แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - patchanok3166

หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 20
121
เข้าหน้าหนาวทีไร ปัญหาผิวแห้งกร้าน เป็นริ้วรอย หรือแม้แต่แตกเป็นขุย คือสิ่งที่หลอกหลอนหลายๆ คนอย่างเลี่ยงไม่ได้ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับเคล็ดลับการดูแลผิวในหน้าหนาวกันค่ะ ไม่ว่าหนาวนี้จะหนาวแค่ไหน ผิวก็ไม่พัง


แต่เบื้องต้น หมออยากจะบอกอย่างนี้ก่อนค่ะว่า ในทางการแพทย์นั้น เมื่อเราต้องเจอกับอากาศหนาวเย็น ปฏิกิริยาอย่างหนึ่งซึ่งจะเกิดขึ้นก็คือต่อมไขมันใต้ผิวหนังของเราจะเสียความชุ่มชื่น นั่นก็จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมผิวของเราจึงเกิดความแห้งกร้านได้ง่าย อีกทั้งขาดความยืดหยุ่น บางคนมีอาการมากถึงขั้นเกิดการลอกและคันบริเวณผิวหนัง


หมอแนะนำว่า ถ้ามีอาการอย่างนี้ไม่ควรไปเกานะคะ เพราะอาจจะทำให้เกิดการถลอกจนเป็นแผล และบวม อักเสบได้ ซึ่งทำให้เสี่ยงที่จะติดเชื้อพวกเชื้อโรคทางผิวหนังได้ ถ้ามีอาการมากๆ ควรจะไปหาหมอ ซึ่งหมอก็จะจ่ายยามารักษาให้ตามอาการ


ทีนี้ มาถึงเรื่องการดูแลผิว... หมอเชื่อว่า หลายคน พอถึงหน้าหนาว จะต้องร้องหาน้ำอุ่นสำหรับอาบกันแน่นอน แต่การอาบน้ำอุ่นจัดๆ ก็ส่งผลเสียต่อผิวของเราได้เช่นกัน เพราะความร้อนของน้ำจะทำให้ผิวของเราแห้งและเป็นขุยได้ง่าย ดังนั้น แนะนำว่า ควรปรับอุณหภูมิเครื่องทำน้ำอุ่นจัดๆ ให้เย็นลงมากขึ้น ทนหนาวขึ้นอีกนิด แต่ดีต่อผิวของเรา


อันดับต่อมา หมอเชื่อว่า หลายคนต้องชอบ “สครับผิว” สาวๆ บางคนทำสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ซึ่งถ้าเป็นในช่วงอากาศหน้าร้อนหรือหน้าฝน การสครับผิวเป็นประจำ ช่วยเรื่องการดูแลผิวของเราได้ดีทีเดียวค่ะ แต่ทว่าพอถึงหน้าหนาว อยากจะให้ลดลงบ้าง อย่างน้อยสครับสัปดาห์ละหนึ่งครั้งก็พอ เพราะถ้าทำมากกว่านี้ อากาศเย็นที่มากระทบกับผิวที่เพิ่งถูกสครับไป จะส่งผลให้ผิวของเราเกิดอาการแห้งและแตกลอกเป็นขุยได้ง่าย


นอกจากการระมัดระวังอย่างที่ว่ามา ก็มีเรื่องของการถนอมรักษา ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดก็คือการเลือกครีมทาผิว ซึ่งชนิดที่หมอแนะนำ ควรจะเป็นครีมบำรุงผิวแบบที่มีมอยส์เจอไรเซอร์เป็นส่วนประกอบหลัก เพราะมอยส์เจอไรเซอร์จะช่วยในเรื่องของการเพิ่มความชุ่มชื่นให้กับผิว ไม่แห้งแตก และไม่เกิดริ้วรอยได้ง่าย


อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจจะบอกว่า พยายามดูแล้วอย่างดี แต่ผิวเจ้ากรรมก็ยังอ่อนแอแพ้ลมหนาว มีความแห้ง และกังวลว่าจะทำให้เกิดริ้วรอยตามมา ก็อยากจะรู้ว่า มีตัวช่วยอะไรไหมที่จะทำให้ความกังวลใจในข้อนี้ลดลง


อันที่จริง มีเทคโนโลยีในการดูแลผิวหลายรูปแบบที่เราสามารถเลือกใช้บริการได้ แต่ต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนนะคะว่าจำเป็นต้องทำมากน้อยแค่ไหน ซึ่งหนึ่งในเทคโนโลยีที่ช่วยดูแลผิวไม่ให้เกิดริ้วรอย มีความชุ่มชื่น ไม่แห้งกร้าน แม้ถูกรุกรานจากลมหนาว ที่หมอแนะนำก็คือการ “ผลักวิตามิน”


หลักการง่ายๆ ของการดูแลผิวด้วยวิธีนี้ก็คือ ผิวของเราก็เปรียบเสมือนร่างกายส่วนอื่นๆ ที่ต้องการการดูแลหรือได้รับวิตามินที่เพียงพอ ผิวเราก็เช่นกัน คือต้องการวิตามินในการป้องกัน ฟื้นฟู ตลอดจนรักษา เพื่อให้แลสุขภาพดีเสมอๆ โดยวิตามินที่ส่งเสริมเรื่องสุขภาพผิวที่ดี หลักๆ ก็จะเป็นวิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี และวิตามินบีรวม แต่การจะได้รับวิตามินเหล่านี้อย่างครบถ้วนและเพียงพอ บางทีก็เป็นไปได้ยาก เทคโนโลยีการผลักวิตามินจึงมีขึ้นมาเพื่อตอบสนองสิ่งนี้


การ “ผลักวิตามิน” ก็คือ การนำวิตามินเข้าสู่ชั้นผิวหนังโดยตรง ผ่านเข็มฉีด ซึ่งไม่ทำให้เกิดความเจ็บแต่อย่างใด เพียงแต่อาจจะรู้สึกคันยิบๆ เล็กน้อยตรงผิวหนังผิวหน้าที่ทำการผลักวิตามิน โดยข้อดีของการทำอย่างนี้ คือการเติมอาหารให้กับผิว มีทั้งแบบวิตามินบำรุงผิว สารต้านอนุมูลอิสระ ยารักษารอยดำ หรืออาหารผิว และที่สำคัญคือเพิ่มเพิ่มความชุ่มชื้น โดยเฉพาะในช่วงหน้าหนาว ที่หลายคนผิวแห้งกร้าน สิ่งนี้จะช่วยได้เยอะมาก


สุดท้าย หมอจะบอกว่า เรื่องการมีสุขภาพผิวที่ดี ไม่ใช่สิ่งที่ไกลเกินเอื้อม ขอแค่เรารู้จักวิธีดูแลอย่างถูกต้องและเหมาะสม จะหน้าร้อนหน้าหนาว หรือไม่ว่าหน้าไหนๆ เราก็ดูแลผิวของเราให้มีสุขภาพดีได้เช่นกันค่ะ





เผยแพร่: 5 พ.ย. 2561    โดย: ผู้จัดการออนไลน์

122
ไทยมี "วัคซีนเอชพีวี" ป้องกันมะเร็งปากมดลูกไม่พอ หลังบริษัทยาไม่เข้าร่วมเปิดซอง เหตุ สปสช.ไม่มีระบบจัดซื้อวัคซีนข้ามปี ส่งผลเหลือในสต๊อกแค่ 1.8 แสนโดส เสนอฉีดเข็มสองให้ นร.หญิงที่ฉีดแล้ว บอร์ด สปสช.สั่งทบทวนข้อมูลก่อนเคาะประชุมครั้งหน้า


นพ.รัฐพล เตรียมวิชานนท์ ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) รายงานความคืบหน้าการจัดหาวัคซีนเอชพีวี ป้องกันมะเร็งปากมดลูกในนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภายในการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) เมื่อวันที่ 5 พ.ย.ที่ผ่านมา ว่า ประเทศไทยมีความต้องการวัคซีนเอชพีวีจำนวน 884,103 โดส วัคซีนเข็มแรกมีการจัดหามาแล้ว 449,121 โดส และกระจายไปฉีดให้กับนักเรียนหญิงแล้วจำนวน 269,121 โดส ยังเหลือในสต๊อก 180,000 โดส ส่วน วัคซีนเข็ม 2 ซึ่งมีแผนจัดซื้อจำนวน 449,121 โดส ซึ่งมีการเปิดซองประมูลไปแล้วเมื่อวันที่ 4 ก.ย. และวันที่ 18 ต.ค. ที่ผ่านมา แต่ไม่มีบริษัทใดเข้าร่วม เนื่องจากติดปัญหาว่า สปสช.ไม่มีระบบการจัดซื้อวัคซีนข้ามปี (Multi Year Contract)


นพ.รัฐพล กล่าวว่า ตอนนี้เท่ากับว่า มีวัคซีนเหลือเท่าที่อยู่ในคลังเท่านั้น ดังนั้นจึงมี 2 ทางเลือกเสนอให้บอร์ด สปสช. พิจารณาคือ 1. กระจายวัคซีนที่เหลือให้กับนักเรียนที่ได้รับวัคซีนเข็มแรกไปแล้ว เพื่อให้ฉีดครบ 2 เข็มตามเกณฑ์ และ 2. กระจายวัคซีนที่เหลือนั้นให้กับนักเรียนหญิงที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนเพื่อให้มีนักเรียนหญิงได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 ครบทุกราย อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ กรมควบคุมโรค (คร.) ได้ทำหนังสือเข้ามายืนยันว่า ขณะนี้เนื่องจากวัคซีนเอชพีวีขาดจริงๆ จึงเสนอให้กระจายวัคซีนที่เหลือให้กับเด็กหญิงที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมได้รับวัคซีนเข็มแรกครบทุกคน เมื่อจัดหาวัคซีนล็อตใหม่ได้การจะฉีดเข็ม 2 ให้กับทุกคนก็ไม่ใช่เรื่องยาก อีกทั้งยังมีข้อมูลผลการศึกษาในคอสตาริกา และอินเดีย พบว่า เมื่อได้รับวัคซีนเข็มแรกแล้วประสิทธิภาพในการป้องกันโรคต่อไปประมาณ 4-7 ปี


