ผู้เขียน หัวข้อ: กำหนดค่ารักษาฉุกเฉินวิกฤต รพ.เอกชนอัตราใหม่ เชื่อไม่ขาดทุน  (อ่าน 645 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9782
    • ดูรายละเอียด
กำหนดค่ารักษาเจ็บป่วยฉุกเฉินให้ รพ.เอกชน อัตราใหม่ เชื่อไม่ขาดทุน รอเจรจาร่วม รพ.เอกชน 3 กองทุนสุขภาพ 15 มิ.ย.นี้
       
       ความคืบหน้าเรื่องการคิดเกณฑ์ค่ารักษาโครงการเจ็บป่วยฉุกเฉิน เข้าได้ทุกที่ ฟรีทุกสิทธิ ซึ่งมีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ทำหน้าที่เป็นเคลียริงเฮาส์ ในการจ่ายค่ารักษาช่วงวิกฤตฉุกเฉินถึงแก่ชีวิตให้แก่ รพ.เอกชน และไปเรียกเก็บกับหน่วยงานตามสิทธิ ซึ่งที่ผ่านมานอกจากปัญหาเรื่องการตีความเจ็บป่วยแบบไหนเป็นวิกฤตฉุกเฉินถึงแก่ชีวิตที่ต้องขีดเส้นให้ชัด เรื่องเกณฑ์การคิดค่าใช้จ่ายก็เป็นอีกเรื่องที่มีการถกเถียงกันมานาน โดยภาคประชาชนมองว่า รพ.เอกชนควรยอมรับราคาที่ผ่านมาของ สปสช. แต่ขณะที่ รพ.เอกชนมองว่าการคิดค่ารักษาควรให้ รพ.เอกชนอยู่ได้ด้วย
       
       ล่าสุด เกี่ยวกับเรื่องนี้ นพ.ถาวร สกุลพาณิชย์ ผอ.สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.) ในฐานะคณะทำงานศึกษาค่ารักษาพยาบาลโครงการเจ็บป่วยฉุกเฉิน เข้าได้ทุกที่ ฟรีทุกสิทธิ กล่าวว่า คณะทำงานได้ศึกษาและกำหนดอัตราการจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินถึงแก่ชีวิตในช่วง 72 ชั่วโมง ให้กับ รพ.เอกชน ใหม่ ที่เชื่อว่าเป็นราคาที่ครอบคลุมค่าวัสดุ ค่าเสื่อมราคาเครื่องมือ และคิดถึงค่าแรงคนทำงานถึงร้อยละ 100 ตรงนี้แตกต่างจาก รพ.รัฐชัดเจน เพราะค่าแรงใน รพ.รัฐจะมีเงินภาษีดูแลอยู่ ดังนั้นไม่ว่าจะอย่างไร รพ.เอกชนไม่น่าจะขาดทุน เบื้องต้นกำหนดไปแล้วกว่า 1 พันรายการรักษา อย่างไรก็ตาม ราคาที่ตั้งขึ้นนี้ยังต้องมีการเจรจาต่อรองกันอีกครั้งระหว่าง รพ.เอกชน และ 3 กองทุนสุขภาพ คือ สำนักงานประกันสังคม กรมบัญชีกลาง และ สปสช. หาก รพ.เอกชนยังไม่ยอม โดยขอเรียกเก็บตามราคาปกติที่เคยเก็บแล้วก็ต้องมาอธิบายว่ามีเหตุผลในการคิดราคาค่ารักษาอย่างไร แต่เนื่องจากนี่เป็นโครงการฉุกเฉินถึงแก่ชีวิต ในช่วง 72 ชั่วโมงนี้ รพ.เอกชนไม่ควรคิดราคาเกินจริง เพราะเงินที่เอามาจ่ายเป็นค่ารักษานั้นมาจากภาษีของประเทศ ต้องรักษาคนให้รอดก่อน ราคาที่ให้เชื้อว่าไม่ทำให้รพ.ขาดทุน


ASTVผู้จัดการออนไลน์    13 มิถุนายน 2558