แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - story

หน้า: 1 ... 585 586 [587] 588 589 ... 651
8791
แพทย์หญิงมาลินี สุข​เวชชวรกิจ รอง​ผู้ว่าราช​การกรุง​เทพมหานคร กล่าวว่า กรุง​เทพมหานครจัด “​โครง​การตลาดนัดมูลฝอยอันตราย” ​โดยสำนัก​การ​แพทย์ ร่วมกับสำนักสิ่ง​แวดล้อม ​และบริษัทสยามฟาร์มาซูติคอล จำกัด จัดกิจกรรมรณรงค์คัด​แยกขยะอันตรายมุ่ง​เน้น​ให้ประชาชนทั่ว​ไป ตลอดจน​เจ้าหน้าที่ ​และ​ผู้​ใช้บริ​การของ​โรงพยาบาลสังกัดกรุง​เทพมหานคร มีส่วนร่วม​ใน​การคัด​แยกขยะอันตรายจากมูลฝอยทั่ว​ไป​ซึ่งจะส่งผล​ให้​การจัด​เ​ก็บขยะอันตราย​เป็น​ไปอย่างถูกต้อง​และนำ​ไปกำจัดอย่างถูกวิธี ​ไม่​เป็นอันตรายกับสุขภาพประชาชน​และสิ่ง​แวดล้อม

​ทั้งนี้ ​ใน​การจัด​เ​ก็บขยะ​ในกรุง​เทพมหานครจะ​แยก​เป็น 3 ประ​เภท คือ
1.ขยะทั่ว​ไป สำนักสิ่ง​แวดล้อมจัด​การด้วยวิธีฝังกลบ รี​ไช​เคิล ​หรือ​เปลี่ยน​เป็นพลังงาน
2.ขยะติด​เชื้อ บริษัทกรุง​เทพธนาคม จำกัด จัด​การ​โดยวิธี​เผาด้วย​เตา​เผา​แรงดันสูง ​และ
3.ขยะอันตราย ​หรือ มูลฝอยอันตราย (Hazardous waste) ​ซึ่งจากรายงาน​การจัด​เ​ก็บปัจจุบันพบว่าจัด​เ​ก็บ​ได้​เพียง 0.60 ตัน/วัน ​ซึ่ง​เป็นปริมาณที่น้อยมาก​เมื่อ​เทียบกับปริมาณมูลฝอยอันตรายที่คาด​การณ์​เฉลี่ย 24 ตัน/วัน ​เนื่องจากประชาชนขาด​ความรู้​ความ​เข้า​ใจ​และ​แรงจูง​ใจ​ใน​การคัด​แยก

​โดยมูลฝอยอันตราย อาทิ ​แบต​เตอร์รี่ ถ่าน​ไฟฉาย ​ไส้ปากกา กระดาษคาร์บอน กระป๋องสาร​เคมีกำจัด​แมลง​หรือยุง กระป๋องส​เปรย์ กระป๋องสีทาบ้าน ขวดยาหมดอายุ หลอด​ไฟ หมึกพิมพ์ ​เป็นต้น ​ซึ่ง​แต่ละประ​เภทจะมีสารพิษที่​ทำลายสุขภาพ ​เช่น สารหนู(ก่อมะ​เร็ง), ​แคด​เมียม(พิษต่อระบบหาย​ใจ), ตะกั่ว(พิษต่อระบบย่อยอาหาร​และระบบหาย​ใจ ระยะยาวมีผลต่อสมอง​และระบบประสาท), ปรอท(พิษต่อระบบประสาท​ทำ​ให้พิ​การ) ​และ​แมงกานีส(ประสาทหลอนสมองอัก​เสบ) ​จึงจำ​เป็นต้องกำจัดอย่างถูกวิธี ​จึง​เกิด​โครง​การดังกล่าวขึ้น

สำหรับกิจกรรมนอกจากรณรงค์​ให้​ความรู้​และสร้าง​ความ​เข้า​ใจ​ในวิธี​การคัด​แยกขยะอย่างถูกวิธี​แล้วจะสร้าง​แรงจูง​ใจ​ให้ประชาชนร่วมกัน​การคัดขยะอันตรายจากมูลฝอยทั่ว​ไป​โดย​ให้นำขยะอันตราย​ไป​แลกยาสามัญประจำบ้าน​ได้ที่​โรงพยาบาลสังกัดกรุง​เทพมหานคร 8 ​แห่ง ​ได้​แก่ ​โรงพยาบาลกลาง, ​โรงพยาบาลตากสิน, ​โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธ​โร อุทิศ, ​โรงพยาบาล​เวช​การุณย์รัศมิ์, ​โรงพยาบาลราชพิพัฒน์, ​โรงพยาบาลลาดกระบังกรุง​เทพมหานคร, ​โรงพยาบาล​เจริญกรุงประชารักษ์ ​และ​โรงพยาบาลสิรินธร ​ซึ่งอาจประสาน​เพิ่มจุดรับ​แลกที่วชิรพยาบาล​และศูนย์บริ​การสาธารณสุข​เพื่อ​ให้ครอบคลุมประชาชนทุกพื้นที่ ​โดยกทม.จะ​เปิดรับ​แลกมูลฝอยอันตราย ตั้ง​แต่วันที่ 15 กันยายน — 31 ธันวาคม 2554 ​โดยตั้งจุดรับ​แลก​เฉพาะมีถังขยะสำหรับบรรจุขยะอันตรายที่ประชาชนนำ​ไป​แลก​เพื่อขนย้าย​ไป​ทำลายอย่างถูกวิธีต่อ​ไป

แนวหน้า 9 กันยายน 2554

8792
ที่โรงพยาบาลอินทร์บุรีจังหวัดสิงห์บุรีน้ำเจ้าพระยาไหลเอ่อท่วมทางเข้า ออกของรพ.อินทร์บุรีมีระดับสูง 1 เมตร เจ้าหน้าที่จึงเร่งการสร้างสะพานเหล็กยาวประมาณ 700 เมตรจากรพ.ถึงถนนสายสิงห์บุรี ชัยนาทเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนเจ้าหน้าที่ หมอ พยาบาล พร้อมตั้งศูนย์บริการชั่วคราวให้กับประชาชนและนำรถอีนแต๋นรับส่ง และแจ้งเตือนประชาชน ผู้เข้ารับรับการรักษาติดตามสถานการณ์อย่างใก้ลชิดในระยะ2- 3 วันนี้

รพ.อินทร์บุรีจัดชุดแพทย์เคลื่อนที่ช่วยน้ำท่วม

พญ.วนิดา สาดตระกูลวัฒนา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี เปิดเผยว่า ภาวะน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในขณะนี้ สำหรับโรงพยาบาลอินทร์บุรีแล้ว ประสบปัญหาบริเวณรอบนอกของโรงพยาบาล เท่านั้น เนื่องจากที่ตั้งของโรงพยาบาลอินทร์บุรีมีสันเขื่อนล้อมรอบ จึงไม่ทำให้ไม่มีน้ำเข้าท่วมขังบริเวณภายในโรงพยาบาล ดังนั้นทางโรงพยาบาลจึงให้ความสำคัญต่อการที่จะดูแลประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม จึงได้จัดทีมแพทย์เคลื่อน ออกหน่วยบริการ เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับประชาชนที่จะได้รับบริการทางการแพทย์ ทั้งนี้เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางและเพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับประชาชนในพื้นที่ สำหรับผู้ป่วยเรื้อรังที่จำเป็นต้องมีผู้ดูแลใกล้ชิด หรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองเองได้และผู้สูงอายุในช่วงที่น้ำท่วมขังอาจต้องเป็นภาระให้กับบุคคลในครอบครัวมากขึ้น ก็ได้จัดเตรียมหอผู้ป่วยบางส่วนไว้สำหรับรองรับ

เนชั่นทันข่าว 9 กย. 2554

8793
    เมื่อเวลา 18.30 น. วันที่ 10 กันยายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากฝนตกตลอดทั้งวัน ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากท่วมริมถนนมิตรภาพ ระหว่าง กม.ที่ 22-23 หมู่ 5 และ 9 ต.ทับกวาง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี รถยังสามารถวิ่งผ่านได้อย่างช้าๆ

    หน่วยกู้ภัยสว่างรัตนตรัยธรรมสถาน จุด อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี ร่วมกับ กู้ภัยร่วมกตัญญู สระบุรี พร้อมอาสาของอำเภอมวกเหล็ก เจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลมวกเหล็ก ช่วยกันบรรจุทรายใส่ถุงปุ๋ย นำไปวางกั้นกันน้ำป่าที่เริ่มไหลทะลักเข้ามาล้นคลองน้ำที่ไหลผ่านกลางโรงพยาบาล

