ผู้เขียน หัวข้อ: ความเสมอภาคไม่ใช่ความเสมอเหมือน: บทเรียนจากระบบประกันสุขภาพไทย  (อ่าน 2372 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9779
    • ดูรายละเอียด

หลักประกันสุขภาพของคนไทยในปัจจุบัน

 ปัจจุบันนี้คนไทย ๙๙% อยู่ในระบบประกันสุขภาพสามระบบด้วยกัน คือ
 ระบบบัตรทอง เรียกตัวเองว่าเป็นหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  ดูแลชาวบ้าน๗๕% หรือ๔๙ ล้านคน ด้วยงบประมาณที่สำนักงานประกันสุขภาพรับเหมาจากรัฐเป็นรายปี  ราคาเหมาล่าสุดในงบปี ๕๓ อยู่ที่ ๒๔๐๐ บาท/หัว  และกำลังขอเพิ่มอีก ๗๐๐ บาท/หัว ในปี ๕๔  เพราะขณะนี้โรงพยาบาลของรัฐขาดทุนกว่า ๑๙๐ แห่งแล้ว รวมภาระขาดทุนในปี ๒๕๕๒ กว่า๕,๕๐๐ ล้านบาท 

ระบบลูกจ้าง  เรียกเป็นทางการว่ากองทุนประกันสังคม  ตั้งมากว่า ๒๐ ปี ดูแลคนไทยได้๑๕.๕% หรือกว่า ๑๐ ล้านคน   มีรายได้จากกองทุนประกันสังคมที่ทั้งลูกจ้าง นายจ้าง และรัฐ ออกเงินสมทบกัน เกิดเป็นกองทุนกลางรับประกันให้ลูกจ้างทั้งสุขภาพ อุบัติเหตุ และตกงาน รวมทั้งเบี้ยยังชีพยามชรา    เฉพาะหลักประกันสุขภาพนั้น  สำนักงานประกันสังคมเหมาให้โรงพยาบาลต่างๆ ในราคา ๒,๑๕๐ บาท/หัว   ระบบนี้มีการแข่งขันให้ลูกจ้างเลือกว่าจะใช้บริการโรงพยาบาลใด  และพบว่าจะนิยมใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนมากกว่าโรงพยาบาลของรัฐ

ระบบข้าราชการ-รัฐวิสาหกิจ เป็นสวัสดิการที่รัฐต้องให้ตามที่กฎหมายกำหนด  มีคนไทยอยู่ในหลักประกันนี้ ๗.๘% หรือ ๕ ล้านคน  รัฐจ่ายให้ตามรายการที่จ่ายจริงไม่เกินเกณฑ์กลางและเพดานที่กำหนด 

ปัญหาความไม่เสมอเหมือนที่อ้างว่าไม่เสมอภาค

 เมื่อครั้งที่รัฐบาลทักษิณ ๑ นำข้อเสนอของเอ็นจีโอสาธารณะสุขและกลุ่มหมอก้าวหน้า มาผลักดันเป็นร่างกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาตินั้น   ก็ได้พยายามให้ลูกจ้างและข้าราชการเข้ามาอยู่ในหลักประกันเดียวกันกับราษฎร แต่ไม่สำเร็จเพราะพวกนี้เขาถือว่าหลักประกันนี้มาจากน้ำพักน้ำแรงของเขาเอง   จะเอามารวมบริหารร่วมกับของฟรีที่ให้แก่ราษฎรไม่ได้
 มาปัจจุบันนี้เมื่อรัฐบาลนายกฯสุรยุทธ  ไปยกเลิกเงินร่วมจ่าย ๓๐ บาท จนระบบ ๓๐ บาทรักษาทุกโรค  กลายเป็นบัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกโรคเช่นทุกวันนี้    ก็ทำให้ชาวบ้านเข้ามาเบิกจ่ายบริการกันขนานใหญ่    ค่าใช้จ่ายด้านยาพุ่งพรวด  ค่าตรวจก็ท่วมท้นเพราะหมอกลัวถูกฟ้อง มีอะไรก็ส่งตรวจส่งไปสแกนกันแหลก   ทั้งหมดนี้ทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นทุกปีแก่ระบบบัตรทอง   เมื่อบวกด้วยเงินที่รั่วไหลไม่ตกแก่โรงพยาบาลอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยด้วยแล้ วโรงพยาบาลก็ขาดสภาพคล่องจนอยู่ไม่ได้   ทยอยทิ้งงานเลิกสัญญาไปโดยลำดับทั้งโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย โรงพยาบาล กทม. และโรงพยาบาลเอกชนหลายสิบโรง
  ในท่ามกลางความระส่ำระสายของระบบบัตรทองนี้    ก็ได้เกิดกระแสผลักดันโจมตีว่า
ทุกวันนี้ลูกจ้างได้รับการรักษาพยาบาลในมาตรฐานที่ด้อยกว่าบัตรทอง  อย่างไม่เป็นธรรมยิ่งเพราะคนในบัตรทองไม่ต้องออกเงินอะไรเลย กลับได้บริการดีกว่าลูกจ้างที่ต้องออกเงินเองเสียอีก  จึงน่าที่จะโอนลูกจ้างมาอยู่ในระบบบัตรทองได้แล้ว   ซึ่งหากเป็นไปตามนี้ก็หมายถึงค่าใช้จ่ายประกันสุขภาพที่จะตกแก่ภาครัฐอีก กว่าสามหมื่นล้าน  จนเหยียบสองแสนล้านบาทในปี ๒๕๕๔ เลยทีเดียว
 น่าสังเกตว่ากระแสผลักดันนี้ มีเอ็นจีโอเป็นตัวหลัก  มิได้มีองค์กรแรงงานเป็นตัวตั้งตัวตีเลย   ครั้นเมื่อจัดตั้งกลุ่มแรงงานได้กลุ่มหนึ่งแล้ว  ก็ดันหลังให้มาร่วมกันไปร้องผู้ตรวจการแผ่นดิน ร้องปลัดกระทรวงแรงงาน  ว่า ความเหลื่อมล้ำนี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญไปโน่นเลย
บทความนี้จะขอบ่งชี้ว่า  การสมอ้างเอาความไม่เสมอเหมือนนี้มาเป็นความไม่เสมอภาคตามรัฐธรรมนูญนั้น   เป็นความเข้าใจที่ขาดเคลื่อนโดยสิ้นเชิง  ดังจะขอนำเสนอในทำนองปุจฉา-วิสัชนา ไปโดยลำดับดังนี้

