แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - power

หน้า: [1] 2
1
 พระลูกศิษย์ "หลวงพ่อสด" วัดปากน้ำภาษีเจริญสุดกลั้น วอนทุกฝ่ายหยุดการอ้างชื่อหลวงพ่อ ระบุ ถึงวิธีการสอนกรรมฐานจะ ไม่แตกต่างแต่วัตถุประสงค์ไม่เหมือนกัน

ด้านผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำเผย " ธัมมชโยภิกขุ" เจ้าอาวาส "วัดธรรมกาย" ไม่ใช่ลูกศิษย์หลวงพ่อสด แต่เป็นลูกศิษย์ " อุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง" ย้ำปาฏิหารย์ ไม่มีจริงหลวงพ่อสดไม่เคยสอนเด็ดขาด

ชี้เรี่ยไรชาวบ้านเป็นการเบียดเบียนสัตว์โลก พระธเนศ หิตกาโม
 พระสอนวิปัสนากรรมฐาน วัดอัมพวัน พระผู้รับใช้
 ใกล้ชิดพระราชสุทธิญาณมงคลหรือ "หลวงพ่อจรัญ"

พระลูกศิษย์ของพระมงคลเทพมุนี หรือ " หลวงพ่อสด" วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
เปิดเผยว่า การฝึกนั่งวิปัสนากรรมฐาน
เป็นการเจริญสติทำให้เกิดปัญญา

สามารถแก้ไขปัญหา ชีวิตพัฒนาชีวิตตัวเองให้ดีขึ้น
การฝึกนั่งวิปัสนาจึงไม่ใช่การมุ่ง ให้เห็นอะไรได้ต่างๆนานา ซึ่งความจริง
แล้วการเรียนด้านกรรมฐานแบ่งเป็นสองสายคือ

สายสมถะภาวนาเป็นการฝึกจิต
 ให้สงบสบาย อีกสายหนึ่งเป็นการฝึกที่ทางวัดอัมพวัน
ใช้ปฏิบัติซึ่งก็คือการฝึก

สายวิปัสนา ภาวนามุ่งให้เกิดปัญญา ส่วน
เรื่องของการทำบุญเป็นการทำบุญสงเคราะห์ภายนอกบุญที่ดีที่สุดเป็นบุญที่เกิด
ภายใน คือจิตใจของเราเอง ซึ่ง
เป็นเรื่องของศีลภาวนา

หลวงพ่อจรัญมาอยู่วัดอัมพวัน
42 ปีแล้ว ไม่เคยออกไปเรี่ยไรชาวบ้าน
หรือไม่เคยส่งจดหมายไปชักชวนใคร ให้นำเงินมาบริจาค ทางวัดมีแต่ช่วยคน
และสังคมช่วยบ้านเมืองมาโดยตลอด

ไม่เคยหลงทาง
ด้วยการให้ชาวบ้านมาทำบุญเลย "ความ
จริงหลวงพ่อจรัญก็เป็นลูกศิษย์หลวงพ่อสดเช่น
 กัน แต่ไม่เคยไป ให้ใครต้องมาทำบุญกับทางวัดถึงการบอกบุญไม่
ใช่การผิดต่อพระธรรมวินัยก็ตาม

แต่เป็นการเบียดเบียนโยมมากกว่า ซึ่งไม่
ใช่แนวทางที่ทางวัดปฏิบัติและ
ไม่ใช่แนวทางของสาวกพระพุทธเจ้าที่ ปฏิบัติดีงามนำมาใช้หาเงิน

วัดอัมพวันจะ
ไม่หลงทางคือสร้างความงมงายให้พุทธศาสนิกชน
เพราะพระพุทธองค์สอนให้
ช่วยเหลือเกื้อกูลคน สอน
ให้คนเกิดปัญญารู้จักแก้ไขปัญหาชีวิต"

ด้าน การก่อสร้างถาวรวัตถุนั้น พระธเนศกล่าวว่า ไม่
ใช่แนวทางของหลวงพ่อจรัญ
เพราะวัดอัมพวันเน้นด้านการปฏิบัติดีงามตามรอยบาทพระพุทธองค์
การมุ่งด้านก่อสร้างวัตถุมีตัวอย่าง
ให้เห็นมากแล้วระยะยาว

ไม่มีญาติโยมไปหา ที่วัดเลย ทางวัดก็เคยมีพุทธศาสนิกชนมาร้องเรียนเหมือน
กัน เกี่ยวกับการกระทำของวัดๆหนึ่ง แต่คง
ไม่เข้าไปวิพากษ์วิจารณ์คนอื่น

แนวการสอนก็ต่างคนต่างสอน ซึ่ง
ผู้ที่เป็นสาวกแห่งพุทธศาสนาย่อมเรียนรู้
ได้ถึงแนวทางที่ถูกต้อง เรื่องที่เกิดขึ้น ไม่ใช่เพราะพระธรรมวินัยไม่ชัดเจน

พระธรรมวินัยชัดเจนอยู่แล้ว แต่ใคร
จะปฏิบัติให้เป็นอย่างไรคงไม่ขอตำหนิ ถ้า
จะหาทางสงบแค่ถือศิลห้าปฏิบัติ
ได้ก็มีความสุข สงบสบาย แล้ว
ไม่ต้องไปทำให้ใคร ต้องเดือดร้อนจนเกิดทุกข์

พระศาสนานุรักษ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ
ภาษีเจริญ กล่าว
ถึงแนวทางการสอนของหลวงพ่อสด
ในช่วงที่ยังไม่มรณภาพว่า
ได้มีโอกาสปรนนิบัติหลวงพ่อสดใน 4-5 ปีท้ายๆ ซึ่งก็ได้ร่ำเรียนศึกษาธรรมะ
ไว้พอสมควร

การสอนของหลวงพ่อสดไม่เคยนำเรื่องปาฏิหาริย์มาสอนสั่งลูกศิษย์
โดยเฉพาะ "พระของขวัญ"
ที่หลวงพ่อแจกให้
กับญาติโยมนำไปติดตัวก็ไม่เคยนำเรื่องของปาฏิหาริย์ไปเผย แพร่ แต่สื่อมวลชนก็ดีนำไปลงข่าวกันเอง

พุทธศาสนิกชนเองก็ดีได้บอกเล่ากันปากต่อปาก
จนส่งผลให้พระวัดปากน้ำมีคนต้องการ
ไว้ครอบครองเช่าหากันมาก จึงต้อง
ใช้จ่ายเงินกันเป็นจำนวนมาก "

ในเรื่องการสอนให้นั่งวิปัสนากรรมฐานนั้น หลวงพ่อสดเน้นสอนให้คนเกิดสมาธิ
 ทั้งนี้การเกิดสมาธิจะช่วยให้เกิดปัญญาหาทางออกให้กับปัญหา ไม่
 ได้มีเรื่องของปาฏิหาริย์เข้ามาเกี่ยวข้องสำหรับการเห็นภาพนั้นมีการเห็นจริงแต่
 ไม่ใช่เป็นการเห็นกันด้วยตาอย่างที่

 กล่าวอ้าง แต่การเห็นเป็นการเห็นธรรมซึ่งก็เป็นไปได้ว่าเห็นใน
 ความฝันขณะที่กำลังหลับอยู่" ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำยังกล่าว
 ถึงการสอนกรรมฐานของ "วัดพระธรรมกาย" ว่า

ก็ตรงตามที่วัดปากน้ำใช้สอนอยู่แต่แตกต่างกันด้านวิธีการสอน ซึ่ง
 เป็นเรื่องของวิธีการถ่ายทอดความจริงแล้ว

พระราชภาวนาวิสุทธิ์ หรือ "หลวงพ่อธัมมชโยภิกขุ"
เจ้าอาวาสวัดธรรมกาย

ไม่ได้เรียน กับหลวงพ่อสดโดยตรง แต่เรียนจาก "
แม่ชีจันทร์ ขนนกยูง" ซึ่งก็เป็นศิษย์ของ "
แม่ชีเทียน ธีระสวัสดิ์" อีกทอดหนึ่ง

 หลังจากได้ร่ำเรียนการนั่งวิปัสนา
แล้วก็ออกไปสร้าง "วัดวรณี"
เป็นการตั้งชื่อตามโยมผู้บริจาคที่ดิน ให้สร้างวัด "ได้ ยินมาว่าหลัง
 จากมีการก่อสร้างพระอุโบสถแล้วเสร็จโยมวรณีไม่พอใจ

กับรูปลักษณ์ของตัวอุโบสถ
ที่มีการก่อสร้างคล้ายกับศาสนาอื่น
เวลาต่อมาโยมวรณี จึงหันกลับมานั่งกรรมฐานที่วัดปากน้ำ และ
ได้บริจาคทุนทรัพย์ก่อสร้างศาลาปฏิบัติกรรมฐานขึ้น
เป็นเงินกว่า 4 ล้านบาท"

ส่วนการนำเรื่องปาฏิหาริย์อิทธิฤทธิ์มา
เป็นจุดขายบุญตามที่วัดพระธรรมกายทำอยู่
นั้น ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำเห็นว่า ไม่เหมาะไม่ควรอย่างยิ่ง

ทางพุทธศาสนาไม่ได้ให้ใครงมงายแต่
ให้นำธรรมะมาปฏิบัติด้วยเหตุด้วยผล
 โดยเฉพาะเรื่องของการทำบุญมากได้มากนี้ถือว่าไม่ถูกต้อง แต่
ถ้าทำโดยมุ่งไปที่ประโยชน์สูงสุด กับประชาชนและศาสนาถึงจะได้บุญ

อย่างเช่นการสร้างห้องน้ำ ห้องส้วม ซึ่งเป็นที่ถ่ายทุกข์ของคนที่เป็นทุกข์มาก
 แต่เมื่อเข้าไปถ่ายทุกข์แล้วก็จะรู้สึกสบายรู้สึกดี "เรื่อง นี้อาตมาให้รู้สึกเห็นใจด้วย
กันทั้งสองฝ่าย

สื่อมวลชนก็ทำหน้าที่ตรวจสอบสิ่งที่ไม่ชอบมาพากล วัดพระธรรมกายก็
 ต้องการสร้างธรรมเจดีย์ ซึ่งก็เป็นธรรมดาอยู่เองว่าการสร้างอะไรก็ตามที่
ใหญ่โตย่อมต้องมีปัญหา
 อย่างเดียวกับการสร้างกำแพงเมืองจีนก็ เป็นปัญหามากในช่วงเวลานั้น

http://dog508dod.blogspot.com/2012/01/blog-post_8055.html


25/1/58
undefined
http://dukhao.blogspot.com/2015/01/blog-post_198.html

2
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
       (ฉบับชั่วคราว)
       พุทธศักราช ๒๕๕๗
      
       สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
       สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
       ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
       เป็นปีที่ ๖๙ ในรัชกาลปัจจุบัน

      
       พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า
       โดยที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติซึ่งประกอบด้วยคณะทหารและตํารวจได้นําความกราบบังคมทูลว่า ตามที่ได้เกิดสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองขึ้นในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ใกล้เคียงต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน จนลุกลามไปสู่แทบทุกภูมิภาคของประเทศ ประชาชนแตกแยกเป็นฝ่ายต่าง ๆ ขาดความสามัคคีและมีทัศนคติไม่เป็นมิตรต่อกัน บางครั้งเกิดความรุนแรง ใช้กําลังและอาวุธสงครามเข้าทําร้ายประหัตประหารกัน สวัสดิภาพและการดํารงชีวิตของประชาชนไม่เป็นปกติสุข การพัฒนาเศรษฐกิจและการเมืองการปกครองชะงักงัน กระทบต่อการใช้อํานาจในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร และในทางตุลาการ การบังคับใช้กฎหมายไม่ได้ผล นับเป็นวิกฤติการณ์ร้ายแรงที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน แม้รัฐจะแก้ไขปัญหาด้วยกลไกและมาตรการทางกฎหมาย เช่น นํากฎหมายเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยในภาวะต่าง ๆ มาบังคับใช้ ยุบสภาผู้แทนราษฎรและจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป และฝ่ายที่ไม่ได้เป็นคู่กรณี เช่น องค์กรธุรกิจภาคเอกชน องค์กรตามรัฐธรรมนูญ พรรคการเมือง กองทัพ และวุฒิสภา ได้พยายามประสานให้มีการเจรจาปรองดองกัน แต่ก็ไม่เป็นผลสําเร็จ กลับจะเกิดข้อขัดแย้งใหม่ในทางกฎหมายและการเมือง เป็นวังวนแห่งปัญหาไม่รู้จักจบสิ้น ในขณะที่ความขัดแย้งได้ขยายตัวกว้างขวางออกไปและมีแนวโน้มจะรุนแรงมากขึ้นจนถึงขั้นจลาจลได้ทุกขณะซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ทรัพย์สิน ความสะดวกสบายของประชาชนผู้สุจริต กระทบต่อการทํามาหากินและภาวะหนี้สินของเกษตรกร โดยเฉพาะชาวนา การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การป้องกันปัญหาจากภัยธรรมชาติ ความเชื่อถือในอํานาจรัฐ และความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ ทั้งยังเปิดช่องให้มีการก่ออาชญากรรมและความไม่สงบอื่นเพิ่มขึ้น อันจะเป็นการทําลายความมั่นคงของชาติ และความศรัทธาของประชาชนที่มีต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในที่สุด คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงจําเป็นต้องเข้ายึดและควบคุมอํานาจการปกครองประเทศ เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ และประกาศให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ สิ้นสุดลง ยกเว้นความในหมวด ๒ พระมหากษัตริย์ โดยได้กําหนดแนวทางการแก้ปัญหาไว้สามระยะคือ ระยะเฉพาะหน้า เป็นการใช้อํานาจสกัดการใช้กําลังและการนําอาวุธมาใช้คุกคามประชาชน ยุติความหวาดระแวง และแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองการปกครอง ที่สะสมมากว่าหกเดือนให้คลี่คลายลง เพื่อเตรียมเข้าสู่ระยะที่สองซึ่งจะจัดให้มีรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว จัดตั้งสภาขึ้นทําหน้าที่ในทางนิติบัญญัติและให้มีคณะรัฐบาลบริหารราชการแผ่นดินแก้ไขสถานการณ์อันวิกฤติให้กลับคืนสู่สภาวะปกติ ฟื้นฟู ความสงบเรียบร้อย ความรู้รักสามัคคี และความเป็นธรรม แก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง จัดให้มีกฎหมายที่จําเป็นเร่งด่วน จัดตั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติและองค์กรต่าง ๆ เพื่อให้มี การปฏิรูปในด้านการเมืองและด้านอื่น ๆ และให้มีการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่วางกติกาการเมือง ให้รัดกุม เหมาะสม ป้องกันและปราบปรามการทุจริต สามารถตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และเป็นธรรม ก่อนจะส่งมอบภารกิจเหล่านี้แก่ผู้แทนปวงชนชาวไทยและคณะรัฐบาลที่จะเข้ามาบริหารราชการแผ่นดินในระยะต่อไป ในการดําเนินการดังกล่าวนี้จะให้ความสําคัญแก่หลักการพื้นฐาน ยิ่งกว่าวิธีการในระบอบประชาธิปไตยเพียงประการเดียว จึงจําเป็นต้องใช้เวลาสร้างบรรยากาศแห่งความสงบเรียบร้อยและปรองดอง เพื่อนําความสุขที่สูญหายไปนานกลับคืนสู่ประชาชน และปฏิรูปกฎเกณฑ์บางเรื่องที่เคยเป็นชนวนความขัดแย้ง ไม่ชัดเจน ไร้ทางออกในยามวิกฤติ ขาดประสิทธิภาพหรือไม่เป็นธรรม ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของชนในชาติ ซึ่งควรใช้เวลาไม่ยาวนาน หากเทียบกับเวลา ที่จะต้องสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ถ้าปล่อยให้สถานการณ์ผันแปรไปตามยถากรรม จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ใช้บทบัญญัติต่อไปนี้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) จนกว่าจะได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่จะจัดทําขึ้นตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ต่อไป
      
       มาตรา ๑ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้
      
       มาตรา ๒ ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
       ให้บทบัญญัติของหมวด ๒ พระมหากษัตริย์ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ซึ่งยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ ยังคงใช้บังคับต่อไปเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญนี้ และภายใต้บังคับมาตรา ๔๓ วรรคหนึ่ง ที่ใดในบทบัญญัติดังกล่าวอ้างถึงรัฐสภาหรือประธานรัฐสภา ให้หมายถึงสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามรัฐธรรมนูญนี้ แล้วแต่กรณี
      
       มาตรา ๓ อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อํานาจนั้นทางสภานติิบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
      
       มาตรา ๔ ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค บรรดาที่ชนชาวไทยเคยได้รับการคุ้มครองตามประเพณีการปกครองประเทศไทย ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว ย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้
      
       มาตรา ๕ เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้กระทําการนั้นหรือวินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่ประเพณีการปกครองดังกล่าวต้องไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้
       ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการวินิจฉัยกรณีใดตามความในวรรคหนึ่งเกิดขึ้นในวงงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด หรือเมื่อมีกรณีที่เกิดขึ้นนอกวงงานของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี ศาลฎีกา หรือศาลปกครองสูงสุดจะขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดก็ได้ แต่สําหรับศาลฎีกาและศาลปกครองสูงสุดให้กระทําได้เฉพาะ เมื่อมีมติของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาหรือที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด และเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาคดี
      
       มาตรา ๖ ให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติประกอบด้วยสมาชิกจํานวนไม่เกินสองร้อยยี่สิบคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดและมีอายุไม่ต่ํากว่าสี่สิบปี ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติถวายคําแนะนํา
       ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติทําหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา
      
       มาตรา ๗ การถวายคําแนะนําเพื่อทรงแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ให้คํานึงถึงความรู้ความสามารถ ความหลากหลายของบุคคลจากกลุ่มต่าง ๆ ในภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม ภาควิชาการ ภาควิชาชีพ และภาคอื่นที่จะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
      
       มาตรา ๘ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
       (๑) ดํารงตําแหน่งหรือเคยดํารงตําแหน่งใดในพรรคการเมืองภายในระยะเวลาสามปีก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
       (๒) เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
       (๓) เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
       (๔) เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
       (๕) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือถือว่ากระทําการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ
       (๖) เคยต้องคําพิพากษาให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ํารวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
       (๗) อยู่ระหว่างต้องห้ามมิให้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง หรือเคยถูกถอดถอนจากตําแหน่ง
       (๘) เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทําความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือกระทําผิดกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด หรือกฎหมายเกี่ยวกับการพนันในฐานความผิดเป็นเจ้ามือหรือเจ้าสํานัก
       (๙) เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
       สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะดํารงตําแหน่งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติหรือรัฐมนตรีในขณะเดียวกันมิได้
      
       มาตรา ๙ สมาชิกภาพของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติสิ้นสุดลงเมื่อ
       (๑) ตาย
       (๒) ลาออก
       (๓) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๘
       (๔) สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติให้พ้นจากสมาชิกภาพตามมาตรา ๑๒
       (๕) ไม่แสดงตนเพื่อลงมติในที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติเกินจํานวนที่กําหนดไว้ในข้อบังคับการประชุม
       ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามวรรคหนึ่ง ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้วินิจฉัย
      
       มาตรา ๑๐ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติคนหนึ่ง และเป็นรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่เกินสองคน ตามมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
       ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และประธานสภาและรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
      
       มาตรา ๑๑ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย ต้องอุทิศตนให้แก่การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย
      
       มาตรา ๑๒ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติผู้ใดกระทําการอันเป็นการเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของการเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือมีพฤติการณ์อันเป็นการขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจํานวนไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าคนมีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติให้ผู้นั้นพ้นจากสมาชิกภาพ
       มติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามวรรคหนึ่งต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจํานวนสมาชิกทั้งหมด
      
       มาตรา ๑๓ การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
       สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีอํานาจตราข้อบังคับเกี่ยวกับการเลือกและการปฏิบัติหน้าที่ของประธานสภา รองประธานสภา และกรรมาธิการ วิธีการประชุม การเสนอและการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติและ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ การเสนอญัตติ การอภิปราย การลงมติ การตั้งกระทู้ถาม การรักษาระเบียบและความเรียบร้อย และกิจการอื่นเพื่อดําเนินการตามอํานาจหน้าที่
      
       มาตรา ๑๔ พระมหากษัตริย์ทรงตราพระราชบัญญัติโดยคําแนะนําและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
       ร่างพระราชบัญญัติจะเสนอได้ก็แต่โดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติร่วมกันจํานวนไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าคน หรือคณะรัฐมนตรี หรือสภาปฏิรูปแห่งชาติตามมาตรา ๓๑ วรรคสอง แต่ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินจะเสนอไดก้็แต่โดยคณะรัฐมนตรี
       ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินตามวรรคสอง หมายความถึงร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับการตั้งขึ้น ยกเลิก ลด เปลี่ยนแปลง แก้ไข ผ่อน หรือวางระเบียบการบังคับอันเกี่ยวกับภาษีหรืออากร การจัดสรร รับ รักษา หรือจ่ายเงินแผ่นดิน หรือการโอนงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน การกู้เงิน การค้ําประกัน หรือการใช้เงินกู้ หรือการดําเนินการที่ผูกพันทรัพย์สินของรัฐ หรือเงินตรา
       ในกรณีเป็นที่สงสัยว่าร่างพระราชบัญญัติที่เสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินหรือไม่ ให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้วินิจฉัย
       ร่างพระราชบัญญัติที่เสนอโดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือสภาปฏิรูปแห่งชาตินั้น คณะรัฐมนตรีอาจขอรับไปพิจารณาก่อนสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะรับหลักการก็ได้
       การตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญให้กระทําได้โดยวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้ แต่การเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ให้กระทําโดยคณะรัฐมนตรีหรือผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น
      
       มาตรา ๑๕ ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ได้รับความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนําขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายในยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได ้
        ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญใด พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยและพระราชทานคืนมายังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือเมื่อพ้นเก้าสิบวันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นใหม่ ถ้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่แล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนําร่างพระราชบัญญัติหรือ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานคืนมาภายในสามสิบวัน ให้นายกรัฐมนตรีนําพระราชบัญญัติหรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว
      
       มาตรา ๑๖ ในที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกทุกคนมีสิทธิตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรี ในเรื่องใดอันเกี่ยวกับงานในหน้าที่ได้ แต่รัฐมนตรีย่อมมีสิทธิที่จะไม่ตอบเมื่อเห็นว่าเรื่องนั้นยังไม่ควรเปิดเผยเพราะเกี่ยวกับความปลอดภัยหรือประโยชน์สําคัญของแผ่นดิน หรือเมื่อเห็นว่าเป็นกระทู้ที่ต้องห้าม ตามข้อบังคับ ในกรณีนี้สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะตราข้อบังคับกําหนดองค์ประชุมให้แตกต่างจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๓ วรรคหนึ่ง ก็ได้
       เมื่อมีปัญหาสําคัญ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจํานวนสมาชิกทั้งหมด จะเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายเพื่อซักถามข้อเท็จจริงจากคณะรัฐมนตรีก็ได้ แต่จะ ลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจมิได้
      
       มาตรา ๑๗ ในกรณีที่มีปัญหาสําคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินที่คณะรัฐมนตรีเห็นสมควรจะฟังความคิดเห็นของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นายกรัฐมนตรีจะแจ้งไปยังประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อให้มีการเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติก็ได้ แต่สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะลงมติในปัญหาที่อภิปรายมิได้
      
       มาตรา ๑๘ ในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกผู้ใดจะกล่าวถ้อยคําใด ๆ ในทางแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็น หรือออกเสียงลงคะแนน ย่อมเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาด จะนําไปเป็นเหตุฟ้องร้องว่ากล่าวผ้นูั้นในทางใดมิได้
       เอกสิทธิ์ตามวรรคหนึ่งให้คุ้มครองถึงกรรมาธิการของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณารายงานการประชุมตามคําสั่งของสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือคณะกรรมาธิการ บุคคลซึ่งประธานในที่ประชุมอนุญาตให้แถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตลอดจนผู้ดําเนินการถ่ายทอดการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์หรือทางอื่นใดที่ได้รับอนุญาตจากประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติด้วย แต่ไม่คุ้มครองสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติผู้กล่าวถ้อยคําในการประชุมที่มีการถ่ายทอดทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์หรือทางอื่นใด หากถ้อยคําที่กล่าวในที่ประชุมไปปรากฏนอกบริเวณสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และถ้อยคํานั้นมีลักษณะ เป็นความผิดอาญา หรือละเมิดสิทธิในทางแพ่งต่อบุคคลอื่นซึ่งมิใช่รัฐมนตรีหรือสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
        ในกรณีที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติถูกควบคุมหรือขัง ให้สั่งปล่อยเมื่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติร้องขอ หรือในกรณีถูกฟ้องในคดีอาญา ให้ศาลพิจารณาคดีต่อไปได้ เว้นแต่ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติร้องขอให้งดการพิจารณาคดี
      
       มาตรา ๑๙ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งตามมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และรัฐมนตรีอื่นอีกจํานวนไม่เกินสามสิบห้าคนตามที่นายกรัฐมนตรีถวายคําแนะนํา ประกอบเป็นคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ดําเนินการให้มีการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ และส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ
       ก่อนเข้ารับหน้าที่ รัฐมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ด้วยถ้อยคําดังต่อไปนี้ “ข้าพระพุทธเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ”
       พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอํานาจในการให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากตําแหน่งตามที่ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติถวายคําแนะนําตามมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่เสนอโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และให้รัฐมนตรีพ้นจากตําแหน่งตามที่นายกรัฐมนตรีถวายคําแนะนํา
       การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและการให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากตําแหน่ง ให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
       นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีมีสิทธิเข้าร่วมประชุมชี้แจงแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือสภาปฏิรูปแห่งชาติ แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน และให้นําเอกสิทธิ์ตามมาตรา ๑๘ มาใช้บังคับแก่การชี้แจงแสดงความคิดเห็นของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีตามมาตรานี้ด้วยโดยอนุโลม
      
       มาตรา ๒๐ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
       (๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
       (๒) มีอายุไม่ต่ํากว่าสี่สิบปี
       (๓) สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
       (๔) ไม่เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองภายในระยะเวลาสามปีก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้ง และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๘
       (๕) ไม่เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
       (๖) ไม่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้พิพากษาหรือตุลาการ อัยการ กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน หรือกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
       ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเมื่อขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่ง หรือเมื่อมีกรณีตามมาตรา ๙ (๑) หรือ (๒)
      
