ผู้เขียน หัวข้อ: สรุปย่อเรื่อง ร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พศ..ฉบับรัฐบาล  (อ่าน 2853 ครั้ง)

seeat

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 470
    • ดูรายละเอียด
ความเป็นมา สปสช.ทำผิดกฎหมาย มีแผนไม่จ่ายเงินช่วยเหลือประชาชนอย่างเพียงพอ/ครอบคลุม

พร บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 เป็นกฎหมายบัญญัติให้รัฐจัดงบแผ่นดินเข้ากองทุน สปสช. ให้บริการอันจำเป็นตามมาตรฐานแก่ประชาชนไทยทั้งประเทศ ลักษณะเป็นบริการสาธารณะของรัฐ (มาตรา 5) และ บัญญัติไว้ในมาตรา 41 ให้กันเงินไม่เกินร้อยละ 1 ของกองทุน เพื่อใช้เป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ได้รับความเสียหายจากการบริการ สาธารณสุข ( ผู้ให้/ผู้รับบริการ)

สปสช. โดยส่วนหนึ่งของกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิ NGO ซึ่งมีจำนวน 12 ใน 30 คนของคณะกรรมการ ซึ่งเป็นผู้บริหารงบสาธารณสุขกองทุนหลักประกันสุขภาพตัวจริง เนื่องจากกรรมการที่เหลือจะเป็นเพียงผู้มาผ่านๆตามตำแหน่งที่หมุนเวียน ได้แก่ข้าราชการต่างสังกัดที่ไม่รู้เท่าทันคนกลุ่มนี้ได้แก่ปลัดกระทรวงอื่น นอกจาก สธ. ซึ่งจะส่งผู้แทน คนกลุ่มนี้ซึ่งมีแผนนำเงินตาม ม.41 ซึ่งช่วงหลังๆ จะมีปีละ 1 000 ล้านบาท หรือกว่านั้น ไปใช้ด้านอื่น จึงกำหนดผ่านบอร์ดในลักษณะสร้างเงื่อนไขเพดานการจ่ายเยียวยาความเสียหายที่ ไม่เพียงพอ สูงสุดที่ 200 000 บาท ไม่จ่ายในเพดานที่สูงกว่าตามจำเป็น และไม่จ่ายครอบคลุมประชาชนไทยกว่า 60 ล้านคน ทั้งที่บทบัญ ญัติของกฎหมายนี้มาตรา 5 กำหนดให้ครอบคลุมคนไทยทุกคน แต่ สปสช. ไม่ดำเนินการหลักประกันข้อนี้ต่อประชาชนไทยที่เป็นลูกจ้างและจ่ายเงินประกัน ตนเองในระบบประกันสังคม กับประชาชนไทยที่ทำงานราชการรับเงื่อนไขเงินเดือนต่ำแต่มีสวัสดิการของข้า ราชการตามควร การกระทำของสปสช.ที่นำโดย รมว.สธ.นี้ ยังขัดต่อหลักความเสมอภาคของปวงชนชาวไทยในรัฐธรรมนูญที่ตราไว้ เป็นกฎหมายหลักของแผ่นดิน คนกลุ่มนี้ต้องการบังคับเรียกเก็บเงินจากสถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนทั่ว ประเทศ มาตั้งเป็นกองทุนใหม่ในระดับถึงหมื่นล้านบาทต่อเนื่องทุกปีไป อ้างเพื่อจ่ายช่วยเหลือผู้เสียหายฯ และเขียนให้ สปสช. เป็นผู้บริหารกองทุนนี้ โดยขอแก้ไข พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ยกเลิก มาตรา 41 ตัดการกันเงินช่วยเหลือไม่เกินร้อยละ 1 ของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติออกไป เป็นการจงใจสร้างความเสียหายให้ผู้เสียหายฯทั้งที่มีเงินอยู่แล้ว

สปสช. ให้งบแก่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จัดตั้งเครือข่ายหลักประกันสุขภาพพื้นที่ /จังหวัดต่างๆเพื่อให้เคลื่อน ไหวอ้างต้องการ พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการ สธ. พศ... และ นพ.อำพล จินดาวัฒนะ (เลขาธิการ สช. ที่เกิดจาก สวรส.) ในขณะเป็นเลขานุการ รมว.มงคล ณ สงขลา ให้สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เป็นผู้ยกร่างและต่อมาให้กองการประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุข จัดทำ กระทั่งปลัดเสนอ รมว. นำเข้าครม. เมื่อ 7 เม.ย. 53 และ รัฐบาลเสนอเป็นวาระด่วนเข้าสภา เมื่อ 27 เมษายน 2553 โดยไม่ประชาพิจารณ์ผู้เกี่ยวข้องตาม กม. ซึ่งเมื่อ 29 สิงหาคม 2553 รมว.เพิ่งเรียกจากสำนักควบคุมโรคศิลปะขอดูรายงานพร้อมรายชื่อคนเข้าประชุม ที่อ้างว่ามีประชาพิจารณ์แล้ว พบว่าเป็นเพียงการประชุมNGOผู้ผลักดันร่าง 140 และ 180 คน 2 ครั้ง รมว.จึงไม่กล้านำข้อมูลนี้มากล่าวอ้างว่าเป็นการประชาพิจารณ์แต่อย่างใด นับว่าร่าง พรบ.นี้ รัฐฯ รับว่าไม่ทำประชาพิจารณ์ตาม กม.

