แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - pradit

หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 17
76
หลักการและเหตุผล
   เนื่องจากปัจจุบันการดำเนินงานบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขภายใต้ พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มีภาระงานที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก มีจำนวนประชาชนไปใช้บริการเพิ่มขึ้นทุกปี ในขณะที่มีบุคลากรไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน ขาดแคลนงบค่ายา/เครื่องมือที่ใช้ในการบริการประชาชน ทำให้ประชาชนเสี่ยงอันตรายในการไปรับการตรวจรักษาในโรงพยาบาล  และมีการร้องเรียนการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์มากขึ้น  ประกอบกับยังมีการร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. .... ซึ่งมีผู้ร่างทั้งฝ่ายกระทรวงสาธารณสุข สส. และประชาชน รวมทั้งสิ้น 7 ฉบับโดยมีวัตถุประสงค์ที่อ้างว่า เพื่อให้ประชาชนได้รับการช่วยเหลือและชดเชย เมื่อได้รับความเสียหาย และจะพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขให้ปลอดภัยรวมทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข
   ในขณะที่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ต้องรับภาระงานเพิ่มขึ้นมาก มีจำนวนผู้ป่วยต้องรับผิดชอบมากขึ้น และต้องทำงานทั้งในเวลาและนอกเวลาราชการ เพื่อให้บริการประชาชนตลอดเวลา 24 ชั่วโมงทุกวัน แต่เงินเดือนและค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการนั้น ไม่สามารถเปรียบเทียบได้ใกล้เคียงกับการทำงานในภาคเอกชนเลย ทำให้แพทย์บางส่วนเลือกที่จะลาออกจากราชการ แต่ทำให้ภาระงานของแพทย์ที่ยังเหลืออยู่มีมากขึ้น ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ขาดขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน เนื่องจากภาระงานมาก แต่ค่าตอบแทนน้อย และยังมีความเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องอีกด้วย ด้วยเหตุนี้คณะอนุกรรมการพิจารณาปรับเปลี่ยนเงินเดือนและค่าตอบแทนแพทย์ของแพทยสภา จึงเห็นสมควรจัดการประชุมสัมมนาในครั้งนี้
    
วัตถุประสงค์
1.   เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาค่าตอบแทนแพทย์ใน รพศ/รพท
2.   เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาค่าตอบแทนแพทย์ใน รพศ/รพท.และนำข้อสรุปเสนอต่อกระทรวงสาธารณสุขต่อไป
3.   พิจารณาปัญหากฎหมายเกี่ยวกับกระทรวงสาธารณสุข

กำหนดการสัมมนา      วันพุธที่ 6 ตุลาคม 2553  ณ  ห้องประชุม 1 ชั้น 2 (ห้องชัยนาทนเรนทร)             
ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จ. นนทบุรี

ผู้เข้าร่วมสัมมนา
1.   กรรมการและอนุกรรมการแพทยสภา
2.   ประธานองค์กรแพทย์หรือผู้แทน
3.   ประธานองค์กรพยาบาลหรือผู้แทน
4.   บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขอื่นๆ
5.   ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข
งบประมาณ จากแพทยสภา   

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.   ได้ความคิดเห็นและแนวทางในการแก้ไขปัญหาค่าตอบแทนแพทย์ เพื่อให้ประชาชนจะได้รับบริการที่มีคุณภาพที่ดีมีมาตรฐาน และปลอดภัย
2.   ผู้เข้าสัมมนาสามารถนำความรู้เกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายไปทำประชาพิจารณ์ในสถาบันต้นสังกัดทั่วประเทศ
3.   รวบรวมผลการสัมมนาเสนอกระทรวงสาธารณสุขต่อไป

ผู้รับผิดชอบโครงการ   คณะกรรมการแพทยสภา
ผู้เขียนโครงการ/และผู้เสนอโครงการ   คณะอนุกรรมการพิจารณาปรับเปลี่ยนเงินเดือนและค่าตอบแทนแพทย์ในภาคราชการ
ผู้อนุมัติโครงการ   คณะกรรมการแพทยสภา

กำหนดการสัมมนาเรื่อง ปัญหาค่าตอบแทนบุคลากรทางการแพทย์
วันที่ 6 ตุลาคม 2553 ห้องประชุมชัยนาทนเรนทร ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข นนทบุรี
………………………………………………………………………
8.00 - 8.30 น.             -   ลงทะเบียน
8.30 -  9.00 น.        -   พิธีเปิด  โดย นายแพทย์ไพจิตร์  วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
                                  -   กล่าวรายงานโดย นายแพทย์สัมพันธ์  คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา
9.00 - 10.30 น.      -   ปัญหาค่าตอบแทนแพทย์ของ รพศ./รพท.
                       โดย  นายแพทย์ไพจิตร์  วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข


10.30 - 10 .45 น.         -   รับประทานอาหารว่าง


10.45 - 12.00 น.         -   แบ่งกลุ่มวิเคราะห์ปัญหาค่าตอบแทนแพทย์ตามสถานะเงินบำรุงและปัญหาค่าตอบแทนแพทย์
          โดย แพทย์หญิงประชุมพร บูรณ์เจริญ และคณะจากสมาพันธ์ รพศ./ รพท.

                                               
12.00 - 13.00 น.    -  รับประทานอาหารกลางวัน


13.00 - 14.30 น.    -  การรับฟังความเห็นจากผู้เข้าร่วมสัมมนา
                                 
                                  นายแพทย์ธงชัย  ซึงถาวร ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขต 11
                   นายแพทย์จรินทร์  โรจน์บวรวิทยา
                                  แพทย์หญิงอรพรรณ์  เมธาดิลกกุล
                   นายแพทย์ฐาปนวงศ์  ตั้งอุไรวรรณ

                                                           

14.30 – 15.00 น.       -  สรุปแนวทางการแก้ไขปัญหาค่าตอบแทนและปัญหากฎหมายสาธารณสุข


77

.."Well the Prime Minister has had a very difficult time, I am sure.What I say is " Thank God for the Civil Service""

 "ก็ ท่านนายกรัฐมนตรีเพิ่งผ่านเวลาที่ลำบากยากยิ่งมาหยกๆ ข้าพเจ้าเข้าใจ ข้าพเจ้าจึงได้พูดว่า "ขอบคุณพระเจ้า ที่เรายังมีระบบข้าราชการอยู่"" (28 กรกฎาคม 1945)

 คำกล่าวของ George VI กษัตริย์อังกฤษและไอร์แลนด์เหนือ (1895-1952)
...

พระราชบิดาของพระนางเจ้าอลิซาเบธ ปัจจุบันกษัตริย์ของอังกฤษ (1926 ครองราชย์ 1952 ครองราชย์นานที่สุดรองจากในหลวง) มิได้ทรงเตรียมตัวเป็นกษัตริย์ หากความรักบันลือโลกทำให้เชษฐาของพระองค์พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 สละราชสมบัติไปแต่งงานกับซิมป์สันหญิงหม้ายอเมริกัน

 รัชสมัยของพระองค์ประสบความยุ่งยากที่สุดในประวัติศาสตร์ จนอังกฤษเกือบจะย่อยยับในสงครามโลกครั้งที่ 2

 แต่พระองค์ทรงแสดงความเด็ดเดี่ยวจับมือกับนายกรัฐมนตรีของพระองค์ คือ วินซตัน เชิชชิล (1874-1965 นายก 1940-5, 1951-5) ปลุกขวัญกำลังใจคนอังกฤษทั้งชาติให้ลุกขึ้นสู้กับฮิดเลอร์เยอรมันนี จนประสบชัยชนะ

 จอร์จ 6 เป็นศูนย์รวมใจชาวอังกฤษในสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างแท้จริง

 เป็นธรรมดาที่ลึกๆ พระองค์เสียพระทัย ที่นายกรัฐบาลยามสงครามของพระองค์ คือเชิชชิล ต้องพ่ายแพ้เลือกตั้งแก่พรรคแรงงาน นำโดยรองนายกของตนเอง คือแอตลี

 การเลือกตั้งเสรีที่บริสุทธิ์ครั้งนั้น แสดงความลึกซึ้งของคนอังกฤษที่ไม่ยอมเลือกวีรบุรุษสงครามอย่างเชิชชิลกลับมาเป็นนายก เพราะเกรงจะเหลิงอำนาจ จึงพากันเลือกแอตลีอย่างถล่มทลายถึง393 ที่นั่งเกินกว่าเสียงกึ่งหนึ่งถึง 147 ที่นั่ง

 ในวันที่ 26 กรกฎาคม 1945 เแอตลีไปกราบบังคมทูลว่าเขาชนะเลือกตั้ง พระเจ้าจอร์จ ที่ 6 ทรงอ้ำอึ้ง แทนที่จะแสดงความยินดีกลับตรัสว่า"ข้าพเจ้ารู้แล้ว จากวิทยุ"ข่าวหกโมง"" และในสองวันต่อมา ก็ตรัสถึงนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของพระองค์ ดังที่คัดมาข้างต้น

 ผู้เขียนเลือกเล่าเรื่องนี้เพื่อย้ำ 2 อย่าง 1. นักการเมืองโสเภณีโกหกและไว้ใจไม่ได้อย่างที่เรแกน,ออร์เวล และเดอโกลว่า มีมากเป็นพิเศษในเมืองไทย แถมคดโกงคอร์รัปชั่นและขายชาติเข้าไปอีกด้วย และ 2. ชีวิตของชาวอังกฤษต่างกับชาวไทย เพราะเขาไม่ต้องพึ่งนักการเมือง เนื่องจากระบบราชการเข้มแข็งเป็นที่พึ่งของบ้านเมืองและราษฎรได้

 Civil Serviceหรือราชการประจำอังกฤษประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ประจำชำนาญวิชาชีพต่างๆ ที่คนไทยเรียกตามฝรั่งว่า เทคโนแครต ในกระทรวงทบวงกรมหรือหน่วยงานที่ได้รับเงินเดือนจากงบประมาณแผ่นดิน เป็นข้าราชการหรือคนใช้ของพระเจ้าแผ่นดิน(Servant of the Crown) แต่ทำหน้าที่รับใช้ประชาชน

 ข้าราชการต่างกับการเมือง ซึ่งมาแล้วก็ไป เอาแน่ไม่ได้ ข้าราชการมั่นคงอยู่ได้จนเกษียณ มีจารีตและกฎหมายบังคับให้ต้องเป็นกลางในทางการเมือง ไม่ฝักใฝ่รับใช้พรรคการเมือง และไม่ออฟซ็ต์ออกหน้า(Anoymity) กล่าวคือไม่จุ้นจ้าน ตอบโต้อวดโม้ โฆษณาตนเองกับประชาชน ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของรัฐมนตรี

 ข้าราชการระดับสูงของอังกฤษ 170 คนกินเงินเดือนสูงกว่านายกรัฐมนตรี

 ราชการจึงเป็นอาชีพที่มั่นคงมีศักดิ์ศรี ไม่ต้องก้มหัวให้นักการเมือง เพราะแม้แต่นายกรัฐมนตรีก็ไปยุ่งกับเรื่องเลื่อนยศ,ปลด หรือไล่ออก มิได้ นั่นเป็นอำนาจของคณะกรรมการ รัฐมนตรีทำได้อย่างเดียวคือ ย้ายเท่านั้น

 ของเรา ตั้งแต่รัฐบาลพรรคชาติไทยเป็นต้นมา ข้าราชการตกเป็นทาสนักการเมืองทีละนิด จนบัดนี้ถอนตัวไม่ขึ้น เคยเห็นภาพปลัดกระทรวงยอมกราบเท้ารัฐมนตรีที่มาจากอดีตสจ.ผู้รับเหมา

 ศัพท์วิบัติ"ล้วงลูก"เกิดขึ้นยุคบรรหาร แปลว่ารัฐมนตรีล้วงลูกเข้าไปควบคุมการเลื่อนยศปลดย้ายและค้าขายตำแหน่งข้าราชการใหญ่น้อย รวมทั้งการใช้งบประมาณ

 บรรหาร เจ้าวาทะกรรม "เป็นฝ่ายค้านอดอยากปากแห้ง"ได้ชื่อว่า "จอมล้วงลูก คนที่ 1" เขาประกาศยอมแพ้ "จอมล้วงลูกคนที่ 2" คือทักษิณ เร็วๆนี้เขายอมรับ"จอมล้วงลูกคนที่ 3 "คือ เนวิน ว่า เป็นที่สุดแห่งที่สุดของการล้วงลูก

 นักการเมืองสร้างศัพท์การเมืองวิบัติอีกคำหนึ่ง คือ"สมบัติผลัดดันชม" แปลว่า ทีใครก็ทีมัน เมื่อถึงคราวได้อำนาจ ต้องกอบโกยให้เต็มที่เพื่อคืนทุนและตุนกำไร เผื่อเลือกตั้งคราวหน้า โดยใช้ข้าราชการเป็นเครื่องมือ

 บัดนี้ คำดังกล่าวระบาดลงไปสู่การปกครองท้องถิ่นซึ่งมาจากการเลือกตั้งถึง หนึ่งแสนห้าหมื่นคน ตำแหน่งต่างๆตั้งแต่นักการภารโรงถึงราชการระดับต่างๆ แม้นจะมีการสอบเข้าก็ตาม มีอัตราซื้อขายตั้งแต่ 3 หมื่นบาทขึ้นไปถึง 3 แสนบาท เป็นเรื่องธรรมดา

 การจัดซื้อ จัดหาและจ้างเหมาประมูลงาน จะต้องเจอเบี้ยใบ้รายทาง ตั้งแต่เสมียนขึ้นไปจนถึงรัฐมนตรี งบประมาณจากภาษีอากร 100 บาทจะถึงประชาชนสัก 50 บาท ก็ทั้งยาก

 ใครๆก็อยากให้คนของตนคุมกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นผู้ชงงบประมาณมหาศาล

 เรื่องการแต่งตั้งฉาวโฉ่ของมหาดไทยอย่าไปโทษเนวินเลย เขาเล่าเรียนเติบโตมาในวัฒนธรรม "ล้วงลูก" และ "สมบัติผลัดกันชม"

 เราต้องโทษรัฐบาล ที่ไม่ปกป้องข้าราชการดีๆที่มีมาตรฐานและคุณธรรม ปล่อยให้ข้าราชการที่วิ่งเต้นไม่เป็นกลาง มาล้างผลาญบ้านเมือง

 ในหลวงทรงสาปแช่งว่า "โกงแม้แต่เพียงหนึ่งบาท ก็ขอให้มีอันเป็นไป"


 บ้านเมืองจึงมีอันเป็นไปอยู่ทุกวันนี้ เพราะข้าราชการโกงทั้งแผ่นดิน

(แนวหน้า 28/9/2010)

78

(1)วันที่ 24/9/2010
ยุคนี้เป็นยุคที่ข้าราชการประจำถูกปู้ยี่ปู้ยำจากนักการเมืองมากที่สุด ทั้งๆที่รัฐบาลมาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่รัฐบาลเผด็จการที่มาจากการปฏิวัติรัฐประหาร ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นมีให้เห็นเกี่ยวกับการถวายฎีกาของอดีตข้าราชการประจำกระทรวงมหาดไทย เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมานี้ แสดงให้เห็นถึงความอัดอั้นตันใจอย่างถึงที่สุดของข้าราชการประจำเหล่านี้ ที่ทนไม่ได้อีกต่อไปในการก้าวก่ายแทรกแซงการแต่งตั้งโยกย้ายของนักการเมืองที่กำกับดูแลกระทรวงดังกล่าว พึ่งใครไม่ได้ก็ต้องพึ่งพระเจ้าแผ่นดิน

พฤติกรรมของนักการเมืองที่เข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงการทำงานของข้าราชการประจำในรัฐบาลชุดนี้ มิได้เกิดขึ้นเฉพาะกระทรวงมหาดไทยเท่านั้น หากแต่ได้เกิดขึ้นในอีกหลายกระทรวงขณะนี้ โดยเฉพาะกระทรวงที่เป็นแหล่งหาเงินหาทองได้มาก ทั้งจากงบประมาณแผ่นดิน หรือโครงการต่างๆ ที่เสนอขึ้น ข้าราชการประจำในกระทรวงเหล่านี้ จะเป็นข้าราชการประจำที่นักการเมืองชอบเข้าไปใช้อิทธิพลทางการเมืองบีบบังคับให้ต้องทำในสิ่งที่นักการเมืองต้องการอยู่ตลอดเวลา