       มาตรา ๒๑ เมื่อมีกรณีฉุกเฉินที่มีความจําเป็นรีบด่วนเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ หรือเมื่อมีความจําเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากรหรือเงินตราที่ต้องพิจารณาโดยด่วนและลับ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอํานาจในการตราพระราชกําหนดให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติ
       เมื่อได้ประกาศใช้พระราชกําหนดแล้ว ให้คณะรัฐมนตรีเสนอพระราชกําหนดนั้นต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติโดยไม่ชักช้า ถ้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติอนุมัติ ให้พระราชกําหนดนั้นมีผลใช้บังคับเป็นพระราชบัญญัติต่อไป ถ้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่อนุมัติ ให้พระราชกําหนดนั้นตกไป แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนกิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่พระราชกําหนดนั้นใช้บังคับ เว้นแต่พระราชกําหนดนั้นมีผลเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกบทบัญญัติแห่งกฎหมายใด ให้บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีอยู่ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกนั้นมีผลใช้บังคับต่อไปตั้งแต่วันที่พระราชกําหนดดังกล่าวตกไป
       การอนุมัติหรือไม่อนุมัติพระราชกําหนดให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในกรณีที่ไม่อนุมัติ ให้มีผลตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
      
       มาตรา ๒๒ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอํานาจในการตราพระราชกฤษฎีกาโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย พระราชอํานาจในการพระราชทานอภัยโทษ และพระราชอํานาจในการอื่นตามประเพณี การปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
      
       มาตรา ๒๓ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอํานาจในการทําหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก และสัญญาอื่นกับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศ
       หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขต ซึ่งประเทศไทย มีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอํานาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือที่กระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง ต้องได้รับความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในการนี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง
       หนังสือสัญญาที่กระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง ตามวรรคสอง หมายถึง หนังสือสัญญาเกี่ยวกับการค้าเสรี เขตศุลกากรร่วม หรือการให้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติหรือทําให้ประเทศต้องสูญเสียสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดหรือบางส่วน หรือการอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
       เมื่อมีปัญหาว่าหนังสือสัญญาใดเป็นกรณีตามวรรคสองหรือวรรคสามหรือไม่ คณะรัฐมนตรีจะขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยก็ได้ ทั้งนี้ ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําขอ
      
       มาตรา ๒๔ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งข้าราชการฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน ตําแหน่งปลัดกระทรวง อธิบดี และเทียบเท่า ผู้พิพากษาและตุลาการ ผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรตามรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และข้าราชการฝ่ายอื่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ และทรงให้พ้นจากตําแหน่ง เว้นแต่กรณีที่พ้นจากตําแหน่งเพราะความตาย
      
       มาตรา ๒๕ บรรดาบทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการใดๆ อันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน ต้องมีรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ เว้นแต่รัฐธรรมนูญนี้บัญญัติไว้ เป็นอย่างอื่น
      
       มาตรา ๒๖ ผู้พิพากษาและตุลาการมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ให้เป็นไปโดยยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย
      
       มาตรา ๒๗ ให้มีสภาปฏิรูปแห่งชาติมีหน้าที่ศึกษาและเสนอแนะเพื่อให้เกิดการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
       (๑) การเมือง
       (๒) การบริหารราชการแผ่นดิน
       (๓) กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
       (๔) การปกครองท้องถิ่น
       (๕) การศึกษา
       (๖) เศรษฐกิจ
       (๗) พลังงาน
       (๘) สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
       (๙) สื่อสารมวลชน
       (๑๐) สังคม
       (๑๑) อื่น ๆ
       ทั้งนี้ เพื่อให้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมีความเหมาะสมกับสภาพสังคมไทย มีระบบการเลือกตั้งที่สุจริตและเป็นธรรม มีกลไกป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบที่มีประสิทธิภาพ ขจัดความเหลื่อมล้ําและสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทําให้กลไกของรัฐสามารถให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง สะดวก รวดเร็ว และมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม
      
      

3
“พลีชีวิตพิทักษ์ศักดิ์สิทธิ์ สิ้นชีวิตได้ขึ้นสวรรค์แน่นอน รบกับยิวเพื่อแยกแผ่นดินที่หมายปอง สถาปนารัฐปาเลสไตน์....” นี่คือส่วนหนึ่งในเนื้อเพลง 'ด.ช.รามี่' ของศิลปินเพื่อชีวิต “ปู-พงษ์สิทธิ์ คำภีร์” ที่กล่าวถึงปัญหาระหว่าง “อิสราเอล” กับ “ปาเลสไตน์” ผ่านทางตัวละครสมมุติคือ เด็กชายวัย 12 ปี ซึ่งเป็นตัวแทนของเด็กน้อยชายหญิงในเพลง ที่ต้องจบชีวิตก่อนวัยอันควรจากเหตุดังกล่าว

       และจากกรณีการโจมตี 'ฉนวนกาซา' ครั้งล่าสุดของกองทัพอิสราเอลนั้น ไม่เพียงต้องพบกับความสูญเสียด้วยกันทั้งสองฝ่าย โดยมีประชาชนเป็นผู้รับเคราะห์ หากยังสร้างความหดหู่ให้กับประชาคมโลกจนแปรสภาพมาเป็น “การต่อต้านสงคราม” ในทุกมุมโลกในที่สุด ณ ขณะนี้

       อะไรคือสาเหตุของความขัดแย้งนี้ ทำไมทั้งสองเชื้อชาติยังคงรบราไม่รู้จักจบจักสิ้น เรามารับรู้ข้อมูลเบื้องต้น (แบบย่อยๆ) เพื่อทำความเข้าใจถึงวิกฤตดังกล่าวไปพร้อมๆ กันดีกว่าครับ

       จุดแรกเริ่มของปัญหาของสองชนชาติ 'อาหรับกับยิว' นั้น แท้ที่จริง เริ่มมาตั้งแต่ในช่วงสมัยยุโรปยุคกลาง หลังจากที่อาณาจักรโรมันได้กรีฑาทัพบุกกรุงเยรูซาเร็มจนพินาศ ราบเป็นหน้ากลอง กลุ่มชนชาวยิวแตกฮือกระจัดกระจายไปคนละทิศละทาง โดยขณะนั้นกลุ่มชนปาเลสไตน์ได้สร้างชุมชนของตนเองมาตั้งนานแล้วเช่นกัน แต่ก็ถูกจักรพรรดิคอนสแตนตินยึดในคริสต์ศตวรรษที่ 4 ซึ่งก็ไม่ยึดเปล่า ยังสร้างวิหารศักดิ์สิทธิ์บนกรุงเยรูซาเล็มอีกด้วย

       แต่ใน ค.ศ.637 ชนชาติอาหรับก็สามารถยึดครองดินแดนแห่งนี้ได้สมบูรณ์ ซึ่งทำให้พวกคริสเตียนไม่พอใจ และนำไปสู่การประกาศสงคราม ซึ่งกลายเป็นที่มาของ “สงครามครูเสด” อันหมายถึงกรณีพิพาทระหว่างชาวคริสต์กับมุสลิม โดยสงครามนี้กินเวลาไป 150 ปี จบลงที่ชาวมุสลิมเป็นฝ่ายชนะ และดินแดนแห่งนี้ก็ถูกผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันปกครองกว่า 800 ปี

       จนในปี ค.ศ.1897 ลัทธิไซออนนิสต์ ก็ได้ถูกก่อตั้งขึ้น โดยชาวยิวหัวก้าวหน้า และมีจุดมุ่งหมายคือ นำชาวยิวกลับมาตั้งถิ่นฐาน และสร้างชาติของตนเองบนแผ่นดินปาเลสไตน์ ตามบัญญัติของพระคัมภีร์ที่ว่า 'พระเจ้าได้ประทานดินแดนแห่งนี้ให้กับชาวยิว' โดยกลุ่มนี้ได้ใช้แผนแทรกซึมทีละเล็กน้อย เช่น กว้านซื้อที่ดินจากเจ้าของที่ดินชาวอาหรับ 'อย่างถูกต้องตามกฎหมาย' และฟื้นฟูผืนดินอันแห้งแล้งให้กลายเป็นที่ที่สามารถเพาะปลูกได้ ซึ่งแน่นอนว่าย่อมเป็นที่ไม่พอใจของเจ้าของเดิม แต่ก็ไม่สามารถทำอะไรได้ เพราะได้ทำการซื้อขายไปแล้ว (พล็อตนี้ดูคุ้นๆ มั้ย)

       เรื่องกรณีพิพาทของทั้งสอง เห็นแจ้งชัดขึ้น ในปี ค.ศ. 1923 องค์การสันนิบาตชาติ (เปรียบเหมือน UN ในปัจจุบัน) ได้ให้อังกฤษซึ่งมีอำนาจในดินแดนตะวันออกกลางในตอนนั้น มอบดินแดนปาเลสไตน์ให้เป็นที่พักพิงของชาวยิว เรียกว่า “แทงสวน” กับที่เคยให้สัญญาไว้แก่ชาวอาหรับว่าจะยกดินแดนปาเลสไตน์คืนให้ หากชนอาหรับช่วยอังกฤษรบกับเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และแน่นอน อังกฤษยังคงยึดดินแดนนี้ต่อไป จนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

       หลังสงครามสิ้นสุดลง สหประชาชาติได้มีมติแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ให้กับชาวยิว โดยไม่ฟังเสียงของชาวปาเลสไตน์เลย ซึ่งถูกแบ่งดินแดนเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนของชาวยิว และ ส่วนของอาหรับ

       จนในที่สุด กรณีพิพาทของทั้งสองเผ่าพันธุ์ ก็ชัดเจนอย่างเต็มๆ ในปี ค.ศ.1949 เมื่อ เมืองเยรูซาเล็ม ซึ่งเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์เกี่ยวพันทั้ง 3 ศาสนา คือ ศาสนาคริสต์ ศาสนายิว และศาสนาอิสลาม ได้รับการประกาศให้เป็นเมืองหลวงของประเทศอิสราเอล ที่มีคนเชื้อสายยิวเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งจากจุดนี้เองก็นำไปสู่ชนวนเหตุแห่งกรณีพิพาทระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ มาจวบจนปัจจุบัน

       และจากปีดังกล่าวนั้นเอง การสู้รบระหว่าง 2 เชื้อชาติ ก็ได้เกิดขึ้นมาโดยตลอด ทั้งทางสงคราม และ วิกฤตการณ์ชิงตัวประกัน ตัวอย่างเช่น กรณีสงคราม 6 วัน ในค.ศ. 1967 ระหว่างอิสราเอล กับพันธมิตรชนชาติอาหรับ ที่จบลงที่ฝ่ายแรกเอาชนะไปได้ และได้ยึดดินแดนเขตกาซ่าตะวันออก แหลมซีนายของอียิปต์ เขตเวสต์แบงก์ ที่ราบสูงโกรันของซีเรีย นครเยรูซาเล็มฝั่งตะวันออก (ซึ่งอิสราเอลยังคงยึดดินแดนอยู่จนถึงปัจจุบัน) หรือ กรณีการบุกจับนักกีฬาทีมชาติอิสราเอลเป็นตัวประกันและสังหารทิ้งในตอนท้าย โดยกลุ่ม 'กันยายนทมิฬ' ของชาวปาเลสไตน์ ในกีฬาโอลิมปิก ที่ ประเทศเยอรมัน ปี ค.ศ. 1972 เป็นต้น และตราบจนทุกวันนี้ ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจบลงอย่างง่ายๆ

       มาถึงบรรทัดสุดท้ายนี้ ก็ไม่รู้ว่าเหตุการณ์สงครามที่ยืดเยื้อมาอย่างยาวนานนี้ จะสิ้นสุดลงเมื่อไหร่ ซึ่งเราก็ได้แต่ภาวนาเล็กๆ ว่า ความขัดแย้งระหว่างทั้งสองเชื้อชาตินี้ จะหาทางออกเจอในสักวันหนึ่ง...

Marsmag    16 กรกฎาคม 2557

4
วิธีง่ายๆต่อสู้กับมะเร็ง

พ่อเลี้ยงวรรณ พิมพนิช เจ้าของรวมเกษตรฟาร์ม บรรยายวิธีรักษามะเร็ง ดังนี้ พ่อเลี้ยงวรรณฯ อายุ 60 ปี เป็นมะเร็งขั้นสุดท้ายที่ กระดูกสันหลัง คุณหมอทั้งไทย และเยอรมัน ไม่รับรอง ว่า จะรักษาหาย จึงไปทำการรักษาที่ เกาหลีเหนือ เป็นเวลา 1 เดือน ก็หายจากโรค กลับมาเมืองไทย จึงตั้งเป็นมูลนิธิวรรณ รับรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ยากไร้ฟรี! ปัจจุบันมีผู้รับการรักษา 2000 กว่าคน ณ อ.แม่สอด ห่างจาก จว.ตาก 100 กม.

วิธีการรักษามะเร็ง แบบธรรมชาติง่ายๆ 4 ข้อ ดังนี้

1. จิตใจ ต้องสู้

2. อาหาร งดเว้นเนื้อสัตว์ แล้วหันมารับประทานอาหารที่มะเร็งไม่รับประทาน 15 ชนิด ได้แก่
     2.1 ธัญพืช 5 ชนิด ได้แก่ ข้าวกล้อง, ข้าวม้ง, ข้าวบาเล่ย์, ข้าวสาลี, และลูกเดือย นำมาหุงด้วยหม้อข้าวไฟฟ้า
     2.2 ผักผลไม้ 10 ชนิด ได้แก่ 1)หอมหัวใหญ่, 2)มันฝรั่ง, หรือมันเทศ, 3)กล้วยน้ำว้าสุก (8 ลูก/วัน), 4)ฟักทอง, 5)ข้าวโพดหวาน, 6)ยอดแค กับ 7)ถั่วพู -2 ชนิดนี้ห้ามลืมกิน: หมายถึงให้กิน มีประโยชน์มาก, 8)บลอคโคลี่ หรือกะหล่ำดอก, 9)ถั่วหวาน และ 10)คะน้าฮ่องกง(ผักผลไม้ 5 ชนิดแรกใช้นึ่ง) นำทั้ง 10 ชนิด หั่นเป็นชิ้นๆ นำมาเข้าเครื่องปั่นแบบไม่ต้องละเอียดมาก เพื่อให้กระเพาะอาหาร ทำหน้าที่ย่อย จากนั้นนำมารับประทานหนัก 1 กก./วันกับธัญพืช

3. อาบน้ำร้อนสลับเย็นหรือเย็นสลับร้อนอย่างละ 2 นาที รวมเวลา 10 นาที 1ครั้ง/วัน เตรียมน้ำร้อน โดยใช้เครื่องทำน้ำร้อน เตรียมน้ำเย็นโดยหาถังน้ำใส่น้ำแข็ง แล้วอาบร้อนจัด และเย็นจัด เท่าที่ร่างกายทนได้ ภูมิต้านทานโรคทั้งสิ้น 2 จำพวก จะถูกกระตุ้นขึ้นมาทำหน้าที่ อย่างแข็งขัน

4. การออกกำลังกาย เดินเร็วหรือวิ่งเหยาะๆ ประมาณ 45 นาที/วัน

ง่ายไหมครับ " มูลนิธิวรรณ " เลขที่ 3/681 ประชานิเวศน์ ถ.เทศบาลนิมิตเหนือลาดยาว จตุจักร กทม. เบอร์โทรศัพท์ 02-1580658 มือถือ 086-7886222

5
 เรื่องในหลวง ที่เราไม่เคยรู้
 แบบว่าบางเรื่องเราไม่เคยรู้เลยจริง ๆ อ่านกันให้จบนะ

เรารักในหลวง

จดหมายฉบับนี้ยาวมากหากรัก ‘พระองค์ท่าน ‘ กรุณาอ่านให้จบด้วย

เรื่องของในหลวงที่เรา (อาจ) ไม่เคยรู้

1.ทรงพระราชสมภพเวลา 08.45น.

2.นายแพทย์ผู้ทำคลอดชื่อ ดับลิว สจ๊วต วิตมอร์ ทรงมีน้ำหนักแรกประสูติ 6 ปอนด์

3.พระนาม ‘ภูมิพล‘ ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7

4.พระยศเมื่อแรกประสูติ คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ภูมิพลอดุลยเดช

5.ทรงมีชื่อเล่น ว่า เล็ก หรือ พระองค์เล็ก

6.ทรงเคยเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนมาแตร์เดอี เพราะช่วงพระชนมายุ 5 พรรษาทรงเคยเข้าเรียนที่โรงเรียนแห่งนี้ 1 ปี มีพระนามในใบลงทะเบียนว่า ‘H.H Bhummibol Mahidol’หมายเลขประจำตัว 449

7.ทรงเรียกสมเด็จพระราชชนนีหรือสมเด็จย่า อย่างธรรมดาว่า ‘แม่‘

8.สมัยทรงพระเยาว์ ทรงได้ค่าขนม อาทิตย์ละครั้ง

9.แม้จะได้เงินค่าขนมทุกอาทิตย์ แต่ยังทรงรับจ้างเก็บผักผลไม้ไปขาย เมื่อได้เงินมาก็นำไปซื้อเมล็ดผักมาปลูกเพิ่ม

10.สมัยพระเยาว์ทรงเลี้ยงสัตว์หลายชนิดทั้งสุนัข กระต่าย ไก่ นกขุนทอง ลิง แม้แต่งูก็เคยเลี้ยง ครั้งหนึ่งงูตายไปก็มีพิธีฝังศพอย่างใหญ่โต

11.สุนัขตัวแรกที่ทรงเลี้ยงสมัยทรงพระเยาว์เป็นสุนัขไทยทรงตั้งชื่อให้ว่า‘บ๊อบบี้ ‘

12.ทรงฉลองพระเนตร(แว่นสายตา)ตั้งแต่พระชันษายังไม่เต็ม 10 ขวบ เพราะครูประจำชั้นสังเกตเห็นว่าเวลาจะทรงจดอะไรจากกระดานดำพระองค์ต้องลุกขึ้นบ่อยๆ

13.สมัยพระเยาว์ทรงซนบ้าง หากสมเด็จย่าจะลงโทษ จะเจรจากันก่อนว่า โทษนี้ควรตีกี่ที ในหลวงจะทรงต่อรองว่า 3 ทีมากเกินไป 2 ทีพอแล้ว

14.ระหว่างประทับอยู่ สวิตเซอร์แลนด์นั้นระหว่างพี่น้องจะทรงใช้ภาษาฝรั่งเศส แต่จะใช้ภาษาไทยกับสมเด็จย่าเสมอ

15.ทรงได้รับการอบรมให้รู้จัก ‘การให้ ‘ โดยสมเด็จย่าจะทรงตั้งกระป๋องออมสินเรียกว่า ‘กระป๋องคนจน ‘ เอาไว้ หากทรงนำเงินไปทำกิจกรรมแล้วมีกำไร จะต้องถูก ‘เก็บภาษี ‘ หยอดใส่กระปุกนี้ 10% ทุกสิ้นเดือนสมเด็จย่าจะเรียกประชุมเพื่อถามว่าจะเอาเงินในกระป๋องนี้ไปทำอะไร เช่น มอบให้โรงเรียนตาบอด มอบให้เด็กกำพร้า หรือทำกิจกรรมเพื่อคนยากจน

16.ครั้งหนึ่ง ในหลวงกราบทูลสมเด็จย่าว่าอยากได้รถจักรยาน เพราะเพื่อนคนอื่นๆ เขามีจักรยานกัน สมเด็จย่าก็ตอบว่า ‘ลูกอยากได้จักรยาน ลูกก็ต้องเก็บค่าขนมไว้สิ หยอดกระป๋องวันละเหรียญ ได้มาก ค่อยเอาไปซื้อจักรยาน‘

17.กล้องถ่ายรูปกล้องแรกของในหลวง คือ Coconet Midget ทรงซื้อด้วยเงินสะสมส่วนพระองค์ เมื่อพระชนม์เพียง 8 พรรษา

18.ช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทรงปั่นจักรยานไปโรงเรียนแทนรถพระที่นั่ง

19. พระอัจฉริยภาพของในหลวง มีพื้นฐานมาจาก ‘การเล่น ‘ สมัยทรงพระเยาว์ เพราะหากอยากได้ของเล่นอะไรต้องทรงเก็บสตางค์ซื้อเอง หรือ ประดิษฐ์เอง ทรงเคยหุ้นค่าขนมกับพระเชษฐา ซื้อชิ้นส่วนวิทยุทีละชิ้นๆ แล้วเอามาประกอบเองเป็นวิทยุ แล้วแบ่งกันฟัง

20.สมเด็จย่าทรงสอนให้ในหลวงรู้จักการใช้แผนที่และภูมิประเทศของไทย โดยโปรดเกล้าฯให้โรงเรียนเพาะช่างทำแผนที่ประเทศไทยเป็นรูปตัวต่อ เลื่อยเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็กๆเพื่อให้ทรงเล่นเป็นจิ๊กซอว์

21.ในหลวงทรงเครื่องดนตรีได้หลายชนิด เช่น เปียโน กีตาร์ แซกโซโฟน แต่รู้หรือไม่ว่าเครื่องดนตรีชิ้นแรกที่ทรงหัดเล่นคือ หีบเพลง (แอกคอร์เดียน)

22.ทรงสนพระทัยดนตรีอย่างจริงจังราวพระชนม์ 14-15 พรรษา ทรงซื้อแซกโซโฟนมือสองราคา 300 ฟรังก์มาหัดเล่น โดยใช้เงินสะสมส่วนพระองค์ครึ่งหนึ่ง และอีกครึ่งหนึ่งสมเด็จย่าออกให้

23.ครูสอนดนตรีให้ในหลวง ชื่อ เวย์เบรชท์ เป็นชาว อัลซาส

24.ทรงพระราชนิพนธ์เพลงครั้งแรก เมื่อพระชนมพรรษา 18 พรรษา เพลงพระราชนิพนธ์แรกคือ ‘แสงเทียน ‘ จนถึงปัจจุบันพระราชนิพนธ์เพลงไว้ทั้งหมด 48 เพลง

25.ทรงพระราชนิพนธ์เพลงได้ทุกแห่ง บางครั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องดนตรีช่วย อย่างครั้งหนึ่งทรงเกิดแรงบันดาลพระทัย ทรงฉวยซองจดหมายตีเส้น 5 เส้นแล้วเขียนโน้ตทำนองเพลงขึ้นเดี๋ยวนั้น กลายเป็นเพลง ‘เราสู้‘

26. รู้ไหม…? ทรงมีพระอุปนิสัยสนใจการถ่ายภาพเหมือนใคร : เหมือนสมเด็จย่า และ รัชกาลที่5

27. นอกจากทรงโปรดการถ่ายภาพแล้ว ยังสนพระทัยการถ่ายภาพยนตร์ด้วย ทรงเคยนำภาพยนตร์ส่วนพระองค์ออกฉายแล้วนำเงินรายได้มาสร้างอาคารสภากาชาดไทย ที่ รพ.จุฬาฯรพ.ภูมิพล รวมทั้งใช้ในโครงการโรคโปลิโอและโรคเรื้อนด้วย

28. ทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง ‘นายอินทร์ ‘ และ ‘ติโต ‘ ทรงเขียนด้วยลายพระหัตถ์ แล้วให้เสมียนพิมพ์ แต่ ‘พระมหาชนก‘ ทรงพิมพ์ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์

29. ทรงเล่นกีฬาได้หลายชนิด แต่กีฬาที่ทรงโปรดเป็นพิเศษได้แก่ แบดมินตัน สกี และ เรือใบ ทรงเคยได้เหรียญทองจากการแข่งขันเรือใบประเภทโอเค ในกีฬาแหลมทอง(ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ‘กีฬาซีเกมส์‘) ครั้งที่ 4 ปี พ.ศ.2510

30. ครั้งหนึ่ง ทรงเรือใบออกจากฝั่งไปได้ไม่นานก็ทรงแล่นกลับฝั่ง และตรัสกับผู้ที่คอยมาเฝ้าฯว่า เสด็จฯกลับเข้าฝั่งเพราะเรือแล่นไปโดนทุ่นเข้า ซึ่งในกติกาการแข่งเรือใบถือว่าฟาวส์ ทั้งๆที่ไม่มีใครเห็น แสดงให้เห็นว่าทรงยึดกติกามากแค่ไหน

31. ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลกที่ได้รับสิทธิบัตรผลงานประดิษฐ์คิดค้นเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่มลอย หรือ ‘กังหันชัยพัฒนา ‘ เมื่อปี 2536

33. ทรงเป็นผู้ริเริ่มการพัฒนาเชื้อเพลิงน้ำมันจากวัสดุการเกษตรเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน เช่น แก๊สโซฮอล์,ดีโซฮอลล์ และ น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 20 ! ปีแล้ว

34. องค์การสหประชาชาติ ได้ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ แด่ในหลวงเมื่อ วันที่ 26 พฤษภาคม 2549 เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณพระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนชาวไทย โดยมี นายโคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ เดินทางมาถวายรางวัลด้วยตนเอง

35. พระนามเต็มของในหลวง : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรา มหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร

36. รักแรกพบ ของในหลวงและหม่อมสิริกิติ์เกิดขึ้นที่สวิสเซอร์แลนด์ แต่เหตุการณ์ครั้งนั้น สมเด็จพระบรมราชินีนาถฯทรงให้สัมภาษณ์ว่า ‘น่าจะเป็น เกลียดแรกพบ มากกว่ารักแรกพบ เนื่องเพราะรับสั่งว่าจะเสด็จถึงเวลาบ่าย 4 โมง แต่จริงๆแล้วเสด็จมาถึงหนึ่งทุ่ม ช้ากว่าเวลานัดหมายตั้งสามชั่วโมง

37. ทรงหมั้นกับ ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2492 และจัดพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ที่วังสระปทุม เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2493 โดยทรงจดทะเบียนสมรสเหมือนคนทั่วไป ข้อความในสมุดทะเบียนก็เหมือนคนทั่วไปทุกอย่าง ปิดอากรแสตมป์ 10 สตางค์ เสียค่าธรรมเนียม 10 บาท

37. หลังอภิเษกสมรส ทรง ‘ฮันนีมูน ‘ที่หัวหิน

38. ทรงผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2499 และประทับจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลา 15 วัน

39. ระหว่างทรงผนวช พระอุปัชฌาย์และพระพี่เลี้ยง คือ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

