ผู้เขียน หัวข้อ: กะเทาะปัญหาสาธารณสุข ผ่านมุมมอง “พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ”/ส่องฅนคุณภาพ  (อ่าน 1912 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9759
    • ดูรายละเอียด
อีกครั้งกับช่วงเวลาของการรื้อปัญหาด้านระบบสาธารณสุข (สธ.) ขึ้นมาปัดฝุ่น เพื่อสะท้อนให้รัฐบาลใหม่รับทราบ เพื่อเตรียมหาทางแก้ต่อไป
 
     สำหรับ พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (สพศท.) แล้ว ไม่มีคำว่าล้มเลิก เพราะหัวใจสำคัญของ สพศท.คือการทวงความยุติธรรมให้กับบุคลากรสาธารณสุข และการเร่งเร้าให้รัฐบาลพาระบบสาธารณสุขก้าวพ้นปัญหาการเงินการคลัง
   
  ประธาน สพศท.เชื่อว่า ปัญหาการเงินในระบบสาธารณสุขส่วนหนึ่ง มาจากการกระจายเงินในระบบหลักประกันสุขภาพ ซึ่งมุ่งแต่การช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลฟรีแบบไม่แยกแยะ ดังนั้นการกลับมาเรียกเก็บอย่างน้อย 30 บาทอาจจะทำให้มีเงินเพิ่มขึ้นในระบบราว 2 พันล้านบาท ซึ่งกล้าท้าเลยว่า อย่างน้อยก็นำมาเป็นเงินหมุนเวียนในการซื้อยา เวชภัณฑ์ได้บ้าง
   
  “การรักษาฟรี ส่งผลให้ปริมาณผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกปีโรงพยาบาลต้องจ้างลูกจ้างชั่วคราวโดยเฉ พาะลูกจ้างวิชาชีพ และมีค่าตอบแทนนอกเวลาราชการมากขึ้น ทำให้มีการใช้จ่ายโดยเงินบำรุงสูงในด้านบุคลากรเพิ่มขึ้นทุกปี โดยขยายตัวในอัตราร้อยละ 61.24 เป็นเงินบำรุงที่เพิ่มขึ้น 11,968 ล้านบาท ในขณะที่เงินเดือนภาครัฐหดตัวลงร้อยละ 6.94 เป็นเงินภาครัฐที่ลดลง 2,764 ล้านบาท เมื่อกองทุนจัดสรรไม่เพียงพอ โรงพยาบาลหลายแห่งจึง ประสบปัญหาเรื่องการจ่ายค่าตอบแทน มีแนวโน้มมากขึ้นในโดยเฉพาะในโรงพยาบาลประสบปัญหาการเงินรุนแรงจำนวน 304 แห่ง จากทั้งหมด 831 แห่ง”ประธาน สพศท.อธิบาย

ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหาการขาดสภาพคล่อง รัฐจึงควรเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้ใช้บริการและบุคลากรด้านสาธารณสุข ผู้ให้บริการในแต่ละพื้นที่ ได้มีส่วนในการร่วมกันคิดโปรแกรมการรักษาพยาบาล ที่จำเป็นของพื้นที่ที่จะใช้กับสิทธิรักษาฟรี และการป้องกันโรคในท้องถิ่นเพื่อเสนอให้กับรัฐบาล กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) แทนที่จะให้ส่วนกลางกำหนดเป็นแบบเหมารวมเหมือนกันหมดทั้งประเทศ เพราะแต่ละพื้นที่อาจมีความจำเป็นในการรักษา หรือป้องกันโรคที่แตกต่างกัน อีกทั้งเป็นการป้องกันไม่ให้เงินงบประมาณคงเหลือกระจุกอยู่ที่หน่วยงานใดหน่ วยงาน หนึ่ง แต่จะเป็นการกระจายงบประมาณถึงประชาชนในพื้นที่ที่แท้จริง
   
  อีกปัญหาที่ พญ.ประชุมพร และกลุ่มแพทย์หลายคน เชื่อ คือ ปัญหาสุขภาพของคนไทยจะดีได้ จำเป็นต้องมีบุคลากรที่บริการสุขภาพซึ่งเปี่ยมด้วยความรู้ โดยบุคลากรดังกล่าว ต้องมีภาพชีวิตและความมั่นคงทางอาชีพ จึงจะสามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่เปิดปัญหาแพทย์สมองไหลไปสู่สถานบริการสังกัดเอกชน จนสถานบริการภาครัฐขาดแคลน ดังนั้น การเร่งแยกข้าราชการ สธ.ออกจาก สำนักงานข้าราชการพลเรือน จึงจำเป็นอย่างมากในช่วงเวลานี้ และที่สำคัญต้องจัดสรรค่าตอบแทนอย่างเหมาะสมด้วย เพราะขณะนี้บุคลากรฝีมือดีหลายหมื่นคน ต้องปฏิบัติงานที่หนักและรับเงินเดือนที่ต่ำในฐานะ พนักงานของรัฐ โดยปัญหาบรรจุตำแหน่งจะต้องแก้ไปพร้อมๆ กับค่าตอบแทน ที่ต้องเป็นธรรมและเกี่ยวเนื่องกับภาระที่แบกรับ
   
  ในตอนท้าย ประธาน สพศท.ย้ำว่า การที่เสถียรภาพของระบบสุขภาพไทยจะอยู่ได้ต้องเดินหน้าไปด้วยกัน 3 ส่วน คือ
1.ด้านประชาชนผู้รับบริการขยายใหญ่ขึ้นด้วยการเข้าถึงบริการพร้อมมีความพึงพอใจอย่างมาก

2.ด้านกองทุน ผู้จัดการงบสุขภาพประสบความสำเร็จด้านประสิทธิภาพการควบคุมค่าใช้จ่ายพร้อมขยายสิทธิประโยชน์ได้หลากหลาย และ

3.ด้านโรงพยาบาล ผู้ให้บริการภาครัฐ ประสบปัญหาวิกฤตการเงินและกำลังคน ต้องรองรับการขยายตัวประชาชน และกองทุนด้วย

ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 สิงหาคม 2554