คำว่า "ข้าราชการ" มีความหมายว่า "ผู้รับใช้ในกิจการของพระราชา" เป็นความหมายที่ละเอียดอ่อนลึกซึ้งในเนื้อหา ตัวของข้าราชการเองก็ย่อมเข้าใจดีว่าการงานที่ตนทำตามหน้าที่นั้นทำเพื่อใคร

แต่สมัยนี้ โดยเฉพาะยุคนี้ ความหมายดังกล่าวได้แปรเปลี่ยนไปจนกลายเป็น "ข้ารัฐบาล" เข้าไปทุกที การแปรเปลี่ยนความหมายดังกล่าวนี้ เกิดจากน้ำมือของนักการเมืองผู้คิดว่าไม่มีใครใหญ่เท่าตน และเกิดจากข้าราชการประจำบางคนด้วยที่ยอมตนรับใช้นักการเมืองเพียงเพื่อความเติบโตในตำแหน่งหน้าที่ที่นักการเมืองนั้นจัดให้

ข้าราชการที่ได้ดิบได้ดีวิธีนี้ ต้องกลายเป็น "ผู้รับใช้ในกิจการของรัฐบาล" ซึ่งสุดแล้วแต่รัฐบาลจะใช้ให้ทำอะไรที่ไม่ถูกต้องชอบธรรมก็ทำไปตามนั้น จะถูกต้องตามความรู้ความสามารถหรือไม่ จะผิดถูกอย่างไรไม่สำคัญ ขอเพียงถูกใจหรือถูกความต้องการของรัฐบาลก็พอ

การเป็นข้าราชการในยุคนี้จึงมีความลำบากและยุ่งยากหลายอย่าง เป็นเรื่องที่น่าเห็นใจเป็นอย่างมาก ระบบคุณธรรมได้กลายมาเป็นระบบอุปถัมภ์แทบจะหมดสิ้น ใครไม่เป็นพวกก็อยู่ไม่ได้ จะถูกกลั่นแกล้งถูกบีบบังคับด้วยวิธีการต่างๆ

 ทุกกระทรวงทบวงกรมปั่นป่วนไปหมด

การแต่งตั้งโยกย้ายสับเปลี่ยนหน้าที่การงานของส่วนราชการต่างๆที่กำลังทำกันอยู่ในเดือนกันยายนนี้ ไม่ว่าจะเป็นพลเรือน ตำรวจ หรือทหารนั้น สมัยก่อนๆไม่ค่อยจะเป็นข่าวชวนตื่นเต้นอะไร เพราะเป็นเรื่องปกติที่ปีหนึ่งก็โยกย้ายแต่งตั้งหรือสับเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่กันทีหนึ่ง แต่สมัยนี้ดูจะเป็นเรื่องตื่นเต้นเป็นข่าวให้พูดถึงแทบทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำแหน่งสำคัญๆ ระดับสูง

ประกอบกับเรื่องการสิ้นสุดของงบประมาณแผ่นดินประจำปี ซึ่งกำลังจะสิ้นสุดลงในเดือนกันยายนนี้ จึงเป็นระยะเวลาที่มีการเคลื่อนไหวกันมาก ทั้งทางด้านบุคคลและแนวทางการบริหารงานของกระทรวงทบวงกรมต่างๆ เพื่อรองรับกับการทำงานตามงบประมาณแผ่นดินใหม่

สมัยก่อนเรื่องดังกล่าวไม่ค่อยจะเป็นข่าวหรือได้รับความสนใจกันมาก ก็เพราะการแต่งตั้งโยกย้ายสมัยนั้นเป็นไปตามระบบคุณธรรมเป็นส่วนใหญ่ แม้จะมีระบบอุปถัมภ์ แทรกอยู่บ้างในบางครั้งบางคราวก็เป็นส่วนน้อยไม่ค่อยเป็นปัญหาเท่าขณะนี้

 แต่สมัยนี้ไม่ค่อยจะเป็นอย่างนั้น

เพราะตำแหน่งหน้าที่สำคัญๆ ที่สามารถให้คุณให้โทษ หรือสามารถอำนวยประโยชน์ให้กับผู้แต่งตั้ง ได้กลายมาเป็นเงื่อนไขสำคัญในการแต่งตั้งโยกย้ายในแต่ละครั้ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเป็นเกราะช่วยคุ้มกันความผิดหรือประพฤติมิชอบของผู้มีอำนาจแต่งตั้ง หรือเพื่อร่วมมือช่วยเหลือผู้แต่งตั้ง ทั้งในการหาผลประโยชน์ต่างๆ ทั้งทางด้านการเมืองและด้านการเงินการทอง

 พฤติกรรมอย่างนี้สมัยนี้มีมากที่สุด

ถ้านักการเมืองผู้มีอำนาจในการแต่งตั้งโยกย้าย เป็นคนมีคุณธรรม ศีลธรรม มีหิริโอตตัปปะ หน้าไม่ด้าน เพราะมีความละอายเป็นคุณสมบัติอยู่ในตัว การแต่งตั้งโยกย้ายสับเปลี่ยนหน้าที่การงานของข้าราชการประจำ ก็จะเป็นไปในทางที่ถูกต้องเหมาะสม ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการงานก็จะตกอยู่กับส่วนรวม

แต่ถ้านักการเมืองผู้มีหน้าที่แต่งตั้งโยกย้ายเป็นคนไม่มีคุณธรรม ศีลธรรม ไร้หิริโอตตัปปะคือหน้าด้าน ไม่ละอายในบาปในการกระทำผิดถืออำนาจบาตรใหญ่ทั้งกลางวันกลางคืน การแต่งตั้งโยกย้ายสับเปลี่ยนหน้าที่ของข้าราชการประจำก็จะเป็นไปในทางเล่นพวกเล่นพ้อง ไม่ว่าพวกพ้องนั้นจะมีความสามารถเหมาะสมกับงานที่ทำหรือไม่

 ญาติโกโหติกาของนักการเมืองผู้มีอำนาจในการแต่งตั้ง จึงบานสะพรั่งแทบทุกวงการหน่วยงานในยุคนี้ อย่างชนิดที่เรียกได้ว่าไม่เคยเห็นมาก่อน

ข้าราชการดีๆ มีความรู้ความสามารถ แต่ไม่มีผู้สนับสนุน ถึงจะเป็นคนซื่อสัตย์สุจริตและเหมาะสมกับหน้าที่การงานเท่าไร โอกาสที่จะได้เติบใหญ่และเจริญก้าวหน้าตามที่ควรจะเป็น จึงเป็นของหายากในยุคนี้

(2)วันที่ 28/9/2010
วันนี้ขอให้ข้อคิดกับข้าราชการประจำทั้งหลายที่ทำงานร่วมกับรัฐบาลชุดนี้ เพราะการทำงานกับนักการเมืองนั้นมีอะไรหลายอย่างที่ต้องระมัดระวัง ไม่เหมือนกับการทำงานในระหว่างข้าราชการด้วยกันเองที่มีระเบียบแบบแผน หรือกฎกติกากำหนดไว้อย่างชัดเจน

 ต้องระลึกอยู่ตลอดเวลาว่า การเป็นข้าราชการประจำนั้นเป็นคนที่มีเกียรติ ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการฝ่ายไหนหรือกระทรวงไหน เพราะเป็นผู้รับใช้แผ่นดินรับใช้ประชาชน ไม่ใช่รับใช้นักการเมือง

 เกียรติยศของตนที่มีอยู่จะเป็นอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของตนเป็นสำคัญ ทำตัวให้มีเกียรติก็มีเกียรติ ทำตัวให้เสียเกียรติก็ไม่มีเกียรติ ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งอะไร

 บทบาทหน้าที่ของแต่ละคนแตกต่างกันตามความรับผิดชอบในตำแหน่งหน้าที่ที่ครองอยู่ แต่ที่เหมือนกันอย่างหนึ่ง ก็คือ เป็นเครื่องมือสำคัญในการทำงานของรัฐบาล ความสำเร็จหรือล้มเหลวในการงานของบ้านเมืองนั้น ลำพังพวกนักการเมือง 35 คน ในคณะรัฐมนตรีไม่มีทางที่จะบริหารประเทศได้สำเร็จถ้าปราศจากข้าราชการประจำ

 ต้องร่วมกันทำงานทั้งสองฝ่าย

 ต้องยอมรับกันว่าบ้านเมืองในยามนี้ยังวิกฤติทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม หรือการเมือง แม้จะมีรัฐธรรมนูญใหม่ใช้แล้วเพื่อการปฏิรูปกระบวนการเข้ามาได้อำนาจรัฐของนักการเมืองแล้วก็ตาม แต่นักการเมืองส่วนใหญ่ยังไม่ได้ปฏิรูปตนเองตามไปด้วย เราจึงเห็นนักการเมืองจำนวนไม่น้อยที่ยังประพฤติปฏิบัติตนเหมือนเดิม เคยทำอย่างไรก็ยังทำอย่างนั้นไม่เปลี่ยนแปลง

 แม้โครงสร้างทางการเมืองหลายอย่างได้เปลี่ยนไปจากเดิมตามกติกาใหม่ในรัฐธรรมนูญ การเข้าสู่วงการเมืองมีกฎมีกติกาในการตรวจสอบกลั่นกรองมากขึ้น แต่นักการเมืองไม่ดีก็ยังสามารถเล็ดลอดเข้ามาได้จากกลวิธีต่างๆ อย่างที่เห็น

 ปัญหาที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองนั้น ต้องยอมรับความจริงว่ามีจำนวนไม่น้อยที่ข้าราชการประจำหรือนักการเมืองเป็นผู้ก่อขึ้น ถ้าไม่ต่างฝ่ายก่อก็ร่วมมือกันก่อขึ้น มีตัวอย่างให้เห็นมากมาย

 เฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการแสวงหาผลประโยชน์เข้าตนโดยการทุจริตฉ้อฉล เมื่อเกิดปัญหาขึ้นต่างฝ่ายก็โทษกัน อย่างที่เห็นในกระทรวงทบวงกรมหลายแห่งขณะนี้ บางปัญหาข้าราชการประจำทุจริตกันเอง บางปัญหานักการเมืองเป็นฝ่ายทุจริต แต่ที่ร้ายที่สุดก็คือร่วมกันทุจริตโดยมีพ่อค้ามาร่วมมือด้วย

 ปัญหาบางอย่างเมื่อเริ่มเกิดขึ้นไม่แก้ไข ปล่อยปละละเลยไว้จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตามที จนปัญหาพอกพูนใหญ่โตจนลำบาก เหมือนคนไข้เมื่อเริ่มป่วยไม่รีบไปหาหมอรักษา ปล่อยทิ้งไว้จนหมดหนทางรักษาก็ต้องถึงแก่ความตายในที่สุด

 บางปัญหาเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็แก้ไขแบบขอไปที จะเป็นเพราะลูบหน้าปะจมูก หรือมีความเกรงใจ เกรงกลัวอิทธิพลอำนาจมืด หรือได้รับผลประโยชน์ปิดปากก็แล้วแต่ อย่างนี้มีให้เห็นมากจนเรื่องเงียบๆ ไปก็คิดว่าไม่มีปัญหาอะไรแล้ว

 นี่คือ วิธีการทำงานของข้าราชการประจำ และนักการเมืองบางกลุ่มบางพวกที่ควรได้มีการแก้ไข

 ข้าราชการประจำกับนักการเมืองนั้น มีความเกี่ยวข้องในการทำงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะนักการเมืองที่เข้ามารับตำแหน่งหน้าที่ทางบริหารในกระทรวงทบวงกรมต่างๆ ทั้งสองฝ่ายจึงต้องทำงานร่วมกันตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ของตน

 นักการเมืองทำทางด้านนโยบาย

 ข้าราชการประจำทำทางด้านการปฏิบัติ

 แต่หลักการเช่นว่านี้ มักไม่เป็นไปตามนั้นเสมอไปเพราะนักการเมืองหลายคนชอบทำงานแบบที่เขาเรียกว่า ล้วงลูก คือ เข้าไปทำงานก้าวก่ายงานประจำของข้าราชการอยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะในกระทรวงทบวงกรมที่มีผลประโยชน์ด้านเงินๆ ทองๆ

 ที่เป็นเช่นนี้ เพราะนักการเมืองต้องการหาเงินหรือต้องการถอนทุนคืนจากที่เคยเสียไปในการเลือกตั้ง

 กระทรวงทบวงกรมไหนได้นักการเมืองอย่างนี้เข้าไปทำงาน ข้าราชการประจำในกระทรวงทบวงกรมนั้นย่อมมีความลำบากใจในการทำงานตามหน้าที่ ยกเว้นแต่ว่าเป็นคนซื่อตรงและใจแข็งพอที่จะต่อสู้เพื่อความถูกต้อง

 ข้าราชการประจำคนไหนตามใจนักการเมืองประเภทอย่างนี้ ในที่สุดก็ต้องเดือดร้อนพลอยเข้าปิ้งไปด้วยเพราะถูกจับได้

 นักการเมืองประเภทขี้หิวนี้ในปัจจุบันไม่ได้รอกินอยู่แต่ในกระทรวงที่ตนเข้าไปรับผิดชอบ แต่ขึ้นไปกินถึง "ต้นน้ำ" เลยทีเดียว

 สำนักงบประมาณเป็น "ต้นน้ำ" สำคัญ

 นักการเมืองขี้หิวจะใช้วิธีจัดสรรคนของตัวให้ได้ไปนั่งในตำแหน่งแห่งที่ที่สามารถเอื้อประโยชน์แก่ตนได้ หน่วยราชการแห่งนี้ถูกแทรกแซงอย่างหนักในการแต่งตั้งโยกย้าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของรัฐบาลหน้าเหลี่ยมที่ถูกยึดอำนาจ

(3)วันที่ 1/10/2010
การเปลี่ยนแปลงของฝ่ายการเมืองนั้น มีอยู่ตลอดเวลาและไม่ค่อยจะต่อเนื่อง สำหรับฝ่ายราชการประจำแล้วเปลียนแปลงน้อยกว่า และมีความต่อเนื่องมากกว่า

 ข้าราชการประจำต้องนึกถึงเรื่องนี้ให้มาก

นักการเมืองมาแล้วก็ไป อาจวูบเดียวปีเดียวก็เปลี่ยน ช่วงระยะเวลาทำงานถ้าครบเทอมก็สี่ปี ซึ่งก็มีน้อยมากที่จะอยู่ครบสำหรับการเมืองบ้านเรา แต่ข้าราชการประจำต้องอยู่ตลอดเวลา และมีช่วงเวลาทำงานมากกว่า

เพราะฉะนั้นคนที่เป็นข้าราชการประจำจึงต้องระลึกเสมอว่า ในการทำงานนั้นข้าราชการเป็นกลไกในการทำงานตามนโยบาย ไม่ใช่เป็นเครื่องมือที่จะทำงานรับใช้นักการเมืองแบบตามใจชอบ

 บ่อยครั้งที่นักการเมืองหยิบเอาข้าราชการประจำไปใช้เพื่อสนองประโยชน์นักการเมือง ด้วยรูปแบบและวิธีการต่างๆ

ในอดีตที่ผ่านมามีการก้าวก่ายเข้าไปใช้ทหารในกองทัพ ทั้งๆที่ทหารเป็นข้าราชการประจำ ถ้าไม่ใช้ในทางสร้างอิทธิพลข่มขู่คนอื่นก็ใช้ไปในการทำปฏิวัติรัฐประหารไปก็มี เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจของนักการเมืองนั้นๆ หรือของผู้บังคับบัญชาทหารเองก็มีที่คิดการใหญ่ต้องการอำนาจทางการเมือง

 แต่สมัยนี้ห่างไปเพราะมีบทเรียนที่เจ็บปวด

แม้กระทั่งการปฏิวัติรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ก็ตาม ทหารที่เป็นหัวหน้าในการรัฐประหารครั้งนี้ก็ได้รับบทเรียนไปหลายอย่างว่า แม้กระทำการยึดอำนาจได้ก็จริง แต่ความไม่เป็นประสีประสาทางการเมือง ขาดความเด็ดขาดในการจัดการกับเงื่อนไขของปัญหาใหญ่อันเป็นมูลเหตุของการรัฐประหารให้เสร็จเรียบร้อย ถอยตัวออกไปจากอำนาจที่กุมไว้ได้และให้มีรัฐบาลพลเรือนรับไปทำงานแทนเพราะคิดว่าจะทำได้ตามที่คิด แต่รัฐบาลพลเรือนที่ว่านี้ก็ทำงานไม่เป็น นั่งเฝ้ากระทรวงเฝ้าทำเนียบไปวันๆหนึ่งจนหมดเวลา ทุกสิ่งทุกอย่างของความเลวร้ายที่คิดว่าจะหมดไปกลับฟื้นตัวกลับมาได้อย่างรวดเร็วอย่างที่กำลังเป็นอยู่ในขณะนี้