    โดยทางพยาบาล เจ้าหน้าที่ ที่เข้าเวร ของโรงพยาบาล อ.มวกเหล็ก ต่างเตรียมพร้อมเฝ้าระวังนำท่วมตลอด 24 ชั่วโมง หากมีปัญหาเกิดขึ้น ได้เตรียมแผนการย้ายผู้ป่วย จำนวน 30 เตียง ไปยังโรงพยาบาล อ.แก่งคอย และโรงพยาบาลสระบุรี ไว้แล้ว หากถึงเวลานั้นจริงๆ จะไปปลุกเจ้าหน้าที่ที่ออกเวรมาช่วยกันขนย้ายผู้ป่วยด้วย

    ต่อมาเมื่อเวลา 19.30 น. อ่างเก็บน้ำเขารวก ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติน้ำตกสามกลั่น ต.หนองปลาไหล อ. เมือง จ.สระบุรี ขนาดบรรจุน้ำประมาณ 7,500 ลูกบาศก์ เป็นอ่างดิน เกิดแตกทำให้น้ำไหลทะลักลงสู่เบื้องล่าง เบื้องต้นทราบว่า มีบ้านถูกน้ำพัดสูญหายไป 1 หลังคาเรือน มีอีกหลังคาเรือนหนึ่งยังไม่ทราบชะตากรรม กำลังตรวจสอบ เพราะได้แจ้งปิดกระแสไฟฟ้าทั้งหมดในบริเวณน้ำตกสามกลั่นหมดแล้ว ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต

เนชั่นทันข่าว 10 กย. 2554

8794
เสียงรถมอเตอร์ไซค์ ต่อที่นั่งด้านข้างแบบพ่วง ออกเดินทางทั้งที่ฟ้ายังไม่เริ่มสาง พร้อมผู้โดยสารขาประจำ และเสียงรถมอเตอร์ไซค์คันเดิมก็วิ่งกลับมาบนเส้นทางเดิมในยามเย็น พร้อมกับผู้โดยสารคนเดิม ถือภาพประทับใจของใครหลายคน ที่เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่ามานานแรมปี หลายคนเห็นความหวัง ความรัก และการต่อสู้ในแววตาคู่นั้น ที่กว่าจะมีวันนี้ได้ ต้องต่อสู้กับความสิ้นหวังและเจ็บปวด จากอุบัติเหตุครั้งร้ายแรงของชีวิตที่พลิกผันจากคนปกติกลายเป็นคนพิการ มานานกว่า 9 ปี
   
       ด้วยอุบัติเหตุ ถูกแผงเหล็กขนาดใหญ่ทับแผ่นหลัง ทำให้ "ดำรงค์ กลีบแก้ว" กลายเป็นคนพิการทางการเคลื่อนไหว ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ ใครๆ ก็บอกว่ารอดยาก แต่ด้วยความรักและจิตใจที่มุ่งมั่นของน้อย-บุญไทย กลีบแก้ว แกนนำเครือข่ายจิตอาสา ผู้เป็นภรรยาที่ยืนหยัดต่อสู้กับอาการพิการทางการเคลื่อนไหวของสามีอย่างไม่ย่อท้อ จึงทำให้พี่ดำรงค์อาการดีขึ้นเรื่อยๆ
       
       “เมื่อเขาป่วย เราก็ต้องลาออกจากงานมาดูแล ต้องพลิกตัวทุก 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ ตอนนั้นหมอก็บอกว่าอาการ รอด 50 ต่อ 50 แต่ก็ไม่คิดจะทิ้งเขาไปไหน เพราะเรายึดมั่นในการมีสามีเดียว ภรรยาเดียว แล้วเราก็มีลูกด้วยกัน 2 คน ที่ต้องช่วยกันดูแล ” น้อย เล่าพร้อมกับยิ้มกว้าง
       
       หลังดูแลสามีด้วยตัวเองเป็นระยะนานหลายปี ในปี 2553 พื้นที่ อ.นายายอาม จ.จันทบุรี ได้เกิดโครงการพัฒนาระบบการดูแลคนพิการโดยใช้ครอบครัวและชุมชนเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการสร้างจิตอาสาดูแลคนพิการ โดยมีอาสาสมัครในชุมชน ผู้บริหารส่วนท้องถิ่นทั้งอำเภอและตำบล และนักวิจัยด้านการดูแลคนพิการและพัฒนาร่วมมือกัน โดยมีสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.) ให้การสนับสนุน ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญเพื่อดูแลสุขภาพคนพิการที่บ้านให้คนพิการได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม มีชุมชนเป็นแนวร่วมภายใต้สภาพแวดล้อมที่ดี สามารถพึ่งตนเองได้ ตามที่คณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 2550 กำหนด พี่น้อยจึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการดังกล่าวและทำงานเป็นเครือข่ายจิตอาสาดูแลคนพิการนับแต่นั้นเป็นต้นมา
       
       น้อย เล่าถึงการทำงานในฐานะอาสาสมัครจิตอาสาดูแลคนพิการ ว่า เมื่อดูแลสามีได้ก็ต้องดูแลคนอื่นได้ ดังนั้น เมื่อเข้าร่วมโครงการ เป็นอาสาสมัครจิตอาสาแล้วก็ได้เข้าอบรมการดูแลผู้พิการ จากนักวิชาการ และแพทย์ ได้ออกไปเยี่ยมคนพิการในพื้นที่ในความรับผิดชอบ คือหมู่บ้านคลองชาก โดยสิ่งสำคัญของการเป็นอาสาสมัคร คือ ใจมาก่อนเป็นอันดับแรก
       
       สอดคล้องกับปัทมา รัตนาธรรม หรือปู พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลนายายอาม ในฐานะผู้ร่วมวิจัยโครงการฯ เล่าถึงที่มาโครงการฯว่า สืบเนื่องจากปี 2549 ที่โรงพยาบาลนายายอาม จัดอบรมกายภาพบำบัดให้กับคนในชุมชน ซึ่งภายหลังจากอบรมแล้วพบว่าชาวบ้านที่เข้าอบรมไม่ได้นำความรู้ไปใช้ต่อ จึงคิดหาวิธีว่าจะทำแบบไหนให้ความรู้ไม่หายไป โดยในปี 2551 จึงเกิดโครงการพัฒนาอาสาสมัครดูแลคนพิการ ขึ้นในพื้นที่ ต.นายายอาม ซึ่งเกิดผลดีกับคนในชุมชนที่ช่วยกันดูแลคนพิการ จากนั้นเมื่อปี 2553 ได้มีการขยายพื้นที่ทำงานออกไปเป็นครอบคลุม 6 ตำบลใน อ.นายายอาม โดยมี สสพ.และ สปสช.เป็นผู้สนับสนุนโครงการ
   
       “หลักการทำงานที่ผ่านมา จะเอาข้อมูลในชุมชนมาวิเคราะห์ว่าเกิดปัญหาอะไรบ้าง จากนั้นก็หาวิธีในการแก้ไข ซึ่งพบว่าคนพิการไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควร เราจึงแก้ปัญหาด้วยการอบรมจิตอาสาให้คนในชุมชนและครอบครัวซึ่งเป็นฐานสำคัญช่วยดูแลคนพิการ และถือว่ามีความใกล้ชิดกับคนพิการมากที่สุด อีกทั้งยังเป็นกำลังใจที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้อาการของคนพิการดีขึ้น” ปู กล่าว
       
       ปู สะท้อนต่อว่า การทำงานที่ผ่านมาเริ่มเห็นผลมากขึ้นเรื่อยๆ และยังแนะหลักการเบื้องต้นในการดูแลคนพิการในครอบครัวว่า ก่อนอื่นเราต้องรู้ว่า คนในครอบครัวมีความพิการทางด้านใด เช่น พิการทางกาย ต้องดูแลโดยการให้ทานยา ทำกายภาพบำบัด หรือถ้ามีความพิการทางสติปัญหา ก็ต้องดูแลโดยให้ความรู้ที่เหมาะกับเขา ต่อมาก็ต้องให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิทางสังคมว่าสามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานอะไรบ้าง ซึ่งทุกอย่างที่ว่ามานั้นถือเป็นสิ่งสำคัญที่คนในครอบครัวจะต้องช่วยดูแล เช่นเดียวกับที่พี่น้อยดูแลพี่ดำรงค์ ผู้เป็นสามีอย่างดี
       
       หลัง ดำรงค์ ออกจากโรงพยาบาล พี่น้อย บอกว่า พี่ดำรงค์ นั่งไม่ได้ จึงพาไปรักษาที่วัด ก็ฝึกให้นั่งพิงเสาทุกๆ วัน เราก็ทำงานที่วัด ล้างถ้วย ชาม กวาดลานวัด ทำความสะอาดห้องน้ำ และดูแลสามีไปด้วย ส่วนลูกอีก 2 คนฝากให้ญาติช่วยดูแล หลังอยู่ที่วัดมานานกว่า 8 เดือน ก็รู้สึกเกรงใจที่วัด จึงพาสามีกลับมาอยู่ที่บ้าน และตอนที่ออกจากวัดพี่ดำรงค์ก็นั่งได้แล้ว เมื่อมาอยู่บ้านพี่น้อยได้ดัดแปลงอุปกรณ์ในบ้าน โดยเอาเชือกพาดไว้กับขื่อที่อยู่ใกล้ๆ กับเตียง เพื่อเอาไว้ให้พี่ดำรงค์จับเชือกพยุงตัวเมื่อต้องการลุกจากเตียง จากนั้นก็ลากวีลแชร์ไปวางไว้ด้านหลังเพื่อให้นั่งได้พอดี
       
