แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - khunpou

หน้า: [1] 2 3 ... 8
1
สาเหตุที่แพทย์ลาออกจากราชการนั้น มีงานวิจัยหลายเรื่องที่เกี่ยวข้อง  ส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุการลาออกของแพทย์ทั่วไป ไม่ได้แยกว่าเป็นแพทย์เฉพาะทางหรือไม่ จากการเก็บข้อมูลของคณะกรรมการแพทมยสภาในช่วงปีพ.ศ. 2546 ได้สรุปว่า สาเหตุที่แพทย์ลาออกจากราชการคือ
1.งานหนัก(ต้องทำงานสัปดาห์ละ 90- 120 ชั่วโมง โดยถือเป็นภาระหน้าที่ที่ไม่สามารถปฏิเสธได้) และต้องตรวจรักษาให้คำแนะนำผู้ป่วยจำนวนมาก บางแห่งมีผู้ป่วย100+คนต่อแพทย์ 1 คน ต่อวัน เปรียบเทียบกับภาระงานในภาคเอกชนก็มากกว่าเป็นหลายสิบเท่า
2.เงินเดือนและค่าตอบแทนต่ำมาก (ยิ่งถ้าไปเทียบกับเงินเดือนภาคเอกชนแล้ว จะน้อยกว่าเป็น 10ๆเท่า) โดยเฉพาะการถูกบังคับให้อยู่เวรกในเวลาวิกาล แต่ค่าตอบแทนชั่วโมงละ ๕๐ บาท
3.เสี่ยงต่อการถูกร้องเรียน/ฟ้องร้อง
4.ถูกบังคับให้ไปทำงานในท้องที่ห่างไกล และไม่สามารถขอย้ายเพราะความจำเป็นทางครอบครัวได้
5.ไม่พอใจระบบบริหารงานของโรงพยาบาลหรือนโยบายระดับประเทศ เช่น กระทรวงสาธารณสุขค้างจ่ายค่าทำงานนอกเวลา  ต้องทำตามการเรียกร้องของผู้ป่วยที่ให้ส่งตรวจพิเศษทั้งๆที่ไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์แต่ประชาชนอ้างว่า "ฉันมีสิทธิ์ทำได้ หมอต้องทำตาม" หรือ ไม่มีอิสระในทางวิชาการแพทย์เนื่องจากระบบหลักประกันสุขภาพ สวัสดิการข้าราชการและประกันสังคม มีระเบียบข้อบังคับจำกัดรายการยา ทั้งๆที่คนเหล่านั้นไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ และอื่นๆอีกมากมาย

  นอกจากนี้ก็มีปัญหาการไม่ได้บรรจุเป็นข้าราชการ แต่ถูกบังคับให้ไปชดใช้ทุนทั้งๆที่กพ.ได้บอกแล้วว่าแพทย์ไม่เคยได้รับทุนจริง

ยังมีงานวิจัยที่ได้ส่งจดหมายสำรวจความคิดเห็นแพทย์จำนวน 1.300 คน โดยการสุ่มตัวอย่างตามระเบียบวิธีทางสถิติ พบว่า
   ในทัศนคติของแพทย์เองปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลาออก 3 อันดับแรกคือ ความพึงพอใจในลักษณะงานที่ทำปฏิบัติ ความภาคภูมิใจในวิชาชีพ และชีวิตความเป็นอยู่หรือคุณภาพชีวิตตามลำดับ  การวิจัยกลับพบว่าปัจจัยที่มีผลแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญต่อโอกาสการตัดสินใจลาออกจากระบบราชการของแพทย์ คือ   ความพึงพอใจในลักษณะงานที่ปฏิบัติ  ระดับความพึงพอใจในนโยบาย และการบริหารระดับกระทรวงและระดับประเทศ   การได้รับการสนับสนุนเครื่องมือเพื่อให้ทำงานสำเร็จ เช่น ยา เครื่องมือ อุปกรณ์     เงินค่าตอบแทนการปฏิบัติงานในเวลาราชการ  และ เงินค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ 
การลาออกของแพทย์จะสูงเมื่อผลได้จากการรับราชการ(สิ่งตอบแทนในทางบวก) น้อยกว่าผลเสียจากการรับราชการ(สิ่งตอบแทนในทางลบ)
ส่วนการวัดค่าสิ่งตอบแทนจากการรับราชการของแพทย์ด้วยการวัดความเต็มใจที่จะจ่ายซึ่งตีค่าเป็นเงินพบว่าไม่สามารถแสดงความแตกต่างของโอกาสการลาออกจากราชการของแพทย์ว่ามากหรือน้อยได้


ยังมีรายละเอียดข้อมูลอีกมากมายที่ได้เก็บรวบรวมไว้ สนใจติดต่อได้ที่ drchurchoo@gmail.com
ส่วนการเปิดเสรีในการบริการทางการแพทย์นั้น เท่าที่ได้เคยไปประชุมASEAN SUMMIT  FTA หลายครั้ง พบว่าปัญหาสมองไหลไปทำงานต่างประเทศนั้น น่าจะเกิดขึ้นในวิชาชีพพยาบาลมากที่สุด ทีพยาบาลไทยจะไปหางานทำนอกประเทศ ส่วนแพทย์อาจจะไหลออกไปโรงพยาบาลเอกชนในประเทศมากกว่า เนื่องด้วยวิชาชีพแพทย์ต้องระมัดระวังเกี่ยวกับกฎหมาย Medical malpractice ในแต่ละประเทศแตกต่างกันไป เนื่องจากแพทย์มีหน้าที่เป็นหัวหน้าทีมในการรักษาผู้ป่วย จึงมีความรับผิดชอบสูงสุด ส่วนวิชาชีพพยาบาลถ้าปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์ในการรักษาแล้ว ก็จะเป็นเกราะป้องกันกาความรับผิดได้เป็นอย่างดี
คิดว่าการเปิดเสรีทางการแพทย์ จะทำให้ไทยได้ประโยชน์จากการที่มีผู้ป่วยต่างชาติไหลเข้ามารับบริการมากขึ้น แต่ประชาชนไทยทั่วไปที่ไม่มีเงินไปรพ.เอกชนจะขาดหมอมากขึ้น เพราะหมอ พยาบาล จะไหลไปอยู่เอกชนมากขึ้น

2
กว่าหนึ่งเดือนแล้ว ที่ปลัดไพจิตร ไปรับแจ้งจากวิปรัฐบาลให้ประชาพิจารณ์ร่างพรบในผู้ปฏิบัติ สธ.ยังเงียบ
เขียนโดย วิบูลาลา   
12 ธ.ค. 2010 22:01น.

http://www.thaitrl.org/


วันนี้ที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๓ เป็นเวลากว่า 1 เดือนที่ ปลัดไพจิตร์ วราชิต ไปชี้แจงกับวิปรัฐบาลที่ทำเนียบรัฐบาล  และ เมื่อปลายเดือน ตุลาคม ต่อ ต้น พฤศจิกายน 2553 วิปรัฐบาล แจ้งให้กระทรวงสาธารณสุข โดย นายแพทย์ไพจิตร์ ในฐานะกระทรวงสาธารณสุข ได้รับแจ้งด้วยตนเองว่าให้นำร่าง พรบ.คุ้มครองฯไปทำประชาพิจารณ์ในหมู่ข้าราชการและผู้ทำงานด้านการแพทย์และ สาธารณสุขทั่วประเทศ บัดนี้ นายแพทย์ไพจิตร์  ยังคงเงียบ ไม่จัดทำประชาพิจารณ์ตามหน้าที่ของกระทรวงผู้เสนอร่าง กม.นี้แต่อย่างใด  นายแพทย์ไพจิตร์ ไม่ใส่ใจรับฟังความเห็นของผู้ปฏิบัติงาน  เอาแต่พูดกับผู้ปฏิบัติงานให้ตัวเองดูดีอย่างเดียว  แต่ไม่ฟังความเห็นทัดทานใดๆจากผู้ปฏิบัติงาน  แม้ได้รับแจ้งให้ทำประชาพิจารณ์นั้นแล้ว  แต่ก็ยังไม่ทำ อ้างเพียงไม่เห็นหนังสือจากวิป  หากเราท่านเป็นปลัด สธ. คงไม่ทำเช่นนี้  คงจะเร่งทำการประชาพิจารณ์อย่างแน่นอน เนื่องจากละเว้นมาแล้ว จนเป็นปัญหา และวิปแจ้งแล้ว ซึ่งตนเองก็ไปทราบมาแล้ว  และตนเองมีหน้าที่อีกด้วย  ไม่ใช่เป็นใครที่ไม่มีหน้าที่

3
พรุ่งนี้แล้ว ประธานคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงกรณีปลัดไพจิตร์ เชิญ พญ.อรพรรณ์ให้ข้อมูล
เขียนโดย นินิ   
12 ธ.ค. 2010 21:07น.

วันี่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๓ พญ.อรพรรณ์ เมธาดิลกกุล ให้สัมภาษณ์ว่า ในวันพรุ่งนี้ จะเป็นวันแรกที่ท่านประธานคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง กรณี  6 ประเด็นร้อง ของ สผพท.ถึง ปลัดไพจิตร์ วราชิต ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ  ซึ่งท่านประธาน คือ นายพรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  กับกรรมการจากรองปลัดกระทรวงอื่น รวม 3 ท่าน โดยเป็นคนนอกกระทรวง สธ.ทั้งสิ้น   โดยจะให้ปากคำที่ อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถนนศรีอยุธยา ซึ่ง พญ.อรพรรณ์ ขอขอบพระคุณ ชาว สธ.หลายท่านที่จัดส่งข้อมูลให้ พญ.อรพรรณ์ และ พร้อมเป็นพยานบุคคลให้ปากคำกับคณะกรรมการในเรื่องการสอบครั้งนี้ด้วย  "ชาว สธ.เราควรมีผุ้นำที่สง่างาม และประพฤติตนเป็นผู้ที่มีภาวะการนำที่ดี กล้าหาญที่จะตัดสินใจเพื่อประโยชน์ส่วนรวม และไม่ช่วยเหลือคนทำผิด ไม่ช่วยเหลือคนคอรัปชั่น" พญ.อรพรรณ์กล่าว

http://www.thaitrl.org/

4
คอรัปชั่นบานสะพรั่งในกระทรวงสาธารณสุข คนโกงที่ ปปช.ชี้มูลแล้วไม่ต้องรับโทษใดๆ ปลัด สธ.ต้องรับผิดชอบ
เขียนโดย แพทย์หญิงอรพรรณ์ เมธาดิลกกุล   
12 ธ.ค. 2010 20:56น.

วันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๓  พญ.อรพรรณ์ เมธาดิลกกุล แจ้งไทยทีอาร์แอล   กรณีพบคอรัปชั่นบานสะพรั่งในกระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่รัฐมนตรี คอรัปชั่นทางนโยบายเกี่ยวกับการใช้งาน/งบ สธ.หาเสียงให้ตนอย่างชัดแจ้ง  แต่ไม่มีใครทำอะไรได้   ส่วนค่านิยม และแนวคิด ตลอดจนถึงแนวคิดการจัดการเกี่ยวกับคอรปชั่น  เป็นเรื่องที่ผู้บริหารระดับกระทรวงคือ ปลัดสธ.ละเลย ได้อย่างไม่กระดากอาย เห็นชัดจากความกล้าหาญในสิ่งผิด  คือกล้าไม่ลงโทษ ไม่นำเรื่อง ปปช.ชี้มูลความผิดฐานทุจริต ผิดวินัยอย่างร้ายแรง ของ นพ.วิชัย โชควิวัฒน์ เข้ายัง อกพ.กระทรวง  และ ไม่ลงโทษผู้ผิด  ทำให้ข้าราชการที่ทำงานต้องผิดคาดกับการจัดการแบบฝืนกระแสของความถูกต้อง ศีลธรรม และจริยธรรมข้าราชการ ของ ปลัด สธ.  เรื่องนี้ คงไม่จบง่ายๆ  การปล่อยคนผิด ช่วยคนผิด ในครั้งนี้ จะเป็นตราบาปของ นพ.ไพจิตร์ วราชิต ไปโดยตลอด  และคนทำผิดที่ ปปช.ชี้มูลนี้ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารเงินงบประมาณแผ่นดินในระดับแสนล้านบาท ที่ สปสช. สช. สสส. และองค์การเภสัชกรรม  จะปล่อยให้คนผิดไปดูแลงบของแผ่นดินอย่างนี้ต่อไป เท่ากับเป็นการส่งเสริมคนทำผิด  พญ.อรพรรณ์ขอ เรียกให้ ปลัด สธ.ต้องรับผิดชอบ

http://www.thaitrl.org/

5
http://www.thaitrl.org/index.php?option=com_content&task=view&id=745&Itemid=45

จุรินทร์ ยืนยัน จะผลักดันร่าง พรบ.ในสมัยประชุมหน้า อ้างเป็นประโยชน์กับชาว สธ.แท้จริงคือลูกไล่หมอ ส.
เขียนโดย เชิงลึก   
12 ธ.ค. 2010 20:23น.

วันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๓  นับเป็นวันที่ ๑๖ ของNGOที่ไม่สำเร็จในการผลักดันร่าง พรบ.คุ้มครองฯ เข้าพิจารณาในวาระ ๑ ท่ามกลางการคัดค้านที่ทีมงาน สผพท.ต้องทำงานหนัก เนื่องจากด้าน NGO มีงบ มีเงิน มีกองทุน และมีการสนับสนุนงบจาก สปสช. สสส. สช. ในรูปของโครงการด้นสุขภาวะสารพัดอ้าง    ทำให้มีการจัดละครฉากต่างๆ ทำว่ากดดันรัฐบาลทางฝ่ายการเมือง ให้เห็นว่ามีสารพัดปัญหาของความเสียหาย  โดยมี นพ.วิชัย โชควิวัฒน์ ชมรมแพทย์อ้างชนบท  และ หมอตระกูล ส.หลายคนออกมากล่าวผลักดันร่างอย่างออกนอกหน้า แต่แล้วก็เป็นเพียงคำกดดัน  เนื่องจากความเสียหายที่อ้างถึงนั้น  ผู้อ้างไม่ไปเรียกร้องกับ สปสช. ซึ่งเป็นผู้กุมเงินตามมาตรา ๔๑  ทำให้เข้าใจได้ว่า ผู้อ้างเสียหาย คือกลไกหนึ่งของ สปสช. สช. เพื่อจะรุกเอาอำนาจเงินอีกก้อนใหญ่ คือกองทุนอ้างเป็นค่าเสียหายและบริหารความปลอดภัย  โดย NGO หมอตระกูล ส. และ นักการเมืองคือ พวกเดียวกัน  ร่วมประโยชน์กัน  แสดงละคร ให้เห็นเป็นบทๆไป

เช่นบทประชาชน อ้างเสียหาย  บทนักวิชาการชี้ว่าควรมีกฎหมายกองทุนใหม่  และ บทนักการเมืองที่รับลูกทำว่าแก้ไขปัญหาตามอ้างของประชาชน  โดยมีข้าราชการประจำระดับบริหารกระทรวงรับบทเป็นผู้ตั้งเรื่องชงเรื่องให้ นักการเมืองโดยใช้การแบลคเมล์สารพัดถนัดของNGOในแวดวงของสาธารณสุข  และ นักการเมืองอย่างนายจุรินทร์ ได้แสดงชัดถึงความเป็นลูกไล่ของ NGO และ หมอตระกูล ส. ที่กุมงบ สธ.ไว้ในมือ  โดยยอมตนเป็นเครืองมือของหมอ ส. ทั้งหลาย     เนื่องจากว่า   ตนเป็น รมว.ที่ดูแลกระทรวงซึ่งไม่มีงบใดๆที่จะเพียงพอให้ออก ทีวี ขึ้นคัทเอ้าท์ตัวโต เพื่อหาเสียงได้แต่อย่างใด  จึงทำตัวแบบคนไม่มีอำนาจหน้าที่ใด ๆ วันๆเอาแต่ทำตัวอย่างกับดารา   โดยบอกว่า ว่าจะนำร่างพรบ.นี้ให้ผ่านมาบังคับใช้เป็นกฎหมายล้านเปอร์เซ้นต์  หลายวันมานี้ ยังประกาศว่าจะนำร่างเข้าพิจารณาโดยสภาในสมัยการประชุมหน้า  ยังมีหน้ามาเสนอในทีวี ว่าเป็น รมว.สธ.อยู่โดยที่บกพร่องหน้าที่อย่างสุดๆ  ชาว สธ.หลายท่านบอกเหลือทน  ต้องเข้าชื่อปลดกันจริงจังแล้ว  หรือ ชาวไทยทีอาร์แอล www.thaitrl.org ว่าอย่างไรกัน

6
http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1292033265;start=0
กองทุนอิสระ
 
คำบอกกล่าว โดย แก้วสรร อติโพธิ
 
 http://www.thailandforum2010.com/forum/index.php?page=articles&op=re adArticle&id=179&title=i%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-15/i-b%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B0/b-%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A2-%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%A3-%E0%B8%AD%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%98%E0%B8%B4
 
ครับ... ‘กองทุนอิสระ’ ที่เป็นโฟกัสของเราในฉบับนี้ ก็คือกองทุนจากเงินสาธารณะที่อยู่ในการครอบงำของบรรดาเอ็นจีโอซุ้มต่างๆ เท่านั้น จะไม่รวมถึงกองทุนอิสระที่ใช้กันในราชการอิสระอื่น เช่นกองทุนค่าโครงข่ายโทรศัพท์หลายหมื่นล้านของ กทช. ที่แม้จะมีปัญหาความรั่วไหลเหมือนกัน แต่ก็ขอแยกไว้ไม่พูดถึงเนื่องจากไม่มีลักษณะผลักดันขยายตัวเหมือนกองทุนเอ็น  จีโอทั้งหลาย
          กองทุนอย่างนี้ มีปัญหาต้องชำแหละแก้ไขกันอย่างไรนั้น ผมก็ขอนำเสนอในทำนอง ปุจฉา–วิสัชนา เช่นเคย กล่าวคือ
 
 
ถาม กองทุนอิสระของเอ็นจีโอมีลักษณะอย่างไร?
ตอบ ก่อนอื่นต้องมีเงินหลวงไหลมากองรวมกันก่อน แล้วก็มีระบบบริหารที่เป็นอิสระจากราชการ จนอิสระทั้งระเบียบ ทั้งการอนุมัติ ตรวจสอบ จะมีคณะกรรมการแล้วก็เลขาฯใหญ่สั่งจ่ายเงินได้คนเดียว ระดับเดียว  วันเดียวได้เป็นสิบล้านร้อยล้าน นี่คือความเป็นกองทุนอิสระ
 
ถาม แล้วความเป็นเอ็นจีโออยู่ที่ตรงไหน
ตอบ อยู่ที่การเข้าไปกลุ้มรุม ได้ตำแหน่ง ได้งานทำ ได้สัญญาจ้างกันอย่างง่ายดาย โดยมีเอเยนต์เข้าไปยึดกุมอยู่ในแกนขององค์กรนั้นๆ ได้อย่างเป็นหลักเป็นฐาน อาจมีพันธมิตรจากมหาวิทยาลัย หรือข้าราชการโดยตำแหน่ง มาร่วมเอื้อประโยชน์และแบ่งประโยชน์อยู่ด้วย
 
ถาม อาหารประจำวันมีอะไรบ้าง
ตอบ เมนูหลักก็คืองานศึกษาวิจัยต่างๆ นี่แหละคุณเอ๋ย ที่ให้ซุ้มเอ็นจีโอของตนรับสัญญาตรง จากกองทุนก็มี หรือให้มหาวิทยาลัยรับสัญญาไป แล้วเอาไปส่งช่วงต่อให้เอ็นจีโอทำ โดยมหาวิทยาลัยหักหัวคิวก็มี
 
ถาม แล้วทำงานวิจัยนี่มันผิดตรงไหน
ตอบ ต้องเริ่มตรงงานที่มอบหมายให้ทำก่อนว่า เรายอมเอาเงินหลวงมากองไว้ให้ทำอะไร อย่างภาษีบาปที่ให้ สสส. ต่อท่อดูดเข้ามาป็นกองทุนอิสระปีละ 2 พันล้านบาทนั้น กองไว้ให้ทำอะไร ก็เริ่มกันจากที่ว่า จะยับยั้งการทำลายสุขภาพของคนไทยด้วยเหล้าและบุหรี่ หรือสิ่งเสพติดทั้งปวงให้ได้ นี่คืองานของคุณ ที่ต้องคิดต้องวางเป็นยุทธศาสตร์ เป็นโครงการหลักๆ ก่อน แล้วจึงมีงานวิจัยอันจำเป็น เป็นแผนงานหนึ่งในนั้น อย่างนี้จึงจะเป็นงานวิจัยที่มีที่มาที่ไป ไม่ใช่ขอให้แจกกันตามอำเภอใจว่าเรื่องนั้นก็ดี เรื่องนี้ก็ใช้ได้ แบ่งกันเป็นก้อนเป็นซุ้มไปบริหารกันเลย
 
ถาม คราวท่าน ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ท่านไปดูแล สสส. ก็พบปัญหาอย่างนี้ใช่ไหม
ตอบ ใช่ครับ ผมสืบค้นแล้ว ปีนั้นงบวิจัยถูกแบ่งเป็นก้อนละ 200 ล้าน และจำกัดตัวอนุมัติโครงการเป็นก้อนๆ มีกรรมการนั่งรับสัญญาด้วยตนเองเลย อย่างนี้อาจารย์ปุระชัย ท่านจะไปยอมได้อย่างไร ผมเคยอ่านรายงานของ สสส. ก็เห็นวิจัยกันเปะปะไปหมด ไปเรื่องจิตวิญญาณไปโน่นเลยก็มี
 
ถาม เงินภาษีสรรพสามิตนี่ ยังถูกดูดไปที่ทีวีไทย ทีวีอิสระด้วยใช่ไหม?
ตอบ นั่นก็ต่อท่อดูดจากกรมไปปีละเป็นพันๆ ล้านเลยเช่นกันครับ เอ็นจีโอเข้าไปเต็มหมด ตอนสรรหากรรมการ สรรหาสภาผู้ชมอะไรนี่ มีแต่โผเอ็นจีโอล็อคคนไว้ทั้งนั้น อย่ามาเถียง ผมได้โผไว้ดูเล่นหลายใบทีเดียว เงินก้อนทีวีไทยนี่ก็ถือเป็นกองทุนอิสระ ที่อยู่ในการครอบงำของเอ็นจีโอเช่นกัน ลองตรวจกันให้ลึกว่าใครเป็นคนรับงานรับเงินจริงๆ จะเจอซุ้มเอ็นจีโอเป็นรังปลวกเลย
 
ถาม เงินพวกนี้ สตง. ได้เข้ามาตรวจไหม
ตอบ ก็ตรวจทางบัญชีเท่านั้นครับ ส่วนตัวสัญญาตามโครงการต่างๆ นานานั้น ก็สุ่มตรวจบ้างว่ารัดกุมไหม   แต่การตรวจลึกลงไปว่าเป็นงานที่ควรทำหรือเปล่า เปะปะ สูญเปล่า ดังที่เรียกว่าตรวจประเมินผลงานเลยนั้น สตง. ตรวจไม่ได้ ถ้าตรวจกันจริงๆ อย่างกองทุนประกันสุขภาพนี่เละแน่นอน
 
ถาม นั่นก็เป็นกองทุนอิสระในซุ้มเอ็นจีโอเหมือนกันหรือครับ
ตอบ เป็นแหล่งหากินหนึ่งทีเดียว รัฐบาลตัดเงินงบประมาณมาให้โรงพยาบาลในโครงการ 30 บาท โดยให้สำนักงานประกันสุขภาพรับบริหารเงินเท่านั้น แต่สำนักงานกลับกันเงินไปทำงานสาธารณสุขอื่นๆ ซ้ำซ้อนกับของกระทรวงสาธารณสุข จนเงินเหลือไม่พอจ่ายให้โรงพยาบาลเป็นร้อยแห่ง อย่างที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้
          ถ้าตรวจการใช้เงินลึกลงไปว่าใช้นอกเรื่องนอกหน้าที่ด้วย อย่างนี้ก็เสร็จแน่ๆ ถ้าลากออกมาว่าเงินที่ใช้นอกลู่นอกทางนี้ มีใครได้ไปบ้าง คุณจะเจอซุ้มปลวกเอ็นจีโอด้านสาธารณสุขอีกแน่นอน
 
ถาม เห็นเขาว่าจะตั้งกองทุนคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุขอีกนี่ครับ
ตอบ นั่นก็อีก เงินจะเป็นพันๆ ล้านต่อปี บังคับเก็บจากทุกโรงพยาบาล ทุกคลินิก ทุกร้านขายยาเลย เงินเหลือก็ไม่ต้องคืน เอาไปทำโน่นทำนี่ จ้างกันเองทำกันเองสนุกมือแน่นอน ผู้เสียหายอะไรนั่นแค่ได้ใบบุญบ้างเท่านั้น
 
ถาม ล่าสุดก็มีองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมอีกนะครับ
ตอบ เอ็นจีโอเข้าไปเต็มเลย มีอาจารย์มหาวิทยาลัยด้วย 2 คน ได้เงินประเดิมก่อน 30 ล้านบาท ออกแบบโลโก้สำนักงานเสร็จแล้ว กำลังจะตัดสูทองค์กร เสร็จแล้วก็จะกันเงินไปดูงานต่างประเทศ นี่ก็กำลังคิดโครงการสัญจรต่างๆ ให้ประชาชนมีส่วนร่วม ส่วนเนื้องานตรวจรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หลายสิบฉบับ ให้เสร็จใน 60 วันนั้น จะทำกันได้ไหม ด้วยแหล่งความสามารถใด อันนี้ยังไม่วางแผนกันเป็นเรื่องเป็นราวเลย
          อิสระที่ไม่ต้องรับผิดชอบอะไร แล้วเงินเต็มมือด้วย จะเละอีกหนึ่งองค์กรแน่นอน นี่ผมก็รอดูองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคอีกองค์กรหนึ่ง
 