นักการเมืองบางคนนั้นใช้ข้าราชการประจำในการหากินทางเศรษฐกิจ หากินในทางเป็นหัวคะแนนของนักการเมืองนั้นๆ หรือใช้เป็นเครื่องมือในการทำทุจริตต่างๆเพื่อหาผลประโยชน์

เพราะฉะนั้นข้าราชการประจำต้องรู้จักแยกแยะบทบาทและหน้าที่ของตนให้ออก อย่ามัวเมาตามใจนักการเมืองในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง กระทรวงทบวงกรมไหนได้นักการเมืองที่ดีๆไปอยู่กระทรวงทบวงกรมนั้นๆ จึงพอจะปลอดจากสารพิษ ทำการทำงานได้สบายใจหน่อย

นักการเมืองดีๆมีอยู่มาก ไม่ใช่ไม่มีเสียเลย โดยเฉพาะนักการเมืองซึ่งเข้ามาเป็นหัวแถว ถ้าเป็นคนซื่อสัตย์สุจริต ทำงานตรงไปตรงมา ไม่มีนอกมีในอะไรแล้ว หางแถวลงไปก็ไม่ค่อยกล้า

กระทรวง ทบวง กรม ที่มีส่วนเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับความเป็นอยู่ของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นด้านความสงบสุขและความปลอดภัย กระทรวงทบวงกรมที่ว่านี้คนเป็นข้าราชการประจำยิ่งต้องใส่ใจในการทำงานของตนให้มีประสิทธิภาพ ข้าราชการประจำในกระทรวงทบวงกรมดังกล่าวนี้ต้องระลึกอยู่ตลอดเวลาว่า ถ้าประชาชนไม่ศรัทธาเชื่อถือแล้ว ความร่วมมือร่วมใจที่จะได้รับจากประชาชนจะหาได้ยาก ทำให้การงานในหน้าที่ของตนนั้นไม่มีผลสำเร็จ

ข้าราชการประจำในแต่ละกระทรวงทบวงกรมล้วนแล้วแต่ต้องทำงานรับใช้ประชาชน เพราะเงินเดือนที่ได้รับมาจากคนเหล่านี้ แนวทางสำคัญที่ข้าราชการประจำต้องจำใส่ใจไว้ตลอดเวลามีอยู่ 3 เรื่องใหญ่ๆคือ

1. รู้จักคน ว่าคนที่ตัวต้องดูแลรับผิดชอบตามอำนาจหน้าที่นั้นอยู่ในสภาพอย่างไร ทำมาหากินอะไร จำแนกประเภทของอาชีพที่ทำมีอะไรบ้าง จำนวนมากน้อยแค่ไหน และปัญหาหรืออุปสรรคของเขามีอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง

 2. รู้จักพื้นที่ ว่าพื้นที่ตามขอบเขตของงานที่ตนรับผิดชอบนั้นอยู่ที่ใด มากน้อยแค่ไหน น้ำท่าที่ใช้ทั้งการอุปโภคและบริโภคนั้นเป็นอย่างไร เส้นทางคมนาคมติดต่อสื่อสารมีเพียงพอหรือมีอยู่อย่างจำกัด ต้องดูให้ทั่ว

3. รู้จักงาน ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง ถ้าไม่สันทัดจะหาใครมาเป็นผู้คอยช่วยเหลือ หรือจะต้องประสานกับใครบ้างเพื่อให้การทำงานของตนบรรลุผล

อย่างไรก็ตาม ต้องระลึกด้วยว่า คนเรานั้นไม่สามารถจะทำอะไรได้สำเร็จเพียงลำพังผู้เดียว การทำงานในแต่ละวันย่อมต้องสัมพันธ์กับคนอื่นเสมอ จะต้องได้รับความช่วยเหลือจากคนอื่นหรือหน่วยงานอื่นในบางครั้งบางคราว ยิ่งปัจจุบันด้วยแล้วมีปัญหายุ่งยากสลับซับซ้อนมากมาย ความจำเป็นที่จะรู้จักประสานสัมพันธ์ยิ่งมีมากขึ้น

 การประสานสัมพันธ์ที่ดีนั้น ควรต้องทำให้ได้ในลักษณะที่ว่า "ผู้ใหญ่ดึง ผู้น้อยดัน คนเท่ากันยกย่อง"

ไม่ใช่ "ผู้ใหญ่กีด ผู้น้อยกัน คนเท่ากันเหยียบ"

และรักษาระยะห่างจากนักการเมืองให้ดีด้วย ต้องนึกอยู่ตลอดเวลาว่า "ใกล้เกินไปก็ร้อน ห่างเกินไปก็หนาว" วางตนอยู่อย่างพอดีๆ โดยเฉพาะอยู่กับรัฐบาลชุดนี้ด้วยแล้ว ต้องอยู่มันตรงกลางนั่นแหละดีที่สุด

(แนวหน้า)

ฝากให้ข้าราชการประจำกระทรวงสาธารณสุข ได้ขบคิดด้วย

79

รพศ./รพท. In challenging  world
       I.  Stakeholder (หุ้นส่วน)
      II.  ทางเลือกในการจัดการ
     III.  การจัดการ รพศ./รพท.โดยองค์กรแพทย์
     IV.  รพศ./รพท. In challenging world

I. Stakeholder (หุ้นส่วน)
1. สปสช. (นายหน้าค้าทาส)
   -  งานมากจ่ายน้อย อ้างคุณภาพ
   -  ชอบวิธีพิเศษ (Vertical Program)
   -  นายหน้าจะแย่เพราะทาส เริ่มไม่ยอมแล้ว
2. กระทรวงสาธารณสุข
    - ถูก สปสช. ปล้นเงิน
    - กำลังถูก สช. ปล้นการบริหารนโยบายและกำลังคน
   -  อำนาจรัฐกำลังถูกถ่ายโอนไปในมือ NGO
3.  ขบวนการ NGO (ปัจจุบันเจ้าของ ผู้ทรงอิทธิพล)
   - ออกกฎหมายใหม่  / ตั้งองค์กรใหม่ ขยายสาขาเหมือนห้างโลตัส สช. สปสช. สสส. สวรส.
   - เบื้องหลัง คือ การถ่ายโอนอำนาจรัฐ มาเป็นระบอบ“ NGO ธิปไตย ” ที่กุมอำนาจรัฐได้โดยไม่ต้องเลือกตั้ง
4. ประชาชน
     -  ถูกตามใจจนพึ่งพาตนเองไม่ได้ และประเทศไทยกำลังเป็น “ รัฐล้มเหลว” (Failed state )
     -  มีทรัพย์สินที่มีค่า คือคะแนนเสียง
5. สมาพันธ์แพทย์รพศ./รพท.
    -  กำเนิดจากผู้ถูกกดขี่รวมตัวกันขึ้นมาต่อสู้
    -  ยังไม่แข็งแรง แต่มีกรรมพันธุ์ดี  ทนแดด  ทนฝน  ทนแรงกดดัน
    -  หากปั้นดีจะก้าวขึ้นมา เป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นใหญ่ได้

II. ทางเลือกในการจัดการ
1. อยู่ไปวันๆ
   -  อย่าฝันว่ามีอะไรดีขึ้น
   -  ท่านจะก้าวไปสู่ โรงพยาบาลที่ล้มเหลว (Failed  hospital)ยากจน ลำบาก
   -  จบท้ายด้วยการลาออก หรือทนอยู่แบบทนทุกข์ ทรมาน
2. ถูกล๊อตเตอรี่
   -  โรงพยาบาลได้ผู้อำนวยการที่มีความสามารถ สถานการณ์ จะดีขึ้นตามขีดความสามารถของ
ผู้อำนวยการ
   -  แต่การถูกล๊อตเตอรี่ อาจไม่ยั่งยืน เนื่องจากผู้บริหารเปลี่ยนได้
   
3.  ปรับองค์กร
   -  ให้เข้มแข็ง และเติบโต อย่างยั่งยืน  โดยใช้องค์กรแพทย์เป็นแกน

III.  การบริหารจัดการรพศ./รพท.โดยองค์กรแพทย์
ประกอบด้วยหลักการ 2 ข้อ
         1. ใช้คนเก่งทำงาน
         2. ให้อำนาจ ในการจัดการ/ค่าตอบแทนที่คุ้มค่า

Step by step
        1. ค้นหายอดฝีมือในโรงพยาบาลท่าน
คุณสมบัติ -  ทนเห็นระบบจัดการที่ล้มเหลวไม่ได้
            -  ทำงานด้วยศรัทธา มากกว่าเงิน หากมีให้ส่งเทียบไปเชิญมาช่วยทำงาน  (อาจต้องตื้อ เชิญหลายครั้ง)
        2. สร้างยอดฝีมือใหม่
     -  ใช้ระบบ Rotating  leader ship หมุนเวียนกันขึ้นมาเป็นประธานองค์กรแพทย์คนละ 1 ปี
     -  อดีตประธานให้ตั้งเป็นคณะมนตรีองค์กรแพทย์ประกอบด้วย (รองผอ.+หัวหน้ากลุ่มงาน  อดีตประธานองค์กรแพทย์ ประธานองค์กรแพทย์คนปัจจุบันเป็นเลขาฯ)
        3. ตั้งรองผู้อำนวยการ  ผู้ช่วยผู้อำนวยการเพิ่ม โดยองค์กรแพทย์เป็นผู้เสนอจากอดีตประธานองค์กรแพทย์ หรือ  หัวหน้ากลุ่มงานที่มีความสามารถ
        4. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ การจัดการจากภายนอก เช่น จากโรงเรียนแพทย์ สมาพันธ์ฯเป็นต้น
        5. ให้ยอดฝีมือทั้งหมด  ช่วยกันเสนอระบบจัดการต่างๆเพื่อให้โรงพยาบาลอยู่รอด ซึ่งถ้าส่วนใหญ่เห็นด้วยผู้อำนวยการมักจะไม่ขัดข้อง

ปล.  หากองค์กรแพทย์ ทำงานชี้นำได้ต่อเนื่องจะนำโรงพยาบาลได้ในที่สุด

IV. รพศ./รพท. In challenging  world
1. ในอนาคตความแตกต่างระหว่าง รพ.เอกชน โรงเรียนแพทย์รพศ./รพท. จะน้อยลงเรื่อยๆ
       -  รพ.เอกชน เริ่มรับข้าราชการ เบิกได้   
       -  โรงเรียนแพทย์เริ่มมีระบบกึ่งเอกชน (Semiprivate)
       -  รพศ./รพท. เริ่มเป็นโรงเรียนแพทย์สอนนักศึกษาแพทย์

2. หากรพศ./รพท. ไม่ปรับตัวเข้าสู่ระบบ Semi private เราจะไม่มีงบประมาณในการจัดการ และการถดถอยลงเรื่อยๆ

3. แต่เรามีตัวถ่วง คือ สปสช. ที่ขัดขวางความเจริญเติบโตด้วยกฎระเบียบต่างๆ และกระทรวงสาธารณสุข ที่มีระบบจัดการแบบราชการ ที่ไม่ทันเหตุการณ์

4. คำตอบสำหรับอนาคต คือ ต้องเดินตามผู้ชนะ คือ โรงเรียนแพทย์ และโรงพยาบาลเอกชน โดยอุ้ม สปสช. ไปด้วย แต่อย่าให้สปสช.วุ่นวายมากนัก และพากระทรวงสาธารณสุข ตามไป ทวงเงินจาก สปสช. คืน

รูปแบบที่รพศ./ รพท. ควรจะเป็น
1.  Clinic GP  ตรวจไม่อั้น เร็วแต่ไม่ได้พบแพทย์เฉพาะทาง  ครึ่งวันเช้า/ เต็มวัน
2.  Clinic เฉพาะทางนัดในจำนวนเหมาะสมและขยายไปนอกเวลา เสาร์ อาทิตย์ โดยเก็บค่าตรวจเพิ่มเติม
3.  ผ่าตัด Emergency /Urgency ผ่าตัดก่อนระยะเวลารวดเร็ว ประชาชนปลอดภัย Elective ให้รอตามมาตรฐานยุโรป และให้เปิด Fast Tract ผ่าตัดนอกเวลาเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นตามระบบโรงเรียนแพทย์
4.  ทำโรงพยาบาลให้สวยตามมาตรฐาน 3D และหาสินค้าบริการมาขาย เพิ่มเหมือนห้างสรรสินค้า
5.  ทำ Network  ของสมาพันธ์ให้เข้มแข็ง เพื่อรับมือกับหุ้นส่วนอื่นๆโดยจัดตั้งผู้ประสานงานภาคต่างๆเพิ่มมากขึ้น และบริจาคเงินให้ผู้ประสานงานสามารถทำงานได้ (ใช้ Technique Rotating  leadership)
ปล.  ช่วยส่งยอดฝีมือมาช่วยสมาพันธ์ทำงานด้วย         

สรุป
1. รพศ./รพท.จำเป็นต้องวิ่งด้วยระบบ  Hybrid (ใช้รายได้หลายแบบและใช้กลไกแบบอัจฉริยะ ใน
การจัดการ)
2. สมาพันธ์จำเป็นต้องพัฒนาเพื่อหยุดยั้งระบอบ “NGO ธิปไตย” และเอากระทรวงสาธารณสุขคืนมา
3. กระทรวงสาธารณสุขยังมีอำนาจในการบริหารจัดการคน ควรจัดทัพให้เหมาะสม เพื่อสู้กับ “NGO ธิปไตย”

80
ภาค ประชาชนประกาศจุดยืน ต่อ (ร่าง) พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายฯ ....นัดชุมนุมแน่นอนวันที่ 5 ตุลานี้ เวลา 07.00 น . ที่รัฐสภา พร้อมย้ำกระทรวงสาธารณสุข หมดเวลายื้อกฎหมาย

จุดยืนองค์กรประชาชน ต่อ (ร่าง) พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....

กฎหมาย ฉบับนี้ ยึดหลักการไม่เพ่งโทษของผู้ประกอบวิชาชีพที่ให้บริการ แต่ยอมรับว่า ความผิดพลาด ความบกพร่องเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งจากผู้ประกอบวิชาชีพ และจากระบบบริการสาธารณสุขที่ยังไม่สมบูรณ์  เช่น ความเชี่ยวชาญของแพทย์ที่จบใหม่ ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ การกระจายของแพทย์ที่ยังไม่ดี การขาดแคลนอุปกรณ์หรือเทคโนโลยีทางการแพทย์ต่าง ๆ

ดังนั้นจึงไม่ให้ความสำคัญกับการพิสูจน์ว่าใครถูกใครผิด หรือเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพหรือไม่ แต่เน้นพิสูจน์ ว่า มีความเสียหายเกิดขึ้นจริงจากการรับบริการหรือไม่ แม้แต่กรณีการรักษาที่ได้มาตรฐานแต่มีความเสียหายเกิดขึ้นจริง เช่น กรณีผ่าตัดเลาะผังพืดในท้องแล้วพลาดไปโดนท่อไต ทั้ง ๆ ที่ทำเต็มที่แล้ว ในทางวิชาการก็ยอมรับว่าเป็นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้ไม่ถือเป็นความผิด หรือประมาท (Acceptable adverse effect)

นอกจากนี้ความเสียหายสำคัญที่เกิดขึ้น จากการรับบริการไม่ได้มีใคร หรือบุคคล หรือหน่วยงานใดตั้งใจทำให้เกิดความเสียหาย จึง ควรต้องมีระบบหรือกลไกรับผิดชอบแทนผู้ประกอบวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วยงาน ของรัฐ หากจะรับผิดแทนผู้ประกอบวิชาชีพในโรงพยาบาลเอกชนก็ต้องจ่ายสมทบ แล้วนำความเสียหายเป็นบทเรียนในการป้องกันความเสียหายในอนาคต


ความเสียหายที่ไม่คุ้มครอง ตามมาตรา ๖

๑.      ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินไปตามพยาธิสภาพของโรค ตามปกติธรรมดาของโรคนั้น

๒.    ความเสียหายที่เมื่อสิ้นสุดกระบวนการรักษาแล้วไม่มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตตามปกติ(ภาคประชาชน)


โครงสร้างกรรมการทุกคณะ รวมทั้งบทเฉพาะกาล

ยึด หลักคณะกรรมการที่มีองค์ประกอบของสัดส่วนที่เป็นธรรมระหว่างสถานพยาบาล หรือ ผู้ประกอบวิชาชีพ กับผู้ป่วยหรือองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ


กองทุน

ต้องรวมสถานบริการเอกชน เช่น โรงพยาบาลเอกชน โดยจ่ายสามารถจ่ายสมทบเมื่อมีการต่อใบอนุญาตแต่ละปี

๑.      เพราะเจตนารมณ์ของกฎหมายต้องการคุ้มครองผู้เสียหายทุกคนที่ไปรับบริการ สาธารณสุข ไม่ว่าไปรับบริการที่โรงพยาบาลของรัฐ หรือเอกชน จะใช้สิทธิอะไรก็ตามหรือจ่ายเงินเอง ต้องไม่ถูกเลือกปฏิบัติ และปัจจุบันรัฐบาลได้ประกาศให้ระบบสวัสดิการข้าราชการสามารถเข้ารับการรักษา จากโรงพยาบาลเอกชนได้

๒.    ต้องร่วมจ่ายตามความเสี่ยง และลดการจ่ายหากมีความเสี่ยงน้อย

๓.     หากไม่ครอบคลุมโรงพยาบาลเอกชน/คลินิกเอกชน จะขัดต่อหลักนิติรัฐ มีความไม่เท่าเทียมเกิดขึ้นในสังคม

๔.     ยืนยันว่าการดำเนินเรื่องนี้เป็น “สิทธิ” ของทุกคน ไม่เลือกยากดีมีจน


สำนักงาน

ควรเป็นหน่วยงานอิสระ ไม่เป็นหน่วยงานภายในกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าสำนักงานจะไม่มีส่วนได้เสียในการให้บริการสาธารณสุข


ข้อเสนออื่น ๆ ต่อกระทรวงสาธารณสุข

๑.      กระทรวงสาธารณสุข ต้องเร่งผลักดันกฎหมายฉบับนี้โดยเร็วให้ทันการประชุมในสมัยนิติบัญญัตินี้ เพราะหากพิจารณากฎหมาย ฉบับอื่นที่เป็นประโยชน์กับภาคธุรกิจสามารถดำเนินการได้ทันและรวดเร็ว

๒.    กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสุขภาพแห่งชาติ ภายใต้คณะกรรมการกำลังคนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งผลิตแพทย์เพิ่มขึ้น และกระจายอย่างเป็นธรรมตามสัดส่วนประชากร ตลอดจนปรับปรุงอัตราการจ่ายเงินชดเชยกรณีไม่สามารถใช้ทุนได้

๓.     การปรับปรุงระบบการส่งต่อ การรักษากรณีฉุกเฉิน การพัฒนาหน่วยบริการปฐมภูมิให้มีศักยภาพในการลดความเสียหายจากบริการสาธารณสุข

เขียนโดย Webmaster Consumerthai
วันที่ 28 กันยายน 2553

81

บ่ายวันนี้ (28 ก.ย.) เริ่มประชุมคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์ในระบบบริการ นพ.วันชาติ ศุภจัตุรัส นายกแทพยสมาคมแห่งประเทศไทย ได้ประกาศนำทีมวอล์คเอาท์ ในห้องประชุมเหลือแค่ตัวแทนกระทรวง สธ., โรงเรียนแพทย์, สภาวิชาชีพอื่นๆ และตัวแทนผู้บริโภค ผู้ป่วย           

รศ.ธันย์ สุภัทรพันธุ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี ได้แถลงจุดยืนของคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

ข้อเสนอแนะของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี


                 บุคลากรของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ ติดตามความเคลื่อนไหวและการแสดงความคิดเห็นของ พ.ร.บ.แห่งนี้ ทั้งจากฝ่ายตัวแทนผู้รับบริการ ฝ่ายเพื่อนร่วมวิชาชีพ ผ่านทางแพทยสภา แพทยสมาคม ราชวิทยาลัยต่างๆมาโดยตลอด ทาง สภาอาจารย์รามาธิบดีได้จัดทำประชาพิจารณ์ โดยเปิดโอกาสให้ตัวแทนของแพทยสภา แพทยสมาคม ฝ่ายกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.ฉบับนี้ เข้าชี้แจงตอบข้อข้องใจของบุคลากรโดยตรง การแสดงความเห็นที่อิสระดังกล่าว ได้นำเข้าเป็นข้อมูลในการประชุมกรรมการบริหาร กรรมการประจำคณะฯ ซึ่งมีมติร่วมกัน เห็นชอบในหลักการตราพระราชบัญญัติฉบับนี้ แต่ ขอให้มีการทบทวนทำความเข้าใจ และแก้ไข ในบางมาตรา เช่น มาตรา 6(1) และ (2) มาตราที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของสภาวิชาชีพ ที่มาของกองทุน เป็นต้น

                ความเห็นชอบดังกล่าวของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีนั้น เพื่อนร่วมวิชาชีพหลายคนพูดว่าเป็นการเอาตัวรอดของโรงเรียนแพทย์ แต่จริงๆแล้ว เราพยายามหาทางรอดหรือเราหาโอกาสรอดจากผลกระทบของ พ.ร.บ.ฉบับนี้มากกว่า

                จากการรับฟังข้อมูลทุกฝ่ายเราเข้าใจดีว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงต่อเนื่องจากโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งไดเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยจากแบบอุปถัมภ์ เป็นแบบพันธสัญญา จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นในการเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เราจึงไม่สามารถใช้ความสามัคคีเพียงอย่างเดียว เราจำเป็นต้องใช้สติเพื่อพิจารณาข้อเท็จจริง ใช้องค์ความรู้ด้านการบริการจัดการที่ มีอยู่ทุกด้าน เพราะเราเชื่อว่า ไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ภาพสุดท้ายที่เราทุกคนต้องการเห็นคือ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างทีมผู้ให้บริการรักษาพยาบาลกับผู้ป่วย เพื่อนำไปสู่ผลการรักษาที่ดีที่สุด ภายใต้การใช้ทรัพยากรสุขภาพที่เหมาะสม เราไม่อยากเห็นภาพที่เกิดขึ้นในบางประเทศ ซึ่งแม้จะมีความเจริญ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสูง แต่ความสัมพันธ์ของแพทย์และผู้ป่วย ชักนำทำให้เกิดลักษณะการแพทย์แบบป้องกันตนเองทางเทคโนโลยีสูง แต่ความสัมพันธ์ของแพทย์และผู้ป่วย ชักนำทำให้เกิดลักษณะการแพทย์แบบป้องกันตนเอง (Defensive Medicine) ซึ่งนำไปสู่การใช้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้นเรื่อยๆ ควบคู่ไปกับความไม่ไว้วางใจระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยมากขึ้นเรื่อยๆ

                ปัจจุบัน เรายอมรับว่าธรรมชาติของกระบวนการรักษายังมีความพลาดพลั้ง หรือผลการรักษาที่ไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ แม้จะให้การรักษาตามมาตรฐานตามวิชาชีพแล้ว กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจากการพลาดพลั้งหรืออาการแทรกซ้อนควรได้รับการ เยียวยาในกรณีเดียวกันบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยตามมาตรฐานวิชาชีพ ควรได้รับการคุ้มครอง เพื่อให้สามารถทำงานได้ด้วยความสบายใจตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี เข้าใจดีและเห็นใจแพทย์ที่ออกมาคัดค้าน พ.ร.บ.ดังกล่าว ซึ่งเป็นแพทย์ที่อยู่ในโรงพยาบาลจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลเอกชนต่างๆ เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบัน ท่านเป็นผู้รับผิดชอบภาระงานในการรักษาพยาบาลเป็นส่วนใหญ่ ภายใต้ทรัพยากรที่ถูกจัดสรรให้อย่างจำกัด

ขอเรียนให้ทราบทั่วกันว่า ผู้บริหารและบุคลากรของโรงพยาบาลรามาธิบดีมีสถานภาพและเผชิญปัญหาไม่ต่างจากโรงพยาบาลจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ต่างๆ นอกจากนี้ผู้รับการบริการของเราส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยที่ถูกส่งต่อมาจากโรงพยาบาลของท่าน เนื่องจากมีปัญหายุ่งยากซับซ้อนในการดูแลรักษาซึ่งย่อมทำให้การรักษามีโอกาสเกิดอาการแทรกซ้อนหรือไม่เป็นไปตามความคาดหวังได้มากกว่า

แม้การเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนถ้าใช้จำนวนผู้ป่วยเป็นหลัก ทางโรงพยาบาลรามาธิบดีคงต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนมากกว่าโรงพยาบาลอื่นๆ แต่สิ่งที่บุคลากรของเราสามารถก้าวข้ามประเด็นข้อขัดแย้งของ พ.ร.บ.ดังกล่าวได้

เนื่องจากฝ่ายบริหารของคณะซึ่งมีท่านคณบดี (ศาสตราจารย์รัชตะ รัชตะนาวิน) เป็น ประธานได้ทำการศึกษาผลกระทบและนำไปสู่การบริหารจัดการโดยใช้แนวทางการบริหาร ความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร (enterprised risk management) ตามแนวทางของ CoSo และ ISO ตามนโยบายมหาวิทยาลัยมหิดล นอกจากนี้ทางโรงพยาบาลได้ปรับโครงสร้างองค์การโดยจัดตั้งหน่วยงานของโรง พยาบาลเข้ารับผิดชอบทำหน้าที่ช่วยเหลือเยียวยาผู้รับบริการ ขณะเดียวกันที่จะทำหน้าที่ดูแลเรื่องร้องเรียนจากผู้รับบริการแทนแพทย์ผู้ รักษา ซึ่งจะทำให้ทีมผู้รักษาสามารถปฏิบัติงานต่อไปได้โดยไม่ต้องกังวลกับเรื่องร้องเรียน ซึ่งอันนี้ถือว่าเป็นความรับผิดชอบ (Accountability) ของผู้บริหาร

                ทางคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เชื่อ ว่าการที่บุคลากรเข้าใจวิธีการและเห็นการเตรียมพร้อมเพื่อบริหารจัดการผลกระ ทบจากพ.ร.บ.ดังกล่าวจากผู้บริหาร ถือว่าเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้เราก้าวข้ามปัญหาต่างๆ และนำไปสู่การมีมติ เห็นชอบในหลักการของ พ.ร.บ.ดังกล่าว

                สุดท้ายนี้ ทางคณะขอร้องฝ่ายตัวแทนผู้รับบริการให้ความเห้นใจและเข้าใจการปฏิบัติงานของฝ่ายแพทย์และทีมผู้รักษา ขณะเดียวกันขอความร่วมมือทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องก้าวข้ามประเด็นแห่งความขัดแย้งเพื่อความสามารถและองค์ความรู้ทั้งหมดมาใช้ในการบริหารจัดการผลกระทบจากพ.ร.บ.ฉบับนี้เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้จริงโดยยึดหลักการคำนึงถึงผู้ที่ส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย

รศ.ธันย์ สุภัทรพันธุ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี
28 ก.ย.53

82
               
ข้อสรุปผลการทำงานของกลุ่มที่ ๓

จากการที่สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ร่วมกับเครือข่ายได้ทำการชี้แจง และทำความเข้าใจเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นจากบุคลากรด้านสาธารณสุขทั่วประเทศ ได้ข้อสรุป ดังนี้

๑.   ในสถานการณ์ปัจจุบัน ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกับบุคลากรด้านสาธารณสุขอยู่ในสภาพที่ไม่น่าพึงพอใจ และมีแนวโน้มที่เลวร้ายลงไปเรื่อยๆ เนื่องจากปัจจัยต่างๆ

๒.   ผู้ได้รับผลกระทบจากการรับบริการสาธารณสุขบางส่วน ยังไม่ได้การดูแล และช่วยเหลืออย่างเหมาะสม

๓.   ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้รับผลกระทบอย่างมากจากนโยบายของรัฐ กฎหมายต่างๆ ความขาดแคลน รวมทั้งความไม่พร้อมในหลายๆด้าน

๔.   การออกกฎหมายที่มีเนื้อหาเหมือนร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ นอกจากจะไม่สามารถแก้ปัญหาที่กล่าวมาแล้วได้ ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประชาชน บุคลากรด้านสาธารณสุข ระบบการแพทย์ และสาธารณสุขของประเทศ และต่อประเทศชาติในที่สุด

๕.   การพิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกับบุคลากรด้านสาธารณสุข การช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบ และการดูแลผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขเป็นสิ่งที่ต้องกระทำไปพร้อมๆกันอย่างสมดุล ด้วยความสุขุมรอบคอบ โดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆให้รอบด้าน  เพื่อไม่ให้เกิดผลอันไม่พึงประสงค์ทั้งในระยะสั้น และระยะยาวที่อาจจะก่อให้เกิดปัญหาใหม่ๆตามมา

สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปขอคัดค้านร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ และเสนอให้มีการศึกษาผลกระทบของร่างพ.ร.บ.ฯดังกล่าวอย่างเป็นจริงจัง และรอบด้าน

นอกจากนี้ทางสมาพันธ์ฯขอเสนอให้มีการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการรับบริการสาธารณสุข ด้วยการปรับปรุงกฎหมาย หรือระเบียบข้อบังคับ ที่มีอยู่แล้วเพื่อช่วยเหลือผู้ที่รับผลกระทบจากการรับบริการสาธารณสุข จนกว่าจะมีมาตรการที่เหมาะสมที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมโดยรวม และประเทศชาติต่อไป

ในขณะเดียวกันให้รัฐบาลเร่งหามาตรการปรับปรุง และแก้ไขภาวะขาดแคลนต่างๆในระบบสาธารณสุข เพื่อให้บุคลากรด้านสาธารณสุขดูแลรักษาประชาชนได้อย่างมีคุณภาพ และได้มาตรฐาน พร้อมกับให้มีการสร้างขวัญกำลังใจในการทำงานให้กับบุคลากรด้านสาธารณสุขทุกระดับ และทุกวิชาชีพ
                                 

83

ข้อเสนอต่อรัฐบาลไทย กรณีการออกกฎหมาย ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ...

เมื่ออ้างอิงกฎหมายจากประเทศสวีเดน  เพื่อยกร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ....นั้น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ปฏิบัติงาน รัฐบาลและประชาชนจึงควรได้รับทราบข้อเท็จจริงเพื่อการจัดบริการสาธารณะด้านการแพทย์และสาธารณสุขให้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงค่อยออกกฎหมายประกันคุณภาพบริการสาธารณสุข

เมื่อประชาชนรับบริการสาธารณะด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่จัดให้โดยรัฐบาล ย่อมเป็นเหตุผลอันสมควรที่รัฐบาลจะต้องประกันคุณภาพของการบริการสาธารณสุข เพื่อความมั่นใจของประชาชน แต่ก่อนที่จะรับประกันคุณภาพโดยอ้างอิงมาตรฐานหรือกฎหมายจากแหล่งใดๆนั้น รัฐบาลต้องจัดบริการสาธารณสุขให้ได้เช่นประเทศที่เป็นแหล่งอ้างอิงเสียก่อน การที่กลุ่มผู้ปฏิบัติงานออกมาคัดค้านนั้น หาใช่เนื่องมาจากความเห็นแก่ตัวหรือความไม่เห็นใจประชาชนผู้รับบริการไม่ แต่เป็นการออกมาบอกรัฐบาลว่า สิ่งที่คิดจะทำนั้นเป็นไปไม่ได้ เพราะ ผิดข้อเท็จจริง  เปรียบเสมือนมีเงินเพียงการนั่งเกวียนแต่จะประกันคุณภาพการเดินทางโดยมาตรฐานเครื่องบิน แล้วเมื่อไม่ได้ดังมาตรฐานเครื่องบินจะลงโทษคนขับเกวียน ย่อมเป็นไปไม่ได้ ผู้บริหารนั้นไม่มีอะไรทำจึงยอมได้ แต่ผู้ปฏิบัติงานยอมไม่ได้

๑.ข้อมูลพื้นฐานประกอบการพิจารณาการออกกฎหมายประกันคุณภาพบริการสาธารณะด้านการแพทย์และสาธารณสุข



๑.๒ ) จำนวนผู้ป่วยประเทศไทย
ปี2552      ผู้ป่วยนอก152,428,645 ครั้ง   ผู้ป่วยใน 10,307,684 ครั้ง
จาก http://bps.ops.moph.go.th/index.php?mod=bps&doc=5

๑.๓ ) จำนวนเตียงผู้ป่วยในโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุขทั้งประเทศ 125,866 เตียง
จาก http://hrm.moph.go.th/res52/res-rep2551.html

๑.๔ ) จำนวนแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุขทั้งประเทศ 11,025 คน ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยจริง 6,622คน
จาก  www.thaicne.com/images/column_1250051708/let1.doc