       “เชื่อว่า ที่เขาแข็งแรงขึ้น เพราะเขาก็มีกำลังใจ กำลังใจเป็นสิ่งสำคัญมาก ยาอะไรก็ไม่ดีเท่ายาใจ และควรมองโลกในแง่ดี คิดบวกเข้าไว้ และสุดท้ายต้องมีความหวัง พี่ดำรงเขาวางเป้าหมายว่าต้องเดินให้ได้” น้อยพูด พร้อมกับนัยน์ตาที่เป็นประกาย
       
       ด้าน ดำรงค์ ร่วมเล่าว่า ถ้าวันนั้น ไม่มีภรรยา เขาคงตายไปแล้ว ตลอดเวลา 9 ปีที่ผ่านมาภรรยาดูแลเขาดีมาก เหมือนภรรยาเป็นผู้ให้ชีวิตใหม่ แต่ก็ยอมรับว่าเคยคิดฆ่าตัวตาย
       “ผมเคยท้อแท้ สิ้นหวังในชีวิต จนถึงขั้นอยากตาย เพราะว่าไม่รู้จะอยู่ไปทำไม เดินก็ไม่ได้ ไม่มีประโยชน์ ทำงานไม่ได้ เป็นภาระให้ครอบครัว แต่เมื่อเห็นหน้าภรรยา เห็นหน้าลูก ก็ทำให้ผมฮึดสู้ขึ้นมาอีกครั้ง ประกอบกับบางครั้งก็มีทีมอาสาสมัครที่เป็นจิตอาสาเข้ามาเยี่ยม ถามสารทุกข์สุขดิบ ให้การรักษาร่วมพูดคุย จนทำให้ผมรู้ว่า ชีวิตของเรายังมีค่านะ เรายังมีลมหายใจ ยังทำอะไรที่เป็นประโยชน์ได้มากมาย ตอนนี้ผมจึงตั้งเป้าในชีวิตว่า ผมต้องเดินให้ได้” ดำรงค์พูดด้วยเสียงหนักแน่น
       
       ดำรงค์ เล่าต่อว่า หลังอาการดีขึ้นตามลำดับ จึงหันมาทำอาชีพขับรถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง รายได้ไม่มาก 200-300 ต่อวัน ช่วยแบ่งเบาภาระของภรรยาได้ เป็นชีวิตที่เรียบง่ายแต่เต็มปี่ยมไปด้วยความสุข

อบรมจิตอาสา
       เรื่องราวความผูกพันระหว่างคนในครอบครัวยังไม่จบเพียงเท่านี้ ขวัญ-จิรพรรณ โพธิ์ทอง ผู้ประสานงานโครงการพัฒนาระบบการดูแลคนพิการโดยใช้ครอบครัวและชุมชนเป็นฐาน ร่วมสะท้อนว่า แม่ได้ป่วยเป็นคนพิการทางการเคลื่อนไหว จากบทบาทผู้ประสานงาน เมื่อกลับบ้านที่ จ.สุพรรณบุรี พี่ขวัญสวมบทเป็นพยาบาลดูแลแม่ที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เช่นเดียวที่แม่เคยดูแลตอนยังเด็ก
       
       “ไม่ใช่ว่าไม่เสียใจนะที่แม่ป่วย แต่ในความเสียใจตรงนี้ เราก็ดีใจที่มีโอกาสได้ดูแลแม่ ตอนที่แม่ป่วย แม่บอกว่าจะเอาเขาไว้ทำไม ในเมื่อแม่ไม่มีประโยชน์อะไรแล้ว เราก็เดินเข้าไปกอดแม่ และบอกว่า แม่ไม่ต้องทำอะไร แค่แม่นั่งอยู่เฉยๆ แบบนี้ แค่เห็นหน้าแม่ เราก็มีความสุขแล้ว เพราะแม่คือกำลังใจ คือทุกอย่างของลูก พอแม่เขาฟังเขาก็ถามว่า จริงเหรอ เราก็บอกว่าจริงสิแม่” ขวัญ เล่าพร้อมกับน้ำตาคลอ
       
       พอแม่ป่วย ขวัญ บอกว่า ต้องปรับบ้านใหม่ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเตียงนอนก็ปรับให้เท่าขนาดวีลแชร์ที่แม่จะขึ้นไปนอนได้อย่างไม่ลำบาก ห้องน้ำก็ปรับให้เท่ากับแม่ ทั้งกระจก และฝักบัว ต้องทำให้ง่ายต่อการทำธุระของแม่ ถ้วย จาน ชาม แก้วน้ำ ก็เปลี่ยนเป็นพลาสติกหมด เพื่อปรับให้เข้ากับแม่
       
       ทุกคนบนโลกใบนี้ ล้วนต้องการกำลังใจในการดำเนินชีวิต ดังนั้นไม่ว่าเราจะเป็นคนพิการ หรือคนทั่วไป สิ่งสำคัญที่เราไม่ควรลืมเติมเต็มให้ชีวิตก็คือ กำลังใจ รวมถึงความมีค่าในความเป็นคน คนทุกคนมีจุดนี้เท่าเทียมกัน ดังนั้น อย่าลืมให้กำลังใจกับคนที่อยู่รอบข้างและคนที่คุณรัก


ASTVผู้จัดการออนไลน์    10 กันยายน 2554

8795
กรมอนามัย-สสส. ค้นพบ 5 นวัตกรรมโภชนาการสมวัยช่วยเด็กไทยพ้นภัย ผอม-เตี้ย-อ้วน-โง่ หลังพบเด็กไทยในวัยเรียนเกินครึ่ง หรือ 1 ใน 5 กินอาหารไม่ครบ 3 มื้อ แถมกินอาหารว่างให้พลังงานเกินความจำเป็นเกือบ 3 เท่า เตรียมนำ 5 นวัตกรรมไปใช้ 300 กว่าโรงเรียน ใน 9 จังหวัดนำร่อง พร้อมชงเป็นนโยบายพัฒนาพฤติกรรมโภชนาการเด็กวัยเรียนในปี 55
       
       
       วันนี้ (10 ก.ย.) ที่โรงแรมริชมอนด์ โครงการพัฒนาระบบและกลไกเพื่อเด็กไทยมีโภชนาการสมวัย ดำเนินการโดยกรมอนามัย และสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ภายใต้การสนับสนุน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดการประชุมและเปิดตัวนวัตกรรมโรงเรียนโภชนาการสมวัย มีการนำเสนอนวัตกรรมโรงเรียนโภชนาการสมวัยของสถานศึกษา และพิธีมอบโล่เกียรติคุณแก่ภาคีเครือข่ายโภชนาการสมวัย และเกียรติบัตรให้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิในกรพัฒนานวัตกรรมโภชนาการสมวัยและโรงเรียนโภชนาการสมวัย
       ศ.เกียรติคุณ นพ.ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ นกยกสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย ประธานเปิดโครงการการประชุม กล่าวว่า โครงการพัฒนาระบบและกลไกเพื่อเด็กไทยมีโภชนาการสมวัยของกรมอนามัยได้ดำเนินการมาถูกทางแล้วและเป็นงานที่สำคัญ เพราะโภชนาการสมวัยนั้นจะต้องสมวัยตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของมารดาเกิดมาจะต้องมีน้ำหนักมาตรฐาน 3 กิโลกรัม และเมื่อเข้าสู่ระบบโรงเรียนต้องมีน้ำหนัก ส่วนสูงเหมาะสมตามวัย และเป้าหมายสำคัญที่สุดคือมีสุขภาพที่ดี โดยโภชนาการที่ดีสมวัยนั้นต้องเกิดการเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมที่ดี ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากและท้าทาย ดังนั้น โครงการนี้จึงมีจุดเด่นมากเพราะเป็นโครงการที่ลงสู่ชุมชน และผู้ที่รับผิดชอบหลักคือองค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภายในชุมชนก็มีโรงเรียน ซึ่งเป็นองค์กรสำคัญของชุมชนที่จะร่วมมือกันขยายผลต่อไป จุดเด่นสำคัญอีกประการคือการนำวิชาการมาใช้ในการพัฒนา เพราะทำให้เกิดนวัตกรรม เกิดความคิดใหม่ น่าเชื่อถือมีหลักฐานทางวิชาการที่หนักแน่น จุดเด่นที่สามคือเนื้อหาหลักๆ ในด้านโภชนาการ ผัก ผลไม้ ลดความหวาน มัน เค็ม โรคอ้วน ทั้งหมดนี้อยากให้เรียนรู้โดยการการปฏิบัติ เพื่อให้นำไปสู่พฤติกรรมทางด้านโภชนาการและสุขภาพที่ดีและยั่งยืน และถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นจะต้องนำสู่การประเมินพฤติกรรม ผลที่พึงเกิดขึ้นด้วย
       
