แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - pradit

หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 22
47
โครงการจัดสัมมนาความรู้คู่แรงงาน/ผู้ประกันตนไทย
เรื่อง ทางเลือกประกันสุขภาพของแรงงานไทยและผู้ประกันตนระบบประกันสังคม : เสือ หรือ จระเข้
วันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๔
ณ.ห้องประชุมชั้น ๗  กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ถนนมิตรไมตรี กรุงเทพฯ

๘.๓๐ – ๙.๐๐ น.  ลงทะเบียนเข้าประชุม   

๙.๐๐ – ๙.๑๕ น.  เปิดการประชุม โดย นายแพทย์สมเกียรติ ฉายะวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
         กล่าวรายงานเปิดการประชุมโดย นายจิรโชติ  แสงสังข์  ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย

๙.๑๕-  ๙.๔๕ น.  การบรรยาย หัวข้อ แก่นแท้ของการประกันสังคมสากล
โดย พลอากาศตรี น.พ.บรรหาร  กออนันตกุล 

๙.๔๕- ๑๐.๑๕ น. การประกันสังคมของแรงงานไทยและสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนด้านสุขภาพ
นายชินโชติ แสงสังข์ ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย
นายแพทย์สุรเดช  วจีอิทธิกุล  สำนักงานประกันสังคม

๑๐.๑๕-๑๐.๔๕ น.การอภิปราย เรื่อง สถานการณ์ระบบประกันสุขภาพสากล และประเทศไทย
แพทย์หญิงเชิดชู  อริยศรีวัฒนา ประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฯ
นายแพทย์เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ ศัลยแพทย์ระบบสมองและประสาท รพ.ราชวิถี
แพทย์หญิงอรพรรณ์  เมธาดิลกกุล นายกสมาคมแพทย์อาชีวเวชศาสตร์(สพอท.)
พญ.ประชุมพร  บูรณ์เจริญ  ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป
เทคนิคการแพทย์วัฒโนทัย ไทยถาวร ประธานชมรมเทคนิคการแพทย์ ก.สธ.
ผู้แทนแรงงาน ผู้แทนผู้ประกันตน ผู้นำแรงงาน  1 ท่าน

๑๐.๔๕-๑๑.๐๐ น. อาหารว่าง

๑๑.๐๐-๑๑.๓๐ น. การอภิปราย เรื่อง สถานการณ์ระบบประกันสุขภาพสากล และประเทศไทย(ต่๑๑.๓๐-

๑๒.๑๕ น. วิเคราะห์ทางเลือก/ทางรอดในระบบประกันสุขภาพ/ประกันสังคมไทย                                 
โดย อาจารย์แก้วสรร  อติโพธิ 

๑๒.๑๕-๑๓.๑๕น.  รับประทานอาหารกลางวัน

๑๔.๑๕-๑๕.๐๐ น. ประชุมกลุ่ม ระดมความเห็นจากผู้เข้าประชุม  เรื่อง การพัฒนาระบบประกัน
                        สุขภาพของแรงงานไทยและผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมของประเทศไทย
                        มีวิทยากรประจำกลุ่ม         
                       กลุ่มที่ ๑ นพ.วิสุทธิ์  ลัจฉเสวี  และ ผู้นำแรงงาน/ผู้ประกันตน 2 ท่าน
                       กลุ่มที่ ๒ พ.ญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ และ ผู้นำแรงงาน/ผู้ประกันตน 2 ท่าน
                       กลุ่มที่ ๓ ทนพ.วัฒโนทัย ไทยถาวร  และ ผู้นำแรงงาน/ผู้ประกันตน 2 ท่าน
                       กลุ่มที่ ๔ พ.ญ.อรพรรณ์  เมธาดิลกกุล และ ผู้นำแรงงาน/ผู้ประกันตน 2 ท่าน

๑๕.๐๐-๑๕.๑๕ น. อาหารว่าง

๑๕.๑๕-๑๖.๐๐ น. นำเสนอผลการประชุมกลุ่มย่อย และสรุปข้อเสนอต่อกระทรวงแรงงานและ
                        สวัสดิการสังคมโดยนายชินโชติ  แก้วสังข์ ร่วมกับ ผู้แทนแรงาน/ผู้ประกันตน

๑๖.๐๐-๑๖.๓๐ น. สำรวจประชามติเบื้องแรก ความต้องการของแรงงานไทยและผู้ประกันตนไทยใน
ระบบประกันสุขภาพ ดำเนินการโดย  ทนพ.วัฒโนทัย  ไทยถาวร สพอท.

๑๖.๓๐ น.           ปิดการประชุม

48
สงกรานต์ 3 วันเสียชีวิตแล้ว 116 ราย กทม.มียอดตายสะสมสูงสุด

สงกรานต์ 3 วันมีผู้เสียชีวิตแล้ว 116 รายลดลงจากปีที่แล้ว 50 ราย มีผู้บาดเจ็บรวม 1,760 ราย นครศรีธรรมราชเกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด 78 ครั้งขณะที่เชียงรายมีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด 85 ราย ด้าน กทม.แชมป์ผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุดมี 7 ราย สธ.เตือนผู้ใหญ่เล่นน้ำวันละไม่เกิน 4 ชม.เด็กวันละไม่เกิน 1 ชม.และหลีกเลี่ยงน้ำสกปรก
       
       วันนี้ (14 เม.ย.) นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงข่าวว่า สรุปสถานการณ์วันที่ 3 (13 เม.ย.) ในการรณรงค์สงกรานต์ปลอดภัย สวมหมวกนิรภัย 100 เปอร์เซ็นต์ พบว่า เกิดอุบัติเหตุ 733 ครั้ง เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 166 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 29.28 เทียบกับวันเดียวกันของปีที่แล้วลดลง 137 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 15.75 ผู้เสียชีวิต 57 ราย เทียบกับวันที่ 3 ของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้น 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 9.62 เทียบกับวันเดียวกันของปีที่แล้วลดลง 12 ราย คิดเป็นร้อยละ 17.39 ผู้บาดเจ็บ 784 ราย เทียบกับวันที่ 3 ของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้น 171 ราย คิดเป็นร้อยละ 27.90 เทียบกับวันเดียวกันของปีที่แล้วลดลง 145 ราย คิดเป็นร้อยละ 15.61
       
       นพ.ไพจิตร์กล่าวต่อว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ
เมา สุรา ร้อยละ 45.16
ไม่สวมหมวกนิรภัย ร้อยละ 32.70

ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ จักรยานยนต์ ร้อยละ 82.72
ส่วนใหญ่เกิดในเส้นทางตรง ร้อยละ 57.16
บนถนน อบต.และหมู่บ้านร้อยละ 33.15
ทางหลวงแผ่นดินร้อยละ 32.06

ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุคือ 16.01-20.00 น. ร้อยละ 32.88

ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อายุ 20-49 ปี ร้อยละ 55.41

จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ จังหวัดนครศรีธรรมราช 40 ครั้ง จังหวัดมหาสารคาม 27 ครั้ง
จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด คือ กทม. และจังหวัดขอนแก่น จังหวัดละ 4 ราย
จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด คือ จังหวัดนครศรีธรรมราช 42 ราย จังหวัดเชียงราย 31 ราย

ทั้งนี้มีการตั้งจุดตรวจ 2,514 จุด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 70,317 นาย เรียกตรวจพาหนะ 75,9774 คัน โดยดำเนินคดี 97,391 ราย ความผิดฐานไม่สวมหมวกนิรภัย 31,683 ราย ไม่มีใบขับขี่ 27,860 ราย
       
       รองปลัด สธ.กล่าวด้วยว่า สรุปอุบัติเหตุทางถนนสะสม 3 วัน ระหว่างวันระหว่างวันที่ 11-13 เม.ย.คือ เกิด อุบัติเหตุรวม 1,626 ครั้ง ลดลงจากปีที่แล้ว 368 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 18.46 ผู้เสียชีวิตรวม 116 ราย ลดลงจากปีที่แล้ว 50 ราย คิดเป็นร้อยละ 30.12 ผู้บาดเจ็บรวม 1,760 ราย ลดลงจากปีที่แล้ว 389 ราย คิดเป็นร้อยละ 18.10 จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุดคือจังหวัดนครศรีธรรมราช 78 ครั้ง รองลงมาจังหวัดเชียงราย 77 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด คือ กทม. 7 ราย จังหวัดเชียงใหม่ 6 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด คือ จังหวัดเชียงราย 85 ราย จังหวัดนครศรีธรรมราช 82 ราย
       
       นพ.ไพจิตร์กล่าวอีกว่า สถิติวันที่ 13 เม.ย. มีสถิติเสียชีวิตสูงกว่าวันที่ 11-12 เม.ย. สาเหตุมาจากการขับขี่รถจักรยานยนต์เล่นน้ำสงกรานต์โดยไม่สวมหมวกนิรภัย และมีอาการเมาสุรารวมทั้งขับรถเร็ว ส่วนใหญ่ผู้ประสบเหตุเป็นผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี คือ ร้อยละ 30 จึงมีการสั่งการให้จังหวัดและตำรวจตั้งจุดตรวจให้เข้มงวด โดยเฉพาะพื้นที่เล่นน้ำสงกรานต์ และสั่งการสรรพาสามิตให้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งนี้หากเกิดเหตุขึ้นจะมีหน่วยกู้ชีพฉุกเฉินเข้าไปในพื้นที่ภายใน 10 นาที โดยสามารถโทรศัพท์แจ้งเหตุได้ที่หมายเลข 1669 อย่างไรก็ตาม ขอเตือนว่าผู้ใหญ่ที่เล่นน้ำสงกรานต์ไม่ควรเล่นน้ำเกินวันละ 4 ชั่วโมง เด็กไม่ควรเกินวันละ 1 ชั่วโมง หลีกเลี่ยงน้ำสกปรกและน้ำแข็ง

49


 แล้วอะไรจะตามมา

50

แถลงการณ์ประณามผู้ผลักดันร่างพรบ.คุ้มครองผู้เสียหาย

      เนื่องจากในขณะนี้ได้มีปรากฏการณ์ในสังคมเครือข่ายอินเตอร์เนต โดยมีการนำเสนอข้อมูลที่มีเจตนาหลอกลวงประชาชนให้หลงเชื่อสนับสนุนร่างพรบงคุ้มครองฯ โดยการแสดงในเฟชบุคที่มีเครือข่ายผู้เสียหายเป็นผู้สนับสนุนเพราะมีการเชื่อมโยงให้เข้าถึงข้อมูลเท็จนี้ โดยข้อมูลเท็จนี้มีเนื้อหาโจมตีโรงพยาบาลทั่วประเทศว่า ทุก 1 คนใน 6 คนที่ตายในโรงพยาบาลเกิดจากความผิดพลาดทางการแพทย์ และมีการทำกราฟแท่งแสดงสถิติสาเหตุการตายของคนไทยปี 2549  แสดงข้อมูลเท็จ สาเหตุการตายอันดับหนึ่งคือความผิดพลาดทางการแพทย์ถึง 65,000 คน มากกว่าการเสียชีวิตจากมะเร็ง ,อุบัติเหตุ และโรคหัวใจ ตามลำดับ และมีการโน้มน้าวอีกว่าการฟ้องร้องแพทย์นั้นมีโอกาสชนะน้อย , เสียค่าใช้จ่ายมาก และใช้เวลานาน และโน้มน้าวให้สนับสนุนร่างพรบ.นี้ เพราะจะได้เงินช่วยเหลือทันที ถือเป็นการให้ข้อมูลเท็จหลอกลวงประชาชน ซึ่งคาดว่าหวังผลให้ผลักดันร่างพรบ.คุ้มครองฯ นี้เพื่อแสวงหาผลประโยชน์บางอย่างให้กับตนเองหรือกลุ่มของตนเอง ทางสมาพันธ์แพทย์รพศ/รพท. ได้ขอวิจารณ์การให้ข้อมูลเท็จนี้ว่า เป็นการนำเสนองานวิจัยที่แม้จะมาจากหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข แต่ก็ไม่ได้รับการยอมรับในระดับประเทศ เพราะเป็นการทำมาจากข้อมูลของสถาบันไม่กี่แห่ง ไม่สามารถเป็นตัวแทนข้อมูลระดับประเทศได้ ซึ่งสังเกตได้ว่าขณะที่ข้อมูลผู้เสียชีวิตระดับประเทศจะเป็นตัวเลขที่ไม่ลงตัวพอดี เช่น (ผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งเท่ากับ 52,062 คน) แต่ข้อมูลที่อ้างว่าเสียชีวิตจากความผิดพลาดทางการแพทย์ของผู้ผลักดันร่างพรบ. เท่ากับ 65,000 คน ซึ่งเกิดมาจากคิดคำนวณเอาเอง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่สามารถเป็นข้อมูลที่มารวมกันได้ เพราะสถิติผู้เสียชีวิตทุกปีจะเกิดจากการรวบรวมจริงจากโรงพยาบาลทั่วประเทศ ไม่ได้มาจากการคำนวณตัวเลขเอาเอง ส่วนประเด็นการนำเสนองานวิจัยนี้ในองค์การอนามัยโลก ไม่ได้หมายถึงเป็นการยอมรับในระดับโลก ทางองค์การอนามัยโลกจึงไม่เคยมีการแถลงความสำคัญของข้อมูลนี้เลย เพราะถ้าข้อมูลนี้เป็นความจริงน่าเชื่อถือ คงกลายเป็นวาระแห่งชาติไปแล้ว ไม่ได้เป็นการปกปิดข้อมูลแก่คนไทยแต่อย่างใด เพราะเป็นแค่งานวิจัยเท่านั้น ดังนั้น การนำเสนอทุกปีจากข้อมูลกระทรวงสาธารณสุขจึงยังเสนอข้อมูลการเสียชีวิตของคนไทยอันดับหนึ่ง คือ โรคมะเร็ง จากเหตุผลทั้งหมดนี้ สมาพันธ์ฯ ได้รับฉันทามติให้ดำเนินการดังนี้

