แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - story

หน้า: 1 ... 479 480 [481] 482 483 ... 535
7201
อย.จับร้านยาเถื่อน 6 แห่ง ใน “อุดรธานี” มูลค่าของกลาง 1 แสนบาท เตือนร้านใดมีเภสัชกรประจำแล้วทำผิดกฎหมาย ระวังถูกสั่งพักใบอนุญาตฯ ประกอบวิชาชีพฯ เผยพบเจ้าหน้าที่ สสจ.อุดรฯ ถูกทำร้าย ตำรวจคาด เกี่ยวข้องกับการจับกุมร้านขายยาผิด กม.
       
       วันนี้ (18 ส.ค.) นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พร้อมด้วย พล.ต.ต.พูลทรัพย์ ประเสริฐศักดิ์ ผู้บังคับการปราบปราบการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (ผบก.ปคบ.) ร่วมกันแถลงข่าวกรณีการจับกุมร้านขายยาผิดกฎหมาย จ.อุดรธานี มูลค่าของกลาง 1 แสนบาท
       
       นพ.พิพัฒน์กล่าวว่า เมื่อวันที่ 16 ส.ค.ที่ผ่านมา อย.ได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่ บก.ปคบ. และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) อุดรธานี ออกตรวจสอบร้านขายยาที่กระทำผิดกฎหมายในจังหวัดอุดรธานีจำนวน 6 แห่ง ไประกอบด้วย 1.ร้านรุ่งเรืองเภสัช เลขที่ 102/7 หมู่ 4 ต.หมากแข้ง อ.เมืองอุดรธานี จ.อุดรธานี 2.ร้านเอสอายซัพพลาย เลขที่ 337/5-6 ต.หนองบัว อ.เมืองอุดรธานี จ.อุดรธานี 3.ร้านสมศักดิ์ CS คอมเพล็กซ์ เลขที่ 277/1-3 ต.หมากแข้ง อ.เมืองอุดรธานี จ.อุดรธานี 4.ร้านขายยาบ้านโนนฟาร์มาซี เลขที่ 28/115 ต.หมากแข้ง อ.เมืองอุดรธานี จ.อุดรธานี 5.ร้านรุ่งโรจน์ 2 เลขที่ 106/26 ต.หมากแข้ง อ.เมืองอุดรธานี จ.อุดรธานี 6.ร้านไข่ เลขที่ 106/25 ต.หมากแข้ง อ.เมืองอุดรธานี จ.อุดรธานี
       
       นพ.พิพัฒน์กล่าวต่อว่า สำหรับการกระทำความผิดขิองร้านดังกล่าวนั้น พบมีการจำหน่ายยาสเตียรอยด์ ยาแก้ปวดเกร็ง ยาลดความอ้วน ยาแก้ไอซูโดเอฟริดีน และวัตถุออกฤทธิ์ทางจิตประสาท รวมมูลค่าสินค้ากว่า 1 แสนบาท ซึ่งร้านดังกล่าวไม่มีทะเบียนอนุญาตให้จำหน่ายยา และยาต่างๆ ที่พบก็เป็นยาปลอมซึ่งไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยากับ อย.เช่นกัน ขณะที่สถานการณ์ร้านขายยาผิดกฎหมายในเขต กทม.ยังพบเป็นจำนวนมากเช่นกัน โดยภายใน 1 เดือน เจ้าหน้าที่ตำรวจและ อย.มีการรวบรวมของกลางที่จำหน่ายในร้านมีมูลค่าราว 30 ล้านบาท
       
       เลขาธิการ อย.กล่าวด้วยว่า แต่ละร้านมีความผิดในข้อหาที่แตกต่างกัน เบื้องต้นประมวลสรุปได้ดังนี้ 1. ขายยาแผนปัจจุบันนอกเวลาทำการ มีโทษปรับ 2,000-10,000 บาท 2.ขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท 3.ขายยาอันตรายขณะผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการไม่อยู่ มีโทษปรับ 1,000-5,000 บาท 4.ขายยาไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 5.ฉลากที่ภาชนะและหีบห่อบรรจุยาแสดงข้อความไม่ครบถ้วน มีโทษปรับ 2,000-10,000 บาท
       
       6.ไม่จัดทำบัญชีซื้อและบัญชีขายยา มีโทษปรับ 2,000-10,000 บาท 7.ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการไม่ควบคุมการจัดทำบัญชียา มีโทษปรับ 1,000-5,000 บาท 8.ขายวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 3 หรือ 4 โดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 100,000 บาท 9.ขายยาบรรจุเสร็จหลายขนานโดยจัดเป็นชุดๆ ในคราวเดียวกัน มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับ ไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 10. ขายยาหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภท 3 โดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท ทั้งนี้ หากร้านขายยาเปิดแล้วมีเภสัชกรประจำร้านอยู่ แล้วมีการทำผิดกฎหมาย ทาง อย.ก็จะทำหนังสือขอให้สภาเภสัชกรรมสั่งพักใบอนุญาตประกอบวิชาชีพด้วย
       
       “นอกจากนี้ ในช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาพบว่า มีเภสัชกรชำนาญการประจำ สสจ.อุดรฯ ถูกทำร้ายร่างกายระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ทางราชการ โดยผู้ร้ายได้โทรศัพท์เข้าข่มขู่เจ้าหน้าที่รายดังกล่าวด้วย เบื้องต้นตำรวจสันนิษฐานว่าอาจเกี่ยวข้องกับกรณีการจับกุมร้านขายยาผิดกฎหมาย ดังนั้น ทาง อย.จึงได้แจ้งขอความร่วมมือไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรเมืองอุดรธานี ในการติดตามหาผู้ต้องสงสัยในคดีทำร้ายร่างกาย เพราะเป็นการกระทำที่อุกอาจไม่เกรงกลัวกฎหมาย และได้รายงานเหตุการณ์ดังกล่าวให้นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมช.สธ.) ได้รับทราบด้วย โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้กำชับและสั่งการให้สถานีตำรวจภูธรเมืองอุดรธานีดำเนินการสืบสวนอย่างเร่งรัดโดยเร็วที่สุดเพื่อหาผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดด้วย

ASTVผู้จัดการออนไลน์    18 สิงหาคม 2554

7202
คณะ​แพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ​เตรียม​เปิด​ให้บริ​การทาง​การ​แพทย์รูป​แบบ​ใหม่ ​ในชื่อ ​โรงพยาบาลศิริราช ปริยมหาราช​การุณย์ ​เพื่อรองรับ​ผู้ป่วยจำนวนมากที่ต้อง​การ​การรักษา​และ​การบริ​การที่สะดวกรวด​เร็ว ​หรือ​ไม่สามารถ​เข้า​ถึง​การรักษา​ได้​ใน​โรงพยาบาลรัฐ​แห่งอื่นๆ ​และพอมี​ความสามารถ​ใน​การจ่ายค่ารักษาพยาบาล ​ซึ่งรูป​แบบ​การดำ​เนินงาน​ใหม่นี้จะ​ทำ​ให้​ผู้ป่วย​เหล่านั้น​เป็น​ทั้ง “​ผู้รับ” ​และ “​ผู้​ให้” ​ในขณะ​เดียวกัน ​เพราะราย​ได้จาก​การดำ​เนินงานจะคืนกลับสู่คณะ​แพทยศาสตร์ศิริราช​เพื่อช่วย​เหลือ​ผู้ป่วยที่ขาด​แคลนทุนทรัพย์ ​และพัฒนาสู่​ความ​เป็น​เลิศทาง​การ​แพทย์ระดับสากลต่อ​ไป

ศาสตราจารย์คลินิกนาย​แพทย์ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์ คณะบดีคณะ​แพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า ​ในปัจจุบัน​โรงพยาบาลศิริราชต้องดู​แล​ผู้ป่วย​ถึงปีละ 2.8 ล้านราย ​โดย​เป็น​ผู้ป่วย​ใน​ถึง 80,000 ราย ​และมีจำนวน​เพิ่มขึ้นทุกปี ​แต่อย่าง​ไร​ก็ตามยังมี​ผู้ป่วยอีกจำนวนมากที่ยินดีจะจ่าย​เพิ่ม​แต่​ไม่มี​โอกาส​เข้า​ถึงบริ​การทาง​การ​แพทย์จากศิริราช

“ด้วย​เหตุนี้ คณะ​แพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล​จึง​ได้ริ​เริ่ม​โครง​การ​โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราช​การุณย์ขึ้น ​โดยจะ​เป็น​โรงพยาบาลของรัฐ​แห่ง​แรกที่มีรูป​แบบ​การบริหาร​และบริ​การที่มีประสิทธิภาพ​แบบ​เอกชน ​โดยมีจุดต่างที่​การยึดหลัก คืนราย​ได้จาก​การดำ​เนินงานกลับสู่คณะ​แพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลอย่างต่อ​เนื่อง ​เพื่อนำ​ไปช่วย​เหลือ​ผู้ป่วยที่ขาด​แคลนทุนทรัพย์​และพัฒนาสู่​ความ​เป็น​เลิศระดับสากล ดังนั้น ​ผู้ป่วยที่ยินดีจ่าย​เพิ่ม​เพื่อ​เข้ารับบริ​การ​ใน​โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราช​การุณย์นั้น นอกจากจะ​เป็น​ผู้รับ คือ ​ได้รับบริ​การที่​เป็น​เลิศตามมาตรฐานทาง​การ​แพทย์​แล้ว ยังจะมี​โอกาส​เป็น​ผู้​ให้อีด้วย ​และจากวิสัยทัศน์​และพันธกิจของ​โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราช​การุณย์ จะ​ทำ​ให้บุคลากร​เกิด​ความภาคภูมิ​ใจ​ใน​การมีส่วนร่วมพัฒนาคณะ​แพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ​และ​เป็นประ​โยชน์ต่อสังคม​โดยรวมอย่างยั่งยืนต่อ​ไป”

ศาสตราจารย์คลินิกนาย​แพทย์ธีรวัฒน์ กล่าวต่อว่า มาตรฐาน​การรักษาพยาบาลของ​โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหา​การุณย์ นั้น​เป็นมาตรฐาน​เดียวกับ​โรงพยาบาลศิริราช ​ทั้งด้านบุคลากรทาง​การ​แพทย์​และอุปกรณ์ทาง​การ​แพทย์ ​โดย​ทั้งสอง​โรงพยาบาลมี​การคัดกรองบุคลากรทาง​การ​แพทย์ด้วยมาตรฐาน​เดียวกัน คือ ดี ​เก่ง​และมี​ความสุข​ใน​การ​ทำงาน ส่วน​ในด้าน​เครื่องมือทาง​การ​แพทย์​ก็จะมี​ความก้าวหน้า​และทันสมัย​ในระดับมาตรฐาน​โลก​เหมือนกัน ​และยังสามารถช่วย​เหลือ​เกื้อกูลกันระหว่าง 2 ​โรงพยาบาล​ได้ด้วย ​ในส่วนรูป​แบบ​การบริหาร​และบริ​การที่มีอิสระ คล่องตัว จะ​ทำ​ให้​ผู้ป่วยที่​เข้ารับ​การรักษาที่​โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราช​การุณย์ ​ได้รับบริ​การที่สะดวกรวด​เร็ว​เช่น​เดียวกับ​โรงพยาบาล​เอกชน ​ในอัตราค่าบริ​การที่สม​เหตุสมผล ​และยังมั่น​ใจ​ได้​ใน​ความ​เป็น​เลิศทาง​การ​แพทย์มาตรฐาน​เดียวกับ​โรงพยาบาลศิริราช

“​โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราช​การุณย์ มีกำหนด​เปิดบริ​การ​ในต้นปี 2555 ​โดย​ในปี​แรกคาดว่าจะสามารถ​ให้บริ​การ​ได้ 30% ของพื้นที่ ​ในปีที่สอง 50% ​และปีที่สามจะสามารถ​ให้บริ​การ​ได้ 100% ​ซึ่ง​เรามั่น​ใจว่ารูป​แบบ​การดำ​เนินงาน​แบบ​ใหม่นี้ ​เนื่องจากมีประสบ​การณ์​และ​เคยประสบ​ความสำ​เร็จมา​แล้วจาก​การ​เปิดศูนย์หัว​ใจ The Heart by Siriraj ​ซึ่ง​เป็น​โครง​การนำร่องมาตั้ง​แต่ปี 2549 ​โดย​ไม่​เพียง​แต่รองรับ​และสนอง​ความต้อง​การของ​ผู้ป่วยที่ยินดีจ่าย​เพิ่ม​แล้ว ยังสามารถสร้างราย​ได้​เพียงพอที่จะ​เลี้ยงตัว​เอง ​และคืนกลับสู่คณะ​แพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล อีก​ทั้ง ยังช่วยรักษาบุคลากร​เอา​ไว้​ได้​เป็นอย่างดี”