ความเสมอเหมือนไม่ใช่ความเสมอภาค

  รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐  มาตรา ๕๑
“บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐา น  และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดย ไม ่เสียค่าใช้จ่าย
      บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขจากรัฐ ซึ่งต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ ”

ถาม อ่าน มาตรา ๕๑ วรรค ๑ แล้วหมายความว่า  หลักประกันสุขภาพทั้งสามระบบจะต้อง
 มีบริการที่เหมือนกันหรือไม่ ?
ตอบ อ่านให้ดีใช้ปัญญานิดหน่อย ก็เข้าใจได้ว่า  เขากำหนดให้มีสิทธิเสมอกันนะคุณ  ไม่ใช่
 มาตรฐานเสมอกัน   วรรคนี้กำหนดก่อนว่าบริการสาธารณสุขไม่ว่าระบบใดจะต้องผ่าน
 เกณฑ์กลางก่อนว่า เหมาะสมและได้มาตรฐานแล้ว    จากนั้นจึงระบุให้ทุกคนต้องมีสิทธิ
 เสมอกันที่จะเข้าถึงบริการเหล่านี้     มาตรานี้วรรคนี้ไม่ได้ระบุเลยว่าต้องมีหลักประกัน
 ระบบเดียว   และถ้ามีหลายระบบทุกระบบต้องมีมาตรฐานเหมือนกัน 
 ในอนาคตระบบของลูกจ้างอาจทุ่มเงินรับประกันทุกรายการเหมือนระบบข้าราชการจน ค รอบคลุมกว้างกว่าดีกว่าระบบบัตรทองก็ได้   ซึ่งเขาก็มีสิทธิทำได้เพราะเป็นเงินใน
กองทุนของเขาเอง ราษฎรในระบบบัตรทองจะโวยว่าไม่เสมอภาคไม่ได้

ถาม แล้วทุกวันนี้ทั้งสามระบบให้บริการผ่านมาตรฐานกลางหรือไม่
ตอบ เท่าที่ศึกษามาก็ครอบคลุมทุกโรคพอๆ กัน  ต่างกันในรายละเอียดเท่านั้น  เช่นประกัน
  การล้างไตก่อนฟอกไตว่า จะรับผิดชอบให้กี่ครั้ง  คลอดบุตรจะมีค่านมค่าเลี้ยงดูให้
 หรือไม่แค่ไหน ทำฟันนี่รวมขัดหินปูน รักษารากฟัน ฯ   ด้วยไหม   เรื่องโรคจิตนี่
 ประกันสังคมเขาก็เพิ่ม ให้เหมือนบัตรทองแล้ว   
ที่สำคัญก็คือจะเป็นประกันระบบอะไรก็ตาม  หมอและโรงพยาบาลก็ถูกคุม คุณภาพโดย
กฎหมายชุดเดียวกันทั้งสิ้น   ปัญหาจริงๆ ที่น่าจะประเมินน่าจะอยู่ที่ประสิทธิผล มากกว่า

