ผู้เขียน หัวข้อ: ไม่ยากหาก "นายกฯอภิสิทธิ์" คิดจะทำ  (อ่าน 1867 ครั้ง)

khunpou

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 111
    • ดูรายละเอียด
ไม่ยากหาก "นายกฯอภิสิทธิ์" คิดจะทำ
« เมื่อ: 20 สิงหาคม 2010, 17:52:14 »

ไม่ยากหาก "นายกฯอภิสิทธิ์" คิดจะทำ

http://www.thairath.co.th/column/pol/thai_remark/104221
จากสถิติของ ธนาคารโลกระบุว่า ประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายในด้านการ ดูแลรักษาสุขภาพของประชาชน แค่ 136 เหรียญสหรัฐฯต่อคนต่อปี ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่อยู่ประมาณ 802 เหรียญสหรัฐฯต่อคนต่อปี

ใน ขณะที่มาเลเซียมีค่าใช้จ่ายนี้ 309 เหรียญ สิงคโปร์ 1,148 เหรียญ ญี่ปุ่น 2,751 เหรียญ ออสเตรเลีย 3,968 เหรียญ สหรัฐอเมริกา 7,285 เหรียญ

สาเหตุ หนึ่งที่ประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพประชาชนต่ำมาก ก็คือนโยบายประชานิยมที่ทำให้ประชาชน 47 ล้านคน มีสิทธิรับการรักษาพยาบาล ฟรีในระบบหลักประกันสุขภาพ โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจะจัดงบประมาณให้โรงพยาบาลที่ต้องรักษา ผู้ป่วย 600 บาท หรือน้อยกว่า 20 เหรียญสหรัฐฯต่อคนต่อปี

จึงไม่น่า แปลกใจเลยที่โรงพยาบาลของรัฐ ที่ต้องรับผิดชอบดูแลรักษาประชาชน 47 ล้านคน จะมีสภาพการเงินติดลบถึง 2 ใน 3 และกว่า 300 แห่ง ขาดสภาพคล่องทางการเงิน

นอก จากความขาดแคลนงบประมาณแล้ว ยังขาดบุคลากรในปริมาณที่เหมาะสมกับจำนวนผู้ป่วย เห็นได้ชัดว่าพยาบาลต้องทำงานควงเวร 16 ชั่วโมง แพทย์ต้องทำงานติดต่อกันกว่า 32 ชั่วโมง โดยไม่ได้พักผ่อนนอนหลับอย่างเต็มที่

เพราะแพทย์มีหน้าที่เวรที่ต้อง ตื่นตลอดในห้องฉุกเฉิน และยังมีเวรที่หลับๆตื่นๆดูแลรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลอีก หมดหน้าที่แพทย์เวรแล้วก็ยังกลับไปพักผ่อนไม่ได้ ต้องทำหน้าที่แพทย์ประจำในเวลาราชการต่อไปอีก จนหมดเวลาราชการจึงจะไปพักผ่อนนอนหลับได้

เชื่อหรือไม่ว่าปัจจุบันประเทศไทยมีสัดส่วนแพทย์ต่อประชาชน 1 ต่อ 30,000 คน ในขณะที่ประเทศสวีเดนสัดส่วนคือ 1 ต่อ 322

ไม่ ต้องกล่าวถึงบุคลากรในโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข ที่ต้องเปิดทำการตลอด 24 ชั่วโมงทุกวันตลอดปี แต่ไม่สามารถบรรจุบุคลากรเข้าทำงานได้ เพราะข้อจำกัดของ ก.พ. โรงพยาบาลจึงต้องเจียดเงินในลิ้นชักมาจ้างบุคลากรต่างๆมาช่วยงาน แต่ก็ยังไม่พออยู่ดี

จึงไม่แปลกอะไรที่โรงพยาบาลของรัฐบาล จะจัดงานระดมทุนหรือขอรับบริจาค โรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงก็หาเงินบริจาคได้มาก แต่โรงพยาบาลเล็กๆจะไปหาเงินจากที่ไหน

โดยสรุปก็คือโรงพยาบาล ของกระทรวงสาธารณสุข ขาดทั้งคน เงิน ยารักษาโรคและเครื่องไม้เครื่องมือ แต่ทุกคนก็ยังก้มหน้าก้มตาทำงานตามหน้าที่อย่างมีจรรยาบรรณ ดูแลรักษาประชาชนจนเกินกำลังความสามารถ ยอมทำงานยาวนานติดต่อกันจนร่างกายจะรับไม่ไหว จนอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อความผิดพลาด และส่งผลเสียหายต่อผู้ป่วย

ความจริงที่เกิดขึ้นคือหมอเหนื่อย เครียด สื่อสารกับคนไข้ไม่ดี รักษาหายแต่คนไข้อาจจะไม่พอใจ หรือตรวจคนไข้มากๆโอกาสพลาดก็มาก

ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุขนั้น โดยเจตนารมณ์แล้วถือเป็นสิ่งที่ดี แต่ก็ไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุของปัญหา ที่บอกว่าถ้าประชาชนได้รับการเยียวยาคือได้เงินชดเชยแล้ว จะทำให้การร้องเรียนฟ้องร้องลดลงนั้นคงไม่จริง เพราะตราบใดที่แพทย์ไทยยังต้องดูแลคนไข้จนมือเป็นระวิงแบบนี้ นั่นก็คือโอกาสที่หมอจะเหนื่อย เครียด และสื่อสารกับคนไข้ไม่ดี แม้จะรักษาหาย แต่คนไข้ก็อาจจะไม่พอใจ หรือตรวจคนไข้มากจนเกินความพอดีโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดก็มากขึ้น

ขณะ ที่ นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มองปัญหาไม่ตรงจุด เอะอะก็โยนให้กระทรวงสาธารณสุขไปดูแล ทั้งๆที่กระทรวงสาธารณสุขมีแพทย์แค่ 1,200 คน บางคนก็ไม่ได้ทำงานตรวจรักษาคนไข้แล้ว ในขณะที่ทั้งประเทศมีแพทย์เกือบ 30,000 คน ทำไมไม่ให้หมอที่ปฏิบัติงานอยู่รู้เห็นปัญหาออกมา ช่วยกันให้ข้อมูลระดมสมองเพื่อปรับแก้กฎหมายให้ดีที่สุด ลดช่องว่างความไม่ไว้วางใจระหว่างหมอกับคนไข้ให้ได้มากที่สุด

หาก นายกฯยังไม่เข้าใจปัญหาในจุดนี้ แนะนำว่าให้ไปถามคุณหมอ ท่านหนึ่ง ซึ่งเคยเป็นคณบดีคณะแพทยศาสตร์ รามาธิบดี เคยเป็นอดีต รมช.สาธารณสุข รับรู้ปัญหาเป็นอย่างดี อาจได้รับคำแนะนำที่ดีกว่าจะฟังแต่เฉพาะหมอเอ็นจีโอที่ไม่เคยตรวจคนไข้

คุณหมอคนนั้นชื่อ ศ.นพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ ครับ คิดว่านายกฯคงติดต่อพูดคุยกับท่านได้ไม่ยาก.

"ลม สลาตัน"
ไทยรัฐออนไลน์

    * โดย ลมสลาตัน
    * 18 สิงหาคม 2553, 05:00 น.

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

    * ไม่มีข่าวที่เกี่ยวข้อง
    * ไม่มีรูปภาพที่เกี่ยวข้อง
    * 2 คน

tags:
หมายเหตุประเทศไทย ลม สลาตัน อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สุขภาพประชาชน สาธารณสุข