แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - pradit

หน้า: 1 ... 18 19 [20] 21 22
286
บัตรประชาชน (เลข 13 หลัก) ใช้แค่ค้นหา สิทธิในการรักษา เท่านั้น ว่ามีสิทธิอะไร 
UC ที่ไหน หรือประกันสังคม หรือเบิกได้(ข้าราชการ)

ก็อำนวยความสะดวกไม่ต้องพกบัตรทองก็แค่นั้นเองครับ ส่วนขั้นตอนอื่นๆ ก็เหมือนเดิม case refer ก็ต้องเอาใบ refer มา  เจ้าหน้าที่ห้องบัตรจะเป็นคน contact กับเรื่องนี้เอง (ก็แค่ online กับ สปสช.)
ส่วนหมอไม่รู้เรื่องอะไรหรอกครับ ตั้งหน้าตั้งตาตรวจไปตามปกติ ไม่มีผลกระทบอะไรเลย
----------ราชบุรี

287
บีบีซีแฉรบ.อังกฤษหลอกขาย"จีที 200"ให้ไทย-ชาติอื่น ๆ ทั้งที่ห้ามใช้ในอิรัก-อัฟกัน

เผย"บี บีซี"แคลงใจ รบ.อังกฤษไม่แทรกแซงระงับ"จีที 200"แต่กลับขายให้ประเทศอื่น -เผยแบนห้ามขายให้รัฐบาลอิรัก อัฟกานิสถาน เพราะเกรงเป็นอันตรายต่อทหารอังกฤษและพันธมิตร เพราะพิษไร้น้ำยา เผยถึงขั้นจับกุมผู้จำหน่ายในประเทศ

สถานีโทรทัศน์"บีบีซี"ของอังกฤษ ได้นำเสนอรายการตั้งคำถามเกี่ยวกับกรณีเครื่องมือตรวจสอบอุปกรณ์ระเบิดอื้อ ฉาว"GT200"ว่า เพราะเหตุใด รัฐบาลอังกฤษจึงไม่แทรกแซงเพื่อยุติการส่งออกอุปกรณ์ดังกล่าว แต่กลับส่งออกขายให้หลายประเทศ เช่น ไทย ปากีสถาน จีน เม็กซิโก เคนยา และอีกหลายประเทศ โดยรายการดังกล่าวซึ่งถูกเผยแพร่เมื่อวันที่ 22 ม.ค.2010 ในชื่อรายการว่า"ตรวจสอบไม้วิเศษเครื่องตรวจสอบ(Magic wand detectors")ซึ่งได้พิสูจน์ว่า อุปกรณ์ดังกล่าวไม่มีความสามารถที่จะตรวจจับระเบิด

แต่ที่ผ่านมา รัฐบาลอังกฤษได้แบนการส่งออกอุปกรณ์ GT200 ให้แก่อิรัก พร้อมทั้งออกคำเตือนต่อรัฐบาลนานาชาติว่า อุปกรณ์นี้ใช้ไม่ได้ผล โดยที่ผ่านมา เป็นที่ประจักษ์ว่า ทางการอังกฤษได้ล่วงรู้มาเป็นนับสิบปีแล้วว่า อุปกรณ์ GT200 ใช้ไม่ผลในการตรวจสอบวัตถุระเบิด ขณะที่กระทรวงต่างประเทศอังกฤษก็ได้รู้ล่วงเรื่องมานี้นับปี

รายงานของบีบีซีระบุว่า เมื่อเดือนม.ค.ปี 2000 นายแกรี่ โบลตัน ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ตรวจสอบวัตถุระเบิด GT200 ได้พยายามขายอุปกรณ์ดังกล่าวในรุ่นแรก ๆ ที่ชื่อว่า"The Mole"หรือตัวตุ่น ให้แก่หน่วยงานศุลกากรอังกฤษ พร้อมทั้งนำไปสาธิตยังสนามบินฮีทโธทว์ว่า มันสามารถใช้ตรวจสอบยาเสพติดได้ แต่ผลปรากฎว่าล้มเหลว และก็ไม่มีการพิสูจน์ในทางวิทยาศาสตร์กันด้วย

อย่างไรก็ตาม อุปกรณ์ดังกล่าวยังถูกทดสอบในห้องทดลองแห่งชาติซานเดียของสหรัฐ ซึ่งพบว่า มันไม่มีประสิทธิภาพในการตรวจสอบวัตถุ ระเบิดด้วย

ขณะที่การตรวจสอบในด้านวิทยาศาสตร์ระบุว่า ประสิทธิภาพของมันไม่ต่างอะไรไปจากการเดาสุ่ม

