ผู้เขียน หัวข้อ: ไทย-กัมพูชา ร่วมดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน พร้อมจัดระบบการส่งต่อ รพ.คู่แฝดชายแดน 7 จังหวัด  (อ่าน 843 ครั้ง)

ABBA

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2105
    • ดูรายละเอียด
ไทย-กัมพูชา ร่วมดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน พร้อมจัดระบบการส่งต่อ รพ.คู่แฝดชายแดน 7 จังหวัด

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   22 กรกฎาคม 2556 15:35 น.   

   


       สธ.ไทยและกัมพูชา หารือความร่วมมือด้านการแพทย์ เพื่อดูแลประชาชนตามแนวชายแดน โดยจะร่วมจัดบริการดูแลผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน และจะจัดระบบการส่งต่อผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาลขนาดใหญ่ หวังเพิ่มความมั่นใจประชาชนทั้ง 2 ประเทศ         
       

       นายแพทย์ ประดิษฐ  สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังเดินทางกลับจากการร่วมหารือยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในการดำเนินการพัฒนาพื้นที่ชายแดน และการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมไทย-กัมพูชา ร่วมกับรัฐบาลกัมพูชา พร้อมด้วย นายแพทย์ โสภณ  เมฆธน  รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และนายแพทย์ ธวัชชัย กมลธรรม ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เครือข่ายบริการที่ 6 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ว่า ผลการหารือครั้งนี้เป็นไปด้วยความราบรื่น โดยที่ประชุมมีข้อตกลงความร่วมมือ 2 เรื่องที่เป็นความจำเป็นร่วมกัน คือ 1.การดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน และ 2.เรื่องการพัฒนาระบบการดูแลส่งต่อผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงทั้งการบาดเจ็บและเจ็บป่วยทั่วไป ในโรงพยาบาลที่อยู่ในจังหวัดที่มีพรมแดนติดต่อกัน  7 จังหวัด โดยจะจัดให้มีโรงพยาบาลคู่แฝด (sister hospital) ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจแก่ประชาชนทั้งสองประเทศ  จะได้รับการดูแลต่อเนื่องและมาตรฐานเดียวกัน                     
       
       นายแพทย์ ประดิษฐ กล่าวต่อว่า สำหรับการดูแลชาวกัมพูชาที่เจ็บป่วยอื่นๆ และข้ามมาใช้บริการที่โรงพยาบาลในฝั่งไทย กระทรวงสาธารณสุขไทยจะให้การดูแลด้วยหลักมนุษยธรรม และเรียกเก็บค่าบริการในรายที่สามารถจ่ายได้ ในระยะยาวไทยได้เสนอให้กัมพูชาใช้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพื่อให้การดูแลประชาชนเข้าถึงบริการอย่างทั่วถึง ซึ่งได้รับการตอบรับจากกัมพูชาเป็นอย่างดี           
       
       ด้าน นายแพทย์ ธวัชชัย กมลธรรม ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ที่ผ่านมาโรงพยาบาลในพื้นที่ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา 7 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์  สระแก้ว จันทบุรี และตราด  รับผิดชอบค่ารักษาฟรีแก่ผู้ป่วยชาวกัมพูชาประมาณปีละ 50  ล้านบาท เช่น ที่จังหวัดตราด จันทบุรี สระแก้ว ในปี พ.ศ.2555 มีค่ารักษาที่เรียกเก็บไม่ได้ประมาณ 24 ล้านบาท และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี  ผู้ป่วยกัมพูชาที่มาใช้บริการสูงสุดเป็นโรคท้องร่วง ปอดบวม และอาหารเป็นพิษ สำหรับผู้ป่วยในสูงสุดเป็นคลอดบุตร บางโรงพยาบาล เช่นคลองใหญ่ ประมาณร้อยละ 70 ของผู้มาคลอดบุตรเป็นชาวกัมพูชา ความร่วมมือระหว่างประเทศครั้งนี้ จะเพิ่มความมั่นใจ เอื้อให้มีการพัฒนาร่วมกัน โดยในการส่งต่อผู้ป่วยนั้น จะมีการจับคู่ระหว่างโรงพยาบาลใหญ่ทั้ง 2 ประเทศ เช่น รพ.สระแก้ว กับ รพ.บันเตียเมียนเจย รพ.พระปกเกล้าจันทบุรี คู่กับ รพ.พระตะบอง รพ.ตราด คู่กับรพ.เกาะกง เป็นต้น โดยจะมีการประชุมเพื่อจัดทำคู่มือแนวทางความร่วมมือกันในเร็วๆ นี้ และจะมีการศึกษาดูงานในพื้นที่ด้วย