ผู้เขียน หัวข้อ: ลูก 1 คนใช้เกือบ 2 ล้าน!! เหตุผลที่คนยุคนี้ยอมเสี่ยงภาวะ "ตายอย่างโดดเดี่ยว"  (อ่าน 54 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9759
    • ดูรายละเอียด
แค่ใช้ชีวิตก็เหนื่อยแล้ว ไม่ต้องคิดเรื่องมี “ลูก” เผยเหตุผลคนรุ่นใหม่ทำไมไม่อยากมีลูก หวั่นกลายเป็น “สังคมสูงวัย” อย่างในญี่ปุ่น

เด็กเกิดน้อยลง ไม่อยากมีลูก?

“แก่ไปแล้วใครจะเลี้ยงดู?”

คงเป็นคำถามที่คนรุ่นใหม่หลายคนต้องเจอ เมื่อคนยุคนี้เริ่มให้ความสำคัญกับการมีลูกน้อยลง ไปถึงขั้นไม่อยากเลยก็มี

และดูเหมือนจะไม่ใช่เรื่องเล็กๆ แล้ว เมื่อล่าสุด กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เผยว่าอัตราการเกิดของ “เด็กไทย” ปี 65 ต่ำสุดในรอบ 7 ปี แถมยังลดลงอย่างต่อเนื่องติดต่อกันถึง 3 ปี

แล้วอะไรทำให้คนรุ่นใหม่ไม่นิยมมีลูกกัน? เปิดงานวิจัยเรื่อง “การส่งเสริมการมีบุตรผ่านการสร้างสมดุลระหว่างการทำงานและการสร้างครอบครัวที่มีคุณภาพ (2559)” ได้พูดถึงสาเหตุการมีลูกน้อยลงของวัยรุ่นยุคใหม่ไว้ โดยแบ่งเป็น 4 ข้อง่ายๆ ดังนี้

1. ก็งานมันยุ่งเกินไป การหาเวลาว่างนอกเหนือจากการทำงานก็ยากอยู่แล้วในสมัยนี้ ทำให้ความอยากมีลูกของทั้งชายและหญิงน้อยตามลงไปด้วย

2. ตอนแก่ฉันก็แค่ดูแลตัวเอง ค่านิยมที่ว่า “ต้องมีลูกไว้เลี้ยงดูเราตอนแก่” ไม่ได้อยู่หัวของคนยุคนี้ กลับมองว่า “ถ้ามีลูกก็อยากให้เขาใช้ชีวิตที่อิสระ” ไม่ต้องผูกมัดกับพ่อแม่ และในสมัยนี้ยังเป็นยุคแห่งการแข่งขัน ถ้ามีลูกแล้วเลี้ยงได้ไม่ดีก็อย่ามีดีกว่า

3. ทุ่มเทชีวิตให้กับงาน เมื่องานในทุกวันนี้เรียกร้องให้คนต้องทุ่มเทชีวิตและเวลาเพื่อความสำเร็จ อีกทั้งองค์กรและบริษัทไม่ค่อยมีนโยบายที่เอื้อต่อการมีลูกเช่น ความยืดหยุ่นในการลาคลอดและเลี้ยงลูก ทำให้ไม่เกิดความสมดุลในการใช้ชีวิต และตัดสินใจมีลูกช้าลง

4. อยากใช้ชีวิตให้คุ้มก่อน จากทั้งหมดที่กล่าวไปทำให้คนยุคนี้มองว่า การมีลูกทำให้เสียโอกาสในการทำงานและการใช้ชีวิต แค่ทำงานก็ไม่มีเวลาแล้วถ้ามีลูกคงไม่ได้ใช้ชีวิตตามใจอยากแน่

และอีกอย่างเพราะ “การมีลูกมันแพงเกินไป” ผศ.ดร.ภูเบศร์ สมุทรจักร อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เคยออกมาให้ข้อมูลว่า ค่าเฉลี่ยของการเลี้ยงลูก 1 คนอยู่ 1.9 ล้านบาท

“หลายคนเลยคิดหนัก หากต้องแบ่งเงินส่วนที่จะใช้ซื้อบ้าน รถ หรือใช้ท่องเที่ยว มาใช้กับการมีลูกแทน”

ปัญหาเศรษฐกิจเองก็มีผลเช่นกัน ยิ่งระยะ 2-3 ปี ที่มีการระบาดของ “โควิด-19” ส่งผลให้คนตัดสินใจมีลูกช้าลง เพราะกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนและความมั่นคงทางเศรษฐกิจ