รายงานระบุว่า เมื่อเดือนม.ค.ปี 2009 นายเจมส์ อาร์บุทน็อต ประธานเลือกสรรด้านกลาโหมของอังกฤษ ได้แสดงความวิตกเกี่ยวกับการ จำหน่ายอุปกรณ์ GT200 กับนายเควิน เดวี่ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ก่อนที่ในช่วงปลายเดือนธ.ค.ปี 2009 ตำรวจเมืองอาวอน และโซเมอร์เซ็ท ได้ยุติการจำหน่ายอุปกรณ์ตรวจสอบระเบิด ADE651 พร้อมทั้งได้จับกุมหัวหน้าบริษัทผู้จำหน่ายอุปกรณ์ดัง กล่าวด้วย

ขณะที่บีบีซีพบว่า รัฐบาลอังกฤษเพิ่งจะบังคับห้ามการส่งออกอาวุธดังกล่าวให้แก่รัฐบาลอิรักและ อัฟกานิสถาน เนื่องจากเป็นห่วงสวัสดิภาพของทหารอังกฤษและทหารพันธมิตร

ขณะที่เมื่อวันที่ 5 ก.พ.ที่ผ่านมา รัฐบาลอังกฤษได้ติดต่อประเทศอื่น ๆ เตือนว่า รัฐบาลอังกฤษวิตกเกี่ยวกับประสิทธิภาพของอุปกรณ์ตรวจสอบวัตถุระเบิด ADE651 และ GT200

288
ผมเห็นด้วยกับ คุณ S2010023 และคุณ joe ว่ามันเสี่ยงเหมือนกัน ไม่เคยมีใครรับรองการตรวจรักษาผ่านทางเทคโนโลยี่แบบนี้ แพทยสภายอมรับหรือเปล่า? หากมีเรื่องกันขึ้นก็.........?

289
ถ้ากรรมการบริหารของโรงพยาบาล ok  แล้วกรรมการระดับจังหวัดก็ ok ด้วย
ก็ไม่ผิด ระเบียบให้อำนาจของกรรมการ 2 คณะที่ว่ามานี้ ครับ
(ว่าแต่ว่าโรงพยาบาลมีเงินจ่ายให้หมดทุกคนหรือ?)

290
เรื่องมาตรฐานการทำงาน เป็นเรื่องละเีอียดอ่อน และซับซ้อน การกำหนดมาตรฐานต้องมีที่มา ที่อ้างอิงได้ และสมเหตุสมผล แต่ไม่มีก็ำไม่ได้ เพราะที่ผ่านมาแพทย์ส่วนใหญ่รับภาระงานส่วนเกินโดยไม่ปริปาก ผู้บริหารทำเฉยๆ ไม่รู้ร้อนรู้หนาว ทำไม่รู้ไม่ชี้ แต่พอเกิดเรื่องเกิดราวขึ้น ถูกร้องเรียนพวกเราก็น้ำท่วมปาก พูดเรื่องภาระงานเกินมาตรฐานไม่ได้ เพราะไม่เคยมีมาตรฐานอะไรเลยสำหรับพวกเรา (แม้แต่มาตรฐานการรักษาโรคต่างๆก็ไม่มี-ใครไม่เห็นด้วยร่วมแสดงความคิดได้เลย) 

คำว่า มาตรฐานมีการใช้กันเยอะมาก แพทยสภาก็ใช้คำนี้มาหลายสิบปีแต่ไม่เคยมีการกำหนดกันให้เป็นเรื่องเป็นราว ได้แต่พูดกันไปด้วยลมปาก ในกฎหมายก็ใช้คำว่า มาตรฐาน เป็นตัวชี้วัดว่า ผิดหรือไม่ แล้วพยานศาลที่ถูกซักถามก็อ้าง textbook ของต่างประเทศ พวกเราก็ซวยซิ มาตรฐานการทำงานก็ไม่มี มาตรฐานของโรงพยาบาลก็ไม่มี(บุคลากร พยาบาล เครื่องมือ) มาตรฐานค่าตอบแทนก็ไม่ได้ แต่เอาจะมาตรฐานการรักษาของอเมริกา

เรื่องนี้นะ ตามความคิดของผม แพทยสภาไม่น่าจะเป็นคนลงมือเองเพราะไม่ใช่หน้าที่(หน้าที่ คือ รักษามาตรฐาน ไม่ใช่กำหนดมาตรฐานเอง) แต่แพทยสภาต้องเป็นหัวหอกผลักดันอย่างเต็มที่ให้เรื่องนี้เป็นภาระขององค์กรอื่นๆของวิชาชีพแพทย์ ตั้งแต่แพทยสมาคม (ราช)วิทยาลัยแพทย์สาขาต่างๆ ชมรม สมาคม สมาพันธ์ และพวกแพทย์เราทุกส่วนต้องไม่อยู่เฉยอีกต่อไป เรียกร้องให้เรื่องนี้เกิดเป็นจริงให้ได้ในอนาคตอันใกล้ (ไกลก็ไม่ไหวครับ)


