ผู้เขียน หัวข้อ: ร่วมจ่ายค่ารักษา 100 บาท ทำ 1 แสนครัวเรือนยากจนลง ภาค ปชช.ค้านสุดตัว  (อ่าน 522 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9785
    • ดูรายละเอียด
กรรมการ สปสช. ภาค ปชช. เผย คณะกรรมการลดเหลือ่มล้ำ 3 กองทุน เตรียมเดินหน้ายกร่าง 2 พ.ร.บ. ตั้งองค์กรประสาน 3 กองทุน และตั้งองค์การมหาชนดูแลการเบิกจ่ายเงิน 3 กองทุนระดับชาติ เผยร่วมจ่ายอยู่ระหว่างการศึกษา พบร่วมจ่าย 100 บาท ทำ 1 แสนครัวเรือนยากจนลง
       
       นายนิมิตร์ เทียนอุดม กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สัดส่วนภาคประชาชน กล่าวว่า ภารกิจหนึ่งของคณะกรรมการลดความเหลื่อมล้ำ 3 กองทุนสุขภาพ ซึ่งมี ศ.อัมมาร สยามวาลา เป็นประธานนั้นคือ การบริหารงานร่วมกันระหว่าง 3 กองทุน ซึ่งจะมีการร่าง พ.ร.บ. ขึ้นใหม่ เพื่อตั้งองค์กรมาบริหารและประสานการทำงาน 3 กองทุนร่วมกัน โดยไม่มีการยุบรวมกองทุน กฎหมายใหม่จึงต้องไม่ให้ขัดกับกฎหมายเดิม ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการร่าง โดยองค์กรดังกล่าวจะเอาทุกภาคส่วนมากำหนดกลไกต่อรอง การบริหารระบบ สิทธิประโยชน์ เป็นต้น
       
       นายนิมิตร์ กล่าวว่า นอกจากนี้ คณะกรรมการจะยังมีการตั้งหน่วยงานกลางในการจัดทำธุรกรรมการเบิกจ่ายระดับชาติ (National clearing house) ซึ่งมีการร่าง พ.ร.บ. ขึ้นมาใหม่เช่นกัน และเสนอเข้า ครม. ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวจะเป็นองค์กรมหาชนแห่งใหม่ ที่ดูแลเรื่องของใบเสร็จ การเบิกจ่ายเงินของแต่ละกองทุน สำหรับประเด็นเรื่องการร่วมจ่าย คณะกรรมการฯอยู่ระหว่างการศึกษา โดยสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.) เครือสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ได้ทำการวิจัยในหลายแนวทาง เพื่อเปรียบเทียบผลดี ผลเสีย
       
       “เบื้องต้น พบว่า หากมีการเก็บ 100 บาทต่อการรับบริการต่อครั้ง จะทำให้ครัวเรือนมีความยากจนลงประมาณ 1 แสนครัวเรือน ซึ่งภาคประชาชนมองว่า การร่วมจ่ายเป็นเรื่องที่ไม่ควรเกิดขึ้น ควรมีแนวทางที่ดีกว่า เช่น ปรับวิธีการกระจายงบประมาณ หรือ ร่วมจ่ายก่อนเจ็บป่วยด้วยระบบภาษี เพราะแนวคิดตั้งต้นของการมีระบบบริการสุขภาพคือ ทำให้คนไทยทุกคนเข้าถึงบริการ จึงไม่ควรกีดกันใครออกจากระบบ ซึ่งเรื่องดังกล่าวยังอยู่ในกระบวนการทำงาน และต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม” นายนิมิตร์ กล่าว
       


ASTVผู้จัดการออนไลน์    25 มีนาคม 2558