ผู้เขียน หัวข้อ: เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์แจงวิปรบ.วอนดันกม.ฟ้องหมอ  (อ่าน 1419 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9760
    • ดูรายละเอียด
วัน ที่ 18 ต.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล มีการประชุมคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิป) โดยได้เชิญตัวแทนเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ นำโดยนางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่าย และตัวแทนแพทย์ นำโดย พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์สาธารณสุขแห่งประเทศไทย เข้าชี้แจงถึงร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข
 โดยภายหลังการชี้แจง นางปรียนันท์ เปิดเผยว่า วิปได้เปิดโอกาสให้ตัวแทนเครือข่ายชี้แจงเพียง 20 นาที ขณะที่ให้ตัวแทนแพทย์ได้สิทธิชี้แจงกว่า 40 นาที ทั้งที่ตอนแรกบอกว่าจะให้เวลาเท่ากัน ซึ่งแพทย์ที่เข้าชี้แจงก็เป็นกลุ่มแพทย์ที่เคยวอล์คเอ้าท์ออกจากห้องประชุม ที่กระทรวงสาธารณสุขมาแล้ว  ซึ่งเป็นกลุ่มผลประโยชน์ การเชิญกลุ่มนี้มาก็เหมือนกับรัฐบาลไม่จริงใจ เพราะความจริงแพทย์ส่วนอื่นเขาก็เห็นด้วยกับเราแล้ว ทั้งแพทย์ชนบท หรือแพทย์ที่เป็นผู้ปฏิบัติงาน
 “วันนี้เราก็เพียงชี้แจงว่าเกิดอะไรขึ้นกับพวกเราบ้าง พวกเราใช้ชีวิตมาอย่างยากลำบากเพียงใด ทั้งชีวิตเราต่อสู้กับเรื่องนี้ อย่างดิฉันต่อสู้มา 19 ปี จนถึงวันนี้ก็ยังไม่จบ เหลืออีก 2 คดีที่ค้างอยู่ ทุกคนตกเป็นเหยื่อหมด ซึ่งเหนื่อยมาก ต้องสู้กับหมอ สู้กับตำรวจ ยืนยันว่าวันนี้เราไม่ได้ต่อสู้เพื่อตัวเอง เพราะกฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง แต่เราต่อสู้เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการรับบริการทางการแพทย์อีก เชื่อว่าถ้ากฎหมายฉบับนี้มีผลก็จะช่วยเหลือคนได้นับล้าน แก้ปัญหาได้ทั้งต้นและปลายเหตุ จึงอยากวิงวอนให้รัฐบาลเดินหน้านำร่างกฎหมายเข้าสู่สภาฯ หากจะไปแก้ไขกันในชั้นกรรมาธิการเราก็ไม่ว่าอะไร” นางปรียนันท์ กล่าว
 ต่อมา นายวิทยา แก้วภราดัย ประธานวิปรัฐบาล เปิดเผยภายหลังการประชุมวิป ว่า จากที่ฟังคำชี้แจงของฝ่ายตัวแทนเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ และตัวแทนแพทย์ ถือว่ามีเหตุผลทั้ง 2 ฝ่าย อย่างไรก็ตามทางกลุ่มแพทย์ที่คัดค้านบอกว่าการประชุมคณะเสริมสร้างความ สมานฉันท์ระบบบริการสาธารณสุข ที่มีน.พ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเมื่อวันที่ 15 ต.ค.ที่ผ่านมา เป็นการประชุมที่มิชอบ เนื่องจากองค์ประชุมไม่ครบ มีผู้เข้าร่วมเพียงแค่ 10 กว่าคน จากองค์ประชุมที่ต้องมี 80 คน ดังนั้นวิปรัฐบาลจะได้เชิญปลัดกระทรวงสาธารณสุขมาชี้แจงรายละเอียดต่อที่ ประชุมวิปอีกครั้งในสัปดาห์หน้า เพื่อเพื่อขอทราบข้อเท็จจริง และผลสรุปการประชุมในครั้งนั้นว่ามีข้อสรุปอย่างไร หากยังมีความเห็นไม่ตรงกันอีก วิปรัฐบาลก็อาจจะผลักดันให้ทั้ง 2 ฝ่ายเข้าประชุมพร้อม ๆ กันต่อไป
 “ขณะนี้ยังพอมีเวลา เพราะร่างกฎหมายฉบับนี้อยู่ในวาระการประชุมอยู่แล้ว ซึ่งวิปก็พยายามจะหาทางออกให้ดีที่สุด กฎหมายนี้ควรจะทำให้เกิดความปรองดองทั้ง 2 ฝ่าย ไม่ใช่ทำให้เกิดความขัดแย้ง” นายวิทยา กล่าว

ไทยรัฐ 18 ต.ค. 2553