​ทั้งนี้ ราย​ได้จาก​การดำ​เนินงานของ ​โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหา​การุณย์ ที่จะกลับคืนสู่คณะ​แพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จะถูกนำ​ไป​ใช้​ใน​การพัฒนา 4 ด้านหลัก​ได้​แก่ 1) ​การบริ​การ​ผู้ป่วย​โดยรวม 2) ​การศึกษาของ​แพทย์ 3) ​การวิจัย 4) ​การ​ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ​ซึ่งท้ายที่สุด​แล้ว ​การพัฒนา​ทั้ง 4 ด้านจะนำมา​ซึ่งประ​โยชน์​และช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของ​ผู้ป่วย​โดยรวมตามปรัชญา​ความ​เป็น​โรงพยาบาล​เพื่อ​แผ่นดิน ​และพัฒนาสู่​ความ​เป็น​เลิศทาง​การ​แพทย์ระดับสากล

​โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราช​การุณย์ ตั้งอยู่​ใกล้​โรงพยาบาลศิริราช ​ซึ่งมีจุด​เด่นด้านภูมิสังคม คือ ตั้งอยู่ริม​แม่น้ำ​เจ้าพระยามีทัศนียภาพที่งดงาม อากาศดี​เหมาะ​แก่​การพักฟื้นของ​ผู้ป่วย นอกจากนี้ บริ​เวณ​โดยรอบ​เป็นชุมชนที่ยังมี​ความ​เป็นมิตร ​เงียบสงบ มี​การพัฒนาระบบ​การคมนาคมที่สะดวกสบาย ตัวอาคารมี​ความสูง 14 ชั้น ​และชั้น​ใต้ดิน 3 ชั้น ภาย​ในอาคารจะมีศูนย์รักษา​โรคครบวงจร ​เช่น ศูนย์​โรคหัว​ใจ ศูนย์มะ​เร็ง ศูนย์รังสีรักษา ศูนย์รังสีวินิจฉัย ศูนย์​โรคระบบทาง​เดินอาหาร​และตับ ศูนย์ปลูกถ่ายอวัยวะ ศูนย์ประสาทวิทยา ศูนย์​ไต​เทียม ศูนย์ทาง​เดินปัสสาวะ ศูนย์​เบาหวาน ศูนย์ภูมิ​แพ้ ศูนย์กระดูก​และข้อ ฯลฯ มีห้องบริ​การ​ผู้ป่วยนอก 117 ห้อง ห้องผ่าตัด 12 ห้อง ​เตียง​ผู้ป่วย 284 ​เตียง หอ​ผู้ป่วยวิกฤติ 61 ห้อง ช่วย​เพิ่มขีด​ความสามารถ​ในงานบริ​การ ​ให้สามารถ​เป็นศูนย์กลางบริ​การทาง​การ​แพทย์​ในภูมิภาคนี้

​ทั้งนี้ ทางคณะ​แพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ​ได้​ทำ​การ​แต่งตั้งทีมบริหาร​โรงพยาบาล ​โดยมี รองศาสตราจารย์นาย​แพทย์ประดิษฐ์ ปัญจวีณิน ดำรงตำ​แหน่ง​ผู้อำนวย​การ​โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราช​การุณย์

​แนวหน้า 17 สิงหาคม 2554

7203

การบริหารงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าโดยกระทรวงสาธารณสุข
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์
รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ที่มาและจุดมุ่งหมาย
1.ประเมินผลกระทบระบบหลักประกันในปัจจุบัน

1.1เป็นปัจจัยคุกคามต่อเสถียรภาพของระบบบริการของหน่วยงานในสังกัดสปสธ.ซึ่งหน่วยบริการหลักของประเทศ
1.2นำไปสู่ความไม่เท่าเทียมระหว่างสิทธิ์ และระหว่างประชาชนต่างพื้นที่
1.3ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำแตกต่างจนเชื่อมโยงให้เกิดความขัดแย้งแย่งชิงฐานสิทธิ์ระหว่างหน่วยผู้บริหารกองทุน  
1.4ทั้งขัดต่อแนวทางแห่งรัฐธรรมนูญที่กำหนดเป็นกฎหมายในการจัดบริการแก่ประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน

2.เกิดความไม่สอดคล้องเชิงกระบวนการบริหารภาครัฐ

2.1ระหว่างหน่วยงานหลักเดิมที่ยังมีบทบาทหลักในการดำเนินภารกิจด้านสุขภาพคือ สำนักงานปลัด-สธ. กับหน่วยงานใหม่ผู้กำหนดการจ่ายเพื่อระบบริการคือสำนักงานจัดการกองทุน
2.2ลักษณะความไม่สอดคล้องจัดสรรก่อให้เกิดปรากฏการณ์ย้อนทิศทางการบริหารจัดการของกระทรวงสาธารณสุขทำให้เครือข่ายบริการสุขภาพขาดความเชื่อมโยง  ศักยภาพเชิงเครือข่ายถดถอย
2.3ทำให้สูญเสียประสิทธิภาพภาครัฐในภาพรวมที่ควรเร่งรัดร่วมมือแก้ไขโดยเร่งด่วนและต้องดำเนินการศึกษาให้ปรากฏความชัดเจนเพื่อแก้กลไกภาครัฐให้เกิดศักยภาพมากที่สุด

3.ระบบสุขภาพถูกระบบการเงินคุกคามจนเสียหาย

3.1แนวทางการขับเคลื่อนด้วยระบบการเงินอย่างเดียว แม้จะมีประสิทธิภาพในระดับหนึ่ง แต่ด้วยภาระที่ต้องมุ่งเน้นผลงานที่ตอบสนองต่อเม็ดเงินภายในปีงบประมาณ ทำให้ขาดมุมมองการพัฒนาโครงสร้างฐานรากระบบสุขภาพที่ยั่งยืน
3.2ความเสียหายในระบบสุขภาพที่ถูกควบคุมด้วยแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์มากกว่าแนวคิดทางสุขภาพ ถูกจำกัดด้วยกลไกการควบคุมค่าใช้จ่ายของรัฐและกองทุน สุขภาพถูกบริหารแบบสินค้าและถูกจัดการเชิงธุรกิจ
3.3ความเสียหายปรากฏในรูปของความสูญเสียความมั่นคงทางทรัพยากรบริการ นำไปสู่การสูญเสียความศรัทธาบริการจากความสามารถแข่งขันเชิงคุณภาพด้วยต้องรองรับแต่ปริมาณ

4.การขับเคลื่อนระบบบริการจัดสรรโดยตรงไปยังหน่วยบริการ ไม่สอดคล้องกับระเบียบบริหารราชการขาดการบูรณาการศักยภาพการจัดการเชิงระบบที่มีมิติต่อไปนี้

4.1มิติด้านนโยบายและแผน
4.2มิติด้านการกำกับติดตามในระบบราชการ
4.3มิติด้านบุคลากรว่าด้วยการบริหารความดีความชอบและขวัญกำลังใจ
4.4มิติด้านการสนับสนุนทรัพยากร ได้แก่ งบลุงทุน การจัดสรรและควบคุมอัตรากำลัง

ทำให้รัฐสูญเสียประโยชน์ที่พึงมีต่อประชาชน

5.ความขัดแย้งระหว่างหน่วยผู้ให้บริการกับผู้จ่ายปิดหนทางการเข้าถึงงบประมาณที่เพียงพอ

5.1หน่วยบริการประกาศปัญหาวิกฤตทางการเงินที่ปรากฏวงกว้าง
5.2หน่วยผู้จ่ายยืนยันความเพียงพอของงบประมาณเพื่อสื่อความมีประสิทธิภาพบนวงเงินงบประมาณที่บริหาร
5.3การถืออำนาจตามกฎหมายในฐานะผู้ซื้อที่กำหนดอัตราและเงื่อนไขจัดสรรเอง
5.4ช่องว่างความอ่อนแอของหน่วยบริการและหน่วยต้นสังกัด ทั้งด้านบุคลากรและข้อมูลรวมทั้งความไม่เป็นเอกภาพในระหว่างกลุ่มระดับบริการ ทำให้แม้มีการฟังความเห็นเรื่องอัตราค่าบริการตามกฎหมายกลายเป็นกระบวนการที่ไม่เกิดมรรคผล

พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
มาตรา ๑๘ คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้.............
      (๑๓) จัดประชุมเพื่อให้คณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นโดยทั่วไปจากผู้ให้บริการและผู้รับบริการเป็นประจำทุกปี
มาตรา ๔๖ หน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการตามมาตรา ๔๔ และหน่วยบริการที่รับการส่งต่อผู้รับบริการ มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขจากกองทุนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
   หลักเกณฑ์การกำหนดค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขตามวรรคหนึ่ง ต้องผ่านการรับฟังความคิดเห็นตามมาตรา ๑๘ (๑๓) ก่อน และอย่างน้อยต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข ดังต่อไปนี้
   (๑) อาศัยราคากลางที่เป็นจริงของโรคทุกโรคมาเป็นฐานตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานตามมาตรา ๕๐ (๔)
   (๒) ครอบคลุมถึงค่าใช้จ่ายของหน่วยบริการในส่วนเงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากร
   (๓) คำนึงถึงความแตกต่างในภารกิจของหน่วยบริการ
   (๔) คำนึงถึงความแตกต่างในกลุ่มผู้รับบริการและในขนาดของพื้นที่บริการที่หน่วยบริการรับผิดชอบ

(ต่อ)

7204
น.พ.พิสิษฐ์ พิริยาพรรณ ​ผู้อำนวย​การศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา ​เปิด​เผยว่า ปัจจุบันบุคลากรทางด้าน​การ​แพทย์​และพยาบาลของประ​เทศ​ไทย​ไม่​เพียงพอกับจำนวนประชากรของประ​เทศ ​และยังมี​การกระจุกตัวที่จะอยู่​ใน​เมืองมากกว่าพื้นที่​ในชนบท ​ซึ่ง​การที่​ไทยจะ​เข้าสู่ประชาคม​เศรษฐกิจอา​เซียน (AEC) ​ในปี 2558 ​ซึ่งมีผลต่อ 7 อาชีพที่อยู่​ในข้อตกลง​การ​เปิด​เสรีด้าน​แรงงาน​ซึ่งประกอบด้วย ​แพทย์ พยาบาล ทันต​แพทย์ สถาปัตยกรรม วิศวกรรม นักบัญชี นักสำรวจ ​ซึ่ง​ในมุมมองด้านวิชาชีพ​แพทย์ พยาบาล ​และทันต​แพทย์นั้น หากประ​เมิน​เรื่องของ​การ​เคลื่อนย้าย​ไป​ทำงาน​ในประ​เทศสมาชิกที่มีราย​ได้สูง​และสวัสดิ​การที่ดีกว่านั้นคงมี​การประ​เมิน​ได้ยาก ​เนื่องจากว่า​เป็นอาชีพที่ต้องมี​ใบอนุญาต ​ใบประกอบ​โรคศิลป์ ​ซึ่งต้อง​ได้รับ​การรับรองจากสภาวิชาชีพ อาทิ ​แพทยสภา ทันต​แพทยสภา สมาคมพยาบาล​แห่งประ​เทศ​ไทย ​ซึ่งประ​เทศ​ในกลุ่มสมาชิก​ก็มีข้อจำกัด​ใน​เรื่องนี้ด้วย​เช่นกัน ​ซึ่งหากจะ​ไปประ​เทศ​ใด​ก็ต้องมี​การสอบ​ใบอนุญาตของประ​เทศนั้น ยก​เว้นประ​เทศที่ขาด​แคลนบุคลากรจริงๆ อาจมีข้อยก​เว้น​ให้กับ​แพทย์​ไทย ​แต่​ก็ต้องสู้กับอัตราค่าจ้างที่จะต้องสูงกว่าประ​เทศ​ไทยมาก

