหล่งธรรมชาติ เพราะยังไม่มีใครทราบวิธีผสมพันธุ์ปลาไหลในสถานเพาะเลี้ยงเพื่อการค้าเลย
                  เมื่อไม่นานมานี้ นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกในการผสมเทียมปลาไหลใน ห้องปฏิบัติการ แม้ยังมีสิ่งที่ต้องเรียนรู้อีกมาก แต่การเพาะขยายพันธุ์ปลาไหลในสถานเพาะเลี้ยงเช่นนี้ อาจช่วยแบ่งเบาความกดดันที่มีต่อประชากรปลาไหลในธรรมชาติได้ในอนาคต

กันยายน 2553