       นพ.ณรงค์ สายวงศ์ อุปนายกสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยฯ และผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กล่าวว่า ในปีที่สามนี้จะดำเนินการใน 4 กลยุทธ์ คือ สร้างระบบเตือนภัยและการจัดการด้านอาหารและโภชนาการ การผลักดันให้เกิดแผนชุมชนเพื่อพัฒนาเด็กไทยให้มีโภชนาการสมวัย การพัฒนาสู่องค์กรที่พึงประสงค์ด้านโภชนาการ และการสื่อสารสาธารณะและการขับเคลื่อนโยบายสาธารณะด้านโภชนาการสมวัย และรวมถึงการจัดเวทีถอดบทเรียนและกำหนดข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อขับเคลื่อนงานโภชนาการในระดับพื้นที่และระดับชาติ ที่จะส่งผลให้เด็กไทยซึ่งเป็นอนาคตของชาติมีโภชนาการสมวัยต่อไป
       
       นายสง่า ดามาพงษ์ ผู้จัดการโครงการพัฒนาระบบและกลไกเพื่อเด็กไทยมีโภชนาการสมวัย เปิดเผยว่า จากการศึกษาและการสำรวจโรงเรียนหลายแห่ง พบ 1 ใน 5 ของเด็กไทยวัยเรียนระดับประถมศึกษา กินอาหารไม่ครบ 3 มื้อ โดยเด็กนักเรียน ร้อยละ 60 ไม่ได้กินอาหารเช้า, ร้อยละ 68 กินผัก และ ร้อยละ 55 กินผลไม้น้อยกว่า 1 ส่วนต่อวันตามลำดับ ขณะเดียวกันเด็กนักเรียน 1 ใน 3 กินอาหารประเภทแป้ง ไขมัน น้ำตาล และโซเดียมสูงเป็นประจำ และกินอาหารว่างที่ให้พลังงานเกินกว่ามาตรฐานเกือบ 3 เท่า ที่น่าตกใจคือ ร้อยละ 49.6 กินขนมกรุบกรอบเป็นประจำ และในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา เด็กไทยกินขนมกรุบกรอบเพิ่มเป็น 2 เท่า จะเห็นได้ว่า เด็กไทยวัยเรียนมีพฤติกรรมทางอาหารและโภชนาการที่ไม่พึงประสงค์จำนวนสูงมาก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กไทยผอม เตี้ย อ้วน และไอคิวต่ำ ด้วยเหตุนี้ โครงการโภชนาการสมวัยฯ จึงได้พัฒนานวัตกรรมทางอาหารและโภชนาการขึ้นมา 5 ชิ้น เพื่อใช้เป็นกลไกหรือเครื่องมือในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโภชนาการในเด็กไทยวัยเรียนระดับประถมศึกษาให้พึงประสงค์ เพื่อเด็กจะได้มีโภชนาการสมวัยต่อไป
       
       นายสง่า กล่าวต่อว่า โครงการโภชนาการสมวัยฯ พัฒนารูปแบบสื่อและเครื่องมือการดำเนินงานโภชนาการในโรงเรียนนำร่อง 4 สังกัด คือ สพฐ. กทม. เทศบาล และเอกชน จำนวน 33 แห่ง ใช้เวลาในการพัฒนา 3 ปี จนเกิดนวัตกรรมโภชนาการสมวัย จำนวน 5 ชุด ดังนี้

ชุดที่ 1 ชุดเรียนรู้กลางเพื่อเด็กไทยมีโภชนาการสมวัยใช้เป็นคู่มือครูในการเรียนการสอนโภชนาการแบบมีส่วนร่วมจำนวน 4 เรื่อง คือ ธงโภชนาการ, ผักผลไม้, ลดหวาน มัน เค็ม และโรคอ้วน โดยบูรณาการทั้ง 4 เรื่องเข้าไว้ใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้

ชุดที่ 2 คู่มือปฏิบัติการมาตรฐานอาหารในโรงเรียนระดับประถมศึกษา ใช้เป็นแนวปฏิบัติการกำหนดและการให้บริการอาหารกลางวัน อาหารว่าง และเครื่องดื่มในโรงเรียนให้ได้มาตรฐานโภชนาการ

ชุดที่ 3 โปรแกรมสำเร็จรูปอาหารกลางวันและการเฝ้าระวังการเจริญเติบโตเพื่อให้โรงเรียนได้นำไปกำหนดชนิดและปริมาณอาหารที่จะนำมารปรุงประกอบอาหารกลางวันให้ได้กินครบคุณค่าทางโภชนาการตลอดจน บอกภาวะโภชนาการเด็กและแนวทางส่งเสริมป้องกันในโปรแกรมสำเร็จรูป

ชุดที่ 4 คู่มือประเมินตนเองของโรงเรียนโภชนาการสมวัยใช้สำหรับโรงเรียนประเมินตนเองเพื่อหาจุดแข็ง-จุดอ่อนของโรงเรียนในการส่งเสริมโภชนาการในโรงเรียน และ

ชุดที่ 5 โปรแกรมประเมินตนเองด้านอาหารและโภชนาการนำเอาข้อมูลจากการประเมินตนเองป้อนเข้าโปรแกรมก็จะทำให้โรงเรียนได้รู้สถานการณ์โภชนาการของตนเอง
       
       “นวัตกรรมโภชนาการสมวัยทั้ง 5 ชุด ได้นำไปทดลองใช้ในโรงเรียนนำร่อง จนเกิดผลดีต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอาหารและโภชนาการของเด็กวัยประถมศึกษาและมีการนำไปใช้ในการขยายสู่โรงเรียนอื่น ดังนั้นโครงการโภชนาการสมวัยจึงได้เปิดตัวนวัตกรรมโภชนาการสมวัย 5 ชุด และขยายพื้นที่การทดลองได้ในอีก 300 กว่าโรงเรียน ใน 9 จังหวัดนำร่อง โดยจะเริ่มทดลองใช้ในปีการศึกษาปีที่ 2 ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2554 - มีนาคม 2555 หลังจากนั้นจะนำผลการดำเนินงานมาถอดบทเรียนและสรุปจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาพฤติกรรมโภชนาการเด็กวัยเรียนในกลางปี 2555 ต่อกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุขเพื่อกำหนดให้เป็นนโยบายของชาติต่อไป” นายสง่า กล่าว


ASTVผู้จัดการออนไลน์    10 กันยายน 2554

8796
จี้ สธ.ท้วงร่างประกาศยูเอ็น ข้อตกลงโรคไม่ติดต่อ หลังพบสหรัฐฯยุโรป สอดไส้ไม่ให้ซีแอลกลุ่มยาโรคไม่ติดต่อ

น.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล  เจ้าหน้าที่องค์การหมอไร้พรมแดน เปิดเผยว่า ในการประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูงของประเทศสมาชิกสหประชาชาติในวาระการประชุมเพื่อหารือในประเด็นการป้องกันโรคไม่ติดต่อ (UN High Level Meeting on Non Communicable Diseases) ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 17-22 กันยายน นี้ ที่รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยในวันดังกล่าวจะมีการประกาศข้อตกลงร่วมกันของประเทศสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาตกลงเพื่อจัดทำร่างคำประกาศดังกล่าว โดยในประเด็นเรื่องการเข้าถึงยา ปรากฎว่าทางประเทศสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และประเทศใหญ่ๆ กลับพยายามขัดขวางไม่ให้มีการระบุถึงกลไกยืดหยุ่นในข้อตกลงทริปส์ (TRIPS' Flexibilities) ในการประกาศบังคับสิทธิ์ ที่มีไว้เพื่อให้ประเทศต่างๆ สามารถใช้ในยามจำเป็น เพื่อเพิ่มการเข้าถึงยาและ แก้ปัญหาสาธารณสุขของประเทศ 

ทั้งนี้ข่าวล่าสุดแจ้งว่า ในข้อความของร่างประกาศที่จัดทำนี้ ทางสหรัฐและสหภาพยุโรป ไม่ยอมให้มีการระบุถึงข้อตกลงทริปส์เลย โดยพยายามบ่ายเบี่ยงว่า กลไกยืดหยุ่นต่างๆมีไว้สำหรับการแก้ปัญหาโรคติดต่อเท่านั้น คือ โรคเอดส์ มาลาเรีย และวัณโรคเท่านั้น ซึ่งไม่เป็นความจริง แถมยังพยายามโกหกในประเด็นนี้ทุกเวที