ถาม มาอีกองค์กรแล้วหรือครับ
ตอบ เขาจับมือกันเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ และนี่ก็กำลังร่างกฎหมายกันอยู่ ถ้างานไม่ชัดและเงินมากอีก ก็เละแน่ๆ ปลวกรุมเต็มอีกตามเคย
 
ถาม ฟังดูแล้วกองทุนอิสระ องค์กรอิสระพวกนี้ ควรต้องทบทวนแก้ไขอย่างไรบ้าง?
ตอบ ต้องทบทวนหมดเลยครับว่า จะให้ทำงานอะไรกันแน่ ต้องออกมาให้ชัดเจนที่สุดก่อน อย่างองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมนี่เลิกไปเลย แก้ผิดจุดที่ให้มาตรวจซ้อนตรวจแบบนี้ แก้กฎหมายสิ่งแวดล้อมเลย ให้เอกชนเจ้าของโครงการวางเงินค่าจ้างผู้ชำนาญการ วิเคราะห์ ให้ไว้กับราชการ แล้วราชการก็เลือกบริษัทผู้ชำนาญมาทำรายงานเสนอให้รัฐพิจารณาเลย ทำอย่างนี้ก็จะได้รายงานที่เป็นมืออาชีพจริงๆ ตั้งแต่แรกแล้ว
 
ถาม แล้วองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคล่ะครับ
ตอบ ต้องให้งานอย่างจำกัดชัดเจน คือ รายงานข้อมูลผู้บริโภคต่อสาธารณะเท่านั้นอย่าให้ไปขี่คอตรวจสอบ อย. เขาให้มีเงินสนับสนุนเฉพาะงานวิจัยคุณภาพสินค้าเป็นเรื่องๆ เท่านั้น
 
ถาม ทีวีไทยล่ะครับ
ตอบ อังกฤษต้นตำรับ บีบีซี เขาทำทีวีใหม่ๆ ด้วยกลไกใหม่แล้ว คือ ใช้วิธีว่าจ้างบริษัทเอกชน มีกรรมการคุมเป้าหมายและคุณภาพ พร้อมราคาทุนชัดเจน ประเมินผลโดยตรงจากผู้ชม ถ้าผ่านเกณฑ์ก็จะเพิ่มเงินให้เป็นทำนองโบนัสรายชิ้นงาน วิธีนี้น่าสนใจมาก ซุ้มปลวกหายไปเลยแน่นอน
 
ถาม ส่วน สสส. นี่ทำอย่างไรดี
ตอบ ผมว่าต้องตัดท่อที่ดูดภาษีออกไปโดยอัตโนมัติทิ้ง เอาเนื้องานมาว่ากันเป็นปีๆ แล้วเหมาเงินเป็นก้อนไปทำ ได้เงินไปแล้วต้องจ้างวานเองโดยตรง ห้ามตัดงานให้มหาวิทยาลัยไปจ้างใครต่ออีกที แก้อย่างนี้งานถึงจะมาก่อนเงิน และเงินจะไปที่งานจริงๆ
 
ถาม ความรั่วไหลในงานสำนักงานประกันสุขภาพล่ะครับ
ตอบ มันรั่วไหลไปยังงานที่ไม่ใช่หน้าที่ รัฐมนตรีสาธารณสุขมีอำนาจมีหน้าที่ตรวจสอบสั่งแก้ไข สั่งระงับได้อยู่แล้ว โรงพยาบาลเขาขาดสภาพคล่อง ร้องกันเป็นร้อยแห่งทำไมไม่ทำผมก็ไม่ทราบ เห็นแต่หน้าบนคัทเอาท์โฆษณาอยู่ทุกวัน
 
 
          เสียภาษีแล้วไม่ได้งาน รัฐก็ไม่ได้เรื่อง เอ็นจีโอก็ไม่ได้ความ อย่างนี้แย่ (ชิบ..หาย) ชัดๆ

7
เบื้องหลัง พรบคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข


นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ (พ.บ., ประสาทศัลยศาสตร์., น.บ.)


http://www.medicalprogress-cme.com/Voice/VoiceV9N10.pdf


มาจาก :- Medical Progress CME / October 2010

http://www.medicalprogress-cme.com/index.asp




ณ เวลานี้ ข่าวเรื่องการพยายามผ่าน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขที่ถูกรณรงค์โดยมูลนิธิ เพื่อผู้บริโภคมีแพทย์น้อยคนนักที่จะไม่ทราบเรื่องนี้ เพราะร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นสิ่งที่ทำให้ฟางเส้นสุดท้ายของความอดทนของ บุคลากรสาธารณสุขหลายภาคส่วนหมดลงทันที และก่อให้เกิดปฏิกิริยาต่อต้านอย่างรุนแรงชนิดที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน และทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคก็คงนึกไม่ถึงเช่นกันว่าบุคลากรสาธารณสุขโดย เฉพาะกลุ่มแพทย์ที่แต่ไหนแต่ไรมาเปรียบเหมือนลูกไก่ในกำมือในสายตาของ มูลนิธิ กลับกระโดดออกมาต่อต้านร่างกฎหมายนี้อย่างถึงที่สุด บุคลากรที่ไม่เคยรวมตัวกัน กลับสามารถรวมตัวกันได้ (แม้จะยังไม่เหนียวแน่นอย่างถึงที่สุด) และแสดงพลังออกมาให้เห็น สุภาษิตที่ว่า “รวมกันเราอยู่
แยกกันเราตาย” หรือ “สามัคคีคือพลัง” ดูจะใช้ได้ดีที่สุดในสถานการณ์เช่นนี้

ตลอด สามปีที่ผ่านมา ผู้เขียนเข้าไปรับรู้เรื่องการร่างกฎหมายนี้ตั้งแต่แรกๆ และมีส่วนเข้าไปร่วมร่างและชี้แจงต่อผู้เกี่ยวข้องทั้ง สวรส. สช. สปสช. คณะกรรมาธิการสาธารณสุขของรัฐสภา คณะกรรมการกฤษฎีกา หลายต่อหลายครั้ง ไม่น่าจะต่ำกว่าห้าสิบครั้ง เรียกว่าไปจนเบื่อ ความรู้สึกกระตือรือร้นในการพยายามให้กฎหมายออกมามีหน้าตาดี ทำงานได้

กลายเป็นท้อแท้และสิ้นหวังกับกฎหมายนี้ หลายคนถามว่าทำไมกฎหมายถึงมีหน้าตาแบบนี้


แรกปฏิสนธิ

วัน แรกที่ถูกตามตัวทางโทรศัพท์จากกระทรวงสาธารณสุขให้ไปดำเนินการในการจัดทำ ร่างกฎหมายโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อคุ้มครองประชาชนและผู้ให้บริการสาธารณสุข ให้สามารถปฏิบัติงานได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการฟ้องร้อง ทั้งๆ ที่ไม่เคยมีพื้นฐานหรือความรู้ในการร่างกฎหมายมาก่อนแม้จะจบปริญญาทางด้าน กฎหมายมา แต่ในการเรียนการสอนไม่เคยมีตำรา หรือวิชาใดที่พูดถึง “เทคนิคและหลักเกณฑ์การร่างกฎหมาย” ความรู้สึกแรกคือหนักใจและไม่แน่ใจว่าจะทำได้หรือไม่ แต่ไม่ลองไม่รู้

คณะ กรรมการที่ตั้งขึ้นมามีทั้งตัวแทนจากสภาทนายความ แพทยสภา อัยการ วันแรกที่เจอหน้าคณะกรรมการ ความรู้สึกแรกคือเราอ่อนอาวุโสที่สุด บางคนเป็นผู้อาวุโสจากสภาทนายความ (ซึ่งภายหลังมีส่วนในการว่าความเอาผิดอดีตนายกรัฐมนตรี) บางคนเคยเป็น สนช. สสร. ในการร่างรัฐธรรมนูญ หลายคนมีตำแหน่งเป็นทางการที่ค่อนข้างใหญ่โตในองค์กรของตนเอง

โจทย์ ตอนแรกคือ การจัดทำประมวลวิธีพิจารณาความที่เกี่ยวข้องกับการฟ้องร้องในมูลละเมิดและ อาญาทางด้านสาธารณสุข เมื่อประชุมกันก็ได้รับคำแนะนำจากผู้อาวุโสที่เคยมีส่วนร่วมร่างรัฐธรรมนูญ ว่า การแก้ไขประมวลกฎหมายสบัญญัติ (ประมวลวิธีพิจารณาความ) เป็นเรื่องยุ่งยากและมักไม่ได้รับความเห็นชอบ ดังนั้นให้มุ่งไปในเรื่องกฎหมายอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง


ในขณะ เดียวกันนั้นเอง ทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคก็ได้กำลังจัดทำกฎหมายในลักษณะเดียวกันโดยใช้ชื่อ ว่า “พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข” ซึ่งมี สวรส.เป็นแกนกลาง ส่วนคณะจัดทำมาจากภาคประชาชนเป็นส่วนใหญ่

ดังนั้นในช่วงแรกของการจัดทำจึงมีคณะทำงานอยู่สองชุด แต่จุดประสงค์คล้ายๆ กัน ระหว่าง นั้นก็มีการประชุมข้ามคณะกันเป็นบางครั้ง โดยทางฝั่งของกระทรวงสาธารณสุขจะมีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพเป็นแกนกลาง ฝ่ายของมูลนิธิจะมาใช้ที่ประชุมของ สวรส. หรือบางครั้งก็เป็น สช. เป็นหลัก ทำให้ดูเหมือนว่ามีจุดกำเนิดมาจากกระทรวงสาธารณสุขทั้งสองร่าง (ซึ่งผู้เขียนก็เข้าใจเช่นนั้น) ระหว่างการประชุมเมื่อถึงมาตราสำคัญๆ ทางฝั่งมูลนิธิจะมีการนำผู้ที่เคยพบเห็นหน้าทางสื่อสาธารณะบ่อยๆ เข้ามาร่วมประชุม ซึ่งผู้เขียนรู้สึกว่าไม่เหมาะสมเพราะผู้เข้าร่วมประชุมมักจะใช้อารมณ์ มากกว่าเหตุผลในการบีบให้ร่างเป็นไปตามความต้องการ


เนื้อหาของกฎหมาย


ร่างที่มาจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพจะ เน้นไปในเรื่องการเยียวยาผู้ป่วยในกรณีที่มีการกระทำทุรเวชปฏิบัติของแพทย์ และอาจมีการเยียวยาในกรณีเหตุการณ์สุดวิสัยแต่เป็นเรื่องรุนแรง เช่น น้ำคร่ำหลุดเข้ากระแสเลือด หรือแพ้ยารุนแรงโดยไม่ทราบมาก่อน

แนวทาง การยื่นคำขอคือการเพิ่มช่องทางให้เลือกรับเงินจากกองทุน และต้องยุติสิทธิในการฟ้องร้องทั้งหมดเมื่อผู้ฟ้องร้องได้รับเงิน เมื่อยื่นเรื่องรับเงินแล้วห้ามไปใช้ช่องทางศาลอีก เพราะต้องการส่งเสริมให้ใช้ช่องนี้เป็นหลัก แต่ก็ไม่ตัดสิทธิการฟ้อง เพียงแต่เมื่อฟ้องแล้วห้ามกลับมายื่นเรื่องขอรับเงินจากกองทุนอีก

การ พิสูจน์ว่าควรช่วยเหลือหรือไม่ ก็ดูว่าเป็นผู้ได้รับผลกระทบหรือไม่ (มิได้เรียกว่า ผู้เสียหาย) เพียงแต่ไม่เน้นการพิสูจน์ว่าใครเป็นคนทำผิด (พิสูจน์ผิดถูก แต่ไม่พิสูจน์ทราบคนกระทำ)


ส่วนร่างที่คลอดออกมาจาก สวรส. นั้นเน้นการเยียวยาให้รวมไปถึงการรักษาที่ได้มาตรฐานแล้วแต่เกิดผลไม่พึง ประสงค์ เช่น ผ่าตัดช่องท้องที่มีพังผืดมากมายแล้วระหว่างผ่าตัดมีความเสียหายกับลำไส้ หรือท่อไต หรือการจ่ายเงินให้หากผ่าตัดแล้วมีการติดเชื้อ ซึ่งทางการแพทย์ไม่ได้เรียกว่าการกระทำให้เกิดความเสียหายแต่เรียกว่า “adverse effect” ซึ่งเกิดได้ภายใต้การรักษาตามมาตรฐาน

