ผู้เขียน หัวข้อ: กฤษฎีกาตีความสปส.โอนเงินให้สปสช.ได้  (อ่าน 955 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9789
    • ดูรายละเอียด
กฤษฎีกาไฟเขียว สปสช.เรียกเงินค่ารักษาพยาบาลผู้ประกันตนจาก สปส. 2.3 หมื่นบาทได้ ไม่ขัดรัฐธรรมนูญในหลักการเสมอภาค

คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความเรื่องการโอนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม (สปส.) จำนวน 9.4 ล้านคน ไปใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ลงนามโดยนายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เมื่อวันที่ 29 ก.พ.ที่ผ่านมา ว่า การที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เรียกเก็บเงินค่ารักษาพยาบาล 2.3 หมื่นล้านบาทจาก สปส.นั้น ไม่ถือว่าขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 30 เรื่องความเสมอภาค

 โดยคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่าประชา ชนทั่วไปที่ไม่ได้เป็นผู้ประกันตนยังคงต้องเสียค่าใช้จ่ายด้านบริการสาธารณสุขเข้ากองทุน สปสช. ผ่านการเสียภาษีในลักษณะอื่นๆ เช่นเดียวกัน ขณะ ที่ผู้ประกันตนได้รับสิทธิประโยชน์ทดแทนที่ครอบ คลุมมากกว่าการรักษาพยาบาล ดังนั้นการขยายบริการสาธารณสุขของ สปสช.ให้ครอบคลุมผู้ประ กันตน โดยให้ สปส.ส่งงบประมาณมาสนับสนุนด้วยนั้น จึงเป็นไปโดยไม่ขัดรัฐธรรมนูญประเด็นความเสมอภาค

ส่วนการที่ สปส.ระบุว่า กองทุนสำหรับผู้ประกันตนเป็นเงินที่ได้มาจาก 3 ส่วน คือ 1.นายจ้าง 2.ลูกจ้าง และ 3.รัฐบาล หากต้องส่งเงินให้กับ สปสช.จริง จะส่งได้เฉพาะเงินที่รัฐบาลอุดหนุนเท่านั้น คณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า ตามเจตนารมณ์ของกองทุน สปส. แม้จะมีที่มา 3 ส่วน แต่ไม่ได้แยกการบริหารออกจากกัน การจ่ายสิทธิประโยชน์อื่นๆ ก็ไม่ได้แยกว่าเป็นเงินจากส่วนของผู้ประกันตน ดังนั้นเงินที่จะส่งให้กับ สปสช.จึงไม่ควรถูกแยกส่วนเช่นเดียวกัน แต่ข้อตกลงเรื่องอัตราการเรียกเก็บเงินจำนวน 2.3 หมื่นล้านบาท คงที่ 3 ปีนั้น ถือเป็นอำนาจของคณะกรรมการ (บอร์ด) 2 กองทุนที่จะหารือหรือตกลงร่วมกันตามบทบัญญัติมาตรา 10 อยู่ดี

อย่างไรก็ตาม ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาต่อกรณีดังกล่าวเป็นเพียงการให้ความเห็นทางกฎหมายเพื่อเป็นประโยชน์แก่ทางราชการในการบริหารราชการแผ่นดินเท่านั้น ส่วนการชี้ขาดเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญในการวินิจฉัย.

ไทยโพสต์ -- จันทร์ที่ 5 มีนาคม 2555