๒. การพิเคราะห์พิจารณาข้อมูลพื้นฐาน

-จำนวนประชากร ประเทศไทย จำนวน 63,457,439 คน (ปี2552) จากhttp://bps.ops.moph.go.th/index.php?mod=bps&doc=51
-จำนวนแพทย์ไทยที่อยู่ในระบบบริการสาธารณสุขของกระทรวงสาธารณสุขทั้งประเทศ 11,025คน แพทย์ไปศึกษาต่อและเป็นผู้บริหารซึ่งไม่ได้ดูแลผู้ป่วยในระบบกระทรวงสาธารณสุข จำนวน4.403คน เป็น แพทย์ผู้ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยจริง จำนวน6,622 คน
ข้อมูลจาก www.thaicne.com/images/column_1250051708/let1.doc

-จำนวนประชากรประเทศสวีเดน จำนวน 9,113,257 คน (ปี2549) จาก http://th.wikipedia.org/wiki/ประเทศสวีเดน
-ประมาณจำนวนแพทย์ทั้งประเทศสวีเดน 30,073คน

-จำนวนประชากรประเทศเดนมาร์ก จำนวน 5,450,661 คน (ปี2549) จาก http://th.wikipedia.org/wiki/ประเทศเดนมาร์ก
-ประมาณจำนวนแพทย์ประเทศเดนมาร์ก 15,806 คน

๓. การจัดบริการสาธารณะด้านการแพทย์และสาธารณสุขต้องให้เพียงพอต่อการตอบสนองความคาดหมายของประชาชน การจัดสรรทรัพยากรจะต้องมีเงื่อนไขต่างๆใกล้เคียงกับประเทศที่นำมาอ้างอิง  ดังตัวอย่าง  ได้แก่

-จำนวนแพทย์และจำนวนเตียงผู้ป่วย ตามสัดส่วนประเทศสวีเดน    
ประเทศไทยต้องมีแพทย์จำนวน 207,900 คน
ปัจจุบันมีแพทย์ปฏิบัติงานในระบบบริการกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 6,622 คน ต้องเพิ่มแพทย์  201,278 คน
ต้องมีเตียงผู้ป่วยทั้งหมด จำนวน 233,100 เตียง ต้องเพิ่มเตียง  107,234 เตียง

-จำนวนแพทย์ตามสัดส่วนประเทศเดนมาร์ก
ประเทศไทยต้องมีแพทย์จำนวน 182,700 คน ต้องเพิ่มแพทย์ 176,078 คน
ต้องมีเตียงผู้ป่วยทั้งหมด จำนวน 283,500 เตียง ต้องเพิ่มเตียง  157,634 เตียง
จึงจะเพียงพอใกล้เคียงมาตรฐานสวีเดนและเดนมาร์ก ซึ่งผู้สนับสนุนร่างกฎหมายประกันคุณภาพบริการการแพทย์และสาธารณสุขชอบไปดูงานบ่อยๆและกล่าวอ้างเสมอ  นี่ยังไม่นับอาคารสถานที่และเครื่องมือต่างๆซึ่งจะต้องเพิ่มจำนวนตามไปด้วย
จึงจะสามารถมีทุนที่จะจัดบริการสาธารณะด้านการแพทย์และสาธารณสุขได้ใกล้เคียงบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขของ ประเทศสวีเดน หรือ ประเทศเดนมาร์ก ได้
การจัดบริการสาธารณะด้านการแพทย์และสาธารณสุข ที่รัฐบาลไทยจะสามารถออกกฎหมายประกันคุณภาพบริการ ดังที่อ้างนั้น รัฐบาลจะต้องลงทุนและบริหารจัดการให้งานบริการสาธารณะด้านการแพทย์และสาธารณสุข มีผู้ปฏิบัติงานและทรัพยากรเพื่อรองรับภาระงาน อย่างใกล้เคียงกับประเทศอ้างอิง มิเช่นนั้น คนไม่พอทำงาน งบประมาณไม่ให้ เครื่องมือไม่พอ แต่ให้ไปรับภารกิจที่ภาระงานมากมายมหาศาลและมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความคาดหวังที่เกินจริง การออกกฎหมายประกันคุณภาพที่ไม่ปกป้องผู้ปฏิบัติงานและไม่ป้องกันความเสี่ยงแก่ประชาชน นั้นจะกลายเป็นการออกกฎหมายอธรรม กดขี่ข่มเหงผู้ปฏิบัติงานของรัฐ แล้วการบริการสาธารณะที่การบริหารจัดการบกพร่องและความคาดหวังที่เกินจริงของประชาชน จะก่อให้เกิดวิกฤติการณ์ของประเทศ ผู้ปฏิบัติงานจะไม่สามารถสนองความคาดหวังที่เกินจริงได้ จะเกิดความกดดันแก่ผู้ปฏิบัติงาน ผู้ดูแลรักษาและผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงสูง อันจะทำให้รัฐกับประชาชนกระทบกันได้ง่าย

ดังนั้น การที่รัฐซึ่งเก็บภาษีเพียง7% คิดจะเลียนแบบเอาอย่างประเทศที่เก็บภาษีสูงถึง๔๗%(สวีเดน) หรือ๔๑%(เดนมาร์ก) ซึ่งทำให้มีงบประมาณมากมาย มีรายได้รัฐสูงพอที่จะจัดสวัสดิการสังคมให้ประชาชนได้เช่นนั้น ย่อมไม่เป็นการสมควร ภาษิตไทยที่กล่าวว่า เห็นช้างขี้ก็จะขี้ตามช้างนั้น เพื่อบอกให้ลูกหลานไทยได้รู่จักประมาณตนเองก่อนที่จะทำอะไรเกินตัว แล้วก่อปัญหาแก่คนรุ่นหลังในภายภาคหน้า รัฐบาลที่ไม่มีรายได้เช่นประเทศร่ำรวยเหล่านี้ พึงได้ตระหนักไว้ว่า ก่อนที่จะสร้างภาระทางการเงินให้ลูกหลานประชาชนไทยต้องเดือดร้อนในวันข้างหน้านั้น ขอให้ทำความรู้จักตนเองเสียก่อน และการจะสร้างกฎหมายประกันคุณภาพบริการสาธารณะด้านการแพทย์และสาธารณสุข เมื่อเงื่อนไขการลงทุนมีไม่เท่าเทียม การจัดสรรทรัพยากรต่ำกว่ามาตรฐานประเทศอ้างอิงแล้ว การออกกฎหมายประกันคุณภาพบริการ จะต้องไม่กดดันผู้ปฏิบัติงานซึ่งภาระงานเกินกว่ามาตรฐานของประเทศที่อ้างอิง การเพิ่มคุณภาพบริการจึงควรเป็นไปโดยสร้างสรรค์มิใช่การกดขี่ลงแส้  มิเช่นนั้น รัฐบาลวิกฤติแน่
หมายเหตุ
*        คิดจากจำนวนแพทย์ผู้ปฏิบัติงานจริงต่อจำนวนประชากร 1,000 คน
**      คิดจากจำนวนเตียงผู้ป่วยทั้งประเทศไทยในปี2551 (125,866 เตียง)
***    คิดจากจำนวนผู้ป่วยนอก(152ล้านครั้ง)และผู้ป่วยใน(10ล้านครั้ง)รวม162ล้านครั้ง ในปี2552 ประชากรในประเทศไทย มีจำนวน      
           63,457,4398คน เฉลี่ยประชากร๑คนพบแพทย์ปีละ2.55ครั้ง (ไทย) ส่วนประเทศอ้างอิง2.8ครั้ง(สวีเดน) 6.1ครั้ง(เดนมาร์ก)
***    หมอไทยอายุเฉลี่ย 61.2 ปี  จาก  http://www.hsri.nu.ac.th/document/doc_article1.html
###    จาก http://www.nationmaster.com/country/sw-sweden/hea-health

ผู้เขียน นพ.อุสาห์ พฤฒิจิระวงศ์   25กันยายน2553
รองประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข แห่งประเทศไทย

84
หมอเมธี ออกโรงหนุน ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบ ขณะที่นัก กม.วิจารณ์ พ.ร.บ.ฉบับนี้มีจุดอ่อนหลายมาตรา เสนอคั้นเฉพาะข้อดี พ.ร.บ.ฉบับรัฐบาล-ฉบับหมอรวมกัน ด้านเอ็นจีโอ เห็นด้วย แต่ยืนกรานขอแก้รายละเอียดหลังผ่าน กมธ.
       
       วานนี้ (23 ก.ย.) ที่ห้องประชุมจิตติ ติงศภัทิย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ท่าพระจันทร์ มีการจัดประชุุมเสวนา เรื่อง “ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากระบบบริการสาธารณสุข พ.ศ... ใครได้ ใครเสีย เหมือนต่างจากร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข” โดยมีผู้เข้าร่วมจากหน่วยงานต่างๆเข้าร่วม อาทิ ศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มธ.องค์กรพัฒนาเอกชนด้านสุขภาพ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป (รพศ./รพท.) สหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย สำนักงานอัยการ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ฯลฯ
       
       โดย นายไพศาล ลิ้มสถิตย์ นัก วิชาการกฎหมาย ศูนย์กฎหมายสุขภาพฯ กล่าวว่า การจัดประชุมเสวนาในครั้งนี้มุ่งเน้นการร่วมกันพิจารณาหาข้อดีข้อเสียของ ร่าง พ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับ เพื่อจะได้เป็นหนทางของการนำไปสู่การเกิดขึ้นของกฎหมายที่เป็นประโยชน์แก่ ประชาชน ที่เข้ารับบริการสาธารณสุขแล้วได้รับผลกระทบจากความผิดพลาดในบริการดังกล่าว ให้ได้รับการคุ้มครอง ช่วยเหลือและเยียวยาออย่างทันท่วงที
       
       นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ แพทย์ ศัลยศาสตร์ด้านประสาท โรงพยาบาลราชวิถี  ผู้ยกร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากระบบบริการสาธารณสุข พ.ศ..กล่าวว่า การใช้คำว่า “ผู้เสียหาย” ใน พ.ร.บ.ฉบับรัฐบาลนั้น เป็นการครอบคลุมที่กว้างเกินไป ครอบคลุมทั้งผู้เสียหายฯ จริง หรือผู้เสียหายฯจากกรณีสุดวิสัย หรือผู้เสียหายฯที่ไม่ได้เกิดจากการรับ บริการแต่กลับมาร้องเรียน ตรงนี้จะแยกไม่ได้ เพราะในมาตรา 7 ของ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับความเสียหายฯไม่ได้เปิดช่องให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เข้ามาทำการวินิจฉัยแยกกลุ่มดังกล่าว ดังนั้น จึงตั้งชื่อใหม่ เป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการบริการสาธารณสุข ซึ่งมีความชัดเจนกว่า และรายละเอียดอื่นๆ นั้นก็เน้นการคุ้มครองทั้งสองฝ่าย ทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการสาธารณสุข แต่หากมีการวิพากษ์วิจารณ์จากนักกฎหมาย ตนก็พร้อมจะนำไปปรับปรุง
       
       ขณะที่ ศ. นพ.วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์  ที่ ปรึกษากฎหมายอาวุโส ศูนย์กฎหมายสุขภาพฯ กล่าวว่า เนื้อหาในมาตรา 6 ของ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบขัดหลักการปกครอง เนื่องจากระบุให้รัฐมนตรีออกประกาศโดยความเห็นชอบของสภาวิชาชีพ แสดงว่า มีอำนาจเหนือกว่าสภาวิชาชีพ ซึ่งไม่ใช่ เพราะสภาวิชาชีพมีกฎหมายของตนเอง และอยู่ภายใต้การดูแลของศาลปกครอง รัฐมนตรีไม่มีอำนาจในการสั่งการ  อีกทั้ง รัฐมนตรีจากกระทรวงไหนก็ไม่ได้ระบุ หากเขียนกฎหมายแบบนี้คงผ่านไม่ได้ ขณะที่มาตรา 25 ระบุไว้ว่าให้กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังสมทบเงินเข้ากองทุน ก็ดูเป็นเรื่องยาก  เพราะเรื่องนี้ต้องหารือหลายฝ่าย และมาตรา 44 ที่กำหนดให้ความผิดในคดีอาญาเป็นความผิดอันยอมความได้ หากเป็นความผิดอันเนื่องมาจากการให้บริการสาธารณสุข ซึ่งในความจริงแล้วความผิดตามกฎหมายอาญาแผ่นดิน อย่าง การทำให้คนเสียชีวิตเป็นกรณียอมความไม่ได้ ก็เปรียบกับผู้เสียหายฯ หากเสียชีวิตและมีการยอมความย่อมไม่ยุติธรรม เป็นแน่
       
       นายดล บุนนาค นักกฎหมายศาล ผู้พิพากษา หัวหน้าศาลประจำสำนักประธานศาลฎีกา  กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.นี้ดี แต่ยังมีข้อบกพร่อง  อย่างมาตรา 3  สำหรับคำนิยามของผลกระทบ ให้หมายถึงภาวะความพิการ การสูญเสียสมรรถภาพทางร่างกาย ซึ่งแสดงว่าหากเสียชีวิต หรือภาวะแท้ง จะไม่จ่ายค่าชดเชยหรืออย่างไร  มาตรา 5 ตรงนี้เห็นด้วย เพราะร่าง พ.ร.บ.ฉบับรัฐบาลไม่มี คือ ภายใต้ภาวะเร่งด่วนที่เป็นไปเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยหรือทารกในครรภ์ให้พ้นจาก อันตรายต่อชีวิตหรือความพิการใดๆ หากการกระทำก่อให้เกิดผลกระทบใดๆ ผู้ประกอบวิชาชีพย่อมได้รับความคุ้มครอง
       
       นายดล กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการพิจารณาเปรียบเทียบร่างทั้ง 2 ร่าง คือ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ฉบับรัฐบาล และ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบ ฉบับของแพทย์ นั้น มีความเห็นว่า กฎหมายทั้ง 2 ฉบับนี้สามารถที่จะบูรณาการหลักบางข้อมาใช้ร่วมกันได้ เช่น ระบบไกล่เกลี่ยนั้นเป็นข้อดีของฉบับรัฐบาล ขณะที่ พ.ร.บ.ที่เป็นฉบับของแพทย์นั้นก็มีข้อดีของเรื่องของการเสนอแนะให้หาทางออก ของยุติการฟ้องร้อง เพื่อป้องกันการจ่ายเงินชดเชยที่ซ้ำซ้อน แต่ก็ยังไม่ชัดเจนในรายละเอียด ซึ่งผมคิดว่าสามารถปรับปรุงได้ และหากมีการผสมผสานหลักการอย่างลงตัวของทั้ง 2 ร่างแล้วนำเสนอเข้าสภา ก็จะทำให้ขั้นตอนของการพิจารณาเป็นไปอย่างรวดเร็วและได้กฎหมายที่สมบูรณ์ ตรงใจของแต่ละฝ่าย ซึ่งในส่วนของข้อเสนอแนะนี้ปัญหาติดอยู่ที่หน่วยงานใดจะเป็นเจ้าภาพในการ ดำเนินการดังกล่าว
       
       “สิ่ง หนึ่งที่น่าห่วง คือ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบฯ ที่เสนอโดยกลุ่มแพทย์นั้น ไม่ได้ผ่านกฤษฏีกาแต่เน้นการเสนอเข้าที่ประชุมสภาฯ เลย นั่นหมายความไม่มีการขัดเกลาหลักการให้เป็นไปตามภาษาทางกฎหมาย อาจจะทำให้สภาฯมีความเข้าใจผิดเพี้ยนได้” นายดล กล่าว
       
       ด้าน น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า จากการพิจารณาร่าง ของ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบฉบับของแพทย์นั้น ก็เห็นกันชัดๆอญู่แล้วว่ามีข้อบกพร่องหลายประการตามที่นักกฎหมายจากภาคส่วน ต่างๆ ได้วิพากษ์วิจารณ์กัน อย่างไรก็ตามจากข้อเสนอแนะของนักกฎหมายที่มีการเสนอให้ผสมผสานหลักการ ของทั้ง 2 ร่าง โดยรวมรวมเอาข้อดีของแต่ละฝ่ายมารวมกัน แล้วปรับปรุงเพิ่มเติม จากนั้นก็เสนอเข้าสภา ตนก็พร้อมจะดำเนินการหากทางกลุ่มแพทย์ไม่ขัดข้อง แต่ยังยืนยันเหมือนเดิมว่า ในเรื่องรายละเอียดที่ต้องแก้ไขเพิ่มเติมขอให้ไปคุยกันหลังผ่านชั้น กรรมาธิการ