นพ.ปิยะสกล กล่าวว่า ส่วนตัวเห็นว่า สปสช.จะต้องวางระบบการจัดซื้อวัคซีนข้ามปี และต้องทำทุกวัคซีนที่เราต้องจัดหาด้วย ไม่เฉพาะวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกเท่านั้น ส่วนเรื่องการกระจายวัคซีนที่เหลือในคลังให้กับนักเรียนที่ยังไม่เคยได้รับมาก่อนนั้น เนื่องจากที่ประชุมยังมีข้อห่วงใยว่าผลการศึกษาที่คอสตาริกาและอินเดียที่ยกมานั้นมีความเชื่อมโยงกับบริษัทยาเอกชน ซึ่งเข้าใจว่าในช่วงที่มีการพิจารณานั้น ยังไม่มีข้อมูลขององค์การอนามัยโลกมา แต่วันนี้มีแล้วจึงต้องให้ผู้เกี่ยวข้องกลับไปพิจารณาเรื่องนี้มาเสนออีกครั้งในการประชุมในวันที่ 3 ธ.ค.นี้ โดยอิงจากคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกด้วย


เผยแพร่: 6 พ.ย. 2561   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

123
แพทยสมาคมฯ ชี้ โรคไบโพลาร์พบได้ตั้งแต่เข้าวัยรุ่น ห่วงป่วยไม่รู้ตัว ทำรักษาช้าเฉลี่ย 11 ปี จิตแพทย์เผยพบบในคนอายุน้อยลงเรื่อยๆ วินิจฉัยในเด็กต่ำกว่า 10 ขวบได้ยาก เพราะอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย ยังคัดกรองไม่ได้ตั้งแต่ในครรภ์ ทั้งที่เป็นโรคพันธุกรรม แนะวิธีสังเกตตัวเอง


วันนี้ (6 พ.ย.) ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย แถลงข่าวเปิดตัวโครงการ “อุ่นรัก อุ่นใจ ไบโพลาร์” ว่า ปัจจุบันคนไทยมีปัญหาสุขภาพจิต ประมาณร้อยละ 10-15 แต่มีเพียงร้อยละ 1 เท่านั้นที่มาพบแพทย์ ทั้งนี้ ในช่วงชีวิตของเราจะเจอคนป่วยเป็นโรคไบโพลาร์ประมาณ 1-3% หรือประมาณ 700,000 คน แต่ปัจจุบันเข้ามารับการบำบัดรักษาเพียง 70,000 คน และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ โรคไบโพลาร์จะเริ่มแสดงอาการเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น แต่คนไม่รู้ และคิดว่าเป็นเพียงอารมณ์แปรปรวนตามประสาวัยรุ่น ทำให้เสียโอกาสในการรักษาช้าเฉลี่ยประมาณ 11 ปี ทั้งนี้ ผู้ป่วยไบโพลาร์บางรายอาการรุนแรง ซึมเศร้าถึงขั้นฆ่าตัวตาย ซึ่งจากสถิติพบว่า คนไข้ 1 ใน 5 ฆ่าตัวตายสำเร็จ อย่างไรก็ตาม โรคนี้สามารถรักษาได้ด้วยยาและการดูแลสภาพจิตใจ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือกับครอบครัว แต่ก็สามารถเป็นซ้ำได้จากปัจจัยกระตุ้น อาทิ เรื่องสะเทือนใจ เหตุการณ์พลิกผันในชีวิต หรือ ภาวะความเครียดรุมเร้า หรือการใช้สารเสพติด ดังนั้น การจัดงานครั้งนี้เพื่อดึงพลังเชิงบวกให้เกิดกับผู้ป่วย และ ครอบครัว


รศ.นพ. ชวนันท์ ชาญศิลป์ นายกสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า พันธุกรรมไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ทำให้เกิดโรคไบโพลาร์ แต่ยังมีปัจจัยกระตุ้นอื่นๆ อีก เช่น สิ่งแวดล้อม และการเลี้ยงดู ที่ส่งผลให้เด็กเกิดความเครียด และอารมณ์แปรปรวนผิดปกติ แตกต่างอย่างเห็นได้ชัด คือ มีอารมณ์เศร้า หรือรื่นเริง สนุกสนานผิดปกติ ช่วงแรกจะมีอารมณ์ซึมเศร้า ติดกันนาน 2 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน มีอาการทั้งเศร้า หดหู่ ร้องไห้ง่าย เบื่ออาหาร รู้สึกชีวิตไม่มีคุณค่า มองตัวเองในแง่ลบ คิดฆ่าตัวตาย ส่วนอารมณ์รื่นเริง ก็จะเป็นติดต่อกัน 2 สัปดาห์ ถึง 1 เดือน รวมถึงอาการมีความสุขมาก คึกคัก มั่นใจ ขาดความยับยั่งชั่งใจ หากมีการห้ามปรามก็จะรู้สึกหงุดหงิด ฉุนเฉียว


รศ.นพ. ชวนันท์ กล่าวว่า ปัจจุบันพบอายุของผู้ป่วยไบโพลาร์เฉลี่ยน้อยลงเรื่อยๆ จากเดิมพบเฉพาะในผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าไบโพลาร์จะมีสาเหตุมาจากพันธุกรรม แต่ก็ไม่สามารถตรวจเจอได้ขณะตั้งครรภ์ และเป็นเรื่องยากมากที่จะวินิจฉัยได้ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 10 ขวบ เพราะอารมณ์ของเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี เปลี่ยนแปลงได้ง่าย อย่างไรก็ตาม วิธีการสังเกตตัวเอง คือ แน่นอนว่าคนเราย่อมมีช่วงที่อารมณ์ดี อารมณ์ไม่ดี แต่ถ้ามีอารมณ์เหล่านั้นแบบรุนแรงมาก เช่น ทำร้ายตัวเอง หลุดโลก หูแว่วประสาทหลอน ต้องไปพบแพทย์ หรือมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของตัวเองจนทำงานไม่ได้ หรือมีผลกระทบกับคนรอบข้างมากๆ ต้องไปพบแพทย์เพื่อรักษาด้วยยาและการปรับสภาพจิตใจที่ต้องอาศัยความร่วมมือของคนในครอบครัวและคนใกล้ชิด เมื่อรักษาเร็วก็สามารถหายได้


ด้าน น.ส.สุภาภรณ์ คำนวณศิลป์ หรือ หมวย ดารานักแสดง กล่าวว่า ตนเริ่มป่วยไบโพลาร์เมื่อ 20 ปีที่แล้ว เริ่มจากการผิดหวัง ไม่อยากทำอะไร ไม่อยากไปไหน ไม่อาบน้ำ 7 วัน รู้สึกว่าไม่ปกติ คิดว่าเป็นโรคจิตเลยไปพบแพทย์ ซึ่งได้พบหมอที่ดี หมอให้ใจเย็นๆ และได้รับยาต้านเศร้า แต่อาการยังไม่ดี รู้สึกยังอยากตายอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น รู้สึกว่าอยากแชร์ประสบการณ์ เพราะปัจจุบันเด็กมีโอกาสเป็นสูง เพราะมีการตกตะกอนความทุกข์ ทั้งการเรียนไม่ทันเพื่อน เข้ากับเพื่อนไม่ได้ ดังนั้น มีความทุกข์เยอะ จึงเป็นเรื่องที่ผู้ปกครองต้องสังเกตและดูแล ขนาดตนหายเป็น 10 ปี แต่เป็นโรคที่สามารถโจมตีคุณได้ทุกเมื่อ หากร่างกายอ่อนแอ และเป็นที่น่าเสียดายโรคจิตเวชไม่ได้รับการดูแลในระบบสุขภาพทั้งประกันภัยก็ไม่รับ ทั้งที่เสียเงิน เสียภาษี


เผยแพร่: 6 พ.ย. 2561   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

124
เปิดคดีช็อก บุรุษพยาบาลวางยาคนไข้ให้หัวใจหยุดเต้น ก่อนโชว์ช่วยชีวิต หวังทำให้เพื่อนร่วมงานประทับใจ สุดสะพรึงพบทำคนตายไปถึง 100 ราย อาจขึ้นแท่นฆาตกรต่อเนื่องที่เลวร้ายสุดในประเทศ


           วันที่ 30 ตุลาคม 2561 สำนักข่าวบีบีซี รายงานว่า นีลส์ โฮเกล อดีตบุรุษพยาบาลวัย 41 ปี อาจกลายมาเป็นฆาตกรต่อเนื่องที่เลวร้ายที่สุดของเยอรมนี หากเขาถูกศาลตัดสินให้มีความผิดจริงในฐานฆาตกรรมผู้ป่วยทั้ง 100 คน ที่เคยอยู่ในการดูแลของเขา หลังจากที่เขาก่อเหตุวางยาผู้ป่วยให้หัวใจหยุดเต้น เพื่อจะได้โชว์ทักษะการกู้ชีวิต สร้างความประทับใจให้เพื่อนร่วมงาน


          รายงานเผยว่า นีลส์ได้ให้ยากับผู้ป่วยของเขาในโดสที่เป็นอันตรายถึงชีวิต ขณะปฏิบัติหน้าที่ในโรงพยาบาล 2 แห่ง ทางตอนเหนือของเยอรมนี ระหว่างปี 2542-2548 กระทั่งถูกจับได้ในที่สุด เมื่อมีคนพบว่าเขาฉีดยาโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์ ให้แก่ผู้ป่วยในความดูแลที่โรงพยาบาลในเมืองเดลเมนฮอร์ส


