ผู้เขียน หัวข้อ: “พี่ศรี” ร้อง ศาล ปค.กลาง ฟ้องกราวรูด “อนุทินและพวก” ระงับซื้อ “ฟาวิพิราเวียร์”  (อ่าน 513 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9760
    • ดูรายละเอียด
“ศรีสุวรรณ” เข้ายื่นฟ้อง “อนุทิน”- อย. ต่อศาลปกครองกลาง ฐานใช้ดุลพินิจโดยมิชอบระงับจัดชื้อ “ฟาวิพิราเวียร์” ชี้ มีข้อพิรุธ

วันนี้ (18 มี.ค.) นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เข้ายื่นฟ้อง รมว.กระทรวงสาธารณสุข, ปลัดกระทรวงสาธารณสุข, อธิบดีกรมการแพทย์ และเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ต่อศาลปกครองกลาง ฐานใช้ดุลพินิจโดยมิชอบผลักดันการจัดซื้อจัดหายาฟาวิพิราเวียร์เพิ่ม ทั้งที่ยาดังกล่าวประเทศผู้ผลิตยังไม่อนุมัติให้ใช้ยาดังกล่าว เพราะอาจไม่ปลอดภัยต่อผู้ใช้

นายศรีสุวรรณ กล่าวว่า ตอนนี้เป็นที่ยืนยันแล้วว่า บริษัทเจ้าของสูตรยา “ฟาวิพิราเวียร์” ในญี่ปุ่นจะยุติการทดลองใช้ยาดังกล่าวกับโรคโควิด-19 เนื่องจากความยากลำบากในการประเมินประสิทธิผลของยาที่มีต่อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน และจนถึงขณะนี้รัฐบาลญี่ปุ่นก็ยังไม่อนุมัติให้ใช้ยานี้ เพราะบริษัทผู้ผลิตไม่สามารถมีข้อมูลที่เพียงพอเพื่อพิสูจน์ถึงประสิทธิผลและความปลอดภัย ล่าสุด นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบบการหายใจ ยังออกมาโพสต์วอนให้องค์การเภสัชฯควรหยุดผลิตและนำเข้ายาฟาวิพิราเวียร์เสีย เพราะไม่มีข้อมูลยืนยันว่ายาฟาวิพิราเวียร์ลดการป่วยได้จริง

“การที่กระทรวงสาธารณสุขมุ่งแต่จะผลักดันให้มีการจัดซื้อจัดหายาฟาวิพิราเวียร์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น ไม่แน่ใจว่ามีธงหรือผลประโยชน์ใดแอบแฝงอยู่ด้วยหรือไม่ เพราะต้องใช้เงินกู้ ซึ่งเป็นงบประมาณแผ่นดินที่เป็นภาษีของประชาชนไปจัดซื้อจัดหานับหมื่นล้านบาท ทั้งๆ ที่มีข้อพิสูจน์และผลงานวิจัยมากมายว่ายาแผนโบราณของไทยหลายชนิด อาทิ ฟ้าทะลายโจร ซึ่งมีสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ คือ แอนโดรกราโฟไลด์ (andrographolide) มีประสิทธิภาพในการจำกัดการแพร่ของไวรัสได้ แต่กลับไม่มีการส่งเสริมการใช้ในวงการแพทย์กันอย่างจริงจังในสถานพยาบาลของรัฐ สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทยจึงยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง ขอให้สั่ง รมว.สธ.ระงับการจัดซื้อจัดหายาชนิดดังกล่าวและหันไปส่งเสริมการใช้สมุนไพรไทยฟ้าทะลายโจรกันอย่างจริงจังเสียที”

18 มี.ค. 2565 ผู้จัดการออนไลน์

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9760
    • ดูรายละเอียด
“อนุทิน” เผยจ่าย “ยาฟาวิพิราเวียร์” รักษาโควิดไปแล้วหลายร้อยล้านเม็ด ยันได้ผลดี เป็นยายืนพื้นจนถึงทุกวันนี้ หลังญี่ปุ่นเลิกทดลองใช้รักษาโควิด แจงมีคณะกรรมการกำกับดูแลเลือกใช้ยา อาศัยข้อมูลวิชาการ ไม่ใช่การตัดสินใจของหมอคนหนึ่ง หลังหมอจุฬาฯแนะให้ใช้โมลนูพิราเวียร์แทน ไม่สน “ศรีสุวรรณ” ยื่นฟ้องปมจัดซื้อยาฟาวิพิราเวียร์ แจงจัดซื้อจัดหายาเป็นหน้าที่ สธ.