      1.  ขอประณามการกระทำของผู้ผลักดันร่างพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ที่นำเสนอข้อมูลอันหลอกลวง ประชาชน โดยเครือข่ายผู้เสียหายฯ ต้องมีส่วนรับผิดชอบ เพราะมีการเสนอข้อมูลนี้มาหลายเวที หลายวาระ และมีการเชื่อมโยงลิงค์นี้ให้เข้าถึงข้อมูลเท็จนี้ด้วย จึงเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอนี้ แสดงความรับผิดชอบ และเหตุการณ์ครั้งนี้เครือข่ายผู้เสียหายไม่มีความชอบธรรมในการร่วมผลักดันร่างพรบ.นี้ เพราะการกระทำครั้งนี้แสดงถึงเจตนาที่ไม่บริสุทธิ์ และวิธีการที่ไม่สุจริตเพื่อหลอกลวงประชาชน

      2.  ขอเรียกร้องให้รัฐมนตรีทุกกระทรวงที่ดูแลโรงพยาบาลทั่วประเทศแสดงความรับผิดชอบด้วยการชี้แจงประชาชนที่ถูกต้อง ซึ่งถ้าไม่มีการชี้แจงเท่ากับทุกกระทรวงยอมรับข้อมูลนี้ ซึ่งแสดงถึงความล้มเหลวของการบริการของโรงพยาบาลทั่วประเทศ และเห็นควรว่ากระทรวงผู้รับผิดชอบควรมีหน้าที่ในการฟ้องร้องทางกฎหมายในการกระทำหลอกลวงประชาชนในครั้งนี้ และรัฐบาลควรนำกลับมาพิจารณาในพฤติกรรมของผู้ผลักดันร่างพรบ.นี้ว่า สมควรสนับสนุนร่างกฎหมายนี้โดยผู้ผลักดันกลุ่มนี้เข้าไปในสภาผู้แทนวาระนี้หรือไม่

      3.  สมาพันธ์ขอรณรงค์โรงพยาบาลทั่วประเทศแสดงการคัดค้าน ประณามการกระทำของเครือข่ายผู้เสียหายฯ โดยการแสดงออกการชุมนุมหรือติดป้ายประท้วงทั่วประเทศ เพื่อเป็นการแสดงถึงว่าโรงพยาบาลทุกแห่งในประเทศไม่ยอมรับการให้ข้อมูลเท็จในครั้งนี้

   


               แถลง ณ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554



51

แพทย์-พยาบาล "อุตรดิตถ์" รวมตัวคัดค้านร่าง พรบ.คุ้มครองคนไข้
วันที่ 07 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 เวลา 11:48:00 น
 
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 7 กุมภาพันธ์ นพ.อัสนี ภมราภา ตัวแทนองค์กรวิชาชีพแพทย์และสาธารณสุขโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ พร้อมด้วยคณะแพทย์ ทันตแพทย์เภสัชและพยาบาล จำนวนกว่า 50 คน รวมตัวกันที่บริเวณหน้าตึกศัลยกรรมอุบัติเหตุ โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ออกแถลงการณ์คัดค้านการนำร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรักษาพยาบาล ไม่ให้มีการนำเข้าพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎร แต่ต้องการให้ พ.ร.บ.ดังกล่าวมีการลงมติแสดงความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศด้วยการทำประช าพิจารณ์ ซึ่งถือว่าเป็นการแสดงออกโดยประชาชนซึ่งเป็นผู้รักษาพยาบาลโดยตรง
 
 
นพ.อัสนีกล่าวว่า ปัจจุบันนี้คนไข้มีจำนวนมากขึ้น แพทย์ต้องตรวจคนไข้ล้นมือ ทำให้มีเวลากับผู้ป่วยน้อยมากเพราะผู้ป่วยเข้ารับการรักษาพยาบาลมีเป็นจำนวน มาก ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยบนวอร์ดจนล้นมานอนข้างระเบียง ข้างลิฟต์ ซึ่งหลักสากลเท่ากับแพทย์ทำงานผิดมาตรฐานวิชาชีพอยู่ตลอดเวลา ย่อมเป็นเหตุผลได้เสมอว่า เป็นเหตุให้ผู้ป่วยเสียหาย เท่ากับแพทย์ถูกฟ้องร้องว่าเป็นผู้ทำให้เสียหายได้ตลอดเวลา
 
"ครั้งนี้จะมีการตั้งศาลเตี้ยจากร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองฉบับนี้ ซึ่งไม่ได้ตัดสินใจจากสภาวิชาชีพและศาลสถิตยุติธรรม แต่มีกรรมการตัดสินที่ส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ทางวิชาชีพและกฎหมาย สรุปการตัดสินโดยใช้เสียงข้างมากโดยอาศัยความเข้าใจตามที่มันสมองของกรรมการ จะอำนวยให้เข้าใจได้ ทั้งที่ไม่มีวิชาชีพโดยตรง ดังนั้น ความเสี่ยงที่ถูกฟ้องร้องและตัดสินโดยไม่เป็นธรรมมีสูงมาก พวกเราจึงต้องออกมารวมตัวกันคัดค้าน"

มติชน

52

แถลงการณ์

บุคลากรโรงพยาบาลราชบุรีขอแสดงการคัดค้านการที่จะนำร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ...เข้าพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากการบังคับใช้กฎหมายตามร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรง ต่อประชาชน บุคลากรด้านสาธารณสุข และระบบสาธารณสุขของประเทศ รวมทั้งยังจะเป็นภาระด้านการเงินการคลังของประเทศในอนาคต

