ผู้เขียน หัวข้อ: สิ่งที่ซ่อนเร้น แอบแฝง ไม่โปร่งใส และผลประโยชน์ ในร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหาย  (อ่าน 2186 ครั้ง)

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด

สิ่งที่ซ่อนเร้น แอบแฝง ไม่โปร่งใส ผลประโยชน์ ในร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้
เรื่องแรก กองทุนไม่โปร่งใส
มาตรา ๒๒
กองทุนประกอบด้วย...
..............................เงิน และทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง   ไม่ต้องส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน

*ทำไมไม่ส่งคลัง มีอะไรซ่อนอยู่
ถ้าเป็นรายได้ของแผ่นดิน สำนักงานตรวจสอบเงินแผ่นดิน(สตง.)จะเข้าไปตรวจสอบได้
นี่แสดงว่ากลัวการตรวจสอบของ สตง.
กองทุนที่มีลักษณะแบบนี้เท่าที่รู้คือ กองทุนของ สปสช. และกองทุนของ สสส.


เรื่องที่สอง ผลประโยชน์พวกพ้อง
มาตรา ๒๐
คณะกรรมการอาจจัดสรรเงินจากกองทุน.....เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายตามมาตรา ๑๖ และ ๑๘ และเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารของสำนักงานในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัตินี้.............แต่ไม่เกินร้อยละสิบต่อปีของจำนวนเงินดังกล่าว

*ผลประโยชน์ในการเอาเงินกองทุนไปใช้จ่ายพวกพ้อง ปีละหลายร้อยล้านบาท
(มาตรา ๑๖
ให้ประธานกรรมการ กรรมการ ประธานกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ประธานอนุกรรมการ หรืออนุกรรมการได้รับเบี้ยประชุม ค่าพาหนะ ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก และประโยชน์ตอบแทนอื่นในการปฏิบัติหน้าที่........ตามระเบียบ....)

อาจมีการตั้งเงินเดือนของประธาน (หรือกรรมการ) หรือจ่ายเบี้ยประชุมครั้งมากๆ เหมือนอะไรที่คุ้นๆ
ถ้ากองทุนมีปีละเป็นพันล้าน ก็สามารถจ่ายเรื่องเล่านี้ได้ ถึงปีละ ร้อยล้าน ประโยชนของใครกัน?

เรื่องที่สาม ผลประโยชน์จากการไกล่เกลี่ย
มาตรา ๓๙
ในการไกล่เกลี่ย ผู้เสียหาย และผู้ให้บริการสาธารณสุข.....มีสิทธิร่วมกันเลือกผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยคนเดียว หรือหลายคน
ตามที่ตกลงกันจากบัญชีรายชื่อ...ได้จัดทำไว้....... หรือบุคคลอื่นใดที่ผู้เสียหาย และผู้ให้บริการสาธารณสุข หรือ....
เห็นสมควรร่วมกัน.............ค่าตอบแทนของผู้ไกล่เกลี่ย ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด

*ปัจจุบันสถานพยาบาลทุกแห่งมีกระบวนการไกล่เกลี่ยของตัวเองอยู่แล้ว มีประสิทธิภาพมากด้วย แต่พ.ร.บ.นี้ไม่ให้เราไกล่เกลี่ยกันเอง ต้องจ้างคนมาไกล่เกลี่ยให้ (บัญชีรายชื่อก็เป็นพวกพ้องที่เตรียมการไว้แล้ว) และจ่ายค่าไกล่เกลี่ย