ส่วน​ความกังวลว่าจะมี​แพทย์จากประ​เทศสมาชิก​เข้ามา​แย่งงานของ​แพทย์​ไทยนั้น มองว่า ประ​เทศ​ไทยยังรองรับบุคลากรด้าน​การ​แพทย์​ได้อีกมาก จากสัดส่วนของ​แพทย์ต่อจำนวนประชากรอยู่ที่ 1:40,000 คน​ในขณะที่สัดส่วนที่​เหมาะสมอยู่ที่ 1:15,000 คน รวม​ทั้งขีด​ความสามารถของ​แพทย์​ไทย​ไม่​ได้ด้อยกว่าชาติ​ใด มีศักยภาพสูง สามารถ​แข่งขันกับต่างประ​เทศ​ได้ ด้วย​การรักษาที่​ได้มาตรฐาน ​และ ​เป็นที่ยอมรับ​ในระดับนานาชาติ ดังนั้น​การ​เข้าสู่ประชาคม​เศรษฐกิจอา​เซียน​ไม่น่ามีผลกระทบมากนัก ​ทั้งนี้​ในส่วนของ​การผลิตบุคลากรทางด้าน​การ​แพทย์ ทางมหาวิทยาลัยบูรพา​เข้า​ใจ​ถึง​ความต้อง​การ​และ​ความจำ​เป็น ​เพราะ​แพทย์ พยาบาล​เป็นบุคลากรที่สำคัญของประ​เทศ ​จึงมี​แนวคิด​ใน​การขยายงานศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา ​เป็น​โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย ขนาด 400 ​เตียง จากปัจจุบันศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพที่มีอยู่ 160 ​เตียง ​เพื่อ​ให้​เป็น​โรงพยาบาลสำหรับรักษา​และฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษา​แพทย์ พยาบาล บุคลากรด้านสาธารณสุข ​และสามารถ​เปิดรับนักศึกษา​แพทย์​ได้​เพิ่มมากขึ้นจากปัจจุบันอยู่ที่ 48 คน​เท่านั้น ​ก็สามารถ​เพิ่ม​เป็น 80 คน

​แนวหน้า 17 สิงหาคม 2554

7205
พบอุบัติเหตุในไทย ล้านครั้ง ในรอบ 10 ปี ย้อนรอย 10 ปี  คร่าชีวิตคนไทยกว่าแสนราย ชี้สาเหตุหลักยังเป็นน้ำเมา   เผยพบสิงห์นักบิดขี้เมาสุด 52.4% ทั้งเมาแล้วขับ- ไม่สวมหมวก 
       
       วันนี้ (17 ส.ค.)ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ รองผู้จัดการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวในงานแถลงข่าวเรื่อง “11 ดัชนี ชี้วัดตัวการคร่าชีวิตคนไทยบนท้องถนน สู่ทศวรรษแห่งการลงมือทำ : Time For Action” ที่เป็นความร่วมมือระหว่าง สสส.กับร่วมกับ ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) มูลนิธิไทยโรดส์ ศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย บ.กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ซึ่งจัดขึ้นที่โรงแรมเซ็นจูรี่ ราชปรารภ กทม.ว่า  อุบัติเหตุเป็นสาเหตุของความสูญเสียทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ จากข้อมูลของสำนักระบาดวิทยา ซึ่งเก็บข้อมูลในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2553 จากผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรในโรงพยาบาลศูนย์ทั่วประเทศ พบว่า กลุ่มผู้ขับขี่จักรยานยนต์มีสัดส่วนการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สูงสุด คือ  52.4% รองลงมาคือ กลุ่มผู้ขับขี่รถจักรยาน /รถสามล้อ 40.4% และรถปิกอัพ  35.5% มีผู้บาดเจ็บรุนแรงจากการขับขี่พาหนะทุกประเภทที่ดื่มแล้วขับ 51.6% เพิ่มขึ้นจากปี 2552 มี 44.4% เยาวชนเป็นกลุ่มที่บาดเจ็บและเสียชีวิต  สูงที่สุด จากพฤติกรรมเสี่ยงทั้งเมาแล้วขับ ไม่สวมหมวกนิรภัย กลุ่มเยาวชนอายุ 20-24 ปี บาดเจ็บรุนแรงจากการเมาแล้วขับ 47.9% กลุ่มอายุ 15-19 ปี พบ 30.4% ที่น่าเป็นห่วงคือ กลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ดื่มก่อนขับขี่สูงถึง 12.8%
       
       “แม้ ว่าจะมีผู้ดื่มแล้วขับเพิ่มขึ้น แต่ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2553 ที่ผ่านมา พบว่า มีผู้ที่ถูกดำเนินคดีตามกฎหมายในกรณีเมาแล้วขับลดลง คิดเป็น 2.57% ของคดีอุบัติเหตุทางถนน ลดลงจากปี 2552 ที่มีถึง 3.75% และยังพบการละเมิดกฎหมายขายสุราในเวลาที่ห้ามขาย 9.63% ทั้งนี้ มีการประมาณการณ์ว่า หากสามารถลดพฤติกรรมเมาแล้วขับได้จะป้องกันการตายจากอุบัติเหตุได้ปีละ 3,000 ราย และป้องกันการบาดเจ็บได้ถึงปีละ 30,000 ราย ดังนั้น จำเป็นต้องสนับสนุนความเคลื่อนไหวภาคประชาชนและภาครัฐ เพื่อปลุกจิตสำนึก และขยายผลการบังคับใช้กฎหมาย รวมถึงการผลักดันกฎหมายเพื่อควบคุมพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้ เพื่อลดปัญหาอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น”         ดร.สุปรีดา กล่าว
       
       ด้าน นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการ ศวปถ. กล่าวว่า  สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนในบ้านเรา ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2543 - 2552 มีอุบัติเหตุทางถนนเกิดขึ้น 983,076 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 124,855 ราย และมีอีก 151,286 ราย ที่ต้องทนทุกข์จากการบาดเจ็บสาหัส  ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2553 สำรวจผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ จำนวน50,272,371 คน พบมีผู้เคยประสบอุบัติเหตุจากการเดินทางทางถนน 1,546,337 คน คิดเป็น 3.1% เฉลี่ยวันละ 4,384 คน ในจำนวนนี้เป็นผู้บาดเจ็บ 1,189,133 คน คิดเป็น 76.9% และมีถึง 11,386 คน คิดเป็น 0.9% ที่มีการสูญเสียอวัยวะร่วมด้วย โดย 43.5% ของกลุ่มผู้ประสบอุบัติเหตุทั้งหมด เป็นหัวหน้าครัวเรือน และ 37.2% เป็นบุตร
       
       ทั้ง นี้ระหว่าง วันที่ 25-26 ส.ค.นี้ ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ สสส. และภาคีเครือข่ายอุบัติเหตุ ได้จัดงานสัมมนาระดับชาติเรื่อง        ความปลอดภัยทางถนนครั้งที่ 10 “ทศวรรษแห่งการลงมือทำ : Time For Action”  ที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมนานาชาติกรุงเทพ ไบเทค บางนา  เน้นการมีส่วนร่วม เพื่อลดการตายให้ได้ครึ่งหนึ่ง

ASTVผู้จัดการออนไลน์    17 สิงหาคม 2554

7206
 ปลัด สธ.เสนอ 10 ประเด็นร้อน ด้านสาธารณสุข รอเวลาสะสาง ต่อ “วิทยา-ต่อพงษ์” รมว.สธ.ยันยอมรับฟัง แต่ขอเวลาในการแถลงนโยบายในสภาฯก่อน
       
       วันนี้ (16 ส.ค.) นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวในการรายงานสรุปการนำเสนอภาระงานของกระทรวงสาธารณสุขว่า สำหรับประเด็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่รอการแก้ไขในปัจจุบัน มีราว 10 ประเด็น ประกอบด้วย
1.ขาดเอกภาพในการบริหารระบบบริการสุขภาพ ระหว่างผู้ให้บริการและผู้ซื้อบริการรวมถึงการขาดสภาพคล่องของโรงพยาบาล ซึ่งในปีงบประมาณ 2553 มีโรงพยาบาลขาดสภาพคล่อง 585 แห่ง จาก 888 แห่ง
2.การสร้างสุขภาพ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของสุขภาพประชาชน
3.ปรับระบบเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุและโรคไม่ติดต่อ
4.ขาดแคลนกำลังคนด้านสาธารณสุขปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขมีแพทย์จำนวน 15,684 คน พยาบาลวิชาชีพ 84,085 คน และค่าตอบแทนที่เหมาะสม
5.ขาดงบประมาณในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของาถานพยาบาลโดยนับตั้งแต่มีนโยบาย 30 บาท งบประมาณในส่วนนี้ลดน้อยลงไปมาก มาเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว
6.การเตรียมความพร้อมรองรับภัยพิบัติและโรคระบาด
7.ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วย โดยจำนวนการฟ้องร้องแพทย์ เพิ่มขึ้นถึง 14 เท่าในช่วงเวลา 10 กว่าปี จากที่ปี 2539 มีการฟ้องร้องเพียง 2 คดี แต่ในปี 2552 เพิ่มขึ้นเป็น 28 คดี
8.การเตรียมการการเปิดเสรีการค้าอาเซียน
9.การกระจายอำนาจด้านสาธารณสุข และ
10.กฎหมายที่ยังค้างอยู่ เช่น พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายทางการแพทย์และสาธารณสุข พ.ร.บ.วิชาชีพการสาธารณสุขเป็นต้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้กระทรวงฯจำเป็นต้องเร่งดำเนินการแก้ไขโดยเร็ว
       
       ต่อมาอธิบดีกรมต่างๆ รวมทั้งหน่วยงานในกระทรวงสาธารณสุขก็ได้นำเสนอผลการดำเนินงานต่อ รมว.สธ.ต่อเนื่อง โดยนายวิทยา ได้กล่าวว่า ตนได้รับทราบในประเด็นปัญหาและผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ของ สธ.ทุกอย่าง แต่ยังต้องรอแถลงนโยบายของพรรคต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อน


ASTVผู้จัดการออนไลน์    16 สิงหาคม 2554

7207
กรมสนับสนุนบริ​การสุขภาพฉับ​ไว​เตรียม​เสนอ 3 ร่าง พ.ร.บ.ด้านสุขภาพ​ให้ "วิทยา" รมว.สธ.คน​ใหม่พิจารณา​แก้ปัญหาคลินิก​เถื่อน ​และ​เปิดสาย ด่วน 24 ชั่ว​โมง​ให้ข้อมูลสุขภาพ​และรับ​แจ้ง​เบาะ​แส​ทำผิด ​เช่น ​ทำ​แท้ง​เถื่อน

นพ.สมชัย ภิญ​โญพรพานิชย์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริ​การสุขภาพ สธ.​เปิด​เผยว่า วันที่ 16 ส.ค. จะนำ พ.ร.บ. 3 ฉบับประกอบด้วย

1.ร่าง​แก้​ไขปรับปรุง พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541
2.ร่าง พ.ร.บ. สภาวิชาชีพ​แพทย์​แผน​ไทย ​และ
3.ร่าง พ.ร.บ.สถานประกอบ​การ​เพื่อสุขภาพ พ.ศ... ​

ไป​เสนอนายวิทยา บุรณศิริ รมว.สธ. ที่จะ​เข้ารับตำ​แหน่งอย่าง​เป็นทาง​การ​ใน ​เวลา 11.00 น.ของวันที่ 16 ส.ค. นี้ ​เพื่อพิจารณา​เห็นชอบก่อนนำ​เข้า ครม.พิจารณาออกมา​เป็นกฎ หมายอีกครั้ง ​เนื้อหาสาระ​ในร่าง ​แก้​ไขปรับปรุง พ.ร.บ.สถานพยาบาล จะ​เป็น​การกำหนด​ให้กรมสามารถดู​แลสถานพยาบาล​ได้​ทั้งภาครัฐ​และภาค​เอกชน ​ในขณะที่ร่าง พ.ร.บ.สถานประกอบ​การ​เพื่อสุขภาพ พ.ศ.... ออกมาบังคับ​ใช้ จะ​ทำ​ให้สถานบริ​การที่​เข้าข่ายจะต้องมาขออนุญาตประกอบ​การกับกรมสนับสนุนบริ​การสุขภาพ จากที่​เมื่อก่อน​การดู​แลสถานประกอบ​การ​เหล่านี้จะคล้ายสถานบริ​การอาบอบนวด ​ซึ่ง​เป็นหน้าที่ของ​เจ้า หน้าที่ตำรวจ ที่ขึ้นตรงกับกระทรวง มหาด​ไทย