ความแตกต่างที่สำคัญอีกประการคือ ร่าง นี้เปิดให้ผู้ที่เรียกตนเองว่าผู้เสียหายสามารถรับเงินแล้วไปฟ้องต่อได้อีก เมื่อฟ้องแล้วแพ้คดีไม่จำเป็นต้องคืนเงินและยังอาจได้รับเงินเพิ่มเติม ในกรณีที่ฟ้องแล้วชนะทางกองทุนก็ต้องจ่ายเงินสมทบเพิ่มเติม ห้ามตัดสิทธิการฟ้องทุกรูปแบบ คดีอาญาก็ห้ามเว้น ถึงแม้จะทราบว่าแพทย์ไม่ได้เจตนา แต่ต้องคงไว้เพราะจะเป็นการรอนสิทธิตามรัฐธรรมนูญ อีกทั้งต้องเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยขยายอายุความทางแพ่งด้วยการฟ้องอาญา



ถึงเวลารวมร่างแปลงกายและปัญหาเรื่องประชาพิจารณ์

กฎหมาย ที่ได้ออกมาทั้งสองฉบับในที่สุดก็ถูกสั่งให้รวมกันเป็นร่างเดียวกันโดยคำ สั่งของรัฐมนตรีสาธารณสุขในขณะนั้น ทั้งนี้เพื่อให้กฎหมายออกเป็นฉบับเดียวในนามของกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ออก กฎหมาย เนื้อหาในกฎหมายทั้งสองมีหลายมาตราต่างกันแบบ “ขมิ้นกับปูน” เพราะต่างฝ่ายต่างต้องการในสิ่งที่ขัดกันอย่างสิ้นเชิง ดังนั้นการรวมร่างในชั้นกฤษฎีกาจึงเป็นเรื่องน่าเวียนหัว

ประเด็น เรื่องการประชาพิจารณ์นั้นเป็นที่โต้เถียงมาตลอดว่า กฎหมายนี้ของทางมูลนิธิผ่านการประชาพิจารณ์มาแล้ว ผู้เขียนยอมรับว่าไม่มีความรู้เรื่องกฎหมายหรือข้อบังคับการทำประชาพิจารณ์ แต่สิ่งที่พบเห็นคือมีการจัดสัมมนาตามโรงแรมหรือสภาวิจัยแห่งชาติ (ตรงสถานีรถไฟฟ้า BTS พญาไท) เป็นครั้งคราว

สิ่งที่พบเห็นในขณะนั้น คือ ผู้ร่วมประชุมจะเป็นคนหน้าเดิม ทั้งจากกระทรวง แพทยสภาบางท่าน (ที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งตรงนี้ผู้เขียนคิดว่าเป็นความบกพร่องของแพทยสภาที่ไม่สื่อเรื่องนี้ออก ไปให้กว้างขวางเหมือนกับที่สมาพันธ์วิชาชีพแพทย์หรือชมรมรพ.ศูนย์ ทำได้ในขณะนี้) ตัวแทนจากกระทรวงก็มีทั้งผู้เขียน (ซึ่งมีโอกาสพูดไม่มาก) และผู้หลักผู้ใหญ่บางท่านที่ทุ่มเทเวลาในการทำงานเพื่อช่วยเหลือเพื่อนแพทย์ และพยาบาล (แต่ติดขัดหลายอย่างที่ไม่อาจกล่าวได้)

การสัมมนาในสายตา ของผู้เขียนโดยเฉพาะที่เกิดขึ้นที่สภาวิจัยแห่งชาติ เป็นการสัมมนาหรือการประชาพิจารณ์ที่น่ากระอักกระอ่วนชนิดที่หากไม่ถูก บังคับหรือขอร้องให้ไปก็ไม่อยากไป นอกจากจะเสียเวลาแล้วยังอาจโดนเชือดคาเวทีง่ายๆ เพราะผู้ร่วมประชุมส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องการร่างกฎหมายน้อยมาก หลายท่านเป็นชาวบ้านที่ยังไม่เคยอ่านกฎหมายนี้ทั้งฉบับ เพียงแต่รับทราบว่าจะมีกฎหมายที่ให้เงินเมื่อเกิดความไม่พอใจในผลการรักษา หลายท่านเคยมีประสบการณ์ที่ไม่ดีในการเข้าไปรับการรักษา ซึ่งอาจมีทั้งที่ถูกและผิด แต่สิ่งที่อยู่ในใจของผู้ร่วมสัมมนาคือ ความรู้สึกเป็นลบต่อบุคลากรทางการแพทย์ ราวกับว่ากำลังจะออกกฎหมายเพื่อประหัตประหารหรือจัดการโจรในชุดขาว ทำให้ระยะหลังผู้เขียนได้แต่ไปเซ็นชื่อแล้วเดินออก เพราะประธานไม่เปิดโอกาสมากนัก คนที่ขึ้นเวทีส่วนใหญ่มีการกำหนดไว้ล่วงหน้าว่าจะให้ใครพูดได้มากได้น้อย

แต่ ไม่ว่าอย่างไรสิ่งที่รู้สึกคือแบบนี้ไม่น่าเรียกประชาพิจารณ์ (ยกเว้นกฎหมายบัญญัติไว้ว่าใช่) แต่น่าจะเรียกว่าการสัมมนาในกลุ่มที่เป็นฝ่ายเดียวกับตน แต่มีการเชิญคนนอกเข้ามาร่วมเพื่อให้ดูว่ามีสีอื่นเข้าไปปะปน

ประธาน ในที่ประชุมหลายครั้งเป็นคนที่มีชื่อเสียง แต่เกือบทุกครั้งจะมาแค่เปิดประชุมแล้วไปงานอื่นต่อแต่ออกมาให้สัมภาษณ์ภาย หลังเป็นเรื่องเป็นราว ราวกับว่าอยู่รับฟังทุกความเห็นในห้องประชุม บางครั้งการจัดประชาพิจารณ์หรือรับฟังความเห็นก็จัดขึ้นโดยอาจารย์ มหาวิทยาลัยการเมืองที่ติดแม่น้ำซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ดีกับมูลนิธิ

ประเด็น เรื่องการประชาพิจารณ์นั้น ผู้เขียนไม่ทราบว่ากฎหมายเขียนไว้อย่างไร แต่สิ่งที่เห็นคือเป็นการสัมมนาในกลุ่มคนที่มีความสัมพันธ์กันไม่ทางตรงก็ ทางอ้อม รู้จักกันมาก่อน บางครั้งมีการประชุมกันไปมาระหว่างหน่วยงานของแต่ละคนมีการรับเบี้ยประชุม กันไปมา คนในกลุ่มหลายคนได้รับการผลักดันให้ไปมีตำแหน่งในแต่ละหน่วยงานของแต่ละ กลุ่ม เช่น กทช. สภาวิจัยฯ สสส. สวรส. สช. ลักษณะนี้ไม่น่าจะเรียกว่า ประชาพิจารณ์ที่ควรเป็นกลาง และกลุ่มตัวอย่างน่าจะกว้างขวางกว่านี้มาก รวมทั้งไม่ควรมีความสัมพันธ์ในลักษณะนี้มาก่อน



ห้องประชุมติดแม่น้ำเจ้าพระยาทิวทัศน์ดี แต่บรรยากาศเครียด

ที่ สำนักงานกฤษฎีกา มีการตั้งคณะกรรมการเป็นกรณีพิเศษเพื่อพิจารณากฎหมายฉบับนี้ โดยมีอดีตประธานศาลฎีกาเป็นประธาน มีอดีตอัยการสูงสุด มีผู้พิพากษาศาลสูง มีอาจารย์แพทย์ที่มีคุณวุฒิทั้งทางด้านนิติเวชและกฎหมาย มาเป็นองค์ประชุม มีการเชิญตัวแทนมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แพทยสภา กระทรวงสาธารณสุข สปสช. อัยการ สำนักงานไกล่เกลี่ยและระงับข้อพิพาท กระทรวงยุติธรรม มาเป็นหลัก ที่เหลือเข้ามาร่วมเป็นครั้งคราว แต่ระยะหลัง (ใช้เวลาเป็นปี) ตัวแทนแพทยสภาไม่ได้เข้ามา นัยว่าไม่เห็นด้วยกับการทำหน้าที่ของท่านประธาน อีกทั้งมีภารกิจที่สำคัญอื่น

บรรยากาศวันแรกก็เคร่งเครียดแล้วเพราะเนื้อหาของสองร่างต่างกันมากจนการรวมให้เป็นเนื้อเดียวกันทำได้ยาก แค่ ชื่อกฎหมายก็ต้องเรียกว่า “ทะเลาะ”กันแล้ว เพราะทางมูลนิธิยืนยันว่า เขาและคนไข้ทั่วประเทศเป็นผู้เสียหายอันเกิดจากการกระทำของบุคลากร (ทำให้ผู้เขียนนึกในใจว่า เราเป็นแพทย์หรือเป็นโจรที่มีเจตนามาดร้ายประชาชนคนไทย)

บาง มาตราทางคณะกรรมการก็เห็นด้วยกับเรา (แต่น้อยมากๆๆ แสดงว่าคนส่วนใหญ่มองบุคลากรสาธารณสุขในภาพลบ) หลายมาตราคณะกรรมการก็ไม่เห็นด้วยกับทางมูลนิธิ

แต่สิ่งที่รู้สึกตลอดระยะเวลาเป็นปีที่สำนักงานกฤษฎีกาคือ นี่น่าจะเป็นการโต้วาทีระหว่างตัวแทนกระทรวงสาธารณสุขกับมูลนิธิโดยตรง แทนที่จะเป็นการโต้วาทีระหว่างบุคลากรกับประชาชนทั่วประเทศ เพราะตลอดเวลาทางมูลนิธิทำให้ผู้เขียนรู้สึกว่าเขาเป็นตัวแทนของประชาชนทั้งประเทศ ยิ่งกว่าสส.ที่เป็นเฉพาะเขตที่ได้รับเลือกตั้ง

หลาย ครั้งก็มีการโต้เถียงกับท่านประธานอย่างรุนแรง โดยเฉพาะเรื่องการไกล่เกลี่ยที่ตัวแทนมูลนิธิยืนยันหนักแน่นว่า “ไม่ต้องมี ไม่ต้องไกล่เกลี่ยใดๆ เพราะกฎหมายนี้เขียนเพื่อจ่ายเงิน ห้ามมาต่อรองราคา” แต่ ท่านประธานยืนยันหนักแน่นว่า “.....ปาก เพราะไม่ได้บังคับให้มาไกล่เกลี่ย คุณไม่อยากไกล่เกลี่ยก็ไม่ต้อง แต่ประชาชนคนอื่นอาจต้องการ ไม่ต้องมาพูดแทน อีกทั้งในกระบวนการทางศาลปกติก็มีการบังคับให้ไกล่เกลี่ยทุกรายอยู่แล้ว” วันนั้นเล่นเอาบรรยากาศอึมครึมเพราะนานๆ จะเห็นท่านประธานฟิวส์ขาด จนระยะหลังเลขาธิการมูลนิธิต้องเข้ามาคุมเกมเองเวลาพิจารณามาตราสำคัญๆ เช่น สิทธิการฟ้องต่อ

ประเด็นที่นับเป็นเรื่องร้อนอีกอย่างคือ “การระงับคดีอาญา” ซึ่งเป็นประเด็นที่ผู้เขียนต้องการมาก แต่ดูเหมือนว่ามีน้อยคนมากที่สนับสนุน ส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าแพทย์ที่เข้าไปช่วยผู้ป่วยด้วยเจตนาสุจริตแล้วเกิดพลาด พลั้งต้องมีสิทธิถูกฟ้องอาญาได้ ตัวแทนแพทยสภาถกประเด็นเรื่องนี้อย่างหนักจนแทบจะเรียกได้ว่าเกิดอาการไม่ กินเส้นกัน ที่น่าเสียใจคือคณะกรรมการที่เป็นแพทย์ก็เห็นด้วยว่าแพทย์ที่มีเจตนาไปช่วย ผู้ป่วยย่อมสามารถถูกฟ้องได้ ให้ไปแก้ต่างในศาล “หลายคนในนั้นมองว่าการขึ้นไปแก้ต่างในฐานะจำเลยในศาลเป็นเรื่องปกติที่สุด แล้วหากแน่ใจว่าตนไม่ผิดเดี๋ยวศาลก็ยกฟ้องเอง” ฟังแล้วท้อใจมาก

ส่วน ตัวผู้เขียนน่าจะเป็นคนแรกที่หยิบยกคำว่า “ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง” หรือ “Gross negligence” มาใช้ในคดีทางการแพทย์เพราะในต่างประเทศก็มีบัญญัติคำนี้