ปัจจุบันปัญหาด้านสาธารณสุขมีอยู่มากที่รอการแก้ไข การผลักดันให้เกิดกฎหมายในลักษณะนี้ไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุแต่อย่างใด แต่จะส่งผลให้ปัญหาที่มีอยู่ยุ่งยากซับซ้อน และเป็นการสร้างปัญหาซ้อนปัญหาขึ้นมาอีก อันจะทำให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาระบบสาธารณสุขของประเทศได้

นอกจากนี้ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ยังเปิดช่องให้บุคคลบางกลุ่มเข้ามาแสวงหาอำนาจ และผลประโยชน์ในทางที่มิชอบได้ บุคลากรโรงพยาบาลราชบุรีหวังว่ารัฐบาลจะทบทวน และยับยั้งการนำร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้เข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ และเสนอให้รัฐบาลมุ่งแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ และแสวงหาหนทางใหม่ที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาต่อไป

๗ กพ. ๒๕๕๔


53

แถลงการณ์แพทย์ผู้ปฏิบัติงานและสหวิชาชีพผู้ดูแลผู้ป่วยโรงพยาบาลสงขลาเพื่อคัดค้านร่างพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข                                                                                       

เรียนประชาชนผู้มาใช้บริการที่เคารพทุกท่านโปรดทราบ   

ขณะนี้ได้มีกลุ่มผู้ผลักดันร่างพรบ.นี้(ประกอบด้วยกลุ่ม NGO บางกลุ่มและแพทย์ส่วนน้อยกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้ดูแลรักษาผู้ป่วยแล้ว)พยายามแสวงหาผลประโยชน์ โดยการผลักดันร่างพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ  โดยหลอกลวงสังคมและรัฐบาลให้หลงเชื่อว่ามีแต่ประโยชน์ต่อประชาชนทั่วไป  แต่โดยเนื้อแท้แล้ว  ร่างพรบ.ฉบับนี้ใช้ประชาชนผู้มารับบริการและผู้ให้บริการทางสาธารณสุข  เป็นเหยื่อหรือทาสร่วมกันเพื่อสร้างผลประโยชน์ให้กับกลุ่มผู้ผลักดันเอง  โดยวิธีการคือ                                                                                                                                     

1.) กดดันบุคคลากรทางการแพทย์ให้เป็นผู้กระทำผิดโดยง่าย เช่น ให้มีอายุความฟ้องร้องไม่จำกัด(ตามมาตรา25 โดยอายุความนับแล้วแต่การรับรู้ของผู้เสียหาย  ซึ่งไม่แน่นอน),  มีการกำหนดว่าความเสียหายเกิดจากการไม่ทำตามมาตรฐานวิชาชีพ(ตามมาตรา 6 ) ทั้งๆที่สถานพยาบาลทั่วประเทศส่วนใหญ่ไม่มีความพร้อมทำตามมาตรฐาน เพราะผู้ป่วยล้นบริการร่วมกับขาดแคลนบุคคลากรและอุปกรณ์, สัดส่วนคณะกรรมการตัดสินไม่เป็นธรรม(ตามมาตรา7) มีผู้มีความรู้ทางวิชาชีพน้อยมาก  แต่กลับใช้เสียงข้างมากเป็นตัวตัดสินชี้ขาด (ตามมาตรา11),          ปฏิบัติกับผู้ให้บริการเหมือนอาชญากรค้ายาเสพติด โดยมีการยึดหรืออายัดทรัพย์ได้(ตามมาตรา21), ไม่ทำตามคำสั่งคณะกรรมการ มีสิทธิ์เป็นศาลเตี้ยเอง สั่งจำคุก6เดือนหรื่อปรับหนึ่งหมื่นบาทตามอำเภอใจ(ตามมาตรา46)                                                                                                         

2.)ประชาชนต้องตกเป็นเหยื่อ เพราะจะเกิดความเสียหายมากขึ้น เพราะกลุ่มผู้ผลักดันรู้อยู่แล้วว่า  เมื่อกดดันบุคคลากรทางการแพทย์แล้ว  จะเกิดความลังเลในการดูแลผู้ป่วย หรือหลีกเลี่ยงการรักษา จึงส่งต่อไปรักษาที่อื่น จนเกิดความล่าช้าในการรักษา  ทำให้ผู้ป่วยตายหรือพิการเพิ่มขึ้น   ทำให้เกิดการฟ้องร้องมากขึ้น แล้วไปกดดันบุคคลากรทางการแพทย์ต่อไป เป็นวงจรอุบาทว์  นำไปสู่เงื่อนไขเก็บเงินสมทบเพิ่มขึ้น(ตามมาตรา21)  ทำให้เงินกองทุนชดเชยพอกพูนมากขึ้นเรื่อย เพราะไม่ต้องส่งคืนคลัง(ตามมาตรา22)  กลุ่มผู้ผลักดันที่ได้เป็นกรรมการยิ่งมีสิทธิ์ใช้เงินได้มากขึ้นเป็นเงาตามตัว  เพราะกำหนดให้สามารถใช้ได้ถึงร้อยละ10ของเงินกองทุน(ตามมาตรา20)    ประชาชนผู้ใช้บริการและบุคคลากรทางการแพทย์กลายเป็นทาสปั่นเงินให้กับผู้แสวงหาผลประโชน์จากการเป็นกรรมการในกองทุนชดเชยนี้ไปตลอดชีวิต                                                                                                                                                   
3.)กลุ่มผู้ผลักดันร่างพรบ.นี้  ต้องการใช้กองทุนชดเชยนี้ เป็นผลงานประชาสัมพันธ์ให้กับตนเองและกลุ่มของตน เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ ศรัทธา นำไปสู่อำนาจทางสังคมต่อไป  และอาจต่อยอดเพื่อแสวงหาผลประโยชน์อื่นๆอีก  และหวังกินนานๆ โดยการกำหนดให้เป็นกรรมการได้นานสุดติดต่อกันถึง8ปี(ตามมาตรา8)   ขนาดเคยมีผู้ถามถึงความจริงใจในการผลักดันกฎหมาย โดยขอให้งดรับตำแหน่งกรรมการ10ปีแรก  กลุ่มผู้ผลักดันนี้ ก็ไม่รับปาก                                                         