เมื่อวันที่ 18 มี.ค. นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์กรณีญี่ปุ่นเลิกทดลองใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ในการรักษาโควิด-19 และมีแพทย์ รพ.จุฬาลงกรณ์ ออกมาสนับสนุนให้เลิกใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ โดยให้ใช้ยาโมลนูพิราเวียร์แทน ว่า ข้อมูลของ สธ.ประเทศไทยในการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ ยังใช้รักษาผู้ป่วยโควิด-19 ประเทศไทยและได้ผลมาตลอด ไม่ใช่เพิ่งได้ผล และได้ผลมาตั้งแต่เริ่มใช้ยานี้แล้ว เราจ่ายยานี้แก่คนไทยจำนวนหลักร้อยล้านเม็ดแล้ว คนไข้ก็หายในช่วงเวลาที่กำหนดไว้ในสรรพคุณของยา  สธ.เราไม่ได้ใช้ยาด้วยการตัดสินใจของแพทย์แต่ละคน ทุกครั้งที่มีการใช้ยา จะมีคณะกรรมการที่กำกับการดูแลการใช้ยาให้แก่คนไข้ มีการประชุมทางวิชาการ มีการยืนยันการใช้ยา ว่า มีประสิทธิภาพ ยาออกฤทธิ์ตามสรรพคุณที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะมีการรักษาคนไข้ที่ติดเชื้อโควิดจนถึงทุกวันนี้ก็ยังใช้ยาฟาวิพิราเวียร์เป็นยายืนพื้น

ถามถึงกรณี นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ยื่นฟ้อง รมว.สธ. ปลัด สธ. อธิบดีกรมการแพทย์ และเลขาธิการ อย. ฐานใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ ผลักดันการจัดซื้อยาฟาวิพิราเวียร์เพิ่มไม่หยุดหย่อน ทั้งที่ประเทศผู้ผลิตยังไม่อนุมัติให้ใช้ เนื่องจากอาจไม่ปลอดภัย นายอนุทิน กล่าวว่า ก็แล้วแต่ เป็นอาชีพเขา ซึ่งไม่มีอะไรต้องชี้แจง ถ้าจะชี้แจงก็ตามข้อเท็จจริง เรื่องการจัดซื้อจัดหายาเป็นหน้าที่ของ สธ.อยู่แล้ว มีผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน

ถามถึงกรณีการจะปรับมาตรการผู้เดินทางเข้าประเทศไม่ต้องตรวจหาเชื้อก่อนเดินทาง ขณะที่ประเทศไทยยังมีการติดเชื้อสูง นายอนุทิน กล่าวว่า เราก็ต้องดูว่าการติดเชื้อเมื่อเทียบกับการรักษาพยาบาล คุณภาพการให้การดูแลคนไข้ จำนวนผู้เสียชีวิต เราดูในทุกมิติและพยายามบริหารจัดการสถานการณ์ให้เกิดผลกระทบในทุกมิติให้น้อยที่สุด ฉีดวัคซีนกันให้เยอะให้ครบ อย่าปฏิเสธวัคซีน ยิ่งฉีดเข็ม 4 ได้ก็จะยิ่งเสริมสร้างความปลอดภัย คนที่ยังไม่ได้ฉีด อยู่ในบ้านก็ต้องช่วยกันขอให้มาฉีดวัคซีน หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด อากาศไม่ถ่ายเท หรือคนหมู่มาก หลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะร่วมกัน ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา ก็จะลดความเสี่ยงการติดเชื้อโควิดได้

18 มี.ค. 2565  ผู้จัดการออนไลน์

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9760
    • ดูรายละเอียด
บริษัทเจ้าของสูตรยา “ฟาวิพิราเวียร์” จะยุติการทดลองใช้ยาดังกล่าวกับโรคโควิด-19 เนื่องจากความยากลำบากในการประเมินประสิทธิผลของยาที่มีต่อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน

บริษัทฟูจิฟิล์ม โทยามะ เคมีคอล ซึ่งเป็นผู้คิดค้นยา “ฟาวิพิราเวียร์” หรือในญี่ปุ่นใช้ชื่อว่า “อาวิแกน” ได้ทำการทดลองทางคลินิกใช้ยานี้กับผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีอาการเบา แต่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะมีอาการทรุดหนักลง

ทางบริษัทระบุว่า ในสิ้นเดือนนี้จะยุติการรับสมัครอาสาสมัครที่เข้าร้วมการทดลองดังกล่าว เนื่องจากผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอมิครอนมีโอกาสน้อยที่จะป่วยหนักจากการติดเชื้อ

“ฟาวิพิราเวียร์” เป็นที่สนใจในช่วงเดือนพฤษภาคม 2563 หลังจากนายชินโซ อาเบะ นายกฯ ญี่ปุ่นในขณะนั้นระบุว่า จะผลักดันให้ใช้ยานี้เพื่อรักษาผู้ติดเชื้อโควิดภายใน 1 เดือน แต่จนถึงขณะนี้รัฐบาลญี่ปุ่นก็ยังไม่อนุมัติใช้ยานี้ เพราะบริษัทผู้ผลิตไม่สามารถมีข้อมูลที่เพียงพอเพื่อพิสูจน์ถึงประสิทธิผลและความปลอดภัย นอกจากนี้ยังมีความยากลำบากในการหาอาสาสมัครที่เข้าร่วมการทดลองทางคลินิก หลังจากจำนวนผู้ติดเชื้อในญี่ปุ่นเริ่มลดลง

บริษัทฟูจิฟิล์ม โทยามะ เคมีคอล ได้ยื่นผลการทดลองบางส่วนให้กับกระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นในเดือนตุลาคม 2563 เพื่อขออนุมัติเป็นใช้ยารักษาโรคโควิด-19 แต่ทางกระทรวงไม่ได้อนุมัติ โดยระบุว่าขาดข้อมูลที่ชัดเจนเรื่องประสิทธิผลของยา

ในเดือนเมษายน 2564 ทางบริษัทได้เริ่มการทดลองทางคลินิกอีกครั้ง แต่เนื่องจากผู้ติดเชื้อสายพันธ์โอมิครอนส่วนใหญ่อาการเบา จึงยากที่จะบอกได้ว่ายานี้สามารถช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัว หรือว่าผู้ป่วยหายป่วยได้ด้วยตัวเอง

นอกจากนี้ การทดลองยังพบความยากลำบากในการหาผู้ติดเชื้อสำหรับการทดลองควบคุมด้วยยาหลอก เพราะรัฐบาลญี่ปุ่นได้อนุมัติยาหลายชนิดฉีดที่ใช้ฉีดเข้าเส้นเลือดเพื่อรักษาโรคโควิด หรือที่เรียกว่า “ค็อกเทล แอนติบอดี”

บริษัทฟูจิฟิล์ม โทยามะ เคมีคอล ระบุว่า จนถึงวันที่ 14 มี.ค. ยังไม่สามารถหาอาสาสมัครได้ครบ 316 คนตามเป้าหมายการทดลอง ทางบริษัทจะตัดสินใจว่าจะทำการทดลองภายใต้สภาวะที่ยากลำบากเช่นนี้ต่อไปหรือไม่ หลังจากพิจารณาข้อมูลในสิ้นเดือนนี้

“ฟาวิพิราเวียร์” เป็นยารักษาไข้หวัดใหญ่ ที่ถูกใช้ยาอย่างเข้มงวดในญี่ปุ่น เนื่องจากมีผลข้างเคียงอาจทำให้อวัยวะผิดรูป และหญิงมีครรภ์เสี่ยงแท้งบุตร และจนถึงขณะนี้ กระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นก็ไม่ได้อนุมัติใช้เป็นยารักษาโรคโควิด-19 แต่ในหลายประเทศกลับมีการใช้ยานี้อย่างกว้างขวาง ทั้งๆ ที่มีผลการศึกษาว่า ยานี้ไม่ได้มีประสิทธิผลในการรักษาโรคโควิด.

