ผู้เขียน หัวข้อ: การยื่นหนังสือเท็จต่อวิปรัฐบาลน่าจะผิดตาม ม. ๑๕๗ จริงหรือไม่ ‏-จากแพทย์นักกฎหมาย  (อ่าน 1801 ครั้ง)

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด
“มาตรา 157 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ”

องค์ประกอบของเงื่อนไขในมาตรานี้คือ
๑) เป็น เจ้าพนักงาน
๒) ปฎิบัติ หรือ ละเว้นการปฎิบัติ
๓) มิชอบ หรือ โดยทุจริต (เจตนาพิเศษ)
๔) เพื่อให้เกิดความเสียหาย
๕) แก่ผู้ใด
 
๑) ปลัด หรือ รมต. เป็นเจ้าพนักงานหรือไม่....my opinion....คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 700/2490 ได้อธิบายถึงความหมายของเจ้าพนักงาน ว่าหมายถึง “ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งโดยทางการของรัฐไทย ให้ปฏิบัติราชการของรัฐไทย”    ....รมต./ปลัด ได้รับการแต่งตั้งโดยรัฐ   และ การกระทำดังกล่าวเป็นการปฏิบัติราชการ ดังนั้น ปลัด/รมต. เข้าข่ายองค์ประกอบข้อแรกของ ปอ. ๑๕๗
 
๒) ปฏิบัติ ....การยื่นหนังสือ การสรุปความเห็นเป็นการปฏิบัติ     ..... การไม่ยื่นรายละเอียดที่ถูกต้องและเป็นจริงเป็นการละเว้นปฎิบัติ....ดังนั้นน่าจะเข้าองค์ประกอบข้อ ๒
 
๓) โดยมิชอบ  ...เทียบเคียงฎีกา 1403/2521 “การกระทำโดยมิชอบนั้น เฉพาะตามหน้าที่ของเจ้าพนักงานนั้นโดยตรงที่ได้รับมอบให้มีหน้าที่นั้นๆ ถ้าการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติไม่เกี่ยวกับหน้าที่ของเจ้าพนักงานแล้ว ย่อมไม่มีความผิด”  ดังนั้น “โดยมิชอบ” น่าจะหมายความถึง โดยมิชอบด้วยหน้าที่ซึ่งเจ้าพนักงานมีอยู่ตามกฎหมาย
    “มีเจตนาพิเศษ” ที่ต้องการกระทำเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
    โดยทุจริต....ไม่ต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงว่าการกระทำนั้นมีจุดมุ่งหมายที่จะ ให้ผู้อื่นเสียหายหรือไม่ แม้ไม่เกิดความเสียหายก็ยังคงถือว่าเป็นการกระทำความผิดได้
  ทั้งปลัด/รมต. น่าจะเข้าข่าย การกระทำโดยมิชอบ + ทุจริต ซึ่งเป็นองค์ประกอบข้อ ๓
 
๔) ความเสียหาย...รวมถึงความเสียหายในทุกๆด้านโดยไม่จำกัดเฉพาะความเสียหายที่เป็นทรัพย์สินเท่านั้น เช่น ชื่อเสียง
         บุคคลในข้อ ๕ น่าจะเข้าข่าย ถูกกระทำให้เกิดความเสียหาย  ซึ่งเป็นองค์ประกอบข้อ ๔ ของม. ๑๕๗ นี้
 
๕) แก่ผู้ใด....ใครก็ตามที่ถูกอ้างชื่อ ซึ่งเป็นได้ทั้ง บุคคล (พญ. พจนา etc.)  และ นิติบุคคล (แพทยสภา สภาการพยาบาล สมาคมรพ.เอกชน(+/-) etc.)  เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย
         ปวอ. ม. ๒(๔) นิยามคำว่า ผู้เสียหายไว้ว่า หมายถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้
         ผู้ใดนี้ไม่จำกัดว่าต้องเป็นรัฐ เป็นเอกชนก็ได้  ขอแต่ผู้กระทำ เป็นเจ้าพนักงานรัฐ ก็จะผิดตาม ม. ๑๕๗
         ดังนั้นทั้ง บุคคล/นิติบุคคล ที่ถูกอ้าง ก็เป็นผู้เสียหายตามมาตรานี้ ซึ่งเป็นองค์ประกอบข้อสุดท้ายของความผิดฐานนี้
     
