หมวดหมู่ทั่วไป > ข่าวเกี่ยวกับวงการแพทย์

ผลวิจัยพบเด็กใต้กินผักเยอะสุด-อีสานน้อยสุด

(1/1)

story:
 งานวิจัยพบเด็กใต้นิยมบริโภคผัก-ผลไม้อย่างเพียงพอมากสุด ขณะเด็กอีสานยังกินผักน้อย
       
       วันนี้ (3 ต.ค.) รศ.นพ.วิชัย เอกพลากร คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี นักวิจัยโครงการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย เครือข่ายการวิจัยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เปิดเผยผลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย ครั้งที่ 4 พ.ศ.2551-2552 ในส่วนของพฤติกรรมการบริโภค ว่า จากการศึกษาประชากรทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้ว และกำลังพัฒนา ยังปริโภคผักผลไม้ ต่ำกว่าเกณฑ์ ในการสำรวจได้สำรวจประชากร อายุ 2 ปี ขึ้นไป ใน 4 ภาค รวมทั้ง กทม.โดยมาตรส่วนที่เป็นปริมาณแนะนำ คือ ผัก 1 ส่วน เท่ากับ ผักปรุงสุก 1 ทัพพี หรือ ผักสด 2 ทัพพี ส่วนผลไม้ 1 ส่วนมาตรฐาน เท่ากับ มะละกอ แตงโม หรือสัปปะรด 6-8 คำ หรือ กล้วยน้ำว้าผลเล็ก หรือ กล้วยหอมผลกลาง ครึ่งผล หรือ ส้มเขียวหวาน 1 ผลใหญ่ หรือ 2 ผลกลาง หรือ เงาะ 4 ผล

       รศ.นพ.วิชัย กล่าวต่อว่า ส่วนการกินผัก พบว่า เด็กอายุ 2-14 ปี กินผักเฉลี่ยวันละ 0.7 ส่วน โดยเด็กอายุ 2-5 ปี ทั้งชายและหญิงกินผักน้อยกว่า เด็กอายุ 6-14 ปีเล็กน้อย และไม่พบความแตกต่างระหว่างเด็กในและนอกเขตเทศบาล แต่พบว่าเด็กในภาคใต้ ทานผักมากที่สุด รองลงมาคือ ภาคเหนือ, กทม.ส่วนเด็กภาคอีสาน ทานผักน้อยที่สุด เมื่อเปรียบเทียบความเพียงพอในการปริโภคพบว่า เด็ก 6-14 ปี ที่กินผักเพียงพอตามข้อแนะนำต่อวัน มีเท่ากับ 5% เมื่อสำรวจปริมาณการบริโภคผลไม้ พบว่า เด็กอายุ 2-14 ปี กินผลไม้โดยเฉลี่ยต่อวัน 1.3 ส่วน เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนการบริโภคต่อวัน พบว่าเด็ก 1 ใน 2 ทานผลไม้ปริมาณน้อยกว่า 1 ส่วนต่อวัน ดังนั้น จึงควรรณรงค์ให้เด็กเห็นถึงคุณค่าการบริโภคผักและผลไม้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเหมาะสม


ASTVผู้จัดการออนไลน์    3 ตุลาคม 2554

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

Go to full version