291
                                          สรุปรายงานการประชุมวิสามัญครั้งที่ 1/2553
  ของสมาพันธ์แพทย์รพศ./รพท. แห่งประเทศไทย ณ ห้องไพจิตร  ปวะบุตรอาคาร 7  ชั้น 9 กระทรวงสาธารณสุข  วันที่   12 ก.พ.2553   เวลา  13.00-16.30  น.
ผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ   40  คน  พญ.พจนา กองเงิน  เป็นประธาน    นพ.ประดิษฐ์  ไชยบุตร  รองประธาน   พญ.พัชรี  ยิ้มรัตนบวร  เลขาฯ   พญ.สุธัญญา บรรจงภาค  ดำเนินการประชุม   ผู้เข้าร่วมประชุมมาจากทุกภาค
ผลสรุปในหลักการใหญ่ๆ
1.ค่าตอบแทน เงินเดือนและภาระงาน .1. เงินเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายไม่มีการยกเลิก  รอคำตอบจากสตง. ฝากอจ.ธวัชชัย ผอกรพ.พระนั่งเกล้า   เลขาฯชมรมผอก.รพศ./รพท.  ช่วยบอกบรรดาผอก.ร.พ.ให้จ่ายต่อไป  2.การศึกษาของสวรส.เราไม่มั่นใจขอให้มีการทำประชาพิจารณ์ในส่วนของสมาพันธ์ก่อน
            3.มาตรฐานภาระงาน   พญ.สุธัญญาในฐานะอนุกรรมการของแพทยสภา  กำลังยกร่าง  ขอให้พวกเราแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมส่งเข้า   suthunyaya@gmail.com   ตัวอย่าง:   1,มีวันหยุด  1 วัน/สัปดาห์ 2.อยู่เวรไม่เกิน 24 ชม. 3.ถ้าอยู่เวรตั้งแต่  24 ชม.ได้พัก 10 ชม.4.ทำงานไม่เกิน 80 ชม./สัปดาห์  5.ตรวจผู้ป่วยนอก   10 นาที/คน6.ผป.ใน 10 คน/แพทย์  1 คน  7.ผป.ICU  4 คน/แพทย์ 1คน8.แพทย์ อายุตั้งแต่  50  ปีไม่ตอ้งอยู่เวรนอกเวลาราชการ    จะนำเสนอในกรรมการแพทยสภาต่อไป
4.การแยกตัวจากกพ. กำลังดำเนินการประสานกับแพทยสภาให้ตั้งกรรมการยกร่าง   ใครคิดว่ามีความรู้ทางกฎหมายช่วยเสนอตัวด้วย
2.งบไทยเข้มแข็ง    มีข้อเสนอต่อรมต.สธ.  ให้ตั้งคณะกรรมการทีเป็นกลางในการสอบสวนเชิงลึก  และพิจารณางบฯตามความต้องการที่แท้จริง และตามภาระงาน     สมาพันธ์ฯจะประสานกับชมรมผอก.รพศ./รพท. จัดสัมมนาเรื่อง  ผลกระทบต่อประชาชน...เมื่องบฯไทยเข้มแข็งชะงัก     กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณา
3.ปัญหาการทำงานของสปสช. ส่งผลกระทบต่อสถานพยาบาลต่างๆ  กำลังขาดทุน    เราจะสนับสนุนให้พญ.เชิดชูและพญ.อรพรรณ  ฟ้องศาลปกครอง   จะร่วมจัดสัมมนา  รวมทั้งการประสานเครือข่ายในการหาข้อมูลเพื่อล้มสปสช. ต่อไป   ขอพวกเราเตรียมข้อมูลผลกระทบต่อการจ่ายงบประมาณและอื่นๆ  ช่วยกันคิด
4.โครงสร้างสมาพันธ์ฯ  เราได้ที่ปรึกษาเพิ่ม   กรรมการกลางเพิ่ม  และผู้ประสานเครือข่าย  จะสร้างความเข้มแข็งแก่สมาพันธ์ฯมากขึ้น   นพ.ประดิษฐ์จะสรุปโครงสร้างจะส่งข่าวให้พวกเราทราบต่อไป  ขอพวกเราติดตามข่าวสารทาง www.thaihospital.org
                                                                           สรุปรายงานการประชุม โดย   พญ.สุธัญญา   บรรจงภาค