น.ส.กรรณิการ์ กล่าวต่อว่า สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้เราเริ่มวิตกกังวล เพราะหากมีการประกาศข้อตกลงดังกล่าวจริง จะส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงยาของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อในหลายประเทศได้ ซึ่งโรคไม่ติดต่อเหล่านี้กำลังเป็นปัญหาสาธารณสุขของโลก โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา และกลุ่มประเทศด้อยพัฒนา และเท่าที่ทราบ ขณะนี้ทางตัวแทนไทยที่เข้าร่วมจัดทำร่างประกาศนี้ ทำท่าที่จะยอมในประเด็นดังกล่าวนี้ เนื่องจากเห็นว่า ข้อตกลงภาพรวมที่ไทยได้มาอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ทั้งที่เรื่องนี้เป็นประเด็นใหญ่ที่สุด

“ประเด็นนี้ ดิฉันคิดว่า เจ้าหน้าที่ไทยที่เข้าร่วมเจรจาที่นิวยอร์คอาจจะยังไม่ทราบถึงความสำคัญของ Doha Declaration ว่าสำคัญมากขนาดไหน เพราะในความตกลงทริปส์นั้น มีกลไกยืดหยุ่นการเข้าถึงยา มาตั้งแต่ปี 1994 แต่ไม่มีประเทศกำลังพัฒนาไหนกล้าใช้ จนกระทั่งประเทศกำลังพัฒนาต้องผลักดันให้มีคำประกาศโดฮาในปี 2001 เพื่อรับรองสิทธินี้ของประเทศสมาชิก หลายๆ ประเทศกำลังพัฒนาจึงเริ่มกล้าใช้เมื่อถึงคราวจำเป้นในการแก้ปัญหา สาธารณสุขในประเทศ ซึ่งรวมทั้งการประกาศบังคับใช้สิทธิของประเทศไทยด้วย ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญมากๆ ที่ต้องระบุในคำประกาศนี้” น.ส.กรรณิการ์ กล่าว และว่า จึงเป็นเรื่องน่าเศร้าอย่างยิ่ง หากผู้แทนไทยที่ทำหน้าที่เจรจาจะมองข้ามสาระสำคัญนี้ อันเป็นหัวใจหลักของการแก้ปัญหาโรคไม่ติดต่อ และเชื่อว่าทางกระทรวงสาธารณสุขเอง คงยังไม่ทราบในประเด็นนี้

น.ส.กรรณิการ์ กล่าววต่อว่า สำหรับสิ่งที่ผู้แทนไทยในสหประชาชาติที่นิวยอร์คควรทำขณะนี้ คือการขอสงวนความเห็นในสาระที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาในร่างเอกสารก่อน แล้วรอให้เจ้าหน้าที่ระดับสูงในกระทรวงสาธารณสุขไปเจรจาเอง ซึ่งครั้งนี้ทราบว่า ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขคนใหม่ จะร่วมเดินทางไปด้วยตัวเอง พร้อมกับเจ้าหน้าที่กระทรวงที่เข้าใจประเด็นเหล่านี้ อย่างลึกซึ้งไปเจรจาต่อเองในปลายสัปดาห์หน้า แทนที่จะยอมตามสหรัฐและสหภาพยุโรปเช่นนี้

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์  8 กันยายน 2554

8797
"ต่อพงษ์" อ้าง​เ​ก็บ 30 บาทบัตรทอง ​เพื่อ​ให้ประชาชนตระหนัก​ใน​การมีส่วนร่วม ยืนยัน "รัฐบาล​เพื่อ​ไทย" ​เตรียม​เพิ่มค่า​ใช้จ่ายต่อหัว​ให้อีก

นายต่อพงษ์ ​ไชยสาส์น รัฐ มนตรีช่วยว่า​การกระทรวงสาธารณ สุข กล่าวว่า ศักยภาพของรัฐบาล​ในขณะนี้สามารถ​ให้บริ​การรักษาพยาบาลฟรี​แก่ประชาชน​ได้ ​แต่จุด ยืน​การนำน​โยบาย 30 บาทรักษาทุก​โรคกลับมา​ใช้อีกครั้ง ​เนื่องจาก ต้อง​การสอน​ให้พล​เมืองตระหนัก​ถึง​การมีส่วนร่วม ​โดย​การร่วมจ่าย ร่วม​ทำ ร่วมกันดู​แล รักษา​เป็นหน้า ที่ของทุกคน ​ไม่​ใช่​ใครคน​ใดคนหนึ่ง

"​การบริ​โภคต้องคำนึง​ถึง หลัก​การ​และ​เหตุผล ถ้า​ให้บริ​โภคอย่างสุรุ่ยสุร่าย​โดย​ไม่คำนึง​ถึง​ความพอดี ท้ายที่สุดมัน​ก็จะสำรอก ออกมา" นายต่อพงษ์กล่าว

รมช.สธ.กล่าวอีกว่า ยืนยันว่ารัฐบาล​เพื่อ​ไทยพร้อมจะ​เพิ่มงบประมาณ​ให้กับสำนักงานหลักประกันสุขภาพ​แห่งชาติ (สปสช.) ​และหน่วยบริ​การจะ​ได้งบ​เหมาจ่ายรายหัว​เพิ่มขึ้น อย่าง​ไร​ก็ตาม ต้องศึกษาต่อ​ไปว่าหาก​เพิ่มงบ​แล้ว​โรงพยาบาลยัง​เกิดปัญหาขาดสภาพคล่องอีก นั่น​แสดง​ถึง​การบริหารจัด ​การที่​ไม่ดี​หรือ​ไม่

​ทั้งนี้ ​ในวันที่ 12 ก.ย.นี้ จะมี​การประชุมคณะกรรม​การ สปสช. ​เพื่อคัด​เลือกกรรม​การ​ผู้ทรงคุณวุฒิ ​โดยมีนายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณ สุข ​และนายต่อพงษ์​เข้าร่วมด้วย คาดว่าจะมี​การหารือ​ถึง​แนวทาง​การ ​เ​ก็บ 30 บาท​ให้ชัด​เจนขึ้น.

​ไทย​โพสต์  9 กันยายน 2554

8799
ลอรีอัลมอบทุน “สตรีในงานวิทยาศาสตร์” ปีที่ 9 แก่ 4 นักวิจัยหญิงในสาขาวัสดุศาสตร์และวิทยาศาสตร์ชีวภาพ แพทย์รามาผู้ริเริ่มวิจัยความเกี่ยวข้องปริมาณสารพันธุกรรมบนโครโมโซมกับโรคทางพันธุกรรม นักวิจัยไบโอเทคผู้ศึกษาความสัมพันธ์ระบบโปรตีนกุ้งและไวรัส นักวัสดุศาสตร์ผู้วิจัยสารเติมแต่งเพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์ฉลาด และนักวิจัยนาโนเทคผู้พัฒนาอนุภาคนาโนเพื่อใช้ห่อหุ้มสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ
       
       บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด มอบทุนโครงการทุนวิจัยลอรีอัลประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” (For Woman in Science) ด้วยความร่วมมือกับสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ครั้งที่ 9 แก่ 4 นักวิจัยหญิงไทยในสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Life Science) และสาขาวัสดุศาสตร์ (Material Science) โดยทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ได้ร่วมงานเปิดตัวผู้ได้รับรางวัลเมื่อวันที่ 7 ก.ย.54 ณ โรงแรมแกรนด์ มิลเลนเนียม
       
       ผู้ได้รับรางวัลในสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ได้แก่ ดร.พญ.ณฐินี จินาวัฒน์ จากสำนักงานวิจัยวิชาการและนวัตกรรม คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และดร.แสงจันทร์ เสนาปิน จากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ส่วนผู้ได้รับรางวัลในสาขาวัสดุศาสตร์ ได้แก่ ผศ.ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ จากวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย จากศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค)
       
       ผลงานของ ดร.พญ.ณฐินี คืองานวิจัยในการศึกษาความเกี่ยวข้องของปริมาณสารพันธุกรรมดีเอ็นเอ (DNA) บนโครโมโซมกับโรคทางพันธุกรรม โดยใช้เทคนิคใหม่ในการตรวจดีเอ็นเอทั้งหมดที่เรียกว่า “จีโนม-ไวด์ เอสเอ็นพี อาร์เรย์” (Genome-wide SNP array) ซึ่งเธอบอกทีมข่าววิทยาศาสตร์ฯ ว่าเทคนิคนี้ต่างจากเทคนิคเดิมที่แยกโครโมโซมออกมาแล้วดูด้วยตาเปล่าผ่านกล้องโทรทรรศน์ ซึ่งใช้กันมากว่า 50 ปีแล้ว แต่เทคนิคใหม่นั้นจะใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการวิเคราะห์ ซึ่งจะให้ผลที่ละเอียดอีกกว่า และทราบความผิดปกติเพียงเล็กน้อยที่เกิดขึ้นบนตำแหน่งโครโมโซมได้
       