40. ของใช้ส่วนพระองค์นั้นไม่จำเป็นต้องแพงหรือต้องแบรนด์เนม ดังนั้นการถวายของให้ในหลวงจึงไม่จำเป็นจะต้องเป็นของแพง อะไรที่มาจากน้ำใจจะทรงใช้ทั้งนั้น

41. เครื่องประดับ : ในหลวงไม่ทรงโปรดสวมเครื่องประดับ เช่น แหวน สร้อยคอ ของมีค่าต่างๆ ยกเว้น นาฬิกา

42. พระเกศาที่ทรงตัดแล้ว : ส่วนหนึ่งเก็บไว้ที่ธงชัยเฉลิมพลเพื่อมอบแก่ทหาร อีกส่วนหนึ่งเก็บไว้สร้างวัตถุมงคล เพื่อมอบแก่ราษฎรที่ทำคุณงามความดีแก่ประเทศชาติ

43. หลอดยาสีพระทนต์ ทรงใช้จนแบนราบเรียบคล้ายแผ่นกระดาษ โดยเฉพาะบริเวณคอหลอด ยังปรากฏรอยบุ๋มลึกลงไปจนถึงเกลียวคอหลอด ซึ่งเป็นผลจากการใช้ด้ามแปรงสีพระทนต์ช่วยรีด และ กดเป็นรอยบุ๋ม

44. วันที่ในหลวงเสียใจที่สุด คือวันที่สมเด็จย่าเสด็จสวรรคต มีหนังสือเล่าไว้ว่า วันนั้นในหลวงไปเฝ้าแม่ถึงตีสี่ตีห้าพอแม่หลับจึงเสด็จฯกลับเมื่อถึงวัง ทางโรงพยาบาลก็โทรศัพท์มาแจ้งว่า สมเด็จย่าสิ้นพระชนม์แล้ว ในหลวงรีบกลับไปที่โรงพยาบาล เห็นแม่นอนหลับตาอยุ่บนเตียง ในหลวงคุกเข่าเข้าไปกราบที่อกแม่ ซบหน้านิ่งอยู่นานค่อยๆเงยพระพักตร์ขึ้นมาน้ำพระเนตรไหลนอง

45. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จนถึงปัจจุบนมีจำนวนกว่า 3,000 โครงการ

46. ทุกครั้งที่เสด็จฯไปยังสถานต่างๆจะทรงมีสิ่งของประจำพระองค์อยู่ 3 สิ่ง คือ แผนที่ซึ่งทรงทำขึ้นเอง(ตัดต่อเอง ปะกาวเอง) กล้องถ่ายรูป และดินสอที่มียางลบ

47.ในหลวงทรงงานด้วยพระองค์เองทุกอย่างแม้กระทั่งการโรเนียวกระดาษที่จะนำมาให้ข้าราชการที่เข้าเฝ้าฯถวายงาน

48. เก็บร่ม : ครั้งหนึ่งเมื่อในหลวงเสด็จฯเยี่ยมโครงการห้วยสัตว์ใหญ่ เมื่อเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งมาถึง ปรากฏว่าฝนตกลงมาอย่างหนัก ข้าราชการและราษฎรที่เข้าแถวรอรับเปียกฝนกันทุกคน เมื่อทรงเห็นดังนั้น จึงมีรับสั่งให้องครักษ์เก็บร่ม แล้วทรงเยี่ยมข้าราชการและราษฎรทั้งกลางสายฝน

49. ทรงศึกษาลักษณะอากาศทุกวัน โดยใช้ข้อมูลที่กรมอุตุนิยมวิทยานำขึ้นทูลเกล้าฯ ร่วมกับข้อมูลจากต่างประเทศที่หามาเอง เพื่อป้องกันภัยธรรมชาติที่อาจก่อความเสียหายแก่ประชาชน

50. โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา เริ่มต้นขึ้นจากเงินส่วนพระองค์จำนวน 32,866.73บาท ซึ่งได้จากการขายหนังสือดนตรีที่พระเจนดุริยางค์ จากการขายนมวัว ก็ค่อยๆเติบโตเป็นโครงการพัฒนามาจนเป็นอย่างที่เราเห็นกันทุกวันนี้

51. เวลามีพระราชอาคันตุกะเสด็จมาเยี่ยมชมโครงการฯสวนจิตรลดา ในหลวงจะเสด็จฯลงมาอธิบายด้วยพระองค์เอง เนื่องจากทรงรู้ทุกรายละเอียด

52. ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช กราบบังคมทูลถามว่า เคยทรงเหนื่อยทรงท้อบ้างหรือไม่ ในหลวงตอบว่า ‘ความจริงมันน่าท้อถอยอยู่หรอก! บางเรื่องมันน่าท้อถอย แต่ว่าฉันท้อไม่ได้ เพราะเดิมพันของเรานั้นสูงเหลือเกิน เดิมพันของเรานั้นคือบ้านเมือง คือความสุขของคนไทยทั่วประเทศ’

53. ทรงนึกถึงแต่ประชาชน แม้กระทั่งวันที่พระองค์ทรงกำลังจะเข้าห้องผ่าตัดกระดูกสันหลังในอีก 5 ชั่วโมง (20 กรกฎาคม 2549) ยังทรงรับสั่งให้ข้าราชบริพารไปติดตั้งคอมพิวเตอร์เดินสายออนไลน์ไว้ เพราะกำลังมีพายุเข้าประเทศ พระองค์จะได้มอนิเตอร์ เผื่อน้ำท่วมจะได้ช่วยเหลือทัน

54. อาหารทรงโปรด : โปรดผัดผักทุกชนิด เช่น ผัดคะน้า ผัดถั่วงอก ผัดถั่วลันเตา

55. ผักที่ไม่โปรด : ผักชี ต้นหอม และตังฉ่าย

56. ทรงเสวย ข้าวกล้อง เป็นพระกระยาหารหลัก

57. ไม่เสวยปลานิล เพราะทรงเป็นผู้เลี้ยงปลานิลคนแรกในประเทศไทย โดยใช้สระว่ายน้ำในพระตำหนักสวนจิตรลดาเป็นบ่อเลี้ยง แล้วแจกจ่ายพันธุ์ไปให้กรมประมง

58. เครื่องดื่มทรงโปรด : โปรดโอวัลตินเป็นพิเศษ เคยเสวยวันหนึ่งหลายครั้ง

59. ทีวีช่องโปรด ทรงโปรดข่าวช่องฝรั่งเศส ของยูบีซี เพื่อทรงรับฟังข่าวสารจากทั่วโลก

60. ทรงฟัง จส.100 และเคยโทรศัพท์ ไปรายงานสถานการณ์ต่างๆ ใน กทม. ไปที่ จส.100 ด้วย โดยใช้พระนามแฝง

6
โดย...ว.วชิรเมธี ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัย

ก่อนนอนทุกคืนเราควรจะเจริญมรณัสสติ นั่นก็คือประสานมือไว้ตรงหน้าท้อง ตามดูลมหายใจของเรา จนกว่าจะหลับไปพร้อมกับการเจริญสติ พอตื่นมา อย่าเพิ่งลุกจากเตียง เอามือประสานหน้าท้อง ตามดูลมหายใจ หายใจเข้าท้องพอง หายใจออกท้องยุบ ตามดูอีกสัก 5 นาที พูดง่ายๆ ว่าก่อนนอน 5 นาที ตื่นนอน 5 นาที แค่นั่นแหละ ปุบปับเป็นอะไรขึ้นกลางคืนเราก็จะไปสุคติ

ตื่นมาตอนเช้า ให้จิตดวงแรกสัมผัสกับสิ่งที่เป็นมงคลที่สุดก่อนคือตามดูลมหายใจ จะตามลมหายใจก็ได้ จะตามดูหน้าท้องที่พองก็ได้ คำแรกที่พูดก่อนจะลุกจากเตียง พูดคำที่เป็นมงคลที่สุด อาตมาจะมีคำว่า พุทโธ เป็นคำติดปาก อาตมาฝึกมาเป็นสิบปีแล้ว แต่ถ้าเราตื่นมาเกาหัวยุ่ง ถ้าเริ่มด้วยฮึ่ม หรืออาการฮึดฮัด ระวังให้ดีนะ วันนั้นจะยุ่งทั้งวัน เคยสังเกตไหม ตื่นมาแล้วเราพูดอะไรก่อน

จากนี้เป็นต้นไป เรามีครูแล้วนะ ฝึกให้ดี ตื่นมา ยังไม่ลุก ตามดูลมหายใจสัก 5 นาทีดีไหม หายใจเข้ารู้ หายใจออกรู้ หายใจเข้าพอง หายใจออกยุบ พอพ้น 5 นาทีแล้วค่อยเข้าห้องน้ำ สดชื่นแล้ว เราเริ่มเบิกฤกษ์ของเราด้วยการเจริญสติ ทีนี้ก่อนนอนทุกคืน งานเต็มไปหมด ก่อนจะนอน ตี 1 แล้ว ปิดคอมพิวเตอร์ งานเต็มหัวเลย ถ้าเข้านอนพร้อมกับงาน มันจะฝันถึงงาน แต่ถ้าโยมเข้านอน โยมตามดูลมหายใจ คุณโยมเชื่อไหม ทีนี้จิตของโยมจะสงบมาก

มีอยู่คืนหนึ่งอาตมาฝัน ระหว่างปล่อยให้เข้าที่พักในความเงียบ อาตมาฝันว่าอาตมากำลังดูจิตอยู่ พอตื่นตี 4 จิตจะปฏิบัติต่อจากในฝันทันทีเลย นี่มันได้ขนาดนี้ คือในฝันก็ฝันว่ากำลังดูจิตอยู่ พอตื่นมาจิตเชื่อมทันที ต่อเนื่องทั้งวันเป็นสายโซ่แห่งการเจริญสติ
วันหนึ่งอาตมาออกเดิน พลางคิดว่า ช่วงนี้ป่ามันรก ถ้าเจองูจะทำอย่างไร เดินจงกรมจากที่แห่งหนึ่งไปที่แห่งหนึ่ง พอเดินกลับไป งูตัวเท่าแขนนอนตากแดดรออยู่ตรงนั้น

จิตของคนที่เจริญสติ เวลาคิด แรงมาก มีพลังแผ่คลุมไปหมด หลวงพ่อของอาตมาจึงสอนว่า เวลาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน อย่าแช่งใครเป็นอันขาด แช่งแล้วมีผล ท่านถึงให้แก้ด้วยการปฏิบัติเสร็จแล้วให้แผ่เมตตาทันที จิตมีพลังมาก ไปอยู่ใกล้ต้นไม้ ต้นไม้ก็ยังงอกงาม เห็นไหมที่มีคนเปิดบทสวดมนต์แล้วต้นไม้ผลิบาน มันงอกงาม พลังของจิตทั้งนั้น

ฉะนั้นทุกคืน ถ้าเราหลับไปพร้อมกับจิตดวงสุดท้ายทั้งที่ยังเจริญสติอยู่ ก็จะหลับฝันดี มีความตายมาพรากปุบปับ เราก็ได้วีซ่าเป็นวีซ่าขาว กลับมาเกิดในมนุษยภูมิ หรือไม่ก็เทวภูมิ คือไม่มนุษย์ก็เทพ แต่ถ้าเราหลับไปพร้อมกับจิตที่ยุ่งเหยิง ด่ากัน ขู่จะฆ่าจะฟันกัน หรือดูหนังละครน้ำเน่า อิจฉาตาร้อน เสร็จแล้วก็หลับ ปุบปับเป็นอะไรขึ้นมา ทุคติรอเราอยู่แน่ๆ

เรื่องนี้มีคัมภีร์เล่าไว้ คือยาจกคนหนึ่งไปขอทานบ้านเศรษฐี แล้วเห็นเศรษฐีเอาตับบดใส่ข้าวเหยาะน้ำนมให้หมากิน แกบอก หมาบ้านเศรษฐียังดีกว่าฉัน ถ้าได้เกิดเป็นหมาบ้านเศรษฐี แจ๋วเลย คืนนั้นอาหารแกไม่ย่อยเกิดตายขึ้นมา พอจิตดวงสุดท้ายดับ ก็ไปเกิดเป็นลูกหมาบ้านเศรษฐีทันที เข้าไปในท้อง คลอดออกมาเป็นหมา เมื่อวานยังเป็นมนุษย์อยู่เลย พอจิตดับ ไปปฏิสนธิในท้องหมา เพราะจิตมันผูกพัน

พระภิกษุรูปหนึ่ง พี่สาวเอาจีวรมาถวายตอนเย็น ก่อนนอนท่านเอาจีวรมาลูบ ตั้งใจว่า แหม พรุ่งนี้จะห่มจีวรผืนใหม่นี้ไปบิณฑบาต แต่คืนนั้นท่านมรณภาพ เกิดเป็นตัวเล็น ตัวไร ที่จีวรผืนนั้น หลังจากท่านมรณภาพ พระก็เข้าไปจัดห้อง พระพุทธเจ้าบอกว่า จัดห้องได้ แต่จีวรของท่านอย่าให้ใครเอาไปเป็นอันขาด สั่งให้เก็บไว้ 7 วัน แล้วจึงยกเป็นของสงฆ์

ก็มีพระมาถามว่า “ทำไมต้องเก็บไว้พระพุทธเจ้าข้า”
พระพุทธเจ้าบอกว่า “ภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุรูปนั้นยึดติดถือมั่นอยู่ในจีวร เธอจึงไปเกิดเป็นตัวเล็นตัวไรอยู่ในจีวรนั้น เดี๋ยวรอให้ครบ 7 วัน ซึ่งสัตว์ชนิดนี้อายุสั้นมาก พอเขาตายไปตามอายุสังขาร จีวรนี้ค่อยไปแบ่งแก่สงฆ์”
ใน 7 วันนั้น ถ้าใครไปหยิบจีวร ตัวเล็นตัวไรนี่มันอาฆาต เพราะมันยังวิ่งไปวิ่งมา และร้องว่า “จีวรของกู” พระพุทธเจ้าท่านเห็น

เห็นไหม เอาจิตไปผูกไว้กับอะไร มีแนวโน้มที่จะไปสู่สิ่งนั้นหรือจะไปเป็นสิ่งนั้น ฉะนั้นในทางจิตวิทยา ถ้าใครคิดว่าตนเองชนะ ก็ชนะไปแล้วครึ่งหนึ่ง ใครคิดว่าตนเองแพ้ ก็แพ้ไปแล้วครึ่งหนึ่ง หลักจิตวิทยาและพุทธศาสนาจึงตรงกันในเรื่องของพลังจิต ดังนั้นทุกคืนก่อนนอน เราควรฝึกจิตฝึกใจ ให้จิตดวงสุดท้ายหลับไปกับการเจริญสติ เพื่อที่จะให้เราประพฤติปฏิบัติได้จริงๆ อาตมาจะขอให้ทุกคนได้ทดลองฝึกปฏิบัติโดยให้นอนลง เอาสองแขนแนบไปข้างลำตัว ให้อยู่ในอิริยาบถที่ผ่อนคลายที่สุด

บทสวดมนต์ที่ว่า “เราทั้งหลาย เมื่อร่างนี้ไร้วิญญาณ ก็จะเป็นดังหนึ่งท่อนไม้ที่ถูกเขาทิ้งไว้กลางป่า นิรัตถัง วะ กลิงคะรัง หาประโยชน์อันใดมิได้” ท่านทั้งหลายลองคิดดูว่า ตัวเราเองเป็นดั่งท่อนไม้ ที่ปราศจากลมหายใจ พอเขาทิ้งไว้กลางป่า ตากแดด ตากฝน ก็หมดคุณค่าไป ถ้าหากคืนนี้เป็นคืนสุดท้ายที่เรากำลังเข้านอน เราจะนอนกันอย่างไร ผิว์ความตายมาพรากเราจะรับมืออย่างไร ขอให้ทุกคนคิดว่า คืนนี้จิตดวงสุดท้ายของเราจะต้องดับไปพร้อมกับการเจริญสติ

เมื่อหลับตาลง ขอให้คิดว่านี่คือการนอนครั้งสุดท้ายในอัตภาพนี้ ผิว์ความตายมาพรากในค่ำคืนนี้ เราจะรับมือความตายอย่างดีที่สุด เราจะไม่ตายอย่างคนที่หลงตาย แต่เราจะตายอย่างสงบ ตายอย่างสง่า ตายอย่างงดงามด้วยการเจริญสติ เอามือมาแตะไว้ตรงหน้าท้อง เหนือสะดือ เบาๆ สบายๆ ทำให้ผ่อนคลายที่สุด หายใจเข้าลึกๆ แล้วหายใจออกยาวๆ ผ่อนคลาย ตามดูอาการของท้องที่พองยุบ หายใจเข้าท้องพอง หายใจออกท้องยุบ
ตามดูตามรู้ไป จนจิตดวงสุดท้ายตกลงสู่ภวังค์หลับลึก อย่างสงบ ลองปฏิบัติดูนะ

นอกจากตามดูตามรู้ลมหายใจหรืออาการพองยุบของลมหายใจแล้ว มีอีกวิธีหนึ่งที่เราจะเป็นผู้มีกรมธรรม์ประกันภพหน้าว่าจะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ นั่นคือเราต้องมีศีล ก่อนนอนนอกจากจะตามดูตามรู้ลมหายใจแล้ว ทุกท่านควรสมาทานศีลให้ตัวเองเงียบๆ อธิษฐานในใจ ท่านอาจจะสมาทานก่อน แล้วค่อยตามดูตามรู้ลมหายใจก็ได้

หลังจากสมาทานศีล 5 แล้วก็ตามดูตามรู้ลมหายใจไป หายใจเข้ารู้ หายใจออกรู้ หายใจเข้าพอง หายใจออกยุบ ตามดูตามรู้ไป จนกว่าเราจะหลับไปพร้อมกับจิตดวงสุดท้ายที่ประกอบกุศลกรรม ด้วยวิธีการปฏิบัติดังกล่าวนี้ ผิว์ความตายมาพรากในค่ำคืนนั้น เป็นอันรับประกันได้ว่า เราจะไปสู่สุคติภพอย่างแน่นอน และนี่ก็คือกรมธรรม์ประกันภพหน้าของเราทุกคน

เราคงเคยได้ยินคำกล่าวว่ามนุษย์เลือกเกิดไม่ได้ นั่นนับเป็นความเข้าใจที่ผิด แท้ที่จริงถ้าเราประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้อง เราสามารถกำหนดภพหน้าของเราได้ตั้งแต่ภพนี้ด้วยกรรมวิธีที่กล่าวมา

ในระดับจริยธรรม ขอให้เราท่านทั้งหลาย เมื่อตั้งใจทำอะไรดีๆ กับใครแล้ว รีบทำทันที ทำเต็มที่ ทำดีที่สุด ดูแลทุกความสัมพันธ์ด้วยความเคารพอย่างดีที่สุด อย่าให้ความสัมพันธ์ใดๆ นำมาซึ่งความหม่นหมองครองทุกข์หรือความเจ็บช้ำน้ำใจ จากนั้นดูแลตัวท่านเอง และคนที่รายล้อม ให้มีชีวิตที่ร่มเย็นเป็นสุข

ส่วนในระดับปรมัตถธรรม ก่อนนอนขอให้เราเจริญมรณัสสติ โดยการบอกตัวเองว่า หากคืนนี้เป็นคืนสุดท้าย ผิว์ความตายมาพราก ข้าพเจ้าก็จะขอให้คืนสุดท้ายและจิตดวงสุดท้ายนี้ดับไปพร้อมกันกับการเจริญสติ โดยการสมาทานศีลและครองกายครองใจให้หลับลงไปพร้อมกับการตามดูตามรู้ลมหายใจของเรา เมื่อเราประพฤติปฏิบัติทั้งหมดที่กล่าวมานี้ วันหนึ่ง ผิว์ความตายมาพรากโดยไม่คาดฝัน ก็เป็นอันมั่นใจได้ว่าภพหน้าของเราเป็นภพที่ดีอย่างแน่นอน

ถ้าหากพรุ่งนี้เป็นวันสุดท้ายในชีวิต หากเรามีเวลาที่จะทำสิ่งสำคัญที่สุดเพียง 3 สิ่ง เราจะทำอะไร ถ้ามีชีวิตอยู่เพียง 1 วันในโลกนี้ เราเลือกจะทำอะไร 3 สิ่งสำคัญที่สุดเท่านั้น คำตอบข้อนี้จะทำให้เรารู้จักเลือกทำพฤติกรรมที่คุ้มค่าที่สุด เพราะถ้าเราบอก ยังไม่เป็นไรหรอก เราจะทำสารพัด นู่นก็ทำ นี่ก็ทำ แต่ถ้าเราเหลือวันพรุ่งนี้เพียงวันเดียว เราจะต้องเลือกทำแต่พฤติกรรมที่ดีที่สุด

7
เป็นความจริงอีกด้านหนึ่ง ซึ่งคนภายนอกไม่มีโอกาสรู้ว่า "กษัตริย์พม่าคิดอย่างไร?" ต่อไทย ต่อพระมหากษัตริย์ไทย ซึ่งพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์นั้น-ขณะนั้น คือ "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" มันเป็นข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ อันมีบันทึกอยู่ใน "หอจดหมายเหตุ" ในพระราชวังพม่า

"กษัตริย์องค์สุดท้าย" ของพม่าและของราชวงศ์อลองพญา พระนามว่า "พระเจ้าธีบอ" หรือพระเจ้าสีป่อ ท่านที่เคยอ่าน "เที่ยวเมืองพม่า" ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ คงจำได้ว่า พม่าเสียเมืองให้อังกฤษราวๆ พ.ศ.2429 ระบบกษัตริย์ล่มสลาย พระเจ้าสีป่อถูกอังกฤษจับไปขังอยู่ในคุกที่อินเดียเกือบ 30 ปีก่อนถูกประหารชีวิต เมื่อ พ.ศ.2458

Amitav Ghosh เขียนเกี่ยวพันถึงการเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 1 ของ "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" ผ่านการ "คิดสะท้อน" ของพระเจ้าสีป่อ โดยยกชะตาชีวิต-ชะตาชาติตัวเองเปรียบเทียบ ดังนี้

มีการตัดสินอนุญาตให้ส่งหนังสือพิมพ์จากบอมเบย์ไปยังเคหาสน์เอาท์แรม พร้อมกับเที่ยวเรือขนส่งเนื้อหมูของพระเจ้าสีป่อ หนังสือพิมพ์ปึกแรกอ่านพบรายงานข่าวที่ทำให้จิตใจจดจ่อหมกมุ่น มันคือข่าวบรรยายการเสด็จประพาสยุโรปของ "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจุฬาลงกรณ์แห่งกรุงสยาม" นับเป็นครั้งแรกที่พระราชวงศ์เอเชียเสด็จพระราชดำเนินเยือนยุโรปอย่างเป็นทางการ การเสด็จประพาสกินเวลานานหลายสัปดาห์ และตลอดช่วงเวลานั้น ไม่มีสิ่งอื่นใดครอบงำความสนพระทัยของพระเจ้าสีป่อได้อีกเลย

ที่กรุงลอนดอน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจุฬาลงกรณ์ประทับ ณ พระราชวังบัคกิงแฮม พระองค์ทรงรับการถวายการต้อนรับสู่ออสเตรียโดยสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟ ทรงรับการถวายพระราชไมตรีโดยกษัตริย์แห่งเดนมาร์ก ณ กรุงโคเปนเฮเกน และประธานาธิบดีฝรั่งเศสถวายพระราชทานเลี้ยง ณ กรุงปารีส ที่ประเทศเยอรมนี พระเจ้าไกเซอร์ วิลเฮล์ม ทรงยืนคอยรับเสด็จที่สถานีรถไฟ จนกระทั่งขบวนรถไฟพระที่นั่งของ "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจุฬาลงกรณ์" แล่นเข้าเทียบ พระเจ้าสีป่อทรงอ่านรายงานข่าวครั้งแล้วครั้งเล่า กระทั่งทรงจดจำขึ้นพระทัย

เพียงมินานมานี้ที่ พระเจ้าอลองพญา ผู้ทรงเป็นสมเด็จทวดของพระเจ้าสีป่อ และพระเจ้าพะคยีดอ ผู้ทรงเป็นสมเด็จปู่ กรีธาทัพรุกรานสยาม บดขยี้กองทัพอยุธยา ปลดกษัตริย์ผู้ครองบัลลังก์ และปล้นสะดมกรุงศรีอยุธยา เมืองหลวงเก่าของสยาม ผลภายหลังคือ ผู้มีบรรดาศักดิ์ซึ่งถูกปราบพ่ายแพ้เลือกพระเจ้าอยู่หัวองค์ใหม่ บางกอกกลายเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ต่อมา มันเป็นเพราะพระเจ้าแผ่นดินพม่า เพราะบรรพกษัตริย์ของพระเจ้าสีป่อ เพราะพระราชวงศ์คองบอง สยามจึงได้มีพระราชวงศ์ปัจจุบันและกษัตริย์ผู้ครองแผ่นดิน

วันหนึ่งพระเจ้าสีป่อรับสั่งกับเหล่าพระราชธิดาว่า 'เมื่อครั้งที่บรรพกษัตริย์ของเรา พระเจ้าอลองพญาผู้เกรียงไกร ทรงยกทัพรุกสยาม พระองค์มีพระราชสาสน์ถึงพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา' พระราชสาสน์ฉบับคัดลอกเก็บอยู่ที่หอจดหมายเหตุในพระราชวัง กล่าวใจความว่า

"หาได้มีความเป็นคู่ขันแข่งในพระเกียรติยศและบุญญาธิการระหว่างเราทั้งสองไม่ การวางพระองค์เทียบข้างพวกหม่อมฉัน เป็นการเปรียบพญาครุฑของพระวิษณุกับนกนางแอ่น พระอาทิตย์เปรียบกับหิ่งห้อย พฤกษเทวดาแห่งสรวงสวรรค์เปรียบกับไส้เดือนดิน พญายูงทอง ธตรัฏฐะ เปรียบกับแมลงเสพคูถ"

นั่นเป็นวาจาที่บรรพกษัตริย์ของเราตรัสกับพระเจ้ากรุงสยาม ทว่าบัดนี้ พวกเขากลับได้นอนพำนักในพระราชวังบัคกิงแฮม ขณะที่พวกเราถูกฝังจมราบอยู่ในกองมูลสัตว์เยี่ยงนี้.......