 หลังจากการพิจารณาคดีในปี 2551 นีลส์ถูกตัดสินให้รับโทษจำคุก 7 ปี ฐานพยายามฆ่า แต่ในการพิจารณาคดีครั้งต่อมาระหว่างปี 2557-2558 ศาลได้ตัดสินให้นีลส์มีความผิดจริงในข้อหาฆาตกรรม 2 กระทง และพยายามฆ่าอีก 2 กระทง ซึ่งนั่นทำให้เขาต้องรับโทษจำคุกตลอดชีวิต


          อย่างไรก็ตามระหว่างการพิจารณาคดีครั้งนั้น นีลส์ได้หลุดปากสารภาพกับจิตแพทย์ว่า แท้จริงแล้วเขาได้ฆ่าคนไปมากกว่า 30 คน และคำสารภาพนั้นก็นำไปสู่การขยายผลการสอบสวน ทางตำรวจต้องขุดนำศพของผู้ป่วยที่เคยอยู่ในการดูแลของนีลส์ถึง 130 คน ขึ้นมาตรวจสอบผลทางพิษวิทยา มองหาหลักฐานเกี่ยวกับการใช้ยาที่อาจนำไปสู่ภาวะหัวใจหยุดเต้นของผู้ป่วย พร้อมตรวจสอบบันทึกการรักษาในโรงพยาบาลที่นีลส์เคยทำงานอยู่


          และแล้วพวกเขาก็พบว่า ในบันทึกจากโรงพยาบาลที่โอลเดนเบิร์ก เผยให้เห็นว่ามีอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย และการกู้ชีพเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ระหว่างช่วงเวลาที่นีลส์เข้ากะปฏิบัติงาน


  กระทั่งล่าสุด ชุดสืบสวนค่อนข้างมั่นใจว่ามีผู้ป่วยทั้งสิ้น 100 คน ที่เสียชีวิตจากการกระทำของนีลส์ แบ่งออกเป็นผู้ป่วย 36 คน ที่เสียชีวิตในโรงพยาบาลที่เมืองโอลเดนเบิร์ก และอีก 64 คน ที่เสียชีวิตในโรงพยาบาลที่เมืองเดลเมนฮอร์ส ซึ่งคดีความของเขาจะเริ่มถูกนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดีที่ศาลในเมืองโอลเดนเบิร์ก โดยคาดว่าน่าจะต้องกินเวลาจนถึงเดือนพฤษภาคม


          อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่สืบสวนเผยว่าแท้จริงแล้วอาจมีผู้เสียชีวิตที่ตกเป็นเหยื่อการสังหารของนีลส์มากกว่านี้ แต่ศพเหล่านั้นได้ถูกเผาไปแล้ว จึงไม่อาจนำร่างมาตรวจสอบหาหลักฐานการกระทำผิดได้


          อย่างไรก็ตาม เจนนี่ ฮิลล์ ผู้สื่อข่าวบีบีซี เผยว่า คดีดังกล่าวค่อนข้างเป็นคดีที่อ่อนไหวสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เยอรมนี หลังจากที่กลุ่มญาติของผู้เสียชีวิต กล่าวหาว่าพวกเขาทำเป็นหูหนวกตาบอดกับคดีที่นีลส์ได้ก่อไว้


02 พ.ย. 61 kapook.com

125
หน้าที่การงานที่ยากลำบาก เจ้านายไม่ชอบงาน ลูกน้องไม่ได้ดั่งใจ ลูกค้าเรื่องเยอะ งานเยอะทำไม่ทัน หรือจะปัญหาความรักที่คาราคาซัง คนรักนอกใจ คนรักไม่เอาไหน ไปจนถึงครอบครัวที่ฐานะการเงินฝืดเคือง สุขภาพก็ไม่ดี ล้มป่วยรายคน เรื่องเหล่านี้ทำให้คุณหยิบมาคิดได้ตลอดเวลาที่สมองคุณว่าง โดยเฉพาะช่วงก่อนนอน จนทำให้คุณนอนไม่หลับ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพร่างกาย และจิตใจของคุณได้โดยตรง


แต่หากอยากกำจัดความเครียดเหล่านี้ออกไปจากหัวก่อนนอน จะได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ เรามีเคล็ดลับดีๆ จาก Harvard Health Publishing มาฝากกัน


เคล็ดลับสำหรับคนนอนไม่หลับ-เครียดสะสม


1.พยายามเข้านอน และตื่นนอนในเวลาเดิมทุกๆ วัน ไม่เว้นวันหยุด


2.แสงอาทิตย์ช่วยให้ร่างกายเรากำหนดเวลาพักผ่อนได้ชัดเจนขึ้น เพราะฉะนั้นในตอนกลางวันพยายามอยู่ในที่ที่สว่างด้วยแสงอาทิตย์บ้าง ไม่ควรขลุกตัวอยู่แต่ในบ้านที่แสงน้อยตลอดทั้งวัน ให้ร่างกายได้สัมผัสแสงธรรมชาติอย่างนน้อยวันละ 30 นาทีต่อวัน


3.ออกกำลังกายให้ได้ทุกวัน ในเวลาเดิมๆ อย่างน้อย 30 นาที (แต่อย่าออกกำลังกายในช่วง 2-3 ชั่วโมงก่อนนอน)


4.หากจะงีบหลับระหว่างวัน อย่างีบเกิน 1 ชั่วโมง และอย่างีบหลับหลังเวลา 15.00 น. หรือบ่ายสามโมงเป็นต้นไป


5.หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นกาแฟ ชา โกโก้ ช็อกโกแลต น้ำอัดลม เพราะคาเฟอีนอาจทำให้คุณตาค้างไปได้นานถึง 8 ชั่วโมง (แต่ฤทธิ์ของคาเฟอีนขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคนด้วย)


6.ตรวจสอบยาที่คุณทานเป็นประจำ โดยถือยาไปถามเภสัชกร หรือปรึกษาแพทย์ประจำตัว เพราะยาที่คุณทานอยู่ประจำอาจมีฤทธิ์ที่ทำให้ร่างกายตื่นตัว


7.หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อาหารมื้อหนักๆ ที่ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น รวมไปถึงการดื่มเครื่องดื่มในปริมาณมากก่อนเข้านอน ก็ทำให้ร่างกายตื่นตัวเพื่อให้ระบบย่อยอาหารทำงานในเวลาก่อนนอน


8.รักษาอุณหภูมิของห้องให้มีความเย็นในระดับที่พอเหมาะ ไม่ร้อนอบอ้าวจนเกินไป ปรับระดับแสงในห้องให้มืด และเงียบไร้เสียงรบกวน ไม่เปิดโทรทัศน์ หรือเปิดหน้าจอโทรศัทพ์มือถือสว่างจ้า


9.ก่อนนอนหากไม่ง่วง สามารถหาหนังสือมาอ่าน (อ่านจากหนังสือโดยตรง ไม่ใช่ e-book หรืออ่านผ่านอุปกรณ์อิลเกทรอนิกส์ต่างๆ) หรือฟังเพลงผ่อนคลายเบาๆ ได้ หรือก่อนนอนอาจจะนอนแช่น้ำอุ่นด้วยก็ได้


10.หากทำทุกวิธีแล้วยังไม่รู้สึกง่วงภายในเวลา 20 นาที (รวมไปถึงการตื่นขึ้นมากลางดึก แล้วกลับไปนอนไม่หลับภายในเวลา 20 นาที) อาจลุกขึ้นจากเตียงเพื่อทำอะไรที่ช่วยผ่อนคลายร่างกายของตัวเอง เช่น ฟังเพลงช้าๆ อ่านหนังสือ ฯลฯ เพื่อให้รู้สึกง่วงอีกครั้งได้


หากลองทุกวิธีแล้วยังไม่สามารถล้มตัวลงนอนหลับให้สนิทได้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการนอนไม่หลับ และเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธีต่อไป

ติดต่อขอตรวจการนอนหลับอย่างละเอียดได้ที่ คลินิกโรคความผิดปกติจากการหลับ ทุกวันจันทร์ - อังคาร เวลา 13:00 - 16:00 น. สถานที่ : ศูนย์นิทราเวช ชั้น 5 อาคารผู้ป่วยในพิเศษ 14 ชั้น โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์


02 พ.ย. 61 sanook.com

126
สบส.เผยผลตรวจสอบร้านนวดชลบุรี หลังหนุ่มวัย 37 ปี นวดแล้วช็อกตาย พบเป็นร้านนวดเถื่อน ไม่ผ่านการขึ้นทะเบียน ประสาน สสจ.ชลบุรี ดำเนินการตามกฎหมาย


ความคืบหน้ากรณีการตรวจสอบร้านนวดแห่งหนึ่งใน จ.ชลบุรี หลังมีชายหนุ่มวัย 37 ปี ที่มีอาการกล้ามเนื้ออักเสบจากการเล่นฟุตบอล เข้ารับการนวดได้เพียง 30 นาที แล้วเกิดอาการหายใจไม่ออก ช็อก หมดสติ และเสียชีวิตต่อมา ซึ่งกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) สั่งให้มีการตรวจสอบร้านนวดดังกล่าว


วันนี้ (5 พ.ย.) สำนักงานสนับสนุนบริการสุขภาพเขต 6 จังหวัดชลบุรี ได้เข้าตรวจสอบร้านนวดดังกล่าวร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ชลบุรี โดย นพ.ภัทรพล จึงสมเจตไพศาล ผู้อำนวยการกองสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ กล่าวว่า ได้ประสานข้อมูลกับ สบส.เขต 6 จ.ชลบุรี และ สสจ.ชลบุรี เกี่ยวกับผลการสอบ พบว่า มีหญิงวัย 40 ปี แสดงตัวเป็นผู้จัดการร้าน โดยร้านดังกล่าวมีลักษณะเป็นร้านขายของฝาก และมีสถานที่ผลิตยาแผนโบราณรวมอยู่ในบริเวณดังกล่าวด้วย ไม่ได้มีลักษณะการให้บริการนวดเพื่อสุขภาพตาม พ.ร.บ. สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ.2559 พนักงานเจ้าหน้าที่จึงได้แนะนำแก่ผู้จัดการร้านว่า ถ้าจะมีการให้บริการนวดเพื่อสุขภาพ ต้องขออนุญาตจาก สสจ.ชลบุรีให้ถูกต้อง โดยจะเปิดกิจการได้ก็ต่อเมื่อได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพแล้วเท่านั้น และได้แจ้งข้อกฎหมายให้ทราบว่า ผู้ใด