4.)จากวงจรอุบาทว์ที่มีการฟ้องร้องมากขึ้น  มีการเรียกเก็บเงินสมทบมากขึ้นจากสถานพยาบาล   สถานพยาบาลต้องเก็บเงินเพิ่มจากผู้ป่วยมาทดแทน  สุดท้ายประชาชนรับภาระจ่ายค่ารักษาเพิ่มถ้าไปรักษาจากสถานพยาบาลเอกชน  ส่วนโรงพยาบาลรัฐก็ขาดเงินมาจ่ายยาให้ผู้ป่วย เพราะรัฐบาลไม่เคยยืนยันเลยว่าจะเป็นผู้จ่ายเงินอุดหนุนสมทบแทนให้บุคคลากรทางการแพทย์ต้องระมัดระวังในการดูแลผู้ป่วยมากเกินปรกติ   ต้องตรวจใช้เวลานานขึ้นจนบางครั้งเกินจำเป็น  ทำให้ผู้มารับบริการไม่ได้รับความสะดวกและล่าช้า  เพราะไม่อยากได้ชื่อว่าเป็นผู้ทำให้เสียหาย  เพราะเป็นพื้นฐานต่อในการถูกอ้างฟ้องอาญาได้  แม้กองทุนจ่ายเงินทดแทน   แต่ร่างพรบ.ฉบับนี้ ก็ไม่เว้นการฟ้องอาญาให้      แม้จะอ้างว่ามีมาตรา45 ช่วยเว้นโทษอาญาให้  แต่มีเงื่อนไขคือบุคคลากรทางการแพทย์ต้องยอมรับความผิด (เท่ากับบีบคอให้รับ)  ดังนั้นการที่ผู้ผลักดันอ้างว่าจะลดการฟ้องร้อง  จึงไม่มีทางเป็นไปได้เลยทั้งสิ้น

              เหตุผลทั้งหมดนี้พ่อแม่พี่น้องที่รักและบุคคลากรทางการแพทย์ทุกท่าน  จะยอมเป็นเหยื่อหรือเครื่องจักรปั่นเงินและอำนาจให้กับกลุ่มผู้ผลักดันหรือไม่  ทำไมต้องยอมให้คนกลุ่มหนึ่งจำนวนน้อยนิดอ้างตัวว่าทำเพื่อประชาชน  อ้างว่าร่างพรบ.นี้ดี  แต่ไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนโดยทั่วไปได้ศึกษาเนื้อหากฎหมายโดยการทำประชาพิจารณ์ทั่วประเทศ   หลอกลวงให้รู้จักแต่ชื่อร่างพรบ.ว่าดูดี  นี่หรือคือประเทศประชาธิปไตย   หรือประเทศของกลุ่มผู้ผลักดัน กันแน่ 

             สุดท้ายนี้ ขอวิงวอนรัฐบาลผู้มีอำนาจในการพิจารณา    โปรดอย่าส่งเสริมกลุ่มผู้ผลักดันนี้   ซึ่งพยายามสร้างอำนาจทางสังคม  และอาจนำไปสู่อำนาจทางการเมืองต่อไป  สุดท้ายอาจกลับมาเป็นฝ่ายคุมรัฐบาลเสียเองได้ในอนาคต  ซึ่งกลุ่มNGOนั้นส่วนใหญ่มีทั้งกลุ่มที่สร้างสรรค์  มีเพียงบางกลุ่มที่แฝงมาเพื่อผลประโยชน์

           จึงขอเรียกร้องให้ยุติการพิจารณาร่างพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายนี้ในสภาผู้แทนฯ  การให้ความหวังว่าจะสามารถแก้ไขมาตราที่เป็นปัญหาได้ในชั้นกรรมาธิการ  ยังเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน  สิ่งที่ดีที่สุดคือควรมีการแก้ไขให้รอบคอบจากทุกฝ่าย   ลดความขัดแย้งก่อนเข้าสู่สภา โดยการทำประชาพิจารณ์แก่ประชาชนให้ถูกต้องยอมรับโดยทั่วกัน   จึงจะเป็นหนทางที่ถูกต้องตามยุคสมัยที่โหยหาความสมานฉันท์  และสมกับเป็นประเทศที่ได้ชื่อว่าปกครองโดยประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตรยิ์ทรงเป็นพระประมุขอย่างแท้จริง


                                                          แถลง ณ.วันที่  7 กุมภาพันธ์  2554 

54


นราธิวาส - สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาล 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สวมชุดไว้ทุกข์ แถลงข่าว คัดค้าน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลระงับการนำร่าง พ.ร.บ.เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี โดยขอให้มีการทำประชาพิจารณ์อย่างทั่วถึงก่อน
       
       วันนี้ (7 ก.พ. ) ที่ห้องประชุมโรงแรมอิมพีเรียลนราธิวาส เขตเทศบาลเมืองนราธิวาส นายแพทย์จงเจษฏ์ ยั้งสกุล ประธานองค์กรแพทย์โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ อ.เมือง จ.นราธิวาส, นายแพทย์ศรวัสย์ ศิลาลาย ประธานองค์กรแพทย์โรงพยาบาลปัตตานี อ.เมือง จ.ปัตตานี, นายแพทย์ซาฟารีบินหลี เลขาธิการองค์กรแพทย์โรงพยาบาลศูนย์ยะลา อ.เมือง จ.ยะลา รวมถึงแพทย์และพยาบาลพร้อมใจแต่งกายชุดดำและสวมปลอกแขนสีดำ
       
       ทั้งหมดได้ร่วมแถลงข่าวว่า ในฐานะตัวแทนสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ขอคัดค้านการนำเสนอร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขเข้าสู่สภา เนื่องจากร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข มีผลกระทบต่อการให้บริการทางการแพทย์ในระยะยาว และเพิ่มความขัดแย้งระหว่างผู้ป่วยกับผู้ให้การรักษาอีกด้วย
       
       ดังนั้น จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลระงับการนำร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีไว้ก่อน และขอให้มีการทำประชาพิจารณ์อย่างกว้างขวาง เพื่อให้คณะแพทย์และผู้เกี่ยวข้องได้แสดงความคิดเห็นถึงข้อดีและผลเสียของ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขด้วย

ASTVผู้จัดการออนไลน์    7 กุมภาพันธ์ 2554

55


เรียน พ่อแม่พี่น้องประชาชนที่มาใช้บริการทุกท่าน

          ตามที่ทราบกันดีว่ามี พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขฯที่สร้างความขัดแย้งในสังคมอย่างรุนแรงซึ่งผลักดันโดยกลุ่มบุคคลหนึ่ง ประกอบด้วยNGOบาง คน และแพทย์ที่ไม่ได้รักษาคนไข้แล้ว และมีเจตนาที่อยากไปร่วมบริหารกองทุนนี้เป็นที่ตั้งโดยไม่ยอมรับเงื่อนไขว่า ถ้าทำเพื่อประชาชนจริงต้องไม่รับตำแหน่งกรรมการในกองทุนนี้ แสดงถึงความไม่โปร่งใส และไม่บริสุทธิใจตั้งแต่เริ่มแรก