292
คู่มือการใช้เว็บไซท์ของสมาพันธ์แพทย์รพศ./รพท.แห่งประเทศไทย
1.   เปิด web browser ที่ท่านเลือกใช้ เช่น internet explorer, firefox, opera เป็นต้น
2.   พิมพ์ชื่อเว็บ www.thaihospital.org ลงใน address browser แล้วคลิก
3.   จะขึ้นหน้าเว็บของสมาพันธ์ฯ
 ------------------รูป-----------------------
4.   สำหรับการเข้าเว็บครั้งแรกให้สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์ก่อน โดยการคลิกที่คำว่า
    ลงทะเบียน ที่มุมขวาบน
-------------------รูป---------------------                                                                 
5.   จะขึ้นหน้าต่อไปให้กรอกรายละเอียด คือ
----ตั้งชื่อที่ท่านต้องการใช้ในเว็บไซท์
----อีเมล์แอดเดรสของท่าน
----ตั้งรหัสผ่านของท่าน
----ยืนยันรหัสผ่านอีกครั้ง
----พิมพ์ตัวอักษรตามที่เห็น(จำลองการตรวจสอบ)
----คลิกตอบคำถาม คุณเป็นคนไทยในวงการสาธารณสุขหรือเปล่า
 -------------------รูป---------------------
กรอกเสร็จแล้วให้เลื่อนหน้าเว็บไซท์ลงไปด้านล่าง
-------------------รูป---------------------
คลิกให้ช่อง สี่เหลี่ยม หน้าคำว่า ตกลง แล้วคลิกที่คำว่า สมัครสมาชิก
6.   เท่านี้ก็เสร็จเรียบร้อย ท่านก็สามารถ post ความคิดเห็นได้โดยเสรี
7.   สำหรับท่านที่สมัครเป็นสมาชิกมาก่อนแล้ว เมื่อเปิดหน้าเว็บไซท์แล้วให้คลิกที่คำว่า
     เข้าสู่ระบบ ที่มุมขวาบนก่อน แล้วใส่ชื่อ และรหัสผ่าน                                     
-------------------รูป---------------------
8.   สำหรับเนื้อหาในเวบไซท์ก็มีหลายส่วนให้เลือกชม ส่วนเว็บบอร์ด ซึ่งเป็นส่วนที่ให้สมาชิกได้ ตั้งกระทู้ และแสดงความคิดเห็นนั้นจะอยู่ด้านซ้ายด้านบน
 -------------------รูป---------------------
เมื่อคลิกเข้าไปจะมีรายละเอียด เป็นหมวดหมู่ของข่าว
-------------------รูป---------------------
เมื่อเลือกคลิกในหมวดหมู่ใด ก็จะเข้าสู่หัวข้อย่อยในหมวดหมู่นั้นๆ เช่น เข้า ข่าว รพศ./รพท. ก็จะมีหัวข้อข่าวเกี่ยวกับ รพศ./รพท.ขึ้นมาให้เลือกอ่าน  ซึ่งสมาชิกที่เข้าสู่ระบบแล้วจะสามารถตั้งกระทู้ และแสดงความคิดเห็นในกระทู้ต่างๆได้
-------------------รูป---------------------
แต่ถ้าไม่ได้เป็นสมาชิก หรือยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ(ลงทะเบียนเป็นสมาชิกแล้ว แต่เมื่อเข้าเวบไซท์ ยังไม่ได้ log in --- ลงชื่อ ใส่รหัสผ่าน) ก็จะไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้(เริ่มหัวข้อใหม่) คือจะไม่มีช่อง เริ่มหัวข้อใหม่
-------------------รูป---------------------
ท่านที่เป็นสมาชิก และเข้าสู่ระบบแล้วสามารถตั้งกระทู้ได้(เริ่มหัวข้อใหม่)
     หากสนใจหัวข้อใดก็คลิกเข้าไปในหัวข้อนั้น
-------------------รูป---------------------
ท่านที่เป็นสมาชิกแล้ว และได้เข้าสู่ระบบ เมื่ออ่านแล้ว สามารถตอบกระทู้ แสดงความคิดเห็นได้ถ้าไม่ได้เป็นสมาชิก หรือยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ(เป็นสมาชิก คือ ลงทะเบียนแล้ว แต่เมื่อเข้าเวบไซท์ ยังไม่ได้ log in --- ลงชื่อ ใส่รหัสผ่าน) ก็จะไม่มีช่องให้ตอบกระทู้
 -------------------รูป---------------------
9.   การตั้งกระทู้ สมาชิกสามารถตั้งกระทู้ (บอกข่าวสาร หรือขอความคิดเห็นจากสมาชิกท่านอื่นๆได้) โดยการคลิกที่ เริ่มหัวข้อใหม่
-------------------รูป---------------------
จะขึ้นอีกหน้าหนึ่งให้เขียนกระทู้
-------------------รูป---------------------
สมาชิกสามารถกรอกรายละเอียดของกระทู้ เริ่มจาก หัวข้อ และข้อความ สุดท้ายเมื่อมั่นใจแล้วว่าไม่พิมพ์ผิด ก็ให้คลิก ที่ ตั้งกระทู้ ด้านล่าง
-------------------รูป---------------------
10.   การตอบกระทู้ เมื่อสมาชิกอ่านกระทู้แล้วอยากแสดงความคิดเห็น ก็สามารถแสดงได้โดยการตอบกระทู้ เช่น สนใจหัวข้อใด ก็คลิกเข้าหัวข้อนั้น
 -------------------รูป---------------------
เมื่ออ่านแล้ว อยากแสดงความคิดเห็น ก็ให้คลิกที่ช่อง ตอบกระทู้ ด้านขวาบนของหัวข้อ จะเปิดเป็นหน้าใหม่ขึ้นมา
-------------------รูป---------------------
สมาชิกสามารถพิมพ์ความคิดเห็นลงในช่อง ข้อความตามความพอใจ เมื่อเสร็จสิ้นถ้อยคำ ก็ให้คลิกที่ช่อง ตั้งกระทู้ ด้านล่าง
-------------------รูป---------------------
11.   สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับสมาชิกสมาพันธ์แพทย์รพศ./รพท. คือ
               11.1   ลงทะเบียน เป็นสมาชิกของเว็บไซท์ และ
               11.2   ทุกครั้งที่เข้าเว็บไซท์ให้ เข้าสู่ระบบ ก่อนเสมอ