บุญญาบารมี และพระบรมเดชานุภาพด้วยพระเกียรติก้องแห่ง "พระมหากษัตริย์ไทย" เป็นฉันใด อยู่เหนือการลบหลู่ และผู้คิดล้มล้างจะมีผลฉันใด แม้ในประวัติศาสตร์พม่าเองยังต้องยอมรับ

ผู้ที่รุกรานสยาม บดขยี้กองทัพอยุธยา ปล้นสะดมกรุงศรีอยุธยา ปลดกษัตริย์ผู้ครองบัลลังก์ ผลที่ตัวเองต้องได้รับ ก็ดังคำสารภาพของนักโทษประหาร "พระเจ้าสีป่อ" นั่นแหละว่า "พวกเขากลับได้นอนพำนักในพระราชวังบักกิงแฮม ขณะที่พวกเราถูกฝังจมราบอยู่ในกองมูลสัตว์เยี่ยงนี้"!

คอลัมน์ เปลว สีเงิน หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์

8
ท่ามกลางป่าลึกในอดีตของเมืองไทยที่ยังอุดมด้วยสิงสาราสัตว์และธรรมชาติ มักมีเรื่องเล่าลึกลับเกี่ยวกับอาถรรพ์ของป่า เชื่อกันว่าทุกป่ามีเจ้าป่าเจ้าเขาคอยคุ้มครอง ชาวบ้าน พรานป่าหรือนักเดินไพรคนไหนไม่เคารพเจ้าที่เจ้าทางก็มักถูกอาถรรพ์ป่าเล่นงาน
       
       “เสือสมิง” ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องเล่าแห่งป่าที่หลายๆ คนคงเคยได้ยินได้ฟังผ่านหูกันบ้าง โดยเชื่อว่า เสือสมิงนั้นเป็นผีไพร หรือผีที่สิงสถิตอยู่ตามป่าเขา นับเป็นตำนานผีไทยพื้นบ้านชนิดหนึ่งที่มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมา เพียงแต่ว่ามีความแตกต่างที่ปรากฏมาในร่างของสัตว์เจ้าป่า
       
       พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ให้ความหมายคำว่า “เสือสมิง” ว่า เสือที่เชื่อว่าเดิมเป็นคนที่มีวิชาอาคมแก่กล้าแล้วต่อมาสามารถจำแลงร่างเป็นเสือได้ หรือเสือที่กินคนมากๆ เข้า เชื่อกันว่าวิญญาณคนตายเข้าสิง ต่อมาสามารถจำแลงร่างเป็นคนได้

หนังสือนิยายของ ชาลี เอี่ยมกระสินธุ์ หนึ่งในเรื่องราวที่เล่าถึง “เสือสมิง”
       นอกจากนั้นยังมีอีกหนึ่งความเชื่อหลักให้ความหมายของเสือสมิงว่า เป็นเสือที่กินคนเข้าไปมากมาย จนมีวิญญาณผีตายโหงสิงสู่อยู่ วันดีคืนดีจะแปลงร่างมาหลอกลวงคนที่เดินทางในป่าเพื่อจับกินเป็นอาหาร โดยมักจะแปลงตัวมาเป็นคนบาดเจ็บ สาวชาวป่า หรือเป็นคนรู้จักมาตามให้กลับบ้านเพื่อหลอกล่อให้เหยื่อหลงกล และอีกนัยหนึ่งคือผู้ที่มีวิชาอาคมแก่กล้าแต่ไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้ของเข้าตัว กลายเป็นเสือสมิง เสือสมิงพวกนี้จะเรียกว่า สมิงอาคม
       
       เรื่องราวของเสือสมิงนั้นมีหลากหลายจากหลายๆ พื้นที่ ซึ่งปัจจุบันสามารถหาอ่านได้ทางอินเตอร์เน็ตนั้นมีหลากหลาย และนี่ก็คือฯเรื่องราวเด่นๆของเสือสมิง ได้แก่
       
       เรื่องแรกที่เล่าขานกันว่า ชาวบ้านทางภาคเหนือได้รับความเดือดร้อนเพราะมีเสือเข้ามาทำร้ายคนในหมู่บ้าน เป็นที่หวาดกลัวแก่ชาวบ้าน จึงได้ไปขอความคุ้มครองจากทหารหน่วย ตชด. เพื่อเข้ามาดูแลความปลอดภัยภายในหมู่บ้าน ทหารจึงส่งกำลังเข้าไปคุ้มครองและได้ล่าเสือตัวนั้น
       
       ในคืนวันหนึ่ง ตชด. ได้จัดกำลังออกตรวจส่วนหนึ่ง ส่วนที่เหลือนอนพักบนศาลาที่จัดไว้ กลางดึกคืนนั้นศาลาที่หน่วย ตชด. พัก ได้สั่นไหวโยกเอนผิดปกติ เมื่อทหารลุกขึ้นมาดูก็ได้เห็นเสือโคร่งขนาดใหญ่พิงสีตัวอยู่ที่เสาศาลา ทหารจึงยิงปืนใส่เสือโคร่งใหญ่นั้น ทำให้เสือตัวนั้นบาดเจ็บและหนีหายไปในความมืด พอรุ่งเช้าทหารจึงติดตามแกะรอยเลือดเสือตัวนั้นไป ปรากฏว่ารอยเลือดนั้นไปสิ้นสุดที่หลุมเนินดินแห่งหนึ่ง เมื่อทหารขุดหลุมเปิดเนินดินนั้นก็พบศพผู้ชายคนหนึ่งซึ่งเป็นคนในหมู่บ้าน แต่แปลกประหลาดที่ร่างกายท่อนล่างของเขาเป็นเสือลายพาดกลอน จากการสอบถามชาวบ้านบอกว่าสาเหตุที่ตายเพราะผิดผี จึงกลายมาเป็นเสือสมิง

”เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร” ผืนป่าที่ยังคงความสมบูรณ์และสามารถพบเห็นเสือโคร่งได้ในปัจจุบัน
       อีกเรื่องราวของเสือสมิงเล่ากันว่า พรานป่าคนหนึ่งซึ่งอดีตเป็นเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าตั้งใจว่าจะไปนั่งห้างส่องสัตว์ที่ทุ่งใหญ่นเรศวร ก่อนจะเข้าป่าได้สั่งเมียไว้ว่าจะเข้าป่า 3 วัน ไม่ต้องเข้าไปตาม จากนั้นก็เก็บสัมภาระที่จำเป็นเข้าไปค้างแรมในป่า ในค่ำคืนแรกผ่านไปด้วยดี ได้เห็นสัตว์มากมายออกมาหากินตามโป่งดิน แต่ในคืนที่สองบรรยากาศแปลกไป ฟ้ามืดสนิทและเงียบผิดปกติ พอตกดึกจึงยินเสียงฝีเท้าคนเดินอยู่ด้านล่าง จากนั้นก็ได้ยินเสียงเมียตัวเองเรียก เมื่อมองลงไปจึงเห็นเมียถือตะเกียงเจ้าพายุมาร้องเรียกบอกว่าลูกไม่สบาย ตัวร้อนจัด จึงเข้ามาตามเขากลับบ้านไปดูลูก
       
       พรานป่าเมื่อเห็นดังนั้นจึงทำท่าจะลงจากห้างลงไปหา แต่เกิดเอะใจว่าทำไมเมียถึงรู้ว่าเราอยู่ตรงนี้ และทำไมถึงกล้าหาญมาในป่าลึกกลางคืนโดยไม่กลัวสิงสาราสัตว์ นอกจากนั้นเวลาพูดก็จะไม่ยอมสบตาตรงๆ อีกทั้งหากเดินมาจากบ้านน้ำมันตะเกียงน่าจะหมด แต่ทำไมถึงสว่างอยู่ได้ ดังนั้นเขาจึงตัดสินใจ หันปากกระบอกปืนส่งให้เมีย และพูดว่า “รับปืนที พี่จะลงไปแล้ว” พอเมียยื่นมือจะรับปืนเขาก็ลั่นไกยิงทันที จากนั้นก็ได้ยินเสียงเสือคำรามและวิ่งหายไปในแนวป่าลึก
       
       รุ่งเช้าพรานป่าจึงตัดสินใจกลับบ้าน และได้เดินเข้าไปสำรวจแนวป่าลึกที่ได้ยินเสียงเสือวิ่งหนีไปเมื่อคืนนี้ จึงได้เห็นเสือลายพาดกลอนขนาดใหญ่นอนตายอยู่ และเมื่อกลับไปถึงบ้านก็เห็นเมียเลี้ยงลูกอยู่อย่างปกติ นับเป็นอีกหนึ่งเรื่องเหลือเชื่อของเสือสมิง

”เสือโคร่ง”หรือเสือลายพาดกลอน ที่มักถูกกล่าวว่าเป็นเสือสมิงในรูปลักษณ์ของเสือ
       ส่วนเรื่องของชาวกะเหรี่ยงเล่ากันว่า เสือสมิงตามความเชื่อของชาวกะเหรี่ยงเชื่อว่าเป็นเจ้าป่าเจ้าเขาหรือพระภูมิเจ้าที่ที่ดูแลรักษาปกป้องป่า จึงมีความเชื่อและข้อปฏิบัติว่า ห้ามล่าสัตว์หรือตั้งห้างบริเวณที่เป็นโป่ง ซึ่งเป็นแหล่งที่เป็นที่ชุมนุมของสัตว์ป่า และเสือสมิงมักจะแปลงตัวเป็นผู้หญิง โดยเฉพาะเป็นเมียเข้ามาตามถึงในป่าบอกว่าลูกป่วยให้กลับบ้าน เป็นต้น เมื่อคนไม่ยอมหลงกลไม่ลงไปหา ก็จะกลับมาใหม่พร้อมด้วยคนอีกสี่คนหามคานใส่ศพของลูกหรือเมียมาก็มี มีบางคนที่ยิงปืนใส่ เช้ามาเมื่อลงจากห้างพบว่ามีรอยเท้าเสือขนาดใหญ่เพ่นพ่านอยู่บริเวณนั้น และเชื่อว่าคนสี่คนที่เห็นว่าหามคานมานั้นคือขาทั้งสี่ข้างของเสือนั่นเอง
       
       ยังมีอีกหลายเรื่องเล่าเกี่ยวกับเสือสมิงที่ฟังได้ไม่รู้เบื่อ แต่ใน พ.ศ. นี้ ที่แม้แต่เสือตัวเป็นๆ ในป่าก็ยังหายากเรื่องราวของเสือสมิงก็ดูจะเลือนหายไป แต่เรื่องที่มักเป็นหัวข้อที่ถูกหยิบยกมาพูดถึงในหมู่นักอนุรักษ์ก็คือเรื่องสถานการณ์ของเสือในประเทศไทย เพราะเสือโคร่งนั้นถือว่าเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดความสมบูรณ์ของผืนป่า ดังคำกล่าวที่ว่า “เสือพีเพราะป่าปก ป่ารกเพราะเสือยัง” การมีเสือโคร่งจำนวนมากแสดงให้เห็นถึงป่าอันอุดมสมบูรณ์ โดยในปี 2555 ทางกรมอุทยานแห่งชาติให้ข้อมูลว่า คาดว่ามีจำนวนเสือโคร่งในธรรมชาติของเมืองไทยประมาณ 200-250 ตัว
       
       สำหรับผืนป่าที่มีเสือโคร่งอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากนั้นก็คือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้ง ผืนป่ามรดกโลกของไทย ที่ครอบคลุมพื้นที่เขต จ.อุทัยธานี จ.ตาก และ จ.กาญจนบุรี นับเป็นป่าอนุรักษ์ที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุดของประเทศ โดยจากการสำรวจของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งในช่วงปี 2555 ได้พบเสือโคร่งตัวเต็มวัยกว่า 70 ตัว ในจำนวนนี้เป็นเสือแม่ลูกอ่อนที่มีลูกเล็กๆ 5-6 ตัว และแต่ละตัวจะมีลูก 2-4 ตัว จึงคาดว่าป่าห้วยขาแข้งน่าจะมีเสือโคร่งอยู่ราว 85-90 ตัว เป็นอย่างน้อย
       
       และนอกจากนั้นยังเป็นที่น่ายินดีว่า การสำรวจพื้นที่ป่าโดยรอบห้วยขาแข้ง คือบริเวณอุทยานแห่งชาติแม่วงก์และอุทยานแห่งชาติคลองลาน ซึ่งไม่มีรายงานการพบเสือโคร่งมานานแล้วนั้น พบว่าในปีที่ผ่านมาที่อุทยานแห่งชาติทั้งสองแห่งสามารถถ่ายรูปเสือโคร่งตัวเต็มวัยได้มากถึง 10 ตัว
       
       แต่เนื่องจากเสือนั้นเป็นสัตว์ที่มีอาณาเขตในการหากินค่อนข้างกว้าง และจะไม่หากินทับพื้นที่ซึ่งกันและกัน ดังนั้นหากพื้นที่ป่าเหลือน้อยและไม่มีสัตว์ซึ่งเป็นเหยื่อให้หากิน ดังที่เป็นประเด็นถกเถียงกันในเรื่องการสร้างเขื่อนแม่วงก์ ซึ่งนักอนุรักษ์หลายๆ คนเชื่อว่าจะกระทบต่อระบบนิเวศของผืนป่ามรดกโลกและป่าบริเวณใกล้เคียงกัน ยังไม่พูดถึงเสือที่ถูกมนุษย์ลักลอบล่าตามใบสั่ง สาเหตุเหล่านี้ล้วนทำให้เสือในเมืองไทยลดจำนวนลง กลายเป็นสัตว์หายาก และเสือสมิงก็คงจะหายากยิ่งกว่า อาจพบได้เพียงในละครบางช่องเท่านั้นเอง


ASTVผู้จัดการออนไลน์    14 มกราคม 2556

9
วันที่ 18 ธ.ค.เมื่อ 40 ปีก่อน กลายเป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์อักวันหนึ่ง เป็นวันที่สหรัฐฯ เริ่มโจมตีทิ้งระเบิดกรุงฮานอย กับจังหวัดสำคัญทางภาคเหนือ หวังกดดันให้คอมมิวนิสต์เวียดนามยอมศิโรราบ แต่เหตุการณ์ดังกล่าวกลับเปิดเผยให้เห็นจุดอ่อนของ “อสูรสงคราม” และกดดันให้สหรัฐฯ ต้องรีบทำความตกลงหยุดยิงกับเวียดนาม
       
       นั่นคือช่วงปลายเหตุการณ์ที่เวียดนามเหนือเรียกว่า “ยุทธการฮานอย-เดียนเบียนฟูทางอากาศ” เป็นเวลา 12 วัน 12 คืน ในเดือน ธ.ค.2515 ซึ่งเวียดนามยิงเครื่องบินทิ้งระเบิดยุทธศาสตร์บี-52 ของสหรัฐฯ ตกถึง 34 ลำ เครื่องบินรบอื่นๆ อีกจำนวนมาก และทำให้ “สงครามกับสหรัฐฯ” ตามที่ฝ่ายเวียดนามเรียกขานไปสู่จุดจบเร็วขึ้น
       
       เป็นเรื่องที่คาดล่วงหน้าได้อยู่แล้วว่า ไม่วันใดก็วันหนึ่ง กรุงฮานอยกับเมืองท่าหายฝ่อง (ไฮฟอง) ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม หรือ “เวียดนามเหนือ” ในอดีตต้องตกเป็นเป้าหมายการโจมตีทิ้งระเบิดครั้งใหญ่อย่างไม่มีทางเลี่ยง
       
       สหรัฐ “หวังจะทำลาย 2 เมืองใหญ่ของเวียดนามให้กลับไปสู่ยุคหิน” และ “หวังจะทำลายความหวังกับความมุ่งมาดปรารถนาต่อเอกราช และสันติภาพของประชาชนเวียดนาม เป็นความพยายามที่จะหาความได้เปรียบในการเจรจาสันติภาพกรุงปารีส ทำลายล้างเศรษฐกิจ และการป้องกันในภาคเหนือ หวังจะจำกัดการสนับสนนุนขบวนการปฏิวัติในภาคใต้ ลดความเข้มแข็ง และลดฐานะตำแหน่งของพวกเรา เพื่อช่วยเหลือรัฐบาลหุ่นไซ่ง่อน” หนังสือพิมพ์กวนโด่ยเญินซเวิน (Quan Doi Nhan Dan) หรือ “กองทัพประชาชน” กล่าวในสัปดาห์นี้
       
       แต่เวียดนามเตรียมตัวล่วงหน้านานนับปีเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการโจมตีทิ้งระเบิดหวังทำลาย “เส้นทางโฮจิมินห์” ในช่วงต้นปี 2515 ไม่สามารถหยุดยั้งการขนส่งลำเลียงลงสู่ใต้ได้ การจัดเตรียมกองกำลังต่อสู้อากาศยานจึงเริ่มมีขึ้นและกลายเป็นยุทธการฮานอย-เดียนเบียนฟูฯ มาตามบัญชาของประธานโฮจิมินห์
       ผู้นำที่เป็นจิตวิญญาณของฝ่ายเวียดนามเหนือ ไม่เพียงแต่จะจัดเตรียมมาตรการป้องกันเท่านั้น หากยังบัญชาให้ตอบโต้ และทำลายการรุกรานของสหรัฐฯ อีกด้วย
       
       เมื่อสหรัฐฯ นำบี-52 ออกปฏิบัติการโจมตีทิ้งระเบิดบริเวณมุยา (Mu Gia) ใน จ.กว๋างบี่ง (Quang Binh) ในปี 2509 และขยายไปยังเมืองวีงลีง (Vinh Linh) จ.กว๋างจิ (Quang Tri) “ลุงโฮ” สั่งการให้กองกำลังป้องกันทางอากาศจัดเตรียมรับมือ และหาทางยิงทำลายเครื่องบินรบยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ให้ได้
       
       “ไม่ช้าก็เร็วจักรพรรดินิยมอเมริกาจะส่งบี-52 มาทิ้งระเบิดกรุงฮานอย แต่พวกเขาจะต้องพ่ายแพ้ ขอให้เราใช้เวลาที่มีอยู่ในการจัดเตรียมรับมือ” ประธานโฮจิมินห์พูดถึงเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่งในช่วงในฤดูใบไม้ผลิตปี 2511 เพื่อเป็นแนวทาง กวนโด่ยเญินซเวินกล่าว
       
       เวียดนามเหนือได้ขยายกองกำลังป้องกันทางอากาศเป็นระดับกองพล แบ่งระดับกรม กับกองพัน กระจายกันโอบล้อมเมืองหลวง กับเมืองท่าหายฝ่อง และกระจายเครื่องบินรบซึ่งในช่วงปีโน้นมีเพียงมิก-17 มิก-19 กับ มิก-21 (MiG-21) ที่ได้รับจากสหภาพโซเวียตเป็นกำลังหลัก ไปยังสนามบินในจังหวัดใกล้เคียง พร้อมต่อกรกับบี-52 และเครื่องบินรบแบบอื่นๆ ของสหรัฐฯ ..
       
       ทางการเวียดนามกำหนดให้จัดการเฉลิมฉลองรำลึกเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์นี้ในระดับชาติ โดยเริ่มตั้งแต่เดือน พ.ย.ที่ผ่านมา มีการประชุมสัมมนาทางวิชาการเผยแพร่ความรู้มาหลายครั้ง จัดแสดงปาฐกถาโดยผู้เชี่ยวชาญ และบุคคลที่เกี่ยวข้อง จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญ และเปิดบริเวณพระราชวังเก่าทังลอง ที่เคยใช้เป็นศูนย์บัญชาการของบรรดาผู้นำให้สาธารณชนได้เข้าเยี่ยมชม

ภาพทำขึ้นใหม่ -- พล.อ.ฝุ่งกวางแทง (Phung Quang Thanh) รัฐมนตรีกลาโหมเวียดนามต้อนรับทหารผ่านศึกกับอดีตผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมทหารผ่านศึกโซเวียตในเวียดนาม วันที่ 4 ธ.ค.2555 ทั้งหมดไปจากรัสเซีย เบลารุสและยูเครน เพื่อร่วมฉลอง 40 ปียุทธการฮานอย-เดียนฟูทางอากาศ อดีตผู้เชี่ยวชาญอีกกลุ่มหนึ่งพบปะสหายเก่าชาวเวียดนาม (ภาพล่าง) ในโอกาสไปเยี่ยมเยือนวันที่ 4-12 เดือนนี้ ความช่วยเหลือบน "จิตใจสากลนิยมชนชั้นกรรมาชีพ" จากโซเวียตมีความสำคัญยิ่งยวดต่อชัยชนะของเวียดนาม จรวด SAM-2 เป็นปัจจัยชี้ขาดชัยชนะในยุทธการ 12 วัน 12 คืนป้องกันเมืองหลวง. -- ภาพ: กวนโด่ยเญินซเวิน.     
       .
       เป็นพิเศษก็คือ คณะจากสมาคมทหารผ่านศึกกับผู้เชี่ยวชาญโซเวียตในเวียดนาม ได้ไปเยือนกรุงฮานอย ระหว่างวันที่ 4-12 ธ.ค.ที่ผ่านมา เพื่อแลกเปลี่ยนบทเรียนในเหตุการณ์เมื่อ 40 ปีก่อน คนเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การต่อสู้ป้องกันเมืองหลวงของเวียดนามเข้มแข็ง จนสหรัฐฯ ต้องแปลกใจ
       
       หลังกลับจากเวียดนามไปยังบ้านเกิดในเวลาต่อมา นายทหารกับผู้เชี่ยวชาญเหล่านั้น ทั้งบุรุษ และสตรีหลายคนได้รับการเลื่อนชั้นยศเป็นระดับนายพล ก่อนเกษียณอายุ
       
       ตามรายงานของสื่อทางการ อดีตสหภาพโซเวียตภายใต้ “จิตใจสากลนิยมชนชั้นกรรมาชีพ” ที่ช่วยเหลือประเทศสังคมนิยมด้วยกัน ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญด้านจรวดนำวิถีต่อสู้อากาศยานไปช่วยฝึกทหารเวียดนามมาตั้งแต่ปี 2508 ซึงเป็นช่วงปีที่สงครามกับสหรัฐฯ ปะทุรุนแรง ความช่วยเหลือจากโซเวียตเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งยวดที่นำมาสู่ชัยชนะ
       
       พล.อ.ฝุ่งกวางแทง (Phung Quang Thanh) รัฐมนตรีกลาโหมเวียดนามได้ต้อนรับคณะทหารผ่านศึก และอดีตผู้เชี่ยวชาญจากรัสเซีย เบลารุส และสาธารณรัฐยูเครนที่เข้าเยี่ยมคำนับ ในวันที่ 4 ธ.ค.และขอบคุณ “สหาย” เหล่านั้น ที่เคยช่วยเหลือเวียดนามในรูปแบบต่างๆ รวงทั้ง “การรบเคียงบ่าเคียงไหล่กัน” ในหลายโอกาสด้วย
       
       ในช่วง 2-3 สัปดาห์มานี้ สื่อต่างๆ ในเวียดนามได้รายงานเหตุการณ์อันเป็นประวัติศาสตร์อย่างกว้างขวางในช่วง 12 วัน 12 คืน ยุทธการฮานอย-เดียนเบียนฟูทางอากาศ (18-29 ธ.ค.2515) ก่อนสหรัฐฯ จะยื่นข้อเสนอหยุดยิง และเชื้อเชิญเวียดนามเหนือเข้าสู่โต๊ะเจรจาในเมืองหลวงฝรั่งเศส ในเดือน ม.ค.2516
       
       ตามบันทึกของผู้เชี่ยวชาญโซเวียตผู้หนึ่ง ที่หนังสือพิมพ์ “เดิ๊ตเหวียด” (Dat Viet) นำออกเปิดเผยสัปดาห์นี้ เวียดนามระดมจรวด S-75 (System-75 “Dvina”) หรือ SAM-2 (หรือ SA-2 ตามรหัสของกลุ่มนาโต้) ที่ได้รับจากโซเวียตกว่า 330 ลูก เพื่อป้องกันกรุงฮานอยจากการโจมตีของบี-52 โดยเฉพาะ
       
       เอกสารลับของเวียดนามอีกฉบับหนึ่ง ระบุว่า โซเวียตยังให้จรวดต่อสู้อากาศยานแบบ SAM-3 (เปชอรา -Pechora) อีกจำนวนมาก เช่นเดียวกับจีน ที่ส่งจรวดหงฉี-2 (HQ-2) ไปช่วยอีกทาง แต่แทบจะไม่มีโอกาสได้นำออกใช้ เพราะไม่สามารถต่อกรกับ บี-52 ได้
       
       ตลอด 12 วัน 12 คืนในเดือน ธ.ค.2515 จรวด SAM-2 จึงเป็นอาวุธหลักในการป้องกันเมืองหลวง กับเมืองท่าหายฝ่อง

ผู้ไปเที่ยวชมเดินผ่านซากเครื่องบินบี-52 ที่พิพิธภัณฑ์ "ชัยชนะเหนือบี-52" ในกรุงฮานอยในภาพวันที่ 7 ธ.ค.2555 เวียดนามจัดฉลองใหญ่ครบรอบ 40 ปีการณรงค์ที่เรียกว่า "ฮานอย-เดียนเบียนฟูทางอากาศ" ซึ่งกินเวลา 12 วัน 12 คืน ระหว่างวันที่ 18-29 ธ.ค.2515 อันเป็นเหตุการณ์สำคัญมากในช่วง "สงครามสหรัฐฯ" ตามที่ฝ่ายเวียดนามเรียก. -- AFP Photo/Hoang Dinh Nam
       
นักท่องเที่ยวเดินผ่านล้อมหึมาของ "ป้อมปราการบิน" ที่ปนอยู่ในกองซากบี-52 ลำหนึ่งที่ถูกยิงตกเมื่อ 40 ปีก่อน ระหว่างการโจมตีทิ้งระเบิดกรุงฮานอยครั้งใหญ่ หวังกดดันให้เวียดนามเหนือยอมศิโรราบ แต่สถานการณ์กลับพลิกผัน สหรัฐฯ สูญเครื่องบินไปกว่า 80 ลำในปฏิบัติการ 12 วัน 12 คืน รวมทั้งบี-52 จำนวน 34 ลำด้วย วอชิงตันต้องเสนอเจรจาสันติภาพกับเวียดนามในกรุงงปารีส เดือน ม.ค.2516 และสงครามเวียดนามเริ่มนับถอยหลังสู่จุดจบ. -- AFP Photo/Hoang Dinh Nam
       
