ผู้เขียน หัวข้อ: เส้นทางรถไฟสายไหม-สารคดี(เนชั้นแนลจีโอกราฟฟิก)  (อ่าน 2843 ครั้ง)

pani

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 756
    • ดูรายละเอียด
ผืนแผ่นดินที่ทอดยาว  เป็นระยะทาง 1,200 กิโลเมตรระหว่างทะเลดำกับทะเลแคสเปียน เป็นที่รู้จักในนามภูมิภาคคอเคซัส ซึ่งได้ชื่อตามเทือกเขาที่ทอดผ่านบริเวณนี้ ก่อนจะถูกจักรวรรดิรัสเซียยึดครอง ดินแดนแถบนี้ทำหน้าที่เป็นจุดแวะพักบนเส้นทางระหว่างทวีปยุโรปกับทวีปเอเชีย โดยมีทางสายไหมอันลือเลื่องเส้นเดิมทอดผ่าน เป็นเวลาหลายศตวรรษมาแล้วที่การเดินทางจากทะเลหนึ่งไปยังอีกทะเล หนึ่ง        ผู้คนต้องใช้วิธีพายเรือจากทะเลอะซอฟขึ้นเหนือไปตามแม่น้ำดอน แบกเรือข้ามที่ราบอันกว้างใหญ่ จากนั้นก็ล่องเรือไปตามแม่น้ำวอลกาสู่ทะเลแคสเปียน กระทั่งเมื่อรัสเซียเริ่มสร้างทางรถไฟผ่านภูมิภาคคอเคซัสในศตวรรษที่สิบเก้า เราจึงสามารถเดินทางข้ามภูมิภาคนี้ได้โดยตรงมากขึ้น

                ในอนาคตอันใกล้ ภูมิภาคนี้จะมีเส้นทางรถไฟสายใหม่ที่มีผู้ตั้งฉายาให้ว่า “ทางรถไฟสายไหม” (Iron Silk Road) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ทางรถไฟสายบากู-ทบิลิซี-การ์ส หรือบีทีเค (BAKU-TBILISI-KARS: BTK)  ที่จะเชื่อมภูมิภาคทะเลแคสเปียนอันร่ำรวยด้วยน้ำมันกับประเทศตุรกี และเลยไปถึงทวีปยุโรป

            ทางรถไฟสายไหมจะเปิดหน้าประวัติศาสตร์ใหม่ให้ภูมิภาคคอเคซัส  หลัง จากสหภาพโซเวียตล่มสลายลงในปี 1991 สาธารณรัฐเอกราชใหม่ๆทางตอนใต้ของคอเคซัสที่แยกตัวออกมารัสเซีย ได้แก่ จอร์เจีย อาร์เมเนีย และอาเซอร์ไบจาน ก็กลับมามีความ สำคัญทางยุทธศาสตร์อีกครั้ง การค้นพบขุมทรัพยากรมหาศาลอย่างน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเบื้องล่างและตลอดแนว ชายฝั่งทะเลแคสเปียน ได้จุดชนวนการแก่งแย่งแข่งขันวางท่อส่งไปทั่วภูมิภาคเพื่อนำทรัพยากรเหล่า นั้นไปสู่ตลาดยุโรป ปัจจุบันท่อส่งเหล่านี้สามารถใช้งานได้แล้ว และทางรถไฟสายบีทีเคที่กำลังเป็นรูปเป็นร่างก็พร้อมจะอัดฉีดความเจริญทางการ ค้า ด้วยการขนส่งสินค้าจากยุโรปสู่ตะวันออก สวนทางกับผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่มุ่งหน้าสู่ตะวันตก ทางรถไฟสายนี้ซึ่งมี กำหนดแล้วเสร็จในปี 2012 จะเริ่มต้นจากกรุงบากู เมืองหลวงของอาเซอร์ไบจาน ไปยังกรุงทบิลิซีของจอร์เจีย ไปจนถึงเมืองการ์ส ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการค้าของตุรกีที่อยู่สุดชายขอบทางตะวันตกเฉียงใต้ของ ภูมิภาคคอเคซัส

            การ มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของตุรกีในการสร้างทางรถไฟสายไหม แสดงให้เห็นถึงแนวร่วมใหม่ในภูมิภาคที่มักถูกมองว่าเป็นหลังบ้านหรืออยู่ใต้ เงื้อมเงาอิทธิพลของรัสเซีย เช่นเดียวกับท่อส่งน้ำมันสายบากู-ทบิลิซี-เจฮาน หรือบีทีซี (Baku-Tbilisi- Ceyhan: BTC) ที่ เปิดใช้ในปี 2005 เพื่อส่งน้ำมันจากกรุงบากูไปยังเมืองเจฮาน ซึ่งเป็นเมืองท่าริมชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนของตุรกี ทางรถไฟสายบีทีเคคือผลพวงจากการจับมือเป็นพันธมิตรระหว่างตุรกี จอร์เจีย และอาเซอร์ไบจาน ส่วนประเทศเพื่อนบ้านอย่างอาร์เมเนียนั้นถูกทิ้งให้อยู่วงนอกอย่างจงใจ และก็เช่นเดียวกับท่อส่งน้ำมัน เส้นทางแนวตะวันออก-ตะวันตกสายนี้จะทำให้มีทางเลือกในการเดินทางโดยไม่จำ เป็นต้องผ่านรัสเซียซึ่งอยู่ทางเหนือหรืออิหร่านที่อยู่ทางใต้

            ประเทศตุรกีพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้รับการยอมรับเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปหรืออียู (European Union: EU) ชาวตุรกีมองเพื่อนบ้านอย่างบัลแกเรียและโรมาเนียที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจ น้อยกว่า แถมยังมีการคอร์รัปชันมากกว่า แต่ได้รับการยอมรับไปแล้วอย่างขุ่นเคืองใจ ขณะที่ตุรกีซึ่งเป็นสมาชิกองค์การป้องกันแอตแลนติกเหนือหรือนาโตในช่วง สงครามเย็น ได้แต่รอคอยคำเชื้อเชิญที่อาจไม่มีวันมาถึง

            ไม่ นานมานี้ตุรกีได้หาทางปรับปรุงความสัมพันธ์กับอาร์เมเนียเพื่อนบ้าน ก่อนหน้านั้นเมื่อปี 1993 ตุรกีได้ปิดพรมแดนและระงับการเดินรถไฟไปยังอาร์เมเนีย เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของความแน่นแฟ้นที่มีต่ออาเซอร์ไบจาน พันธมิตรผู้ใกล้ชิดของตุรกีที่นับถือศาสนาอิสลามเหมือนกัน หลังจากคริสต์ศาสนิกชนชาวอาร์เมเนียได้ช่วยเหลือชนกลุ่มน้อยในนากอร์โน-คารา บัค ดินแดนเล็กๆในอาเซอร์ไบจาน ให้ลุกขึ้นมาต่อสู้อย่างดุเดือดในสงครามแบ่งแยกดินแดน เมื่อปีที่แล้วในนครซูริกของสวิตเซอร์แลนด์ ตุรกีได้ลงนามในข้อตกลงกับอาร์เมเนียเพื่อฟื้นความสัมพันธ์ทางการทูตและเปิด พรมแดนอีกครั้ง ท่ามกลางสายตาที่จับจ้องของสหภาพยุโรปและสหรัฐฯ แต่แล้วต่อมา ชาวอาร์เมเนียก็เรียกร้องให้ตุรกียอมรับว่า         การ สังหารหมู่ประชาชนของอาร์เมเนียเมื่อปี 1915 ในยุคจักรวรรดิออตโตมัน คือการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ตุรกีในฐานะรัฐทายาทของออตโตมันย่อมไม่เต็มใจยอมรับ ขณะเดียวกัน ตุรกีเองก็เริ่มยืนกรานให้มีการแสวงหาทางออกสำหรับความขัดแย้งในนากอร์โน-คา ราบัค และเนื่องจากทั้งสองเงื่อนไขไม่มีทีท่าว่าจะเกิดขึ้นได้ในเร็ววัน ข้อตกลงและโอกาสแห่งการกระชับมิตรจึงล่มสลายลงเมื่อฤดูใบไม้ผลิปีที่แล้ว       

            ส่วน ทางด้านอาเซอร์ไบจานนั้น ประเทศแห่งนี้กลายเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยมุสลิมในปี 1918 และเสวยสุขกับสถานภาพนั้นอยู่เพียงสองปี ก่อนจะถูกรุกรานและผนวกเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต ทว่านับตั้งแต่แยกตัวออกจากสหภาพโซเวียต เราก็แทบมองไม่ออกว่าอาเซอร์ไบจานเป็นประเทศมุสลิมหรือเป็นประชาธิปไตยและ รัฐสภา หอคอยมัสยิดหรือการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรมในกรุงบากูนั้นหาได้ ยากกว่ารถเบนต์ลีย์ราคาแพงเสียอีก ความมั่งคั่งและความเท่าเทียมทางสังคมไม่จำเป็นต้องแยกจากกัน แต่เมื่อประเทศรุ่มรวยไปด้วยน้ำมัน ก็มักห้ามใจได้ยากที่จะมุ่งความสนใจไปที่ความมั่งคั่ง และละเลยความเท่าเทียมทางสังคม และยิ่งห้ามใจได้ยากขึ้นไปอีกเมื่อโลกเองก็กระหายสิ่งที่อาเซอร์ไบจานมีให้ ท่อส่งน้ำมันบีทีซีเป็นท่อส่งน้ำมันเพียงแหล่งเดียวที่ลำเลียงน้ำมันซึ่งไม่ ได้เป็นของรัสเซีย โอเปก (OPEC) และประเทศโลกอาหรับไปสู่เรือบรรทุกน้ำมันในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ขณะที่ปริมาณน้ำมันดิบของโลกลดลงอย่างต่อเนื่อง อิทธิพลของอาเซอร์ไบจานกลับมีแต่จะเพิ่มสูงขึ้น