16 มี.ค. 2565  ผู้จัดการออนไลน์

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9760
    • ดูรายละเอียด
เฟซบุ๊ก “หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC” โพสต์ให้ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้ยาโมลนูพิราเวียร์ ไม่ควรเกิน 5 วัน และเลี่ยงใช้ในคนท้อง-เด็ก พร้อมวอนให้ อภ.ควรหยุดผลิตและนำเข้ายาฟาวิพิราเวียร์ เพราะไม่มีข้อมูลยืนยันว่ายาฟาวิพิราเวียร์ลดการป่วยได้จริง

วันนี้ (15 มี.ค.) เฟซบุ๊ก “หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC” หรือ นายแพทย์ มนูญ ลีเชวงวงศ์ หัวหน้าห้องไอซียูเฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ ผู้ป่วยหนัก และโรคผู้สูงอายุ ประจำโรงพยาบาลวิชัยยุทธ ไโพสต์ข้อความให้ข้อมูลใช้ยาโมลนูพิราเวียร์สำหรับผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 โดยระบุว่า "องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้ยาโมลนูพิราเวียร์ของบริษัทเมอร์คในคนไข้ที่เพิ่งจะติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ไม่เกิน 5 วัน ยังมีอาการน้อย แต่มีความเสี่ยงสูงที่โรคจะดำเนินต่อไปเข้าขั้นรุนแรง ทำให้มีโอกาสเสียชีวิตได้ ยานี้เป็นยาต้านไวรัสตัวใหม่ชนิดกิน ขนาด 200 มิลลิกรัม กิน 4 เม็ดทุก 12 ชั่วโมงนาน 5 วัน สามารถให้กินเป็นคนไข้นอก ช่วยลดความรุนแรงของโรค และลดการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 30

ยาโมลนูพิราเวียร์เข้าประเทศไทยแล้ว กำลังกระจายไปตามโรงพยาบาลต่าง ๆ สัปดาห์หน้า ยานี้มีจำนวนจำกัด ต้องใช้ตามข้อบ่งชี้เท่านั้น ให้กับคนที่มีความเสี่ยงสูง คือคนที่ไม่เคยได้รับวัคซีน คนสูงอายุ คนที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่นเบาหวาน และคนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ไม่ใช่ให้กับคนทั่วไป

ห้ามให้ยาโมลนูพิราเวียร์กับหญิงตั้งครรภ์/อาจจะตั้งครรภ์ และหญิงที่กำลังให้นมบุตร เพราะอาจทำให้ทารกผิดปกติ และไม่ควรใช้กับเด็ก

ยานี้อาจมีผลข้างเคียง เช่นตามทฤษฎีเป็นไปได้อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ซึ่งยังไม่มีใครทราบ อาจก่อให้เกิดเชื้อไวรัสโควิด-19 ดื้อยา อาจกระตุ้นให้เกิดเชื้อกลายพันธุ์ ต้องติดตามระยะยาวต่อไป

อย่าแปลกใจทำไมองค์การอนามัยโลกไม่เคยแนะนำให้ประเทศต่างๆ ใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ เพราะไม่มีข้อมูลจากการศึกษายืนยันว่ายาฟาวิพิราเวียร์สามารถลดการป่วยหนักและเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้ เมื่อไรที่เรามียาโมลนูพิราเวียร์ และยาต้านไวรัสตัวใหม่แพกซ์โลวิดของบริษัทไฟเซอร์ที่กำลังจะเข้าประเทศไทยเดือนหน้าจำนวนมากเพียงพอ ถึงเวลาแล้วที่องค์การเภสัชกรรมควรจะหยุดผลิตและนำเข้ายาฟาวิพิราเวียร์อีกต่อไป"

15 มี.ค. 2565  ผู้จัดการออนไลน์

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9760
    • ดูรายละเอียด
ครม.อนุมัติให้กระทรวงสาธารณสุขเปลี่ยนแปลงการจัดซื้อเวชภัณฑ์ยาตามโครงการแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ จากโมลนูพิราเวียร์เป็นฟาวิพิราเวียร์และเรมเดซิเวียร์ เพื่อสอดคล้องกับแนวทางเวชปฏิบัติและสถานการณ์โควิด19