ทหารหญิงเดินผ่านจรวด SAM-2 หรือ S-75 "Dvina" ที่ผลิตในอดีตสหภาพโซเวียต ในภาพวันที่ 7 ธ.ค.2555 ที่ติดตั้งบริเวณหน้าอาคาร "พิพิธภัณฑ์ชัยชนะเหนือบี-52" ในกรุงฮานอย เวียดนามกำลังฉลองใหญ่ครบรอบ 40 ปี เหตุการณ์ที่เรียกว่า "ยุทธการฮานอย-เดียนเบียนฟูทางอากาศ" เป็นเวลา 12 วัน 12 คืนในเดือน ธ.ค.2515 ซึ่งระหว่างนั้นสหรัฐฯ สูญบี-52 ไป 34 ลำ รวมทั้ง 1 ลำที่ถูกยิงตกโดยเครื่องบินขับไล่มิก-21 ลำเล็กๆ และล้าสมัยของเวียดนาม. -- AFP Photo/Hoang Dinh Nam
            .
       บันทึกของผู้เชี่ยวชาญโซเวียตอีกคนหนึ่งระบุว่า มอสโกได้ช่วยฝึกการใช้จรวด SAM-2 ให้ฝ่ายเวียดนามเหนือมาตั้งแต่ปี 2509-2510 ผู้เชี่ยวชาญหลายคนได้ประสบการณ์ในสนามรบโดยตรง และในนั้น มีจำนวนหนึ่งเสียชีวิตจากการทิ้งระเบิดของฝ่ายสหรัฐฯ ทั้งในฮานอย และในจังหวัดอื่นๆ
       
       อย่างไรก็ตาม แม้จะมีอาวุธดีใช้ แต่การต่อกรกับ “ป้อมบินยักษ์” บี-52 และมหาอำนาจที่มีกำลังทางอากาศใหญ่โต และทันสมัยที่สุดในโลกไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้เชี่ยวชาญโซเวียตช่วยเวียดนามพัฒนายกระดับ SAM-2 มาเป็นระยะๆ โดยใช้เวลาหลายปี เนื่องจากฝ่ายสหรัฐฯ เองได้พัฒนา “สงครามอิเล็กทรอนิกส์” อย่างต่อเนื่อง
       
       โซเวียตช่วยเวียดนามอัปเกรดทั้งจรวด ระบบระบบควบคุม จนถึงระบบเรดาร์เพื่อชี้เป้าหมายให้พ้นจากการรบกวนของฝ่ายข้าศึก ซึ่งทำให้การยิง SAM-2 แม่นยำยิ่งขึ้น จนกระทั่งทหารเวียดนามสามารถปฏิบัติการได้ด้วยตัวเองตลอด 12 วัน 12 คืน ในยุทธการสำคัญนี้
       
       ในคืนแรกของปฏิบัติการวันที่ 18 ธ.ค. บี-52 ที่น่าเกรงขามถูกยิงตกไป 3 ลำ (ตัวเลขของสหรัฐฯ และเวียดนามตรงกัน) ในการต่อต้านอันเข้มแข็งที่ฝ่ายสหรัฐฯ ไม่เคยคาดคิดจะได้เห็น สหรัฐฯ ระบุว่า เวียดนามยิงจรวดราว 200 ลูกในวันแรก ไม่เคยคิดว่าเวียดนามเหนือจะมีจรวดต่อสู้อากาศยานมากมาย
       
       อย่างไรก็ตาม เอกสารของฝ่ายเวียดนามระบุว่า “การปรับตัวอย่างทันท่วงทีจากบทเรียนในวันแรกๆ ทำให้การป้องกันน่านฟ้าเมืองหลวงมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น” ในคืนวันที่ 20 ธ.ค.เพียงคืนเดียว เวียดนามยิงบี-52 ตกถึง 7 ลำ ด้วย SAM-2 เพียง 36 ลูก หรือเฉลี่ย 5.2 ลูกต่อลำ
       
       ตัวเลขของเวียดนามระบุว่า ใน 3 วันแรก (18-21 ธ.ค.) สหรัฐฯ ส่งบี-52 ไปทิ้งระเบิดกรุงฮานอย 90 เที่ยว/ลำ ในนั้นถูกยิงตกรวม 12 ลำ ถึงแม้สหรัฐฯ จะบันทึกการสูญเสียเอาไว้เพียง 9 ลำ แต่ก็ไม่ปฏิเสธว่าเป็นสิ่งที่ไม่คาดคิด
       
       การสูญเสียได้ทำลายขวัญกำลังใจของผู้ปฏิบัติงานอย่างรุนแรง โรเบิร์ต โอ ฮาร์เดอร์ (Robert O Harder) อดีตนักบินบี-52 คนหนึ่งเขียนเอาไว้ในบันทึก “สงคราม 11 วัน” ของเขาในเวลาต่อมา     
       
ฉลอง 40 ปี “แจ็กล้มยักษ์”
เดิ๊ตเหวียด/กวนโด่ยเญินซเวิน

อดีตนายกรัฐมนตรีเวียดนามฝ่ามวันดง (Pham Van Dong) ในภาพที่ไม่ได้ระบุวันถ่ายขณะไปเยี่ยมประชาชนในหลุมหลบภัยใต้ดินแห่งหนึ่งในกรุงฮานอย ในช่วงที่สหรัฐฯ โจมตีทิ้งระเบิดเมืองหลวงอย่างหนัก. -- เดิ๊ตเหวียดออนไลน์.

พล.อ.หวอ-งเวียน-ย้าป (Vo Nguyen Giap) อดีตรัฐมนตรีกลาโหม-ผู้บัญชาการกองทัพเวียดนาม ในภาพที่ไม่ระบุวันถ่าย ขณะฟังบรรยายสรุปที่กองบัญชาการกองพันต่อสู้อากาศยานแห่งหนึ่งในกรุงฮานอย ช่วงก่อนจะเริ่มยุทธการสำคัญ 12 วัน 12 คืน ป้องกันเมืองหลวงจากการโจมตีทิ้งระบิดของเครื่องบินบี-52.-- เดิ๊ตเหวียดออนไลน์.
             .
       สหรัฐฯ สูญเสียหนักยิ่งขึ้นในการโหมโจมตีระลอกที่ 2 ระหว่างวันที่ 26-29 ธ.ค.2515 ซึ่งตลอดช่วง 12 วัน 12 คืน มีบี-52 ถูกยิงตกทั้งหมด 34 ลำ อีกหลายลำที่รอดกลับไป เสียหายหนักจนไม่สามารถใช้การได้อีก มีนักบินกับลูกเรือบี-52 กับนักบินเครื่องบินรบแบบต่างๆ เสียชีวิต หรือถูกจับรวมนับร้อยๆ คน นับเป็นการสูญเสียแบบย่อยยับที่สุดอีกครั้งหนึ่งในสงครามทางอากาศระหว่างยักษ์ใหญ่กับ “แจ็ก” ตัวเล็กๆ
       
       เอกสารที่เคยเป็นความลับของเวียดนาม ซึ่ง “เดิ๊ตเหวียด” นำออกเผยแพร่ ได้กล่าวถึงความยุ่งยากในการเคลื่อนย้ายจรวด S-75 อันใหญ่โต หนีการโจมตีของเครื่องบินสหรัฐฯ รวมทั้งความยากลำบากในการเคลื่อนย้ายเสริมกำลังหน่วยต่อสู้อากาศยานรอบๆ เมืองหลวง เนื่องจากเส้นทางขนส่งต่างๆ ถูกทิ้งระเบิดทำลายเสียหายหนัก
       
       แต่ตลอดเวลา 12 วัน 12 คืนของยุทธการฯ เวียดนามใช้กำลังต่อสู้อากาศยานป้องกันเมืองหลวงรวม 13 กองพัน ต่อสู้กับบี-52 เกือบ 200 เที่ยว/ลำ (ราว 48% ของจำนวนทั้งหมด) ที่ไปจากฐานทัพอากาศแอนเดอร์สันบนเกาะกวม กับฐานบินอู่ตะเภาในประเทศไทย สามารถยิงบี-52 ตกทั้งหมด 25 ลำ ในนั้นมี 16 ลำถูก “ตกในทันที” รวมทั้ง 3 ลำ ทีตกลงในกรุงฮานอย
       
       ก่อนจะถึงวันที่สหรัฐฯ ลงมือ ทางการเวียดนามได้อพยพประชาชนออกจากเมืองหลวงกว่า 55,000 คน ที่ยังเหลืออยู่เกือบทุกครอบครัวต้องขุดหลุมหลบภัยตามถนนหรือสวนสาธารณะ แต่ถึงกระนั้น การโจมตี 12 วัน 12 คืนได้ทำให้มีผู้เสียชีวิตนับพันๆ รวมทั้งแพทย์ และพยาบาลกว่า 20 คน แห่งโรงพยาบาลบั๊กมาย (Bac Mai) ที่ถูกทิ้งระเบิดด้วย
       
       หลัง “ยุทธการฮานอย-เดียนเบียนฟูทางอากาศ” ผ่านไป เวียดนามเหนือยังทำสงครามกับสหรัฐฯ ต่อมาอีก 2 ปีกับ 4 เดือน จึงยุติลง โดยสหรัฐฯ ถอนออกจากดินแดนเวียดนามทั้งหมด และในปีถัดมา เวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ก็ถูกรวมเข้าเป็นประเทศเดียวกันภายใต้พรรคคอมมิวนิสต์
       
       จนถึงปัจจุบัน เวียดนามก็ยังเป็นเพียงประเทศเดียวในโลกที่ยิงบี-52 ของสหรัฐฯ ตกในการสู้รบ.

ASTVผู้จัดการออนไลน์    20 ธันวาคม 2555

10
 หลังจากที่เปิดตัวหวังเจี้ยนแม่ทัพใหญ่แคว้นฉินซึ่งผมจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในเทพอสูรสงครามของจีนเขากันเมื่อคราวที่แล้ว สัปดาห์นี้ที่คัดมาให้เลือกว่าเป็นเทพเจ้าแห่งสงครามนั้นได้แก่ “ฉู่ป้าอ๋อง (Xī Chǔ Bà Wáng)” หรือ ที่คนไทยรู้จักกันในนาม “ฌ้อปาอ๋อง” เซี่ยงหวี่ ผู้พิชิตจักรวรรดิฉินลงได้นั่นเอง
       
        เซี่ยงหวี่ถูกนักเขียนนวนิยายเอามาทำเยอะครับ ในเจาะเวลาหาจิ๋นซี หวงอี้ก็เขียนเปิดๆ หัวเอาไว้ว่า เซี่ยงหวี่เป็นลูกของเซี่ยงเส้าหลงซึ่งพาครอบครัวของตนเองออกไปอยู่นอกด่านเพื่อหนีภัยจิ๋นซีแต่ก็จบแค่นั้น ส่วนพงศาวดารอื่นๆ มีเนื้อหาคล้ายๆ กันนั่นคือ ไม่ค่อยให้เครดิตต่อเซี่ยงหวี่เท่าไหร่ ส่วนใหญ่จะออกในแนวบ้าอำนาจ โหดร้าย หลงหญิงจนพ่าย และใจไม่ถึงพอเมียตายก็เชือดคือตัวเองทิ้ง เรียกว่าไม่มีดีเอาเสียเลย
       
        ก็ไม่แปลกหรอกครับที่เรื่องราวของเซี่ยงหวี่จะออกมาในทำนองนั้น เพราะประวัติศาสตร์ที่เขียนอย่างใน ไซฮั่นนั้นเป็นฝีมือของผู้ชนะสงคราม เพราะฉะนั้นผู้แพ้ก็ต้องยับเยินไปตามระเบียบ ทั้งๆ ที่ถ้าพิจารณาในความเป็นจริงแล้ว คนที่มันไม่มีดีอะไรเลย จะเรียกให้มีคนเข้าร่วมก่อการและคุมกองทัพของตัวเองได้ตั้ง 4 แสนคนได้อย่างไร?

   
       จากบันทึกของ “ซือหมาเชี่ยน” ซึ่งถือว่าเป็นบันทึกทางประวัติศาสตร์เล่มที่ดีที่สุดในจีนยุคต้นจนกระทั่งถึงราชวงศ์ถังในยุคกลางนั้นบอกว่า เซี่ยงหวี่เกิดในสายสกุลมี่ซึ่งเป็นตระกูลที่ครองรัฐฉู่ บรรพบุรุษของเซี่ยงหวี่นั้นถูกมอบหมายให้ไปปกครองเมืองเซี่ยง ครอบครัวที่เป็นต้นตระกูลของเขาก็เลยเปลี่ยนแซ่ตัวเองจากมี่กลายเป็นเซี่ยง
       
        การได้ไปครองแผ่นดินที่เรียกว่าเซี่ยงนี้ก็ไม่ได้เพราะเป็นเจ้าแล้วจะไปครองกันเฉยๆ แต่ตระกูลของเขาเป็นตระกูลขุนศึกยอดนักรบโดยแท้ เซี่ยงเอียน (Xiang Yan) ปู่ของเซี่ยงหวี่นั้นเป็นแม่ทัพใหญ่ของรัฐฉู่ที่เคยยกกองทัพเข้ายันทัพฉินที่นำโดยเทพเจ้าสงครามอย่างหวังเจี้ยน (ที่แนะนำไปเมื่อตอนที่แล้ว) แต่เซี่ยงเอียนนั้นเสียชีวิตไปครั้งที่รัฐฉู่ถูกรุกรานโดยฝีมือของรัฐฉินเมื่อปี 223 ก่อนคริสต์กาล
       
        เซี่ยงหวี่นั้นเกิดเมื่อปี 232 ก่อนคริสต์กาล ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐฉินเกือบจะกลืนรัฐทั้งหมดเกือบหมดแล้ว พ่อของเขาคือเซี่ยงเชาเป็นบุตรคนโตของเซี่ยงเอียน ตัวของเซี่ยงหวี่นั้นเกิดมาก็ไม่ค่อยได้เจอหน้าพ่อเท่าไหร่ เขาถูกเลี้ยงขึ้นมาโดยลุงของเขาที่ชื่อเซี่ยงเหลียง ( Xiang Liang) ที่ก็เป็นหนึ่งในนักรบคนดังของแค้วนฉู่เหมือนกัน เซี่ยงหวี่ก็เลยเติบโตขึ้นมาในค่ายทัพและกองทัพกันแบบนี้จนกระทั่งอายุได้ 11 ขวบ เขาก็กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาที่เด็กควรจะเป็น เหตุเพราะว่าในปี 221 ก่อนคริสต์กาลนั้น รัฐฉู่ก็ถูกรัฐฉินกลืนไปเรียบร้อย แต่เมื่ออายุได้ 11 ขวบที่ว่า เขาก็ตัวสูงถึง 1.85 เมตรแถมยังมีพลังแบบกระทิงป่า สามารถยกกระถางธูปทองเหลืองขนาดยักษ์ได้ด้วยตัวเอง เรียกว่าในหมู่พรรคพวกเพื่อนฝูงด้วยกันเซี่ยงหวี่โดดเด่นในเรื่องกำลังวังชาและรูปร่างที่เหมาะจะเป็นนักรบที่สุด
       
        ในนวนิยายเรื่อง อวสานจิ๋นซี ผลงานจากการประพันธ์ของหลงเหยิน และ น นพรัตน์ เอามาแปลเมื่อซัก 3 ปีก่อนหน้านี้นั้น เขาให้เซี่ยงหวี่เป็นผู้นำของสำนักลับที่มีทั้งกองกำลังในยุทธจักรที่ชื่อ “เรือนเมฆลิ่วล่อง” หน้าที่ก็คือ พอไม่มีสงครามก็เป็นขบวนการนักฆ่าคอยล่าสังหารฝ่ายตรงข้าม พอมีสงครามพวกนี้ก็จะมารบทัพจับศึกในกองทัพ ตัวเซี่ยงหวี่นั้นนั่งควบทั้งเป็นหัวหน้ากองกำลังนอกกฏหมายที่ว่าและเป็นแม่ทัพใหญ่ของฉู่ ที่สุดยอดก็คือ ฝีมือการต่อสู้ของแกนี่อยู่ในขั้นที่หาใครเปรียบได้ยากจริงๆ แต่ตามประวัติที่ซือหม่าเชี่ยนเขียนเอาไว้เกี่ยวกับเซี่ยงหวี่นั้น เขาเป็นคนที่ไม่ค่อยสนใจเรื่องในโรงเรียนเท่าไหร่ เอาว่าต้องโดนครูเรียกผู้ปกครองมาพบโดยตลอดแหล่ะครับ
       
        เซี่ยงเหลียงเคยถามเซี่ยงหวี่ว่าทำไมไม่สนใจการเรียนเท่าที่ควร เซี่ยงหวี่ให้เหตุผลที่ว่า ในยุคสมัยที่สงครามกำลังจะมานั้นตัวหนังสือมีความจำเป็นต่อเขาก็แค่การที่ทำให้เขาจำได้ว่าชื่อตัวเองเขียนยังไง และการเป็นแชมป์ดาบประจำโรงเรียนก็ทำให้เขาเอาชนะในการต่อสู้กัน 1:1 เท่านั้น เขาบอกต่อเซี่ยงเหลียงลุงของเขาว่า เขาต้องการเรียนการเอาชนะผู้คนนับหมื่นในสนามรบมากกว่า ซึ่งโรงเรียนที่ดีที่สุดที่จะฝึกเขาได้ก็คือ การออกไปรบในแนวหน้าเหมือนอย่างที่คนในตระกูลของเขาทำมาโดยตลอด เซี่ยงเหลียงลุงของเขาเองจึงตัดสินใจว่า เซี่ยงหวี่ไม่ต้องเรียนหนังสือแล้ว แต่ให้ฝึกเป็นทหารอยู่ใกล้ๆ ตัวเขาไป ไอ้ตรงนี้ที่ว่าไม่ต้องเรียนหนังสือแล้วให้ไปฝึกฝนตนเอง อาจจะทำให้หลงเหยินสร้างจินตนาการต่อให้เซี่ยงหวี่ซึ่งเป็นคนใจใหญ่เป็นนักเลงใจกล้ามาสร้างกลุ่มก้อนองค์การนักฆ่าของเขาเองอย่างในเรื่องก็ได้นะครับ
       
        จากมุมมองในเรื่องการศึกษาของเซี่ยงหวี่นี้เองทำให้เราตีความตัวเซี่ยงหวี่ได้สองอย่างด้วยกัน และสองสิ่งนี้เป็นจุดอ่อนที่นำพาเขาไปสู่ความพ่ายแพ้ในการครองแผ่นดินในที่สุด
       
        ประการแรก การไม่ได้เรียนหนังสือมากพอ ทำให้เขาขาดความเข้าใจในเชิงสังคมในเชิงกว้างและเชิงลึก และอาจจะขาดความเข้าใจในเรื่องของการบริหารงานเสียด้วยซ้ำไป คนที่มีความรู้น้อยและมีแต่กำลังนั้นก็จะถูกคนชักจูงไปทางไหนก็ได้ง่ายๆ อย่างขุนทหารที่มีอยู่ในปัจจุบันที่แม้จะเป็นระดับผู้บัญชาการกองทัพ แต่ถ้าขาดความรู้และความเข้าใจเรื่องการเมืองและสังคมแล้วละก็ การออกมาขู่ฟ่อๆ รายวันก็ไม่สามารถทำให้ใครต่อใครกลัวได้ มีแต่คนจะหัวเราะเยาะใส่ในความบ้าน้ำลาย ขี้โมโห ก็เท่านั้น สุดท้ายก็จะถูกลากไปสู่ความหายนะอย่างแน่นอน
       
        ประการที่สองความหยิ่งผยองที่คิดว่า โลกนี้ถ้ามีดาบและกองทัพอยู่ในมือแล้วก็จะสามารถควบคุมทุกอย่างได้ อันนี้ก็เป็นจุดอ่อนสำคัญ เพราะองคาพยพของโลกนั้นไม่ได้ถูกครอบครองจากแค่กองทัพเท่านั้น สิ่งที่เซี่ยงหวี่ต้องการและฝึกฝนสำเร็จทำให้เขาอยู่ในฐานะที่ยึดครองได้แต่ปกครองไม่ได้ ประสบการณ์และการศึกษาก็คือเป็นทหารอาชีพสายนักรบ ซึ่งขาดทักษะในเรื่องการบริหารและการเมืองโดยสิ้นเชิง ความใจใหญ่ใจกว้างใช้พระคุณต่อผู้ที่ไม่ควรให้ ใช้พระเดชและงดเมตตาต่อผู้ที่ควรให้ ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ทำให้ชะตากรรมของเซี่ยงหวี่หมุนไปอีกทางแทนที่จะกลายเป็นจอมจักรพรรดิองค์ต่อจากจิ๋นซีฮ่องเต้
       
        การฝึกรบและอยู่ในกองทัพและนอกกองทัพของเซี่ยงหวี่นั้นถึงที่สุดแล้วก็มีโอกาสได้แสดงฝีมือ เมื่อจิ๋นซีฮ่องเต้เสียชีวิตไป บรรดากบถของแคว้นต่างๆ ก็ลุกฮือขึ้นทำสงครามโค่นจักรวรรดิฉิน(ระหว่างปี 209 - 206 ก่อนคริสต์กาล)
       
        เหตุที่ทำให้เซี่ยงหวี่เข้าสู่สงครามตามปรารถนามีขึ้นเมื่อ การกบถนั้นเกิดทั่วไปหมดและใครก็สามารถลุกขึ้นมาเป็นเจ้าได้ทำให้ อิ๋งตง (Yin Tong) หนึ่งในญาติของจิ๋นซีที่ดูแลเขตไคว่จี๋ ซึ่งปัจจุบันก็คือ เจ้อเจียง ต้องการที่จะก่อกบถเพื่อตั้งตัวเป็นเจ้าเสียเอง เขาเชิญเซี่ยงเหลียงซึ่งตอนนั้นเป็นหัวหน้ากองกำลังพลเรือนซึ่งมีคนอยู่ในสังกัดราว 8,000 คน เข้าร่วม อิ๋งตงนั้นจัดงานเพื่อหวังจะดึงเซี่ยงเหลียงเข้ามาให้ได้ แต่เหตุการณ์กลับตาละปัด เพราะ ในงานเลี้ยงที่ว่านี่เอง เซี่ยงเหลียงกลับวางแผนซ้อนแผน โดยการที่เขากับเซี่ยงหวี่เพียงสองคนเข้าไปในงาน จากนั้นก็ลงมือสังหารอิ๋งตง พร้อมกับองครักษ์ทั้ง 12 คนด้วยตนเอง จากนั้นก็ส่งสัญญาณให้คนทั้ง 8,000 ลุกฮือขึ้นทุกจุดพร้อมกันแล้วยึดเมืองไคว่จี๋เป็นของตนเองเสียง่ายๆ แบบนั้น จากนั้นเมื่อเซี่ยงเหลียงชูแคมเปญว่า เขาจะโค่นฉินเพื่อนำรัฐฉู่กลับมา โดยการเชิด ”หมี่ซิน” ทายาทของรัฐฉู่ขึ้นเป็นอ๋อง เขาแต่งตั้งตัวเองเป็นพ่อเมืองไคว่จี๋และตั้งให้เซี่ยงหวี่เป็นแม่ทัพทหารเสือของแคว้นฉู่ในที่สุดภายในหนึ่งปีต่อมากองกำลังกบถที่พร้อมรบของเมืองไคว่จี๋ก็เพิ่มขึ้นเป็น 60,000 คน
       
        ว่ากันว่าการฆ่า 12 องครักษ์ของอิ๋งตงนั้น เอาเข้าจริงก็เป็นฝีมือของเซี่ยวหวี่คนเดียว ชื่อเสียงในความเป็นยอดฝีมือและความห้าวหาญดึงดูดให้ผู้คนเข้าร่วมมากมาย และทำให้เซี่ยงหวี่ได้ชื่อเป็นเป็นจอมอสูรสงคราม ก็เพราะอายุแค่สิบกว่าๆ ก็กระโดดเข้านำทัพให้แค่ท่านลุงของเขาคือ “เซี่ยงเหลียง” และสร้างประวัติการรบที่งดงามมาได้ตลอดนั่นคือไม่เคยแพ้ใครเลย
       
        เรื่องราวของการเป็นเทพเจ้าสงครามคนที่สองของเซี่ยงหวี่ยังไม่จบครับเดี๋ยวคราวหน้ามาว่ากันต่อ

ASTVผู้จัดการออนไลน์    29 ตุลาคม 2555

11
ถึงคราวที่จะต้องเขียนถึงเรื่องราวที่ติดกันไว้นานมากแล้ว นั่นคือ ในบรรดาขุนศึกเมืองจีนนั้น ใครเก่งที่สุดในประวัติศาสตร์ ตามที่มีท่านผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเคยยุให้ค้นหามา
       
        จริงๆ จะว่ายากก็ยากจะว่าง่ายก็ง่าย เพราะระดับที่เราจะยกให้เป็นสุดยอดเทพเจ้าแห่งสงครามนั้นเอาจริงๆ ก็ต้องถึงระดับตีแผ่นดินหรือรวบรวมแผ่นดินได้อย่างต่ำก็ครึ่งหนึ่ง เอาที่เนื้อๆ วัดด้วยความเก่งกาจจากมาตรฐานที่ว่ามาได้แก่ ใครนำศึกได้ชัยชนะมากที่สุด ได้พื้นที่มากที่สุด สังหารและเข่นฆ่าศัตรูได้มากที่สุด ชัยชนะมีผลต่อประวัติศาสตร์หรือสามารถพลิกโฉมหน้าของการสงคราม รวมถึงถูกพูดถึงกันมากในประวัติศาสตร์ที่สุดก็คือควรจะได้รับการยกย่องไป
       
        ในประวัติศาสตร์การสงครามของจีนนั้นมีมากมายถ้านับตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฉิน (เพราะมีการบันทึกประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการแล้ว) จวบจนมาถึงราชวงศ์ชิง ถ้านับเอามาตรฐานเหล่านี้เทพเจ้าแห่งสงครามที่ว่าก็คงนับได้เกินสิบคนแน่ๆ ครับ ผมจะค่อยๆ ไล่ไปตั้แต่ราชวงศ์ฉินซึ่งเป็นราชวงศ์แรกที่สามารถรวบรวมมหาอาณาจักรทั้งหกรัฐประกอบไปด้วย ฉิน หาน เว่ย ฉู่ จ้าว เอี้ยนและฉี ให้กลายเป็นรัฐเดียวและปกครองใต้กฏหมายเดียวกันได้สำเร็จ ฉินอ๋องหรือที่เรารู้จักกันในนามจิ๋นซีฮ่องเต้ทำภาระกิจที่สุดแสนจะพิศวงได้ขณะที่พระองค์มีอายุเพียงแค่ 35 ปีเท่านั้น
       