--------------------------จบแล้วครับหวังว่าคงเป็นประโยชน์บ้างสำหรับมือใหม่หัดขับ-----------------------
-------------------------------------------------------สวัสดีครับ
ผมทำรูปประกอบไว้ด้วย แต่ในกระทู้นี้รูปไม่ขึ้น ผู้ที่สนใจ บอกอีเมลมา ผมจะส่งไปทางอีเมลให้

293
โรงพยาบาลเอกชนชื่อดัง 4 แห่ง ถอนตัวบัตรทอง เหตุขาดทุน ส่งผลคนกทม.เกือบ 2 แสนคน ไร้โรงพยาบาลรองรับสิทธิ

นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล ผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 13 กรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า ปลายปี 2552 ที่ผ่านมามีโรงพยาบาลเอกชน 4 แห่งแสดงความจำนงขอถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วน หน้า ได้แก่ 1.รพ.เกษมราษฎร์ ประชาชื่น มีประชาชนที่ได้รับผลกระทบ 74,395 คน 2.รพ.เกษมราษฎร์ บางแค ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ 53,740 คน 3.รพ.เกษมราษฎร์ สุขาภิบาล 3 จำนวน 41,004 คน และ 4.รพ.ศรีวิชัย 2 จำนวน 30,130 คน ซึ่งจะทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบ จำนวน 199,269 คน

 “การงดรับบริการครั้งนี้ ไม่ใช่งดรับผู้ป่วยทั้งหมด โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ งดรับเฉพาะผู้ป่วยที่ถือบัตรปฐมภูมิในโรงพยาบาล หรือผู้ป่วยที่มีสิทธิรักษาที่โรงพยาบาลโดยตรง แต่จะยังเป็นหน่วยบริการรับส่งต่อจากปฐมภูมินอกโรงพยาบาล ซึ่งขณะนี้มีประมาณ 2 แสนคน ส่วนโรงพยาบาลศรีวิชัย ขอออกจากโครงการทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน สำหรับสาเหตุการถอนตัวมาจากโรงพยาบาลไม่สามารถแบกรับภาระงานที่มากขึ้น รวมถึงภาระการขาดทุน ซึ่งเรื่องนี้เกิดขึ้นได้ ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะปัจจุบันย่อมมีทั้งโรงพยาบาลที่ถอนตัวและเข้าร่วมใหม่ จึงไม่อยากให้กังวล” นพ.สุรเดช กล่าว

 นพ.สุรเดช กล่าวอีกว่า ผลกระทบครั้งนี้ สปสช.ได้จัดหาหน่วยบริการใหม่รองรับผู้ป่วยทั้งหมดแล้ว แต่หากประชาชนไม่สะดวกสามารถเลือกหน่วยบริการใกล้บ้านตามระบบได้ ซึ่งการเลือกหน่วยบริการใกล้บ้านด้วยตนเองนั้น สปสช.ยังได้ประชุมร่วมกับผู้นำชุมชนเพื่อแจ้งว่า หากชุมชนใดต้องการย้ายหน่วยบริการ ทาง สปสช. จะจัดเจ้าหน้าที่ลงไปดำเนินการปรับเปลี่ยนให้ทันที ล่าสุดมีโรงพยาบาลเอกชน 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ แสดงความจำนงขอเข้าร่วมโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จะเป็นอีกหนึ่งหน่วยบริการให้ประชาชนได้เลือก