          ข้อเท็จจริงคือกองทุนช่วยเหลือคนไข้ปัจจุบันมีอยู่แล้ว อยู่ใน มาตรา 41 ของ พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ ที่มีข้อกำหนดให้กันเงินไว้ได้ปีละ 1% หรือราวหนึ่งพันล้านบาท นำมาช่วยผู้เสียหายจริงเพียง 70 ล้านบาทในปี2552 (เหลือกว่า 900ล้านบาท) ควรมาพิจารณาเพิ่มการช่วยเหลือคนไข้ในทุกกลุ่ม โดยอาจเพิ่มให้คนไข้ได้อีกถึง 10เท่าของเงินก็ยังเหลือเงินเข้ากองกลาง โดยไม่ต้องตั้งกองทุนใหม่

          ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ต้องการสร้างมาโดยอ้างว่าจะลดการร้องเรียน นั้น ไม่เป็นความจริงในทางปฏิบัติ เพราะเนื้อหาส่งเสริมให้ร้องเรียน ผู้ร้องเรียนแล้วจะได้เงินชดเชย โดยไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิด การแพทย์เป็นวิทยาศาสตร์ จำเป็นต้องมีการพิสูจน์ถูกผิด เอาคนผิดมาลงโทษ  หาไม่จะกลายเป็นกองทุนช่วยแพทย์ทุรเวชแทน  แต่ส่งผลกระทบให้แพทย์สุจริตจะต้องไปพิสูจน์คดีที่ศาล   เมื่อรับเงินก้อนแรกแล้วสามารถฟ้องอาญาให้แพทย์ติดคุกได้ แม้จะพิสูจน์ในศาล ว่าแพทย์รักษาถูกต้องก็ใช้เวลาหลายปี ทำให้การรักษาพยาบาลเป็นด้วยความหวาดผวา นำไปสู่การสมองไหลออกจากวิชาชีพไปสู่ที่ปลอดภัยกว่า

ถ้า พ.ร.บ.นี้ออกใช้จริง แพทย์ต้องเปลี่ยนเป็นระบบที่ต่างประเทศใช้ คือ ทำเน้นหลักฐานเตรียมขึ้นศาลได้ทุกราย ต้องใช้เวลาบันทึกมากขึ้นเกินจำเป็นสำหรับคนไข้  ในปัจจุบันการตรวจคนไข้เร็วเป็นเพราะต้องการให้คนไข้ได้รับการตรวจทุกคน  หากกฎหมายบังคับใช้  อาจตรวจต่อวันได้เพียง 30-40ราย ทั้งที่ทุกวันนี้ที่มีการตรวจรักษา 60-200รายต่อแพทย์ต่อวัน   ส่งผลให้สถานการณ์ขาดแคลนในระบบ ยิ่งเลวลงโดยรัฐพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้แก้ที่ต้นตอปัญหา  ขาดคน ขาด งบประมาณ  ขาดเครื่องมือแพทย์อย่างเป็นรูปธรรม

ในภาคเอกชน ประชาชนต้องจ่ายมากขึ้น เพราะที่มาของเงินกองทุน เน้นเก็บเงินจากสถานพยาบาล ที่ต้องไปเก็บจากคนไข้เพิ่ม     ส่วนภาครัฐ หากเก็บเงินผู้ป่วยไม่ได้ก็ต้องไปลดต้นทุน เครื่องมือแพทย์ เจ้าหน้าที่ ตลอดจนยาลงแทน ยาดีที่ราคาสูงอาจไม่มีงบประมาณซื้อมาใช้ในอนาคต รวมถึงลดการจ้างงานแพทย์ พยาบาล ทั้งที่จริงๆยังขาดแคลนอยู่ ผลร้ายจึงตามมามากมาย

ร่าง พ.ร.บ.นี้กำลังจะเข้าสภาผู้แทนราษฎร วาระ 1 ซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้โดยง่ายในกรรมาธิการตามที่นายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์ เพราะท่านประกาศจะยุบสภาอยู่แล้ว  ท่านจะผลักภาระให้สภาสมัยหน้าหรืออย่างไร ทั้งนี้จึงควรยับยั้งก่อนเข้าให้นำมาประชาพิจารณ์ให้ประชาชนเข้าใจปัญหาและร่วมกันแก้ไขโดยสิ่งที่สำคัญคือ การขยายความช่วยเหลือคนไข้โดยกลไกเดิมให้คนไข้โดยตรง มิใช่โดยการนำเงินออกมาจาก กฎหมายเดิมมาตั้งกองทุนใหม่ๆที่มีปัญหามากมาย เช่นนี้

ขอวิงวอนรัฐบาลให้เห็นใจ ผู้ป่วย ตลอดจน แพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ ที่เดินเคียงคู่กันมาได้ถึงทุกวันนี้ อย่าให้ต้องล่มสลายด้วยระบบกองทุนใหม่ และอย่าให้เป็นผลงานที่สร้างในสมัยรัฐบาลพรรคหนึ่งแล้วมาสลายในรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ โดยการทิ้งทวนก่อนยุบสภา  เราจำเป็นต้องมอบโบว์ดำเพื่อเตือนสติท่านในวันนี้ ก่อนจะเป็นตราบาปต่อคนไทยทั้งชาติ เพียงขอให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมประชาพิจารณ์แบบมาตรฐานและเป็นธรรมกับทุกฝ่ายก่อนจะก้าวเดินต่อไป.

56


แถลงการณ์คัดค้าน

การพิจารณาร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ในสภาผู้แทนราษฎร

กราบเรียน ฯพณฯท่านนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภาและประชาชนชาวไทย

ตามที่รัฐบาล โดยฯพณฯท่านนายกรัฐมนตรี ได้แถลงข่าวว่า จะบรรจุร่าง พรบ.คุ้มตรองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข เข้ารับการพิจารณาวาระที่ ๑ ในสภาผู้แทนราษฎรในเดือนกุมภาพันธ์ศกนี้นั้น องค์กรแพทย์พร้อมด้วยสหสาขาวิชาชีพ ขอแสดงจุดยืนคัดค้านการนำร่าง พรบ.ดังกล่าวเข้ารับการพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎร

เพราะแม้จะดูเหมือน ว่าร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขจะเป็นประโยชน์ต่อผู้รับ บริการ (ทั้งที่ปัจจุบันผู้เสียหายได้รับการคุ้มครองช่วยเหลือตามมาตรา ๔๑ ของพรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติอยู่แล้ว) หากแต่เมื่อพิจารณารายละเอียดของ ร่าง พรบ.ฉบับนี้จะพบว่า ในหลายประเด็นยังไม่ถูกต้อง เหมาะสม และหมกเม็ด สมควรที่จะได้รับการทบทวน เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งจะได้แถลงเหตุผลของการคัดค้านโดยสังเขป ต่อไปนี้