   ดังนั้นการยื่นหนังสือเท็จต่อวิปรัฐบาลน่าจะผิดตาม ม. ๑๕๗ นี้จริง
 
   เผลอ ๆ ยังเอาผิด คณะนิติศาสตร์ หรือ ใครก็ได้ที่อยู่ในห้องประชุมวันนั้น และเซ็นเอกสารรับรองว่าสิ่งที่รมต.เสนอเป็นความจริงน่าจะผิดฐาน "สมรู้ร่วมคิด" ตามกฎหมายอาญา ดังนี้
    ผู้กระทำผิดทางอาญาที่ต้องรับโทษ มี
    1. ตัวการ คือผู้ที่กระความผิด ณ ที่เกิดเหตุ หรือพร้อมที่จะเข้าช่วยเหลือการกระทำผิดทันที .... รมต. หรือ ปลัด
        มาตรา 83 "ในกรณีความผิดใดเกิดขึ้นโดยการกระทำของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ผู้ที่ได้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันนั้นเป็นตัวการ ต้องระวาง โทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น"
 
    2. ผู้สนับสนุน คือ ผู้ที่อำนวยความสะดวกในการกระทำควาผิด ก่อน หรือ ขณะกระทำความผิด ... คนในห้องประชุมที่ลงนามรับรองเอกสาร หรือมีหลักฐานเป็นแถบบันทึกเสียง เช่น ตัวแทนคณะนิติศาสตร์ NGO หมอเทพ etc.
       มาตรา ๘๖ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดก่อนหรือ ขณะกระทำความผิด แม้ผู้กระทำความผิดจะไม่ได้รู้ถึงความช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกนั้นก็ตาม ผู้นั้นเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด ต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดที่สนับสนุนนั้น
 
    3. ผู้ใช้ คือผู้ที่ ให้ผู้อื่นกระทำการแทนตนเอง รับผิดเสมือนตัวการครับ  .... รมต. หรือ ปลัด
   มาตรา ๘๔ ผู้ใดก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด ไม่ว่าด้วยการใช้ บังคับ ขู่เข็ญจ้างวาน  หรือ ยุยงส่งเสริม หรือวิธีอื่นใด ผู้นั้นเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิด

โทษคือ จำคุกตั้งแต่ หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
 
มาตรานี้ เป็น "อาญาแผ่นดิน" ยอมความไม่ได้   ดังนั้น เมื่อฟ้องแล้ว ก็จะถอนฟ้องไม่ได้    แม้ผู้ฟ้องจะยอมแต่อัยการต้องดำเนินคดีต่อ   
 
ของแถม
มาตรา 267 ผู้ใดแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จด ข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชนหรือเอกสารราชการซึ่งมี วัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน โดยประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน สามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 268 ผู้ใดใช้หรืออ้างเอกสารอันเกิดจากการกระทำ ความผิดตาม มาตรา 264 มาตรา 265 มาตรา 266 หรือ มาตรา 267 ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา นั้น ๆ
   ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคแรกเป็นผู้ปลอมเอกสารนั้น หรือ เป็นผู้แจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความนั้นเอง ให้ลงโทษตาม มาตรานี้ แต่กระทงเดียว

มาตรา 269 ผู้ใดในการประกอบการงานในวิชาแพทย์ กฎหมาย บัญชีหรือวิชาชีพอื่นใด ทำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จ โดย ประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
   ผู้ใดโดยทุจริตใช้หรืออ้างคำรับรองอันเกิดจากการกระทำความผิด ตามวรรคแรก ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน