ผู้เขียน หัวข้อ: แฉผลสอบดีเอสไอ ชี้มูล หมอถลุง เปิบพิสดารพาราเซตามอล  (อ่าน 2285 ครั้ง)

seeat

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 470
    • ดูรายละเอียด
กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้สรุปผลการสืบสวนกรณีการจัดซื้อวัตถุดิบยาพาราเซตามอล ขององค์การเภสัชกรรม ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ “ชมรมแพทย์ชนบท” ถึงกับอดทนรนไม่ไหว และต้องออกมาเคลื่อนไหวอย่างรุนแรง ซึ่ง “พระนครสาส์น” ของนำเสนอข้อมูลรายละเอียดตรงนี้อีกครั้ง

โดยเว็บไซด์ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้เผยแพร่ข้อมูลนี้เอาไว้เมื่อ วันที่ 1 พฤษภาคม 2556 ระบุว่า
(๑) องค์การเภสัชกรรมได้มีการหยุดผลิตยาพาราเซตามอลตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๕- ๒๕๕๖ โดยองค์การฯ ได้ว่าจ้างให้โรงงานเภสัชกรรมทหาร และบริษัท โอสถอินเตอร์ จำกัด เป็นผู้ผลิตยาพาราเซตามอลโดยใช้ชื่อองค์การเภสัชกรรม โดยผู้รับจ้างดังกล่าวจะเป็นผู้จัดหาแหล่งวัตถุดิบเอง
(๒) โรงงานเภสัชกรรมทหารได้จัดหาแหล่งผลิตยาพาราเซตามอล โดยได้มีการจัดหาจาก ผู้ผลิตเพียงรายเดียว โดยอ้างว่าเป็นแหล่งที่ทดลองผลิตได้ผลดี แต่เมื่อนำวัตถุดิบจากแหล่งผลิตดังกล่าวมาทำการผลิตจริงของโรงงานเภสัชกรรมทหาร พบสิ่งปนเปื้นในวัตถุดิบยาพาราเซตามอล ๙๐% DC
(๓) องค์การเภสัชกรรมอยู่ระหว่างการปรับปรุงอาคารผลิต ตอก เคลือบ และบรรจุยาเม็ด โดยสัญญาสิ้นสุด ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๔ (เวลาสัญญาเดิม) และได้มีการแก้ไขสัญญาปรับปรุงอาคาร ขยายสัญญาจนสิ้นสุดสัญญา ๑๘ เมษายน ๒๕๕๖ แต่องค์การเภสัชกรรมมีการสั่งซื้อวัตถุดิบยาพาราเซตามอล ๙๐% DC และรับมอบวัตถุดิบ ยาพาราฯ ไว้แล้ว จำนวน ๔๘ ตัน ตั้งแต่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ แล้ว ซึ่งโรงงานดังกล่าวยังไม่สามารถทำการผลิตได้
(๔) องค์การเภสัชกรรมได้มีการจัดซื้อวัตถุดิบยาพาราเซตามอล ๙๐% จำนวน ๔๘ ตัน วงเงิน ๗,๔๔๐,๐๐๐ บาท โดยวิธีพิเศษ จากห้างหุ้นส่วนจำกัด พี.อาร์.เคมีคอล เพื่อทดลอง โดยมีการขออนุมัติ เมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ โดยห้างฯ เสนอราคาเมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ออกใบสั่งซื้อเมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ กำหนดส่งมอบของภายในวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ซึ่งห้างฯ ได้ส่งมอบวัตถุดิบเมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ซึ่งมีระยะเวลาตั้งแต่การจัดซื้อจนถึงการส่งมอบวัตถุดิบโดยใช้เวลาเพียง ๒๔ วัน
สำหรับการจัดซื้อวัตถุดิบยาพาราเซตามอล ๙๐% DC จำนวน ๑๐๐ ตัน วงเงิน ๑๗,๐๑๓,๐๐๐ บาท โดยวิธีพิเศษ จากห้างหุ้นส่วนจำกัด พี.อาร์.เคมีคอล โดยอ้างว่าเพื่อป้องกันการขาดแคลนหลังภาวะน้ำท่วม โดยมี นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรมอนุมัติให้ดำเนินการ เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ โดยห้างฯ เสนอราคาวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ และกำหนดส่งมอบภายในเดือนธันวาคม ๒๕๕๔ ต่อมาผู้อำนวยการกองจัดซื้อและสำรองวัตถุดิบได้มีหนังสือถึงผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม เพื่อขออนุมัติเลื่อนกำหนดส่งมอบยาพาราเซตามอล โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากขณะนี้ มีการเร่งรัดการผลิตยาน้ำท่วม จึงยังไม่สามารถกำหนดแผนผลิตยาพาราเซตามอลที่ชัดเจนได้ ประกอบกับขณะนี้มีวัตถุดิบยาพาราเซตามอล ๙๐% DC คงคลังอยู่จำนวน ๔๐,๐๐๐ กิโลกรัม และพื้นที่คลังวัตถุดิบมีไม่เพียงพอที่จะรองรับได้ขณะนี้ จึงขอเลื่อนกำหนดส่งจากเดิมภายในเดือนธันวาคม ๒๕๕๔ เป็นภายในวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ซึ่งผู้อำนวยการเภสัชกรรมได้อนุมัติตามเสนอเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ซึ่งห้างฯ ได้ส่งมอบวัตถุดิบยาพาราเซตามอลดังกล่าวเมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ซึ่งหากองค์การเภสัชกรรมไม่ได้สั่งให้ห้างฯ เลื่อนการส่งมอบวัตถุดิบ ก็จะต้องส่งมอบวัตถุดิบภายในเดือนธันวาคม ซึ่งระยะเวลาตั้งแต่การอนุมัติการจัดซื้อการจัดซื้อจนถึงวันที่ส่งมอบ ใช้เวลาประมาณ ๓๐ วัน ย่อมแสดงให้เห็นว่าองค์การเภสัขกรรมไม่มีแผนการผลิตยาพาราเซตามอล และยังมีวัตถุดิบยาพาราเซตามอลคงค้างอยู่เป็นจำนวนมาก
(๕) จากเอกสารรายงานขององค์การเภสัชกรรมเกี่ยวกับการจัดซื้อยาพาราเซตามอล ปรากฏว่า ที่ผ่านมาองค์การเภสัชกรรมได้มีการจัดหาวัตถุดิบยาพาราเซตามอลเพียง ๑๕๐ – ๖๐๐ กิโลกรัมเท่านั้น ไม่ได้มีการสั่งซื้อยาเป็นจำนวนมาก