แต่ ณ เวลานั้นส่วนใหญ่เห็นว่ากฎหมายไทยไม่มีคำนี้ มีแต่ “ประมาท” หรือ “ordinary negligence” เท่านั้น เมื่อแพทย์ประมาทก็ต้องโดนฟ้องได้ (แต่ ณ เวลาที่พิมพ์บทความนี้คือ เดือนสิงหาคม พ.ศ.2553 ประเทศไทยมีบัญญัติคำว่า ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงไว้แล้วในกฎหมายอย่างน้อยสองฉบับคือ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ และพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ

ซึ่ง ผู้เขียนคิดว่าน่าจะถึงเวลาหยิบยกคำๆ นี้มาใช้บัญญัติเรื่องความรับผิดทางอาญาอันมีมูลเหตุมาจากการรักษาพยาบาล ให้แยกความผิดออกเป็นสองฐานคือ ประมาทธรรมดาและประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ได้แล้ว)

อีกประเด็นที่ถกเถียงกันหนักคือการรับเงินแล้วฟ้องต่อได้หรือไม่ได้ ที่สุดแล้วก็ออกมาค่อนไปทางความต้องการของมูลนิธิ

ประเด็น เรื่องสัดส่วนคณะกรรมการเป็นอีกประเด็นที่เราแพ้คนของมูลนิธิ เพราะท่านประธานมองเรื่องนี้ในลักษณะเสียงข้างมาก และคนของมูลนิธิก็ยืนยันว่าไม่ต้องมีสภาวิชาชีพหรือแพทย์เฉพาะทางมาตัดสิน แต่ให้ใช้เสียงข้างมาก (ซึ่งประเด็นนี้ทำให้ผู้เขียนไม่เข้าใจว่า ทำไมตอนนี้ทางมูลนิธิถึงเปลี่ยนคำพูดว่าไม่ติดใจเรื่องสัดส่วนคณะกรรมการ บอกว่ายินยอมให้ไปแก้ในชั้นกรรมาธิการ แต่ในห้องประชุมกฤษฎีกากลับคัดค้านอย่างมาก)



ลูกที่พ่อจำไม่ได้

ที่ สุดแล้วกฎหมายนี้ก็คลอดออกจากคณะกรรมการกฤษฎีกา แต่เปลี่ยนชื่อเป็น “พ.ร.บ.สร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข” กฎหมายทั้งฉบับออกมาในลักษณะที่พ่อจำหน้าลูกไม่ได้ว่านี่ใช่ลูกเราหรือเปล่า

หลายมาตราขัดกันเอง หลายมาตราจะส่งผลเสียต่อระบบสาธารณสุขอย่างรุนแรง เกิดการกลายพันธุ์ (mutation) อย่างมากชนิดที่อาจจะเป็นมะเร็งร้ายที่กัดกินระบบสาธารณสุขในระยะยาว จนหากใครเป็นพ่ออาจเกิดความรู้สึกอยากทำ criminal abortion เป็นแน่

ถึง ที่สุด ณ ขณะนี้กว่าที่บทความนี้จะตีพิมพ์ คงพอเห็นทางออกกันบ้างแล้วจากการรวมกลุ่มกันของบุคลากรหลายวิชาชีพมาจัดตั้ง และทำงานร่วมกัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อปฏิรูประบบสาธารณสุขโดยไม่ต้องอาศัยมูลนิธิเพื่อผู้ บริโภคหรือกระทรวงสาธารณสุข

ในอนาคตเชื่อว่าหากยังรวมตัวกัน อย่างเหนียวแน่นอยู่คงได้เห็นกฎหมายที่บัญญัติให้คุ้มครองบุคลากรสาธารณสุข ที่ปฏิบัติงานอย่างสุจริตตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 80(2) บัญญัติไว้











8
ขอให้เราตอบคำถามต่อไปนี้ เพื่อทราบความจริงและพิจารณาแก้ไข
   1.  แพทย์  ท่านได้ทำหน้าที่ของตนเองโดยคิดถึงประโยชน์ของผู้ป่วยก่อนประโยชน์ของตนเองหรือไม่?
   
        ในปัจจุบันนี้แพทย์ส่วนใหญ่ทำงานหนัก เพราะต้องการช่วยเหลือผู้ป่วยซึ่งเอาชีวิตมาฝากไว้  อย่างไรก็ตามอุปสรรคในเรื่องความขาดแคลนทุกอย่างโดยเฉพาะ “เวลา” ทำให้ขาดการติดต่อชี้แจงต่อผู้ป่วย ขอให้แพทย์อดทน เห็นใจ ผู้ป่วยในฐานเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ให้กำลังใจและเวลาแก่ผู้ป่วยบ้าง

        ถ้าแพทย์รัก ห่วงใย คนไข้ สัมพันธภาพระหว่างแพทย์และผู้ป่วยจะเกิดขึ้น เป็นผลดี เป็นบุญกุศล สำหรับแพทย์และผู้ป่วย สถาบันแพทย์จะอยู่รอด

       แพทย์ส่วนน้อยซึ่งยังวนเวียนอยู่ในกิเลส คือ ความอยากได้ไม่มีที่สิ้นสุด ความหลงและความโกรธ จนประพฤติผิดจรรยาแพทย์ ควรได้รับการลงโทษ เพื่อมิให้เป็นตัวอย่างที่ไม่ดี แพทย์ส่วนน้อยนี้เป็นผู้ทำให้เกียรติภูมิของแพทย์ต่ำลงและทำลายสถาบันแพทย์

   2.  อาจารย์แพทย์และโรงเรียนแพทย์ซึ่งเป็นผู้กำเนิดแพทย์ ท่านได้ทำหน้าที่ของท่านในการปลูกฝังวิชาความรู้และคุณธรรม โดยทำตนเป็นตัวอย่างในการปลูกฝังความดีแก่ลูกศิษย์แพทย์ของเราหรือไม่ และเพียงไร?  เพื่อให้ศิษย์แพทย์ได้พึงปฏิบัติหน้าที่ของเขาอย่างดีที่สุด

        อย่าลืมว่า อาจารย์ที่ดีเป็นตัวอย่างผู้ชี้แนะแนวทางอันสว่างให้แก่ศิษย์

3.  ผู้ป่วย  เราให้ความไว้วางใจ ซื่อสัตย์ ต่อแพทย์ที่รักษาเราเพียงไร?
     เราสามารถเข้าใจและให้อภัยแพทย์ได้หรือไม่ เมื่อการรักษาพยาบาลไม่ได้ผล ทั้ง ๆ ที่แพทย์ได้กระทำอย่างดีที่สุดแล้ว 

     อย่าลืมว่าผู้ป่วยเป็นกำลังใจสำคัญของแพทย์


4.  ผู้บริหาร  กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่รัฐมนตรี ลงมาถึงผู้บังคับบัญชาระดับสูง ท่านได้พยายามช่วยเหลือบุคลากรในความดูแลให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ของเขาอย่างดีที่สุด โดยให้กำลังใจ สนับสนุนทั้งกำลังคนและทางเทคนิค ขจัดความขาดแคลน และปกป้องการถูกดูหมิ่นเหยียดหยาม จากผู้ที่ใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม เช่น นักการเมือง ได้หรือไม่? 
     ถ้าท่านทำได้ หน่วยงานที่ท่านรับผิดชอบจะประสบความเจริญ เป็นที่พึ่งของประชาชนอย่างแท้จริง

     ถ้าท่านมิได้ทำ โปรดทำหน้าที่ของท่าน เพื่อกอบกู้สถาบัน
     แพทย์ไทยซึ่งทุกคนเป็นเจ้าของ

   5.  โรงพยาบาลเอกชน  ท่านได้บริหารกิจการโรงพยาบาลตามหลักธรรมะแห่งวิชาชีพของการแพทย์ที่ดี ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ต่อผู้ป่วย และได้ส่งเสริมให้แพทย์ในสังกัดของท่านใช้วิชาชีพตามจรรยาบรรณแพทย์อย่างมีความอิสสระหรือไม่?   ถ้าท่านทำจะเป็นการส่งเสริมสถาบันแพทย์ให้อยู่รอด ถ้าไม่ทำ ท่านกำลังทำลายสถาบันแพทย์ให้เสื่อมลง

     โปรดอย่าหาความร่ำรวยบนความทุกข์ยากของเพื่อนมนุษย์

   6.  สังคม ประกอบด้วย สื่อ นักคิด รวมทั้งนักสิทธิมนุษยชน ท่านเคยคิดถึงแพทย์ในฐานะเพื่อนมนุษย์ที่มีชีวิตจิตใจหรือไม่?  หรือคิดแต่เพียงเป็นแหล่งข่าวที่ทำให้ข่าวมีสีสันยิ่งขึ้น  นักคิดและนักสิทธิมนุษยชน ขอให้ใช้สติและปัญญา ในการคิด ในทางสร้างสรรค์ มิใช่การทำลายแพทย์  เพราะแพทย์ส่วนใหญ่ยังพยายามให้การรักษาพยาบาลที่ดีต่อผู้ป่วยโดยไม่เลือกชั้นวรรณะ ความมี ความจน ถ้าท่านคิดในทางทำลายกรุณาเลิกเพราะไม่มีใครได้ประโยชน์ แม้แต่ตัวท่านเอง

     ถ้าขาดสถาบันแพทย์และการสาธารณสุขที่เข้มแข็ง ชีวิตของ
     คนไทยทุกคนก็ไม่มีคุณภาพ

   ถ้าเราทุกฝ่ายสามารถแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ได้ สถาบันแพทย์และการสาธารณสุขไทยก็จะอยู่รอด เป็นมรดกอันล้ำค่าสำหรับลูกหลานเราต่อไป

   ถ้าท่านรู้จักคำว่าพอเพียง ชีวิตและสังคมไทยก็จะมีความสุข


   พระบรมราโชวาทของสมเด็จพระบรมราชชนก สำหรับแพทย์ทุกคน

   “หมอไม่ใช่ผู้รับจ้าง        หมอที่ดีไม่รวย แต่ไม่อดตาย”


      ‘ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตัว      เป็นที่สอง
      ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์      เป็นกิจที่หนึ่ง
      ลาภ ทรัพย์ และเกียรติยศ      จะตกแก่ท่านเอง
      ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพ      ไว้ให้บริสุทธิ์’


                     24 กันยายน 2553

9
จรรยาแพทย์ต่อเพื่อนแพทย์  เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดความเป็นปึกแผ่นของสถาบันแพทย์ ทำให้เกิดน้ำใจ เอื้ออาทร ปรารถนาดีต่อกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้ขยายไปสู่เพื่อนร่วมอาชีพเดียวกัน เช่น พยาบาล นักวิทยาศาสตร์ เป็นต้น    อย่างไรก็ตามสิ่งเหล่านี้กำลังจะเลือนหายไปเพราะการแก่งแย่งผลประโยชน์ การแบ่งแยกแตกเหล่า ต่างสถาบัน ต่างกลุ่ม ต่างหน้าที่ ปัจจุบันมีกลุ่มอาจารย์ในโรงเรียนแพทย์ แพทย์ทหาร แพทย์ในชุมชน แพทย์ชนบท (ซึ่งจะทำการรักษาพยาบาลคนชนบทจริง ๆ แค่ไหนไม่ทราบ?) แพทย์เอกชน และแพทย์ที่เป็นกรรมการในสถาบันที่มีชื่อเสียงมาก เช่น แพทยสภา ราชวิทยาลัย และสมาคมวิชาชีพแพทย์ต่างสาขาออกไป แม้ในสถาบันเดียวกันก็ยังมีการแบ่งแยกระหว่างผู้บริหาร และแพทย์ปฏิบัติงานประจำหน่วยหรือกอง ความแตกต่างนี้ทำให้เกิดความรู้สึกแบ่งแยก  สำหรับผู้เขียนเผอิญผ่านชีวิตของการแพทย์ทหาร อาจารย์แพทย์ แพทย์เอกชน ผู้บริหาร และกรรมการในสมาคมวิชาชีพมาเป็นลำดับ และเนื่องจากไม่เคยยึดติดกับภาวะใดมากนัก จึงมิได้มีความรู้สึกแบ่งแยกดังกล่าว คิดแต่เพียงว่าจะเป็นแพทย์ประเภทใดก็ไม่สำคัญ ขอให้ปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด และแพทย์ทุกคนล้วนมีกำเนิดมาจาก สมเด็จพระราชบิดาองค์เดียวกัน มีจุดมุ่งหมายร่วมกันคือ ประโยชน์สุขของผู้ป่วย และความเป็นปึกแผ่นของสถาบันแพทย์ไทย

กฎหมายเกี่ยวข้องกับแพทย์  ในระยะเวลาเกือบ 5 ปีที่ผ่านมา มีกฎหมายที่ลงโทษแพทย์ออกมาอย่างน้อย 2 ฉบับ คือ พรบ.ฉบับที่เป็นปัญหาในปัจจุบัน และกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งมีผลกระทบสามารถลงโทษแพทย์ย้อนหลังไปได้ถึง 10 ปี ความจริงกฎหมายนี้มิได้เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของแพทย์เลย กฎหมายนี้ใช้กับกิจการอื่น ๆ ซึ่งป้องกันได้ แต่มิใช่กับร่างกายมนุษย์ซึ่งแม้จะให้การรักษาพยาบาลอย่างดีเพียงไรก็ยังควบคุมไม่ได้ เพราะผู้ป่วยแต่ละคนมีการทำงานพื้นฐานของร่างกายต่างกันโดยที่แพทย์ไม่สามารถกำหนดได้  ไม่เหมือนกรณีการก่อสร้างตึกซึ่งคำนวณให้แม่นยำ ใช้วัสดุให้ตรงตามที่คำนวณไว้ ก็จะได้ตึกที่แข็งแรง สวยงาม ตามแปลนที่เขียนไว้

   ข้อที่ควรสังเกตในเรื่องกฎหมายที่ลงโทษแพทย์นี้มีโดยปราศจากเหตุผล  น่าจะเป็นเครื่องเตือนใจให้แพทย์สังวรณ์ว่า สังคมทุกวันนี้มิใช่สังคมที่เอื้ออาทรปรารถนาดีต่อแพทย์ และอาจต้องถามตนเองว่าเราได้ทำอะไรลงไป จึงทำให้สังคมเห็นแพทย์เป็น “ผู้กระทำร้าย” ต่อเพื่อนมนุษย์ได้ถึงเพียงนี้?   