วันนี้ (15 มี.ค.) น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) วันที่ 15 มี.ค. 2565 ได้อนุมัติเปลี่ยนแปลงรายการจัดหาเวชภัณฑ์ยาและขยายระยะเวลาดำเนินการโครงการแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระยะการระบาดระลอกเมษายน 2564 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตามที่กระทรวงสาธารณสุข เสนอ โดยมีสาระสำคัญเป็นการเปลี่ยนแปลงรายการจัดซื้อเวชภัณฑ์ยาจากยา Molnupiravir (โมลนูพิราเวียร์) ตามโครงการแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ฯ 50,000 โดส เป็นยา Favipiravir(ฟาวิพิราเวียร์) จำนวน 17,065,457 เม็ด และยา Remdesivir(เรมเดซิเวียร์) จำนวน 5,166 Vial (ขวด) ทั้งนี้ เนื่องจากแนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัย ดูแลรักษาและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (CPG COVID-19) กำหนดให้ยา Favipiravir เป็นยาหลักที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ทั้งที่ไม่มีอาการปอดอักเสบหรือมีอาการปอดอักเสบเล็กน้อย โดยมีอัตราการใช้ยาร้อยละ 87 ของผู้ป่วยที่ติดเชื้อทั้งหมด และสำหรับยา Remdesivir ใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและผู้ป่วยที่มีอาการ ไม่รุนแรงแต่มีข้อห้ามในการใช้ยา Favipiravir โดยมีอัตราการใช้ยาร้อยละ 2 ของผู้ป่วยติดเชื้อทั้งหมด

พร้อมทั้งปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณในการดำเนินโครงการ และ ขยายระยะเวลาการดำเนินการตามโครงการ จากเดิมระยะเวลาดำเนินการ ต.ค.- ธ.ค. 2564 เป็น ต.ค. 2564-ก.ย. 2565

“กระทรวงสาธารณสุขเห็นว่าการแพร่ระบาดของโควิด19 ยังคงมีความต่อเนื่อง จึงมีความจำเป็นต้องสำรองยาดังกล่าวไว้ให้เพียงพอสำหรับรักษาผู้ป่วย รวมถึงมีความจำเป็นต้องปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณในการดำเนินโครงการปรับระยะเวลาการดำเนินโครงการเพื่อให้กระทรวงสาธารณสุขสามารถจัดหาเวชภัณฑ์ยาเพื่อดูแลดูแลประชาชนได้ตามแผนงานและสอดคล้องกับเวชปฏิบัติในปัจจุบัน” น.ส.ไตรศุลี กล่าว

สำหรับความเป็นมาของโครงการแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระยะการระบาดระลอกเมษายน 2564 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ได้รับอนุมัติจาก ครม. เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2564

โดยตามรายละเอียดตามโครงการ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 528.4 ล้านบาท ประกอบด้วยจัดซื้อ โมลนูพิราเวียร์ จำนวนเงิน 500 ล้านบาท และค่าครุภัณฑ์รายการระบบหมอพร้อม จำนวนเงิน 28.4 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินโครงการ ต.ค. - ธ.ค. 2564 แต่เวลาต่อมา แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัย ดูแลรักษาและป้องกันโควิด19 ได้เป็นแปลงไปตามสถานการณ์ของโรค กระทรวงสาธารณสุขของได้ขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของโครงการดังกล่าวมาข้างต้น

15 มี.ค. 2565  ผู้จัดการออนไลน์

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9760
    • ดูรายละเอียด
“หมอรุ่งเรือง” โฆษก สธ. ตอบกลับ “ศรีสุวรรณ” หลังยื่นฟ้อง สธ.เบรกซื้อฟาวิพิราเวียร์ มีพิรุธ แจงเหตุมีเหตุผลทางวิชาการรองรับ