       “เดี๋ยวนี้มีเทคโนโลยีใหม่ที่เราจะหั่นดีเอ็นเอเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วใส่เข้าไปในแผ่นสไลด์ จากนั้นนำไปวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะวิเคราะห์ออกมาได้อย่างละเอียด แม้มีปริมาณดีเอ็นเอขาดหรือเกินเพียงเล็กน้อย ซึ่งต่างประเทศเริ่มนำมาใช้ตรวจคนไข้เมื่อประมาณ 5-6 ปีที่แล้ว และเริ่มแพร่หลายเมื่อปี 2551 โดยในสหรัฐฯ ถือว่าวิธีนี้เป็นตัวชี้นำในการตรวจวัดคนไข้ที่เป็นโรคทางพันธุกรรมแต่ไม่มีอาการชี้ชัด” ดร.พญ.ณฐินีกล่าว
       
       ทั้งนี้ ดร.พญ.ณฐินี กล่าวว่าได้เริ่มงานวิจัยนี้มา 2-3 เดือนแล้ว โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่พบว่าคนในครอบครัวมีอาการปัญญาอ่อนหรือดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) อย่างน้อย 1-2 คนหลายชั่วรุ่น แต่ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดว่ายีนตัวใดเป็นสาเหตุของโรค ซึ่งหากการศึกษาครั้งนี้สำเร็จอาจได้พบยีนที่เกี่ยวข้องกับโรคเหล่านี้ ผลที่ได้จะนำไปสู่การวินิจฉัยโรคและให้คำปรึกษาเรื่องพันธุกรรม รวมถึงกรณีที่ผู้เข้ารับการปรึกษาต้องการมีทายาทต่อไป
       
       ทางด้าน ดร.อุรชา เน้นงานวิจัยด้านการออกแบบการกักเก็บสาร (encapsulation) ในรูปอนุภาคนาโนเพื่อรักษาฤทธิ์ทางชีวภาพและควบคุมการปลดปล่อยสาร จากเดิมที่สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจะเสื่อมสลายและไม่คงตัว หากไม่มีสารอื่นมาห่อหุ้ม โดยสารที่นำใช้ห่อหุ้มที่เพื่อกักเก็บสารนั้นจะเน้นการใช้ไขมันและน้ำมัน ซึ่งตัวอย่างผลงานที่จะนำไปใช้จริงแล้วคือครีมและแผ่นแปะที่มีสารสกัดจากพริก ซึ่งปัจจุบันมีนำสารแคปไซซิน (Capsaicin) ในพริกที่ทำให้รู้สึกแสบร้อนไปใช้เป็นยาบรรเทาโรคข้ออักเสบ แต่เดิมไม่สามารถควบคุมการปลดปล่อยปริมาณยาได้ ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกแสบร้อนและทรมาน แต่เมื่อนำอนุภาคนาโนไปกักเก็บได้ช่วยให้ผู้ป่วยไม่ต้องแปะหรือทายาบ่อยๆ
       
       ส่วน ผศ.ดร.หทัยกานต์ ทำงานวิจัยด้านการคิดค้นวัสดุเติมแต่งชนิดใหม่เพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์ฉลาด (smart packaging) โดยเน้นการใช้วัสดุธรรมชาติในประเทศ เช่น แร่ดินเหนียวหรือนาโนเคลย์ (nano clay) เป็นต้น และได้พัฒนาวัสดุต้นแบบเป็นบรรจุภัณฑ์เพื่อยืดอายุผักและผลไม้ ตลอดจนใช้เป็นเซนเซอร์วัดความสดของพืชผลทางการเกษตร แต่ยังมีคำถามว่าวัสดุที่พัฒนาขึ้นนั้นมีความปลอดภัยหรือไม่ ซึ่งต้องส่งทดสอบและทำการศึกษาต่อไป โดยคาดว่าจะได้พบประโยชน์จากวัสดุเหล่านี้มากขึ้นไปอีก
       
       สำหรับผลงาน ดร.แสงจันทร์นั้นเป็นงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาในอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งจากการระบาดของไวรัส โดยศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างโปรตีน (Protein-protein interaction) ของกุ้ง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างโปรตีนของไวรัส และปฏิสัมพันธ์ระหว่างโปรตีนของไวรัสและกุ้ง ด้วยวิธีที่เรียกว่า “ยีสต์ทูไฮบริด (Yeast to Hybrid assay) ซึ่งเมื่อมีการจับกันของโปรตีนที่ทดสอบในเซลล์ยีสต์จะพบการเปลี่ยนแปลงที่สามารถบอกปฏิสัมพันธ์ระหว่างโปรตีนได้ และความรู้ที่ได้นี้จะนำไปสู่วิธีในการกำจัดหรือยับยั้งไวรัสที่ระบาดในกุ้งได้
       
       ทั้งนี้ ลอรีอัลได้มอบทุนแก่นักวิจัยสตรีไทยภายใต้โครงการนี้มาตั้งแต่ปี 2545 และได้มอบทุนอย่างต่อเนื่องทุกปีแก่นักวิจัยทั้งหมด 35 คน ด้วยทุนวิจัยละ 200,000 บาท โดยนักวิจัยสตรีที่มีสิทธิรับทุนต้องมีอายุระหว่าง 25-40 ปี และผู้ได้รับรางวัลประจำปี 2554 นี้จะได้รับรางวัลจาก ศ.ดร.อาดา โยนาธ (Dr.Ada Yonath) นักวิจัยสตรีชาวอิสราเอล ผู้ได้รับรางวัลทุนวิจัยลอรีอัล-ยูเนสโก “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” ประจำปี 2551 และได้รับรางวัลโนเบล สาขาเคมี ในปี 2552 และเดินทางมายังประเทศไทยเพื่อเป็นประธานในพิธีมอบรางวัลครั้งนี้
       
       นอกจากนี้ยังมีทุนวิจัยระดับสากลคือ โครงการทุนวิจัยลอรีอัล-ยูเนสโก “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” (L’Oreal-UNESCO Award for Women in Science) ซึ่งแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ทุนสำหรับนักวิจัยสตรีรุ่นใหม่ โดยคัดเลือกตัวแทนจาก 5 ทวีปๆ ละ 3 คนทั่วโลก และทุนวิจัยสำหรับนักวิจัยสตรีที่มีผลงานเด่นชัดยาวนานอีกทวีปละ 1 คน และได้ดำเนินการมอบทุนมาเป้นปีที่ 13 แล้ว และมีนักวิจัยสตรีที่ได้รับการสนับสนุนทุนดังกล่าวทั้งหมด 1,086 คน ใน 103 ประเทศ

ASTVผู้จัดการออนไลน์    7 กันยายน 2554

8800
เมื่อ​เวลา16.00 น.ที่รัฐสภา นายอร่าม  อามระดิษ นายกสมาคม​แพทย์​แผน​ไทย​แห่งประ​เทศ​ไทย ​ในฐานะ​ผู้​แทน​เสนอกฎหมาย พร้อมกับประชาชนที่มีสิทธิ​เลือกตั้ง ​ได้นำรายชื่อประชาชนจำนวน 15,000 คน ยื่น​เสนอร่าง พ.ร.บ.สมุน​ไพร​แห่งชาติ พ.ศ.. ต่อนายสมศักดิ์  ​เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ​เพื่อ​ให้พิจารณาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 163

​โดยร่าง พ.ร.บ.สมุน​ไพร​แห่งชาติ พ.ศ...มีสาระสำคัญ​ให้มีกฎหมายว่าด้วยสมุน​ไพร​แห่งชาติ ​โดยที่ประ​เทศ​ไทยมี​ความหลากหลายทางชีวภาพ พืชสมุน​ไพร ​และองค์​ความรู้ดั้ง​เดิมของบรรพบุรุษ ​ใน​การนำสมุน​ไพร​ไป​ใช้​เพื่อประ​โยชน์​ใน​การรักษา​โรค ​การบรร​เทาอา​การ ​การส่ง​เสริมดู​แลสุขภาพ ​และยังสามารถนำมาต่อยอดสร้างมูลค่า​เพิ่มทาง​เศรษฐกิจ ​จึงควรมี​การสนับสนุน พัฒนา ด้านองค์​ความรู้​และบุคลากร ​ให้มีศักยภาพ​ใน​การผลิตยาสมุน​ไพร ​โดยกำหนด​ให้มีคณะกรรม​การสมุน​ไพร​แห่งชาติ ​เพื่อกำหนดน​โยบาย ​การพัฒนา ​การสนับสนุน ส่ง​เสริมตลอด​ถึงหลัก​เกณฑ์​การดำ​เนิน​การ​เกี่ยวกับสมุน​ไพรอย่างครบวงจร​และ​เป็นรูปธรรม

นอกจากนี้ ​ให้มีสถาบันสมุน​ไพร​แห่งชาติ ​และกองทุสมุน​ไพร​แห่งชาติ​เพื่อ​เป็นหน่วยงานรับสนับสนุน​และผิดชอบ​ใน​การดำ​เนิน​การพัฒนาสมุน​ไพร​ไทย​ให้มีประสิทธิภาพ​และมาตรฐาน​เป็นที่ยอมรับ​ในระดับสากล

