ผู้เขียน หัวข้อ: 7สสส. เล็งถกอนาคตทำงาน ′หมอวิชัย′ท้อ มองไม่เห็น คนจะไปขอความเป็นธรรมได้  (อ่าน 609 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9787
    • ดูรายละเอียด
7 กก.สสส. นัดหารือสัปดาห์หน้าถกอนาคต สสส. ส่วนร้องขอความเป็นธรรมยังไม่คิด ด้าน "หมอวิชัย" ย้ำไม่เชื่อระบบให้ความเป็นธรรมได้ ทุกอย่างสังคมรู้ดี  ด้านแพทย์จุฬา วิเคราะห์ ส. ผ่านโซเชียลฯ ไม่ใช่พวกใคร แต่เห็นตามความจริง

ปัญหาภายหลังการปลดกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)  7 คน ยังไม่จบ  แต่นำไปสู่การเรียกร้องของเครือข่ายสุขภาพ และจะนัดหารือในวันที่ 11 มกราคมนี้ เพื่อกำหนดทิศทางการเคลื่อนไหวในอนาคต

ล่าสุดเมื่อวันที่ 10 มกราคม  นพ.วิชัย โชควิวัฒน  อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และรองประธานคนที่ 2 คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (บอร์ดสสส.)  กล่าวว่า ขณะนี้ทราบว่ามีการประสานงานเพื่อให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. ทั้ง 7 คน ได้มาหารือกันว่าจะมีการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไรต่อไป โดยจะมีการหารือภายในสัปดาห์นี้ ส่วนวัน เวลา ยังไม่ได้กำหนด อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของการขอความเป็นธรรมนั้น  ส่วนตัวไม่อยากจะคัดค้านคำสั่ง หรือขอความเป็นธรรมอะไร เพราะถ้าจะขอความเป็นธรรมจะต้องขอจากคนที่คิดว่ามีความเป็นธรรม ซึ่งตอนนี้ยังไม่เห็น  จึงไม่มีประโยชน์ในการเรียกร้องอะไร

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับประเด็น สสส. นั้น มีการจับตาว่า ในการประชุมบอร์ด สสส. วันที่ 15 มกราคม จะมีการพิจารณาอะไรบ้าง นอกเหนือจากการตั้งคณะกรรมการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน  เพราะยังมีกระแสข่าวว่าจะมีการเพิ่มการแก้ไขระเบียบ สสส.อีก เรื่องนี้ นายประกาศิต กายะสิทธิ์ โฆษกสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) กล่าวถึงกรณีที่มีการระบุว่า จะมีการแก้ไขระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ สสส. จำนวนเพิ่มเติมอีก 3 ข้อ จากที่แก้ไขไปแล้ว 26 ข้อ และจะนำประเด็นที่แก้ไขรวม 29 ข้อเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ ในวันที่ 15 มกราคม นั้น ว่า น่าจะเป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อน  เนื่องจากการแก้ไขปรับปรุงข้อบังคับ ระเบียบ และหลักเกณฑ์ สสส. จำนวน 26 ฉบับนั้น ได้นำเข้าสู่การพิจาณาของคณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณาและเห็นชอบให้ปรับแก้ไขไปแล้วตั้งแต่การประชุมในวันที่ 18 ธันวาคม 2558 ซึ่งเป็นการแก้ไขตามที่คณะกรรมการพิจารณาเสนอความเห็นในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายลำดับรองของ สสส. ที่กระทรวงสาธารณสุข แต่งตั้งขึ้น โดยมี นพ.เสรี ตู้จินดา เป็นประธาน เสนอมาทั้งหมด และกระบวนการในการแก้ไขก็แล้วเสร็จไปแล้ว

"มีรายละเอียดทางเทคนิคกฎหมายที่ทางสาธารณสุขขอให้ปรับให้เหมาะสมยิ่งขึ้นใน 3 ประเด็น ซึ่งไม่ใช่การแก้กฎหมายเพิ่มเติม แต่เป็นการปรับรายละเอียดของบางฉบับเพื่อ ให้เกิดความสมบูรณ์ในด้านกฎหมาย เช่น การกล่าวอ้างมาตราที่เหมาะสมตาม พ.ร.บ. สสส. เป็นต้น เท่านั้น  และอาจจะนำเข้าเพื่อตรวจสอบร่วมกันอีกครั้งในที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ ในวันที่ 15 มกราคมนี้ ส่วนวาระการประชุมในวันดังกล่าว ได้กำหนดเบื้องต้นและอยู่ระหว่างการนำเสนอ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี ประธานคณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณา" นายประกาศิตกล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัวเรื่อง ผิดประเด็น หรือไม่เรื่อง ′ส′ โดยระบุว่า การหยิบยกประเด็นทุจริต หรือผลประโยชน์ทับซ้อน ในขณะนี้ เป็นเรื่องตรงเป้าหรือไม่