        การที่จะทำเช่นนั้นได้พระปรีชาสามารถของพระองค์ก็ส่วนหนึ่ง แต่มือไม้ที่ทำให้รัฐฉินเอาชนะทุกรัฐได้นั้นก็เพราะพวกเขามียอดขุนศึกระดับเทพเจ้าแห่งสงครามอยู่ ยอดขุนศึกผู้นั้นมีชื่อว่า หวังเจี้ยน (Wang Jian)
       
        ในยุคสงครามหกรัฐนั้นมียอดขุนพลอยู่ 4 คนที่ได้รับการยกย่องว่าสุดยอดนันคือ หวังเจี้ยน และ ไปฉี ( Bai qi) ของรัฐฉิน และอีกสองท่านนั่นคือ หลี่มู่ และ เหลียนปอ แต่คู่หลังนี้เป็นขุนศึกของฝ่ายรัฐจ้าวที่เป็นรัฐไม้เบื่อไม้เมากับรัฐฉินมาโดยตลอด
       
        สงครามที่เกิดขึ้นจากฝีมือของทั้งสี่คนนี้รวมๆ กันแล้วทำให้เกิดคนตายมากกว่า 4 ล้านคน
       
        แต่ตัวของหวังเจี้ยนนั้นเชือดและทำลายชีวิตของฝ่ายตรงข้ามไปราวๆ 8 แสนคนตลอดอายุของการเป็นทหารของเขา คนเดียวที่มีตัวเลขมากกว่าหวังเจี้ยนก็คือ ไป่ฉีที่จัดการชีวิตของฝ่ายตรงข้ามประมาณล้านกว่าคน เสียดายแต่ว่าไปฉีนั้นโดนกษัตริย์รัฐฉินประหารชีวิตเสียก่อน ก่อนหน้าที่จิ๋นซีฮ่องเต้จะเกิดได้ 2 ปี เหตุเพราะไป่ฉีนั้นไม่ต้องการจะไปรบตามคำสั่งของกษัตริย์รัฐฉินในช่วงเวลานั้น เหตุเพราะการส่งเสบียงในการทำสงครามนั้นไม่ดีพอ การปฏิเสธการนำทัพอยู่หลายรอบทั้งๆ ที่ไป่ฉีนั้นมีสถิติการรบ 73 ครั้งและไม่เคยแพ้แม้แต่ครั้งเดียว ทำให้กษัตริย์รัฐฉินรู้สึกว่าไป่ฉีอาจจะทรยศ สุดท้ายก็ประกาศเนรเทศไป แต่ขณะที่ริบสมบัติและจะเนรเทศไปฉีไปให้พ้นจากรัฐฉินนั้น กษัตริย์แห่งรัฐนี้ก็เกิดปิ๊งไอเดียว่า ควรจะต้องฆ่ายอดนักรบคนนี้ดีกว่าปล่อยไว้ให้เป็นหอกข้างแคร่ เขาก็เลยถูกคำสั่งให้ไป่ฉีฆ่าตัวตายเพื่อแสดงความจงรักภักดี สิ้นชีพของเทพเจ้าสงครามคนแรกของรัฐฉินไปโดยปริยาย
       
        หวังเจี้ยนนั้นเป็นยอดขุนพลมาตั้งแต่เริ่มต้น ยิ่งได้นายดีที่เข้าใจเรื่องของการทำสงครามอย่างเต็มที่อย่างอิ๋งเจิ้งหรือจิ๋นซีฮ่องเต้นั้น เขาก็เหมือนพยัคฆ์ติดปีก ความจริงนั้นหวังเจี้ยนรบให้รัฐฉินมาตั้งนานแล้วครับ ในฐานะนายพลฝีมือดีของรัฐที่อยู่ทางตะวันตกของจีนรัฐนี้ แต่เกียรติยศของความเป็นยอดนักรบของเขาขึ้นจุดสูงสุดเมื่อปี 225 BC เมื่อจิ๋นซีก็ประกาศทำการโจมตีรัฐฉู่อย่างเป็นทางการ รัฐฉู่นั้นอยู่ทางใต้กินบริเวณที่กว้างใหญ่และอุดมสมบูรณ์ที่สุด(ช่วงเวลานั้นเหลือแต่ ฉู่ เอี้ยน และ ฉี เท่านั้นที่ยังสามารถต้านทานรัฐฉินได้ ส่วนรัฐจ้าว รัฐหาน และเว่ยนั้นโดนตีแตกไปนานแล้ว และก็เป็นฝีมือของหวังเจี้ยนที่เดินหน้าลุยเอาแผ่นดินมาให้ฉินนั่นเอง โดยหวังเจี้ยนเป็นคนตีเมืองหานตานเมืองหลวงของรัฐจ้าวแตก หลังจากนั้นเมื่อรัฐเอี้ยนส่งจิงเคอมาลอบสังหารจิ๋นซีแต่ไม่สำเร็จ ก็เป็นหวังเจี้ยนอีกเหมือนกันที่นำกองทัพเข้าถล่มรัฐเอี้ยนแหลกคามือ แก้แค้นแทนฮ่องเต้ของเขา) ทำให้อิ๋งเจิ้งหรือจิ๋นซีอ๋องมั่นใจว่า ถ้าเอาชนะฉู่ได้ โอกาสที่จะครองแผ่นดินทั้งหมดก็จะอยู่ในมือ
       
        เมื่อกษัตริย์จอมประจัญบานจะยึดรัฐฉู่ให้ได้ก็ไม่มีใครกล้าทัดทาน ทั้งๆ ที่ในทางยุทธศาสตร์แล้ว ทั้งเวลาและการโจมตีดังกล่าวดูเป็นเรื่องที่จะไม่เหมาะสมเท่าไหร่ หวังเจี้ยนเป็นคนเดียวที่กล้าตั้งคำถามกับแผนการนี้ เขาชี้ให้เห็นว่า แผ่นดินของรัฐที่เหลือทั้งสามนั้ดูเหมือนจะล้อมจักรวรรดิฉินอยู่ ถ้าเลือกที่จะทำสงครามกับฉู่ในเวลานี้ก็เท่ากับเปิดโอกาสให้รัฐที่เหลือคือ เอี้ยนที่อยู่ทางตะวันออก และฉีที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือถือโอกาสเข้ามาโจมตีกินพื้นที่ของรัฐฉินที่เพิ่งได้มา อีกทั้งชัยภูมิทางใต้ที่ดูเหมือนจะไม่ค่อยถนัดนักกับการควบม้าเข้าทำการรบ ประวัติศาสตร์ในเรื่องนี้จากบันทึกสื่อจี้ ( Shiji) กล่าวไว้ว่า จิ๋นซีถามกลางที่ประชุมต่อหวังเจี้ยนว่า จะทำศึกกับฉู่นั้นต้องใช้คนจำนวนเท่าไหร่ หวังเจี้ยนคำนวณแล้วบอกว่าต้องใช้ทหารทั้งสิ้น 6 แสนนายเพื่อครองแดนใต้อันเป็นที่ตั้งของรัฐฉู่ ขณะที่ หลี่ซิน นายพลรุ่นน้องเสนอว่า ใช้ทหารเพียง 2 แสนคนก็เพียงพอ จิ๋นซีอ๋องก็เลยให้หลี่ซินไปรบแทน และบ่นว่าสงสัยหวังเจี้ยนจะแก่ไปเสียแล้วที่จะเอาชนะฉู่โดยใช้กำลังพลตั้ง 6 แสนนาย หวังเจี้ยนก็เลยอ้างว่าป่วยขอกลับไปอยู่บ้านที่บ้านนอกแทน
       
        ภายในเวลา 6 เดือน ข่าวร้ายก็ส่งกลับมายังเมืองเสียนหยางว่ากองทัพของฉินนั้นพ่ายแพ้ต่อกองทัพของฉู่อย่างยับเยิน ทั้งติดเชื้อไข้ป่า ทั้งเจอกับแผนการรบทั้งน้ำทั้งบก ซึ่งทหารฝ่ายฉินนั้นไม่คุ้นเคยเอาเลย แถมกำลังรบของฝ่ายฉู่นั้นมีมากถึง 5 แสนนายมากกว่าฝ่ายฉินซึ่งเป็นฝ่ายเข้าตีเสียอีก จิ๋นซีอ่องถึงกลับต้องควบม้ามาหาหวังเจี้ยนขอให้กลับไปช่วยงานในกองทัพ โดยพระองค์จะจัดการคนให้ 6 แสนคนตามที่ต้องการ หวังเจี้ยนขอที่นาและบริวารอีกมากมายเป็นเครื่องตอบแทนในชัยชนะของเขา
       
        เรื่องของรางวัลที่หวังเจี้ยนขอนั้น เข้าใจว่าจะเป็นการเสริมแต่งเข้าไปเพื่อให้เรื่องราวของหวังเจี้ยนมีลุ้นมากขึ้น เพราะ ในฐานะนักรบที่ชนะศึกนั้น รัฐฉินจะให้รางวัลอยู่แล้วในฐษนะที่เป็นทหารอาชีพ ทหารรัฐฉินนั้นเหมือนทหารรับจ้างมากกว่าทหารเกณฑ์ ใครรบและเอาหลักฐานการฆ่ามาให้ดูได้ก็จะได้บำเหน็จจากหัวของทหารฝ่ายตรงข้ามอยู่แล้ว ยิ่งทำศึกใหญ่ๆก็ไม่ต้องห่วงเลยว่า แม่ทัพนั้นจะได้รับทรัพย์กันอู้ฟู่ขนาดไหน
       
        กองทัพของหวังเจี้ยนจำนวน 6 แสนไปถึงเมืองห้วยหยางในอีก 6 เดือนต่อมา แต่แทนที่จะทำสงครามประจันบาญกันทันที หวังเจี้ยนก็ทำเซอร์ไพรซ์แก่ฝ่ายตรงข้ามด้วยการสั่งให้ทหารอยู่เฉยๆ และซ้อมรบอยู่ในค่ายเท่านั้น ปล่อยให้ทหารฝ่ายฉู่ซึ่งนำทัพโดยเซียงเอี้ยนถึงกับงงว่าจะเอายังไง การไม่ออกรบเลยของกองทัพฉินนั้นผ่านไป 3 เดือนอย่างรวดเร็ว ทำเอาอีกฝ่ายมั่นใจว่ากองทัพฉินคงไม่กล้าข้ามแม่น้ำฮั่นมาโจมตีเป็นแน่ นั่นทำให้มาตรการของการป้องกันคลายตัว แม่ทัพเซียงเอี้ยนของฝ่ายฉู่ถึงกับส่งหนังสือให้กษัตริย์ของฝ่ายตัวเองเสด็จมาดูชัยชนะเสียด้วยซ้ำไป โดยเซียงเอี้ยนให้เหตุผลว่า การที่พวกเขารบชนะเมื่อปีที่ผ่านมาทำให้กองทัพฉินไม่กล้าทำอะไร
       
        อย่างไรก็ดีทหารที่ทางฉู่เห็นว่ามานอนเฉยๆ อยู่ในค่ายนั้นเป็นเพียงแผนลวง เพราะกำลังหลักนั้นซ่อนตัวอยู่ในป่าเลียบเขาในแถบเจียงซีและอันฮุยเพื่อซ้อมรบกันยังเงียบๆ และให้กองทัพใหม่นี้คุ้นเคยกับสภาพอากาศร้อนให้มากที่สุด พวกเขารอกันอยู่แต่ว่าเมื่อไหร่พวกฉู่จะประมาท ทัพฉินก็จะเข้าโจมตีสองทางพร้อมๆ กัน
       
        ฝูจู่อ๋องแห่งรัฐฉู่นั้นก็บ้าจี้มาดูชัยชนะด้วยตัวเองถึงเมืองห้วยหยาง หวังเจี้ยนนั้นกำหนดฤกษ์ของการรบอยู่ที่การมาของกษัตริย์เมืองฉู่ เขามั่นใจว่า การป้องกันที่กำแพงเมืองจะผ่อนคลายในวันนี้ แล้วก็เป็นไปตามคาดเมื่อทหารจำนวนหนึ่งต้องไปเสียเวลาสวนสนามให้กษัตริย์ของพวกเขาดู แถมยังมีการฉลองในชัยชนะมากมาย กองทัพฉินก็เข้าโจมตีทันทีด้วยกำลังพลทั้ง 6 แสนนาย
       
        หวังเจี้ยนบุกเข้าห้วยหยางได้สำเร็จ เซียงเอี้ยนนั้นเจอการโจมตีกระทันหันเข้าไป ถึงกับไปไม่เป็น กษัตริย์ฝูจูของฉู่นั้นหนีไม่ทัน โดนนายพลเมิ่งอู่ของกองทัพฉินฟันเข้ากลางตัวจนเสียชีวิตคาที่ นายพลเซียงเอี้ยนนั้นหนีไปได้ แต่ก็มาฆ่าตัวตายทีหลังด้วยความอนาถใจ ไม่กี่เดือนถัดจากนั้นรับฉู่ก็ตกเป็นของรัฐฉินและแม่ทพที่ยาตราทัพเข้าไปสู่เมืองฉู่ได้อย่างยิ่งใหญ่ก็คือหวังเจี้ยนนั่นเอง งานนี้ทหารฉู่ตายเกือบทั้ง 5 แสนคน หวังเจี้ยนก็ได้รับฉายาว่าเป็นเทพเจ้าแห่งสงครามจากศึกครั้งนี้
       
        หลังจากนั้นไม่นานรัฐที่เหลือก็ตกเป็นของฉินอย่างง่ายดาย อิ๋งเจิ้งสถาปนาตัวเองเป็นจิ๋นซีฮ่องเต้และกลายเป็นตำนานให้คนรุ่นหลังได้พิศวงกันต่อไป ตัวหวังเจี้ยนนั้นหลังจากทำศึกรวมแผ่นดินให้แก่รัฐฉินได้แล้วก็ลาออกไปทำนาเลี้ยงหลานอย่างสบายใจ แตกต่างไปจากแม่ทัพในยุคนั้นหลายคนที่ส่วนใหญ่จะตายโหงเพราะโดนกษัตริย์ตัวเองอิจฉาริษยาหรือไม่ก็พ่ายต่อการเมืองในราชสำนักนะครับ
       
        แต่เรื่องราวของเทพเจ้าแห่งสงครามอีกคนกำลังจะเกิด ชื่อนี้คนไทยอาจจะคุ้นมากกว่าหวังเจี้ยน ชื่อของเขาก็คือ เซี่ยงหวี่หรือฉู่ไหวอ๋องหรือฌ้อปาอ๋องที่คนไทยหรือนักดูงิ้วรู้จักกันดีนะครับ

ASTVผู้จัดการออนไลน์    22 ตุลาคม 2555

12


  หลังจากที่พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ได้สรุปว่า การดูแลรักษาผู้ป่วยในประเทศที่พัฒนาแล้วในยุโรปและสหรัฐ มีความเป็นมาอย่างไร และมีการวัดมาตรฐานกันอย่างไรแล้ว  ต่อมานพ.ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ ได้มาพูดถึงการที่รัฐบาลที่มีม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีโครงการก่อสร้างโรงพยาบาลประจำอำเภอขยายไปจนครบทุกอำเภอ เป็นโรงพยาบาลที่ให้การช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อย โดยการมีบัตรสงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อย ที่ได้รับการดูแลรักษาจากโรงพยาบาลโดยไม่ต้องจ่ายเงินเลย ในขณะที่โรงพยาบาลก็เก็บค่ารักษาได้จากประชาชนทั่วไป(ที่ไม่มีบัตรสงเคราะห์) และได้เงินจากการรักษาข้าราชการและครอบครัว ที่ได้รับสวัสดิการจากกรมบัญชีกลาง ส่วนผู้ป่วยที่มีฐานะดีก็อาจจะไปแสวงหาการรักษาพยาบาลจากโรงพยาบาลเอกชนหรือตามคลินิกเอกชน

สำหรับประชาชนที่มีบัตรสงเคราะห์นั้น ทางโรงพยาบาลได้ขอรับการบริจาคเพื่อใช้ในกิจการของโรงพยาบาล ก็ปรากฎว่าประชาชนได้เต็มใจบริจาคเงินให้แก่โรงพยาบาลเป็นจำนวนไม่น้อยทุกๆเดือน ต่อมากระทรวงสาธารณสุขได้ริเริ่มที่จะให้มีการประกันสุขภาพ โดยให้ประชาชนซื้อบัตรประกันสุขภาพครอบครัวละ 500 บาทต่อปี เมื่อเจ็บป่วยก็ไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ

  ต่อมานพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ และกลุ่มเพื่อนในชมรมแพทย์ชนบท ได้มีความคิดที่จะขยายกองทุนประกันสุขภาพเพิ่มขึ้นจากครอบครัวละ 500 บาทต่อปี เพิ่มขึ้นเป็น 1,000 บาทต่อปี หรือเพิ่มขึ้นเป็น 1,200 บาทต่อปี คิดเป็นเดือนละ 100 บาท โดยจ่ายเงินล่วงหน้าเข้ากองทุน และนพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ซึ่งตอนนั้นดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้นำแนวคิดนี้ไปเสนอต่อพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้”ซื้อ” แนวคิดนี้ ในการที่จะให้มีกองทุนประกันสุขภาพไว้จ่ายเงินค่าดูแลรักษาสุขภาพเมื่อเจ็บป่วย และผลักดันผ่านรัฐสภา ให้ผ่านร่างพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้ออกมาเป็นกฎหมายสำเร็จ และประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2545

 และนพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ได้ลาออกจากราชการ มาดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)เป็นคนแรก แต่ไม่ได้มีการเก็บเงินจากประชาชนเข้าสู่กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติล่วงหน้า โดยมีกองทุนจากงบประมาณแผ่นดินจ่ายเข้ากองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพียงฝ่ายเดียว และกำหนดให้ประชาชนที่ไม่มีสิทธิในการรับสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการ และกองทุนประกันสังคม ซึ่งมีจำนวน 47 ล้านคน ได้รับการดูแลรักษาสุขภาพจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาตินี้ โดยให้ประชาชน 27 ล้านคน จ่ายเงินให้แก่โรงพยาบาลครั้งละ 30 บาท ในการไปรับการรักษาพยาบาล โดยสปสช.เป็นผู้จ่ายเงินให้แก่โรงพยาบาลตามค่ารักษาเหมาจ่ายรายหัวที่ได้รับจากงบประมาณแผ่นดิน 1,200 บาทต่อประชากร 1 คน และประชาชนอีก 20 ล้านคนที่ยากจน ไม่ต้องจ่ายเงินในการไปรับการรักษาเลย
สปสช.และรัฐบาลได้ออกข่าวประชาสัมพันธ์ว่า “30 บาทรักษาทุกโรค” ซึ่งทำให้จำนวนประชาชนมาโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นมากมายมหาศาล แต่จะมีปัญหาตามมาอีกมากมาย ซึ่งจะได้มีวิทยากรคนอื่นๆมากล่าวถึงต่อไป

  วิทยากรคนต่อไปคือพญ.อรพรรณ์ เมธาดิลกกุล ได้มากล่าวถึงสถานะสุขภาพของคนไทยและระบบการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศไทย โดยเปรียบเทียบก่อนและหลังมีระบบหลักประกันสุขภาพ โดยมีแหล่งข้อมูลจากสำนักสถิติแห่งชาติและสารประชากร มหาวิทยาลัยมหิดล ฉบับมกราคม  

สถิติชีพที่สำคัญที่จะยกมาเปรียบเทียบก็คือ อัตราทารกตายในปี 2544 เท่ากับ 6.5 ต่อการเกิดมีชีพ 1,000 คน ในขณะที่หลังปีพ.ศ. 2545 อัตราทารกตายเพิ่มเป็น  7.2,7.5,7.6,7.4 และ7.2 ในปี 2546- 2550 ตามลำดับ โดยอัตรามารดาตายก็ไม่ลดลง และอัตราตายของทารกที่มีอายุน้อยกว่า 28 วัน ก็สูงขึ้นจาก 2.5 เป็น 4.3 ต่อการเกิด 1,000 คน  ซึ่งอัตราตายเหล่านี้ เป็นอัตราที่ใช้อ้างอิงว่าระบบการแพทย์ของประเทศดีหรือไม่

ในขณะที่อัตราตายจากโรคเนื้องอกทุกตำแหน่งก็เพิ่มมากขึ้น จาก 68.4 ต่อประชากร 100,000 คน ในปีพ.ศ. 2544 เพิ่มมาเป็น 84.9 ในปีพ.ศ. 2550 อัตราตายด้วยโรคต่างๆก็เพิ่มมากขึ้นภายหลังปี 2545 เช่นเดียวกัน

  สำหรับ ดัชนีชี้วัดสำคัญด้านสาธารณสุขพบว่า มีสัดส่วนประชาชนต่อจำนวนแพทย์ 1 คนก็เพิ่มขึ้น ในปี 2549 มีแพทย์ 1 คนต่อประชากร 2,975 คน แต่ในปีพ.ศ. 2552 พบว่ามีประชากร 3,332 คนต่อแพทย์ 1 คน ซึ่งหมายถึงภาระงานของแพทย์แต่ละคนเพิ่มขึ้น เนื่องจากแพทย์แต่ละคนจะต้องรับผิดชอบดูแลประชาชนเพิ่มขึ้น

จำนวนผู้สูบบุหรี่ ร้อยละ 18.9 ในปี 2549 และในปี 2552 ยังมีจำนวนผู้สูบบุหรี่ร้อยละ 18.1 ไม่ได้ลดลงเลย ทั้งๆที่สสส.ได้รับงบประมาณในการรณรงค์ลด ละเลิกสูบบุหรี่มาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2544 และอัตราผู้ดื่มสุราก็ไม่ลดลงจากร้อยละ 31.5 ในปี 2549 และยังคงอยู่ที่ ร้อยละ 32 ในปี 2552
แสดงว่า สสส.ที่มีภารกิจในการรณรงค์ให้ประชาชน “ลด ละ เลิก” สูบบุหรี่และดื่มสุรา ทำงานไม่ได้ผล และบุหรี่ก็ทำให้เสี่ยงต่อมะเร็ง ส่วนการดื่มสุราก็ยังไปขับรถ ทำให้มีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ ทั้ง 2 อย่างนี้ เป็นเหตุสำคัญที่ทำให้ประชาชนเกิดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งและเกิดอุบัติเหตุ
ต่อมาวิทยากรได้กล่าวถึงสาเหตุการตายของประชาชนไทยปีพ.ศ. 2550  (อัตราตายต่อจำนวนประชากร 100,000 คน)

อันดับ 1 คือมะเร็ง 84.9
อันดับ 2 คืออุบัติเหตุและการเป็นพิษ 59.8
อันดับ 3 โรคหัวใจ 28.4   
อันดับ 4 ความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดสมอง 24.3
อันดับ 5 ปอดอักเสบและโรคอื่นๆของปอด 22.0
อันดับ 6 โรคไตอักเสบ กลุ่มอาการของไตพิการและโรคไต 20.6
และอัตราตายอันดับที่ 11 คือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง 10.5

เปรียบเทียบอัตราตายกับปีพ.ศ. 2553
อันดับ 1จากมะเร็ง 91.2
อันดับ 2 อุบัติเหตุและการเป็นพิษ 51.6
อันดับ3 ความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดสมอง 31.4
อันดับ 4 โรคหัวใจ 28.9
อันดับ 5 ปอดอักเสบและโรคอื่นๆของปอด 25.7
อันดับ 6 โรคไตอักเสบ กลุ่มอาการของไตพิการและโรคไต 21.6
และอัตราตายอันดับที่ 11 คือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง 5.7

 จำนวนผู้ป่วยนอกของสถานบริการสาธารณสุข(ไม่รวมกทม.) พ.ศ. 2544 มี 97,043,000 ครั้งในปีพ.ศ. 2546 เพิ่มเป็น 103,282,000 ครั้ง และปี2552เพิ่มเป็น 152.429,000 ครั้ง เพิ่มขึ้นมากกว่า 50%  ในขณะที่จำนวนผู้ป่วยในก็เพิ่มจาก 5,565,000ครั้งในปี 2546 เพิ่มเป็น 10,306,000 ครั้งในปี 2552 เพิ่มขึ้น 50 % เช่นเดียวกัน

เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราป่วยของผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ในปี 2549 มีเพียง 21,293 ครั้ง และในปี 2553 มีผู้ป่วย 30,590 ครั้ง มีอัตราเพิ่ม50%เช่นเดียวกัน

ในขณะที่จำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น แต่จำนวนบุคลากรแพทย์กลับลดลง
สิทธิในการรักษาพยาบาลจากกองทุนต่างๆ พบว่าในปี 2550สิทธิบัตรทอง 48,437,000 คน ปี 2552 เพิ่มเป็น 51,097,000 คน
สิทธิประกันสังคม ปี 2550 มี8,008,000 คน ปี 2552 เพิ่มเป็น 8,362,000 คน
สิทธิข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ ปี 2550 มี 6,002,000 คน ในปี 2552 เหลือเพียง 5,327,000 คน
งบประมาณของกระทรวงสาธารณสุข ปี 2549 จำนวน 52,007,.26 ล้านบาท ในปีพ.ศ. 2550 จำนวน 61,468.25 ล้านบาท

นับว่ากระทรวงสาธารณสุขได้รับงบประมาณ เพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่น้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น 1ถึง50% ดังกล่าวในขณะที่จำนวนแพทย์ที่ปฏิบัติงานจริงก็มีพียงประมาณ 10,000 คน เนื่องจากแพทย์อีกประมาณเกือบหมื่นคน ก็ทำงานในสังกัดกระทรวงอื่น ไปฝึกอบรมเป็นผู้เชี่ยวชาญ(แพทย์ประจำบ้าน หรือ residency training) และลาออกไปอยู่รพ.เอกชน ไปเป็นผู้บริหารกองทุน และผู้บริหารของกระทรวงสาธารณสุข ที่อาจมีตำแหน่งเป็นนายแพทย์ แต่ไม่ได้รักษาผู้ป่วย (แพทย์พวกนี้ นพ.เกษม ตันติผลาชีวะเคยบอกว่าเป็น “แพทย์ฉุยฉาย” )
ฉะนั้น เมื่อพิจารณาจากภาระงานทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกที่เพิ่มขึ้นอย่างมากมายมหาศาลดังกล่าวแล้ว ย่อมส่งผลให้บุคลากรทางการแพทย์มีภาระงานหนัก งานล้นมือ และมีความเสี่ยงต่อคุณภาพการดูแลรักษาประชาชน ทำให้ประชาชนมีความเสี่ยงต่ออันตรายหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มารับการดูแลรักษาสุขภาพที่โรงพยาบาล

 นับได้ว่า สถานะทางสุขภาพของประชาชนไทยภายหลังระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ มีสภาพการณ์ที่ย่ำแย่ลงกว่าก่อนที่จะมีระบบหลักประกันสุขภาพ กล่าวคือ อัตราตายของประชากรจากโรคต่างๆเพิ่มขึ้น อัตราตายของทารก และมารดา เพิ่มขึ้น อัตราตายของทารกอายุต่ำกว่า 28 วันก็เพิ่มขึ้น อัตราตายด้วยโรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต โรคทางเดินหายใจก็เพิ่มมากขึ้น

 ซึ่งอัตราตายที่เพิ่มขึ้นนี้ คงจะบอกได้ว่า เป็นความล้มเหลวของระบบการแพทย์และสาธารณสุขหรือระบบดูแลรักษาสุขภาพของประเทศไทย ภายหลังที่มีระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ฉะนั้น เมื่อพิจารณาจากภาระงานทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกที่เพิ่มขึ้นอย่างมากมายมหาศาลดังกล่าวแล้ว ย่อมส่งผลให้บุคลากรทางการแพทย์มีภาระงานหนัก งานล้นมือ และมีความเสี่ยงต่อคุณภาพการดูแลรักษาประชาชน ทำให้ประชาชนมีความเสี่ยงต่ออันตรายหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มารับการดูแลรักษาสุขภาพที่โรงพยาบาล

 นับได้ว่า สถานะทางสุขภาพของประชาชนไทยภายหลังระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ มีสภาพการณ์ที่ย่ำแย่ลงกว่าก่อนที่จะมีระบบหลักประกันสุขภาพ กล่าวคือ อัตราตายของประชากรจากโรคต่างๆเพิ่มขึ้น อัตราตายของทารก และมารดา เพิ่มขึ้น อัตราตายของทารกอายุต่ำกว่า 28 วันก็เพิ่มขึ้น อัตราตายด้วยโรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต โรคทางเดินหายใจก็เพิ่มมากขึ้น
 ซึ่งอัตราตายที่เพิ่มขึ้นนี้ คงจะบอกได้ว่า เป็นความล้มเหลวของระบบการแพทย์และสาธารณสุขหรือระบบดูแลรักษาสุขภาพของประเทศไทย ภายหลังที่มีระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

(ยังมีต่อ โปรดรอติดตามอ่านตอนต่อไป)

13

เนื้อหาการสัมมนา (ตอนที่ 1)

   การสัมมนาเรื่องมาตรฐานการแพทย์และสาธารณสุขไทย จัดโดยสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย(สผพท.)โดยได้รับการสนับสนุนจากAC-02(ศิษย์เก่าอัสสัมชัญ-02) การจัดสัมมนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญเพื่อให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจว่ามาตรฐานทางการแพทย์และสาธารณสุขคืออะไร สามารถวัดระดับคุณภาพมาตรฐานได้อย่างไร? และควรมีการกำหนดมาตรฐานการแพทย์และสาธารณสุขไทยหรือไม่? และในปัจจุบันนี้ได้มีการกำหนดมาตรฐานนี้ไว้หรือไม่? อย่างไร และประชาชนต้องการให้มีการกำหนดมาตรฐานการแพทย์หรือไม่?

 ในตอนแรกพญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ได้นำเสนอเรื่องความสำคัญของการมีมาตรฐาน เริ่มจากกล่าวว่าตามความหมายของมาตรฐานในภาษาอังกฤษ Standard is defined as “Something established by authority, custom, or general consent as a model or example”แปลว่า มาตรฐานคือการกำหนดโดยผู้มีอำนาจ(กำหนด) หรือเป็นการกระทำ(สิ่ง)ที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป หรือเป็นสิ่ง(การกระทำ)ที่เป็นต้นแบบหรือแบบอย่าง

ถ้าพูดว่ามาตรฐาน ในความหมายคำคุณศัพท์ที่อธิบายการกระทำหรือสิ่งของแล้ว การกระทำที่มีมาตรฐานจึงหมายถึง  “conforming to a standard as established by law or  custom หมายความว่า ทำตามมาตรฐานที่กำหนดตามกฎหมายหรือประเพณี โดยการที่จะทำสิ่งใดๆตามมาตรฐานจึงต้องมีหลักเกณฑ์หรือแนวทางในการปฏิบัติ ได้แก่ กระบวนการ(process) วิธีการ (procedure) กำหนดการ(term) ทางเลือก (options)  หรือการจัดระเบียบ (arrangement)
การทำตามมาตรฐานนี้ จะเกิดขึ้นจากการที่ยึดถือกันมาตามที่กำหนดไว้จนเป็นเรื่องเป็นปกติและทำให้เกิดความเหมือนกัน (uniformity )และความคงเส้นคงวา(ทำที่ไหน ทำเมื่อไรก็เหมือนกัน)

 ซึ่งการกำหนดมาตรฐานเป็นสิ่งที่สังคมยึดถือเป็นแนวทางในกิจการใดๆก็ได้ ไม่ว่าในด้านการผลิต การอุตสาหกรรม การค้าขาย การเกษตร และยังรวมไปถึงระเบียบ แบบแผน จริยธรรม กฎหมาย วัฒนธรรม ที่คนในสังคมยึดถือกันต่อๆมา จนเป็นที่ยอมรับกันในสังคมต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยและความสะดวกและปลอดภัยจากกิจกรรม การปฏิบัติ พฤติกรรม หรือผลผลิตจากกิจกรรมนั้นๆ เช่นมาตรฐานอุตสาหกรรม มาตรฐานโรงพยาบาล มาตรฐานการแพทย์ มาตรฐานยา หรืออาหารของเล่นเด็ก ฯลฯ

  ในด้านการแพทย์และสาธารณสุขหรือการดูแลรักษาสุขภาพ ซึ่งเกี่ยวข้องกับชีวิต สุขภาพ และคุณภาพชีวิตของบุคคลทุกคนที่ต้องได้รับการดูแลรักษาสุขภาพจากระบบการแพทย์และสาธารณสุข การบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีมาตรฐานจะเป็นการประกันความปลอดภัยต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพของประชาชนอย่างแน่นอน

 โดยได้ยกตัวอย่างเปรียบเทียบจากสหภาพยุโรปว่า ประเทศต่างๆในยุโรป ได้รวมตัวกันเป็นสหภาพยุโรป (European Union หรือ EU)  ได้เห็นความสำคัญของมาตรฐานทางการแพทย์หรือที่เรียกว่า “มาตรฐานการดูแลรักษาสุขภาพ (Healthcare)” โดยได้ทำความตกลงกันในระหว่างทุกประเทศที่เป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (European Union หรือ EU) ในการกำหนดมาตรฐานการดูแลสุขภาพร่วมกัน เพื่อให้ประชาชนในประเทศสมาชิกสามารถเดินทางไปในประเทศต่างๆได้ทุกประเทศ โดยไม่ต้องกังวลกับสุขภาพของตน เนื่องจากถ้าไปเจ็บป่วยที่ประเทศอื่นซึ่งไม่ใช่ประเทศที่ตนอาศัยอยู่ ประชาชนทุกคนก็สามารถที่จะมั่นใจได้ว่าตนสามารถที่จะได้รับการดูแลรักษาสุขภาพได้อย่างมีมาตรฐานและปลอดภัยในทุกแห่ง เหมือนกับอยู่ในประเทศของตน
สำหรับในสหรัฐอเมริกานั้น  มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานในการที่ประธานาธิบดีแต่ละคน ได้มีความริเริ่มที่จะให้มีระบบการ “ประกันสุขภาพ” เพื่อให้ประชาชนทุกคน มีหลักประกันว่า จะได้รับการดูแลรักษาสุขภาพเมื่อเกิดการเจ็บป่วยขึ้น ซึ่งความพยายามนี้ เริ่มมีผลจากภาคประชาชนในรัฐเท็กซัสได้รวมตัวกันจ่ายเงินเป็นการประกันสุขภาพกลุ่ม ต่อมาในปีพ.ศ.2478 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ประธานาธิบดี Franklin D. Roosevelt พยายามจะทำให้ประชาชนทุกคนมีการประกันสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนที่เจ็บป่วยทุกคน ได้รับการดูแลรักษาสุขภาพ แต่ยังไม่สำเร็จ จึงได้เริ่มต้นระบบประกันสังคมขึ้น ต่อมาปีพ.ศ. 2485 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดภาวะเงินเฟ้อ บริษัทต่างๆไม่สามารถหาคนมาทำงานได้แม้จะให้เงินเดือนสูง จึงต้องหาวิธีจูงใจให้คนมาทำงานด้วยการเพิ่มสวัสดิการด้วยการประกันสุขภาพให้ลูกจ้างเพื่อให้มีคนมาทำงาน โดยที่ทางฝ่ายรัฐบาลก็ให้การสนับสนุน โดยการยกเว้นไม่เก็บภาษีจากเงินจำนวนที่จ่ายเพื่อประกันสุขภาพของลูกจ้าง

   ในปีพ.ศ. 2488ประธานาธิบดี Harry S. Truman ได้พยายามที่จะออกกฎหมาย “National Health Insurance “ เพื่อให้ประชาชนทุกคนมีการประกันสุขภาพ แต่ได้รับการคัดค้านจากสมาคมแพทย์อเมริกัน (American Medical Association) ว่าจะเป็นระบบการแพทย์สังคมนิยม (Socialize Medicine) จึงไม่สามารถทำได้สำเร็จ

   ในปีพ.ศ. 2508 ประธานาธิบดี Lyndon B. Johnson ได้ออกกฎหมายให้มีการประกันสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ(Medicare) และสำหรับคนยากจน (Medicaid) นับได้ว่าเป็นก้าวแรกของการทำประกันสุขภาพในสหรัฐอเมริกา

  ส่วนประชาชนอเมริกันทั่วไป ก็มีการซื้อประกันสุขภาพจากบริษัทประกันเอกชน แต่เนื่องจากค่าประกันสุขภาพที่ประชาชนต้องจ่ายเงินซื้อเองนี้ เก็บค่าเบี้ยประกันเพิ่มขึ้นทุกปี และบริษัทประกันยังไม่ยอมรับประกันผู้ที่เคยมีประกันมาแล้ว แต่เกิดปัญหาการเจ็บป่วยเรื้อรัง ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากค่าการดูแลรักษาสุขภาพเพิ่มขึ้นทุกปี แต่ความครอบคลุมการบริการกลับลดลง ในยุคประธานาธิบดี Bill Clinton พยายามที่จะให้มีกฎหมายในการประกันสุขภาพทุกคน (Universal Coverage) โดยให้บริษัทประกันรับทำประกันสุขภาพให้ประชาชนทุกคน แต่ก็ไม่สามารถทำได้สำเร็จ

   ในขณะที่นาย  Barack Obama หาเสียงเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีนั้น ก็ได้หาเสียงว่าจะให้ประชาชนทุกคนมีการประกันสุขภาพทุกคน ซึ่งเมื่อได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีแล้ว ได้ผลักดันให้มีการออกกฎหมาย “Patient Protective and Affordable Care Act” หรือที่ประชาชนทั่วไปเรียกว่า Obama Care เพื่อให้ประชาชนอเมริกันที่ยังไม่มีการประกันสุขภาพอีก 30 ล้านคน ซื้อประกันสุขภาพจากบริษัทเอกชนทุกคน ถ้าประชาชนคนใดไม่ทำตาม ก็จะต้องถูกปรับ ซึ่งการกำหนดไว้เช่นนี้ ได้เกิดการโต้เถียงว่า รัฐบาลไม่สามารถจะออกกฎหมายบังคับแก่ประชาชนในลักษณะเช่นนี้ได้ และได้มีการนำประเด็นนี้ไปฟ้องศาลสูงว่ากฎหมายนี้ขัดต่อเสรีภาพของประชาชน ซึ่งศาลยังไม่ได้ตัดสิน

แต่อย่างไรก็ตามการกำหนดให้ประชาชนมีการประกันสุขภาพตามกฎหมาย. Obama Care นี้ ก็เป็นการกำหนดให้ประชาชนรับผิดชอบ “จ่าย” ค่าประกันเอง และก็เป็นการประกันขั้นต่ำเท่านั้น โดยจะกำหนดไว้ให้รวมเอาการป้องกันโรคและการตรวจคัดกรองก่อนเกิดการเจ็บป่วย ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันและตรวจคัดกรองได้ ถ้ามีการเจ็บป่วยที่ต้องการการรักษาบางอย่าง ผู้ป่วยก็ต้องจ่ายเงินค่ารักษาเพิ่มเติม ทั้งนี้เมื่อมีคนไปถามObama ว่า ถ้าลูกเมียท่านประธานาธิบดีไม่สบายแล้วท่านจะให้ลูกและเมียรับการรักษาแค่ที่กำหนดไว้ใน Obama Care หรือท่านจะต้องหาทางที่จะทำทุกวิถีทางที่จะให้ห้ลูกเมียของท่านได้รับรักษาอย่างดีที่สุด ซึ่งประธานาธิบดีโอบามาก็ตอบว่า จะต้องให้ลูกเมียได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด ไม่ใช่เฉพาะตามแผนการรักษาจาก Obama Care เท่านั้น และข้าราชการหรือสว.(member of congress) ต่างก็ได้รับการคุ้มครองด้านสุขภาพมากกว่าที่กำหนดไว้ใน Obama Care

  จึงสรุปได้ว่า “Obama care is not the gold standard he promised during the election campaign”
   และมาตรฐานการประกันสุขภาพของสหรัฐอเมริกาก็ไม่ได้ครอบคลุมทุกโรคอย่างที่มี “โฆษณา” ในประทศไทย
   แต่อย่างไรก็ตาม บทเรียนจากสหรัฐอเมริกาก็คือค่าประกันสุขภาพสูงขึ้นมาก จำนวนเงินที่ใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพก็เพิ่มขึ้น จนพบว่าประเทศสหรัฐอเมริกามีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพสูงที่สุดในโลก คือเป็น 16 % ของ GDP แต่สถานะสุขภาพของประชาชนอเมริกันที่วัดจากดัชนีชี้วัดสุขภาพของประเทศ(ที่เป็นดัชนีที่ยอมรับกันทั่วโลก) ได้แก่อัตราตายของทารกในสหรัฐสูงกว่าประเทศพัฒนาแล้วทั่วโลก คือมีอัตราตายมากกว่าประเทศอื่นๆ 25 ประเทศ(อยู่ในลำดับที่ 26 ) รวมทั้งอายุขัยเฉลี่ยคาดการณ์เมื่อเกิด (Life expectancy at birth) ก็น้อยกว่าประเทศอื่นๆอีก คืออยู่ที่ลำดับที่ 23 อัตราโรคอ้วน(ซึ่งเป็นความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังเช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ก็เพิ่มจาก 16%ในปี 1995 เป็น 26.3%ในปี 1995 และสหรัฐอเมริกายังมีมาตรฐานด้านสุขภาพ ประสิทธิภาพในการดูแลรักษาสุขภาพประชาชนต่ำกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วอีกหลายประเทศ ทั้งๆที่จ่ายเงินในการดูแลรักษาสุขภาพสูงที่สุดในโลก ทั้งนี้เนื่องจากประชาชนหลายสิบล้านคนยังไม่มีการประกันสุขภาพที่ครอบคลุมการป้องกันโรคและการตรวจคัดกรองก่อนเกิดโรค

  นอกจากคุณภาพการดูแลรักษาสุขภาพจะไม่ดีแล้ว สหรัฐยังมีค่าเบี้ยประกันสูงขึ้นมาก เนื่องจากโรงพยาบาลจะเอาเงินของผู้ป่วยที่มีประกันสุขภาพ ไปจ่ายเป็นค่ารักษาผู้ป่วยที่ไม่มีประกันสุขภาพด้วย
หมายเหตุผู้เขียน เรื่องนี้เหมือนกับเหตุการณ์ในโรงพยาบาลของประเทศไทย ที่เอาเงินค่ารักษาผู้ป่วยในระบบประกันสังคมและระบบสวัสดิการข้าราชการ ไปจ่ายชดเชยในการรักษาผู้ป่วยในระบบบัตรทองที่จ่ายเงินให้โรงพยาบาลไม่เท่ากับค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยที่เกิดขึ้นจริง

  ส่วนในประเทศไทยนั้น เป็นระบบสวัสดิการคือประชาชนจ่ายค่ารักษาในราคาถูก แต่ประชาชนในท้องที่ทุรกันดารหรืออยู่ห่างไกล ก็มีความลำบากในการที่จะมารับการรักษาในโรงพยาบาล  ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้ทรงจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกไปให้การดูแลรักษาประชาชนที่อยู่ห่างไกลเหล่านี้ เรียกว่าหน่วยแพทย์อาสาในสมเด็จพระบรมราชชนนี มีชื่อย่อว่า พอ.สว. ซึ่งได้ออกไปดูแลรักษาประชาชนมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2512 และยังดำเนินกิจกรรมต่อมาจนปัจจุบันนี้

  ในส่วนประชาชนที่ยากจนที่ไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลนั้น รัฐบาลก็จัดงบประมาณสวัสดิการสำหรับรักษาผู้ที่มีรายได้น้อย(สปร.) ไว้ให้โรงพยาบาลใช้จ่ายในการรักษาประชาชน

   ส่วนระบบการประกันสุขภาพในประเทศไทยนั้น เริ่มต้นจากระบบสวัสดิการข้าราชการ ซึ่งให้การดูแลรักษาข้าราชการและครอบครัว ที่ได้รับเงินเดือนน้อย รัฐบาลจึงให้การดูแลรักษาเป็นแรงจูงใจให้คนเข้ามารับราชการ ต่อมาได้เกิดระบบประกันสังคมในปีพ.ศ.2533 ที่จัดให้มีสวัสดิการด้านต่างๆแก่ลูกจ้างเอกชน รวมการดูแลรักษาพยาบาลด้วย และต่อมาในยุครัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ออกพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 โดยกำหนดให้ประชาชน 47 ล้านคน มีสิทธิในการได้รับการดูแลรักษาสุขภาพจากระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติโดยแจกบัตรทอง ทำให้เรียกกันว่า “30 บาทรักษาทุกโรค” ซึ่งระบบต่างๆเหล่านี้มีการจ่ายค่าดูแลรักษาสุขภาพแตกต่างกันไป ทำให้เกิดคำถามถึงความเสมอภาค เท่าเทียมและเป็นธรรม แก่ประชาชน ซึ่งจะเห็นได้ว่าประเทศที่เป็นประชาธิปไตยต้นแบบเช่นสหรัฐอเมริกา ก็มีความแตกต่างในการกำหนด “มาตรฐานการประกันสุขภาพ”ดังได้กล่าวมาแล้ว

  อย่างไรก็ตาม การเกิดระบบหลักประกันสุขภาพในประเทศไทยนั้น เมื่อเริ่มต้น ได้กำหนดให้ประชาชนมีส่วนร่วมจ่ายในการไปรับการรักษาสุขภาพครั้งละ 30 บาท ยกเว้นผู้ป่วยที่ยากจน ประมาณ 20ล้านคน ไม่ต้องจ่ายเงิน 30 บาท ต่อมาเมื่อเกิดการปฏิวัติในปีพ.ศ. 2549 รัฐบาลที่เกิดจากการปฏิวัติได้ยกเลิกการจ่ายเงินครั้งละ 30 บาท ซึ่งระบบบัตรทองในประเทศไทยนี้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้นำไปโฆษณาว่า ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการจัดให้มี การประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Coverage) และประกาศเป็นความสำเร็จว่า ประเทศชาติที่ไม่รวยก็สามารถทำให้มีการประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้ โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติอ้างว่า ประชาชนไทยถึง 98% มีการประกันสุขภาพโดย 3 กองทุนดังกล่าวข้างบน และสำรวจพบว่าประชาชนมีความพอใจในระบบบัตรทองมาก นับว่าเป็นความสำเร็จอย่างสูงของประเทศไทย

  แต่พญ.เชิดชู ฯ วิทยากรได้กล่าวว่า การวัด “ความพึงพอใจในการได้รับบริการดูแลรักษา”เหมือนอย่างที่สปสช.ทำการสำรวจนั้น ไม่ใช่ดัชนีชี้วัดความสำเร็จของระบบหลักประกันสุขภาพ การวัดความสำเร็จของระบบริการดูแลรักษาสุขภาพ ต้องวัดที่”คุณภาพมาตรฐานของระบบการดูแลรักษาสุขภาพและมาตรฐานการรักษาสุขภาพ”

   ซึ่งการวัดคุณภาพมาตรฐานของระบบการบริการดูแลรักษาสุขภาพ (Quality of Healthcare) หรือที่เรียกว่าระบบริการในด้านการแพทย์และสาธารณสุขนั้นควรวัดอะไรบ้าง?

   ในสหรัฐอเมริกาได้กำหนดว่ามาตรฐานการบริการดูแลรักษาสุขภาพนั้น ควรวัดในองค์ประกอบต่างๆดังนี้
1.   การเข้าถึงบริการสุขภาพ (Healthcare access)
2.   Quality คุณภาพ
3.   Cost and efficiency ราคาและประสิทธิภาพของการบริการ

ส่วนในสหภาพยุโรป ตามที่ “Europe for patient project” กำหนดการวัดคุณภาพการบริการดูแลสุขภาพเพื่อประชาชน โดยรวมองค์ประกอบต่างๆดังนี้คือ
1.   Effectiveness  การรักษานั้นได้ผลดี หายป่วย มีอาการดีขึ้น และมีสุขภาพหรือคุณภาพชีวิตดีขึ้นหลังจากการรักษา
2.   efficiency มีผลคุ้มค่า
3.   access ประชาชนเข้าถึงบริการที่จำเป็น
4.   safety ความปลอดภัย
5.    equity ความเป็นธรรม ซึ่งในประเทศไทยเอามาแปลความหมายว่าเป็น equality    คือแปลว่าต้องมีความเท่าเทียม ซึ่งไม่ใช่ความหมายที่ถูกต้อง เนื่องจากตามความหมายที่แท้จริงนั้น equity   แปลว่าต้องใช้ judgement ให้เหมาะสมตามความจำเป็น เช่นคนจนไม่ต้องจ่าย คนมีเงินต้องร่วมจ่าย เพื่อให้ระบบมีเงินเหมาะสมกับการทำงาน
6.   appropriateness ความถูกต้องเหมาะสมของการรักษา เช่น การสั่งยาตามข้อบ่งชี้ หรือการรักษาตามหลักฐานเชิงประจักษ์ (evidence-based medicine)
7.   timeliness ได้รับการรักษาในเวลาที่ป่วย ไม่ต้องรอเป็นเดือนจึงจะได้รับการรักษา/ผ่าตัด
8.   acceptability ได้รับการยอมรับจากผู้ป่วย
9.   responsiveness ตอบสนองต่อความเจ็บป่วย กล่าวคือให้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง หรือpatient-centeredness คือให้การรักษาตามความจำเป็นของการเจ็บป่วย)
10.    satisfaction ผู้ป่วยได้รับความพึงพอใจต่อผลการรักษา
11.   health improvement ผู้ป่วยมีสภาวะสุขภาพดีขึ้น
12.    continuity  ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาต่อเนื่อง
13.   availability มีการมีบริการที่เหมาะสม
14.   prevention/early detection มีการป้องกันและตรวจคัดกรองก่อนเจ็บป่วย
...

14


แพทย์รพ.ทั่วประเทศ แต่งชุดดำค้านร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ที่จะนำเข้าบรรจุในวาระ1เสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภา3ส.ค.