            มา ดูทางด้านจอร์เจียกันบ้าง ทุกวันนี้ จอร์เจียคาดหวังว่าทางรถไฟสายบีทีเคจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ตอนที่รัฐบาลประกาศแผนการสร้างทางรถไฟเป็นครั้งแรก  ชนกลุ่มน้อยชาวอาร์เมเนียในจอร์เจียต่างต่อต้าน โดยอ้างว่าไม่ยุติธรรมที่อ้อมผ่านอาร์เมเนียไป  แต่วันนี้ผู้คนต่างมีความหวังเล็กๆว่า ทางรถไฟสายใหม่จะบรรเทาความทุกข์ยากยาวนานหลังยุคคอมมิวนิสต์ได้   จอร์เจียเพิ่งเป็นประเทศได้เพียง 19 ปี ถ้าเทียบกับคนก็คงอยู่ในช่วงดิ้นรนเพื่อให้ผ่านชีวิตช่วงวัยรุ่นไปให้ได้  การปฏิวัติกุหลาบ (Rose Revolution) ที่ไร้การนองเลือดเมื่อเจ็ดปีก่อน  ก่อ ให้เกิดความใฝ่ฝันมากมายหลายหลากตามแบบฉบับของประเทศเกิดใหม่ ทั้งการเป็นสมาชิกองค์การนาโต การเข้าร่วมกับสหภาพยุโรป การนำอับคัซและเซาท์ออสเซเชียที่แยกตัวออกไปกลับเข้ามาอยู่ภายใต้กรงเล็บของ รัฐบาลกลาง และการปรับปรุงความสัมพันธ์กับรัสเซีย

            ความ ตึงเครียดระหว่างจอร์เจียกับรัสเซียเพิ่มขึ้นจนถึงจุดเดือดเมื่อไม่นานมานี้ หลังจากรัสเซียซึ่งเริ่มหมดความอดทนกับความทะเยอทะยานอยากเป็นพันธมิตรกับ ชาติตะวันตกของจอร์เจีย ได้ปิดพรมแดนระหว่างสองประเทศลงในปี 2006 รัสเซียกังวลว่าหากจอร์เจียได้รับการยอมรับเข้าสู่เครือข่ายมหาอำนาจตะวันตก ที่ตนนิยมชมชอบแล้ว ก็อาจปลุกกระแสความคิดเสรีแบบเดียวกันขึ้นในดินแดนทางเหนือของภูมิภาคคอเค ซัส ซึ่งรวมถึงสาธารณรัฐของรัสเซียอย่าง ดาเกสถาน อิงกูเชตียา และโดยเฉพาะเชชเนียที่ยังคงท้าทายอำนาจของมอสโกด้วยการลอบวางระเบิดและการลอบสังหาร

            ความ ตึงเครียดที่มีมายาวนานระหว่างรัสเซียกับจอร์เจียปะทุลุกลามจนกลายเป็น สงครามในฤดูร้อนปี 2008 เมื่อรัสเซียสยายกรงเล็บเพื่อประกาศศักดาเหนือดินแดนที่แยกตัวเป็นอิสระจาก จอร์เจีย กองทหารรัสเซียกำราบกองทัพจอร์เจียจนอยู่หมัด พร้อมกันนั้นรัสเซียก็ประกาศยอมรับเซาท์ออสเซเชียและอับคัซในฐานะประเทศเกิด ใหม่ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเครื่องเตือนว่าการปะทะกันเพียงเล็กน้อยในพื้นที่ พรมแดนเหล่านี้ อาจเป็นชนวนให้เกิดการเผชิญหน้าระดับโลกขึ้นได้

            แม้ ลักษณะภูมิประเทศจะไม่เป็นใจและหลายครั้งอาจเป็นภัยแก่ตัว กระนั้นตำแหน่งทางยุทธศาสตร์บนแผนที่ของจอร์เจียก็อาจเป็นจุดแข็งที่สุดของ ประเทศนี้ องค์การนาโตมองว่า ปัจจุบันภูมิภาคคอเคซัสตอนใต้เป็นเส้นทางที่จำเป็นสำหรับสนับสนุนสงครามใน อัฟกานิสถาน นับตั้งแต่การโจมตีของผู้ก่อการร้ายเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2008 เริ่มเป็นภัยคุกคามต่อเส้นทางส่งกำลังบำรุงผ่านช่องเขาไคเบอร์ในปากีสถาน และสำหรับตุรกีซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญ จอร์เจียคือประตูสู่เอเชียกลาง อาร์เมเนียและรัสเซียไม่อาจค้าขายกันได้โดยไม่ผ่านจอร์เจีย อีกทั้งน้ำมันของอาเซอร์ไบจานก็ไม่อาจไปสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนได้โดยไม่ ผ่านจอร์เจีย ซึ่งนั่นทำให้ประเทศนี้ได้รับค่าผ่านทางถึงปีละ 65 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
                                สุด ท้ายแล้วเส้นทางรถไฟสายไหมที่ตัดผ่านตอนใต้ของภูมิภาคคอเคซัสสายนี้ จะเติมเชื้อให้ความฝันหรือความขัดแย้งในภูมิภาคกันแน่ เราคงต้องติดตามดูกันต่อไป

ตุลาคม 2553