ปัญหาการมีลูกช้าหรือเลือกที่จะไม่มีลูกของคนไทย กำลังพาเราเข้าสู่ "สังคมผู้สูงอายุ” และไม่ใช้แค่ไทยที่กำลังเผชิญปัญหานี้ หลายประเทศทั่วโลกก็กำลังเจอกับปัญหานี้อยู่เช่นกัน

สังคมผู้สูงอายุกำลังเป็นปัญหาของรัฐบาลหลายประเทศ เพราะสังคมที่มีคนส่วนใหญ่เป็นผู้สูงวัย จะทำให้ประเทศขาดแรงงานในการพัฒนาเศรษฐกิจ แถมยังสร้างภาระด้านค่าใช้จ่ายที่รัฐต้องดูแลกลุ่มผู้สูงอายุในสังคมอีกด้วย

“สังคมสูงวัย” เสี่ยงตายอย่างโดดเดี่ยว!!

การต้องเจอกับปัญหาสังคมผู้สูงวัย คงไม่มีประเทศไหนหนักไปกว่า “ญี่ปุ่น” อีกแล้ว เพราะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัวตั้งแต่ปี 1997

ปัจจัยหลักที่ทำให้ “ญี่ปุ่นเข้าสู่สังคมสูงวัย” เพราะคนญี่ปุ่นเมื่อถึงวัยกลางคนมักจะล้มเลิกความที่จะมีคู่ อีกทั้งยังมีความคิดที่เริ่มเหนื่อยหน่าย และปฏิเสธในการเข้าสังคม หลายคนจึงเลือกใช้ชีวิตอยู่คนเดียวมากขึ้น

การขาดแรงงานในการพัฒนาประเทศไม่ใช้ปัญหาเดียวที่มาจากสังคมผู้สูงอายุของญี่ปุ่น แต่จากการเลือกปลีกวิเวกของชาวญี่ปุ่น ทำให้ประเทศเข้าสู่สังคมแห่งความโดดเดี่ยว

สถาบันวิจัยความมั่นคงทางสังคมและประชากรแห่งชาติของญี่ปุ่น เผยรายงานว่า ในปี 2040 1 ใน 4 ของผู้สูงอายุวัย 65 ปีในญี่ปุ่นจะต้องอยู่ตัวคนเดียว โดยไม่มีลูกหลานหรือครอบครัวคอยดูแล

หากชาวญี่ปุ่นยังเลือกใช้ชีวิตโดดเดียวแบบนี้ต่อไป คาดว่า 40% ของประชากรในอีก 13 ปีข้างหน้าจะต้องอาศัยอยู่เพียงลำพัง จากการเลือกใช้ชีวิตแบบนี้ทำให้ญี่ปุ่นพบ "การตายอย่างโดดเดี่ยว”

หรือ “โคโดคูชิ” มากขึ้น

จากสภาพสังคมปัจจุบันที่มีการเลือกใช้ชีวิตอยู่ลำพังในห้องพักเล็กๆ ทำให้ปล่อยครั้งที่มีการตายเกิดขึ้น กว่าคนรอบข้างจะรู้ต้องใช้เวลาเป็นอาทิตย์ จนกลิ่นเน่าลอยออกมาจึงรู้ว่ามีการตายเกิดขึ้น

เมื่อปี 2000 มีกรณีที่น่าตกใจคือ พบโครงกระดูกชายอายุ 69 ปี ในห้องเช้าซึ่งเสียไปแล้วกว่า 3 ปี แต่ที่ไม่มีใครเอะใจ เพราะค่าเช่าห้องถูกหักอัตโนมัติผ่านธนาคาร จนกระทั่งเงินในบัญชีหมดถึงมีการพบศพ

ปัจจุบันการตายแบบนี้ในญี่ปุ่มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในทุกปีการตายแบบโคโดคูชิมีถึง 40,000 ราย คือทุกชั่วโมงจะมีคนตายอย่างโดดเดี่ยวถึง 3 คน

เหตุการณ์น่าเศร้าเหล่านี้เกิดการจากเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมญี่ปุ่น ครอบครัวขนาดใหญ่แบบเอเชียค่อยๆถูกแทนที่ด้วยครอบครัวขนาดเล็กแบบตะวันตก การแข็งขันและความกดดันที่สูงในสังคม ทำให้ชาวญี่ปุ่นทุมเท่ชีวิตให้กับงานและพลักให้พวกเขาต้องใช้ชีวิตอย่างโดดเดี่ยว

18 พ.ค. 2566  ผู้จัดการออนไลน์