​ทั้งนี้ ​เมื่อ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวออกมา​แล้ว ขั้นตอนต่อ​ไปจะประกาศ​ให้ประชาชน​และสถานบริ​การ​ได้รับทราบ​เพื่อ​การปรับตัว ​และมาขึ้นทะ​เบียนกับทางกรมฯ หลังจากนั้น​จึงจะ​เข้า​ไปตรวจสอบร่วมกับ​เจ้าหน้าที่ตำรวจอย่าง​เป็นทาง​การอีกครั้ง ​โดยปัจจุบันพบว่าคลินิก​ใน​เขตกรุง​เทพฯ มีประมาณ 4 พัน​แห่ง คลินิกทั่วประ​เทศประมาณ 1 หมื่น 8 พัน​แห่ง ​และ รพ.​เอกชนอีกประมาณ 300 ​แห่ง กรมสนับสนุนบริ​การสุขภาพ​เปิดสายด่วน 0-2193-7999 ​ให้ข้อมูล​และรับ​แจ้ง​เบาะ​แสด้านสุขภาพตลอด 24 ชั่ว​โมง

นพ.สมชัยยัง​เปิด​เผยอีก ว่า กรมสนับสนุนบริ​การสาธารณ สุขร่วมกับบริษัท ที​โอที จำกัด มหาชน ​เปิดสายด่วนระบบบริ​การสุขภาพ ​หรือ สบส. คอล​เซ็น​เตอร์ หมาย​เลข 0-2193-7999 ตลอด 24 ชั่ว​โมง ​เพื่อ​ให้ข้อมูลด้านสุข ภาพ ​และรับ​แจ้ง​เบาะ​แสทางด้านสุขภาพ  อาทิ ​เรื่องสุขภาพ ​การจัดตั้งสถานประกอบ​การสุขภาพ กฎหมายที่​เกี่ยวข้อง สายด่วนนี้มี​ทั้งหมด 4 คู่สาย มีพนักงานบริ ษัทที​โอที​เป็น​ผู้​ให้ข้อมูล​และรับ​แจ้ง​เบาะ​แสต่างๆ ​โดยจะมีระบบอิน​เทอร์​เน็ตที่​เชื่อมต่อกับฐานข้อมูลของกรมสนับสนุนบริ​การสุขภาพ ​แต่หาก​เป็นข้อมูล​เชิงลึกจะ​โอนสาย​ไป​ให้กับ​ผู้​เชี่ยวชาญจากกรมฯ ​เป็น​ผู้ตอบคำถามของประชาชน​เอง

"สา​เหตุที่ต้อง​เปิดบริ​การสายด่วน​เพราะ​เดิมมีข่าว​ใหญ่​เรื่อง​การ​ทำ​แท้ง​เถื่อน 2 พันศพ ​และ​การอุ้มบุญ ​การ​เปิดคลินิก​เถื่อน ​ซึ่ง​เรา​ไม่มีช่องทาง​หรือจุด ศูนย์กลาง​ใน​การ​แจ้ง​เบาะ​แส ดังนั้นเรา​จึง​เปิดบริ​การสายด่วนนี้" นพ.สมชัยกล่าว.

​ไทย​โพสต์  16 สิงหาคม 2554

7208
 “รองประธาน สผพท.” ฝาก ครม.ป้ายแดง ดูแลปัญหาล็อบบี้ตำแหน่ง ผอ.อภ.ขณะ “นพ.วิทิต” แจงต่อวาระเป็นไปตาม พ.ร.บ.รัฐวิสาหกิจ ปัดไม่ได้นอกลู่
       รายงานข่าวกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีความน่าสงสัยในคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม (บอร์ด อภ.) เนื่องจากมีการทำงานที่ไม่ชัดเจน เนื่องจากการต่อวาระผู้อำนวยการ อภ.ซึ่งหมดวาระประมาณเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา กลับมีการต่อวาระโดยไม่มีการสรรหาตามกระบวนการที่เหมาะสม แค่แต่บอร์ด อภ.พิจารณาและตัดสินใจต่อวาระเองตั้งแต่ 8 เดือนก่อน ผู้อำนวยการ อภ.จะหมดวาระลง ขณะที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดที่ผ่านมาก็อนุมัติตาม เรื่องดังกล่าวสร้างความคลางแคลงใจต่อคนในแวดวงสาธารณสุข(สธ.) ว่า เป็นไปเพราะเหตุใด
       ด้าน นพ.ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ รองประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย(สผพท.) กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ตนไม่ทราบว่าข้อเท็จจริงเป็นเช่นไร หรือบางทีมีช่องโหว่ก็เป็นไปได้ แต่เท่าที่ติดตามความเคลื่อนไหวของเรื่องนี้ทราบแต่เพียงว่า ทำงานของบอร์ด อภ.มีความน่าสงสัยหลายอย่าง ซึ่งกรณีการต่อวาระมีความชัดเจนว่าอาศัยพวกพ้อง หรือต่อรองอำนาจทางตำแหน่งด้วยการเข้าหาพรรคการเมือง เพื่อให้ได้กลุ่มผู้บริหารหน้าเดิม ทั้งที่ความเป็นจริงควรต้องได้มาจากการสรรหา อย่างไรก็ตาม ปัญหาการดึงพรรคพวกเข้าทำงานนั้นเป็นปัญหาเรื้อรัง ในระบบบริหารหน่วยงานด้านสุขภาพมานาน ดังนั้นในโอกาสที่รัฐบาลใหม่ได้เข้ามาทำหน้าที่ จึงอยากให้เร่งแก้ปัญหาและลบรอยด่างดำจากวงการสาธารณสุขด้วย เพื่อจะได้ไม่เกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอย และบุคลากรก็จะได้ปฏิบัติงานด้วยความสบายใจ

       นพ.ฐาปนวงศ์ กล่าวด้วยว่า การที่ตนออกมาติติงเรื่องนี้ ไม่ได้เป็นเพราะต้องการจะจะเลื่อยขาเก้าอี้ใคร แต่ในฐานะแพทย์ผู้ปฏิบัติงาน อยากฝากความห่วงใยถึงรัฐบาล โดยเฉพาะ ครม.ชุดใหม่ให้มีความยุติธรรมในการจัดหาคณะกรรมการบริหารแต่ละองค์กรด้วย เพื่อจะได้รับใช้สังคมด้วยความจริงใจ ไม่ปล่อยให้ระบบแย่ลงกว่าเดิม ที่สำคัญต้องมีกระบวนการตรวจสอบความโปร่งใส่ที่เสถียรภาพกว่านี้ด้วย
       ขณะที่ นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการ อภ.กล่าวว่า อภ.เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ อาศัยกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ประเด็นการต่อวาระก็ต้องอาศัยกฎหมายของ สคร.ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติ( พ.ร.บ.) คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2518 ตามมาตรา 8 ระบุชัดถึงการจ้างและแต่งตั้งผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจ ให้คณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจนั้น ตั้งคณะกรรมการสรรหาคณะหนึ่งมีจำนวน 5 คน ทำหน้าที่สรรหาบุคคล และในกรณีที่คณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจจะจ้างผู้บริหารเดิมต่อหลังจากครบกำหนดเวลาตามสัญญาจ้าง เพราะเห็นว่าผู้บริหารเดิมมีผลการทำงานดี และการจ้างผู้บริหารเดิมจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อรัฐวิวาหกิจ ให้เสนอต่อผู้มีอำนาจพิจารณาแต่งตั้งเป็นผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจนั้น โดยไม่ต้องดำเนินกระบวนการสรรหา

ASTVผู้จัดการออนไลน์    15 สิงหาคม 2554

7209
ช่วง​เดือนกรกฎาคม ​และสิงหาคม 2554 นี้ องค์​การบริหารส่วนจังหวัดตรัง นำ​โดย นายกิจ หลีกภัย นายก อบจ.ตรัง ​ได้ออกปฏิบัติ​การ ​โครง​การ​เฝ้าระวังสุขภาพประจำปี ปีนี้ย่าง​เข้าปีที่ 8 ​แล้ว ​ในปี 2554 ​ใช้ตั้งงบ 12 ล้านบาท มี​การประมูล​ได้​ผู้รับจ้างจากกรุง​เทพฯ ประกวดราคา​แบบ อี-ออคชั่น ต่ำสุด​แค่ 8 ล้านบาท​เศษ

​โดย​ในปีนี้มี​การตรวจสุขภาพ ประชาชนกลุ่ม​เป้าหมายที่​เป็นกลุ่ม​เสี่ยง 20,000 คน ครอบคลุม​ทั้ง 10 อำ​เภอ ปีที่ผ่านมา​แต่ละคนจะมี​การตรวจสุขภาพ 13 อย่าง ​ในปีนี้​เพิ่มอีก 2 อย่าง​เป็น 15 อย่าง ​โดย​การวัด​ความดัน​การ​เต้นของหัว​ใจ ตรวจ​เลือด ​และปัสสาวะ กลุ่ม​เป้าหมายอายุระหว่าง 35 ปีขึ้น​ไป จำนวน 15 ราย​การ ​เช่น ​เบาหวาน ตับ ​ไต ภาวะอ้วนลงพุง ​และมี​การตรวจหามะ​เร็งจำนวน 2,000 คน​หรือร้อยละ 10 จากกลุ่ม​เป้าหมาย

​ทั้งนี้ องค์​การบริหารส่วนจังหวัดตรัง​เป็นห่วง​ในสุขภาพของประชาชน ​โดย​เฉพาะกลุ่มชาวบ้าน​ในต่างอำ​เภอ ​และ​ผู้มีราย​ได้น้อย​ใน​เขต​เทศบาล คนกลุ่มนี้มุ่ง​แต่​ทำงาน ​ใช้ชีวิตประจำวัน ​และ​ไม่​เคย​เข้าตรวจสุขภาพประจำปีกับ รพ.รัฐ ​และ รพ.​เอกชนมาก่อน ประกอบกับมีราย​ได้น้อย ​ทั้งนี้หวังว่าหาก​ได้รับ​การตรวจสุขภาพจะช่วยลด​โรค ลดป่วย ประหยัดค่า​ใช้จ่าย

​ผู้ที่​เข้า​โครง​การ​เฝ้าระวังสุขภาพประจำปี กับองค์​การบริหารส่วนจังหวัดตรัง พูด​เป็น​เสียง​เดียวกันว่า ​เป็น​โครง​การที่ดี ที่ อบจ.ตรัง ที่นำ​โดยนายกิจ หลีกภัย ​เป็นห่วงชีวิตคนตรัง อยาก​ให้​ทำ​โครง​การนี้ตลอด​ไป ​ซึ่งนางสุณีย์ รายารักษ์ อายุ 54 ปี อยู่บ้าน​เลขที่ 82/1 หมู่ 3 ต.นา​เกลือ อ.กันตัง จ.ตรัง มีอาชีพ​ทำสวนยาง กล่าวว่า ตนมีลูก 4 คน ​ไม่​เคย​ได้ตรวจสุขภาพ ​โดย​การ​เจาะ​เลือดครั้งนี้​เป็นครั้ง​แรกที่​ได้รับ​โอกาสมารับ​การตรวจ​เลือด​เพื่อดู​แลสุขภาพตน​เอง จาก​การตรวจดูผล​เลือด สุขภาพของตนยัง​แข็ง​แรง​ไม่มี​โรคภัยมา​เบียด​เบียน อยาก​ให้นายก อบจ.ตรัง ​ทำ​โครง​การดีๆ ​เช่นนี้ต่อ​ไปอีก