แนวหน้า 8 กันยายน 2554

8801
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ​โพสต์​ใน​เฟซบุ๊ค ระบุว่า กระทรวงสาธารณสุข​เดินหน้ารื้อน​โยบาย​เ​ก็บ 30 บาทรักษาทุก​โรคของ​ผู้​ใช้บริ​การสุขภาพถ้วนหน้าของสำนักงานหลักประกันสุขภาพ​แห่งชาติ(สปสช.)กลับมา​ใช้ ​เล็ง​เ​ก็บ​เงิน​เฉพาะกลุ่มคนอายุ 12-59 ปี ส่วน​ผู้ยาก​ไร้ ​ผู้พิ​การ​และ​ผู้สูงอายุบริ​การฟรี​เหมือน​เดิม

อิน​โฟ​เควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 8 กันยายน 2554

8802
สธ.จัดประชุมวิชาการประจำปี 2554 เปิดเวทีเผยแพร่องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการศึกษาวิจัยในพื้นที่ พัฒนาศักยภาพบุคลากร หวังยกระดับการบริการด้านสุขภาพไทยให้เป็นผู้นำเมดิคัลฮับในเอเชีย
   
       วันนี้ (8 ก.ย.) ที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน จังหวัดชลบุรี นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2554 “เทิดพระเกียรติ 84 พรรษา สุขภาพดีถ้วนหน้า ด้วยสาธารณสุขไทย” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-9 กันยายน 2554 มีแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ พยาบาล นักวิชาการและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทั่วประเทศร่วมประชุมกว่า 4,000 คน
       
       นายวิทยา กล่าวว่า ปัจจุบันการแพทย์มีความก้าวหน้าและขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยรัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในอุตสาหกรรมภาคบริการ ซึ่งรวมถึงบริการทางการแพทย์ด้วย เพื่อแข่งขันกับต่างประเทศ ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขจึงจำเป็นต้องสร้างองค์ความรู้ใหม่โดยการศึกษาวิจัย เพื่อนำนวตกรรมหรือเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการตรวจ วินิจฉัยโรค และให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพ ให้มากขึ้น เพื่อลดปัญหาการเจ็บป่วย ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเอง รวมถึงพัฒนาคุณภาพมาตรฐานบริการรักษาพยาบาล
       
       นายวิทยา กล่าวต่อว่า กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นหน่วยงานหลักในการดูแลสุขภาพประชาชนทั้งประเทศ จะต้องพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง การประชุมวิชาการในครั้งนี้ นับเป็นโอกาสดีในการเผยแพร่วิชาการ การศึกษาวิจัยพัฒนาจากพื้นที่ต่างๆ สู่กลุ่มบุคลากรด้วยกัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา พัฒนาระบบบริการให้มีประสิทธิภาพ เป็นการยกระดับการบริการด้านสุขภาพของไทย ให้เป็นเมดิคัลฮับ (Medical Hub) ในเอเชียด้วย และเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา 5 ธันวาคม 2554 ขอให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข พร้อมใจสนองพระปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ต้องการให้ประชาชนมีสุขภาพดี แข็งแรง และพระราชกรณียกิจของพระองค์มาเป็นหลักในการทำบทบาทภารกิจหน้าที่รับผิดชอบให้ดีที่สุด เพื่อถวายเป็นเบื้องพระยุคลบาท
       
       ด้าน นพ.ไพจิตร กล่าวว่า การประชุมวิชาการครั้งนี้ มีการนำเสนอและประกวดผลงานศึกษาวิจัย 7 สาขา ได้แก่ การแพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ เภสัชศาสตร์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ การสาธารณสุข และการบริหารจัดการ รวม 507 เรื่อง ในจำนวนนี้เป็นนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ 205 เรื่อง
       
       นอกจากนี้ ยังมีการมอบรางวัลผลงานวิชาการยอดเยี่ยมประจำปี 2553 ทั้งหมด 5 รางวัล

รางวัลผลงานวิชาการยอดเยี่ยม 1 รางวัล ได้แก่ เรื่อง “ฝ่าวิกฤตตาติดเชื้อหลังผ่าตัดต้อกระจก โรงพยาบาลขอนแก่น” ของ นางพิมพ์วรา อัครเธียรสิน โรงพยาบาลขอนแก่น ได้รับโล่และเงินรางวัล 30,000 บาท

รางวัลวิชาการดีเด่น 3 รางวัล ได้รับโล่และเงินรางวัล 20,000 บาท ได้แก่
1.เรื่องปริมาณไวรัสและระยะเวลาในการขับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิด เอ เอช1เอ็น1 หรือไข้หวัดใหญ่ 2009 ในผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) ขณะเกิดโรคระบาดในสถาบัน จังหวัดนครราชสีมา 2552 ของนพ.วิชัย ขัตติยวิทยากุล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
2.เรื่องการพัฒนาการผลิตกุ้งจ่อม อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ของนางขวัญเนตร ศรีเสมอ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์
3.เรื่องการประดิษฐ์อุปกรณ์ช่วยขึ้น - ลงรถเข็นคนพิการ ของนางทัศวรรณ กันทาทอง โรงพยาบาลเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ และ

รางวัลชมเชย 1 รางวัล ได้แก่ เรื่อง “ผลการลดระยะเวลาภายหลังการใช้ระบบทางด่วนสำหรับผู้ได้รับบาดเจ็บรุนแรงในโรงพยาบาลกำแพงเพชร”ของนพ.สมเพ็ง โชคเฉลิมวงศ์ โรงพยาบาลกำแพงเพชร ได้รับโล่และเงินรางวัล 10,000 บาท
       
       นอกจากนี้กลุ่มสภาอุตสาหกรรมมาบตาพุต ยังขอเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อหารือแก้ไขปัญหามาตาพุต โดยได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุข หารือแทน ซึ่งทางผู้ประกอบการเรียกร้องขอให้กระทรวงสาธารณสุขรับเป็นกลางในการแก้ไข ปัญหา หลังจากที่ผ่านมาปัญหาดังกล่าวยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง และในพื้นที่มีปัญหาเรื่องความหวาดระแวงของชาวบ้าน โดยคาดว่าจะมีหน่วยกลาง 4 ฝ่าย เข้ามาร่วมแก้ไข ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ผู้ประกอบการ ชาวบ้าน และนักวิชาการ เพื่อหารือร่วมกัน โดยในอนาคตอาจเป็นโมเดลในการใช้แก้ไขปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ ในนิคมอุสาหกรรมหลายพื้นที่
       
       สำหรับสถานการณ์สุขภาพในปัจจุบัน ยังคงมีการติดตามปัญหาผลกระทบจากโรคที่เกิดขึ้นในพื้นที่ แต่ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน และได้มีการยกระดับรพ.มาบตาพุต ให้เป็นรพ.ขนาดใหญ่ 200 เตียงแล้ว


ASTVผู้จัดการออนไลน์    8 กันยายน 2554

8803
องคมนตรี แนะเจ้าหน้าที่สาธารณสุข นำพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาปรับใช้ในการดูแลสุขภาพประชาชน
       
       วันนี้ (7 ก.ย.) ที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน จังหวัดชลบุรี ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ได้ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “พระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ที่มีต่อการสาธารณสุขไทย” ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุขประจำปี 2554 ว่า งานสาธารณสุขเป็นงานที่ท้าทาย มีเป้าหมายในการดูแลสุขภาพของประชาชน ต้องทำให้เกิดประโยชน์และความสุขแก่ประชาชน โดยนำนวัตกรรมที่เป็นความรู้ใหม่ๆมาใช้และพัฒนาให้ดีขึ้น
       
       ศ.นพ.เกษม กล่าวต่อว่า งานสาธารณสุขได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่รัชกาลที่ 1 เป็นต้นมา มีการตั้งโรงพยาบาลหลายแห่ง เช่น โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลพระมงกุฎ มีการรวบรวมคัมภีร์แพทย์รักษาโรค รวบรวมตำรายา ทั้งแผนตะวันตก และแผนไทย จากนั้นได้มีพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ และใน พ.ศ.2485 ได้ตั้งกระทรวงสาธารณสุขขึ้น ในรัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งหน่วยแพทย์ เพื่อให้บริการแก่ประชาชนในถิ่นทุรกันดาร เช่น แพทย์หลวงเคลื่อนที่พระราชทาน หน่วยแพทย์พระราชทาน หน่วยจักษุแพทย์พระราชทาน หน่วยแขน-ขา เทียมพระราชทาน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์แก่ผู้ประสบสาธารณภัย ให้มีการตั้งมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ รวมถึงให้มีการพัฒนาการรักษา ควบคุมป้องกันโรคต่างๆ เช่น วัณโรค โรคเรื้อน อหิวาตกโรค นอกจากนี้ ยังมีการแพทย์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เช่น สาธารณสุขมูลฐาน การขาดสารไอโอดีน เป็นต้น
   
