ผู้เขียน หัวข้อ: “ปรียนันท์”ยื่นขอแก้ กม.ให้คนนอกนั่งแพทยสภาแก้ค่ารักษาแพง“สุรชัย”ชี้ไม่น่าเกี่ยว  (อ่าน 634 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9760
    • ดูรายละเอียด
 เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ นำ 15,000 รายชื่อยื่นรองประธาน สนช.ขอแก้ พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม ให้คนนอกเป็นกรรมการแพทยสภา 50% ลดจำนวนกรรมการ ผู้บริหารต้องไม่มีประโยชน์ทับซ้อนสถานพยาบาลเอกชน อ้างไม่ได้ความเป็นธรรม ถูกซ้ำเติมค่ารักษาแพงเกินจริง จี้นายกฯ ใช้อำนาจระงับเลือกตั้ง ด้าน “สุรชัย” ชี้แพทยสภาดูจริยธรรมไม่น่าจะเกี่ยว ระบุร่าง พ.ร.บ.สถานพยาบาลฯ ที่กำลังทำอยู่น่าจะตรงปัญหากว่า
       
       วันนี้ (29 ก.ย.) ที่รัฐสภา เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์กว่า 20 คน นำโดยนางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายฯ ได้นำรายชื่อประชาชน 15,000 รายชื่อ เข้ายื่นต่อนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 1 เพื่อขอให้แก้ไข พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 ให้แพทยสภามีคนนอกเข้าไปเป็นกรรมการ
       
       โดยนางปรียนันท์กล่าวว่า ประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรมและถูกซ้ำเติมจากค่ารักษาพยาบาลที่แพงเกินจริง หากแพทยสภามีความโปร่งใสนอกจากจะลดความขัดแย้งระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยลงได้จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาค่ารักษาพยาบาลที่แพง ทางกลุ่มจึงของเสนอให้มีการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว โดยให้ประชาชนเข้าร่วมไปเป็นกรรมการในแพทยสภาในสัดส่วน 50 ต่อ 50 และลดจำนวนคณะกรรมการจากปัจจุบันที่มีอยู่ 56 คนลงเพื่อให้เกิดความคล่องตัวและกำหนดให้กรรมการดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระๆ ละ 2 ปี รวมทั้งกำหนดให้ตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง เช่น นายกแพทยสภา เลขาธิการ อุปนายก ต้องไม่เป็นผู้มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับธุรกิจสถานพยาบาลเอกชน ทั้งนี้ การเลือกตั้งกรรมการแพทยสภาที่จะมีขึ้นต้นปี 2560 นี้เชื่อว่ากรรมการชุดเดิมจะกลับมาเป็นอีกทั้งที่อยู่ในตำแหน่ง 10-25 ปี จึงหวังว่าจะมีการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ และเครือข่ายขอเรียกร้องให้นายกฯ ใช้อำนาจ คสช.ระงับการเลือกตั้งคณะกรรมการแพทยสภาออกไปก่อน และแต่งตั้งบุคคลที่มีความโปร่งใสเข้าทำหน้าที่แทน หรือให้มีภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม
       
       นายสุรชัยกล่าวว่า แพทยสภามีหน้าที่ควบคุมจรรยาบรรณแพทย์ ซึ่งไม่น่าเกี่ยวข้องแต่ขณะนี้ สนช.กำลังพิจารณาร่าง พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. ... ที่สาระสำคัญในมาตรา 1 ให้มีคณะกรรมการควบคุมสถานพยาบาล ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้มีหน้าที่ดูแล กำหนดราคา คุณภาพ และระบบ ดูมาตรฐานการบริการ ซึ่งในคณะกรรมการชุดนี้มีคนในกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคอยู่ด้วย รวมทั้งกำหนดให้สถานพยาบาลแจ้งราคารักษาพยาบาล ซึ่งตนเห็นว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้มีความสอดคล้องกับปัญหาของเครือข่าย อย่างไรก็ตาม หากเห็นว่าเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.เวชกรรม พ.ศ. 2525 ก็จะพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ หาก สนช.พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ก็จะเชิญเครือข่ายเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็น ซึ่งระบบสาธารณสุข การบริการทางการแพทย์ต้องไม่แพง ทำให้ประชาชนในทุกระดับเข้าถึงการบริการได้

โดย MGR Online       29 กันยายน 2559