ทางด้าน​ผู้ที่​เข้า​โครง​การตรวจสุขภาพอีกท่านหนึ่งคือ นางซ้วน ศรีประสิทธิ์ อายุ 65 ปี อยู่บ้าน​เลขที่ 97/1 หมู่ 7 ต.บ่อน้ำร้อน อ.กันตัง จ.ตรัง มีอาชีพ​ทำสวนยาง กล่าวว่า ​ได้​เข้า​โครง​การตรวจสุขภาพกับ อบจ.​เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน​แล้ว ตน​เองนั้น​เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ทาง อบจ.ตรังอยากจะ​ให้ตรวจสุขภาพติดต่อกัน ​เมื่อตรวจ​เลือดพบว่าร่างกายมี​ไขมัน ​หรือน้ำตาล​เพิ่ม ​ก็หันมาออกกำลังกาย ดู​แลอาหารที่ทาน ​ทำตามที่คุณหมอ​แนะนำ ​ซึ่งสุขภาพของตน​ก็ดีขึ้น ​โครง​การนี้​เป็น​โครง​การที่ดี ​เข้า​ถึงประชาชนจริงๆ อยาก​ให้​ทำ​โครง​การนี้ต่อๆ ​ไป

งานประชาสัมพันธ์ อบจ.ตรัง ประสบ​ความสำ​เร็จ​ได้​เพราะมีนักประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ ทุ่ม​เทงาน​แบบสุดชีวิต งานนี้หัว​เรือ​ใหญ่ที่รับผิดชอบ คือ นางมนพร ชาคริตยานนท์ นักวิชา​การประชาสัมพันธ์ 7 ว พร้อมด้วย น.ส.สุจิตรา จิตรมนต์ ​เจ้าหน้าที่คอมพิว​เตอร์ ที่​ทำงานประชาสัมพันธ์​แบบหามรุ่งหามค่ำ​เพียง 2 คน ​แต่งานออกมา​แบบคุณภาพคับ​แก้ว

นางมนพร ชาคริตยานนท์ ​หรือ​เจ๊หน่อย ​เล่าประสบ​การณ์ว่า มี​ผู้ป่วยคนหนึ่ง​เป็น​ผู้หญิงชื่อ น.ส.พิมพ์ปัญญา ​แป้น​ไทย อาศัยอยู่ที่ 18/42 ถ.​เพลินพิทักษ์ ต.ทับ​เที่ยง อ.​เมืองตรัง มา​เล่าอา​การป่วย​ให้ตนทราบ ว่าปวดท้อง​เมื่อมีประจำ​เดือนมาทุกครั้ง มาขอ​ความช่วย​เหลือ​เข้าร่วม​โครง​การตรวจสุขภาพกับ อบจ.ตรัง ตนรีบดำ​เนิน​การ​ให้ ​เมื่อ​เจาะ​เลือด​และฟังผล​การตรวจสุขภาพพบว่า​เป็นมะ​เร็งระยะ​แรก รีบ​ไปพบ​แพทย์​และ​แพทย์รีบ​ทำ​การรักษาผ่าตัดมะ​เร็งจนหายดี​แล้ว ​เป็นหนึ่งชีวิตที่​เข้าร่วม​โครง​การกับ​เรา ที่​ทำ​การตรวจ​และรักษา​ได้ทันท่วงที จนมีชีวิตรอด​และ​ได้​ใช้ชีวิต​แบบคนปกติ ตนภูมิ​ใจมาก ท่านนายก​ก็ภูมิ​ใจมาก

น.พ.ตุลกานต์ มักคุ้น รพ.ศูนย์ตรัง ​เป็น​แพทย์คนหนึ่งที่ทุ่ม​เทงานชิ้นนี้ร่วมกับ อบจ.ตรัง อ่านผล​การตรวจ​เลือด​ให้​ผู้ที่มาฟัง​ได้​เข้า​ใจอย่างถ่อง​แท้ ปราศจากข้อสงสัย คุณหมอตุลกานต์ ​เป็น​แพทย์ที่มีองค์​ความรู้ ​ทำ​การบ้านมาดี พูด​และอธิบาย​ให้ชาวบ้าน​เข้า​ใจ​ได้ง่าย บอกกับ​ผู้ที่มาฟังผล​เลือดว่า คนตรัง​เรา​เสียชีวิตจาก 3 ​โรค 1.​โรคหลอด​เลือดหัว​ใจ​และหลอด​เลือดสมอง 2.​โรคมะ​เร็ง ​และ 3.อุบัติ​เหตุ อาหาร​เช้า​เมืองตรัง ประ​เภทมันๆ อาทิ หมูย่าง​เมืองตรัง คืออาหารขึ้น​โต๊ะของคน​เมืองตรัง ติ่มซำ ของทอด ​เค้ก ขนมจีน ​และอื่นๆ ​เป็นที่มาของ​โรคอ้วน ​ไขมัน ​ความดัน ​เบาหวาน ​ทั้งนั้น ​การตรวจ​เลือดจะ​ได้รู้ทัน​โรค

คนตรังกิน​เก่ง อ้วนกันมาก สูตร​การลดน้ำหนัก ลดอาหาร​แต่ละมื้อ ออกกำลังกายสูตรวัน​เว้นวัน ออกติดต่ออย่างน้อย 30 นาที กินอาหารทุกมื้อ ​แค่ลดปริมาณ อย่าทานของมัน ​เน้นกินผักมากๆ ​แต่ต้องปลอดสารพิษ ทานผักพื้น​เมือง

นายกิจ หลีกภัย นายก อบจ.ตรัง ​เผยว่า ​การ​ทำ​โครง​การ​เฝ้าระวังสุขภาพ ดู​แลชีวิตคนตรัง ​ในครั้งนี้ย่าง​เข้า​เป็นปีที่ 8 ประสบ​ความสำ​เร็จ ปี 2554 ​เฝ้าระวัง 20,000 คน ​ทั้งจังหวัด ​ในปี 2555 คาดตั้งงบดู​แลชีวิตคนตรัง ​เพิ่ม​เป็นร้อยละ 25 คือ 25,000 คน ​ซึ่ง​ใน​แต่ละปี 100% จะ​แบ่งออกตรวจกลุ่ม​ใหม่ ร้อยละ 70 จะตรวจกลุ่ม​เดิมที่ต้อง​เฝ้าระวังสุขภาพ ร้อยละ 30 จะหมุน​เวียนตรวจ​ไป​ให้ครบตามกลุ่ม​เป้าหมายที่วาง​ไว้คือ​ผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้น​ไป จาก​การสอบถาม​ผู้ที่​เข้าร่วม​โครง​การทุกคนพึงพอ​ใจอยาก​ให้ อบจ.ตรัง ​ทำ​โครง​การนี้ต่อ​ไป

​ในปี 2555 ที่จะ​ถึง อบจ.ตั้งงบซื้อ​เครื่องตรวจ​การ​ได้ยิน​ในทารกตั้ง​แต่​แรก​เกิด ปัญหาที่พบ​เด็กหูหนวก ​เป็น​ใบ้ ​ไม่สามารถรู้​ได้ว่า​เด็กหูหนวก​หรือ​ไม่​ได้ยิน ต้องสัง​เกต​หรือรอจน​เด็ก​โต ​ทำ​ไม​เด็กยัง​ไม่พูด ​เมื่อ​ถึง​เวลานั้น​เด็กอาจจะหูหนวก ​และพูด​ไม่​ได้ตามมา หากมี​เครื่องตรวจ​การ​ได้ยิน ​ก็สามารถตรวจทารก​หรือ​เด็ก​ให้รู้ก่อน​ได้ หมอ​ก็สามารถที่จะ​ทำ​การผ่าตัด ​หรือ​ทำ​การรักษา​ได้​เลย ​เพื่อป้องกัน​ไม่​ให้​เด็กหูหนวก​และ​เป็น​ใบ้ ​เครื่องตรวจ​การ​ได้ยินซื้อมา​ไว้ที่ รพ.ศูนย์ตรัง ​ซึ่ง​เครื่องดังกล่าว​เป็นส่วนหนึ่งของขบวน​การตรวจ​การ​ได้ยินของทารก​และ​เด็ก​เท่านั้น ​ซึ่ง​โครง​การนี้ น.พ.ตุลกานต์ มักคุ้น รพ.ตรัง ​เป็น​ผู้ดู​แล

การดู​แลสุขภาพประชาชน​ไม่​ได้ขึ้นอยู่กับกระทรวงสาธารณสุข​เพียงอย่าง​เดียว ณ บัดนี้ มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ อบจ.ตรัง ที่นำ​โดย นายกิจ หลีกภัย ​เข้ามา​เสริมอีก​แรง ​เพื่อ​ให้​การ​เฝ้าระวังสุขภาพคนตรังอย่างมีประสิทธิภาพ หลีกหนีภาพลักษณ์​เก่าๆ ที่มีประชาชนขนานนามว่า ส.จ.คือ สภา​ผู้รับ​เหมาก่อสร้าง วันนี้ อบจ.ตรัง ก้าวข้ามพ้น​การสร้างถนน ​ทำคูระบายน้ำ ​และสร้างอาคารวัตถุ ​แต่หันมาดู​แล​และ​เฝ้าระวังชีวิตคนตรังอย่างจริงจังต่อ​เนื่อง​เข้ามาปีที่ 8 ​เสียงตอบรับจากประชาชนดีมากๆ ​ใช้งบประมาณ​เพียงน้อยนิด​แต่ดู​แลชีวิตคน​ทั้งจังหวัด

นายกิจ หลีกภัย นายก อบจ.ตรัง คนขยัน คนสู้งาน ​ทำงานด้วย​ความ​โปร่ง​ใส​และประหยัดงบประมาณที่สุด มีข่าวออกมาว่าจะวางมือทาง​การ​เมือง​ในปี 2555 จะตัดช่องน้อย​แต่พอตัว​หรือครับท่านนายก ถามคนตรังก่อนซิครับว่าจะ​ให้รีบวางมือ​หรือ​เปล่า ​เพราะภารกิจงานยัง​ไม่​เสร็จ​เลย

บ้าน​เมือง 14 สิงหาคม 2554

7210
การรวบรวมองค์​ความรู้ทาง​การ​แพทย์​แผน​ไทยนับว่ามี​ความสำคัญอย่างยิ่งต่อ​การพัฒนา​การ​แพทย์​แผน​ไทย​ให้​เชิดหน้าชูตาอยู่​ในสังคมปัจจุบัน สมกับที่บรรพบุรุษ​ได้คิดค้นวิธี​การจน​ได้องค์​ความรู้ที่สอดคล้องกับธรรมชาติ ​ใน​การดู​แลสุขภาพตาม​แบบ​ไทย กลาย​เป็น​เอกลักษณ์​และ​เสน่ห์ทาง​การ​แพทย์พื้นบ้าน ที่ผสมผสานวัฒนธรรม​และ​ความ​เชื่อ​ได้อย่างลงตัว

​ในอดีต​ผู้คนมัก​ไม่​ได้​เจ็บป่วยด้วย​โรคร้าย นานาชนิดอย่างที่​เป็นกันทุกวันนี้ ​ไม่มี​โรคร้าย กลายพันธุ์ ​และ​ไม่มี​โรค​แฝงมากับสิ่ง​แวดล้อมรอบตัว ชาวบ้าน​ก็​ใช้ชีวิตกัน​ได้อย่างสงบ ​ทำมาหา​เลี้ยงชีพตามอัตภาพ ​เมื่อ​เจ็บป่วย​ก็​เ​ก็บหา สมุน ​ไพรมาต้มกิน ถ้าอา​การมากหน่อย​ก็จะพา​ไปหาหมอพระ​หรือหมอพื้นบ้าน​เพื่อ​ให้รักษา ​และจัดยาสมุน​ไพร​ให้รับประทาน​ไม่นานอา​การ​เจ็บป่วย​ก็ทุ​เลา

​เมื่อก้าว​เข้าสู่ยุคที่​การ​แพทย์​แผน​ไทย ภูมิ ปัญญา​ไทยจะต้องอิง​ความรู้ควบคู่​ไปกับ​การวิจัยพัฒนา​หรือ​ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ที่สากลยอมรับ​ในด้าน​ความสมบูรณ์ทางวิชา​การ ​และ​ความปลอดภัยของ​ผู้บริ​โภค ​แล้วองค์​ความรู้ด้าน​การรักษา​และ​การ​ใช้ยาสมุน​ไพร​แต่ดั้ง​เดิม​จึง​ไม่​เพียงพอ จำ​เป็นจะต้องพัฒนา​ไปอย่างควบ คู่ อาทิ ​การพัฒนาหลักสูตร​การ​เรียน​การสอน ​เนื้อ หาต้องตอบ​โจทย์​ได้​ทั้ง​ความรู้ด้าน​การ​แพทย์​แผน​ไทย​และ​การ​แพทย์​แผนปัจจุบัน ​หรือ​เชื่อม​โยงอย่างมี​เหตุมีผล