       ทั้งนี้ ศ.นพ.เกษมได้ยกตัวอย่างพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.2511 ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ใจความว่า “ในการที่ท่านทั้งหลายออกไปประกอบการงานในการแพทย์ต่อไปนั้น ให้ถือว่างานของท่านมีส่วนผูกพัน รับผิดชอบต่อประชาชนส่วนรวม และต่อความเจริญของการแพทย์ไทยอย่างแน่นแฟ้น ท่านจะต้องตั้งใจปฏิบัติหน้าที่โดยเต็มความสามารถด้วยความเสียสละ และด้วยอุดมคติ พร้อมกับพยายามศึกษาหาความรู้และความเจริญก้าวหน้า ขอระลึกไว้เป็นนิจว่าจรรยาแพทย์เป็นวินัยที่มิได้มีการบังคับให้ทำตาม แต่ท่านต้องบังคับตัวของท่านเองให้ปฏิบัติตามให้ได้ และหากเมื่อใดท่านละเมิดจรรยาแพทย์เมื่อนั้นจะเกิดความเสื่อมเสียแก่ตัว แก่การแพทย์และแก่ประเทศชาติในที่สุด” ซึ่งพระราชดำรินี้สามารถที่จะปรับใช้กับการทำงานของชาวสาธารณสุขได้
       
       นอกจากนี้ ยังมีการอภิปราย เรื่อง “ความต้องการครั้งสุดท้ายของชีวิต สิทธิปฏิเสธการรักษา” โดยคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง “ภาคีร่วมใจปกป้องเด็กไทย ไม่ท้องก่อนวัย” โดยกรมอนามัย เรื่อง “ความพร้อมรับสถานการณ์โรคอุบัติใหม่” โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่อง “จังหวัดใดสุขกว่าใคร” และ “ไอคิวทำอย่างไรให้ได้เกิน 100” โดยกรมสุขภาพจิต เรื่อง “อำเภอควบคุมโรค”โดยกรมควบคุมโรค และเรื่อง “การพัฒนาระบบการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ที่เหมาะสมและเท่าเทียม” โดยกรมการแพทย์


ASTVผู้จัดการออนไลน์    7 กันยายน 2554

8804
เรื่องความขัดแย้ง ความแตกแยกในกระทรวงสาธารณสุข เกิดจากหลายเหตุ หนึ่ง คือ แต่ละคน แต่ละฝ่ายไม่ได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนและถูกต้อง จึงมีความคิดเห็นต่างกันไป และอีกเหตุหนึ่งที่สำคัญคือ กระทรวงฯไม่เคยสนใจรับฟังความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานอย่างจริงจัง ผู้บริหารระดับกระทรวงก็เล่นกันไป ผู้บริหารระดับโรงพยาบาลก็ไม่ต่างกันเท่าไหร่ ทุกอย่างจึงเป็นแบบ Top down โดยผู้ปฏิบัติงานถูกบังคับให้ทำ ก็เลยสักแต่ว่าทำ และไม่ค่อยพอใจผู้บริหาร สภาพปัจจุบันและอดีตก็เป็นแบบนี้ ไม่มีใครสนใจใคร ข้างบนก็ไม่สนใจข้างล่าง ข้างล่างก็ไม่สนใจข้างบนเหมือนกัน

พอมีประเด็นอะไรขึ้นมาความขัดแย้งก็ปะทุขึ้น

8805
สธ.พัฒนาระบบเยียวยาใจผู้ได้รับผลกระทบกว่า 2 หมื่นราย จากเหตุไม่สงบ 4 จังหวัดชายแดนใต้ 7 ปี ในปีนี้พบเหยื่อความรุนแรงเป็นโรคพีทีเอสดี ร้อยละ 13
       
       วันนี้ (7 ก.ย.) ที่โรงแรมซีเอส ปัตตานี จ.ปัตตานี นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการการดำเนินงานเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เยียวยายุคเปลี่ยนผ่าน:เสียงกู่จากผู้ปฏิบัติงานเยียวยาชายแดนใต้ สู่รัฐบาลใหม่ โดยมีภาคีเครือข่ายผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องภาครัฐและเอกชน ได้แก่ ศูนย์เยียวยาจังหวัด ศูนย์เยียวยาอำเภอ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประธานเครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบระดับอำเภอ ศูนย์เยียวยาฟื้นฟูสุขภาพจิตประจำโรงพยาบาล กรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพจำนวน 4 คน ร่วมประชุม 250 คน เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ได้รับผลกระทบให้ยืนหยัดอยู่ในสังคมมีเกียรติมีศักดิ์ศรีและปกติสุขเหมือนคนไทยทั่วไป
       
       นายต่อพงษ์ กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายเร่งนำสันติสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ โดยเน้นส่งเสริมความร่วมมือในทุกภาคส่วนกับประชาชนในพื้นที่ และบูรณาการการบริหารจัดการให้มีเอกภาพทั้งในระดับนโยบายและระดับการปฏิบัติ เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างเป็นธรรม จากการประเมินสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคใต้ ประกอบด้วย ยะลา นราธิวาส ปัตตานี และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา จนถึงขณะนี้ยังมีเหตุเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอด 7 ปีตั้งแต่ปี 2547-2554 มีผู้ได้รับผลกระทบรวม 20,689 คน เสียชีวิต 4,771 คน เป็นประชาชนทั่วไป ร้อยละ 87 ทหาร ร้อยละ 7 ตำรวจร้อยละ 6 ผู้บาดเจ็บ พิการ จำนวน 8,512 คน สตรีผู้สูญเสียผู้นำครอบครัว จำนวน 2,295 คน มีเด็กกำพร้า 5,111 คน ซึ่งส่งผลกระทบถึงบุคคลใกล้ชิดด้วย ที่ผ่านมารัฐบาลได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงานดูแลเยียวยาจิตใจผู้ได้รับผลกระทบทั้งหมดโดยให้ศูนย์สุขภาพจิตที่ 15 จังหวัดปัตตานี เป็นศูนย์กลางประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

นายต่อพงษ์ กล่าวต่อว่า โรคที่กระทรวงสาธารณสุขเฝ้าระวัง ในพื้นที่ความไม่สงบมี 5 โรค ได้แก่ 1.โรคซึมเศร้า 2.ภาวะเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย 3.โรคพีทีเอสดี (Post Traumatic Stress Disorder) หรือโรคเครียดภายหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ 4.โรคเครียดวิตกกังวล 5.ภาวะการติดสุรา/สารเสพติด จากการตรวจคัดกรองสุขภาพจิตในกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบทั้งหมดในรอบ 6 เดือนปีนี้ พบผู้มีปัญหาผู้มีโรคพีทีเอสดี จำนวน 6 คน หรือร้อยละ 13 ของผู้มีความเสี่ยง ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ปกติซึ่งต้องไม่เกินร้อยละ 10 ส่วนใหญ่เป็นผู้ใหญ่วัยทำงาน ยังมีอาการฝันร้าย นึกถึงเหตุการณ์ เลี่ยงไปที่เกิดเหตุ ขณะนี้จิตแพทย์ นักจิตวิทยา อสม.ได้ติดตามดูแลอาการใกล้ชิด และประเมินอาการ เป็นระยะ
       
       ด้านนายแพทย์อิทธิพล สูงแข็ง รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว่า ในการติดตามดูแลผลกระทบสุขภาพจิตหลังเกิดเหตุการณ์ ระยะที่ 1 เจ้าหน้าที่บุคลากรสาธารณสุขศูนย์เยียวยาฟื้นฟูสุขภาพจิตประจำ รพ.จะทำการเยี่ยมประเมินอาการเพื่อค้นหาผู้ที่เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตและให้การปฐมพยาบาลด้านจิตใจ ภายใน 72 ชั่วโมงแรกถึง 2 สัปดาห์หลังเกิดเหตุการณ์ ระยะที่ 2 ช่วง 2 สัปดาห์ถึง 1 เดือน จะดูแลประคับประคองด้านจิตวิทยา และการช่วยเหลือต่างๆ ระยะที่ 3 ช่วง 1-3 เดือน จะติดตามเพื่อประเมินผลกระทบทางด้านสุขภาพจิต หากระดับความเครียดหรือความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตยังไม่ลดลง จะส่งพบจิตแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและให้การบำบัดรักษาด้วยยาและปรับพฤติกรรมความคิดในกรณีที่มีภาวะพีทีเอสดี กระบวนการทั้งหมดนี้ดำเนินการอยู่ที่บ้าน ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล โดยใช้บุคลากรประกอบด้วยนักจิตวิทยาพยาบาลศูนย์เยียวยาฟื้นฟูสุขภาพจิต และ อสม.ซึ่งขณะนี้มีองค์กรสาธารณที่ไม่หวังผลประโยชน์และหน่วยงานภาครัฐอื่นมาร่วมดูแลเป็นระบบแบบวันสตอปเซอร์วิส ยึดผู้ได้รับผลกระทบเป็นศูนย์กลางให้ครอบคลุมที่สุด

ASTVผู้จัดการออนไลน์    7 กันยายน 2554

หน้า: 1 ... 585 586 [587] 588 589 ... 651