   ถึงเวลาที่เราควรจะพิจารณาตัวเองเพื่อให้เกิดความเข้าใจในบทบาทของแพทย์ที่ดี  และพยายามแก้ไขข้อบกพร่องที่อาจกระทำขึ้นโดยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แพทย์ควรจะถามตนเองว่า เราได้ปฏิบัติหน้าที่ของแพทย์เพื่อเพื่อนมนุษย์โดยคิดถึงผู้ป่วยก่อนตนเองหรือไม่?  ถ้าตอบปัญหานี้ได้ แก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้อง จะทำให้สังคมมองแพทย์ในลักษณะที่เป็นมิตรและมีน้ำใจมากขึ้นหรือไม่   และน่าจะถึงเวลาที่แพทย์ควรมีกฎหมายคุ้มครองการประกอบอาชีพแพทย์ ซึ่งซับซ้อน ยากแก่ความเข้าใจของคนในสังคมปัจจุบัน เป็นความจำเป็นที่ประเทศไทยควรมีกฎหมายดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อป้องกันและสงวนแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งส่วนใหญ่ยังปฏิบัติงานด้วยความรักและห่วงใยผู้ป่วย ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินแก้ เรามีเวลาไม่มากนัก

   สำหรับปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเสื่อมของสถาบันแพทย์นั้นเป็นปัจจัยเสริม ซึ่งจะได้กล่าวต่อไปอย่างสั้น ๆ

   หัวใจสำคัญในการแก้ไขคือ ขอให้ทุคนเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเอง และทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุดโดยคิดถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง

10
บทส่งท้าย  สถาบันแพทย์และการสาธารณสุขของประเทศไทย กำเนิดขึ้นด้วยพระวิริยะ อุตสาหะ และทรงเสียสละอย่างใหญ่หลวงของพระบรมราชชนก เป็นประโยชน์แก่ประชาชนชาวไทยอย่างยิ่ง  ก่อนมีสถาบันแพทย์และการสาธารณสุขไทยแผนปัจจุบัน  ประชาชนล้มตายด้วยโรคระบาด  ในอดีตที่ไม่มีการแพทย์แผนปัจจุบันโรคส่วนมากรักษาไม่หาย เช่น วัณโรค ฝีบิดในตับ ไตวาย ยิ่งโรคหัวใจ โรคมะเร็ง ไม่ต้องพูดถึง เราก้าวมาไกลด้วยรากฐานที่พระองค์ทรงวางไว้ให้  แต่ต้องมาเสื่อมลงด้วยกิเลส คือ ความโลภ โกรธ หลง กล่าวคือ  1) ความแตกความสามัคคีในหมู่แพทย์  2) ความไร้น้ำใจต่อผู้ป่วยซึ่งเกิดจากการกระทำของแพทย์ส่วนน้อย แต่ทำให้ผู้ป่วยหมดความไว้วางใจในแพทย์ ทำให้เกียรติภูมิของแพทย์ถูกเหยียดหยาม แพทย์ซึ่งมิได้ปฏิบัติตนตามจรรยาเหล่านี้ควรได้รับการลงโทษอย่างเด็ดขาด    3) ความโลภ ของผู้ป่วยที่อยากได้เงินจากการฟ้องร้องที่ไร้เหตุผล (ไม่รู้จักพอ)  และประการสุดท้าย คือ  4) สังคม ซึ่งตั้งความหวังไว้กับแพทย์มากกว่าความเป็นจริง ซึ่งรวมทั้งผู้ป่วย สื่อ ตลอดจนนักคิด นักสิทธิมนุษยชน ซึ่งไม่ทราบความจริงในโลกปัจจุบัน

   ทุกสิ่งนี้ได้ฉุดสถาบันแพทย์และการสาธารณสุขไทย ซึ่งเป็นเสาหลักของประเทศให้ตกต่ำลงจนเกือบถึงขอบเหว   ในปัจจุบันประชาชนเดือดร้อนแสนสาหัสเพราะแพทย์ไม่สามารถทำหน้าที่ของตนเองได้อย่างเต็มที่  เนื่องจากการฟ้องร้องระบาดไปทั่ว  ความบกพร่องเหล่านี้เป็นสนิมในเหล็กทำให้ทุกอย่างพังทลายลงอย่างรวดเร็ว   เราซึ่งเป็นคนไทยจะปล่อยให้สิ่งเหล่านี้ดำเนินต่อไปโดยไม่ช่วยกันแก้ไขหรือ? 

การแก้ไข  โดยการวิเคราะห์ปัจจัยเกี่ยวข้องต่าง ๆ ที่สำคัญที่สุดคือ แพทย์

สถานภาพของแพทย์และสังคมปัจจุบัน  ในฐานะของแพทย์คนหนึ่งซึ่งได้ผ่านชีวิตของการเป็นแพทย์มานานถึง 56 ปี  ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับแพทย์ในสังคมปัจจุบัน  ต้องยอมรับว่ารู้สึกสะเทือนใจเป็นอย่างยิ่ง  ในอดีตสังคมไทยเป็นสังคมที่เอื้อเฟื้อ พอเพียง มีน้ำใจต่อกัน แพทย์ในฐานะผู้รักษา เสียสละความสุขสบายเพื่อชวยเหลือดูแลผู้ป่วย จึงได้รับความยกย่องเชื่อถือจากสังคมว่าเป็น “ผู้ให้”  สังคมในอดีตมิได้คิดประทุษร้ายต่อแพทย์  มีแต่ความมีน้ำใจ เชื่อถือ ไว้วางใจ

      กาลเวลาที่ผ่านไปในท่ามกลางสังคมของวัตถุนิยมที่เชี่ยวกราก ความโลภที่มีมากขึ้น อคติต่อผู้อื่นที่มีมากขึ้น เมื่อเกิดความโลภ โกรธ และหลง   ในขณะเดียวกันความต้องการของผู้ป่วยจากแพทย์ก็มีมากขึ้นอย่างไร้ขอบเขต   ปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นในปัจจุบันคือ จำนวนผู้ป่วยทวีคูณมากขึ้น โดยเฉพาะในชนบทและโรงพยาบาลของรัฐ  แต่จำนวนของแพทย์มิได้มากขึ้นตามสัดส่วน ทำให้แพทย์มีเวลาน้อยมากในการดูแลผู้ป่วย เช่นในห้องตรวจคนไข้นอก แพทย์มีเวลาเพียง 2-3 นาทีให้ผู้ป่วยหนึ่งคน เพื่อดูแลผู้ป่วยให้หมดภายในเวลาจำกัด มิฉะนั้นผู้ป่วยจะมิได้รับการดูแลทั่วถึง แพทย์เองก็หมดแรง สมองตื้อ เวลาจะคิดในการวินิจฉัยและการรักษาก็ไม่มี  แพทย์จะทำงานได้อย่างไรในสภาพเช่นนี้?   ความผิดพลาดย่อมเกิดขึ้นเป็นผลร้ายต่อผู้ป่วย  ความยุ่งยากซับซ้อนของโรคที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์ สภาพของผู้ป่วยซึ่งอาจมีโรคประจำตัวแต่แพทย์ไม่มีโอกาสทราบ ทำให้มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นตามมา  สิ่งเหล่านี้ทำให้การรักษาพยาบาลไม่ได้ผล ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยเลวลง   การแก้ไขที่ถูกต้องคือ การให้เวลาแก่แพทย์เพียงพอ ให้ความเข้าใจในการทำงานของแพทย์ ผู้พิพากษาเองยังต้องการเวลาในการศึกษาคดีกว่าจะให้คำพิพากษาได้นานถึง 10 ปีกว่า  (คดีแพะรับบาปซึ่งปรากฏในโทรทัศน์ไทยทีวี เมื่อประมาณกลางเดือนพฤศจิกายน 2553) แต่แพทย์มีเวลาเพียงไม่ถึง 10 นาที ในการให้การวินิจฉัยโรคทั้ง ๆ ที่ความผิดพลาดนั้นอาจเป็นต้นเหตุให้ผู้ป่วยพิการหรือเสียชีวิต  การให้การศึกษาแก่ผู้ป่วยให้รู้จักดูแลตนเองตามสมควรก่อนจะพบแพทย์ จะช่วยแบ่งเบาภาระของแพทย์ไปได้บ้าง สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่แพทย์เรียกร้อง โหยหา อยากได้ เพื่อให้มีโอกาสทำงานอย่างมีมาตราฐานสำหรับการดูแลรักษาผู้ป่วย  แต่มิเคยได้รับการเหลียวแลจากรัฐ  หรือความเข้าใจจากผู้บังคับบัญชาไม่ว่าจะกี่ยุคกี่สมัยที่ผ่านมา  เมื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้น แพทย์จะถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำผิด  สิ่งเหล่านี้คือความจริงในมุมมืดด้านหนึ่งของการสาธารณสุขไทย  รัฐโดยเฉพาะรัฐมนตรีสาธารณสุขควรจะทำความเข้าใจ ช่วยแก้ไข มิใช่ลอยตัวเหนือปัญหา โดยคิดถึงแต่คะแนนเสียงของประชาชนอย่างเดียว  ปัญหานี้เป็นปัญหาเรื้อรังซึ่งทวีคูณขึ้นเป็นลำดับ และเป็นปัญหาต้นเหตุอันหนึ่งที่ทำให้การแพทย์และการสาธารณสุขไทยถูกลากมาอยู่ที่ขอบเหวในปัจจุบันนี้

   ในฐานะของปุถุชน ทุกคนย่อมหนีจากภัยที่เกิดขึ้น แพทย์เป็นปุถุชนเช่นเดียวกัน  ทางเลือกคือ ย้ายเข้าสถาบันที่ตนเองได้ทำงานได้เต็มที่ ปลอดภัยจากสภาพแวดล้อมที่บีบคั้น หรือถ้ายังทำได้ต่อไปก็พยายามปฏิบัติหน้าที่อย่างดีที่สุดเพื่อผู้ป่วยที่ยากจน  ซึ่งยังมีสัมพันธภาพเหลืออยู่ด้วยความห่วงใย เพราะถูกอบรมมาว่า “ไม่ให้ทิ้งคนไข้”


11
พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข (ฉบับรัฐบาล) – กระจกสะท้อน
สถานภาพวิกฤติของสถาบันแพทย์และการสาธารณสุขไทย
ปัญหาที่ต้องสนใจและแก้ไขโดยด่วน

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พันเอกพิเศษ แพทย์หญิงถนอมศรี ศรีชัยกุล
พ.บ. M.Sc. Med (penn)

ผู้เขียนบทความนี้เป็นอายุรแพทย์ ซึ่งใช้ชีวิตการเป็นอายุรแพทย์มายาวนานถึง 56 ปี  เคยเป็นอาจารย์แพทย์ก่อตั้งหน่วยโลหิตวิทยาในสถาบันการแพทย์ถึง 2 สถาบัน  คือ คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี (2510-2522) และวิทยาลัยแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า (2525-2533)   ปัจจุบันก็ยังเป็นอายุรแพทย์ดูแลรักษาผู้ป่วยอยู่  ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวงการแพทย์ไทยมาตลอด โดยเฉพาะในระยะ 10 ปีหลัง  มีความสะเทือนใจและห่วงใยว่า ความเสื่อมที่เกิดขึ้นนี้เพราะเรากำลังหลงทาง และเดินไปสู่ขอบ “เหว” ซึ่งเมื่อตกลงไปแล้วการแพทย์ไทยก็จะล่มสลาย  เมื่อได้ทราบว่ามี พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ซึ่งประชาชนน่าจะได้ประโยชน์และอาจทำให้วงการแพทย์ไทยฟื้นตัวขึ้น  จึงเกิดความสนใจและศึกษา ซึ่งจะขอสรุปผลดังนี้คือ