ฝ่าฝืนจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนผู้ให้บริการต้องผ่านการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการกับ สสจ.ชลบุรีเช่นเดียวกัน ซึ่งได้ตักเตือนให้ร้านมีความระมัดระวังในการให้บริการ โดยหลังจากนี้ สสจ.ชลบุรีจะดำเนินการตามขั้นตอนตามกฎหมายต่อไป



เผยแพร่: 5 พ.ย. 2561    โดย: ผู้จัดการออนไลน์

127
พยาบาลเผยควงเวรมากกว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ กระทบคุณภาพชีวิต การบริการด้อยลง เสี่ยงอุบัติเหตุ สภาการพยาบาลเตรียมข้อเสนอต่อ สธ.แก้ 3 ปม คนทำงานไม่พอ ความปลอดภัย และสวัสดิการ ด้าน รพศ.รพท.เล็งคุย 7 พ.ย.เรื่องภาระงานหมอ


ความคืบหน้ากรณีการกำหนดชั่วโมงทำงานของบุคลากรสาธารณสุขทุกวิชาชีพ โดย นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จะตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษา


วันนี้ (5 พ.ย.) น.ส.กฤษดา แสวงดี ผู้แทนนายกสภาการพยาบาล กล่าวว่า การทำงานของพยาบาลทุกวันนี้พบเกิน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์มาตลอด ซึ่งมีทั้งความสมัครใจของพยาบาลเอง และบังคับสมัครใจแบบให้โอที แต่ส่วนใหญ่เป็นแบบบังคับสมัครใจ เนื่องจากปริมาณคนไข้จำนวนมาก และอัตรากำลังของพยาบาลสัดส่วนไม่เพียงพอ เพราะปัจจุบันมีอัตรากำลังในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ร้อยละ 60 แต่ก็ไม่พออยู่ดี ซึ่งจริงๆ การทำงานที่เหมาะสมต้องเป็นเช้า 8 ชั่วโมง และบ่าย 8 ชั่วโมง โดยมี 1 ชั่วโมงพัก แต่ความเป็นจริงบางคนควงกะเช้าบ่ายมากถึง 16 ชั่วโมง ทั้งที่งานวิจัยพบว่าต้องทำงานต่อเนื่องไม่ควรเกิน 12 ชั่วโมง เพราะจะส่งผลต่อการปฏิบัติงานและจะส่งผลต่อการให้บริการคนไข้ เหมือนกรณีที่เกิดอุบัติเหตุรถพยาบาล ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่ก็เกิดขึ้น


น.ส.กฤษดา กล่าวว่า ขณะนี้รอเรียกจากทางปลัด สธ.เพื่อเข้าหารือเรื่องนี้ โดยสภาการพยาบาลเตรียมเสนอ ดังนี้ 1. ควรมีการกระจายอัตรากำลังในสัดส่วนที่เหมาะสม ไม่กระจุกตัวเหมือนปัจจุบัน ที่แออัดในตัวเมือง อย่างกรุงเทพฯ และ 2. ภาระงานบางอย่างไม่จำเป็น ไม่ควรให้ทำ เช่น การปูเตียง เช็ดตัว สามารถให้ผู้ช่วยพยาบาลทำได้ และงานเอกสารก็ควรให้ธุรการทำ เพื่อให้การทำงานไม่เป็นภาระงานจนเกินไป  อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญ พยาบาลไม่ควรทำงานแบบควงเวรติดต่อกันเกิน 3 วันต่อสัปดาห์ เพราะจะส่งผลต่อการบริการได้


ด้าน นางประภัสสร พงศ์พันธุ์พิศาล กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการสภาการพยาบาล กล่าวว่า ขณะนี้สภาการพยาบาลอยู่ระหว่างรอการหารือร่วมกับ นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ถึงการกำหนดชั่วโมงภาระงานของพยาบาล ซึ่งทางสภาการพยาบาลได้เตรียมข้อมูลไว้หมดแล้ว โดยสิ่งที่จะเสนอมีอยู่ 3 ประเด็น คือ 1.เรื่องของชั่วโมงการทำงาน ซึ่งปัจจุบันพยาบาลมีภาระงานที่หนักมาก ทำงานเกินกว่า 30-40 เวร ส่งผลให้คุณภาพชีวิตแย่ลง คุณภาพการบริการก็ด้อยลงด้วย เนื่องจากอัตรากำลังของพยาบาลไม่สัมพันธ์กับจำนวนคนไข้ เมื่อคนไข้มากก็ปฏิเสธการรับคนไข้ไม่ได้ การทำงานของพยาบาลก็จะยาวออกเหมือนกับของแพทย์เช่นกัน และบางทีเราต้องอยู่เวร 24 ชั่วโมงด้วย


นางประภัสสร กล่าวว่า   2.เรื่องของความปลอดภัย จะเห็นว่ารถพยาบาลเกิดอุบัติเหตุพลิกคว่ำบ่อยครั้ง เมื่อเวลาออกไปก็มักเป็นชั่วโมงที่เกินจากการทำงานปกติแล้ว ตัวคนทำงานก็มีภาวะเหนื่อยล้า พอส่งคนไข้เสร็จแล้วบ่อยครั้งต้องรับคนไข้ที่อาการดีขึ้นกลับมา เช่น กรณีที่ รถพยาบาล รพ.อมก๋อย เป็นต้น ชั่วโมงของการพักรถ พยาบาล และพนักงานขับรถ ทำให้ไม่เกิดความปลอดภัย และ 3.เรื่องสวัสดิการค่าตอบแทนและความก้าวหน้าต่างๆ เช่น บ้านพักพยาบาล การดูแลเมื่อเจ็บป่วยจากการทำงาน เช่น เกิดอุบัติเหตุขณะออกไปส่งคนไข้ ตรงนี้ต้องดูแลด้วย ซึ่งปัจจุบันเราดูแลกันเอง


"ประเด็นต่างๆ เหล่านี้ คือ สิ่งที่สภาการพยาบาลจะเสนอต่อท่านปลัด สธ. ซึ่งทั้งจะต้องแก้กันเป็นแพ็กเกจเดียวกัน อย่างเรื่องภาระงานที่มาก คนทำงานไม่พอกับงานหรือผู้ป่วย ต่อให้ผลิตแพทย์หรือพยาบาลเพิ่มมากเท่าไร แต่เรื่องของความปลอดภัย สิทธิสวัสดิการต่างๆ ต้องดูแลด้วย จึงจะสามารถคงคนเอาไว้ในระบบ หากไม่แก้ปัญหาเหล่านี้ คนก็จะไหลออกจากระบบไปอีก คนก็จะไม่เพียงพอต่อไป" นางประภัสสร กล่าว
 

นางประภัสสร กล่าวว่า ข้อเสนอของสภาการพยาบาลคือ 1.อัตรากำลังคนต้องเพียงพอกับภาระงาน จะช่วยเรื่องของชั่วโมงการทำงานได้ด้วย ซึ่งเรามีข้อมูลอยู่ว่า การดูแลในช่วงฉุกเฉิน หรือการดูแลช่วงปกติอัตรากำลังควรเป็นเท่าไร และชั่วโมงการทำงานควรเป็นอย่างไร  2.กำหนดเวลาพักเวลาทำงานให้ชัดเจน โดยเฉพาะเรื่องของการส่งต่อผู้ป่วย ต้องมีมาตรฐานที่ชัดเจนแบบที่กรมการขนส่งดำเนินการ เช่น มาส่งแล้วต้องมีเวลาพัก ไม่ใช่รับกลับทันที พนักงานขับรถและพยาบาลต้องมีเวลาพักผ่อนที่เพียงพอ ซึ่งจะช่วยลดอุบัติเหตุได้  3.จัดประเภทและภาระงานของโรงพยาบาลให้ชัดเจน ทั้ง รพ.ศูนย์ รพ.ทั่วไป รพ.ชุมชน ให้ทำงานในสเกลของโรงพยาบาล รวมถึงการส่งต่อแบบไร้รอยต่อ จะช่วยลดความแออัดในโรงพยาบาลขนาดใหญ่  4.ต้องส่งเสริมเรื่องการดูแลสุขภาพป้องกันโรค เพื่อลดจำนวนคนไข้มาโรงพยาบาล รวมถึงชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลด้วย และ 5.สวัสดิการและค่าตอบแทนต่างๆ ต้องมีความเหมาะสม


ด้าน นพ.โมลี วนิชสุวรรณ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมุทรสาคร และประธานชมรมโรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไป (รพศ./รพท.) กล่าวว่า ในวันที่ 7 พ.ย.นี้ ทางชมรมฯ จะประชุมหารือกันเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว เนื่องจากภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์เป็นปัญหามานาน แต่ละแห่งก็จะต้องหาทางแก้ปัญหากัน เพราะโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงฯมีความแตกต่าง มีทั้งโรงพยาบาลเล็ก โรงพยาบาลใหญ่ หลายแห่งมีหมอเยอะ หลายแห่งหมอน้อย การบริหารจัดการก็ต้องดำเนินการตามบริบทของพื้นที่นั้นๆ แต่ภาพรวมปัญหาภาระงานมีหมด และมีมานานจริงๆ แต่ก็ต้องเห็นใจ กระทรวงสาธารณสุข เพราะเป็นเหมือนบ่อ อย่างคนไข้มาก็ต้องรับหมด ไม่สามารถมากำหนดเกณฑ์ได้ว่า ถ้าส่งต่อมาจะรับได้เท่านี้ๆ 
 

