ผู้เขียน หัวข้อ: อายุยืน-หน้าใส-สมองไว ขอให้เอาจริง.....ทำได้ไม่ยาก  (อ่าน 746 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9759
    • ดูรายละเอียด
เมื่อถามถึงเป้าหมายชีวิต คำตอบของคนส่วนใหญ่ถ้าไม่หวังเอาดีเรื่องการงานการเงิน ก็ต้องเป็นเรื่องสุขภาพ สวัสดิภาพ
       
       สรุปแล้ว ล้วนหวังที่ผลลัพธ์คือ “ความสุขในชีวิต” ของตัวเองและครอบครัว ให้อยู่รอดปลอดภัยและสุขสมบูรณ์ดีที่สุดนั่นแหละ
       
       ถ้าเช่นนั้น ขอบอกว่ามีสิ่งมหัศจรรย์ที่อยู่ใกล้ตัวมนุษย์ที่สุดและสำคัญต่อการมีชีวิตที่สุด แต่มักถูกมองข้ามมากที่สุด ทั้งๆ ที่อยู่แค่ปลายจมูกของทุกคนนี่เอง
       
       เรามาพิจารณาความสำคัญของสิ่งที่จะแจกแจง แบ่งปันความรู้สู่คุณผู้อ่าน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์นะครับ
       
       1.ลมหายใจ มีส่วนกำหนดอายุขัย ลองดูตัวเอง
       สัตว์พวกนี้
             หนู อายุเฉลี่ย 3-5 ปี
                 หายใจเข้า-ออก 90 ครั้งต่อนาที
                 การเต้นของหัวใจ 400 ครั้งต่อนาที
             เต่า อายุเฉลี่ย 120 ปี
                 หายใจเข้า-ออก 4-6 ครั้งต่อนาที
                 การเต้นของหัวใจ 10-20 ครั้งต่อนาที
       
       จะเห็นได้ว่า สัตว์โลกรวมทั้งคนเรา ยิ่งหายใจช้า ลึกและยาวมากเท่าไร อัตราการเต้นของหัวใจก็ยิ่งมีจังหวะช้าและสม่ำเสมอมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้มีอายุยืนยาวขึ้น
       
       จำพวกที่หัวใจเต้นเร็ว เพราะหายใจตื้นและถี่ตลอดเวลา ก็เหมือนเครื่องจักร ที่ทำงานหนักอยู่เสมอ เครื่องก็ทรุดโทรม อายุการใช้งานจึงสั้นกว่าเครื่องที่มีการดูแลดีและไม่ทำงานหักโหม
       
       2.การหายใจอย่างถูกต้อง ช่วยป้องกันและเยียวยาโรคภัยได้สารพัด ตัวอย่างเช่น
       
       • โรคไมเกรน ผู้มีอาการโรคนี้หรือปวดหัวอย่างรุนแรงอาจบรรเทาหรือหายขาดด้วยการฝึกการหายใจลึกๆ ยาวๆ และละเอียดขึ้น
       
       • โรคหัวใจและความดันโลหิต จะมีอาการดีขึ้นด้วยการหายใจลึกและช้า สามารถนำสติกลับมาจดจ่อที่ร่างกายและอยู่กับปัจจุบันขณะผู้ป่วยจะสามารถควบคุมอาการได้ดี
       
       • เครียด มีผลให้เกิดโรคร้ายอื่นๆ มากมาย เพราะ90% ของอาการเครียด ก็เพราะไปหมกมุ่นกับเรื่องในอดีต หรือกังวลถึงอนาคต การฝึกหายใจอย่างถูกวิธีเป็นการนำจิคและความคิดกลับมาอยู่กับลมหายใจช้าๆ หายใจลึกและละเอียดในปัจจุบัน จะช่วยลดความเครียดได้
       