นอกจากแพทย์หลายโรง พยาบาลออกมาคัดค้านแล้ว ยังเรียกร้องให้มีการถอดร่างพรบ.ฉบับนี้ออกมาก่อน เพื่อนำมาพิจารณาใหม่ เพราะจะทำให้ทั้งแพทย์ และผู้ป่วยที่มารับบริการได้รับความเสียหาย

หมอรพ.ราชบุรีค้านร่าง เหตุเกิดความเสียหายทั้งแพทย์ และคนป่วย

นพ.ยงยุทธ กิตติโชติกุล แพทย์เชี่ยวชาญด้าน หู คอเกิดความเสียหายผู้บริการและจมูก และเป็นหัวหน้ากลุ่มพัฒนาระบบบริหารสุขภาพของโรงพยาบาล จ.ราชบุรี กล่าวถึง ร่างพรบ.ฉบับนี้ว่า ถ้าปล่อยให้ให้ร่าง พรบ.ฉบับนี้ออกมาจะเกิดความเสียหายทั้งกับผู้ให้บริการและผู้มารับบริการ และหากปล่อยให้ผ่านร่างพรบ.ฉบับนี้ไปโดยที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ก็จะยิ่งทำให้การแก้ไขนั้นยุ่งยากมากกว่า ทางแพทย์และพยาบาลจึงได้ออกมาแต่งชุดดำเพื่อคัดค้าน ไม่ใช่ไม่เห็นด้วยกับร่างพรบ.ฉบับนี้ แต่มีข้อความในบางตอนที่จะต้องมีการแก้ไข เพื่อให้สอดคล้องกับการทำงานของผู้ให้บริการและผู้มารับบริการ

นพ.สมบัติ หัสชลีฬหา กุมารแพทย์ของโรงพยาบาลราชบุรี กล่าวว่า ที่ผ่านมาปัญหาการทำงานของแพทย์ในโรงพยาบาลนั้นก็มีมากพออยู่แล้ว และความสัมพันธ์ระหว่างคนไข้กับหมอนั้นแย่ลง และพรบ.ฉบับนี้ก็ไม่ได้ช่วยอะไรเลย ยิ่งจะมีมีปัญหามากกว่าเดิมอีก และตอนนี้หมอทุกคนก็ระวังตัวกันสุดๆ คนไข้ ก็จ้องแต่ว่าเมื่อไหร่หมอพลาด ก็จะมีช่องให้ฟ้องร้องและจะมีผลประโยชน์เข้ามา

"โดยสรุปแล้วจะไม่ได้สร้างความสัมพันธ์ระหว่างหมอกับคนไข้ตามที่เขียนไว้ในร่างพรบ.เลย"

พญ.รจนา ภาสกรนิรินทร์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ กล่าวว่าหากปล่อยให้ ร่างพรบ.ฉบับนี้ออกมานั้นในอนาคตคาดว่าจะต้องขาดแคลนแพทย์ เนื่องด้วยงานหนักและเงินเดือน ถ้าเทียบกับผู้ที่จบมาในระดับเดียวกันนั้นเงินเดือนน้อยกว่า แต่งานเยอะกว่ามีความรับผิดชอบมากกว่า ต่อไปก็คงจะไม่มีคนเรียนแพทย์ ซึ่งพรบ.ที่จะออกมานั้นควรมีการปรับปรุงให้ความเป็นธรรมกับวิชาชีพและ บุคคลากรทางด้านสาธารณสุขให้มากกว่านี้

นพ.เกรียงจิต มะระยงค์ แพทย์ด้านจักษุ กล่าวว่า ทุกวันนี้คนไข้จำนวนมากตรวจไม่ทัน หมอต้องใช้เวลากับคนไข้น้อยลง ซึ่งคงจะไม่มีมาตราฐานตามที่กฎหมายกำหนด และเมื่อตรวจเร็ว ก็จะเกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้จากบางส่วน ในส่วนของ พรบ.ฉบับนี้ข้อดีก็คือ ถ้าเกิดความเสียหายขึ้นคนไข้จะได้รับการชดใช้เลยโดยไม่มีการสอบสวนใดๆทั้ง สิ้น แต่ก็มีข้อเสีย ถ้าหมอระวังตัวตลอดก็จะเกิดความรู้สึกห่างเหินกับคนไข้ ซึ่งจะกลายเป็นผู้ตรวจและผู้เข้ารับบริการเมื่อเกิดความผิดพลาดและมีการฟ้อง ร้องกันเงินคนไข้ก็ได้ไปแล้ว แต่ยังมีเรื่องของคดีอาญาเข้ามาอีกทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคนไข้กับหมอห่าง กันออกไป

แพทย์ พยาบาล รพ.อุดรฯค้าน เสนอให้แก้ร่างบางมาตรา

นพ.ณรงค์ ธาดาเดช ตัวแทนเครือข่ายผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุข โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี พญ.ฤทัย วรรธนวินิจ ประธานองค์กรแพทย์ และตัวแทนเครือข่ายผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุข โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี พร้อมด้วยบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลประกอบด้วย แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล จำนวนกว่า 100 คน ร่วมกันแต่งชุดดำ รวมตัวกันที่หน้าอาคารอำนวยการ พร้อมถือป้ายผ้าคัดค้านร่าง พ.ร.บ.กฏหมายคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข

นพ.ณรงค์ กล่าวว่า การรวมตัวของคณะแพทย์และพยาบาล พร้อมเจ้าหน้าที่ ได้ใช้เวลานอกราชการที่เป็นเวลาพักเที่ยง ที่แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ ไม่ได้ทำการรักษาคนไข้ เพราะทราบดีถึงความเดือดร้อน หากใช้เวลางานมารวมตัวกัน ซึ่งการรวมตัวครั้งนี้ ไม่ใช่เป็นการคัดค้านไม่เห็นด้วยกับพรบ.ดังกล่าว แต่เราแพทย์ พยาบาล ทั่วประเทศ ต้องการให้มีการแก้ไขในบางมาตราฯ เท่านั้น เพื่อให้การบริการของแพทย์และพยาบาลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

จี้ถอนร่างออกจากสภาทบทวนเพิ่ม 3 ประเด็น

พญ.ฤทัย อ่านแถลงการณ์เจตนารมณ์ของบุคลากรทางการแพทย์ว่า ขอคัดค้านและแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวและเห็นควรให้ถอนร่างกฏหมายฉบับนี้ออกจากสภาและให้มีการทบทวน เพิ่มเติม จำนวน 3 ประเด็น ประกอบด้วยมาตรา 7 มาตรา6(1)(2)(3) มาตรา 21 และมาตรา 34   เนื้อหาของแถลงการณ์ส่วนหนึ่งต้องการให้มีการตั้งคณะกรรมการดูแลกองทุนและ คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พร้อมพิจารณาเนื้อหาการกระทำ เพื่อประกอบการจ่ายเงินชดเชย

เนื้อหาแถลงการณ์ยังได้กล่าวถึง การคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข หมวด 4 มาตรา 34 สถานพยาบาลต้องรับภาระจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนส่วนหนึ่ง ซึ่งในสถานการณ์ปัจจุบัน สถานพยาบาลของรัฐได้รับงบประมาณที่จำกัดอยู่แล้ว สถานพยาบาลหลายแห่งของรัฐมีงบประมาณขาดดุลไม่เพียงพอที่จะจัดซื้อยา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ เมื่อต้องส่งเงินเข้าสมทบกองทุนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ย่อมทำให้ลดค่าใช้จ่ายโดยการตัดงบประมาณค่ายา ค่าเวชภัณฑ์รวมถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการรักษา ประชาชนที่มารับการรักษาต่อเนื่องก็จะได้รับการบริการที่ด้อยลงหรือไม่ได้ มาตรฐาน

สำหรับประเด็นสุดท้ายในแถลงการณ์ระบุถึงการคุ้มครองผู้เสียหาย หมวด 1 มาตรา 6 ว่า เป็นมาตราที่บอกว่าไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหาย หากต้องชดเชยความเสียหาย ผู้รับบริการต้องไปฟ้องร้องทางอาญาว่า เจ้าหน้าที่มีความผิดจริงหรือไม่เข้าข่ายตามมาตรา 6 และเมื่อบุคลากรทางสาธารณสุขได้รับคำตัดสินว่ามีความผิด

จึงจะกลับมาชดเชยความเสียหายได้ ส่งผลทำให้บุคลากรทางสาธารณสุขอาจต้องถูกพักใบอนุญาตประกอบวิชาชีพหรือ ถูกออกจากราชการได้ ซึ่งจะส่งผลถึงความหวาดกลัวว่าจะเกิดความเสี่ยงหรือรักษาผิดมาตรฐาน ไม่กล้าให้การรักษาผู้ป่วย เช่น โรงพยาบาลชุมชน ก็จะส่งผู้ป่วยไปที่โรงพยาบาลจังหวัด โรงพยาบาลจังหวัดก็จะส่งไปที่ศูนย์หรือศูนย์ส่งต่อโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย ทำให้ผู้ป่วยเสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางและต้องรอคิวรับบริการนานขึ้น ในประเด็นสุดท้ายนี้ที่ทางคณะแพทย์และพยาบาลมีความเป็นห่วงและต้องการให้มี การแก้ไขมากที่สุด

แพทย์รพ.ยะลาต้าน เหตุร่างบิดเบือนบุคลากรแพทย์

นพ.ประชา ชยาภัม รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์โรงพยาบาลศูนย์ยะลา พร้อมด้วยคณะแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลจำนวนกว่า 30 คน ได้รวมตัวกันถือป้ายผ้า และป้ายเขียนข้อความเพื่อแสดงออกถึงการคัดค้าน ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ที่ผ่านมติของคณะรัฐมนตรีแล้ว เนื่องจากว่า พรบ.ดังกล่าวเป็นการเบียดเบียนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์

นพ.ประชา ชยาภัม รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์โรงพยาบาลศูนย์ยะลา กล่าวว่า ในส่วนของบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลศูนย์ยะลาทุกคน ขอแสดงความคัดค้านพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข โดยจริงๆแล้วชื่อนี้เป็นชื่อที่สวยหรู แต่จะขอเปลี่ยนเป็น"พรบ.เบียดเบียน บุคลากรทางการแพทย์" มากกว่า

ทั้งนี้ คำพูดที่สวยหรูที่หลุดออกมาจากผู้ที่ร่าง พรบ.ฉบับนี้ ที่ชี้ให้เห็นว่าประชาชน หรือ ผู้ป่วย จะได้รับการเยียวยา แต่ข้อเท็จจริง แพทย์ และพยาบาลทุกคนก็อยู่ข้างประชาชน อยู่ข้างผู้ป่วยอยู่แล้ว ผู้ที่ร่างพรบ.ฉบับนี้ แอบอ้างความเป็นพวกเดียวกับผู้ป่วยส่วนใหญ่ และประชาชนทั่วไป

โดยทราบว่า เคยไปฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากกรณีความพิการของบุตรตัวเองถึง 50 ล้าน ซึ่งเชื่อว่าผู้ที่ร่าง พรบ.นี้ทำเพื่อแก้แค้นในเรื่องส่วนตัวมากกว่า ใช้จุดยืนที่มีความรุนแรง เช่นจะไปนอนขวางกลางสภาพ หากพรบ.นี้ไม่ผ่าน

"พรบ.ฉบับนี้ถ้าออกมา ก็จะทำให้เกิดความแตกแยกระหว่างบุคลากรทางการแพทย์ กับผู้ป่วย รวมทั้งแพทย์ที่เคยปฎิบัติหน้าที่อย่างซื่อสัตย์สุจริต ก็จะต้องหันหลังกลับ เพราะมีกรณีตัวอย่างที่ต้องติดคุกมาแล้ว"นพ.ประชา กล่าว

นพ.ประชา กล่าวอีกว่า หลังจากนั้นก็จะมีการตั้งกองทุน โดยเรียกเก็บภาษีจากประชาชนและเงินอุดหนุนจากสถานบริการ ในระยะยาว พรบ.เบียดเบียนบุคลากรทางสาธารณสุข ฉบับนี้ จะทำให้ แพทย์ทั้งหลายออกมาป้องกันตัวเอง ซึ่งจะมีผลเสียในระยะยาว เช่น ผลักภาระให้ผู้อื่น เช่น แพทย์ท่านหนึ่งสามารถให้บริการรักษาอาการป่วยของคนไข้ได้
แต่เนื่องจาก มีการฟ้องร้องสูง แพทย์ท่านนั้นก็อาจจะผลักภาระไปให้โรงพยาบาลอื่นที่สูงกว่า โดยอ้างเรื่องมาตรฐาน นอกจากนั้น ก็อาจจะมีการวินิจฉัยในสิ่งที่ฟุ่มเฟือย ไม่จำเป็น เพื่ออ้างให้เป็นไปตามมาตรฐาน ทั้งหมดก็จะทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นสูง ทรัพยากรขาดแคลน และไม่ได้รับการรักษาบริการอย่างถ้วยหน้า รวมทั้งจะมีการฟ้องร้องสูงเช่นที่ อเมริกา

รพ.พุทธชินราชพิษณุโลกค้านร่างไม่สอดคล้องเจตนารมณ์

บุคลากร แพทย์พยาบาล ตลอดจนเจ้าหน้าที่ ของโรงพยาบาลร่วมกันแต่งกายด้วยชุดดำเพื่อร่วมกันคัดค้านพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ เสียจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ... เพื่อความเป็นธรรมกับทุกภาคส่วน ที่คณะรัฐมนตรีจะนำเข้าที่ประชุมสภาผู้แทนราษฏร ในวาระที่ 1 วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งทางสมาพันธ์แพทย์ โรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไป ต้องการแสดงออกเพื่อแสดงเจตจำนงค์ของประชาคมสาธารณสุข ให้นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ได้ทราบ

เนื่องจากถึงแม้ว่าเจตนารมณ์ของพ.ร.บ.จะเพื่อเสริมสร้างสัมพันธ์ที่ดี ระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีแต่ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ อาจส่งผลกระทบบริการสาธารณสุขและประชาชนส่วนใหญ่ได้ ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลจึงต้องการแสดงเจตนารมณ์ที่สอดคล้อง กับประชาคมสาธารณสุขส่วนใหญ่ 80 %ที่ต้องการให้ถอน ร่าง พ.ร.บ.นี้ออกจากสภาถึงแม้ว่าทางรัฐมนตรีจะรับปากว่าจะถอนแล้วก็ตาม

แพทย์-พยาบาลรพ.อุตรดิตถ์ค้านร่าง ติดป้ายผ้าทั่วสถานบริการของรัฐ

นพ.ดิเรก งานวาสีนนท์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ฝ่ายการแพทย์ ระบุว่า ผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขของจังหวัดอุตรดิตถ์คัดค้านและให้ มีการถอนร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวออกจากที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวาระที่ 1 เพราะเนื้อหาส่งผลกระทบต่อระบบบริการสาธารณสุขและประชาชนผู้รับบริการในระยะ ยาว ทำให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติงานและบั่นทอนกำลังใจของผู้ปฏิบัติงาน รัฐบาลต้องมีการทบทวนพิจารณาแก้ไขเป็นการด่วน

นพ.ดิเรก กล่าวว่า การที่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขของจังหวัดอุตรดิตถ์ออกมาคัดค้าน พรบ.ดังกล่าว ใช่ว่าไม่รักหรือห่วงใยประชาชน หากแต่ต้องการให้รัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขพิจารณาแก้ไขรายละเอียดในแต่ ละมาตราและบทเฉพาะกาลดังกล่าว ที่มีเนื้อหาขัดแย้งกับเจาตนารมณ์ของร่าง พรบ.โดยสิ้นเชิง

โรงพยาบาลศูนย์อุตรดิตถ์ โรงพยาบาลอำเภอ และสถานบริการสาธารณสุขทั้ง 9 อำเภอของจังหวัดไม่เพียงจะมีการแต่งชุดดำเท่านั้น ยังมีการขึ้นป้ายที่มีข้อความคัดค้าน พรบ.ดังกล่าวอีกด้วย

แพทย์-พยาบาลรพ.สุโขทัย ค้านร่าง เหตุความสัมพันธ์แพทย์ กับผู้ป่วยสูญเสีย

คณะ แพทย์และพยาบาลโรงพยาบาลสุโขทัยกว่า 100 คน ร่วมชุมนุมอย่างสงบภายในโรงพยาบาลสุโขทัย ต.บ้านกล้วย อ.เมือง จ.สุโขทัย โดยคณะแพทย์และบุคลากรประจำโรงพยาบาลแต่งกายในชุดสีดำส่วนพยาบาลแต่งกายชุด พยาบาลสีขาวสวมทับด้วยเสื้อแจ๊คเก็ตสีดำพร้อมออกแถลงการณ์คัดค้านความพยายาม ในการออกพรบ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข

แถลงการณ์ดังกล่าวมีใจความสำคัญว่า พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ฉบับที่ผู้เสียหายเป็นผู้ร่างผ่านมติ ครม.แล้ว แต่อยู่ระหว่างการนำเข้าสู่สภาผู้แทนราษฏรในอีกไม่นาน สาเหตุที่คณะแพทย์พยาบาล รพ.สุโขทัย ออกมาคัดค้าน เนื่องจากสาระสำคัญของพรบ.ฉบับนี้ คือ ผู้ป่วยที่เข้ารับการบริการจากสถานพยาบาลจะร้องสถานพยาบาล หรือผู้ให้บริการในกรณีที่คิดว่าตนเองได้รับผลเสียต่อร่างกายจากการรักษา พยาบาล ซึ่งนอกจากจะมีการร้องขอเงินทุนชดเชยจากสถานพยาบาลและยังอาจร้องทางอาญาเอา ผิดผู้ให้บริการได้ และคณะกรรมการที่ตัดสินถูกผิดเรื่องของการร้องนั้น มีคณะกรรมการ 21 คน ตัดสินโดยใช้เสียงข้างมากและไม่มีบุคคลในสาขาวิชาชีพเป็นคณะกรรมการ

ดังนั้นจะทำให้การตัดสินนั้น ๆ อาจไม่มีหลักอ้างอิงตามหลักวิชาการ อีกทั้งทำให้สูญเสียเงินของสถานบริการและไม่ยุติธรรมสำหรับผู้ให้บริการ เป็นการบั่นทอนขวัญกำลังใจของผู้ให้บริการ อีกทั้งเป็นการทำให้สัมพันธภาพอันดีของผู้ให้บริการและผู้ป่วยสูญเสียไป คณะแพทย์และพยาบาลสุโขทัยจึงขอออกมาคัดค้าน พรบ.ฉบับดังกล่าว

แพทย์รพ.สงขลาประท้วงรัฐบาล วางพวงหรีดหน้าเสาธงโรงพยาบาล

นพ. เฉลิมพงษ์ สุคนธผล รองผอ.ฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลสงขลา กล่าวว่า เพื่อเป็นการแสดงจุดยืนต่อการแก้ไขกฎหมายฉบับดังกล่าว ซึ่งหากผ่านการพิจารณาของสภาฯ และมีผลบังคับใช้จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่วงการแพทย์และสาธารณ สุขอย่างมหาศาล เพื่อแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับร่างพ.ร.บ. ดังกล่าว ทางแพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่ จึงได้ร่วมกันแต่งชุดดำเพื่อคัดค้าน"พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับ บริการสาธารณสุข" และวางพวงหรีดที่บริเวณเสาธงหน้าโรงพยาบาลสงขลาด้วย

แพทย์รพ.พระนั่งเกล้าจ.นนทบุรี แถลง5ประเด็นไม่รับร่าง

นพ. โชดศักดิ์ เจนพานิชย์ กรรมการแพทยสภา นายแพทย์ เจมวิทย์ พิรัตน์ นายแพทย์ ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ พร้อมคณะแพทย์พยาบาลกว่า 20 คน ได้ร่วมตัวกันแต่งชุดดำ คัดค้านร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ...โดยนายแพทย์เจมวิทย์ ได้นำน้ำยาฟอร์มาลีนมาเทใส่ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขที่บรรจุอยู่ในโหล

จากนั้นนพ.เจิมวิทย์ พิรัตน์ อ่านแถลงการณ์ไม่รับ ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขคือ 1. เครือข่ายผู้ให้บริการสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี เห็นด้วยกับแนวคิดในการสร้างความสมานฉันท์ระหว่างผู้ให้-ผู้รับบริการสาธารณ สุข รัฐต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการเร่งสร้างจิตสำนึกและส่งเสริมให้ประชาชนทุก หมู่เหล่ารู้จักหน้าที่ของตนและเคราพสิทธิของผู้อื่น

2.หากรัฐประสงค์ใช้ช่องทางของกฎหมายในการชดเชยเยียวยาให้แก่ผู้ได้รับผล อันไม่พึงประสงค์จากการรักษาพยาบาลสามารถกระทำได้ผ่านทางกฎหมายหลายฉบับที่ บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน

3.ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขมีบท บัญญัติเกี่ยวกับการให้อำนาจคณะกรรมการในการกำหนดระเบียบการรับจ่ายเงิน เงินและทรัพย์สินของกองทุนนี้ไม่ต้องส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน มีโอกาสให้คณะบุคคลบุคคลทุจริตหรือใช้ช่องโหว่ของกฎหมายกระทำการใดๆอันก่อ ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองหรือพวกพ้องหรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน

4.ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขมีบท บัญญัติเงื่อนไขการห้ามจ่ายเงิน ให้แก่ผู้ที่ได้รับผลอันไม่พึงประสงค์จากการรักษาพยาบาลในหลายกรณีและไม่ ระงับการฟ้องผู้ให้บริการสาธารณสุขหลังจากผู้ที่ได้รับผลอันไม่พึงประสงค์ จากการรักษาพยาบาลรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ซึ่งขัดกับหลักการและเหตุผลของร่างกฎหมายฉบับนี้

5.เครือข่ายผู้ให้บริการสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรีขอให้รัฐบาลระงับการนำ ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขนี้เข้าสู่การ พิจารณาของรัฐสภา

นพ.ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ กล่าวว่า วันนี้เราจะดองร่าง พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขและในวันพรุ่งนี้ 30 กรกฎาคม เวลา 09.00 น.เราจะนำร่าง พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขไปเผาที่หน้า กระทรวงสาธารณสุข เพื่อเรียกร้องให้ถอนร่างดังกล่าวออกมาก่อน

แพทย์-พยาบาล รพ.ลำปางค้านร่าง เพราะเนื้อหาและสาระขัดแย้งกัน

หน้าพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตสาริเบศ พระบรมราชนกและสมเด็จพระศรีนครินทร์ทราบบรมราชชนนี โรงพยาบาลศูนย์ลำปาง คณะแพทย์ของโรงพยาบาลศูนย์ลำปาง  ประมาณ 50 คน พากันถือป้าย แต่งชุดดำ และชุดพยาบาล พร้อมติดริบบิ้นสีดำ ที่แขน ออกมาชุมนุมเพื่อแถลงจุดยืน เพื่อค้านร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข

นพ.นิพนธ์ ปันทะรส ประธานองค์กรแพทย์จังหวัดลำปาง อ่านแถลงการณ์ผ่านเครื่องขยายเสียง เพื่อว่า คณะแพทย์ และพยาบาลของจังหวัดลำปาง ขอแสดงจุดยืน ค้านร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข แม้เจตนารมณ์ของ พรบ.ดังกล่าว จะเป็นสิ่งดี แต่สาระและเนื้อหา ขัดแย้งกัน ซึ่งจะกลับทำลายสัมพันธ์ภาพที่ดี ระหว่างผู้ให้บริการ และผู้รับบริการ ที่มีมาอย่างยาวนาน ที่สำคัญยังกระทบต่อระบบบริการสาธารณสุขโดยรวม ซึ่งพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข จะเป็นการซ้ำเติมภาวะขาดทุนแก่โรงพยาบาลของรัฐ ซึ่งปัจจุบันเกิดภาวะขาดทุนแล้วกว่า 500 แห่ง และประชาชนผู้รับบริการจากโรงพยาบาลเอกชน ก็จะแบกรับภาระค่ารักษาพยาบาลที่สูงขึ้น โดยที่ไม่จำเป็น สำหรับคลินิก ร้านขายยาขนาดเล็ก ที่บริการประชาชน อาจจะต้องปิดตัวลง เพราะถูกบังคับให้เข้าร่วมจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน ทั้ง ๆ ที่ต้องเสียภาษีให้รัฐอยู่แล้ว

แนะหาทางออกร่วมกันแก้ขัดแย้ง

พล.ต.ท. จงเจตน์   อาวเจนพงษ์  นายแพทย์ใหญ่ โรงพยาบาลตำรวจ   ในฐานะนายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย    กล่าวว่าจุดยืนของแพทยสมาคม ที่มีการประชุมในวันนี้(29ก.ค.) โดยทางแพทยสมาคมไม่ได้คัดค้านหรือไม่ได้ เห็นด้วยกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด แต่มีข้อคิดเห็นเพิ่มเติม เราเห็นด้วยกับทั้งสองฝ่าย  แต่แทนที่จะออกมาประท้วงกันควรที่จะหันหน้าเข้าหากันเพื่อหาแนวทางออกร่วม กัน ไม่ใช่เหมือนตอนนี้ที่ดูเหมือนมีฝ่ายหนึ่งชนะฝ่ายหนึ่งแพ้


โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์  29 กรกฎาคม 2553

15
คุกดังในโลกนี้มีมากมาย ในประวัติศาสตร์คงจะไม่มีคุกไหนดังเท่า “คุกบาสทีล ( Bastille )” ในกรุงปารีส ซึ่งเป็นที่คุมขังนักโทษการเมืองเป็นจำนวนมาก โดยผู้คุมจะทำการทารุณนักโทษอย่างโหดร้ายรุนแรง

ในที่สุดเมื่อมีการปฎิวัติใหญ่ในฝรั่งเศสปี ค.ศ.1789 คุกดังกล่าวจึงถูกคณะปฎิวัติทุบทำลายทันที

มาถึงยุคนี้ คงไม่มีคุกไหนกระฉ่อนชื่อเท่า “คุกกวนตานาโม่” ของสหรัฐที่สร้างอยู่ในดินแดนคิวบา โดยเป็นคุกที่สหรัฐตั้งขึ้นมา “ขังลืม” จอมก่อการร้ายทั้งหลาย ซึ่ง ซี ไอ เอ.ไปลักพาตัวมาจากทั่วโลก

คุกกวนตานาโม่นั้น ตั้งอยู่ในจังหวัดกวนตานาโม ซึ่งคิวบาได้ทำสัญญาทาสกับสหรัฐในช่วงทศวรรษ 1900 ให้สหรัฐใช้ที่ดินจังหวัดนี้ตามใจชอบ โดยสหรัฐฝ่ายเดียวเท่านั้นที่จะบอกเลิกสัญญาได้ 1001 ผ่านไปร้อยปีแล้ว สหรัฐยังไม่เลิกสัญญาและคงจะไม่คิดเลิกตลอดไป จังหวัดกวนตานาโมวันนี้จึงเป็นที่ตั้งกองทัพเรือสหรัฐ เป็นที่ตั้งคุกนรกและตั้งสถานที่สำคัญอื่น ๆ

สำหรับคุกในเมืองไทย คุกที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาอย่างยาวไกลขังนักโทษมาอย่างยาวนานต้องยกให้ “คุกบางขวาง” เพราะนักโทษคดีอุกฉกรรจ์ทั้งหลายต่างถูกนำตัวมาขังรวมอยู่ในคุกนี้ จนมีผู้ให้ฉายาคุกบางขวางไว้ว่า “ตักศิลาของเหล่าอาชญากร” ใครที่ยังไม่รอบรู้ในการก่ออาชญากรรม ก็จะมีเกจิอาจารย์ในคุกบางขวางประสาทวิชามารเหล่านั้นให้จนครบถ้วน

ในวันนี้ คุกบางขวางโด่งดังไม่เท่าอดีต เพราะศิษย์เก่าจากคุกนี้ไม่ได้โชว์ผลงานจนทำให้คนไทยตกตะลึง

บัดนี้ ราชทัณฑ์ได้สร้าง “ซูเปอร์สตาร์หน้าใหม่” ได้แก่ “คุกเขาบิน” ที่จังหวัดราชบุรี มาทาบรัศมีบางขวาง เพราะจะเป็นคุกที่รวมเอา “เซียนเหยียบเมฆในการค้ายาเสพติด” มาชุมนุมไว้ที่นี่โดยทางราชทัณฑ์อ้างว่าจะได้ “ควบคุม” ไม่ให้มีการ “ค้ายา” ที่สั่งการจากในคุกอีกต่อไป

แต่ก็มีผู้เห็นแย้ง เพราะการรวมเซียนค้ายาเสพติดที่มีวิทยายุทธระดับ “กระบี่ป้ายทอง” มาตกคลักอยู่ใน “คุกเขาบิน” ที่เดียวเช่นนี้ ถ้าควบคุมไม่อยู่ คุกเขาบินจะกลายเป็นศูนย์กลางค้ายาเสพติดที่ยิ่งใหญ่ของโลกในอนาคต

ลงขึ้นชื่อว่า “เซียน” แล้ว เมื่อถูกสะกัดกั้นทางบกทางน้ำและทางอากาศให้ค้ายาเสพติดไม่ได้ “เซียน” ก็จะมุดดินลงไปค้า
ไม่เชื่อก็คอยติดตามดูว่า เงินของเซียนจ้างฝีโม้แป้งได้ไหม

กมลศักดิ์ ตั้งธรรมนิยม
แนวหน้า  2/2/2012

หน้า: [1] 2