 “การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมดจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือนเมษายน 2553 อย่างไรก็ตามเพื่อความสะดวกของผู้ป่วยที่ต้องส่งต่อ ทาง สปสช.ได้ขอให้หน่วยบริการเดิมทำประวัติผู้ป่วย เพื่อมอบให้หน่วยบริการใหม่นำไปใช้เป็นข้อมูลในการรักษาด้วย” นพ.สุรเดช กล่าว

294
ขอถามแพทย์ผู้ใช้งานหน่อยครับ มัน work หรือเปล่า? มีปัญหากับคนไข้ หรือญาติหรือเปล่าครับ?

295
วันที่ 16 ก.พ. นายไชยนันท์ ทยาวิวัฒน์ ผอ.โรงพยาบาลเชียงคำ จ.พะเยา กล่าวว่า ฝ่ายเทคนิคของโรงพยาบาลมีการพัฒนาระบบเครื่องมือตรวจและรักษาอาการของผู้ ป่วยด้วยเครือข่ายระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ตเป็น “เว็บแคม” ใช้รักษาผู้ป่วยโดยแพทย์จะรักษาอาการผู้ป่วยผ่านทางกล้องเว็บแคม ที่ติดตั้งและเชื่อมต่อกับจอแอลซีดี เมื่อกล้องส่องไปที่ผู้ป่วยให้เห็นอาการหรือบาดแผลที่ชัดเจน แพทย์จะมองเห็นและสั่งการรักษาผ่านทางจอแอลซีดีได้ทันที ทำให้เกิดความรวดเร็วต่อการทำงานของแพทย์และผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะนี้จุดแรกที่ใช้ระบบดังกล่าวคือ แผนกฉุกเฉิน เพราะมีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาจำนวนมากในแต่ละวัน และเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการรักษาผู้ป่วย ตนได้สั่งการให้ฝ่ายเทคนิคเร่งผลิต 24 เครื่อง เพื่อนำไปติดตั้งในทุกตึกของโรงพยาบาล 

296
ที่กระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 15 ก.พ. เวลา 13.00 น. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนงบประมาณในโรงพยาบาลถิ่น ทุรกันดาร จำนวน 172 แห่ง
ซึ่งตั้งอยู่บริเวณตามแนวชายแดน 10 จังหวัด ที่ต้องแบกรับค่ารักษาพยาบาลกลุ่มคนที่รอพิสูจน์สัญชาติ นอกจากการบริการรักษาคนไทยที่ได้รับงบประมาณค่าใช้จ่ายรายหัว โดยต้องเจียดงบประมาณที่ได้ไปช่วยเหลือ ซึ่งกลุ่มคนรอพิสูจน์สัญชาติ เป็นคนไทยที่อยู่ในประเทศไทยมานาน
 ก่อนหน้านี้เคยได้รับบัตรสวัสดิการประชาชนเพื่อรักษาพยาบาล (บัตร สปร.) สิทธิ์รักษาฟรีในฐานะผู้มีรายได้น้อย และนอกจากนี้ยังเคยได้รับสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) เช่นเดียวกับคนไทยมาก่อน แต่ได้ถูกยกเลิกไปเมื่อปี 2545 หลังจากที่มีการตีความใน พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งนอกจากกลุ่มคนที่รอพิสูจน์สัญชาติแล้ว
 นายจุรินทร์ กล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่ข้ามแดนเข้ามาทำงานในประเทศไทย ซึ่งนำบางโรคเข้ามาแพร่ยังคนไทยด้วย เช่น วัณโรค อหิวาตกโรค โรคเท้าช้าง เป็นต้น จำเป็นต้องป้องกันและควบคุม ทำให้เป็นปัญหาที่โรงพยาบาลตามแนวชายแดนต้องแบกรับค่าใช้จ่ายเช่นกัน ในการประชุมผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขวันนี้ จึงเห็นชอบให้นำเรื่องนี้เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อจัดงบประมาณในการ ดูแลสุขภาพกลุ่มคนที่รอพิสูจน์สัญชาติ ซึ่งมีจำนวน 450,000 รายเพื่อให้ได้รับสิทธิบัตรทอง เป็นการช่วยเหลือโรงพยาบาลที่กำลังประสบปัญหา คาดว่าเบื้องต้นจะเป็นการของบประมาณในช่วงครึ่งปี 2553 นี้ โดยเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน – ตุลาคม จำนวน 550 ล้านบาท อย่างไรก็ตามจะนำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมบอร์ด สปสช. ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นวาระพิเศษเพื่อขอมติ

297
ข่าว รพศ./รพท. / Re: "รพ. พระนารายณ์มหาราช"
« เมื่อ: 16 กุมภาพันธ์ 2010, 00:43:24 »
เปลี่ยนชื่อ ตั้งแต่เมื่อไหร่ ครับ วันเดือนปี
ป้ายต่างๆ ในโรงพยาบาล หรือในจังหวัดเปลี่ยนแล้วหรือยัง

298
สธ.เดินหน้าตาม พ.ร.บ.กระจายอำนาจ พร้อมให้ทุกจังหวัดตั้งคณะกรรมการพิจารณาการถ่ายโอนสถานีอนามัยให้ อปท.ดูแล เผยขณะนี้พร้อมรับโอนแล้ว 500 แห่ง สั่งเน้นประชาชนต้องได้รับประโยชน์มากขึ้น เตรียมขอ ก.พ.อนุมัติ 22,000 ตำแหน่ง บรรจุลูกจ้างวิชาชีพสาธารณสุขที่จบตั้งแต่ปี 2548-2552 เป็นข้าราชการ สร้างขวัญกำลังใจ เล็งขอตำแหน่งพยาบาล 3,000 อัตรา แก้ปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนใต้
       
        นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขและโฆษกกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงการถ่ายโอนสถานีอนามัยไปอยู่กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ว่า สธ.พร้อมที่จะดำเนินการตามพระราชบัญญัติการกระจายอำนาจ เพื่อทำให้งานสาธารณสุขในพื้นที่ได้รับการพัฒนาดียิ่งขึ้น โดยขณะนี้มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประมาณ 500 แห่ง มีความพร้อมรับโอนสถานีอนามัย ซึ่ง สธ.จะพิจารณาเรื่องนี้อย่างรอบคอบ และดำเนินการค่อยเป็นค่อยไปตามความพร้อมของพื้นที่ โดยจะให้ทุกจังหวัดตั้งคณะกรรมการพิจารณาร่วมกันกับ อปท.ว่าจะเป็นไปในลักษณะใด เนื่องจากการกระจายอำนาจไม่มีรูปแบบเดียว และต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ รวมทั้งความก้าวหน้าในวิชาชีพของบุคลากรสาธารณสุขด้วย
       
       นพ.สุพรรณ กล่าวต่อว่า นอก จากนี้ สธ.ยังได้วางแผนในด้านอัตรากำลังคน โดยได้ทำหนังสือถึงสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ขอบรรจุตำแหน่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ทั่วประเทศทุกสาขาที่สำเร็จการศึกษา ตั้งแต่ปี พ.ศ.2548-2552 ประมาณ 22,000 คน และยังเป็นลูกจ้างชั่วคราวของ สธ. ให้บรรจุเป็นข้าราชการทั้งหมด เพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน ให้มีความมั่นคงในอาชีพ ซึ่งในจำนวนนี้รวมถึงการขอตำแหน่ง 3,000 อัตรา เพื่อรองรับพยาบาล 3,000 คนในโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพื่อแก้ปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ซึ่งจะจบในปี 2554 ด้วย

299
เมื่อวันที่ 13 ก.พ.53 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.สาธารณสุข เปิดเผยว่า ได้เสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) ของบกลาง เพื่อพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน จำนวนเงินทั้งสิ้น 133,133,400 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศ โดยเฉพาะการพัฒนาศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการทาง 1669 ซึ่งเป็นจุดเริ่มในการรับแจ้งเหตุจากประชาชนหรือผู้ป่วยฉุกเฉิน และการสั่งการให้หน่วยปฎิบัติออกให้บริการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน ของสำนักงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินประจำจังหวัด จำนวน 79 แห่ง หากงบไม่เพียงพอจะส่งผลกระทบต่อผู้เจ็บป่วย ขาดโอกาสรับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที อาจเสียชีวิตหรือพิการได้

นาย จุรินทร์ กล่าวต่อไปว่า สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ได้รับงบประมาณตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2553 วงเงิน 444.9 ล้านบาท ประกอบด้วย งบกองทุนการแพทย์ฉุกเฉิน จำนวน 390.2500 ล้านบาท สำหรับเป็นค่าชดเชยบริการการแพทย์ฉุกเฉินซึ่งมีปีละ 700,000 ครั้ง โดยคิดเป็นรายละ 8.30 บาท ต่อประชาชนที่อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือเฉลี่ยอัตรา 6.23 บาทต่อประชากรไทยทั้งหมด และเป็นงบบริหารจัดการของสถาบันฯ จำนวน 54.7167 ล้านบาท โดยไม่ได้รับจัดสรรในส่วนของการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนศูนย์รับแจ้งเหตุสั่งการ ค่าบริหารจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉินระดับจังหวัด จึงทำให้ไม่สามารถปฏิบัติงานได้