เรื่องที่ห้า สำนักงานมีอำนาจมหาศาล ถึงแย่งกันเป็นนัก
มาตรา ๓“สำนักงาน” หมายความว่า กรมสนับสนุนบริการสุข ภาพ
มาตรา ๗
ให้อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพเป็นกรรมการ และเลขานุการ และให้อธิบดีการมสนับสนุนบริการสุขภาพแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของสำนักงานจำนวนไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
มาตรา ๑๐
คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)    กำหนดนโยบาย และมาตรการ......
(๒)    กำหนดประกาศการจ่ายเงินสมทบ.....
(๓)    กำหนดระเบียบ......
(๔)    กำหนดหลักเกณฑ์........    (๑๑)........
ในการปฏิบัติหน้าที่......คณะกรรมการอาจมอบหมาย หรือมอบอำนาจให้สำนักงานเป็นผู้ดำเนินการแทนได้
มาตรา ๑๙
ให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพเป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการ คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และคณะอนุกรรมการ และมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
     (๑).....
     (๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามที่คณะกรรมการมอบหมาย

นั่นคือ คณะกรรมการอาจมอบอำนาจทุกอย่างให้สำนักงานทำแทนได้หมด

เบื้องหลังการต่อสู้แย่งชิง
กระทรวงฯ  เสนอ      กรมสนับสนุนบริการสาธารณสุข
สปสช.      เสนอ      สปสช.
เอ็นจีโอ     เสนอ      สปสช.

*ถ้า สปสช. ได้เป็นสำนักงาน ก็เหมือนว่า สปสช.ได้บริหารกองทุนมหาศาลอีกกองทุนหนึ่ง
และจะเป็นคนกำหนดอะไรๆได้ทุกอย่าง ในพ.ร.บ.นี้

คาดว่าจะมีการเสนอ และกดดันทุกวิถีทางเพื่อแก้ไขให้ สปสช. เป็น สำนักงาน เพราะนี่เป็นผู้กุมอำนาจตัวจริงในพ.ร.บ.นี้

ก็ลงทุน จ้างนักกฎหมาย และพวกพ้อง มาร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้
ก็ลงทุน เลี้ยงเอ็นจีโอกลุ่มหนึ่ง ให้มาเป็นแนวหน้าในการกดดันรมต. และรัฐบาล
ลงทุนมาตั้งเยอะ อยู่ๆ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ก็ชุบมือเปิบ จะยอมได้อย่างไร

สุดท้ายหากเข้าตาจน
อาจผลักดันให้มีการแต่งตั้งคนของกลุ่มตัวเองไปเป็นอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

จุดเริ่มต้นของการผลักดันให้เกิด พ.ร.บ.นี้ขึ้นมา อาจเป็นเพราะว่า

เรื่องเสร็จที่ ๖๙/๒๕๔๙
บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
เรื่อง หารือปัญหาข้อกฎหมายตามมาตรา ๔๑...........(กรณีการใช้เงินที่กันไว้เป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้นไปจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขให้แก่หน่วยบริการ)...

คือ สปสช.ทำหนังสือถามคณะกรรมการกฤษฎีกาว่า เงินที่กันไว้ (ไม่เกิน 1%) นั้นเอาไปใช้อย่างอื่นได้หรือเปล่า (อยากเอาไปใช้ตามใจตัวเอง)
คณะกรรมการกฤษฎีกา ตอบว่า

การจ่าย.............จะต้องเป็นการจ่ายให้แก่ผู้รับบริการซึ่งได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการเท่านั้น

หลังจากนั้นการร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ จึงเกิดขึ้น และดำเนิน......มาถึงจุดนี้ วันนี้

เอาผู้เสียหายบังหน้า  เป็นเปลือกนอกของพ.ร.บ.
ผลประโยชน์พวกพ้อง(เป้าหมายที่แท้จริง) เป็นเนื้อที่ซ่อนอยู่ข้างในพ.ร.บ.

ความลำบากของประชาชน
ความเดือดร้อนของพี่ๆน้องๆสาธารณสุข
ความย่อยยับของระบบสาธารณสุข
ความเสียหายของประเทศ
..............ไม่อยู่ในสายตาของบุคคลกลุ่มนี้

แต่เวรกรรม ก็ไม่เคยละเว้นใคร เหมือนกัน

จาก ผู้วิเคราะห์

today

  • Staff
  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 263
    • ดูรายละเอียด
ใครว่า ซ่อนเร้น แอบแฝง
เขียนชัดๆไว้ใน พรบ. อย่างนี้