ถาม ประสิทธิผลอะไรครับ
ตอบ โรคเดียวกันพยาธิสภาพเหมือนกันนี่  คุณไปสำรวจดูได้เลยว่า  ประกันสังคมจะนอน
 โรงพยาบาลน้อยกว่า  เพราะเขาต้องทำงานทำการกันทั้งนั้น    ส่วนอัตราหายหรือตายนี่
 น่าสำรวจมาก  เพราะทุกวันนี้โรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุขต้องรับโหลดบัตรทอง
 หนักมากๆ   เหลือโรงพยาบาลเอกชนขนาดเล็กๆ มาช่วยผ่อนปรนได้บ้าง   โรงพยาบาล
 อื่นหนีหมดแล้ว   ระบบเหมาจ่ายของบัตรทองนี่นานไปมันทำลายโรงพยาบาลไปเรื่อยๆ

ถาม จะแก้ได้ไหม
ตอบ ต้องทำโรงพยาบาลทุกแห่งให้เป็นไปตามมาตรา ๕๑ วรรคสอง   คือทั่วถึงและมี
 ประสิทธิภาพเหมือนกันก่อน   แล้วนำข้อกำหนดห้ามไปรักษาข้ามเขตกลับคืนมา ภาระก็
 จะกระจายไปอย่างทั่วถึง   ไม่ใช่ข้ามกันโดยเสรีจนโรงพยาบาลไหนทำดีก็เหนื่อยตายเช่น
 ทุกวันนี้    หลักให้ราษฎรร่วมจ่ายนี่ต้องเอากลับคืนมา ยกเว้นไว้เฉพาะคนยากจนเท่านั้น 
 ที่รัฐบาลนายกฯสุรยุทธโดยคุณหมอมงคลไปยกเลิก เงินร่วมจ่าย ๓๐ บาทนี่  ผิดกฎหมาย
 ชัดเจน   ทำไมไม่พูดกันตรงนี้บ้าง  ตรงนี้นี่แหละความไม่เสมอภาคที่แท้จริง  ในระบบ
 บัตรทองนี่มีคนรวยที่ทำอาชีพอิสระ หรือนอนกิน  มาใช้สิทธิเอายาเยอะแยะเลยนะคุณ

ถาม ผิดกฎหมายอะไรครับ
ตอบ พระราชบัญญัติประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี ๒๕๔๓ มาตรา ๕ ระบุชัดเจนว่าต้องไม่เป็น
 ภาระกับงบประมาณแผ่นดิน และกำหนดให้ประชาชนผู้รับบริการต้องร่วมจ่ายด้วย เว้น
 แต่ผู้ยากไร้  ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้มีการใช้บริการเกินความจำเป็น
 การเลิกเงินร่วมจ่ายจึงผิดกฎหมาย   เกิดการใช้สิทธิฟุ่มเฟือยต้องเพิ่มงบประมาณให้ทุกปี
  ในจำนวนที่มากขึ้นทุกปีด้วย  ปี ๕๓ ขอเพิ่ม ๑๙๙บาท/หัว  ปี ๕๔ นี่โดดเป็นขอเพิ่ม
 ๗๐๐บาท/หัว เลย    สภาพอย่างนี้ไม่ใช่แค่เป็นภาระแล้ว  มันถึงขนาดถ่วงทำลาย
งบประมาณแผ่นดินเลยทีเดียว
ถ้าไม่ทบทวน ไม่ลด ไม่เลิก สวัสดิการตามลัทธิขอทานนิยมเหล่านี้ลง   รัฐบาลจะ
แก้ปัญหาเศรษฐกิจไม่ได้แน่นอน

ถาม ทำไมจะแก้ไม่ได้
ตอบ โลกทุกวันนี้อาหารแพง พลังงานแพง แน่นอน   นโยบายตรึงราคาก็ใช้งานไม่ได้
 ตลอดไป  รัฐต้องยอมให้ขึ้นค่าแรงคนงานแล้วลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้เอกชนเขาอยู่ได้ 
 ด้วย  พร้อมกันนั้นต้องมีงบลงทุนเพื่อพัฒนาความสามารถใหม่ รายได้ใหม่ด้วย   แล้วจะ
 เอาเงินที่ไหนมาแบกรับสวัสดิการฟรีๆแบบนี้    ของฟรีอย่างนี้ต้องลดลงเหลือให้ฟรีแต่
 เฉพาะคนยากไร้จริงๆ เท่านั้น