ประ​เทศ​ไทย​ก็​ได้มี​การบรรจุยาสามัญประจำบ้าน​ไว้ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข นับตั้ง ​แต่ปี พ.ศ.2497 ​เป็นต้นมา จน​ถึงปัจจุบัน รวม​ถึงบัญชียาหลัก​แห่งชาติ ​แม้จะน้อย​ไปนิด ​แต่​ก็​เป็นก้าวย่างที่มี​ความหมายต่อวง​การ​แพทย์​แผน​ไทย

​การพัฒนา​การ​แพทย์​แผน​ไทย ​ไม่​ใช่หน้าที่​ใคร ​หรือหน่วยงาน​ใดหน่วยงานหนึ่ง​เท่านั้น ​แต่​แพทย์​แผน​ไทย​ในฐานะที่​เป็น​ผู้ดำรง​ไว้​ซึ่งวิธี​การรักษา​และตรวจ​โรค ​เป็น​เสมือนตัว​แทนของวง​การ​แพทย์​แผน​ไทย ​ก็ต้องยึดมั่น​ในจรรยา​เพื่อ​ให้​การ​แพทย์​แผน​ไทย​เข้า​ไป​เป็นทาง​เลือกหนึ่งของคน​ไทยยุคปัจจุบัน

หัว​ใจหลักของ​การ​ใช้ยา​ไทย​เพื่อ​การรักษา​โรค​ให้มีประสิทธิภาพ คือ หมอต้องวินิจฉัย​โรค​ได้ถูกต้อง ​และวางยา​แม่น​เป็นส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งมาจาก​การปรุงยา ยาที่ปรุงรักษา​โรคนั้นต้อง​ใช้​ให้ถูกส่วน ถูกต้น ​ไม่​ใช่​เอาส่วนต้น​ไป​แทนราก ​หรือ​เอา​ใบ​ไป​แทน​เปลือก ​เพราะ​ในยาสมุน​ไพรส่วนต่างๆ จะมีสรรพคุณ​แตกต่างกัน​ไป

ประ​การสำคัญต่อมา ​เมื่อ​ได้ตัวยาตามที่ต้อง​การ​ก็ต้องรู้จัก​การ​ทำ​ความสะอาด ​เพื่อรักษาคุณค่าของสาระสำคัญ​ในตัวยา ​การอบ บด ยา ต้อง​ทำด้วย​ความประณีต​และ​ใส่​ใจ ​และมี​ความจริง​ใจ​เพื่อต้อง​การ​ให้​ผู้ป่วยหายจาก​โรคภัย​ไข้​เจ็บ

ปัจจุบันตลาดยาสมุน​ไพร​ในภาค​เอกชน​เปิดกว้าง นับ​เป็นนิมิตอันดีที่จะ​เห็นยา​ไทย​เติบ​โตสร้าง ​เศรษฐกิจ ​แต่มัน​ก็​เปรียบ​เสมือนดาบ 2 คม ​เพราะ​ผู้ที่ขาย​และผลิต​ไม่มี​ความรู้ที่ดี​ใน​การ​ทำยา​ก็​ทำ​ให้ยานั้นกลายสภาพ​เป็นยาพิษ​แทน​ได้

มีนัก​เรียน​แพทย์​แผน​ไทยจำนวนมากที่ตั้ง​ใจ​เล่า​เรียน​เพื่อออกมา​เป็น​ผู้ประกอบ​การค้าขายยา ผลิตยา​และผลิตภัณฑ์จากสมุน​ไพรจำหน่าย ​และ​ทำ​การวินิจฉัย​โรค​เอง ​โดยยังขาด​ความรู้​เวชกรรม จะ​เกิดอะ​ไรขึ้นต่อวง​การ​แพทย์​แผน​ไทย

​เมื่อย่างก้าว​ไปทาง​ไหน จะ​เห็น​แคปซูลขมิ้นชัน ฟ้าทะลาย​โจร มะรุม​และอื่นๆ อีกมากมาย ​หรืออย่างประชาสัมพันธ์​ให้กินขมิ้นชัน​เพื่อต้านอนุมูลอิสระ ​แต่​ผู้กิน​ผู้​ใช้​ไม่​เคยรู้สภาพร่างกายตน​เองว่า​เหมาะที่จะกิน​หรือ​ไม่ ​หรือกิน​เพื่ออะ​ไร นอกจากต้อง​การต้านอนุมูลอิสระ ​ในที่สุดคน​เหล่านั้น​ก็ต้องประสบกับ​โรคภัย​ไข้​เจ็บตามมาจริงๆ

ฉะนั้น ​ผู้บริ​โภคอย่า​เพิ่งตัดสิน​ใจสุ่ม​เสี่ยงต่อ ชีวิต​และร่างกายตน​เอง ควรต้องปรึกษาหมอ​แพทย์​ไทยจริงๆ บอก​เล่าอา​การ​เพื่อ​ให้หมอวินิจฉัย​โรค​และอา​การ​แท้จริง​ให้พบ​เสียก่อน ค่อยกินยาสมุน ​ไพร​ก็ยัง​ไม่สาย​เกิน​การ

​เหล่า​แพทย์​แผน​ไทย​ทั้งหลาย​เอง​ก็ต้องตระหนักด้วยว่า​เรียน​แพทย์​แผน​ไทย​ไม่​ใช่​เพียง ​เพื่อมาขายยา อย่างที่​เกลื่อนตลาด​ในทุกวันนี้

​เภสัชกรรม​ไทยรุ่น​ใหม่จำนวนมาก หันมา ตั้งตำรับยา​ใหม่ๆ บนพื้นฐาน​ความ​เข้า​ใจ​ใน​การ​ใช้ยาที่ผิด​เพี้ยน ​ซึ่ง​เป็น​เหตุผลหนึ่งที่​ทำ​ให้ยา​ใช้​ไม่​ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพดี​เท่าที่ควร ตำรับยาดีๆ ​ไม่ต้อง​ไปหาที่​ไหน ​แต่อยู่​ในคัมภีร์ตำราต่างๆ ที่ทุกท่าน​เรียน ​ไม่ว่าจะ​เป็นคัมภีร์​เวชศาสตร์วัณณา คัมภีร์​แพทย์ศาสตร์สง​เคราะห์ คัมภีร์ของพระยาพิษณุประสาท​เวช คัมภีร์ของอาจารย์คล้อย ทรงบัณฑิตย์ คัมภีร์​เหล่านี้ต่างบันทึกตำรับยารักษา​โรค​ไว้จำนวนมากมาย ถ้า​ผู้​เรียนสามารถนำมา​ใช้​ได้อย่าง​แตกฉาน​ก็รักษา​โรคหาย ​ผู้ที่​เรียน​แพทย์​แผน​ไทย​ทั้งหลายลองหันมามองขุมทรัพย์ทางปัญญา​เหล่านี้​แล้วตี​โจทย์​ให้​แตก ทุกท่านจะร่วม​เป็นหนึ่ง​ใน​การพัฒนาคุณภาพยา​ไทย​ให้ก้าวหน้าก้าว​ไกล​ได้ ​ทำ​ให้​การ​แพทย์​แผน​ไทยผงาด​ได้

​ในระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม-4 กันยายน 2554 จะมี​การจัดงานมหกรรมสมุน​ไพร​แห่งชาติครั้งที่ 8 ขึ้น ที่อิม​แพ็ค ​เมืองทองธานี ปีนี้จัดงานภาย​ใต้​แนวคิด ยา​ไทย ​เด็ก​ใช้​ได้ ​ผู้​ใหญ่​ใช้ดี ​ผู้บริ​โภคลอง​ไปค้นหาคำตอบของยา​ไทยที่มีคุณภาพอย่าง​แท้จริง​ได้.

ไทย​โพสต์ 14 สิงหาคม 2554

7211
ปัญหาร้อนที่ค้างคารอพิสูจน์ฝีมือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขคนใหม่ "นายวิทยา บุรณศิริ" ให้เข้ามาถอดรหัสในมุมมองของบุคลากรสาธารณสุขและเครือข่ายภาคประชาชน 10 ต้อง กับความหวังของวงการแพทย์

1.ปัญหาความขัดแย้งระหว่างแพทย์และคนไข้ เป็นปัญหาที่สะสมมานานในแวดวงสาธารณสุขไทย โดยเฉพาะกรณีญาติหรือคนไข้ที่ไม่พอใจผลการรักษา เข้าใจว่าแพทย์รักษาไม่ดีบ้าง หรือบกพร่องในการรักษาจนส่งผลต่อชีวิตคนไข้ และนำไปสู่ประเด็นการฟ้องร้อง ขณะที่แพทย์มองว่ารักษาเต็มที่แล้ว แม้ปัจจุบันจะมีมาตรา 40 ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 เยียวยาเบื้องต้น แต่ทว่าปัญหาไม่จบสิ้น นำไปสู่การร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ.. ที่มีความเห็นต่างชนิดรุนแรง เป็นอีกเผือกร้อนที่รอให้เร่งดำเนินการ

2.ปัญหาโรงพยาบาล (รพ.) ขาดสภาพคล่องที่ต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2553 รพ.สังกัดกระทรวงฯ 261 แห่ง จากทั้งหมด 875 แห่ง ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงิน จนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ต้องอุดช่องโหว่ ด้วยการจัดสรรเงินให้ รพ.ต่างๆ เพิ่มขึ้น ไม่ใช่ปล่อยให้ดิ้นรนแก้ปัญหากันเอง เรื่องนี้ควรมีการวางระบบในภาพรวมว่าจะเดินต่อไปอย่างไร ทั้งเรื่องการจัดสรรงบฯที่ควรดูความกระจายตัวของประชากรในแต่ละพื้นที่ อัตราค่าเหมาจ่ายรายหัวของ สปสช. ที่จัดสรรเท่ากันหมดอาจไม่เพียงพอ ขณะที่ค่าตอบแทนควรพิจารณาเป็นภาระงาน เป็นต้น

3.บุคลากรแพทย์ขาดแคลน แพทย์กระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ แพทย์ตามหน่วยบริการระดับปฐมภูมิไม่ค่อยมี คนไข้ส่วนใหญ่จะต้องวิ่งโร่เดินทางไปรักษาถึงในเมือง กลายเป็นภาพชินตาตามโรงพยาบาลขนาดใหญ่มีคนไข้แออัดชนิดไม่มีที่นั่งรอ ปัญหาแพทย์สมองไหลก็เป็นอีกเรื่องที่ รพ.รัฐประสบมาโดยตลอด เรื่องนี้มีหลายฝ่ายเสนอแนวทางแก้ไข ทั้งการแยกตัวจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เพื่อให้มีความเป็นอิสระ สามารถจัดสรรตำแหน่งได้ โดยไม่ต้องรอ ก.พ.กำหนด หรือให้อยู่ในระบบต่อไป แต่ต้องมีการต่อรองกับรัฐบาลอย่างจริงจัง

4.ปัญหาค่าตอบแทน เป็นปัญหาที่ถูกเรียกร้อง โดยเฉพาะความต้องการให้คิดตามภาระงาน แม้ปัจจุบัน สธ. จะจัดสรรงบฯถึง 4.2 พันล้านบาท เพื่อกระจายให้ รพ.ทั้งระดับจังหวัด และชุมชนแล้ว แต่ดูเหมือนเรื่องนี้ยังเป็นปัญหาที่ต้องพบทุกปี

5.การขยายสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือบัตรรักษาฟรี บัตรทอง หรือบัตร 30 บาทนั่นเอง ประเด็นคือ การทำอย่างไรให้สิทธิประโยชน์เท่าเทียมกัน หรือไม่แตกต่างกันมากนักระหว่างหลักประกันสุขภาพฯ ประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการ ซึ่งนำไปสู่ประเด็นการรวม 3 กองทุน หรือล่าสุดการขยายไปยังผู้ประกันตน โดยอาศัยมาตรา 10 ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ ซึ่งดูเหมือนจะยังไม่ได้ข้อชัดเจน แต่เป็นเรื่องที่ถือว่ากระแสสังคมจับตามองเป็นพิเศษ ยิ่งจะมีการฟื้นเก็บ 30 บาท งานนี้คงมีเสียงค้านไม่น้อย

6.การพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล (รพ.) อย่างที่ผ่านมามีการยกระดับสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล (รพ.สต.) กว่า 9 พันแห่ง ทั้งการปรับปรุงอาคารสถานที่และป้ายโรงพยาบาล มีบุคลากรครบ มีระบบฐานข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศเชื่อมต่อกับ รพ.แม่ข่าย เช่น อินเตอร์เน็ต เพื่อรองรับนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ทั้งหมดเพื่อการบริการแก่ประชาชนที่ดีขึ้น แต่ปัญหาคือ บุคลากรอาจไม่เพียงพออย่างที่คิด รวมไปถึงเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ด้วย

7.การส่งเสริมป้องกันโรค ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมป้องกันโรค เพื่อลดงบฯการรักษาที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะปัญหาโรคเรื้อรังต่างๆ เรื่องนี้ถูกจับตามองว่าจะดำเนินการเป็นรูปธรรมอย่างไร ทั้งเรื่องงบฯต้องมีการแบ่งสัดส่วนที่เหมาะสมด้วย

8.งานคุ้มครองผู้บริโภคต่างๆ โดยเฉพาะประเด็นด้านสุขภาพ การซื้อเครื่องสำอาง อาหาร ยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน สินค้าปลอม หรือแม้กระทั่งพบสารที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต สิ่งเหล่านี้อาจไม่เน้นแค่การบุกจับ แต่ต้องเน้นกวาดล้างอย่างเป็นระบบด้วย

9.ประเด็นการสานต่อกฎหมายด้านสุขภาพต่างๆ ทั้งการผลักดันร่าง พ.ร.บ.ธุรกิจบริการสุขภาพ พ.ศ. ที่จะช่วยควบคุมธุรกิจสปาที่อาจมีการแอบแฝงขายบริการทางเพศ หรือการผลักดันกฎหมายลูกของ พร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ที่เคยเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ มีทั้งหมด 6 ฉบับ ทั้งการห้ามขายเหล้าปั่น การห้ามขายเหล้ารอบสถานศึกษาในรัศมี 500 เมตร การกำหนดสถานที่หรือบริเวณที่ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนท้ายรถกระบะ การติดภาพฉลากคำเตือนที่บรรจุภัณฑ์ ห้ามขายในสนามกีฬาของรัฐ ให้กำหนดคล้ายๆ สถานศึกษาที่ห้ามขายและดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเด็ดขาด นอกจากนี้ในส่วนของสนามกีฬาของเอกชนกำหนดห้ามขายเช่นกัน แต่มีเงื่อนไขโดยสามารถขายได้ในสโมสรของสนามกีฬานั้นๆ และห้ามขายและดื่มในโรงงานอุตสาหกรรม

และสุดท้าย 10.การคลี่คลายปัญหาในกระทรวงฯ ซึ่งแม้จะไม่ใช่ปัญหาใหญ่ภาพรวมของประชาชน แต่เป็นปัญหาความขัดแย้งที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ ยิ่งล่าสุดมีประเด็นความเห็นต่าง "สิทธิการตาย" หรือหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์รับบริการสาธารณสุข ที่ดูเหมือนจะเถียงกันไม่จบสิ้น

เหล่านี้ คือ 10 สิ่งท้าทายรอรัฐมนตรี สธ.คนใหม่เข้ามาคลี่คลาย ...

มติชนรายวัน 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554

7212
    ตร.รวบเจ้าหน้าที่รังสีวิทยา รพ.บางเลน ค้ายาหลังถูกผอ.รพ.จับตรวจฉี่พบสีม่วงจึงประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าจับกุม สารภาพเป็นหนี้นอกระบบมาก จนต้องหันมาค้ายาใช้หนี้
    พ.ต.อ.สุรศักดิ์ ปิ่นทอง ผกก.สภ.บางเลนได้รับการประสานงานจากนายจิระโรจน์ ธีระเดชธนพงศ์ ผู้อำนวยการรพ.บางเลนว่า ได้ทำการตรวจสารเสพติดจากปัสสาวะเจ้าหน้าที่ชายของรพ.บางเลนทั้งหมด และตรวจพบสารเสพติดในปัสสาวะนายชวลิต ผลิศักดิ์ อายุ 40 ปี อยู่บ้านเลขที่ 219 ม. 5 ต.ห้วยธรรม อ.จุน จ.พเยาว์ ตำแหน่งเจ้าหน้าทีรังสีวิทยา ขอให้ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจมาทำการสอบสวน จากการสอบสวนเบื้องต้นนายชวลิต ให้การว่า ตนทำงานเป็นเจ้าหน้าที่รังสีวิทยาของรพ.บางเลน รายได้ไม่พอค่าใช้จ่าย กลุ้มใจดื่มเหล้าและเสพยา จนกระทั่งมีพรรคพวกชวนให้รับยามาจำหน่าย ตนจึงตัดสินในที่จะรับยาบ้าและยาไอซ์ มาจำหน่ายให้กับวัยรุ่นในพื้นที่อ.บางเลน กระทั่งผอ.โรงพยาบาลให้ทำการตรวจปัสสวะเจ้าหน้าที่ชายทุกคน ทำให้พบสารเสพติดในปัสสวะของตน เพราะเพิ่งจะเสพมา
    พ.ต.อ.สุรศักดิ์ ปิ่นทอง ผกก.สภ.บางเลน กล่าวว่า หลังจากได้รับการประสานงานจากผู้อำนวยการรพ.บางเลน ว่าได้มีการตรวจปัสสวะเจ้าหน้าที่ชายของโรงพยาบาล และพบว่ามีปัสสาวะสีม่วง จึงได้ขอให้ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจไปทำการสอบสวน จนกระทั่งนายชวลิต ได้ให้การรับสารภาพว่าเสพยาเสพติดให้โทษจริง และยังเป็นเอเย่นต์จำหน่ายยาบ้าและยาไอซ์ ให้กับวัยรุ่นในพื้นที่บางเลน และได้เก็บซ่อนยาไว้ในห้องเช่า เจ้าหน้าที่จึงได้นำกำลังเข้าไปทำการการตรวจค้นภายในห้องเช่าดังกล่าว และจากการตรวจค้น สามารถตรวจยึดยาบ้าจำนวน 250 เม็ด ที่บรรจุอยู่ในถุงและซุกซ่อนอยู่ในกระเป๋าสีชมพู และพบอาไอซ์ บรรจุอยู่ในกล่องวางอยู่ในตู้เอกสาร จึงได้ยึดไว้เป็นของกลาง ก่อนที่จะแจ้งข้อกล่าวหาว่า “เสพยาเสพติดให้โทษประเภท 1 (ยาบ้า) และมียาเสพติดให้โทษประเภท 1 (ยาบ้า) และยาไอซ์ ไว้ในครอบครองโดยผิดกฎหมาย ก่อนที่จะนำตัวมาทำการสอบสวนขยายผลและดำเนินคดีต่อไป

เนชั่นทันข่าว 11 สค. 2554

7213
หลังจากรุกซื้อหุ้นขยายเครือข่ายรพ.กรุงเทพ จนก้าวมาเป็นรพ.เอกชนที่มีเครือข่ายมากเป็นอันดับ 1 ในเอเชีย เส้นทางจากนี้ไป คือบทพิสูจน์ความพร้อมรองรับเออีซี

 การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี (AEC : Asean Economic Community) ที่กำลังจะเกิดขึ้นเต็มตัวในปี 2558 คือ อีกหนึ่งเป้าหมายที่ นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.กรุงเทพดุสิตเวชการ (BGH) เจ้าของและผู้บริหารสูงสุดกลุ่ม รพ.กรุงเทพ และสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส เปิดใจในการให้สัมภาษณ์วานนี้ (10 ส.ค.) ว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่ทำให้เขาเดินหน้าแผนขยายธุรกิจและเครือข่าย ทั้งธุรกิจโรงพยาบาลกรุงเทพ และสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส ให้ครอบคลุมบริการ เพื่อรองรับการเปิดเสรีในระดับอาเซียน ด้วยความพร้อมให้มากที่สุด

 โดยเฉพาะในธุรกิจโรงพยาบาล ซึ่ง นพ.ปราเสริฐ เผยว่า รพ.กรุงเทพ ในวันนี้ถือเป็นโรงพยาบาลเอกชน ที่มีเครือข่ายมากที่สุดในเอเชีย หลังจากได้ซื้อหุ้นและเข้าบริหารเครือ รพ.พญาไท-รพ.เปาโลสำเร็จ ทำให้เครือ รพ.กรุงเทพ มีจำนวนโรงพยาบาลในเครือถึง 27 แห่ง ให้บริการรักษาพยาบาลทั้งระดับบน-ระดับกลาง รวมกว่า 5,000 เตียง มีบุคลากรแพทย์ในเครือกว่า 6,200 คน และมีมาร์เก็ตแคปมูลค่าหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์สูงถึง 9 หมื่นล้านบาท (คิดจากราคาปัจจุบันที่ 60 บาท คูณด้วยจำนวน 1,500 ล้านหุ้น)

 ผลประกอบการในธุรกิจโรงพยาบาลยังคงเติบโตต่อเนื่อง เมื่อรับรู้ผลประกอบการจากเครือ รพ.พญาไท-รพ.เปาโล เข้ามาตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ถึงไตรมาส 4 จะทำให้รายได้ของเครือ รพ.กรุงเทพในปีนี้ มียอดปิดได้ที่ 3.5 หมื่นล้านบาท และในปี 2555 ซึ่งรับรู้รายได้ครบทั้ง 4 ไตรมาสจะทำให้มีรายได้รวมเพิ่มเป็น 4.6 หมื่นล้านบาท ในอัตราการเติบโตค่อนข้างดี และคาดว่าเมื่อเปิดเออีซีในปี 2558 รายได้ของเครือ รพ.กรุงเทพ จะเพิ่มขึ้นอีกเป็นเท่าตัวที่รายได้รวมกว่า 8 หมื่นล้านบาท

 เหตุผลหลักมาจากแนวโน้มธุรกิจโรงพยาบาลเติบโตต่อเนื่อง ทั้งตลาดผู้ป่วยในประเทศและชาวต่างชาติ ซึ่งเพิ่มเข้ามาทุกปี ตัวเลขผู้ป่วยต่างชาติที่เข้ามารักษาพยาบาลในไทยต่อปีมีไม่น้อยกว่า 1.5 ล้านคน ในอนาคตหากรัฐบาลให้ความสำคัญและผลักดันแผนไทยเป็นเมดิคัลฮับ จะเพิ่มยอดผู้ป่วยต่างชาติเข้าไทย 2 ล้านคนได้ไม่ยาก

 อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์ปัจจุบัน รพ.กรุงเทพ มีสัดส่วนการให้บริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยต่างชาติอยู่ที่ 35% อีก 65% เป็นตลาดคนไทย แต่ในอนาคตสัดส่วนเหล่านี้อาจเปลี่ยนแปลงไป เมื่อมีการเปิดเออีซี ซึ่งจะมีการแลกเปลี่ยนแรงงาน ทั้งระดับบริหาร และแรงงานระดับกลาง ข้ามประเทศเข้ามาทำงานระหว่างกันได้อย่างสะดวก ธุรกิจโรงพยาบาลก็จะได้ประโยชน์จากการเปิดเสรีในจุดนี้ แต่สิ่งสำคัญ เราต้องเตรียมความพร้อมให้ทัน ทั้งเตรียมเรื่องบุคลากร ขีดความสามารถในการแข่งขัน และการให้บริการให้สู้กับประเทศเพื่อนบ้านได้

 นพ.ปราเสริฐ เผยว่าเรื่องเทคนิคและวิทยาการทางการแพทย์ ความรู้ความสามารถต่างๆ ของแพทย์ไทยเชื่อว่าไม่แพ้ใครในระดับอาเซียน และยังได้เปรียบในแง่ค่ารักษาพยาบาลที่ถือว่าต่ำมาก หากเทียบกับสหรัฐอเมริกาซึ่งเราต่ำกว่าถึง 3 เท่าตัว เช่น การทำบายพาสหัวใจในไทยค่าใช้จ่ายราว 6 แสนบาทในสหรัฐอเมริกาจะอยู่ที่กว่า 1.5-1.6 ล้านบาท และหากเทียบกับสิงคโปร์ ค่ารักษาพยาบาลในไทยก็ยังต่ำกว่าถึง 1 เท่าตัว

ขณะที่คุณภาพการให้บริการไม่ด้อยไปกว่ากัน ซึ่งเป็นจุดแข็งที่ไทยจะใช้รับมือกับประเทศเหล่านี้ได้ ดังนั้น โอกาสในการเติบโตของธุรกิจโรงพยาบาลในไทย จึงยังมีอีกไม่น้อย แต่ที่สำคัญเราต้องพัฒนาองค์กรให้มีความแข็งแกร่ง พร้อมสำหรับการแข่งขันในเวทีโลกให้ได้

 "เรายังคงมองโอกาส เรื่องการขยายเครือข่ายโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง ในวันนี้อาจยังพูดไม่ได้ว่าจะขยายอีกกี่แห่ง หรือจะซื้อใครเข้ามาเพิ่ม แต่มองว่าธุรกิจนี้มีความเป็นไปได้ในการเติบโตสูง จึงอยากเสนอให้ภาครัฐเห็นความสำคัญ และหันกลับมามองเรื่องเมดิคัลฮับอีกครั้ง แม้สิงคโปร์จะประกาศตัวว่าเป็นศูนย์กลางด้านนี้ แต่ไทยเราก็มีความพร้อมไม่น้อยไปกว่าเขาเช่นกัน เพียงแต่ภาครัฐต้องให้การส่งเสริมจริงจัง" นพ.ปราเสริฐ กล่าวพร้อมยกตัวอย่าง แนวทางส่งเสริม เช่น การเปิดให้ผู้ป่วยต่างชาติที่มารักษาพยาบาลในไทย สามารถต่อวีซ่าได้อย่างสะดวก ตลอดจนเปิดทางอำนวยความสะดวกในญาติผู้ป่วยเข้ามาในไทยด้วย

 นอกจากนี้ล่าสุดยังมีสัญญาณบวกน่าสนใจ สำหรับตลาดผู้ป่วยชาวญี่ปุ่น โดยเมื่อ 3 สัปดาห์ก่อน รพ.กรุงเทพได้ลงนามข้อตกลงเบื้องต้น (เอ็มโอยู) ในความร่วมมือกับ 12 โรงพยาบาลเอกชนของญี่ปุ่น และมีความเป็นไปได้ที่จะลงนามเพิ่มเป็น 100 โรงพยาบาล ในการรับส่งต่อผู้ป่วยชาวญี่ปุ่นของโรงพยาบาลเหล่านั้น ซึ่งจะเดินทางเข้ามาพำนักระยะยาวในไทย ด้วยการสนับสนุนค่าใช้จ่ายโดยรัฐบาลญี่ปุ่น ในกลุ่มผู้สูงอายุหลังเกษียณ ที่จะเข้ามาใช้ชีวิตในไทยซึ่งมีแนวโน้มจะเพิ่มจำนวนขึ้นมาก เป็นอีกหนึ่งตลาดที่น่าสนใจ

 ไม่เพียงธุรกิจโรงพยาบาลเท่านั้น นพ.ปราเสริฐ ยังเผยด้วยว่า ธุรกิจการบินของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส ก็มีแผนขยายเครือข่ายรับมือการเปิดเออีซี ด้วยเช่นกัน โดยล่าสุดทีมบริหารบางกอกแอร์เวย์ส มองเรื่องการเตรียมนำกิจการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในอีก 2 ปีข้างหน้า หรือราวปลายปี 2556 เพื่อระดมทุนสำหรับการขยายเครือข่ายการบิน

เป้าหมายสำคัญคือต้องการให้บริการการบินทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในเส้นทางการบินระยะกลางราว 5-6 ชม.ให้ครอบคลุมมากขึ้น ด้วยจุดยืนหลักการเป็นสายการบินที่มีจุดขายเฉพาะตัวเป็น บูทีคแอร์ไลน์ ที่มีบริการพิเศษกว่าสายการบินราคาประหยัด เน้นให้บริการกลุ่มคนที่ต้องการความพิเศษแตกต่าง และความสะดวกสบายเฉพาะตัว

 "โลกกำลังเปลี่ยนเศรษฐกิจประเทศตะวันตกชะลอตัว เอเชียจะเป็นภูมิภาคที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ ประชาคมเอเชียซึ่งมีประชากรมากกว่า 3 พันล้านคน มากเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรโลกที่มีอยู่ 7 พันล้านคน กำลังซื้อในเอเชียมีมหาศาล เพียงแต่เราต้องบริการรองรับให้ได้" นพ.ปราเสริฐ กล่าว และทิ้งท้ายว่า เรื่องเข้าตลาดหลักทรัพย์ คงต้องใช้เวลาอีกระยะจึงจะให้รายละเอียดได้มากกว่านี้ 

กรุงเทพธุรกิจ 11 สิงหาคม 2554

7214
สพศท.-แพทย์ชนบท-เครือข่ายผู้เสียหายฯ  จ่อคิว ขอเข้าพบ  รมว.สธ.คนใหม่ พร้อมพกนโยบายเข้าหารือเพียบ  ด้าน “ปรียนันท์” ลั่น ผลักดัน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายต่อหลังจากที่ผลการตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ออกมาเรียบร้อย โดยมีนายวิทยา  บุรณศิริ  ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)  นั้น
       
       พญ.ประชุมพร  บูรณ์เจริญ  ประธานสมาพันธ์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (สพศท.)  กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า  ถือเป็นผลการแต่งตั้งที่น่าพึงพอใจมาก เพราะนายวิทยาเคยเป็นประธานวิปฝ่ายค้านมาก่อน  และเคยรับฟังปัญหาหลายเรื่อง  โดย เฉพาะเรื่อง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ที่ยอมเปิดใจรับฟังแพทย์ซึ่งไม่เห็นด้วยมาโดยตลอด ซึ่งมั่นใจว่านายวิทยามีเหตุผลพอที่จะไม่ตัดสินใจอะไรแบบฉาบฉวย
       
       พญ.ประชุมพร   กล่าวด้วยว่า ในเร็วๆ นี้ตนและสมาชิก สพศท.อาจเข้าพบ รมว.สธ.หลังจากเข้ารับตำแหน่ง เพื่อเสนอนโยบายในหลายๆ ด้านที่กำลังเป็นปัญหาในระบบสาธารณสุข หลักๆ ได้แก่ ปัญหาวิกฤติการเงินการคลังของ รพ.สังกัด สธ., ปัญหาเรื่องบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข  ส่วนกรณี พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ นั้น คาดว่าไม่มีสิ่งใดต้องเป็นห่วงในขณะนี้  เนื่องจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในนัดแรกก็ยังไม่เริ่มขึ้น
       
       ด้าน นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ   ประธานชมรมแพทย์ชนบทกล่าวว่า   การที่ รมว.สธ.คนใหม่เข้ามารับตำแหน่งนั้น ตนไม่มีสิ่งใดโต้แย้งในมิติของตัวบุคคล  แต่อยากให้เน้นการบริหารที่ไม่เลือกข้าง โดยต้องพยายามสร้างสมานฉันท์ระหว่างผู้ให้บริการสาธารณสุข และผู้รับบริการให้ได้
       
       “ทั้งนี้หลังจากการเข้ารับตำแหน่งแล้ว คาดว่าจะมีการเข้าพบเพื่อนำเสนอนโยบายในการพัฒนาสถานบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ  เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการแก่ประชาชนทุกระดับ และอาจจะขอหารือเกี่ยวนโยบายของพรรคเพื่อไทยที่ระบุว่าอาจมีการกลับมาเก็บเงินสมทบในระบบหลักประกันสุขภาพจำนวน 30 บาท ซึ่งโดยส่วนตัวไม่เห็นด้วย เพราะการเก็บเงินส่วนนี้อาจทำให้รัฐต้องแบกรับกับภาระค่าจ้างบุคลากรมา จัดการระบบข้อมูลที่มากกว่าเดิม ซึ่งผมมองว่าไม่คุ้มค่า” นพ.เกรียงศักดิ์กล่าว
       
       นางปรียนันท์  ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่าวว่า   ถือ เป็นโอกาสดีที่ สธ.มีรัฐมนตรีคนใหม่ โดยทางเครือข่ายฯ อาจจะมาขอเข้าพบเช่นกัน ซึ่งตนจะนำทีมผู้ป่วยมาชี้แจงกรณีความจำเป็นของ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ เพราะขณะนี้ค้างอยู่ในสภาฯนานแล้ว

ASTVผู้จัดการออนไลน์    10 สิงหาคม 2554

7215
แพทย์ รพ.ปทุมธานีเผยเหตุที่เด็กเสียชีวิตจากไส้ติ่งแตก เป็นเพราเด็กอ้วนจึงยากที่จะตรวจหาสาเหตุพบในครั้งแรก แต่เมื่อครั้งสามพบอาการแต่ก็สายเสียแล้ว ทาง รพ.ได้เยียวยาให้กับทางญาติ ตามมติของทางแพทย์ และ กม. ...

เมื่อเวลา 15.30 น. วันที่ 11 ส.ค. ที่โรงพยาบาลปทุมธานี นำโดย นพ.สุรัตน์ สุขประเสริฐ รักษาการผู้อำนวยการ รพ.ปทุมธานี ได้เชิญนางสาวสุดารัตน์ นิมสันเทียะ อายุ 35 ปี พร้อมด้วยนางเตียง แซ่เจี่ย อายุ 52 ปี และญาติ เดินทางเข้าพูดคุยถึงปัญหาที่ห้องประชุมของทางโรงพยาบาลโดยนำแพทย์ที่ดูแลเด็กตั้งแต่เริ่ม และแพทย์ที่ผ่าตัดเด็ก โดย นพ.สุรัตน์ กล่าวว่า ในกรณีของ ด.ช.ฐิติวุฒิ หรือ น้องฟิวส์ ทองดอนเหมือน อายุ 10 ปี นั้นทางโรงพยาบาลได้เรียกแพทย์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเข้าพูดคุยถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งในกรณีนี้เด็กเข้ามารักษาตัวด้วยอาการปวดท้อง เมื่อตรวจดูก็ไม่พบสิ่งผิดปกติ เพราะเด็กอ้วนจึงเป็นการตรวจได้ยากว่าเกิดจากสาเหตุอะไร จึงได้ให้ยาลดกรดไปทาน แต่เมื่อเด็กเข้ามารักษาตัวเป็นครั้งที่ 2 ทางแพทย์จึงได้ทำการเอ็กซเรย์ แต่ก็ไม่พบสิ่งผิดปกติ จึงให้เดินทางกลับบ้านได้ จนเมื่อวันที่ 9 ส.ค.เด็กได้เข้ามารักษาตัวอีกรอบด้วยอาการปวดท้องและอาเจียน ทางแพทย์จึงได้ทำการตรวจอย่างละเอียดอีกรอบ จนพบว่าเด็กมีอาการไส้ติ่งอักเสบ และแพทย์จึงได้ทำการเตรียมการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน

จนเมื่อเวลา 13.00 น. แพทย์ได้พาตัวน้องฟิวส์ เข้าทำการผ่าตัด แต่ก็ไม่ทันเพราะไส้ติ่งแตกแล้ว และมีการหนองไหลเข้าไปในช่องท้อง และกระแสเลือด ทำให้เด็กเกิดอาการติดเชื้อในกระแสเลือด จนเด็กเสียชีวิตในเวลาต่อมา ซึ่งในการนี้ทางแพทย์ได้พูดเรื่องนี้ให้ทางญาติได้เข้าใจเป็นอย่างดีแล้ว และทางโรงพยาบาล ก็จะรับดำเนินการเยียวยาให้กับทางญาติ ตามมติของทางแพทย์ ตามาตรา 41 ก่อนที่ทางญาติจะเข้าใจ และเดินทางกลับ.

ไทยรัฐออนไลน์ 11 สค 2554

หน้า: 1 ... 479 480 [481] 482 483 ... 535