นายจุรินทร์ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้งบกลางที่ขอเพิ่มครั้งนี้ จะใช้ดำเนินงาน 2 ส่วนได้แก่ การสนับสนุนศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการตลอด 24 ชั่วโมง และสนับสนนุสำนักงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินประจำจังหวัด 113,365,400 บาท ตรวจสอบคุณภาพการจ่ายค่าชดเชยบริการ 12,945,000 บาท และพัฒนาบุคลากรในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน จำนวน 6,814,000 บาท

“ซึ่ง หาก ครม.ให้ความเห็นชอบ ก็จะช่วยให้ศูนย์รับแจ้งเหตุ 1669 และศูนย์รับแจ้งเหตุประจำจังหวัดทุกจังหวัดสามารถรับแจ้งเหตุ และสั่งการช่วยเหลือผู้ป่วยกรณีฉุกเฉินได้ตลอด 24 ชั่วโมงในทันที” นายจุรินทร์ กล่าว

300
เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ที่อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.อำนาจ กุสลานันท์ อุปนายกแพทยสภา กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการแพทยสภามีมติเป็นเอกฉันท์รับรองหลักสูตรแพทยศาสตร์ ภาคภาษาอังกฤษ ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เหมือนเดิม ไม่มีการกลับมติคณะกรรมการแต่อย่างใด เพียงแต่ภายหลังจากมีการรับรองหลักสูตรนี้ มีคณาจารย์ คณะแพทยศาสตร์บางคนมีความเห็นต่าง คณะกรรมการแพทยสภาจึงต้องนำเรื่องนี้กลับเข้ามาสู่การพิจารณาใหม่อีกครั้ง
 “คณะกรรมการแพทยสภามีมติรับรองหลักสูตรแพทยศาสตร์ ภาคภาษาอังกฤษของ มศว เหมือนเดิม ไม่ใช่หลักสูตรนานาชาติ เพราะเห็นว่าหลักสูตรนี้เป็นประโยชน์ต่อประชาชน และไม่ได้ทำให้เกิดความเสียหายต่อสังคม การผลิตแพทย์ในประเทศก็ยังคงดำเนินการตามปกติ และหลักสูตรนี้ก็เป็นการผลิตแพทย์มารับใช้สังคมไทย เพียงแต่เรียนเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อให้แพทย์มีโอกาสพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ” นพ.อำนาจกล่าว

 นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า ในการรับรองหลักสูตรแพทยศาสตร์ ภาคภาษาอังกฤษ มีการระบุเงื่อนไขไว้อย่างชัดเจน ผู้ที่สามารถศึกษาในหลักสูตรนี้ได้ต้องเป็นคนไทย เมื่อสำเร็จการศึกษาต้องใช้ทุน ต้องรายงานผลการดำเนินการต่อแพทยสภาทุก 6 เดือน และต้องมีการประสานความขัดแย้งภายใน มศว ให้เรียบร้อยด้วย ในส่วนของการเปิดสอนหลักสูตรนี้หรือไม่ คิดค่าเล่าเรียนเท่าไหร่ รับนักศึกษาจำนวนเท่าไหร่ เป็นอำนาจการพิจารณาของสภามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สำหรับการจะเปิดหลักสูตรแพทยศาสตร์ นานาชาติเพื่อรับนักศึกษาต่างชาติหรือไม่ จะต้องมีการหารือในระดับประเทศ ทั้งสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และแพทยสภา
 “แพทยสภาไม่ได้พิจารณาหลักสูตรนี้ด้วยความรีบร้อน แต่มีการเลื่อนวาระเรื่องนี้ออกจากการพิจารณาของคณะกรรมการมาแล้วถึง 2 ครั้ง และแม้หลักสูตรจะผ่านการรับรอง แต่ถ้า มศว เคลียร์ความขัดแย้งภายในไม่ได้ ก็คงเปิดหลักสูตรนี้ไม่ได้ เพราะการจะเปิดการเรียนการสอนจะต้องผ่านกระบวนการ 2 ส่วน คือ การรับรองหลักสูตรและการอนุมัติของสภามหาวิทยาลัย” นพ.สัมพันธ์กล่าว

หน้า: 1 ... 18 19 [20] 21 22