       3.ลมหายใจเป็นแม่นมของสมอง อาการที่เราหายใจเข้าปอด ได้นำส่งออกซิเจนและน้ำตาลกลูโคสให้เป็นอาหารสมอง ถ้าขาดอากาศหายใจนานเกิน 3 นาที สมองจะเริ่มฝ่อและตาย สมองเสื่อมและความทรงจำสั้นก็เพราะสมองขาดอากาศหายใจนี่แหละ
       
       ดังนั้น การหายใจอย่างถูกต้องจะช่วยบำรุงสมองรักษาความทรงจำ ชะลอและป้องกันโรคความจำเสื่อมหรืออัลไซเมอร์
       
       4.เคล็ดลับอายุยืน หน้าใส สมองไว ใจเป็นสุข
       
       ลองดูได้จากผู้ที่ปฏิบัติธรรมอย่างสม่ำเสมอ และพระที่ปฏิบัติวิปัสนากรรมฐานเป็นประจำ จะมีใบหน้าสดใน ดูอ่อนกว่าวันจนทายอายุไม่ถูก
       
       ก็เพราะการทำสมาธิและเจริญกรรมฐานมีการหายใจลึก ยาว และละเอียด จะช่วยให้ใจมีความสงบสุขและลดสารความเครียด “คอร์ติซอล” ซึ่งเป็นตัวทำให้แก่ก่อนวัยอันควร
       
       ยิ่งกว่านั้น การหายใจอย่างเต็มปอด ยังช่วยฟอกเลือดที่นำเอาออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ของใบหน้า จึงมีน้ำมีนวล มีความสดใส ดูอ่อนกว่าวัย และเลือดเหล่านี้ยังช่วยขับสารพิษตกค้างต่างๆ (Detox) ออกจากส่วนต่างๆ ของร่างกายอีกด้วย
       
       5.ลมหายใจมีผลต่อความสำเร็จในชีวิต เพราะการหายใจที่ถูกต้อง ช่วยให้เกิดสติและจิตใจอยู่กับปัจจุบันขณะ จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการควบคุมตัวเอง ไม่ให้ผิดพลาดเพราะ โลภ-โกรธ-หลง จนชักนำชีวิตและการงานให้ตกอยู่ในความเสี่ยงและความเสื่อม
       
       6. การหายใจ มีผลต่ออารมณ์ โดยเฉพาะการหายใจลึกๆ จะช่วยให้เลือดไปเลี้ยง “สมองส่วนหน้า” ซึ่งใช้ในการคิดและการควบคุมอารมณ์ต่างๆ ดีขึ้น
       
       การหายใจลึกและยาวเพียงพอจะช่วยเพิ่ม “ขันติ” (ความอดทนต่อสิ่งที่มากระทบอารมณ์) และการมี “สติ” (ความรู้ตัว) ซึ่งเกิดจากการสับรางของระบบสมอง
       
       ดังนั้น ตั้งแต่มีชีวิตมา เราทุกคนจะ “หายใจได้” แต่ก็ต้องฝึกที่จะ “หายใจเป็น” ด้วยการหายใจอย่าง “ละเอียด” หายใจช้า ลึก และเบา
       
       นั่นคือ สูดลมหายใจเข้าจนเต็มปอด ให้หน้าท้องและหน้าอกพองจนไม่สามารถพองต่อไปได้อีก แล้วจึงค่อยๆ ปล่อยลมหายใจออกยาวๆ ช้าๆ จนหมดปอด
       
       ทำแบบนี้ช้าๆ 3-4 ชุด จะรู้สึกว่าร่างกายเริ่มเบา ใจเริ่มโล่ง และสมองจะปลอดโปร่ง....ดีจังเลย

 (จากคอลัมน์ Learn&Share โดย ดร.สุวัฒน์ ทองธนากุล (suwatmgr@gmail.com) เซกชั่น Good Health Smart Life ของ ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 6-12 ธันวาคม 2557)

/ดร.สุวัฒน์ ทองธนากุล
ASTVผู้จัดการออนไลน์    7 ธันวาคม 2557