วันนี้ (18 มี.ค.) นายแพทย์รุงเรือง กิจผาติ หัวหน้าที่ปรึกษาระดับกระทรวง (11) และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีที่ นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้ยื่นศาลปกครองฟ้อง รมว.กระทรวงสาธารณสุข, ปลัดกระทรวงสาธารณสุข, อธิบดีกรมการแพทย์ และ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ฐานใช้ดุลพินิจโดยมิชอบในการผลักดันการจัดซื้อจัดหายาฟาวิพิราเวียร์ ว่า การตรวจสอบ ถือว่าเป็นเรื่องดี ช่วยให้สังคมเข้ารูปเข้ารอย แต่บางเรื่อง นายศรีสุวรรณ ควรจะรู้ว่าอะไรควร อะไรไม่ควร เรื่องการจัดหายาฟาวิพิราเวียร์ เข้ามาใช้นั้น มีเหตุผลทางวิชาการรองรับ ผ่านการพิจารณาจากคณะผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภายนอกและภายในกระทรวง มีการพิจารณาอย่างรอบคอบ ว่า มีประโยชน์ มีความจำเป็น ที่ผ่านมา ยาตัวนี้ มีประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วย ใช้กันแพร่หลายทั่วโลก และเป็นยาที่ประเทศไทย สามารถผลิตเองได้ การที่ประเทศไทย มีอัตราการเสียชีวิตที่ต่ำมาก ยาฟาวิพิราเวียร์ ก็นับว่ามีส่วนสำคัญ และการพิจารณาเรื่องการใช้ยา เป็นเรื่องทางวิชาการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้ไตร่ตรองมาถี่ถ้วนแล้วถึงให้ใช้

การให้ข่าวของ นายศรีสุวรรณ ไปจนถึงผู้ที่รู้ไม่จริงทั้งหลาย ได้สร้างความสับสนให้กับสังคม ตนไม่ต้องการให้เกิดความเข้าใจผิด เห็นการปฏิเสธยาแล้วอาการทรุดหนัก ถึงเสียชีวิต เป็นความจริงที่บางประเทศ ไม่ได้ใช้ยาตัวนี้แล้ว แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า ยานี้ อันตราย หรือยานี้ ไร้ประสิทธิภาพเสียทั้งหมด อาทิ ประเทศญี่ปุ่น ที่ไม่ได้ใช้ยาดังกล่าว เพราะปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง คือ เรื่องการทดลองหาประสิทธิภาพ เพราะผู้ป่วยแทบติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน ที่มีความรุนแรงของโรคต่ำ ติดแล้วหายในระยะเวลาอันรวดเร็ว ให้ยา แล้วหาย แต่ก็ประเมินยากเหลือเกินว่า หายเพราะยาหรือไม่ จึงตัดสินใจเลิกใช้ ทว่า ในหลายประเทศ ก็ยังใช้ยาตัวนี้อยู่

ประเทศไทยเอง ก็เช่นกัน เมื่อ 2-3 สัปดาห์ที่แล้ว ยังกังวลเรื่องยาชนิดนี้ ขาดแคลนอยู่เลย แต่พอวันนี้ เมื่อมีข้อมูลใหม่ๆ เข้ามาเพียง 2-3 วัน เช่น หมอบางคนบอกว่า WHO สนับสนุนให้ใช้ยาของบริษัทหนึ่ง มากกว่ายาฟาวิพิราเวียร์ ก็เชื่อกันไปเช่นนั้น กดดัน คนทำงาน ให้รีบเร่งตัดสินใจ

กระทรวงสาธารณสุขติดตามสถานการณ์ทุกวัน เรามีทีมแพทย์ ทีมผู้ผู้ทรงคุณวุฒิ คอย พิจารณา เรื่องต่างๆ แต่จะให้เปลี่ยนยาปุบปับมันทำไม่ได้

ตอนนี้ เราต้องดูตามความเหมาะสม กรณียาฟาวิพิราเวียร์ เราสามารถจัดหามาได้มาก เพียงพอต่อยอดการป่วยที่สูง นับว่าเป็นแนวทาง บริหารจัดการที่เหมาะสม ในอนาคต ถ้ามียาที่ดีกว่า และสามารถจัดหายามาได้มาก เพียงพอ ความต้องการ แผนการก็ต้องปรับกันต่อไป แต่อย่าไปมองว่า คนทำงานไม่ถูกใจ จะเป็นคนผิด ต้องหาทางกล่าวโทษ สร้างแพะให้สังคมไปบูชายัน ส่วนตัวผู้ร้อง มีซีน มีบท แบบนี้ไม่ถูกต้อง อย่าลืมว่า การทำ มันยาก กว่าการพูด ทุกวันนี้เบื่อมากกับพวก NATO No action Talk only

18 มี.ค. 2565  ผู้จัดการออนไลน์