การนำร่างพร บ.ที่มีความละเอียดอ่อนซับซ้อนเข้าพิจารณาในเวลาที่จำกัด จะทำให้การพิจารณานั้นทำได้อย่างไม่ถ้วนถี่ เมื่อใดที่ร่าง พรบ.ได้รับการประกาศใช้โดยไม่ได้รับการปรับแก้อย่างถูกต้องเหมาะสม จะเกิดผลกระทบด้านลบอย่างใหญ่หลวง ต่อระบบสาธารณสุขของประเทศ ต่อผู้ให้บริการ ต่อประชาชนทั่วไปที่เป็นผู้รับบริการ และที่สำคัญที่สุดคือก่อให้เกิดวงจรอุบาทว์ใหม่อีกวงจรหนึ่งในสังคมไทย ที่ยากจะแก้ไขให้กลับคืนมาดังเดิมได้

ผลกระทบด้านลบจาก ร่าง พรบ.นี้ เริ่มจากผู้ให้บริการรู้สึกถึงความเสี่ยงของการให้บริการ ความรู้สึกนี้เกิดขึ้นทั้งในระดับผู้ปฏิบัติงานและหน่วยงาน จะเกิดเหตุการณ์ส่งต่อความเสี่ยงให้แก่ผู้อื่น สถานีอนามัยจะส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลชุมชนจะส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลทั่วไป/โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป/โรงพยาบาลศูนย์ก็จะส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย ทั้งๆที่ความเจ็บป่วยนั้นสามารถรักษาได้ในแต่ละระดับของสถานบริการอยู่แล้ว สถานการณ์เช่นนี้จะทำให้ศักยภาพของแพทย์และทีมงานของโรงพยาบาลชุมชนลดลงไป เรื่อยๆ เนื่องจากไม่ได้ดูแลรักษาโรคที่เคยรักษาได้ ความชำนาญ ความมั่นใจที่ เคยมีย่อมหดหายไป เหมือนนักมวยที่เรื้อเวที รายได้ของโรงพยาบาลที่เคยได้รับจาก สปสช.ในส่วนที่ขึ้นกับจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาก็จะลดลง ทำให้สถานะทางการเงินของโรงพยาบาลลดลงไปอีก (ซึ่งทุกท่านคงได้ทราบจากข่าวแล้วว่าขณะนี้โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขประสบกับปัญหาวิกฤติทางการเงินอยู่แล้ว) สภาพแบบนี้ก็จะเกิดกับโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลศูนย์เช่นกัน ในขณะที่โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยก็ไม่สามารถรองรับผู้ป่วยมากมายเกินศักยภาพ ได้จะเกิดอะไรขึ้นกับผู้ป่วยที่มารับบริการและญาติ

ประการแรก คือจะได้รับบริการที่ล่าช้า เนื่องจากความแออัดของผู้รับบริการที่มากขึ้นจากการส่งต่อผู้ป่วย และ แพทย์จะใช้เวลาในการตรวจวินิจฉัยโรคมากกว่าเดิมโดยไม่จำเป็นเ พื่อป้องกันการถูกฟ้องร้อง

ประการที่สอง จะได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลที่ไกลบ้าน สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ความล่าช้าในการรับการรักษาก็จะทวีคูณ เนื่องจากการถูกส่งต่อหลายทอด ไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที

ประการที่สาม เมื่อหันหน้าไปพึ่งบริการของโรงพยาบาลเอกชน ก็จะเผชิญกับค่ารักษา พยาบาล ที่แพงขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากโรงพยาบาลเอกชนต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากการต้องส่งเงินสมทบ เข้ากองทุน และส่งตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องมือพิเศษโดยไม่จำเป็น (ปฏิบัติแบบ Defensive Medicine)

ประการสุดท้าย ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการก็จะตกต่ำลงเนื่องจาก เหตุการณ์อันไม่พึงประสงค์ที่ได้กล่าวมาแล้ว

อาชีพผู้ให้บริการ สาธารณสุข เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล นักเทคนิคการแพทย์ และนักกายภาพบำบัด เป็นอาชีพที่ต้องทำงานหนักและเสียสละอยู่แล้วหากต้องเผชิญกับความกดดันจาก สภาพแวดล้อมทางกฏหมายที่ไม่เป็นธรรม ก็จะส่งผลให้เกิดการขาดแคลนบุคลากรในอาชีพนี้ยิ่งขึ้นไปอีก เป็นการซ้ำเติมสถานการณ์สาธารณสุขของไทยอย่างน่าเศร้าใจ

ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดวงจรอุบาทว์ดังกล่าว เราจึงขอให้ถอนร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธาณสุข ออกจากการพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎรแล้วนำกลับมาประชาพิจารณ์ภายในระยะเวลาที่ เหมาะสม เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ปวงชนชาวไทย

แถลงการณ์ ณ วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔

57



มุกดาหาร-แพทย์และบุคลากรแพทย์แตงชุดดำค้าน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการ
      บุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลมุกดาหารขอคัดค้าน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขถ้าไม่ผ่านการทำประชา พิจารณ์ก่อน
      ที่โรงพยาบาลมุกดาหารบรรดาบุคลากรทางการแพทย์และแพทย์ของโรง พยาบาลแตงชุดดำออกมาร่วมตัวกันด้านหน้าของโรงพยาบาลจำนวน50คนถือบ้ายขนาด ใหญ่มีขอความขอคัดค้าน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขถ้าไม่ผ่านการทำประชา พิจารณ์ก่อน
      และอ่าน แถลงการณ์ ขอคัดค้าน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขถ้าไม่ผ่านการทำประชา พิจารณ์อ่านแถลงการณ์ขอคัดค้าน พ.ร.บ.เนื่องจาก

    1-การออกกฎหมายใดๆ ที่มีผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง ต้องผ่านการทำประชาพิจารณ์ก่อน

    2- องค์ประกอบของขณะกรรมการที่จะเป็นผู้พิจารณาการจ่ายชดเชยเงินจากกองทุนตาม พ.ร.บ.ฯไม่เหมาะสม

    3- NGO. ผู้ผลักดัน พ.ร.บ.ฯ เป็นผู้ได้ผลประโยชน์เพียงฝ่ายเดียว จากการบริหารกองทุนที่จะตั้งขึ้นจากเงินของโรงพบาลต่าง ฯและงบประมาณของประเทศ

    4- การบริหารกองทุน ขาดการตรวจสอบจากสาธารณะและหน่วยงานของรัฐ ตามหลักธรรมาภิบาลที่ดี

โดยหลังจากอ่านแถลงการณ์บรรดาแพทย์ได้นำป้ายคัดค้าน พ.ร.บ.ออกมาติดอยู่หน้าโรงพยาบาล.