85

"อาชีพแพทย์นั้นมีเกียรติ
 แพทย์ที่ดีจะไม่ร่ำรวย แต่ไม่อดตาย
ถ้าใครอยากร่ำรวยก็ควรเป็นอย่างอื่นไม่ใช่แพทย์
อาชีพแพทย์นั้นจำต้องยึดมั่น ในอุดมคติ เมตตากรุณาคุณ"


พระราชประวัติโดยย่อ

จอมพลเรือ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (พระ ราชสมภพ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๔ - ทิวงคต ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๒) ทรงเป็นสมเด็จพระบรมราชชนก ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลฯ พระอัฐมรามาธิบดินทรและพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีคุณูปการแก่กิจการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขของประเทศไทยเป็น อย่างมาก ประชาชนโดยทั่วไปมักคุ้นเคยกับพระนามว่า "กรมหลวงสงขลานครินทร์"หรือ"พระราชบิดา"และบางครั้งก็ปรากฏพระนามว่า"เจ้าฟ้าทหารเรือ"และ"พระประทีปแห่งการอนุรักษ์สัตว์น้ำของไทย" ส่วนชาวต่างประเทศเรียกพระนามว่า "เจ้าฟ้ามหิดล"

สมเด็จ พระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๖๙ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และองค์ที่ ๗ ใน สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือนยี่ ปีเถาะ ขึ้น ๓ ค่ำ (ตรงกับวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๔ ตามปฏิทินเก่า, ถ้านับตามปฏิทินสากล ต้องเป็น พ.ศ. ๒๔๓๕) มีพระนามเต็มว่า "สมเด็จเจ้าฟ้าชายมหิดล อดุลยเดชนเรศวรมหาราชาธิบดินทร์ จุฬาลงกรณินทรวรางกูร สมบูรณ์เบญจพรสิริสวัสดิ์ขัตติยวโรภโตสุชาติ คุณสังกาศเกียรติประกฤษฐลักษณะวิจิตรพิสิฏฐบุรุษย์ ชนุดมรัตนพัฒนศักดิ์ อรรควรราชกุมาร"


เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ สมเด็จพระบรมราชชนกได้เสด็จเข้าศึกษาวิชาสาธารณสุขที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่นั้น พระองค์ทรงได้พระราชทานทุนให้แก่นักเรียนแพทย์ ไปศึกษาที่สหรัฐอเมริกาจำนวน ๒ ทุน ซึ่งทางโรงเรียนแพทย์ได้คัดเลือกออกมา ปรากฏว่าได้นักเรียนพยาบาลมา ๒ คน คือ นางสาวสังวาลย์ ตะละภัฏ (ต่อมาคือ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) และนางลิปิธรรม ศรีพยัตต์

สมเด็จ พระบรมราชชนก ทรงดูแลเอาใจใส่นักเรียนทั้ง ๒ ของพระองค์อย่างดี ทั้งทรงแนะนำวิธีการดำเนินชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีของต่างประเทศ และทรงรับสั่งเตือนสติเสมอว่า

เงิน ที่ฉันได้ใช้ออกมาเรียน หรือให้พวกเธอออกมาเรียนนี้ไม่ใช่เงินของฉัน แต่เป็นเงินของราษฏรเขาจ้างให้ออกมาเรียน ฉะนั้นเธอต้องตั้งใจเรียนให้ดี ให้สำเร็จเพื่อจะได้กลับไปทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ และขอให้ประหยัดใช้เงิน เพื่อฉันจะได้มีเงินเหลือไว้ช่วยเหลือผู้อื่นต่อไป

ระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่นี้ พระองค์ทรงใช้พระนามว่า มิสเตอร์มหิดล สงขลา เช่า อะพาร์ทเม็น ซึ่งมีเพียง ๔ ห้อง และมีคนใช้เพียงคนเดียว นับเป็นที่ชื่นชมของชาวอเมริกามาก ดังที่ได้เห็นจากบทความของ ดร. เอลลิส ว่า

ในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ก็ทรงเป็นเพียงนักเรียนแพทย์ผู้หนึ่งที่ไม่ใช่เจ้านาย ในพระนามบัตรก็มีว่า "มิสเตอร์ มหิดล สงขลา" ใน เวลาที่ประทับอยู่ในประเทศที่ไม่มีเจ้านาย พระองค์ท่านก็ไม่ใช่เจ้านาย เราถือว่าการที่วางพระองค์เช่นนี้ เป็นการให้เกียรติยศอันแท้จริงแก่ประเทศของเราและสมกับพระลักษณะของการเป็น เจ้านายที่แท้จริง

ขณะ ทรงศึกษาวิชาสาธารณสุขชั้นปีที่ ๓ ที่สมเด็จพระบรมราชชนกได้เสด็จกลับมาร่วมงาน ถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระราชชนนีพันปีหลวง

เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๓ สมเด็จพระบรมราชชนกได้อภิเษกสมรสกับนางสาวสังวาลย์ ตะละภัฏ (สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี)

ยุโรป

เมื่อ วันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๔ สมเด็จพระบรมราชชนกได้ทรงสำเร็จการศึกษา และได้รับประกาศนียบัตรการสาธารณสุข ดังนั้นพระองค์พร้อมพระชายาจึงเสด็จยุโรปประทับที่เมืองเอดินเบอร์ก สก็อตแลนด์ ทรงเป็นผู้แทนรัฐบาลไทยในการเจรจากับ มูลนิธิร็อกกีเฟลเลอร์ เกี่ยวกับการช่วยเหลือด้านการศึกษาวิชาแพทย์ในประเทศไทย ซึ่งบรรลุผลสำเร็จให้กับรัฐบาลไทย ถึงแม้จะมีการเจรจากันหลายครั้งก็ตาม

การ เสด็จสหราชอาณาจักรครั้งนี้ทรงตั้งพระทัยจะศึกษาวิชาแพทย์ให้จบ แต่เนื่องจากมีอุปสรรค ได้ประชวรด้วยโรคของพระวักกะ (ระบบปอด) ประกอบกับที่อังกฤษมีอากาศชื้นและหนาวเย็น ไม่เหมาะกับโรค ดังนั้นพระบรมราชชนกจึงต้องเสด็จนิวัติกลับพระนคร เพราะมีพระราชโองการจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัย และรับตำแหน่งในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๖

ใน วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๘ สมเด็จพระบรมราชชนกพร้อมพระชายาและพระธิดาเสด็จยุโรป เพื่อไปศึกษาเรื่องแพทย์ต่อ โดยได้ทรงเลือกวิชากุมารเวชศาสตร์ และพระองค์ก็ได้ทรงเสด็จกลับเมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๑

เสด็จกลับ

Imageพระราชกรณียกิจประการแรก เมื่อเสด็จกลับมาเมืองไทยก็คือ พระราชทานทุนให้นักเรียนออกไปศึกษา ๑๐ ทุน ในสาขาที่เกี่ยวกับการแพทย์

สมเด็จ พระบรมราชชนกทรงมีความเห็นว่า นักเรียนแพทย์ที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศจะได้ศึกษาเพียงเฉพาะโรคที่ เกิดขึ้นในเขตนั้นเท่านั้น เมื่อกลับมาประเทศไทยควรจะศึกษาต่ออีก ๑ ปี เพื่อจะให้ได้รับความรู้และความชำนาญโรคของประเทศไทย แต่ทางการก็มิอาจทำได้ดังพระราชประสงค์ เป็นเหตุให้ไม่ทรงพอพระราชหฤทัย ดังนั้นพระองค์จึงทรงเปลี่ยนพระราชหฤทัยจากจะทรงทำงานในโรงพยาบาลศิริราช มาเป็นเสด็จไปโรงพยาบาลแมคคอร์มิคจังหวัดเชียงใหม่

ที่เมืองเชียงใหม่

สมเด็จ พระบรมราชชนกเสด็จถึงจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๒ ทรงประทับกับครอบครัวผู้อำนวยการโรงพยาบาลขณะนั้น ดร. อี.ซี. คอร์ท เป็นตึกเล็ก และทรงมีมหาดเล็กเพียงคนเดียว

พระบรมราชชนกทรงมีความเอาใจ่ใส่ในการรักษาประชาชนอย่างมาก ชาวเมืองเชียงใหม่จึงขนานพระนามของพระองค์ว่า หมอเจ้าฟ้า สมเด็จ พระบรมราชชนกได้ประทับ ทีเมืองเชียงใหม่ประมาณ ๓ สัปดาห์ ก็ต้องเสด็จกลับกรุงเทพในวันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ เนื่องในพระราชพิธี ถวายพระเพลิง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช หลังจากนั้นทรงมีพระราชประสงค์จะเสด็จกลับไปเมืองเชียงใหม่ แต่ก็มิได้เป็นไปตามพระราชประสงค์ เนื่องจากทรงประชวรต้องประทับในพระตำหนักวังสระปทุม พร้อมด้วยพระมารดา โดยไม่ได้เสด็จออกจากวังอีกเลย

และ เมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๒ เวลา ๑๖.๔๕ น. พระบรมราชชนกก็ได้เสด็จทิวงคตด้วยโรคพระอาการบวมน้ำที่พระปับผาสะ (ปอด) พระชนมายุได้ ๓๘ พรรษา หลังจากทรงทนทรมานอยู่ได้ ๓ เดือนครึ่ง

บท ความข้างต้นนั้นเป็นพระราชประวัติโดยย่อของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเคช วิกรม พระบรมราชชนก และองค์บิดาแห่งวงการแพทย์และสาธารณสุขไทย ซึ่งขออัญเชิญมาจากวีกิพีเดีย เพื่อให้ประชาชนคนไทย ได้รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันอเนกอนันต์ที่พระองค์ท่านทรงบำเพ็ญตลอดพระ ชนม์ชีพของพระองค์ท่าน เพื่อยังประโยชน์แก่ประเทศไทยและประชาชนคนไทยอย่างต่อเนื่องและยาวนาน แม้พระองค์ท่านจะได้เสด็จทิวงคตไปแล้วถึง 81 ปี แต่พระราชกรณียกิจที่พระองค์ท่านได้ทรงบำเพ็ญมาในการวางรากฐานแก่วงการแพทย์ และสาธารณสุขไทยให้มีความเจริญรุ่งเรืองและพัฒนาได้อย่างดีเคียงบ่าเคียง ไหล่กับนานาอารยะประเทศนั้น ยังปรากฏให้เห็นและอำนวยคุณประโยชน์ให้กับประชาชนคนไทยทั้งแผ่นดินมาจนตราบ เท่าทุกวันนี้

     นอกจากพระองค์ท่านทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแก่ปวงชนชาวไทยในทางการแพทย์และ สาธารณสุขแล้ว พระองค์ท่านและพระราชชายาคือสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ยังมีพระมหากรุณาธิคุณแก่ประชาชนและประเทศไทยอย่างใหญ่หลวง ในการอบรมเลี้ยงดูพระราชโอรสและพระราชธิดา ให้เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงห่วงใยและบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อความสุขความ เจริญมั่นคงของประชาชนและประเทศชาติตลอดมา รวมทั้งสมเด็จพระราชธิดา สมเด็จกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ที่ได้ทรงดำเนินตามเบื้องพระยุคลบาทของ สมเด็จพระบรมราชชนกและสมเด็จพระบรมราชชนนี ในการเสียสละความสุขสบายส่วนพระองค์ เพื่อทรงงานช่วยเหลือและพัฒนาประชาชนและประเทศชาติอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ทุกพระองค์


Image   ในวาระวันครบรอบวันทิวงคตของพระองค์ท่านทุกปี วงการแพทย์และสาธารณสุขได้จัดงานถวายราชสักการะและน้อมรำลึกถึงพระมหา กรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน เรียกว่า "วันมหิดล" เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขได้รำลึกถึงน้ำพระทัยที่ทรงมีพระ เมตตาและพระกรุณาธิคุณแก่ประชาชนคนไทย ที่จะได้มีแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ที่มีความรู้ความสามารถในทางการแพทย์ ประกอบกับความเมตากรุณาและคุณธรรมความดี จะเห็นได้จากพระองค์ท่านทรงวางรากฐานในการศึกษาด้านการแพทย์และสาธารณสุข โดยการ "สร้างบุคลากร"ให้มาเป็น "ครูแพทย์" และยังพระราชทานพระโอวาท แก่บุคลลากรทางการแพทย์เสมอมา

  ขออัญเชิญพระราโชวาทบางส่วนของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก  ที่ได้ทรงมีพระราดำรัสแก่นักเรียน นักศึกษาและบุคลากรทางการแพทย์มาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นการถวายราชสักการะและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่สุด ประมาณ ที่พระองค์ท่านได้ทรงบำเพ็ญต่อวงการแพทย์และสาธารณสุขไทย ที่ได้อำนวยประโยชน์มหาศาลแก่ประชาชนไทยทุกคนจากอดีต จวบจนปัจจุบัน และจะต่อเนื่องต่อไปไม่มีที่สิ้นสุดในอนาคตแด่พระองค์ท่านใน "วันมหิดล" ในปีนี้ ดังนี้

"ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตน เป็นที่สอง
ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์ เป็นกิจที่หนึ่ง
ลาภทรัพย์และเกียรติยศ  จะตกแก่ท่านเอง
ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพไว้ ให้บริสุทธิ์"

"คุณลักษณะสำคัญสำหรับการเป็นแพทย์นั้นคือความเชื่อถือไว้ใจได้
๑.ท่านต้องมีความเชื่อในความสามารถของตน คือ มีความมั่นใจ
๒.ท่านต้องมีความไว้ใจระหว่างแพทย์กันเอง คือ ความเป็นปึกแผ่น
๓.ท่านต้องได้รับความเชื่อถือจากคนไข้ของท่าน คือ ความไว้ใจของคณะชน
คุณสมบัติสามประการนี้เป็นอาวุธ เกราะ และเครื่องประดับอันงามของแพทย์"

"เวลาเป็นของมีค่า เมื่อมันล่วงไปแล้วมันไม่กลับมาอีก
ถ้าเรามีโอกาสจะใช้มันเป็นประโยชน์แล้วเราไม่ใช้มัน ก็เป็นที่น่าเสียดาย"

"พวกเธอทั้งหลาย การเล่นนั้นเป็นของดี
การเรียนนั้นก็เป็นของดีและสำคัญ
แต่การที่จะให้ดีกว่านั้น คือ คนที่เรียนก็ดีและเล่นก็ดีด้วย"

"ท่านควรยกย่องคณะที่ให้การศึกษาท่าน ท่านควรมีความภูมิใจในคณะของท่าน
และท่านไม่ควรเรียนวิชาขึ้นใจและใช้เป็นเครื่องมือหากินเท่านั้น
ควรเก็บคำสอน ใส่ใจและประพฤติตาม
ผู้ที่จะบำบัดทุกข์ต้องเป็นตัวอย่างความประพฤติ ซึ่งจะนำมาแห่งสุขภาพ
แพทย์ที่ไม่ประพฤติตามวิธีที่ตัวสอนคนไข้แล้ว จะหาความไว้ใจจากคนไข้ได้อย่างไร"

"การ ที่เรียนจบหลักสูตรวิชาแพทย์นั้น ไม่ได้หมายความว่า นักเรียนผู้นั้นได้เรียนรู้การแพทย์หมดแล้ว แต่เป็นการตรงกันข้าม การที่เรียนจบนั้นเป็นแต่เพียงขั้นหนึ่งของวิชาการศึกษาทางการแพทย์ คือว่า ความจริงนักเรียนผู้นั้นได้เรียนจบตามตำรา และบัดนี้ เป็นผู้ที่สมควร และสามารถรับผิดชอบ ในการเรียนต่างๆ ที่เกี่ยวกับสุขภาพของประชาชนที่ไม่สมบูรณ์ โดยวิธีการทำจริงและโดยลำพังตนเองได้เท่านั้น เป็นการเรียนวิชาแพทย์ต่อ แต่เป็นโดยวิธีที่ต่างกับวิธีเดิมบ้างเล็กน้อย  จะเป็นแพทย์ที่ดีต่อไปในภายภาคหน้าไม่ได้ นอกจากแพทย์ผู้นั้น เมื่อสำเร็จวิชามาใหม่ๆ  จะรู้สึกตนว่าตนจะยังคงเป็นนักเรียนอยู่ต่อไปอีกตลอดเวลาที่ทำการแพทย์นั้น"

"ความลับของคนไข้ นั้นคือ ความรักคนไข้"

"อาชีพแพทย์นั้นมีเกียรติ แพทย์ที่ดีจะไม่ร่ำรวย แต่ไม่อดตาย
ถ้าใครอยากร่ำรวยก็ควรเป็นอย่างอื่นไม่ใช่แพทย์
อาชีพแพทย์นั้นจำต้องยึดมั่น ในอุดมคติ เมตตากรุณาคุณ"

 "I don't want you to be only a doctor, but I also want you to be a man."

