ผู้เขียน หัวข้อ: เป็นเรื่อง! รพ.พระนั่งเกล้าสลับเวชระเบียน ผู้ป่วยร้องเยียวยา  (อ่าน 640 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9784
    • ดูรายละเอียด
ผู้ป่วยร้อง สปสช.ขอเยียวยา หลังถูกสลับเวชระเบียน รพ.พระนั่งเกล้า จนต้องเจาะเลือดที่คอเพื่อฟอกไต และผ่าตัดทำเส้นเทียมฟอกไตที่แขน พ้อถูกปฏิเสธเยียวยาตาม พ.ร.บ.หลักประกันฯ เหตุอ้างไม่เข้าข่าย เผยแจ้งความดำเนินคดีแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีผู้ป่วยเข้าร้องเรียนต่อสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) นนทบุรี และแจ้งความดำเนินคดีต่อโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า เนื่องจากประมาททำให้ตนได้รับความเสียหาย กรณีสลับเวชระเบียน จากชื่อเดียวกัน แต่คนละนามสกุล ทำให้ต้องเข้ารับการเจาะเส้นโลหิตที่คอเพื่อฟอกไต และผ่าตัดทำเส้นเทียมฟอกไตที่แขน
       
        นายพัฒนพงษ์ เจียมเผ่า อายุ 57 ปี ผู้ป่วยรายดังกล่าว เปิดเผยว่า การถูกสลับเวชระเบียน ทำให้ตนได้รับความเสียหายจากการรักษา เพื่อไม่ให้เกิดกับผู้ป่วยรายอื่นอีก จึงได้แจ้งความดำเนินคดี โดยอยู่ระหว่างดำเนินการ ขณะเดียวกันได้ยื่นต่อสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ระดับชาติ หรือ สปสช.เขต เพื่อยื่นเรื่องขอรับการเยียวยาเบื้องต้นตามมาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 แต่กลับได้รับคำตอบว่า ไม่เข้าข่าย เพราะตนเป็นผู้ป่วยที่ไปโรงพยาบาลและได้รับการรักษามาตลอด กลายเป็นว่าความผิดพลาดของโรงพยาบาลในการสลับเวชระเบียน ไม่มีผลใดๆ เลยหรืออย่างไร และตนก็ได้รับความเสียหาย จึงได้ยื่นเรื่องอุทธรณ์ ไปยังสปสช.ส่วนกลาง เพื่อขอความเป็นธรรม แต่ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป
       
        ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ โฆษก สปสช.กล่าวว่า มีการอุทธรณ์เรื่องดังกล่าวมายัง สปสช.ส่วนกลางจริง โดยคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานของ สปสช.ได้นำเรื่องนี้เข้าสู่คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจกรณีอุทธรณ์ คณะที่ 3 ซึ่งจะมีการพิจารณาในวันที่ 18 เม.ย.ซึ่งเรื่องดังกล่าวอาจล่าช้า เพราะเดิมทีจะมีการพิจารณาในช่วง ธ.ค.แต่มีการปิดศูนย์ราชการฯ เนื่องจากปัญหาทางการเมือง การทำงานจึงไม่ค่อยสะดวกนัก แต่ขณะนี้จะเดินเรื่องดังกล่าวต่อไป ส่วนจะมีการเยียวยาหรือไม่นั้นต้องอยู่ที่การพิจารณาของคณะอนุกรรมการดังกล่าว
       
        “ตามมาตรา 41 ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ ระบุชัดในการช่วยเหลือผู้รับบริการหรือผู้อุปการะเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน กรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหายที่เกิดจากการรักษาพยาบาล ซึ่งเป็นเหตุสุดวิสัยของหน่วยบริการโดยมิต้องรอพิสูจน์ ซึ่งการช่วยเหลือจะแบ่งเป็น 1.กรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพอย่างถาวร หรือเจ็บป่วยเรื้อรังที่ต้องได้รับการรักษาตลอดชีวิต และมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการดำรงชีวิต จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้ตั้งแต่ 240,000 บาท แต่ไม่เกิน 400,000 บาท 2.กรณีสูญเสียอวัยวะหรือพิการที่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้ 100,000 บาท แต่ไม่เกิน 240,000 บาท และ 3.กรณีบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่อง จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้ไม่เกิน 100,000 บาท ซึ่งกรณีของนายพัฒนพงษ์ ต้องรอการพิจารณาก่อนว่าเข้าข่ายหรือไม่” โฆษก สปสช.กล่าว

ASTVผู้จัดการออนไลน์    31 มีนาคม 2557