จุดมุ่งหมายของ พรบ.ฉบับนี้ มี 4 ประการคือ
   1)  ต้องการชดเชยค่าเสียหายจากการรับบริการทางแพทย์แก่ผู้เสียหายอย่างรวดเร็ว โดยจัดตั้งเป็นกองทุนเพื่อชดเชยความเสียหายนั้น ๆ
   2)  ผู้ป่วยได้ประโยชน์จาก พรบ. ฉบับนี้ เพราะได้เงินชดเชยเร็วขึ้นโดยมาตรฐานบริการทางการแพทย์มิได้ลดลง
   3)  จะช่วยลดการฟ้องร้องระหว่างผู้ป่วยและแพทย์ให้น้อยลง
   4)  จะเป็นการสร้างความสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้รับ (ผู้ป่วย) และผู้ให้บริการ (แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์)

   พรบ.นี้มี 7 หมวด และ 50 มาตรา  จากการอ่านพิจารณาดูในฐานะแพทย์ซึ่งมิใช่นักกฎหมาย  มีความเห็นว่า พรบ. นี้มีข้อบกพร่องหลายประการที่จะนำไปสู่ความเสียหายแก่การแพทย์และการสาธารณสุขของชาติ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในภาวะใกล้ล่มสลาย  ความวกวน ไม่กระจ่างชัด ขัดแย้งกันเอง ทำให้ พรบ. นี้ไม่สามารถบรรลุจุดมุ่งหมาย 4 ข้อต้นได้ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

ข้อ 1  หมวดที่ 1 ตามมาตรา 5 ผู้เสียหายมีสิทธิ์ได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นและเงินชดเชยจากกองทุน โดยมิต้องพิสูจน์ความรับผิด  แต่ในมาตรา 6 มีข้อขัดแย้งกันเองกล่าวคือ มีข้อยกเว้นสามข้อซึ่งจะจ่ายเงินชดเชยตามมาตรา 5 ไม่ได้  คือ 1) ความเสียหายเกิดขึ้นตามปกติธรรมดาของโรคนั้น ๆ    2) ความเสียหายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จากการให้บริการสาธารณสุขตามมาตรฐานวิชาชีพ   และ 3) ความเสียหายเมื่อสิ้นสุดกระบวนการให้บริการสาธารณสุขไม่มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตตามปกติ

   ข้อยกเว้นในมาตรา 6 ทั้งสามข้อ ต้องใช้เวลาในการพิสูจน์ด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขา ซึ่งในคณะกรรมการไม่มีผู้ที่มีคุณสมบัติดังกล่าว  การใช้ความเห็นของกรรมการที่ปราศจากความรู้ทางแพทย์ และให้ลงมติโดยการใช้คะแนนเสียง ทำให้การตัดสินเป็นไปโดยขาดหลักเกณฑ์ ปราศจากความยุติธรรม เป็นผลเสียหายทั้งแก่แพทย์และผู้ป่วย   นอกจากนั้นการมีข้อยกเว้นต้องพิสูจน์โดยใช้เวลา  การจ่ายเงินชดเชยจึงทำไม่ได้ในเร็ววันตามที่กำหนดไว้ ผิดจุดประสงค์ของ พรบ. ข้อ 1 และ ข้อ 2  การไม่ได้เงินชดเชยในระยะเวลารวดเร็วจะนำไปสู่การฟ้องร้องให้มากขึ้น กระทบกระเทือนต่อสัมพันธภาพระหว่างแพทย์และผู้ป่วย ผิดเจตจำนง ข้อ 3 และ ข้อ 4 ของ พรบ.นี้

ข้อ 2  การพิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นและเงินชดเชย  ในหมวด 4 (มาตรา 27-37)  มีข้อน่าสังเกตว่า มีการจ่ายค่าชดเชยเบื้องต้น ถ้าผู้เสียหายไม่พอใจ ให้อุทธรณ์ได้ ถ้ายังไม่พอใจกับเงินชดเชยจากการอุทธรณ์ให้ผู้เสียหายฟ้องศาลได้ทั้งทางแพ่งและอาญา  ดังนั้นจะทำให้เกิดการฟ้องร้องต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ จึงเกิดผลเสียหายตามมาคือ
1)   ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยเลวลง นำไปสู่การฟ้องร้องมากขึ้น การรักษาพยาบาลไม่ได้ผล มาตรฐานการแพทย์ต่ำลง เพราะผู้ป่วยขาดความเชื่อถือแพทย์ แพทย์ต้องโดนทำร้ายทางจิตใจอย่างมาก เสียทรัพย์สินและอาจจะเสียอิสรภาพ หมดกำลังใจในการดูแลรักษาผู้ป่วย
2)   การจ่ายเงินชดเชยให้ผู้เสียหายเมื่อมีปัญหา ต้องพิสูจน์โดยกรรมการที่ไม่มีความรู้ทางแพทย์  ทำให้การพิจารณาไม่มีหลักเกณฑ์ เป็นการทำลายหลักวิชาแพทย์ ซึ่งควรตัดสินด้วยความรู้ทางวิชาการร่วมกับเมตตาธรรม แต่กรรมการชุดนี้ทำไม่ได้

ข้อ 3 ที่มาของกองทุน (หมวด 3 มาตรา 20-24)
กองทุนมีที่มาหลายแห่ง ขอวิจารณ์เพียง 2 แห่ง คือ
1.  จากโรงพยาบาลเอกชน
2.  จากโรงพยาบาลของรัฐ ซึ่งรวมทั้งกระทรวงสาธารณสุขและมหาวิทยาลัย

ผลที่เกิดขึ้น
1.  โรงพยาบาลเอกชนจะขึ้นค่ารักษาพยาบาลเพื่อนำมาจ่ายให้กองทุน ผู้ป่วยจะต้องเสียเงินมากขึ้นโดยไม่ได้รับการบริการที่ดีขึ้น
2.  โรงพยาบาลของรัฐซึ่งไม่มีเงินอยู่แล้ว คงต้องหาเงินโดยการหักจากงบประมาณในการรักษาผู้ป่วยที่มีอยู่ ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยมาตรฐานที่ต่ำลงทั้งที่ปัจจุบันก็แย่อยู่แล้ว

ข้อ 4  กรรมการบริหารพรบ. (หมวดที่ 2 มาตรา 7-16)
   1.  คุณสมบัติของกรรมการ ไม่ครบถ้วน ขาดองค์ประกอบที่สำคัญคือ กรรมการวิชาชีพ ได้แก่ ผู้แทนแพทยสภา ผู้แทนทันตแพทยสภา ผู้แทนสภาการพยาบาล ผู้แทนสภาเภสัชกรรม ผู้แทนสมาคมแพทย์คลินิกไทย ผู้แทนสมาคมโรงพยาบาลเอกชน  ที่ปรากฏใน พรบ.มีเพียงผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคและด้านบริการสุขภาพ จำนวน 6 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านเศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ สื่อสารมวลชน สิทธิมนุษยชน และการเจรจาไกล่เกลี่ยสาธารณสุขด้านละหนึ่งคน

   ผู้แทนสภาวิชาชีพเป็นหัวใจสำคัญ จำเป็นมากเพราะต้องดูแลและสร้างมาตรฐานทางด้านวิชาการ เพื่อนำไปใช้ในการรักษาพยาบาลให้แก่ประชาชนต่อไป เท่าที่ทราบจากการแก้ไขร่างครั้งแรกได้เพิ่มเติมกรรมการวิชาชีพลงไปในพรบ.โดยผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว แต่ถูกตัดทิ้งไปด้วยเหตุผลอย่างใดไม่ชัดเจน

   เป็นที่น่าสังเกตุว่ากรรมการบริหารจำนวนเพียงไม่กี่คนที่ดูแลกองทุนนี้มีสิทธิจ่ายเงินจำนวนมหาศาลในการบริหารจัดการกองทุนมากถึง 10% จากเงินกองทุน โดยไม่ได้ระบุว่ามีกลไกตรวจสอบการใช้เงินอย่างรัดกุมหรือไม่?

   2)  ขอบเขตหน้าที่และอำนาจของกรรมการ เขียนไว้ไม่ชัดเจน ไม่มีข้อจำกัด สามารถลงโทษโดยปรับไหมผู้ที่ส่งเงินสมทบกองทุนช้าไป สามารถฟ้องศาลพิจารณาผู้ที่ไม่ร่วมมือจำคุกได้ 6 เดือน

        ปรับไหม ผู้ที่ส่งเงินสมทบกองทุนช้าถูกปรับเดือนละ 2% ปีละ 24% ไม่ทราบว่ามีหลักเกณฑ์อะไร ในเมื่อดอกเบี้ยนอกระบบยังน้อยกว่านี้  ถ้าพรบ.นี้ร่างโดยนักสิทธิมนุษยชน และแพทย์ที่ได้ MD แต่เลิกไม่ดูแลผู้ป่วยแล้ว ประเทศไทยจะหวังอะไรกับการร่างกฎหมายชนิดนี้?

        ฟ้องศาลจำคุกได้ถึง 6 เดือน เป้าคือใคร? นอกจากแพทย์ พยาบาล บุคลากรที่ดูแลรักษาผู้ป่วย  ผู้ร่าง พรบ.ควรทราบว่า แพทย์และพยาบาลที่จะมีปัญหาในเรื่องคดีส่วนใหญ่เป็นแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลรัฐบาล ที่คนไข้ล้นมือจนทำไม่ไหว เมื่อทำไม่ไหวก็ย่อมมีข้อผิดพลาด ถ้าแพทย์หรือพยาบาลต้องเดินทางมาให้ปากคำ คนไข้ก็ไม่มีคนตรวจรักษาดูแล มาตรฐานการแพทย์ก็ยิ่งต่ำลง ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และคนไข้ยิ่งเลวลง คนไข้จำนวนมากอาจพิการหรือเสียชีวิตเพราะมีหมอไม่พอจะรักษา

   ในปัจจุบันนี้ประชาชนที่ยากจนเมื่อเจ็บป่วยก็ต้องเดือดร้อนแสนสาหัส  เพราะแพทย์ไม่สามารถทำหน้าที่ของตนเองได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากการฟ้องร้องระบาดไปทั่วจนแพทย์ “ขยาด” จะให้การรักษาผู้ป่วยหนักในภาวะที่มีความ “จำกัด” ทั้งบุคลากรและอุปกรณ์ต่าง ๆ โดย “รัฐ” ไม่เคยเหลียวแลแก้ปัญหาให้อย่างจริงใจ พรบ.ฉบับนี้จะยิ่งซ้ำเติมให้เกิดความเดือดร้อนมากขึ้นจนนำไปสู่ความล่มสลายของแพทย์และการสาธารณสุขของประเทศให้เกิดรวดเร็วขึ้น

ปัจจุบันนี้แพทย์ พยาบาล ในโรงพยาบาลชุมชนหรือแม้แต่โรงพยาบาลศูนย์ทำงานด้วยความยากลำบาก ทุกคนหมดกำลังใจ ขยาดต่อการรักษาดูแลผู้ป่วยหนักเพราะโรงพยาบาลมีขีดความสามารถจำกัดทั้งบุคลากรและเทคโนโลยีต่าง ๆ  ถ้าการรักษาไม่ได้ผลจะถูกฟ้องร้อง แพทย์เคยถูกตัดสินจำคุกมาแล้ว 3 ปี โดยไม่รอลงอาญา (คดีที่อำเภอร่อนพิบูลย์)   ดังนั้นเมื่อไม่แน่ใจจึงต้องใช้ระบบส่งต่อทั้ง ๆ ที่ไม่อยากทำ เพราะทราบดีว่าเวลาที่ผ่านไปแต่ละนาทีมีค่าต่อชีวิตผู้ป่วยเพียงไร  ผู้ป่วยได้รับผลกระทบ โอกาสจะพิการและเสียชีวิตมีมาก เพราะเสียเวลาในการเดินทาง เมื่อไปถึงโรงพยาบาลใหญ่ ๆ ก็ต้อง “รอคิว” เพราะคนไข้ไปรออยู่มากมาย  ถ้า พรบ.ฉบับนี้ผ่าน การฟ้องร้องทำง่ายขึ้น ผู้ที่เดือดร้อนคือประชาชน และแพทย์ พยาบาล ซึ่งส่วนใหญ่ยังมีหัวใจสำหรับผู้ป่วยอยู่

   ในอนาคตจะไม่มีใครเรียนแพทย์ พยาบาล นอกจากคนที่ไม่อยากเรียนแต่ไม่มีทางเลือก  สถาบันแพทย์และการสาธารณสุขไทยจะล่มสลาย ประชาชนจะไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้องตามมาตรฐาน