“โรงพยาบาลต้องทำงานตลอด 24 ชั่วโมง การจะหาทางออกเพื่อลดภาระงานแพทย์  ก็ต้องไม่กระทบการให้บริการตรงนี้  ซึ่งในวันที่ 7 พฤศจิกายน จะหารือถึงทางออก ทั้งการกระจายแพทย์ให้เหมาะสม การพัฒนาระบบส่งต่อคนไข้ เจ้าหน้าที่ปลอดภัย ซึ่งตรงนี้กระทรวงฯ มีการพัฒนามาตลอด แต่ก็คงต้องมาหารือว่ายังมีจุดที่ต้องพัฒนาอย่างไรต่อไป” นพ.โมลี กล่าว



เผยแพร่: 5 พ.ย. 2561    โดย: ผู้จัดการออนไลน์

128

จักษุแพทย์เตือน พบอาการตาแห้งแสบเคืองตา เมื่อยตา ปวดตา ตามัว ขณะใช้คอมพิวเตอร์ แท๊ปเล็ต มือถือ อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคตาที่เกิดจากการติดจอมากเกินไป

นพ.ปานเนตร ปางพุฒิพงศ์รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันกลุ่มผู้ป่วยโรคตาที่มีสาเหตุมาจากการอยู่กับหน้าจอมากเกินไป มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในวัยเด็กและผู้ใหญ่ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดกลุ่มอาการตาไม่สู้แสง โดยจะมีอาการแสบตา ตาแห้ง ปวดตา ซึ่งอาการดังกล่าวจะเกิดขึ้นชั่วคราวเมื่อพักตา อาจช่วยบรรเทาอาการ แต่หากปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดผลตามมา เช่นกระจกตาอักเสบ กล้ามเนื้อตาล้า ดังนั้น หากเกิดอาการผิดปกติทางตา ควรพบจักษุแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้องเหมาะสม

พญ.สายจินต์ อิสีประดิฐ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์(วัดไร่ขิง) กล่าวเพิ่มเติมว่าผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์(วัดไร่ขิง) ในปี 2560 ที่ผ่านมา เป็นผู้ป่วยโรคตาจากความผิดปกติของสายตาและการเพ่งมองถึง 3,844 ราย สาเหตุของการเกิดโรคเหล่านี้ มาจากการใช้สายตาเพ่งมองหน้าจอมากเกินไป แม้จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อตาอย่างเฉียบพลัน แต่ทำให้เกิดความไม่สบายตา ระคายเคือง และเป็นปัญหารบกวนการใช้สายตาอยู่เสมอ ทั้งนี้ หากมีปัญหาสายตาควรปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติและรับการรักษาอย่างทันท่วงที

อย่างไรก็ตาม สามารถถนอมดวงตาได้ด้วยวิธีการดังนี้กระพริบตาให้บ่อยเมื่ออยู่หน้าจอเพื่อป้องกันตาแห้ง หากมีอาการตาแห้งควรใช้น้ำตาเทียม เพื่อลดการระคายเคืองตาควรพักสายตาเป็นระยะทุก 20-30นาที ให้พักจากจอประมาณ 30-60 วินาที โดยการมองออกไปไกลๆหรือหลับตาหากจำเป็นต้องอยู่หน้าจอนานเกิน30นาที ควรพักการทำงานทุก1-2ชั่วโมงประมาณ5-15 นาที ใช้แผ่นกรองแสงจากหน้าจอหรือใส่แว่นกรองแสงปรับแสงหน้าจอให้พอเหมาะไม่สว่างเกินไป และไม่ควรทำงานในที่มืดจัดวางจอให้อยู่ในระยะพอเหมาะที่ตามองสบายไม่ต้องเพ่งโดยเฉลี่ยระยะจากตาถึงจอควรมีระยะ45-50 ซม.รับประทานอาหารที่ช่วยบำรุงสายตา ได้แก่ ผักผลไม้ที่มีสีเหลืองส้มอาทิ แครอท ฟักทอง ผักใบเขียว เช่น คะน้า ปวยเล้ง ฯลฯ และดื่มน้ำให้เพียงพอเนื่องจากการดื่มน้ำบ่อยๆจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้แก่ดวงตา

เผยแพร่: 4 พ.ย. 2561    โดย: ผู้จัดการออนไลน์

129
ในมุมมองทางสุขภาพจิต โซเชียลมีเดียช่วยให้ผู้ใช้รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม สร้างความรู้สึกของการมีตัวตนให้กับคนจำนวนมาก หลายคนแม้จะใช้โซเชียลมีเดียอยู่เสมอ แต่อาจเป็นเพียงลักษณะนิสัยและความเคยชินที่อาจก่อให้เกิดความรำคาญ ส่งผลถึงความสัมพันธ์ และเมื่อใช้มากๆ ก็อาจกลายเป็นการ “เสพติด” ที่ส่งผลให้เกิดภาวะวิตกกังวล ซึมเศร้า เหงา สมาธิสั้น ได้


หากสงสัยว่าคุณติดโซเชียลมีเดีย ลองเช็คเบื้องต้นด้วย Bergen Social Media Addiction Scale ตอบคำถาม 6 ข้อ และให้คะแนนดังนี้

0 คะแนน  =  น้อยมาก

1 คะแนน  =  น้อย

2 คะแนน  =  บางครั้ง

3 คะแนน  =  ค่อนข้างบ่อย

4 คะแนน  =  บ่อยมาก


แบบทดสอบ คุณติด "โซเชียล" มากแค่ไหน?



1.ฉันใช้เวลามากในการคิด (หมกมุ่น) ถึงโซเชียลมีเดีย หรือวางแผนการใช้โซเชียลมีเดีย

2.ฉันรู้สึกว่ามีแรงกระตุ้นให้ใช้โซเชียลมีเดียมากขึ้นเรื่อยๆ

3.ฉันใช้โซเชียลมีเดียเพื่อให้ลืมปัญหาส่วนตัว

4.ฉันพยายามลดการใช้โซเชียลมีเดียแต่ก็ไม่สำเร็จ

5.ฉันเริ่มกระสับกระส่ายหรือไม่สบายใจถ้าถูกห้ามไม่ให้ใช้โซเชียลมีเดีย

6.ฉันใช้โซเชียลมีเดียมากจนก่อให้เกิดผลเสียต่อการงานหรือการเรียน


หากมีคำตอบอย่างน้อย 4 ข้อ ที่ได้ 3 คะแนนขึ้นไป (ค่อนข้างบ่อยถึงบ่อยมาก) ถือว่าคุณมีโอกาส “ติดโซเชียลมีเดีย” ส่วนจะ "ติด" หรือ "ไม่ติด" โซเชียลมีเดียอย่างแท้จริงนั้นต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ


ทำอย่างไร หากฉันกำลังเสพติดโซเชียล


นอกจากการหากิจกรรมอื่นๆ ทำเพื่อดึงความสนใจของตัวเองจากโลกโซเชียล เช่น ท่องเที่ยว พูดคุยกับเพื่อน และคนในครอบครัว ออกกำลังกาย อ่านหนังสือ ชมละครหรือภาพยนตร์แล้ว กรมสุขภาพจิตยังแนะนำวิธีฝึกสมาธิ เพื่อลดความหมกมุ่นในการเล่นโซเชียลเอาไว้ ดังนี้


ขั้นตอนที่ 1 คือการฝึกจับลมหายใจเข้าออก หายใจเข้าให้รู้ว่าหายใจเข้า หายใจออกให้รู้ว่าหายใจออก ไม่ต้องนับหรือใช้ถ้อยคำใดๆ


ขั้นตอนที่ 2 ระหว่างฝึกจับลมหายใจ หากมีความคิดใดๆผุดขึ้นมาเป็นระยะๆ ขอให้เพียงแค่รู้ตัวและปล่อยให้ความคิดนั้นผ่านเลยไป ให้หันความสนใจมาที่ลมหายใจเท่านั้น ข้อสำคัญคืออย่าสั่งตัวเองให้หยุดคิด เพราะจะทำให้จิตว้าวุ่น ไม่สงบ


ขั้นตอนที่ 3 คือการฝึกจัดการกับความง่วง ซึ่งอาจเกิดขึ้นเมื่อจิตสงบแล้ว โดยให้ยืดตัวตรง หายใจเข้าออกแรงๆสัก 5-6 ครั้ง หรือใช้วิธีจินตนาการหลอดไฟที่สว่างจ้าสักครู่หนึ่ง หากหายง่วงแล้วให้กลับไปตามรู้ลมหายใจให้ต่อเนื่องต่อไป


ควรทำสมาธิหลังตื่นนอนใหม่ๆ เพราะร่างกายยังสดชื่นอยู่ ส่วนช่วงก่อนนอน ลองฝึกรู้ลมหายใจจนหลับไปจะทำให้นอนหลับได้ลึก และผ่อนคลายได้ดี ขณะนี้รพ.จิตเวชนครพนมฯได้ให้ผู้ใช้บริการทุกคนฝึกสมาธิ สติ ก่อนรับบริการตรวจรักษา และฝึกผู้ป่วยในที่มีอาการดีขึ้นแล้ว เพื่อสามารถดูแลตัวเองครบถ้วนทั้งกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ


31 ต.ค. 61 ขอขอบคุณ  ข้อมูล :โรงพยาบาลมนารมย์ ,กรมสุขภาพจิต

130
ปลัด สธ. กำชับดูแลครอบครัวพยาบาลเสียชีวิต จากเหตุรถพยาบาล รพ.อมก๋อย ชนต้นไม้ขณะรับผู้ป่วยกลับจาก รพ.นครพิงค์ พร้อมดูแลผู้บาดเจ็บให้ดีที่สุด และดูแลให้ได้รับสิทธิอย่างเต็มที่ เล็งหารือหน่วยงานเกี่ยวข้อง เพิ่มความปลอดภัยรถพยาบาล