58

เนื่องจากการประชุมสัมมนาของสมาพันธ์แพทย์รพศ./รพท.ฯ และเครือข่าย เมื่อวันที่ 28 มค. 2554 ที่ผ่านนั้น ได้มีการนำเสนอรูปแบบการพิจารณากำหนดค่าตอบแทนบุคลากรด้านสาธารณสุขที่คณะกรรมการพิจารณาทบทวนระบบการจ่ายค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในภาครัฐได้ร่างขึ้นเพื่อเสนอต่อสำนักงบประมาณ และคณะรัฐมนตรีในการอนุมัติงบประมาณที่ได้มีการกันไว้แล้ว
รายละเอียดตามลิงค์
http://www.thaihospital.org/board/index.php?topic=930.0

บุคลากรหลายสาขาวิชาชีพมีความไม่เห็นด้วยในประเด็นต่างๆ หลายประเด็น ทางสมาพันธ์ฯก็มีความเห็นต่างจากร่างดังกล่าวในบางประเด็นเหมือนกัน ตัวแทนของสมาพันธ์ไม่ได้เป็นกรรมการในคณะกรรมการฯดังกล่าว แต่ได้มีโอกาสเข้าแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความขาดแคลน (เหมือนกับตัวแทนของสหสาขาวิชาชีพต่างๆ) ในฐานะแพทย์ผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป แต่การตัดสินใจขึ้นอยู่กับคณะกรรมการฯดังกล่าว

ในสถานการณ์ที่เร่งรีบ คณะกรรมการฯดังกล่าวต้องสรุป และทำคำของบประมาณในระยะเวลาอันสั้น อาจทำให้ผลการสรุปคลาดเคลื่อนจากข้อมูลที่ถูกต้อง ทางสมาพันธ์ฯได้รับข่าวสารจากกรรมการในคณะกรรมการฯดังกล่าวว่า จะมีการออกระเบียบค่าตอบแทนในรายละเอียดของแต่ละสาขาวิชาชีพอีกเมื่อได้รับอนุมัติงบประมาณแล้ว ซึ่งทางสมาพันธ์ฯได้เตรียมข้อมูลเพิ่มเติม(ในส่วนของแพทย์โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป)ไว้แล้ว และหวังว่าเพื่อนๆในสหสาขาวิชาชีพจะได้เตรียมข้อมูลเพิ่มเติมไว้ให้พร้อม หากมีโอกาสพวกเราชาวสาธารณสุขจะได้ร่วมกันให้ข้อมูลที่ครบถ้วนแก่คณะกรรมการฯที่มีหน้าที่พิจารณาค่าตอบแทนดังกล่าว

สมาพันธ์ฯหวังว่าพวกเราชาวสาธารณสุขจะได้ร่วมมือกันพัฒนาระบบสาธารณสุขของประเทศ(ที่ยังมีปัญหาอยู่มากมาย) ให้บุคลากรสาธารณสุขมีความสุขในการทำงานในการดูแลประชาชน หากมีความคืบหน้า และข้อมูลเพิ่มเติมทางสมาพันธ์จะนำเสนอให้ทุกท่านทราบ



59
ชื่อเต็มๆจริง คือ สมาพันธ์ฯ และเครือข่าย หมายถึง ผู้ร่วมงาน และสหวิชาชีพ

เรื่องค่าตอบแทน วันที่ประชุมกัน ก็มีหลายความคิดเห็นที่สะท้อนออกมาจากผู้ปฏิบัติงานในสาขาวิชาชีพต่างๆ
ซึ่งน่าสนใจมาก
ผลการประชุม คราวๆ ตามลิงค์
http://www.thaihospital.org/board/index.php?topic=1155.0

วันที่ 14 กพ.จะมีการพูดคุยกันต่อครับ เชิญร่วมประชุมด้วย นานๆทีจะมีเวทีให้พวกเราที่ทำงานสาธารณสุขต่างสาขามานั่งพูดคุยกัน แล้วสิ่งที่ได้จะเป็นสิ่งที่ผู้บริหารของกระทรวงฯจะต้องให้ความสำคัญ


60
รายละเอียดวันที่ 14 กพ.

ประชุมใหญ่สามัญสมาพันธ์แพทย์ รพศ./ รพท. แห่งประเทศไทย และสหวิชาชีพ
ครั้งที่  1/ 2554
วันจันทร์ที่    14    กุมภาพันธ์   2554   ณ ห้องประชุมไพจิตร  ปวบุตร  ตึกสนับสนุนบริการ 
สำนักงานปลัดกระทรวง  กระทรวงสาธารณสุข

   
08.00 น. – 08.30 น.      
ลงทะเบียน---วีดีทัศน์  ม็อบเสื้อขาว / เสื้อดำ / ผ้าคลุมจมูกดำ

08.30 น. – 09.00 น.      
บทบาทและผลงานของสมาพันธ์แพทย์ ฯ และสหวิชาชีพ

09.00 น. – 09.30 น.      
เปิดการประชุม : นพ. ไพจิตร์  วราชิต  ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
กล่าวรายงาน  :  พญ. พจนา  กองเงิน  ประธานสมาพันธ์แพทย์

09.30 น. – 11.00 น.      
ก้าวต่อไปของสมาพันธ์แพทย์ ฯ และสหวิชาชีพ
•  เลือกตั้งคณะกรรมการบริหาร ฯ ชุดใหม่
•  การประสานงานในเครือข่ายและขยายแนวร่วม
•  บทบาทและภารกิจในปัจจุบันและอนาคต

11.00 น. – 12.00 น.      ค่าตอบแทนที่เป็นธรรม  และมาตรฐานภาระงาน
12.00 น. – 13.00 น.       ยุติร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหาย ฯ กับการขยาย ม. 41
13.00 น. – 14.00 น.       การปฏิรูประบบส่งต่อผู้ป่วยและการจัดสรร
14.00 น. – 16.00 น.       จัดสรรงบประมาณแก่โรงพยาบาลอย่างเป็นธรรม
อภิปรายทั่วไป – ปิดประชุม


หมายเหตุ    :   
10.30 น. – 10.45 น.    อาหารว่าง
12.00 น. – 13.00 น.    รับประทานอาหารกลางวัน
14.30 น. – 14.45 น.    อาหารว่าง


หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 22