ผู้เขียน หัวข้อ: รพ รามา-หัวเฉียวจับมือร่วมบริการ  (อ่าน 982 ครั้ง)

ABBA

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2105
    • ดูรายละเอียด
รพ รามา-หัวเฉียวจับมือร่วมบริการ
« เมื่อ: 05 มิถุนายน 2012, 23:16:11 »
ข่าวทั่วไป หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- อังคารที่ 5 มิถุนายน 2555 00:00:20 น.
กรุงเทพฯ * รพ.หัวเฉียว-รามาฯ ลงนามความร่วมมือทางการแพทย์เพิ่มศักยภาพการทำงาน หวังต่อยอดถึงการเป็นเมดิคัลฮับ

รพ.หัวเฉียว (ในสังกัดมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง) และ รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล ได้ลงนามความร่วมมือการให้บริการทางการเพทย์ โดยนาย กอบชัย ซอโสตถิกุล ประธานกรรมการบริหาร รพ.หัวเฉียว กล่าวว่า ถือเป็นความร่วมมือกันครั้งแรกของทั้งสอง รพ. เพื่อร่วมกันพัฒนาการให้บริการทางการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดีจะให้การสนับสนุนให้อาจารย์แพทย์ออกมาตรวจและเป็นแพทย์ที่ปรึกษาให้กับ รพ.หัวเฉียว รวมถึงสนับสนุนในเรื่องเครื่องมือแพทย์ที่มีประสิทธิภาพ และรับเป็น รพ.ส่งต่อของที่นี่อีกด้วย

 
ส่วน รพ.หัวเฉียวจะให้สนับสนุนการใช้บริการห้องผ่าตัด ห้องพัก หรือห้องบริการอื่นๆในกรณีที่ รพ.รามาธิบดีมีเตียงไม่เพียงพอต่อคนไข้ หรือมีนัดหมายผ่าตัดที่ต้องใช้เวลานาน นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาบุคลากรร่วมกันโดย รพ.รามาธิบดีได้ให้สิทธิแพทย์จาก รพ.หัวเฉียวไปร่วมประชุมวิชาการทางการแพทย์ และการฝึกอบรมเฉพาะทาง โดยโครงการนี้จะเริ่มดำเนินการระหว่างปี 2555-2558
"ทุกวันนี้แพทย์ที่ รพ.หัวเฉียวก็สามารถดูแลคนไข้ต่อคนได้เยอะ แต่ยังขาดแคลนพยา บาลซึ่งต้องใช้เยอะเหมือนกัน ความร่วมมือตรงนี้เราจึงมองถึงความร่วมมือในจุดนี้ด้วย ถ้าเมืองไทยเปิดเป็นเมดิคัลฮับเมื่อไหร่จะยิ่งขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์มากขึ้น ยิ่งเร็วๆ นี้จะเปิดเสรีการค้าอาเซียน ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์จะยิ่งหนักขึ้น" นายกอบชัยกล่าว

ด้าน ศ.นพ.วินิจ พัวประดิษฐ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล กล่าวว่า การลงนามในความร่วมมือของทั้ง 2 จะนำเอาจุดแข็งของแต่ละแห่งมาส่งเสริมกัน โดยในส่วนของ รพ.รามาธิบดีจะมีลักษณะเป็น รร.แพทย์ ซึ่งมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญประจำอยู่ อีกทั้งยังได้รับงบประมาณจากรัฐมาจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพ ในขณะที่ รพ.หัวเฉียวจะมีจุดเด่นในเรื่องจุดให้บริการ มีทั้งศาสตร์การแพทย์แผนปัจจุบันและการแพทย์แผนจีน

ศ.นพ.วินิจกล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ในอนาคตหากประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดีมีแนวคิดที่จะสร้างความเข้มแข้งทางด้านวิชาการ การมีเครื่องมือแพทย์ที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการแพทย์ โดยจะมุ่งการรักษาให้กับคนไทยเป็นหลัก ส่วนชาวต่างชาติหากเป็นการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ก็จะประสานกับโรงพยาบาลเอกชนโดยตรง ถือเป็นการแบ่งหน้าที่กัน ไม่แย่งงานกัน

"รพ.รามาธิบดีเป็น รพ.แพทย์ของ ม.มหิดล ซึ่งจะมีศูนย์การแพทย์ทั้งหมด 4 แห่ง คือ ศูนย์การแพทย์ที่พระราม 6 ศูนย์การแพทย์ สิริกิติ์ ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และกำลังจะเปิดศูนย์การแพทย์บางพลีในอีก 5 ปีข้างหน้า" ศ.นพ.วินิจกล่าว.


ไทยโพสต์