วันนี้ (1 พ.ย.) นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์กรณีรถพยาบาล รพ.อมก๋อย ประสบอุบัติเหตุเสียหลักและชนต้นไม้ข้างทาง ได้รับบาดเจ็บ 6 ราย และเสียชีวิต 2 ราย เป็นบุรุษพยาบาลและญาติผู้ป่วย ว่า ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวของพยาบาล และครอบครัวผู้ป่วยที่ญาติเสียชีวิตจากอุบัติเหตุครั้งนี้ ได้มอบให้ นพ.พิศิษฐ์ ตั้งศรีเกียรติกุล รองปลัด สธ. ลงพื้นที่ไปดูแลช่วยเหลือครอบครัวผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บอย่างเต็มกำลัง ขณะนี้ได้ส่งตัวพยาบาลและญาติผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บไปรักษาที่ รพ.จอมทอง ส่วนพลขับนอนสังเกตอาการที่ รพ.ฮอด ได้กำชับให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ.) ดูแลผู้บาดเจ็บทุกรายให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด

นพ.สุขุม กล่าวว่า สธ.จะให้ความช่วยเหลือครอบครัวบุรุษพยาบาลที่เสียชีวิต ขณะปฏิบัติหน้าที่ส่งต่อผู้ป่วยไปรับการรักษาที่ รพ.นครพิงค์ จ.เชียงใหม่ และรับผู้ป่วยอีกรายจาก รพ.นครพิงค์กลับมารักษาต่อที่ รพ.อมก๋อย รวมทั้งญาติผู้ป่วยที่เสียชีวิต เบื้องต้นจะได้รับเงินช่วยเหลือจากประกันอุบัติเหตุ เงินช่วยเหลือจากโรงพยาบาล และสิทธิอื่นๆ อยู่ระหว่างตรวจสอบเพื่อให้ครอบคลุมทุกสิทธิที่ควรจะได้รับการดูแลตามระเบียบ


"รมว.สาธารณสุข ให้ความสำคัญกับมาตรฐานรถพยาบาล และมอบให้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมขนส่งทางบก เอ็มเทค สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.) สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) เพื่อเพิ่มความปลอดภัยแก่บุคลากร ผู้ป่วยและญาติที่ใช้รถพยาบาล และขอให้โรงพยาบาลถือปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุของรถพยาบาลอย่างเคร่งครัด โดยให้จำกัดความเร็วของรถพยาบาล ใช้ความเร็วเป็นไปตามกฎหมายกำหนด ไม่เกิน 80 กม./ชม. หรือไม่เกินที่กฎหมายกำหนด ผู้ขับขี่ต้องผ่านการอบรมหลักสูตรฝึกอบรมพนักงานขับรถพยาบาลของ สธ. รถพยาบาลติดตั้งอุปกรณ์ GPS ทุกคันและติดตั้งกล้องวงจรปิดบันทึกภาพ ห้ามขับรถฝ่าสัญญาณไฟแดงทุกกรณี นอกจากนี้ขอให้คำนึงถึงเวลาทำงานที่เหมาะสมของบุคลากรสาธารณสุขทุกระดับด้วย” นพ.สุขุม กล่าว


เผยแพร่: 1 พ.ย. 2561   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

131
สสส.ฟุ้งยอดวิวชวนงดเหล้าเข้าพรรษาสูงกว่า 30 ล้าน สูงกว่าประเทศกูมี สะท้อนคนสนใจเลิกเหล้ามากขึ้น ค้นข้อมูลสายด่วนเลิกสุรา และรับคำปรึกษาเพิ่มขึ้นเกือบ 2.2 เท่า เผย 1.5 พันชุมชนเข้าร่วมงดเหล้าเข้าพรรษา รวม2.4 หมื่นคน เลิกได้ 3 เดือนกว่า 80% หลายพื้นที่จัดกิจกรรมเลิกเหล้าต่อเนื่อง ชูสาวพักตับชวนสามีเลิกเหล้า


วันนี้ (1 พ.ย.) ที่โรงแรม เอบีน่าเฮาส์ นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวในงาน "เวทีฉลองชัย เชิดชูเกียรติ คนหัวใจหิน เหล็ก เพชร ปี 2561" ภายใต้โครงการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษา ปี 2561 ว่า สสส.หนุนเสริมให้ภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนงานงดเหล้าเข้าพรรษาจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และองค์กรชุมชน ทำงานให้ได้ทั่วถึงทุกพื้นที่ ตั้งแต่ระดับนโยบายจากหน่วยงานต่างๆ ระดับพื้นที่ ชุมชน ตำบล อำเภอ ตลอดจนระดับการสื่อสารระหว่างบุคคล เพื่อเชิญชวนให้เกิดกิจกรรมรณรงค์งดเหล้าในช่วงเข้าพรรษาและตลอดทั้งปี ส่งผลให้ช่วงเข้าพรรษาปี 2561 ประชาชนให้ความสนใจลด ละ เลิกดื่มสุราเพิ่มมากขึ้น ขณะที่จำนวนคนดื่มสุราลดลง จากเดิม 17-18 ล้านคน โดยปี 2561 ลดเหลือ 16 ล้านคน โดยพบว่าครึ่งหนึ่งหรือ 7 ล้านคนดื่มเป็นประจำ ส่วน 2.7 ล้านคนยังคงมีปัญหาการติดสุรา


นพ.คำนวณ กล่าวว่า การลดละเลิกดื่มสุราต้องใช้ทุกโอกาสในการชักชวน สิ่งที่ช่วยให้ลดละเลิกได้มี 4 ปัจจัย คือ 1.คนรักคนใกล้ตัวขอให้เลิก จะเป็นแรงขับสำคัญ 2.พลังใจในตัวเองที่จะเลิก โดยอาจอาศัยองค์กรทางศาสนามาช่วย 3.การจัดระเบียบสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อลดการดื่มหรือไม่ให้เข้าถึงการดื่ม และ 4.คนที่เลิกด้วยตนเองไม่ได้ ก็มีบริการระบบแพทย์ช่วยให้เลิกดื่ม ซึ่งทั้งหมด สสส.พยายามสนับสนุนให้เกิดการทำงานร่วมกัน นอกจากนี้ ยังพัฒนาสื่อรณรงค์ผ่านทางโซเชียลมีเดียพลังมดชวนงดเหล้าครบพรรษา พบว่า มียอดวิวรวมกันถึง 30 ล้านวิว ซึ่งมากกว่าประเทศกุมีในขณะนี้เสียอีก เรียกว่าคนสนใจอยากเลิกสุราเพิ่มมากขึ้น มีการค้นหาข้อมูลการเลิกสุราสายด่วนเลิกสุรา 1413 สูงถึง 20,256 ราย มากกว่าปี 2560 ที่มีผู้เข้าศึกษาอยู่ที่ 7,084 ราย เช่นเดียวกับผู้ที่โทรเข้ามารับคำปรึกษาที่สายด่วนเลิกสุรา1413 ในปี 2561 มากกว่าปี 2560 ถึง 2.2 เท่า


นายธีระ วัชรปราณี ผู้จัดการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) กล่าวว่า สคล. ร่วมกับนายอำเภอ 157 อำเภอทั่วประเทศ ขับเคลื่อนนโยบายระดับพื้นที่เพื่อรณรงค์ส่งเสริมการงดเหล้าเข้าพรรษา และร่วมกับชุมชนแหล่งเรียนรู้ 430 แห่ง ร่วมรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษา ปี 2561 ภายใต้แนวคิด “รวมพลังเครือข่าย ชวน ช่วย เชียร์ งดเหล้าครบพรรษา” โดยมีชุมชนตอบรับเข้าร่วม 1,546 แห่ง มีคนลงนามร่วมบวชใจงดเหล้าเข้าพรรษาจำนวน 24,376 คน ในจำนวนนี้เป็นคนหัวใจหิน คือ เลิกได้ครบ 3 เดือน สูงถึง 80% โดยเหตุผลที่ประชาชนเข้าร่วมลด ละ เลิก ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ช่วงเข้าพรรษา เพราะสุขภาพร่างกายดีขึ้น รองลงมาคือประหยัดค่าใช้จ่าย โดยมีข้อมูลว่า พื้นที่ ต.โคกเพชร จ.ศรีสะเกษ สามารถประหยัดได้เดือนละ 1 พันบาท 3 เดือนก็ 3 พันบาท เมื่อดูจากที่เลิกได้ประมาณ 2 หมื่นกว่าคน ก็จะหยัดเงินไปราวๆ 60 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังช่วยให้สุขภาพจิตใจดีขึ้น และช่วยลดปัญหาในครอบครัว มีความสุขในครอบครัวมากขึ้น และได้มีเสียงสะท้อนจากครอบครัวคนบวชใจอีกว่ารอคอยช่วงเข้าพรรษาในทุกปี เพราะเป็นช่วงเวลาที่มีความสุขที่สุด ครอบครัวได้กินข้าวพร้อมหน้า มีเวลาได้ทำกิจกรรมร่วมกัน


นายธีระ กล่าวว่า แม้ว่าจะออกพรรษาแล้ว ในหลายพื้นที่ยังผลักดันให้เกิดการงดเหล้าต่อเนื่องหลังออกพรรษา เช่น 1. ต.หนองสองห้อง อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร จัดกิจกรรมขบวนการคนหัวใจเพชรชวนลด ละ เลิก เหล้า ใช้กลยุทธ์วิถีชุมชนและวิถีของคนเคยดื่ม มีความเข้าอกเข้าใจและถ้อยทีถ้อยอาศัยในการชวน ช่วย เชียร์ให้คนดื่มในชุมชน ลด ละ เลิก การดื่มอย่างมีขั้นตอน โดยมีพี่เลี้ยงคนหัวใจเพชรดูแลใกล้ชิด พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองจากนักดื่ม สู่นักรณรงค์ชวนคน ลด ละ เลิกเหล้าได้ 2. ต.โคกเพชร อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ มีกิจกรรมขบวนการ อสม.สู่ชุมชนสุขภาพดีปลอดเหล้า ปลอดบุหรี่ ทำงานร่วมกับชมรมคนหัวใจเพชรระดับหมู่บ้านและตำบล เพื่อใช้ประสบการณ์การเริ่มดื่มและการเลิกดื่ม เป็นกำลังใจในรูปแบบเพื่อนช่วยเพื่อนเลิกเหล้า เพราะเชื่อว่า ไม่มีใครรู้ใจคนดื่มเท่าคนที่เคยดื่มมาก่อน และ 3. ชุมชนคนสู้เหล้า ต.นาข้าวเสีย อ.นาโยง จ.ตรัง รณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาและรณรงค์ลดปัจจัยเสี่ยง โดยมีการออกแบบกลยุทธ์ให้ อสม.1 คน ชวนคนดื่มมาร่วมโครงการให้ได้อย่างน้อย 2 คน ตั้งชื่อกลุ่มอสม.นักรณรงค์ชวนคนพักตับนี้ว่า “สาวพักตับ” ซึ่งใช้กลยุทธ์ชวนคนใกล้ตัวและคนในครอบครัวมาเข้าโครงการ และช่วยเชียร์สนับสนุนให้กำลังใจอย่างใกล้ชิด โดยใช้สโลแกนว่า “คู่รักพักตับ”


ทั้งนี้ นพ.คำนวณ ยังได้มอบเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติ คนหัวใจหิน หัวใจเหล็ก และหัวใจเพชร 100 คน เพื่อเชิดชูและชื่นชมคนที่ มีใจเข้มแข็ง-มุ่งมั่น ในการฝ่าฟันอุปสรรค สามารถงดเหล้าได้ครบพรรษา(3เดือน) นับว่าเป็นคนหัวใจหิน และคนหัวใจเหล็ก (ที่งดเหล้าตลอดติดต่อกันถึง 3 ปี) และคนหัวใจเพชร (ไม่ดื่มเหล้ามากกว่า 3 ปี หรือเลิกเหล้าตลอดชีวิต)


ด้าน นางญาณี สงสุวรรณ์ ผู้เข้าร่วมโครงการ “คู่รักพักตับ” จ.ตรัง กล่าวว่า หลังจากที่เข้ากลุ่มอสม.นักรณรงค์ชวนพักตับ ได้เคยชวนแฟนเลิกเหล้าหลายครั้ง แต่ก็ไม่เป็นผล เวลาไปชวนคนอื่นๆ งดเหล้า แฟนก็ดื่มเหล้าอยู่ที่บ้าน พอตนเองกลับมาแฟนเริ่มเมา ชวนทะเลาะ ชวนตี ไม่อยากให้เราออกไปพูดคุยกับคนอื่น ในที่สุดตัดสินใจพาแฟนไปรณรงค์ด้วย ในปี 2560 หลังจากที่แฟนเห็นเราทำงานรณรงค์ ไม่นานแฟนก็ตัดสินใจเข้าโครงการเลิกเหล้า และเขาก็เลิกดื่มจริงจัง ปีนี้ได้เป็นคนหัวใจเหล็ก และคิดว่าจะเลิกเหล้าตลอดชีวิต


นายอุดม โชติพนัง อายุ 65 ปี หนึ่งในผู้ที่ได้รับประกาศนียบัตร คนหัวใจหิน ปี 2561 กล่าวว่า ตนเองดื่มเหล้ามานานและดื่มหนัก เมื่อเกษียณจากราชการก็ ไม่ได้ทำงานแล้วก็จะดื่มแบบเบาๆ อยู่บ้าน มีทีมงดเหล้ามาชวนให้เข้าโครงการฯ เพื่อสุขภาพ ก็เลยงดเหล้าเข้าพรรษามาทุกปี และได้เข้าร่วมโครงการฯ และงดได้ครบพรรษามา 2 ปีแล้ว เมื่องดเหล้าได้แล้วพอถึงออกพรรษาก็ดื่มได้น้อยลง บางทีก็ไม่ได้คิดอยากดื่มเลย ประกอบกับอายุที่มากขึ้น เริ่มมีโรคความดัน แฟนจึงชวนกันมาออกกำลังกาย ถ้างดเหล้าก็ดี ได้สุขภาพก็ดีขึ้น ตอนนี้ใครๆ ก็ทักว่าหน้าใสขึ้น มีสง่าราศี เลิกเหล้าได้แล้วหล่อขึ้นจริงๆ



เผยแพร่: 1 พ.ย. 2561    โดย: ผู้จัดการออนไลน์

132
แพทยสภาเผยจำนวนแพทย์เพิ่มขึ้นเกือบ 6 เท่าในรอบ 30 ปี มั่นไม่เกิน 5 ปี แพทย์ รพ.รัฐเพียงพอ พลิกโฉมชั่วโมงการทำงานแพทย์แน่ ไม่มีการควงเวรหนักๆ อีก เชื่อทำได้ตามกรอบแพทยสภา ไม่เกิน 16 ชม.ต่อวัน


วันนี้ (31 ต.ค.) พญ.ชัญวลี ศรีสุโข กรรมการแพทยสภา กล่าวถึงกรอบเวลาการทำงานของแพทย์ ว่า จากการดำเนินโครงการแพทยสภาสัญจรพบสมาชิก ได้รับคำถามจากสมาชิกแพทย์ไม่ต่ำกว่า 6 ปี ว่า ทำไมแพทย์จะต้องทำงานทั้งวันทั้งคืนและเช้ามาก็ต้องทำงานอีก จึงพยายามหาทางแก้ไข โดยอ้างอิงจากงานวิจัยและงานทางวิชาการ โดยเมื่อปี 2560 ทางอนุกรรมการคุณภาพชีวิตแพทยสภา ได้เสนอออกประกาศเกี่ยวกับกรอบชั่วโมงการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งคณะกรรมการแพทยสภา ได้มีมติและออกประกาศไปเมื่อปี 2560 เรื่อง การกำหนดกรอบเวลาการทำงานของแพทย์ภาครัฐ โดยกำหนด 2 ข้อหลัก คือ 1. แพทย์เพิ่มพูนทักษะ แบ่งเป็นชั่วโมงการทำงานของแพทย์นอกเวลาราชการไม่ควรเกิน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และระยะเวลาการทำงานเวรอุบัติเหตุและฉุกเฉินไม่ควรเกิน 16 ชั่วโมงติดต่อกัน และ 2. แพทย์ที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปี เป็นต้นไป ควรได้สิทธิ์งดอยู่เวรนอกเวลาราชการ


พญ.ชัญวลี กล่าวว่า จากประกาศดังกล่าว หลายคนอาจมองว่า ทำไม่ได้จริง และประกาศนี้ก็เป็นข้อเสนอไม่ใช่ข้อบังคับ โรงพยาบาลที่ไหนทำได้ให้ทำไปเลย หากทำไม่ได้ก็คงต้องฟังเหตุผลของผู้บริหารโรงพยาบาล และหน้าที่หลักของการดูแลคุณภาพชีวิตของแพทย์ภาครัฐ คือ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จริงๆ แล้วกว่าจะออกประกาศแพทยสภาดังกล่าว ได้ใช้เวลาหลายปี เพราะได้รับการคัดค้าน เหตุผลคือจำนวนแพทย์ไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตาม ในความคิดส่วนตัว ได้บอกน้องๆ นิสิตแพทย์ที่สอนอยู่ว่าไม่เกิน 5 ปีต่อไปนี้ แพทย์เราจะทำงาน เหมือนบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ คือ มีช่วงเวลาพัก ขึ้นเวรลงเวรก็ได้พัก เพราะแพทย์จะเพียงพอในภาครัฐแล้ว โดยหลักฐานคือ ภายใน 30 กว่าปีนี้แพทย์เรามีจำนวนเพิ่มขึ้นถึงเกือบ 6 เท่า ในปี 2526 มีแพทย์จำนวนแค่ 10,000 กว่าคน แต่ล่าสุดปี 2561 มี 60,000 กว่าคน โดยเพิ่มสูงสุดใน 5 ปีที่ผ่านมา แพทย์ยุคเบบี้บูมเมอร์ เปลี่ยนมาเป็นเจนวาย ซึ่งมีความพิเศษต่างกัน ขอบอกว่าไม่นานเกินรอ ชั่วโมงการทำงานของแพทย์ต้องพลิกโฉมแน่นอน



เผยแพร่:31 ต.ค. 2561 20:12   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

133
อย.เตือน “ยาหมอทหาร” อันตรายถึงตาย อ้างสรรพคุณรักษาสารพัดโรค เสี่ยงเจอสารสเตียรอยด์ ระบาดหนักแถบอีสาน อย่าหลงเชื่อซื้อมากิน ประสาน สสจ. เร่งกวาดล้างคนทำผิด


วันนี้ (31 ต.ค.) นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงกรณีพบยาชื่อ “หมอทหาร” วางขายตามต่างจังหวัดแถบภาคอีสาน มีการอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง เช่น รักษาอัมพฤกษ์ อัมพาต กระดูกทับเส้น ไขข้ออักเสบ โรคเกาต์ รูมาตอยด์ เป็นต้น ว่า อย.มีความห่วงใยผู้บริโภค โดยเฉพาะวัยผู้สูงอายุขอให้ระมัดระวังเป็นพิเศษอย่าหลงเชื่อซื้อยาดังกล่าวมารับประทานโดยเด็ดขาด เนื่องจากยาที่โฆษณาอวดสรรพคุณรักษาได้สารพัดโรค มักมีการลักลอบใส่สารสเตียรอยด์ เพื่อให้ผู้ใช้เห็นผลได้ทันใจ ซึ่งยาสเตียรอยด์จัดเป็นยาควบคุมพิเศษ ต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น เพราะเป็นยาที่มีผลข้างเคียงสูง หากรับประทานเข้าไปในปริมาณมาก อาจทำให้เกิดการติดเชื้อโรคได้ง่าย เยื่อบุกระเพาะอักเสบ อาจถึงขั้นกระเพาะทะลุ กระดูกผุ ภูมิคุ้มกันลดลง ไตวาย บางรายอาจเสียชีวิตได้