 "True success is not in the learning but in its application to benefits of mankind."

เขียนโดย พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา  
23 ก.ย. 2010 14:14น.

86
เรื่องค่าตอบแทน รพศ./รพท.
ที่หลายๆแห่งไม่มีปัญหา ผอก.จ่ายมาตลอด
บางแห่งมีปัญหา ผอก.จ่ายบ้างไม่จ่ายบ้าง (เนื่องจากปัจจัยสถานะเงินบำรุงของรพ. และใจของผอก.รพ.)

และยังมีความสับสนว่าถึงตุลาคมแล้ว จ่ายต่อหรือไม่ เอาเงินที่ไหนจ่่าย หรือเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เชิญพี่ๆน้องๆทุกรพศ./รพท. เตรียมข้อมูลเพื่อมาแลกเปลี่ยนกัน
1. ค่าตอบแทนรพศ./รพท. โรงพยาบาลของท่านจ่ายกันครบหรือไม่? อย่างไร?
2. สถานะเงินบำรุงโรงพยาบาลของท่าน เป็นอย่างไร? บวกลบมากน้อยแค่ไหน
3. ในปีที่ผ่านมา รายรับ(งบรายหัวจาก สปสช.) เทียบกับรายจ่าย(คนไข้บัตรทองทั้งหมด)โรงพยาบาลของท่านเป็นอย่างไร? (ไม่รวมประกันสังคม ข้าราชการ และจ่ายเอง)

วันที่ 6 ตุลาคม นี้แน่นอน (สถานที่ หนังสือเชิญ คงจะออกเร็วๆนี้)

87

คณะทำงานพิจารณาศึกษาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ... ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๓ วันศุกร์ที่๑๗ กันยายน ๒๕๕๓  ได้ประชุมพิจารณาข้อมูลและผลกระทบต่างๆ ในผู้ให้บริการสาธารณสุขทั้ง ๙ กลุ่มองค์กร เบื้องต้น ได้มีมติจากที่ประชุมดังนี้

          ๑.      คณะกรรมการฯได้รับข้อมูลจากการประชาพิจารณ์เบื้องต้น กว่า ๑๐,๐๐๐ รายชื่อจากข้อมูลทั้งหมดที่ทยอยส่งเข้ามาจากองค์กรทั้ง ๙  ผลเบื้องต้น สรุปว่าบุคลากรทางการแพทย์มีความเห็นคัดค้าน ร่าง พรบ.ฉบับนี้ โดยมีความเห็นว่าต้องนำกลับมาทำประชาพิจารณ์ในกลุ่มผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องก่อน

          ๒.      คณะกรรมการฯมีความเห็นด้วยที่จะมีมาตรการใดๆในการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากระบบบริการสาธารณสุข เพื่อประโยชน์ของประชาชนและลดความกังวลของผู้ประกอบวิชาชีพ

       ๓.     ขอให้ผู้เกี่ยวข้องพิจารณาทบทวนมาตรการช่วยเหลือประชาชน ผู้ได้รับผลกระทบโดยขยายเพดาน เงินช่วยเหลือเบื้องต้น ตามมาตรา ๔๑ ในพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๕ ในระยะเปลี่ยนผ่าน

          ๔.      คณะกรรมการจะดำเนินการสรุปผลการประชุมโดยรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นโดยเร็วที่สุดเพื่อเสนอต่อผู้เกี่ยวข้อง และดำเนินการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดให้เสร็จสิ้นเพื่อจัดสัมมนาใหญ่ในเดือนตุลาคม ๒๕๕๓ ต่อไป

 

มติ ณ วันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๓

88
16 ก.ย. 2553

วันที่ 16 กันยายน 2553 เวลา 16.00 น. ทนพ.น.ท.พงษ์เพ็ชร คงพ่วง ทีม ปชส.คปส. ซึ่งเป็นผู้ให้บริการทางการแพทย์ผู้หนึ่งของ รพ.ภูมิพลอดุลยเดช รายงานข่าวจากห้องประชุม พล.อ.อ.ประพันธ์ ธูปเตมีย์ ว่า ตามที่ ผอ.รพ.ฯ อนุมัติให้จัดประชุม แพทย์ พยาบาล เภสัชกร ทันตแพทย์ เทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด และบุคลาการด้านการแพทย์หลากสาขาของโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่เหล่าทัพ  เปิดรับฟังข้อมูลร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พศ....

โดยมีคณะทำงานจัดให้มีการให้ข้อมูล คือ พล อ.ต. นพ.การุณ เก่งสกุล และ น.อ. นพ.วันชัย ศิริเสรีวรรณ นั้น ได้เชิญรองเลขาธิการแพทยสภา น.อ.(พิเศษ) นพ.อิทธพร คณะเจริญ มาช่วยให้ข้อมูลด้วย มีผู้เข้าประชุมราว 300 คน ที่ประชุมพอใจเป็นอย่างมากที่ได้รับข้อมูลในเนื้อหาร่างพรบ.นี้โดยครบถ้วน และชัดเจน และ มีฉันทามติ 100 % ไม่เห็นชอบกับร่าง พรบ.ฉบับที่เข้าสู่สภา และรอการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร

ที่ ประชุมมีข้อพิจารณ์เพิ่มเติมว่า
1.ควรที่จะขยายเพดานของเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ตาม ม.41 แห่ง พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
2.ควรที่จะเผยแพร่ข่าวสารข้อเท็จจริงของร่าง พรบ.นี้ไปสู่ประชาชนในวงกว้าง
3.ควรรวมพลังเพื่อนร่วมวิชาชีพ สนับสนุนร่าง พรบ.ฉบับประชาชนเข้าชื่อ 15007 ชื่อ เข้าประกบกับร่างเดิม
4.หาวิธีการ lobby ทางรัฐสภาให้ล้ม ร่าง พรบ.เดิม

89

       แรกทีเดียวผู้เขียนรู้สึกเพียงแค่ “เฉยๆ” กับ (ร่าง) พ.ร.บ.คุ้มครองความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พศ. ... แต่ก็สังเกตเห็นว่าเริ่มมีแพทย์จำนวนมากที่ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับ (ร่าง) พ.ร.บ.ผู้เขียนจึงเริ่มสนใจและศึกษาในรายละเอียดของ (ร่าง) พ.ร.บ. ฉบับนี้ ซึ่งก็ทำให้ได้เห็นประเด็นที่สร้างปัญหาแก่ผู้ปฏิบัติงานเพราะมีความไม่ชัดเจนในหลายมาตรา นี่คือความไม่ชัดเจนในมิติด้านความเข้าใจหรือด้านการปฏิบัติตาม ครั้นเมื่อได้กลับมาคิดทบทวน ได้กลับไปศึกษาใหม่ ได้เทียบเคียงกับกฎหมายอื่น ได้เทียบเคียงกับปัญหาทางสังคมอื่นๆ ที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ผู้เขียนก็ยิ่งมีความไม่เห็นด้วยเป็นทับทวี
      
       ได้มีผู้รู้หลายท่านวิพากษ์ (ร่าง) พ.ร.บ.ฉบับนี้ในแง่ที่จะก่อให้เกิดผลกระทบด้านลบกับผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขและตัวระบบการให้บริการสาธารณสุข ซึ่งผู้เขียนคงไม่ไปวิพากษ์ในประเด็นเหล่านี้ ท่านใดที่สนใจสามารถสอบถามจากรองเลขาธิการแพทยสภา ซึ่งรองเลขาฯ สามารถที่จะแสดงให้เห็นภาพได้อย่างชัดเจน
      
       ประเด็นที่ผู้เขียนสนใจและตั้งคำถามคือประเด็นผลกระทบต่อสังคมในระยะยาว ทั้งนี้โดยพิจารณาจากกรอบแนวคิด โมเดลการแก้ปัญหา กระบวนการยกร่างจนมาสู่ (ร่าง) พ.ร.บ.ที่ปรากฏเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา
      
       ใน (ร่าง) พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวได้กำหนดให้มีกองทุนเพื่อชดเชยความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขโดยไม่ต้องพิสูจน์ความรับผิด (ตามมาตรา 5 ของ (ร่าง) พ.ร.บ.ฉบับนี้) และเงินจากกองทุนก็มาจากเงินที่กำหนดให้สถานพยาบาลต่างๆ (รวมทั้งคลินิกที่ให้บริการในระดับชุมชนและร้านขายยาทุกร้าน) ต้องมาลงขันกันก่อน ทั้งจากโรงพยาบาลรัฐและเอกชนแล้ว ด้วยเหตุผลว่าสถานพยาบาลทุกแห่งเป็นผู้ให้บริการเหมือนกันและอาจมีโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์อันไม่พึงประสงค์
      
       ผู้เขียนคิดว่าถ้าสังคมเห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว สังคมก็ควรที่จะต้องมีกองทุนเพื่อชดเชยความเสียหายจากการใช้ถนนที่สร้างอย่างไม่มีคุณภาพโดยไม่ต้องพิสูจน์ความรับผิด เช่น ถนนที่สร้างแล้วเกิดเป็นหลุมบ่อและทำให้ระบบช่วงล่างของรถได้รับความเสียหาย (ไม่มากก็น้อย) ถนนที่สร้างแล้วไม่ลาดเอียงตรงโค้งอย่างเพียงพอรวมทั้งไม่มีไฟถนนอย่างพอเพียง ทำให้รถที่วิ่งผ่านโค้งนั้นๆ ในยามค่ำมืดอาจเกิดอุบัติเหตุรถตกไหล่ทางหรือแหกโค้ง รวมทั้งรถชนกันหรือชนคนข้ามถนนซึ่งก็ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน ในส่วนเงินของกองทุนเพื่อชดเชยความเสียหายจากการใช้ถนนฯ ก็กำหนดให้บริษัทรับสร้างถนนทั้งบริษัทเล็กและใหญ่ทั่วประเทศ (รวมทั้งบริษัทต่างชาติ) การไฟฟ้าภูมิภาค การไฟฟ้านครหลวง (เพราะเป็นคนติดตั้งไฟที่ควรจะพอเพียงเนื่องจากเป็นผู้เชี่ยวชาญ)
      
       การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (เพราะอาจผลิตไฟไม่เพียงพอทำให้ไฟส่องสว่างถนนไม่สว่างเพียงพอ) และบริษัทน้อยใหญ่ที่รับทำราวกั้นขอบถนน (เพราะทำให้รถเสียหาย รถบุบ ไม่มีคุณภาพอย่างในเยอรมนี และไม่สามารถป้องกันรถไม่ให้ตกลงคูข้างถนน) รวมทั้งงบประมาณแผ่นดินที่มาจากภาษีของทุกคน ในรูปเงินอุดหนุนจากรัฐบาล (ซึ่งรวมทั้งภาษีจากคนที่ไม่ได้ขับรถด้วยเพราะขับไม่เป็น) ถ้าหน่วยงานหรือผู้ประกอบการใดไม่ส่งเงินเข้าร่วมสมทบก็มีความผิดอาจถูกยึดหรืออายัดทรัพย์สินเพื่อให้ชำระเงินได้
      
       เช่นกัน สังคมก็ควรที่จะเรียกร้องให้มีกฎหมายที่กำหนดให้ต้องมีกองทุนเพื่อชดเชยความเสียหายจากการบริโภคอาหาร เครื่องสำอาง เครื่องดื่ม เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย โดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิด เช่น อาหารที่ทำให้ท้องเสีย อาหารที่ไม่มีคุณค่าอาหาร อาหารที่ไม่เป็นไปตามภาพที่ปรากฏในเมนูอาหาร อาหารที่ปนเปื้อนทั้งสารฟอกขาว สารบอแรกซ์ ฯลฯ
      
       อาหารที่ทำให้เกิดเศษอาหารติดค้างตามร่องฟันและทำให้ฟันผุ เครื่องสำอางที่ใช้แล้วหน้าหรือรักแร้ไม่ขาวดังคำโฆษณา เครื่องดื่มของหวานอัดลมที่ทำให้ฟันผุ ครีมหน้าขาวประเภท “กวนเอง” และทำให้เกิดอาการแพ้บนใบหน้า เสื้อผ้าที่ขาดรุ่ยเป็นขุยง่ายและตะเข็บแตกง่าย เสื้อสีตกและทำให้เสื้อผ้าชิ้นอื่นที่ซักร่วมกันเสียหาย เงินกองทุนก็ต้องมาจากบริษัทผู้ผลิตเสื้อผ้าทุกราย ผู้ผลิตเครื่องสำอางทุกราย และร้านอาหารทั้งเล็กใหญ่ทุกราย ทั้งผู้ผลิตและผู้จำหน่ายรายใหญ่ระดับประเทศและรายเล็กประจำชุมชน รวมทั้งงบประมาณแผ่นดินที่มาจากภาษีของทุกคน ในรูปเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ถ้าหน่วยงานหรือผู้ประกอบการใดไม่ส่งเงินเข้าร่วมสมทบก็มีความผิดอาจถูกยึดหรืออายัดทรัพย์สินเพื่อให้ชำระเงินได้
      
       และเช่นกัน สังคมก็ควรที่จะเรียกร้องให้กฎหมายที่กำหนดให้ต้องมีกองทุนเพื่อชดเชยความเสียหายจากการซื้อบ้านหรือห้องพักหรืออาคารชุด โดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิด เช่น บ้านที่ทรุดอย่างมาก บ้านที่ทรุดก่อนเวลา หมู่บ้านที่น้ำท่วมขังในหน้าฝน บ้านที่ไม่ได้คุณภาพ เช่น หลังคารั่ว พื้นปาร์เก้โก่งยกลอย หมู่บ้านที่ไม่มีส่วนกลางหรูตามที่โฆษณา บ้านอาคารชุดหรือห้องแถวที่สร้างไม่เสร็จทั้งจากผู้ประกอบการที่มีปัญหาการขาดสภาพคล่องรวมทั้งผู้ประกอบการที่ตั้งใจจะหลอกลวงผู้ซื้อ
      
       หมู่บ้านที่ขโมยขึ้นบ้านเพราะระบบรักษาความปลอดภัยไม่ดีพอ เงินกองทุนในกรณีนี้ก็มาจากบริษัทก่อสร้างทุกราย ทั้งรายใหญ่ระดับบิ๊กโฟร์ของประเทศ และรายย่อยระดับตำบลตามชายแดน เจ้าของอาคารชุดและนิติบุคคลที่กำลังยื่นคำขอก่อสร้างนิติบุคคลของหมู่บ้าน บริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่ายกระเบื้องมุงหลังคา และบริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่ายปาร์เก้ บริษัทผู้ผลิตเสาเข็มก่อสร้าง กรมทะเบียนการค้าและกระทรวงพาณิชย์ที่มีหน้าที่ในการตรวจสอบประวัติผู้ขอขึ้นทะเบียนการค้าแต่ไม่สามารถตรวจพบผู้ประกอบการที่มีประวัติตั้งใจหลอกลวงผู้บริโภค รวมทั้งเงินที่มาจากงบประมาณแผ่นดินที่มาจากภาษีของทุกคนในรูปเงินอุดหนุนจากรัฐบาล และเช่นกัน ถ้าหน่วยงานหรือผู้ประกอบการใดไม่ส่งเงินเข้าร่วมสมทบก็มีความผิดอาจถูกยึดหรืออายัดทรัพย์สินเพื่อให้ชำระเงินได้
      
       แล้วกองทุนชดเชยความเสียหายจากกระบวนการยุติธรรมล่ะ?
      
