ผู้เขียน หัวข้อ: 'สธ.'ประชุมจนท.รับมือ6พิบัติภัย  (อ่าน 1012 ครั้ง)

ABBA

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2105
    • ดูรายละเอียด
'สธ.'ประชุมจนท.รับมือ6พิบัติภัย
« เมื่อ: 28 สิงหาคม 2012, 19:30:29 »
รร.มิราเคิลแกรนด์ * สธ.ประชุมเจ้าหน้าที่ สธ.ทั่วประเทศ เตรียมพร้อมแผนรับมือ 6 พิบัติ "น้ำท่วม ดินโคลนถล่ม แผ่นดินไหว สึนามิ สารเคมี ภัย และการสู้รบตามแนวชายแดน"

นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังเป็นประ ธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้บริหาร แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอื่นๆที่ดูแลงานด้านสาธารณภัย จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปทั่วประเทศ ว่า การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อทบทวนแผนเตรียมความพร้อมรองรับสาธารณภัยหรืออุบัติภัยต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ประสบภัยได้รับบริการดูแลด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่มีคุณภาพ
ทั้งนี้ ได้มอบบนโยบายให้เจ้าหน้าที่จัดทำแผนให้ครอบคลุมพิบัติภัยทั้งหมดที่เคยปรากฏในประเทศไทยอย่างน้อย 6 เหตุการณ์ ได้แก่ 1.น้ำท่วม 2.น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม 3.ภัยจากแผ่นดินไหวและอาคารถล่ม 4.ภัยสึนามิ 5.ภัยสารเคมีและวัตถุอันตราย และ 6.ภัยจากการสู้รบตามแนวชายแดน ซึ่งจะได้ร่วมกันศึกษาวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในแผนงาน และวิธีการปฏิบัติจากสถานพยาบาลที่เคยอยู่ในเหตุการณ์จริงมาก่อน เพื่อพัฒนาปรับปรุงแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ ให้เป็นแผนงานที่มีประสิทธิภาพที่สุด

นายวิทยากล่าวต่อไปว่า ต้องยอมรับว่าขณะนี้อุบัติภัยต่างๆ เกิดขึ้นมากมายและบ่อยกว่าในอดีต ซึ่งไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดเหตุขึ้นเมื่อใดเป้าหมายสำคัญที่รัฐบาลมุ่งหวังคือลดผลกระทบ ลดการสูญเสียของประชาชนให้น้อยที่สุด ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ฟื้นฟูกลับคืนสู่สภาพปกติเร็วที่สุดและปลอดภัย สร้างความมั่นใจทั้งคนไทยและต่างประเทศ ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานหรือสถานบริการสาธารณสุขทุกแห่งจะต้องมีทักษะการป้องกันสถานบริการให้เป็นที่พึ่งของประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง บุคลากรด้านการแพทย์ต้องมีการเตรียมความพร้อมเผชิญภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน หรือเวลาใด ทั้งนี้ สธ.ได้พัฒนาทีมและหน่วยบริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ พร้อมจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับหน่วยเคลื่อนที่ไว้รองรับและแก้ไขปัญหาอย่างเต็มที่

"สำหรับการดำเนินการด้านการจัดทำแผนเผชิญเหตุรองรับสถานการณ์ภัยพิบัติเบื้องต้นไปแล้ว ได้แก่ พื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา 11 จังหวัดซึ่งเป็นจังหวัดเสี่ยงอุทกภัยเมื่อปีที่ผ่านมาและพื้นที่เสี่ยงเกิดแผ่นดินไหว 22 จังหวัด และจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งจะมีเครือข่ายการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน" นายวิทยากล่าว