ผู้เขียน หัวข้อ: เผยข้อมูลปี 54 ระบบบัตรทองมีเงินค้างท่อกว่า 4 พันล้าน แนะควรปรับปรุงระบบใหม่  (อ่าน 1362 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9759
    • ดูรายละเอียด
พบเงินค้างท่อมากกว่า 4 พันล้าน ในระบบบัตรทอง ปี 54 แนะควรปรับปรุงระบบใหม่
       
       นพ.บัญชา ค้าของ ผู้แทนกลุ่มประกันสุขภาพ สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) กล่าวถึงปัญหาและแนวทางแก้ไขระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพของประเทศในงานประชุมภาคีเครือข่ายเพื่อระบบสุขภาพที่ดีกว่าของคนไทย หรือ 2011 Thailand Healthcare Summit หัวข้อ “ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพที่ยั่งยืนของประเทศไทย” เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ที่ผ่านมา ว่า ปัญหาของระบบการเงินการคลังในระบบสุขภาพของประเทศไทย จะเห็นได้ว่ามีการผลักภาระความเสี่ยงค่าใช้จ่ายจากกองทุนประกันสุขภาพไปให้หน่วยบริการ ขณะเดียวกัน อำนาจอิสระที่ขาดสมดุลของกองทุนในการกำหนดหลักเกณฑ์จัดสรรภายในและระหว่างกองทุนทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการจัดบริการประชาชน มีปัญหาความไม่เท่าเทียมและเป็นธรรม

       นพ.บัญชา กล่าวอีกว่า จากปัญหาต่างๆ ได้มีการสำรวจโรงพยาบาล (รพ.) ในสังกัด สธ.กว่า 840 แห่ง โดยมุ่งไปที่ระบบกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือบัตรทอง ซึ่งพบว่า ตลอด 9 ปีที่ผ่านมา กองทุนนี้มีการผลักภาระไปให้หน่วยบริการตลอด แม้จะได้รับงบประมาณที่เพิ่มขึ้นทุกปี แต่กลับกันเงินจำนวนมากที่กองกลาง ตั้งเป็นกองทุนย่อย ทั้งกองทุนส่งเสริมสุขภาพ กองทุนผู้สูงอายุ ฯลฯ ทำให้งบบริการพื้นฐานของหน่วยบริการไม่เพียงพอ ที่สำคัญ ยังทุ่มงบไปในงบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า แต่กลับไม่เพิ่มงบโครงสร้างพื้นฐาน และงบในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ทั้งๆ ที่หากป้องกันโรคได้มากเท่าใดจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลได้ ซึ่งจากข้อมูลพบว่า การกันงบส่วนนี้ทำให้มีเงินเหลือค้างท่อ หรืออยู่ในกองกลางอีกนับหมื่นล้านบาท แต่ได้มีการทยอยจ่ายให้แก่รพ.ผ่านกองทุนย่อยต่างๆ กระทั่งข้อมูลล่าสุดปี 2554 พบว่ายังเหลือเงินค้างท่ออีก 4,200 ล้านบาท ซึ่งปัญหาเงินค้างท่อมาจากการที่รพ.แต่ละแห่งต้องทำรายละเอียดยุ่งยาก อย่างกรณีการตรวจเยี่ยมผู้ป่วยตามบ้าน หากไม่ทำก็ไม่ได้เงินส่วนนี้ เป็นต้น ดังนั้น สปสช.ควรปรับปรุงระเบียบการบริหารงบ ลดขั้นตอนยุ่งยากในกองทุนย่อย เพราะไม่เช่นนั้นก็จะมีปัญหาเบิกจ่าย
       
       ด้านภก.ธีระ ฉกาจนโรดม นายกสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (พรีม่า) กล่าวว่า สปสช.เป็นหน่วยงานที่มีความอิสระมาก ทั้งๆที่มีอายุเพียง 9 ขวบ แต่สามารถเข้าไปดำเนินการต่างๆ ได้ อย่าง รพ.เอกชนมีการทำงานก่อตั้งมาร่วม 21 ปี แต่ปรากฏว่า ขณะนี้กำลังถูกเด็กอายุ 9 ขวบ ไล่เตะก้น ด้วยความพยายามดึงผู้ประกันตนออกจากกองทุนประกันสังคม และไปอยู่ในกองทุนบัตรทอง ซึ่งโดยข้อเท็จจริงแต่ละกองทุนต้องแข่งขันกัน เพื่อสิทธิประโยชน์ของผู้ป่วยมากกว่า เรียกได้ว่าขณะนี้ สปสช.กำลังแผ่อิทธิพลเข้าสู่สปส. ดังนั้น จึงอยากฝากลูกจ้างผู้ประกันตนทั้งหลายออกมาเรียกร้องสิทธิของตน เพราะอย่าลืมว่าผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินทุกๆ เดือนก็ควรได้สิทธิประโยชน์การบริการที่ดีกว่าสิทธิอื่น และ สปส.ควรใช้วิธีทำสัญญากับประกันสุขภาพเอกชน เพราะหากใช้บริษัทประกันสุขภาพย่อมได้รับการดูแลดีกว่าไปประสานกับ รพ.เอง
       
       ขณะ ที่ นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า ทุกๆ วันที่ 30 กันยายน สปสช.จะกันเงินสำหรับให้ รพ.ทำการเบิกจ่ายกรณีกองทุนต่างๆ รวมถึงค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในตามการวินิจฉัยโรคร่วมหรือDRG ซึ่งในปีงบประมาณ 2554 จะกันไว้กว่า 4 พันล้านบาท ซึ่งทุกปีไม่เคยถึงหมื่นล้านบาทแน่นอน โดยงบส่วนนี้ตั้งเป้าว่าต้องกันไว้ไม่เกินร้อยละ 5 ของงบกองทุนทั้งหมด และในปีงบประมาณ 2555 ตั้งเป้าไว้ว่าต้องกันไว้ไม่เกินร้อยละ 4

ASTVผู้จัดการออนไลน์    28 ธันวาคม 2554