1. เรื่องทุจริต คงตรวจสอบทรัพย์สินกันได้

2.ผลประโยชน์ทับซ้อน เป็นเรื่องจริง แต่เป็นจากความตั้งใจทุจริต หรือมาจากการที่เป็นลักษณะของกลุ่มที่มักจะเลือกคนใกล้ตัว ไว้ใจได้ เชื่อมโยงได้ และในที่สุดตกอยู่กับแวดวงเดียวกัน

3.การอยู่ในแวดวงเดียว อาจมีข้อดีในการขับเคลื่อน แต่ผลผลิตที่ได้ อาจลืม หรือมองไม่เห็น หรือไม่พยายามหาจุดด้อย ยังคงใช้กลยุทธ แผน นโยบายไปทางเดียว ซึ่งการแก้ไข ไม่น่ายาก ถ้าพิสูจน์ไม่ใช่เรื่องโกง อยู่ที่ปรับกลยุทธ แผน ในการทำงาน 

4.เราเห็นความมุ่งมั่นในการกำจัดบุหรี่ เห็นการต่อสู้ในการประกาศสิทธิ เหนือสิทธิบัตรยา คนเป็นหมื่น รอดชีวิตจากเอดส์ จากมะเร็ง ใช้ยาได้ถูก เข้าถึงได้ทั่วประเทศ แต่กลยุทธเหล่านี้ คงต้องปรับตามยุคสมัยให้พุ่งเป้าแต่ละกลุ่ม ประสานกับการป้องกัน จำแนกตามอาชีพ ฐานะ เป็นต้น

5. ความผิดพลาดในการให้บริการในระบบสาธารณสุข เห็นได้จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)  เกิดทั้งจากการไม่ได้รับ หรือยอมรับ สภาพล้มละลายของหมอที่รักษา ของ รพ. ของคนไข้ เพราะค่าใช้จ่ายมากเหลือเกิน การป้องกัน จึงจำเป็น การรักษาขณะโรคอยู่ในขั้นเริ่มแรกก็ จำเป็น แต่เฉพาะหน้าขณะนี้ คนป่วยเต็มขั้น จะเสียชีวิต เต็มไปหมด ดังนั้น ระบบต้องปรับปรุง การจ่ายตามจริงที่ควรจะเป็น ควรเป็นเท่าใด ต้องคิดด้วย

6. โรงงานวัคซีนเป็นเรื่องดี แต่ยังติดขัดก็ต้องมีการคิดถึงอนาคต จะพัฒนา หรือจะทำอย่างไร 

7. การที่ ′ส′ ถูกจับตาถูกมุ่งเป้า ต้องพิจารณาที่ผ่านมาการประเมินผลการทำงานเป็นอย่างไร ซึ่งไม่ควรมองไปที่บริษัทบุหรี่ เหล้า เป็นตัวการสำคัญ การปรับกระบวนท่าในกลยุทธ แผน รับฟังความเห็น มากขึ้นน่าจะดี

คนเขียน ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา เคยทำงานกับ ′ส′ มานานเป็น 10 ปี ไม่กลุ่มใดก็กลุ่มหนึ่ง และยังรักษาคนไข้ เห็นความจำกัดในการรักษา การป้องกัน ซึ่งไม่ได้เป็นเรื่องงบอย่างเดียว เห็นความมุ่งมั่น และความตั้งใจ ทั้งรักษา และป้องกัน แต่ในขณะเดียวกัน เห็นความที่อยู่ในกรอบ (ซึ่งความจริงมีทั้งสองฝ่าย) ผมเคยอยู่ใน องค์การเภสัชกรรม ระยะสั้นๆ ถึงแม้จะมีความเห็นไม่ตรงกับที่สร้างโรงงาน แต่ไม่ใช่เรื่องทุจริต เป็นเรื่องเทคนิค สุดท้าย  ข้อเขียนนี้อาจจะเกลียดผมว่าไม่เข้าข้าง แต่เรียนให้ทราบว่า ผมเป็น คนไทย และการจะหันหน้าเข้าหากัน ต้องลดทิฐิ หาแนวนโยบายที่เป็นจริง และทำได้ เข้าถึง ทั้งประเทศ

มติชนออนไลน์ 11 มกราคม พ.ศ. 2559