 

หมอวิชัย-วิทิต
จากข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้น กรมสอบสวนพิจารณาแล้วเห็นว่า การที่องค์การเภสัชกรรม โดย นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์เภสัชกรรม ได้มีการสั่งซื้อวัตถุดิบยาพาราเซตามอล จำนวน ๑๐๐ ตัน จากห้างหุ้นส่วนจำกัด พี.อาร์.เคมีคอล โดยอ้างเหตุผลเพียงว่าเพื่อใช้สำหรับสำรองวัตถุดิบหลังน้ำท่วม ในขณะที่ทราบ อยู่แล้วว่าในคลังขององค์การเภสัชกรรมมีวัตถุดิบยาพาราเซตามอลจำนวนมากถึงจำนวน ๔๘ ตัน ประกอบกับ องค์การเภสัชกรรมไม่มีแผนที่จะทำการผลิตยาพาราเซตามอลและหยุดการผลิตยาพาราเซตามอล ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๕ – ๒๕๔๖ โดยองค์การเภสัชกรรมได้ว่าจ้างให้โรงงานเภสัชกรรมทหารและบริษัท โอสถอินเตอร์ จำกัด เป็นผู้ผลิตส่งให้องค์การเภสัชกรรม นอกจากนี้ ตามรายงานการจัดซื้อที่ผ่านมาขององค์การเภสัชกรรมไม่เคยซื้อวัตถุดิบยาพาราเซตามอลสำรองไว้เป็นจำนวนมาก และประเทศไทยมีผู้แทนจำหน่ายวัตถุดิบยาพาราเซตามอลหลายบริษัท ซึ่งโรงงานเภสัชกรรมทหารและเป็นหน่วยงานที่ผลิตยาให้กับองค์การเภสัชกรรมได้มีการใช้วัตถุดิบจาก ๒ แหล่ง ย่อมแสดงให้เห็นว่ามีผู้ประกอบการหลายบริษัทที่สามารถจัดหาวัตถุดิบมาใช้ในการผลิตยาพาราเซตามอลได้ แต่นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์เภสัชกรรม กลับได้สั่งให้จัดซื้อจากแหล่งเดียว เพียงอ้างว่าสามารถผลิตได้เร็ว จำนวน ๒๗๐,๐๐๐ เม็ด/ชม.เท่านั้น