สถานการณ์ของความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข/ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้/ผู้รับบริการ สธ.

อัตรา การเกิดความเสียหายต่อการรับบริการผู้ป่วยนอกปีละประมาณ 200 ล้านครั้งต่อปี มีกรณีร้องต่อปีต่ำกว่า 200 กรณีประมาณน้อยกว่า 0.000001 % ระบบมีเงินกองทุนตามม.41 ขณะนี้มีได้ถึง ปีละ 1 000 ล้านบาท โดยระบบมีกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ และประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ ฯ ให้การคุ้มครองที่เป็นมาตรฐานแล้ว สำหรับความสัมพันธ์ของแพทย์/ผู้ป่วย แม้จะเสื่อมลงเมื่อมี สปสช.(ตามรายงานการสำรวจที่เกี่ยวข้อง) แต่ยังคงดีอยู่เมื่อเทียบกับประเทศในโลกตะวันตกและสแกนดิเนเวียตามที่อ้าง ถึง ไม่มีความจำเป็นในการตรากฎหมายนี้ การจัดบริการสาธารณะด้านสธ.ต่อไปต้องให้ความสำคัญการจัดงบแผ่นดินแก้ไขความ ขาดแคลนคนทำงาน/งบ/และเครื่องมือจำเป็นในการทำงานบริการทางการแพทย์และ สาธารณสุขต่อประชาชน

ร่าง พรบ.คุ้มครองผู้ได้รับความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พศ. .. จะนำวิบัติภัยสู่ระบบ สธ.


ร่าง พรบ.ฉบับนี้ มีชื่อเป็นการเพ่งโทษต่อผู้ให้บริการสาธารณสุข เนื้อหาบังคับให้มีการจ่ายเงินเข้าเป็นกองทุนได้ถึงระดับหมื่นล้านบาทซึ่ง ท้ายสุดคือภาระการเงินของประชาชนในสังคมและของแผ่นดิน เพื่อให้กลุ่ม NGOและผู้อ้างทรงคุณวุฒิ NGO เข้าไปใช้เงินกองทุนนี้ตามมาตรา 50 ของร่าง พรบ.นี้ จ่ายให้ผู้อ้างเสียหายฯโดยเร็ว ด้วยวิธีการเสียงข้างมากของผู้ไม่รู้เรื่องความจำเพาะของการให้บริการทางการ แพทย์เป็นผู้ตัดสินคำว่าผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข เมื่อจ่ายแล้วนับเป็นกรณีผูกพันผู้ให้บริการนั้นเป็นผู้ทำให้เสียหาย ทั้งที่ได้ทำดีอย่างที่สุด และไม่ได้ทำผิด จะต้องตกเป็นผู้รับผิดในสิ่งที่ตนไม่ได้ทำผิด เป็นการสร้างสถานการณ์ให้เกิดการฟ้องแพ่ง/อาญาแบบผิดๆกับผู้ให้บริการ ผลักให้ผู้ปฏิบัติงานทำการส่งต่อภาระงานเสี่ยงทุกครั้งที่ดูแลผู้ป่วยนี้ให้ พ้นตัว ทำให้ประชาชน ผู้ป่วย ที่อยู่ในภาวะที่ต้องได้รับความช่วยเหลือจริง ต้องขาดคนดูแลและเสี่ยงภัยกับระบบที่วิปริตนี้ หากปล่อยให้เป็นไปดังกล่าว ประชาชนและประเทศจะเสียหาย แพทยสภา/แพทยสมาคม/สภาวิชาชีพต่างๆ /ก.สธ. /สมาพันธ์แพทย์ฯ/เครือข่ายคุ้มครองประชาชนด้านสาธารณสุข/สหพันธ์ผู้ปฏิบัติ งานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย(สผพท.) ได้ทักท้วง ขอให้รัฐถอนร่าง พรบ.นี้มาประชาพิจารณ์ รวมถึง เข้าพบ รมว. และ นายกรัฐมนตรี แต่รัฐไม่ดำเนินการโดยอ้างเหตุผลว่าเป็นความต้องการของแพทย์บ้าง ผู้รู้ให้ความเห็นว่า หากถอนร่าง กม.ที่ รัฐเสนอเข้าไป อาจทำให้รัฐบาลไม่มั่นคง

วันที่ 9 ก.ย. 53 สหพันธ์ร่วมกับหลายองค์กร จึงยื่นร่าง พรบ.ใหม่เข้าไปประกบทางเทคนิคไว้ แต่ยังคงยืนยันให้รัฐบาลถอนร่าง พรบ.ฉบับรัฐบาลออกมาประชาพิจารณ์/ศึกษาผลกระทบให้รอบคอบ กระทั่งวันที่ 15 ก.ย. 53 ได้ยื่นหนังสือขอให้วิปรัฐบาลชะลอนำร่างพรบ.นี้เข้าวาระพิจารณา.

พญ. อรพรรณ์ เมธาดิลกกุล กรมการแพทย์