"ขอเตือนผู้บริโภคอย่าซื้อยาจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ ขอให้ซื้อยาจากร้านยาคุณภาพและร้านที่มีใบอนุญาตขายยาเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค และควรซื้อยาแผนโบราณที่ได้รับการขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยสังเกตฉลากต้องมีเลขทะเบียนตำรับยาบนฉลาก เพื่อให้ได้รับยาที่มีคุณภาพและปลอดภัย” รองเลขาธิการ อย. กล่าว


นพ.สุรโชค กล่าวว่า ขณะนี้ อย. ได้ประสานกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทุกจังหวัด เร่งกวาดล้างผู้ที่กระทำความผิด และขอย้ำเตือนผู้ผลิตยาแผนโบราณ อย่าลักลอบผสมยาสเตียรอยด์ในยาแผนโบราณโดยเด็ดขาด หาก อย. ตรวจพบจะดำเนินคดีกับผู้ที่กระทำความผิดอย่างเข้มงวด โดยมีโทษทั้งจำและปรับ หากผู้บริโภคพบเห็นผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานหรือไม่ได้รับความปลอดภัยจากการบริโภค ขอให้แจ้งมาได้ที่ช่องทางการร้องเรียนแจ้งเบาะแสกับ อย. ที่สายด่วน อย. 1556 หรือที่ E-mail : 1556@fda.moph.go.th หรือ  ตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือร้องเรียน ผ่าน Oryor Smart Application หรือ Line @Fdathai หรือที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด



เผยแพร่: 31 ต.ค. 2561   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

134
สมุนไพรของไทยทั้งดีทั้งราคาถูกมีอยู่ตามท้องตลาดมากมาย นบเป็นโชคดีของคนไทยจริงๆ นะคะ หนึ่งในนั้นที่รับรองว่าต้องเป็นของโปรดของใครหลายๆ คน นั่นก็คือ “ตะไคร้” นั่นเอง นอกจากจะนำมาปรุงอาหารได้อร่อยแล้ว ยังมีประโยชน์ดีๆ อีกเพียบ จนคุณต้องอยากทานตะไคร้ไปทุกวันแน่นอน


10 ประโยชน์ดีๆ จากตะไคร้



1.ช่วยแก้กระหายน้ำได้ โดยสามารถนำตะไคร้ไปต้มกับน้ำ และอาจเติมน้ำตาลเพื่อเพิ่มความรสชาติ และความสดชื่นได้อีกนิด

2.ช่วยบำรุงรักษาสายตา ให้ดวงตามีสุขภาพดี สดใสอยู่เสมอ

3.ช่วยบำรุงสมองให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และเพิ่มสมาธิ วัยเรียน และวัยทำงานจะจิบไปด้วย อ่านหนังสือ หรือทำงานไปด้วยก็ได้

4.ช่วยในการนอนหลับ ทำให้สมองผ่อนคลายจากความตึงเครียด นอนหลับพักผ่อนได้ง่ายขึ้น

5.เป็นส่วนผสมของยาทา ยาฉีด เพื่อไล่แมลงได้ดี และปลอดภัยจากสารเคมี

6.ช่วยดับกลิ่นคาวของปลา และเนื้อสัตว์อื่นๆ ในการประกอบอาหารได้ดี

7.เป็นส่วนผสมของยานวด ที่ช่วยคลายกล้ามเนื้อได้

8.บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้องได้ดี

9.บรรเทาอาการหวัด โดยเฉพาะอาการไอได้

10.ลดอาการปวดศีรษะ และช่วยลเความดันโลหิตลงได้


วิธีทาน/ใช้ตะไคร้ให้ได้ประโยชน์


นอกจากการใช้ตะไคร้เป็นส่วนผสมของอาหารต่างๆ ทั้งหั่นเป็นท่อนๆ ในต้มยำ ยัไส้ปลานึ่ง และสับละเอียดในยำปลาทู ยำปลากระป๋องแล้ว ยังสามารถนำมาต้มน้ำเป็นเครื่องดื่ม จิบดื่มเหมือนชายามมีอาหารหวัด ไอ เจ็บคอ กระหายน้ำ และยังสามารถสับหรือโขลก เป็นส่วนผสมของสมุนไพรที่อยู่ในลูกประคบ-นวดสมุนไพร เพื่อคลายกล้ามเนื้อได้อีกด้วย


เผยแพร่ 28 ต.ค61 โดย www.sanook.com

135
ในปี 2562 จะเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยจะมีประชากรสูงวัยมากกว่าประชากรเด็ก คือ มีผู้สูงวัย 18% เด็ก 15.9% และในปี 2564 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ คือมีประชากรสูงวัย มากกว่า 20% และในปี 2574 จะมีอัตราส่วนของผู้สูงวัย 28 % จากจำนวนประชากรทั้งประเทศ


ผู้สูงวัย เสี่ยงโรคกระดูกพรุน


ศ.นพ.อารี ตนาวลี ประธานราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า เนื่องจากกระทรวงสาธารณสุข ให้ความสนใจเรื่องกระดูกหักในผู้สูงวัยจากโรคกระดูกพรุนค่อนข้างมากจากสถานการณ์ผู้สูงวัยในประเทศไทย หลายหน่วยงานจึงร่วมกันรณรงค์ เพราะหากไม่ได้รับการรักษาในแนวทางที่ถูกต้อง อาจนำไปสู่การเสียชีวิต ประมาณ 20-25 % ในปีแรก และคนไข้บางรายไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติได้ ซึ่งทางราชวิทยาลัยฯ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของอันตรายจากภาวะดังกล่าว แพทย์ออร์โธปิดิกส์จึงได้ร่วมมือกันในการให้ความสำคัญ ดูแลผู้ป่วยกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการหักซ้ำของกระดูก
 

ทั้งนี้ กระดูกหักในผู้ป่วยที่มีกระดูกพรุน พบได้บ่อยกว่าที่คิด ทุกๆ 3 วินาทีจะมีกระดูกหักใหม่เกิดขึ้น ประชากรทั่วโลกมีสตรีที่เป็นโรคกระดูกพรุนประมาณ 200 ล้านคน ข้อมูลในประเทศไทย 1 ใน 5 ของผู้หญิงอายุ 40-80 ปี เป็นโรคกระดูกพรุน ตำแหน่งที่พบบ่อยจากการหกล้ม คือกระดูกสะโพก และกระดูกข้อมือ ส่วนกระดูกสันหลังหักอาจพบโดยเกิดกระดูกยุบตัว จากอุบัติเหตุหรือเกิดขึ้นเอง และหากภาวะกระดูกพรุนไม่ถูกควบคุมดีพอก็อาจเกิดการหักซ้ำได้ในส่วนอื่นๆ  โดยราชวิทยาลัยฯ ได้ดำเนินการรณรงค์ให้บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนทั่วไปตระหนักถึงภาวะกระดูกพรุนและจะนำเดินต่อไปให้เป็นวงกว้างมากขึ้น



โรคกระดูกพรุน คืออะไร?


รศ.นพ.สัตยา โรจนเสถียร ว่าที่ประธานอนุสาขาเมตาบอลิกและผู้สูงอายุ กล่าวว่า โรคกระดูกพรุนคือโรคที่คนไข้มีมวลกระดูกต่ำ โครงสร้างกระดูกเสื่อมโทรมและกระดูกหักง่ายแม้เพียงการล้มเบาเบา ผลกระทบสำคัญของโรคกระดูกพรุนคือกระดูกหักในตำแหน่งต่างๆ ของร่างกาย เช่น กระดูกข้อมือหัก กระดูกสันหลังหัก กระดูกสะโพกหัก กระดูกต้นแขนหัก กระดูกเชิงกรานหัก


อันตรายจากโรคกระดูกพรุน



การมีกระดูกหักในตำแหน่งต่างๆ เหล่านี้จะทำให้คุณภาพชีวิตลดลง คนไข้มีความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวันด้อยลง และมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเร็วกว่าเวลาอันสมควร คนไข้ที่เคยมีกระดูกหักจากภยันตรายที่ไม่ร้ายแรงเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณภาพกระดูกไม่ดี และเป็นโรคกระดูกพรุน คนไข้เหล่านี้มีโอกาสเกิดกระดูกหักซ้ำได้มากกว่าประชากรทั่วไปหลายเท่า การป้องกันก่อนกระดูกหักจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ขณะเดียวกันการป้องกันมีให้กระดูกหักซ้ำในผู้ป่วยซึ่งเคยมีกระดูกหักมาแล้วยิ่งมีความสำคัญอย่างมาก มีข้อมูลแสดงว่า ผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่ไม่ได้รับยารักษาโรคกระดูกพรุน มีอัตราตายมากกว่ากลุ่มที่ได้รับยาถึงสองเท่า


การรักษาโรคกระดูกพรุน


รศ.นพ.พงศ์ศักดิ์ ยุกตะนันทน์  ประธานอนุสาขาเมตาบอลิกและผู้สูงอายุ  กล่าวว่า การรักษาโรคกระดูกพรุนไม่ยาก เริ่มต้นจากการวินิจฉัยในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง เช่น ผู้ที่มีประวัติการะดูกหัก หรือ กระดูกสันหลังยุบ, คนไข้ที่หมดประจำเดือนเร็ว, ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีและน้ำหนักน้อยกว่า 45 กิโลกรัม ส่งตรวจค่ามวลกระดูก และตรวจเลือดเพิ่มเติม เมื่อวินิจฉัยเป็นโรคกระดูกพรุนแล้ว จึงเลือกใช้ยาตามข้อบ่งชี้ ยามี 2 กลุ่มหลักๆ คือ ยาต้านการสลายกระดูก และยากระตุ้นการสร้างกระดูก ซึ่งควรพิจารณาเลือกใช้ยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายในระยะเวลาที่เหมาะสม สุดท้ายคือ ติดตามผล โดยตรวจวัดมวลกระดูก ทุก 1-2 ปี


เผยแพร่ 31 ต.ค.61  ขอขอบคุณ  ข้อมูล :ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย

หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 20