ถาม เห็นคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ  เขาเสนอให้เอาเงินกองสลากปีละ หมื่นล้าน มาตั้ง
 กองทุนสวัสดิการเด็กและคนชราอีกนะครับ
ตอบ อย่าไปตั้งกองทุนอะไรให้เอ็นจีโอเหล่านี้อีกเลย    เอาเงินกองสลากมาช่วยค้ำยันระบบบัตรทองนี้จะดีกว่า  พอกันทีได้ไหมกับธุรกิจรับเหมาดูแลคนจนคนยาก ที่ตัดเงินไปตั้งกองทุนลูกเดียวอย่างนี้   
ผมเห็นจับอะไรเมื่อใดก็ลงเอยด้วยกองทุนทุกทีเลย  สสส.ก็กองทุน  ประกันสุขภาพก็กองทุน  ทีวีสาธารณะก็กองทุน  จะประกันความเสียหายรักษาพยาบาลก็กองทุนอีก
ปฏิรูปที่ดินก็กองทุนอีก ๕ แสนล้านบาท   สวัสดิการเด็กคนแก่ก็กองทุนอีก  ไม่ไหวแล้ว

ถาม ทำไมไม่ไหว
ตอบ มันเป็นระบบที่ไม่มีความรับผิดชอบ  ไม่มีเป้าหมายเนื้องานแน่นอน  ต่อท่อตัดเงิน
 ภาษีไปเฉยเลย  แล้วก็แบ่งงานแบ่งเงินกันเองเฉพาะในวงในซุ้มของกรรมการ ตรวจสอบ
 อะไรก็ไม่ได้  สตง.ตรวจได้จริงๆแค่การบวกเลขเท่านั้น
ความเสมอภาคที่แท้จริง

ถาม ตรงไหนของระบบปัจจุบันที่อาจารย์บอกว่าไม่เสมอภาค
ตอบ ความไม่เสมอภาคไม่ได้อยู่ที่ความไม่เสมอเหมือน   แต่อยู่ที่การเลือกปฏิบัติโดยไม่
สมเหตุสมผล   ลูกจ้างกับข้าราชการเขาได้สวัสดิการเนื่องจากการทำงานหรือการออมส่วนระบบบัต รทองให้สวัสดิการแก่คนที่ไม่ต้องออกอะไรเลย   คนกินฟรีพวกนี้มีสองกลุ่ม  กลุ่มคนยากไร้นั้น เราไม่ว่า เพราะมีเหตุผลที่จะปฏิบัติแตกต่างกับคนอื่นได้   แต่คนกลุ่มสองที่มีฐานะหรือพออยู่พอกินไม่ต่างจากลูกจ้างหรือข้าราชการ  คนพวกนี้รับบริการฟรีได้อย่างไร   
คุณรู้ไหม...เดี๋ยวนี้หัวหมอกันถึงขนาดไปรับยาแล้วกลับบ้านนี่ไม่เอาแล้วนะ   เขาจะอดทนรอให้ตัวเองมีอาการแรงถึงขั้นหมอต้องให้นอนโรงพยาบาลแน่ๆ แล้ว  เขาจึงจะไปโรงพยาบาล หวังจะนอนยาวโรงพยาบาลไปเลย   ใครที่มีอาการหนักขึ้นๆ  พวกญาติก็จะหายไปทีละคนสองคน จนทิ้งให้นอนเรื้อรังยึดโรงพยาบาลเป็นเรือนตายไปเลย
นี่แหละคือผลของสวัสดิการตามแนวทางขอทานนิยม

ถาม สังคมที่เสมอภาคตามกฎหมาย แต่ไม่เสมอภาคตามความเป็นจริงนี่ ก็อยู่ยากนะครับ
ตอบ แน่นอน...เรามีหน้าที่ต้องสร้างสังคมที่เสมอภาคด้วย  แต่ต้องเสมอภาคในโอกาสสร้าง
 ชีวิต   ไม่ใช่แค่การถือครองทรัพย์สิน   มันจะมีความหมายอะไรถ้าถือที่ดินเกษตรกรรม
 คนละ ๑๐ ไร่ โดยเสมอเหมือนกัน   แต่ไม่รู้จะปลูกอะไร ขายใคร เอาเครดิต เอาน้ำมาจากไหน 
ต้องเข้าใจเสียใหม่ว่า ความเสมอภาคมันต้องคู่กับการพัฒนาโอกาสในชีวิตด้วย   
 
เลิกคิดแค่ สวัสดิการฟรี ที่ดินฟรี  เสียทีเถิด   กองทุนบุฟเฟต์ฟรีนั่นก็เหมือนกัน... เขารู้ทันกันหมดแล้ว...พ่อเจ้าประคุณเอ๋ย      ........................... 

แก้วสรร   อติโพธิ