นอกจากนี้ หากมีความจำเป็นต้องจัดซื้อวัตถุดิบยาพาราเซตามอลจริง ก็ไม่มีเหตุผลความจำเป็นที่ต้องแจ้งให้ห้างฯ เลื่อนการส่งมอบจากเดือนธันวาคม ๒๕๕๔ เป็นเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ประกอบกับหากพิจารณาระยะเวลาการส่งมอบในการจัดซื้อจำนวน ๔๘ ตัน และจำนวน ๑๐๐ ตัน ที่ได้กำหนดไว้ในครั้งแรกแล้ว ห้างฯ สามารถส่งมอบวัตถุดิบได้เร็ว ซึ่งไม่จำเป็นที่จะต้องสำรองวัตถุดิบมากขนาดนั้น อันอาจส่งผลให้ยาหมดอายุหรือเสื่อมสภาพก่อนที่จะนำไปผลิต ดังนั้น จึงเห็นว่าการที่ นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม ได้จัดซื้อวัตถุดิบยาพาราเซตามอลจากห้างหุ้นส่วนจำกัด พี.อาร์.เคมีคอล โดยวิธีพิเศษ โดยไม่มีการแข่งขันราคา อาจทำให้รัฐเสียหายจากการแข่งขันราคา ซึ่งการกระทำดังกล่าวเข้าข่ายความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๒ โดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม เพื่อเอื้ออำนวยแก่ผู้เข้าทำการเสนอราคารายใดให้เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ และการที่นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัช ได้สั่งซื้อวัตถุดิบมาโดยไม่มีแผนพยากรณ์การผลิต การซื้อมาโดยไม่มีการผลิต เข้าข่ายเป็นการปฏิบัติหรือละเว้น การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗

นอกจากนี้ การที่ นพ.วิชัย โชควิวัฒน อดีตประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรมซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลการทำงานของฝ่ายบริหารขององค์การเภสัชกรรม ในขณะที่มีการจัดซื้อ แต่กลับไม่ท้วงติงการจัดซื้อวัตถุดิบยาพาราเซตามอล ทั้งๆ ที่ทราบดีอยู่แล้ว ซึ่งการกระทำดังกล่าว เข้าข่ายเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ อันเป็นความผิด ตามมาตรา ๑๕๗ แห่งประมวลกฎหมายอาญา อย่างไรก็ดี การกระทำความผิดดังกล่าวข้างต้นเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่และการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๑๙ บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ดังนั้น กรมสอบสวนคดีพิเศษจึงได้ส่งผลการสืบสวนให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป

ดังนั้นจึง อย่าแปลกใจ หาก “ชมรมแพทย์ชนบท” จะมี “ข้ออ้าง” ต่างๆนาๆ เพื่อเคลื่อนไหว
เพราะสุดท้าย อาจจะกลายเป็นเพียงเพราะ “ลูกพี่ใหญ่” ของ “หมอชนบท” อย่าง “น.พ.วิชัย โชควิวัฒน” และ “น.พ.วิทิต อรรถเวชกุล” มือขวาคนสนิทของ “น.พ.วิชัย” ที่ถูก “ดีเอสไอส” ควานพบ “เงื่อนงำ” แห่งความไม่ชอบมาพากลที่ได้ทำเอาไว้ !!!


ข่าวพาดหัว ย่ำ...สามเสน — 05 June 2013
พระนครสาส์น

ployploy

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 13
    • ดูรายละเอียด
ขอบคุณค่ะที่แนะนำ :D :D :D
Com on!!gclubcasino vegasroyal1688cambodia poipetholidaypalaceonline