       ในปัจจุบันมีกฎหมายดังกล่าวแล้ว นั่นคือ “พ.ร.บ. ค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544” แต่ตาม พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว จำเลยผู้บริสุทธิ์ในคดีอาญาซึ่งคือผู้ที่ถูกกักขังแต่ในที่สุดแล้วเป็นผู้บริสุทธิ์ (เช่นจำเลยในคดีเชอรี่ แอน ดันแคน) จะได้รับการชดเชยก็ต่อเมื่อคดีถึงที่สิ้นสุด (คือฎีกา) ซึ่งอาจใช้เวลามากกว่า 10 ถึง 20 ปี ทำไมถึงไม่ชดเชยตั้งแต่ในชั้นที่ศาลอุทธรณ์กลับคำตัดสินของศาลชั้นต้นเลยโดยไม่ต้องรอให้คดีถึงที่สิ้นสุด
      
       ถ้าศาลฎีกากลับคำตัดสินของศาลอุทธรณ์แล้วจึงค่อยนำเงินคืน ในส่วนของเงินที่จ่ายตามพ.ร.บ.ฉบับนี้ก็เป็นเงินที่กระทรวงยุติธรรมต้องขอจากงบประมาณแผ่นดินจากรัฐบาลเป็นปีต่อปี ทำไม พ.ร.บ.นี้จึงไม่กำหนดให้ตั้งเป็นกองทุนเพื่อชดเชยผู้เสียหายจากกระบวนการยุติธรรมโดยเก็บเงินสมทบจากสถานีตำรวจภูธรตำบลทุกตำบล สถานีตำรวจภูธรอำเภอทุกอำเภอ สถานีตำรวจในเขตนครบาลทุกแห่ง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จากสำนักงานอัยการจังหวัดทุกจังหวัด และสำนักงานอัยการสูงสุด จากศาลยุติธรรมชั้นต้นทั้งศาลแขวง ศาลจังหวัด ศาลแพ่ง ศาลอาญา ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา จากสำนักงานทนายความเอกชนทุกแห่งทั้งใหญ่เล็กในประเทศทั้งสำนักงานทนายความของคนไทยและที่เป็นสาขาของชาวต่างชาติ
      
       แล้วกองทุนผู้ได้รับความเสียหายจากการศึกษา ประมาณว่า เรียนแล้วสอบตก สอบเข้าศึกษาต่อสถาบันอื่นไม่ได้ กองทุนผู้ได้รับความเสียหายจากการได้รับบริการด้านสื่อมวลชน เช่น สื่อมวลชนที่ลงข่าวและทำให้เสียชื่อเสียง ลงข่าวผิดพลาด กองทุนผู้ได้รับความเสียหายจากการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค กองทุนชดเชยความเสียหายจากการใช้บริการโทรคมนาคม กองทุนชดเชยความเสียหายจากการใช้บริการขนส่งทั้งทางบก ทางอากาศ และทางน้ำ รวมทั้งกองทุนในด้านต่างๆ อีกมากมาย
      
       เมื่อไล่เรียงไปในแต่ละกองทุนที่อุบัติขึ้นมาแล้ว และที่อาจจะเกิดขึ้นตามมา (ตามที่กล่าวในตอนต้น) สุดท้ายแล้วทุกหน่วยงานของรัฐและผู้ประกอบการเอกชนก็ต้องถูกกำหนดและบังคับให้ต้องร่วมจ่ายเงินสมทบกับกองทุนใดกองทุนหนึ่ง หรืออาจหลายกองทุนพร้อมๆ กัน รวมทั้งเงินงบประมาณของแผ่นดินจำนวนมหาศาลที่ต้องมาสนับสนุนกองทุนเหล่านี้เพียงเพื่อเตรียมชดเชยความเสียหาย โดยปล่อยให้คณะกรรมการกองทุนเป็นผู้บริหาร รวมทั้งคณะอนุกรรมการที่เป็นผู้ปฏิบัติและมีอิทธิพลที่แท้จริงในแต่ละชุด
      
       งบประมาณแผ่นดินที่ควรนำไปจัดสรรเพื่อการลงทุนของประเทศและพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ซึ่งโดยปกติก็คิดเป็นสัดส่วนที่น้อยมากอยู่แล้วก็จะต้องถูกลดทอนไปเพื่อกองทุนเหล่านี้ การจ่ายของกองทุนเหล่านี้ในทางเศรษฐศาสตร์ถือว่าเป็นการใช้จ่ายที่ไม่ก่อให้เกิดผลผลิต (Non-productive expenditure)
      
       ท่านผู้อ่านคิดว่าจำนวนการฟ้องร้องในเรื่องต่างๆ เหล่านี้เพื่อเรียกร้องการชดเชยจากกองทุนต่างๆ จะมีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อยๆ หรือแนวโน้มจะลดน้อยลงไปเรื่อยๆ
      
       ท่านผู้อ่านคิดว่าเมื่อมีกองทุนต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว เงินชดเชยรวมจากกองทุนต่างๆ ที่ต้องใช้เพื่อชดเชยตามคำเรียกร้องเหล่านี้จะมีแนวโน้มการจ่ายมากขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละปีหรือลดลงไปเรื่อยๆ ในแต่ละปี
      
       ท่านผู้อ่านคิดว่า เมื่อมีกองทุนต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว สังคมในอนาคตจะวุ่นวายหรือไม่
      
       ท่านผู้อ่านคิดว่า เมื่อมีกองทุนต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว ประเทศชาติจะพัฒนาอย่างเต็มที่ได้อย่างไร
      
       ท่านผู้อ่านหลายท่านอาจคิดแย้งว่า กองทุนอื่นไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตั้งขึ้นมาเพราะมีศาลแพ่งในคดีละเมิดและศาลอาญาในกรณีที่เกิดอันตรายต่อชีวิตหรือกรณีที่เข้าข่ายเป็นคดีอาญาอยู่แล้ว ผู้ใช้บริการด้านต่างๆ สามารถฟ้องร้องเป็นคดีแพ่งและคดีอาญาได้
      
       คำถามคือ แล้วทำไมจึงต้องมีกองทุนความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขในเมื่อก็ไม่ได้ตัดสิทธิการฟ้องร้องทางคดีแพ่งและคดีอาญาอยู่แล้วเช่นกัน
      
       โดยส่วนตัวนั้น ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับการที่ต้องนำเงินทั้งเงินภาษีประชาชนในรูปของเงินงบประมาณและเงินของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่อาจมีคุณภาพและไม่ได้มีส่วนในการก่อให้เกิดผลเสียหายในการให้บริการสาธารณสุขมารวมกันและให้กลุ่มบุคคลในนามของ “คณะกรรมการบริหารกองทุน” มาเป็นผู้ดูแลกองทุน แม้จะมีความพยายามอธิบายว่า มีสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินมาคอยทำหน้าที่ตรวจสอบงบการเงินและรับรองดังความในมาตรา 24 แต่นั่นก็มิได้เป็นหลักประกันที่แท้จริง เพราะมิเช่นนั้นประเทศไทยคงไม่ได้อยู่ลำดับที่ 15 จากทั้งหมด 16 ประเทศจากการจัดอันดับประเทศคอร์รัปชันในเอเชียในปี 2552 โดยบริษัทปรึกษาความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจและการเมือง หรือ PERC - Political and Economic Risk Consultancy Ltd. ประเทศไทยได้คะแนน 7.63 ชนะประเทศอินโดนีเซียอยู่ประเทศเดียว และเลวร้ายกว่ากัมพูชาซึ่งได้ 7.0 (ยิ่งคะแนนมาก ยิ่งคอร์รัปชันมาก)
      
       ถ้าการลงขันกันของสถานพยาบาลต่างๆ เป็นในรูปของการซื้อประกันความเสี่ยง สถานพยาบาลนั้นๆ ไม่ต้องมาวุ่นวายกับการฟ้องร้องหรือคดีความเพราะมีผู้ดำเนินการให้ และไม่ต้องถูกรบกวนให้ต้องลงขันเพิ่มในปีต่อไปแม้ว่าจะเกิดความเสียหายจริงจากการให้บริการสาธารณสุขของสถานพยาบาลนั้นๆ การลงขันในกองทุนก็อาจจะเป็นการคุ้มค่า และการมีกองทุนชดเชยความสียหายต่างๆ ก็อาจเป็นสิ่งที่มีประโยชน์แก่สังคม แต่จะเห็นได้ว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้มิได้ห้ามการฟ้องร้องทางแพ่งและทางอาญาต่อศาล และศาลอาจพิจารณาให้สถานพยาบาลจ่ายมากกว่าที่เงินกองทุนที่จะจ่ายให้ นั่นหมายความว่าสถานพยาบาลนั้นก็ต้องจ่ายอยู่ดี รวมทั้งการลงขันในปีต่อไปก็อาจมีการปรับให้จ่ายเงินลงขันมากขึ้น ถ้าพบว่าเกิดเหตุการณ์ความเสียหายจากสถานพยาบาลนั้น ตามความในมาตรา 21
      
       ทำไมจึงไม่เพียงตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาตามมาตรา 5 และมาตรา 6 และถ้าคำร้องมีมูลคณะกรรมการก็มีคำสั่งการให้สถานพยาบาลนั้นๆ ที่ถูกร้องและหน่วยงานต้นสังกัดของสถานพยาบาลนั้นๆ (ในกรณีเป็นสถานพยาบาลของรัฐ) จ่ายชดเชยในเบื้องต้นให้แก่ผู้รับบริการ และรอผลการพิจารณาของศาลในที่สุด ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้สถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนที่ดีมีคุณภาพใส่ใจต่อการให้บริการสาธารณสุขซึ่งเป็นส่วนใหญ่ของสถานพยาบาลทั้งหมดก็ไม่ต้องมีภาระในการต้องจัดเงินมาลงขันในกองทุนดังกล่าว รวมทั้งไม่เป็นภาระแก่เงินงบประมาณแผ่นดินของประเทศซึ่งรัฐบาลควรที่จะนำเงินดังกล่าวไปลงทุนโดยเฉพาะด้านทรัพยากรมนุษย์คือลงทุนด้านการศึกษาและการลงทุนในการการยกระดับจิตใจคนในสังคมเพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันอย่างเอื้ออาทร อย่างมีคุณธรรมและอย่างมีมนุษยธรรม
      
       ถึงเวลาหรือยังที่สังคมเราจะปฏิรูปกระบวนการออกกฎหมายโดย
      
       1. ผู้ยกร่างกฎหมายและผู้เสนอร่างกฎหมายจะต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียในกระบวนการบังคับใช้กฎหมายเป็นเวลาอย่างน้อย 10 ปี ยกเว้นร่างกฎหมายเกี่ยวกับการเงินที่มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินได้ตามกฎหมายดังกล่าวเป็นเงินของแผ่นดิน (ในกรณี (ร่าง) พ.ร.บ.ฉบับนี้ ผู้มีรายชื่อในการประชุมเพื่อยกร่างทั้งในส่วนของข้าราชการของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และผู้มีรายชื่อในส่วนของตัวแทนของผู้บริโภคจะต้องไม่ดำรงตำแหน่งทั้งในคณะกรรมการ หรือในคณะอนุกรรมการเป็นเวลา 10 ปี) ทั้งนี้เพื่อแสดงถึงความบริสุทธิ์ใจในการผลักดันร่างกฎหมายฉบับนั้นๆ
      
       2. รัฐบาลมีหน้าที่ที่จะบริหารประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าโดยผ่านการลงทุนและการพัฒนาที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคม รัฐสภามีหน้าที่ในการกำกับทิศทางของรัฐบาล และสังคม (ที่เจริญ) มีหน้าที่ในการติดตามการดำเนินงานของทุกฝ่าย ทุกคนในสังคมควรพยายามช่วยกันด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อที่จะให้ทั้งรัฐบาล รัฐสภา และสังคมได้ทำหน้าที่ของตนอย่างสมบูรณ์ ทั้งด้วยการวิพากษ์ การวิจารณ์ ให้ข้อเสนแนะ ทำการตรวจสอบ การเดินขบวนประท้วง รวมทั้งการทำสิ่งที่เรียกว่า “Social Sanction” หรืออื่นๆ
      
       กลุ่มคนในสังคมไม่ควรแสดงความไม่ไว้ใจในรัฐบาล หรือรัฐสภา และเชื่อว่าตนบริหารได้ดีกว่าจนนำมาสู่ความพยายามถ่ายโอนอำนาจบริหารและทรัพยากรเงินมาอยู่ในมือตนโดยการออกกฎหมายในรูปแบบที่จะทำให้เกิดกองทุนโดยนำเงินมาจากงบประมาณแผ่นดินซึ่งเป็นเงินของประชาชนทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดหรือบังคับให้องค์กรอื่นต้องเข้าร่วมสมทบเงินในกองทุนนั้นๆ และให้ “คณะกรรมการกองทุน” เป็นผู้บริหาร
      
       3. เพื่อให้สอดคล้องกับคำว่า “ประชาธิปไตย” (ซึ่งย่อมมิใช่ “ผู้แทนราษฎรธิปไตย” หรือ “พรรคการเมืองธิปไตย” ) และเพื่อให้มีการใช้ประโยชน์จากความพร้อมของเทคโนโลยีการสื่อสารของสังคมในปัจจุบันรวมทั้งเครือข่ายสังคมทางอินเทอร์เน็ต (ร่าง) กฎหมายที่จะเสนอเป็นพระราชบัญญัติ (ซึ่งโดยปกติไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน เพราะเรื่องที่เร่งด่วน เรื่องที่เกี่ยวกับความมั่นคง หรือเรื่องที่ต้องปกปิดไม่สามารถแพร่งพรายแก่สาธารณชนก่อนเวลาได้ด้วยเหตุที่เกี่ยวข้องกับการเงิน อาทิ
      
       การลดค่าเงิน รัฐบาลจะออกเป็นพระราชกำหนดและมีผลบังคับใช้แล้วจึงจะนำเข้าสู่สภาเพื่อออกเป็น พ.ร.บ.ตามมาในภายหลัง) ควรจะต้องเผยแพร่ให้ประชาชนทราบเพื่อร่วมกันในการแสดงความคิดเห็นในแง่มุมต่างๆ ก่อนที่จะเข้าสู่รัฐสภา และได้ข้อยุติที่สังคมยอมรับร่วมกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเชิงเจตนารมณ์หรือหลักการ การนำไปปฏิบัติ ความขัดแย้งกับหลักการหรือค่านิยมที่สำคัญของประเทศ รวมทั้งความขัดแย้งในทางปฏิบัติหรือหลักการกับกฎหมายอื่นที่ถือปฏิบัติอยู่แล้ว เพื่อมิให้เกิดปัญหาดังเช่น (ร่าง) พ.ร.บ.คุ้มครองความเสียหายฯ
      
       สาระสำคัญของการระบบการปกครองที่ดีมิได้อยู่ที่กระบวนการใช้อำนาจว่าใช้โดยบุคคลเดียว โดยกลุ่มบุคคลกลุ่มเดียวที่เรียกว่า “เผด็จการ” หรือโดยคนหมู่มากของสังคมที่เรียกว่า “ระบอบประชาธิปไตย” สาระสำคัญของการระบบการปกครองที่ดีอยู่ที่ว่าการปกครองนั้นต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ของคนหมู่มากของสังคม
      
       แต่ประโยชน์ของคนหมู่มากในขณะนั้น (ซึ่งในที่สุดก็ต้องตายจากไป) ก็ต้องไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมในระยะยาว ประวัติศาสตร์ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า ถ้าสิ่งที่ผู้ร้ายที่ชื่อ “ระบอบเผด็จการ” ทำไปนั้นเพื่อประโยชน์ของสังคมระยะยาวแล้วก็ดูจะมีประโยชน์และคุณานุปการต่อสังคมมากกว่าพระเอกที่ชื่อ “ระบอบประชาธิปไตย” ที่ยังประโยชน์เพียงคนหมู่มากในขณะนั้นแต่อาจทิ้งผลกรรมไว้ให้แก่สังคมในระยะยาวและแก่คนรุ่นหลัง

90

วันที่ 14 ก.ย. 2553 นายแพทย์ประทีป เมฆประสาน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชนภูเขียว จ.ชัยภูมิ ประธานชมรมผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน และคณะ ได้จัดการประชุมผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน ที่โรงแรมเอเชียแอร์พอร์ต จ.ปทุมธานี ซึ่งจัดให้มีการบรรยายเรื่อง ผลกระทบของร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ฉบับของรัฐบาล มีวิทยากร คือ พญ.อรพรรณ์ เมธาดิลกกุล รองประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขไทย และ นพ.อุสาห์ พฤฒิจิระวงศ์ ที่ปรึกษาสมาพันธ์แพทย์รพศ./รพท. และกรรมการสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขไทย

รายงานความคืบหน้าในชั่วโมงนี้ 14ก.ย. เวลา 12.00น. เป็นดังนี้

ที่ประชุม ผอ.รพ.ชุมชนทั่วประเทศ 350 ท่าน มี 346 ท่านที่อ่าน และทำความเข้าใจร่าง พ.ร.บ.นี้ ทั้งหมดมีมติไม่เห็นด้วยกับร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ฉบับของรัฐบาล อีก 4 ท่าน ขอเวลาไปอ่าน และทำความเข้าใจภายหลัง จึงถือได้ว่า 100% ของ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชนที่อ่านและเข้าใจร่าง พ.ร.บ.นี้ ไม่เห็นด้วย

หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 17