12
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโฆษณาว่าให้ประชาชนไทยสุขภาพดี มีรอยยิ้ม
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
กลุมพิทักษ์สิทธิพลเมือง
   โปสเตอร์รูปยิ้มนี้ติดทั่วไปในโรงพยาบาลและหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข นัยว่าเป็นนโยบายของนายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในขณะที่หลายโรงพยาบาลร้องว่า ขาดทุน ไม่มีเงินซื้อยา ผู้ป่วยล้นโรงพยาบาลต้องนอนเตียงเสริมเตียงแทรก หน้าบันได ในระเบียงฯลฯ แพทย์พยาบาล และบุลากรมีภาระงานล้นมือ และบุคลากรหลายสาขาวิชาชีพ ไม่ได้บรรจุเป็นข้าราชการ ต้องเป็นลูกจ้างชั่วคราวหลายสิบปี และไม่มีทีท่าว่าจะได้บรรจุเป็นข้าราชการ ต้องเป็นลูกจ้างชั่วคราวไปเรื่อยๆ แพทย์ พยาบาลต้องทำงานติดต่อกัน 16-32 ชั่วโมงในการให้บริการรักษาประชาชน ส่วนเงินค่าจ้างทำงานนอกเวลาก็ไม่ได้รับ หรือได้รับในอัตราต่ำมากๆ
   ปัญหาของประชาชนกลุ่มที่ต้องทำงานบริการประชาชนที่เจ็บป่วย ซึ่งถือว่า เป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเองนั้น ยังไม่ได้รับการเอาใจใส่ให้มีสุขภาพดี มีรอยยิ้มได้เลย (มีความทุกข์ ทำงานหนัก ไม่มีความมั่นคงในอาชีพ ไม่ได้รับการขึ้นค่าจ้าง เพราะลูกจ้างชั่วคราวจะไม่ได้รับการพิจารณาขึ้นเงินเดือนประจำปีเหมือนข้าราชการและลูกจ้างประจำ ) แล้วคนเหล่านี้ จะช่วยให้คนอื่นสุขภาพดี มีรอยยิ้มได้(อย่างแท้จริง)หรือไม่?
  อยากฝากให้ท่านรัฐมนตรี ช่วยแก้ปัญหาให้ประชาชนที่เป็นผู้ทำงานอยู่ในกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของท่าน ได้รับการเอาใจใส่ให้เป็นผู้มีสุขภาพดี มีรอยยิ้ม เหมือนที่ท่านต้องการตามโปสเตอร์ของท่าน ที่ติดอในสถานพยาบาลทุกแห่งของกระทรวงสาธารณสุขด้วย ประชาชนเหล่านี้ จะได้ทำงานของเขาอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อช่วยให้ประชาชนที่มารับบริการจากสถานพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข มีสุขภาพดี และมีรอยยิ้มได้ตามนโยบายของ
ท่านรัฐมนตรี

13
ทำไมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ประชาชนรักษาฟรีแค่ 48 ล้านคน
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
กลุ่มพิทักษ์สิทธิพลเมือง
   วันนี้มีภาระพาญาติไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลราชวิถี ได้เห็นโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ที่มีรูปนายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และมีข้อความว่า รักษาฟรี 48 ล้านคน ใช้บัตรประชาชนใบเดียว
  ผู้เขียนเรื่องนี้ก็เลยเกิดความสงสัยว่า ทำไมนายจุรินทร์ฯ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงเลือกให้สิทธิการรักษาฟรีแก่ประชาชนเพียง 48 ล้านคนเท่านั้น แล้วประชาชนกลุ่มอื่น เช่นลูกจ้างเอกชน ที่ต้องจ่ายเงินของตนเองทุกเดือนเข้ากองทุนประกันสังคม จึงถูกละเมิดสิทธิจากคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและจากกระทรวงสาธารณสุข ไม่ให้ได้รับสิทธิรักษาฟรีบ้าง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จะดูแลไม่ให้ประชาชนอีก 17 ล้านคน ถูกละเมิดสิทธิได้หรือไม่?

14
    สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปได้จัดการชุมนุมต่อต้านร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. ....   โดยการแต่งชุดดำ และทำการฌาปนกิจร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. .... ที่หน้าตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นการแสดงความไม่เห็นด้วยกับร่างพ.ร.บ.นี้
นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ โดยมีปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน เพื่อประชุมทำความเข้าใจระหว่างกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ และกลุ่มเอ็นจีโอและเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ที่เป็นผู้สนับสนุนร่างพระราชบัญญัตินี้
  แต่ทางฝ่ายแพทย์ที่ไม่เห็นด้วยกับร่างพ.ร.บ.นี้ได้เห็นว่าปลัดกระทรวงเบี่ยงเบนผลการประชุมว่ามีความเห็นที่จะให้นำร่างพ.ร.บ.นี้เข้าไปพิจารณาในสภาผู้แทน แล้วค่อยไปแก้ไขในวาระที่สองโดยคณะกรรมาธิการ จึงทำให้บุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุขหลายคนออกมาประกาศไม่รับมติที่ปลัดกระทรวงสรุป และออกมาตั้งเครือข่ายคุ้มครองประชาชนด้านสาธารณสุข(คปส.) แต่ปลัดกระทรวงก็ได้พยายามตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ และขอให้บุคลากรทางการแพทย์เข้าประชุม แต่ก็ไม่มีใครเข้าประชุมด้วย และมีการ “walk out”  ออกจากห้องประชุม
โดยคปส.ได้เข้าชื่อเสนอให้แพทยสภาจัดประชุมวิสามัญสมาชิก เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากสมาชิกแพทยสภาเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. .... 
และบุคลากรหลายวิชาชีพ หลายสังกัด ได้มาประชุมรวมตัวกัน และจัดตั้งองค์กรเป็น “สหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย (สผพท.)” และมอบให้พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนาเป็นประธาน พญ.อรพรรณ์ เมธาดิลกกุล และนพ.ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ เป็นรองประธาน มีพอ.นพ.โชคชัย ขวัญพิชิต ภญ.พัชรี ศิริศักดิ์ ทนพ.วัฒโนทัย ไทยถาวร ทนพ.พงษ์เพชร คงพ่วง เป็นกรรมการ โดยคณะสผพท.นี้ ได้รับความร่วมมือจากบุคลากรสาธารณสุขหลายวิชาชีพ ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ผู้อาวุโสอย่างอาจารย์พอ(พิเศษ) พญ.ถนอมศรี ศรีชัยกุล นพ.วันชาติ ศุภจัตุรัส ผู้รั้งตำแหน่งนายกแพทยสมาคม และนายกแพทยสมาคมโลก และบุคลากรแพทย์ พยาบาล เภสัชกร ทันตแพทย์ และอื่นๆอีกมากมาย
   ในขณะเดียวกันแพทยสภาได้ตั้งคณะทำงานพิจารณาศึกษาร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. ....  โดยแบ่งคณะทำงานเป็น ๙ คณะ ประกอบด้วย
๑.กลุ่มโรงเรียนแพทย์
๒.กลุ่มผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข
๓.สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป
๔.กรุงเทพมหานคร
๕.ทหาร/ตำรวจ
๖ แพทยสมาคม/โรงพยาบาลเอกชน/คลินิก
๗.แพทยสภา และภาคีสภาวิชาชีพ
๘. เครือข่ายคุ้มครองประชาชนด้านสาธารณสุข (คปส.)
๙. สผพท.
โดยคณะเหล่านี้ต่างก็ได้ไปช่วยกันทำประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากบุคลากรและประชาชนทั่วไปจนครบ ๔๑จังหวัด มีผู้เข้าร่วมรับฟังการประชาพิจารณ์มากว่า๑๐๐,๐๐๐  คน และมากกว่า ๙๐%ของผู้ที่ได้ร่วมในการทำประชาพิจารณ์ไม่เห็นด้วยกับร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. .... 
 ในขณะเดียวกัน สื่อมวลชนต่างก็ให้ความสนใจและเชิญบุคลากรทางการแพทย์ และเครือข่ายผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขและเอ็นจีโอด้านสาธารณสุข ทั้งฝ่ายที่คัดค้านและฝ่ายที่สนับสนุนร่างพ.ร.บ.นี้ ไปให้ความเห็นในรายการวิทยุ โทรทัศน์ และมีการเขียนบทความต่างๆมากมาย ทั้งฝ่ายที่สนับสนุนและฝ่ายที่คัดค้านพ.ร.บ.นี้
  ในขณะที่สผพท.ก็ได้ทำหนังสือร้องเรียนต่อวิปรัฐบาลหลายครั้ง  วิปฝ่ายค้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและ พญ.อรพรรณ์ เมธาดิลกกุล ได้เป็นผู้ดำเนินการรวบรวมรายชื่อคัดค้านร่างพ.ร.บ. นี้ได้เป็นจำนวนแสนคนและเข้าชื่อมากกว่าหนึ่งหมื่นรายชื่อในการเสนอร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากระบบบริการสาธารณสุขพ.ศ. .... (ที่ยกร่างโดยนพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ ) ทั้งนี้ เพื่อจะได้มีชื่อเป็นกรรมาธิการพิจารณาพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. ....  ในกรณีที่พ.ร.บ.นี้ผ่านการพิจารณาในวาระที่หนึ่งแล้ว
   รวมทั้งมีการไปพบนายกฯที่พรรคประชาธิปัตย์ และการชุมนุมประท้วงหน้ารัฐสภาในวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๓ เพื่อยื่นจดหมายถึงวิปฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ขอให้ชะลอการนำร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. ....  เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
   ในขณะที่บุคลากรทางการแพทย์หลายๆฝ่ายต่างก็หาทางดำเนินการยับยั้งร่างพ.ร.บ.นี้ ฝ่ายเครือข่ายผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขก็พยายามผลักดันรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขด้วยวิธีการเดินขบวนบ้าง โกนหัวประท้วงบ้าง แต่ในที่สุดเมื่อปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎรสมัยนิติบัญญัติในวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ก็ยังไม่มีการนำร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. ....  เข้าพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎร
  แต่นายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์ในการไปเปิดงาน “Medical Expo” ที่จัดโดยแพทยสภาในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ว่า จะนำร่าสงพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. ....  เข้าสู่การพิจารณาของสภาฯใหม่ในสมัยประชุมคราวในอีก๒เดือนข้างหน้านี้
 ฉะนั้น ก็คงต้องมีผู้รู้และผู้มีความสามารถไปอธิบายให้นายกรัฐมนตรีเข้าใจว่า พ.ร.บ.นี้จะมีผลเสียหายอย่างไร และควรคุ้มครองประชาชนอย่างไร โดยกลไกอื่น ที่ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งและจะเกิดหายนะในระบบริการสาธารณสุขตามมา และผลที่สุดแล้ว ประชาชนจะได้รับความเสียหายจากการมีพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. ....  แบบนี้แน่นอน และควรทำประชาพิจารณ์ก่อนที่จะนำพระราชบัญญัติเจ้าปัญหานี้ เข้าสู่สภาฯอีกครั้ง ไม่เช่นนั้นก็คงต้องมีมาตรการคัดค้านกันอีก





15
นอกจากคณะกรรมการจะสามารถพิจารณาให้เงินช่วยเหลือและชดเชยแล้ว ยังมีคณะอนุกรรมการอุทธรณ์ พิจารณาจ่ายค่าช่วยเหลือและชดเชยใหม่ถ้าผู้เสียหายไม่พอใจจำนวนเงิน นอกจากนั้นผู้เสียหายยังสามารถไปฟ้องศาลได้อีกตามมาตรา ๓๔ และถ้าศาลตัดสินให้ผู้ให้บริการหรือหน่วยงานจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย คณะอนุกรรมการประเมินเงินชดเชยจะพิจารณาจ่ายเงินจากกองทุนเพื่อชำระค่าสินไหมตามคำพิพากษาของศาลหรือไม่ก็ได้ และในวรรคสามหากศาลยกฟ้อง ผู้เสียหายอาจมีสิทธิได้รับเงินค่าเสียหายจากคณะกรรมการหรือไม่ก็ได้
   ตามมาตรา ๒๕ นั้นได้กำหนดอายุความไว้ยาวนานถึง ๓ ปีนับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหาย หรือรู้ตัวผู้ให้บริการสาธารณสุขซึ่งก่อให้เกิดความเสียหาย และไม่เกิน ๑๐ ปีนับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหาย ซึ่งเป็นการยากที่จะพิสูจน์ว่าผู้เสียหาย “รู้” ตัวเมื่อไร  ซึ่งทำให้การอ้างว่าไม่เพ่งโทษบุคคลจึงไม่เป็นความจริง และในมาตรา ๓๕ หลังการทำสัญญาประนีประนอมยอมความตามมาตรา ๓๓ แล้ว ถ้าผู้เสียหายเกิดรู้ตัวว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นอีก ก็มีสิทธิไปร้องขอรับเงินชดเชยได้อีกภายในสามปีแต่ไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหายและรู้ตัวผู้ให้บริการสาธารณสุข หมายความว่าอายุความอาจยาวนานหลายสิบปี เพราะนับจากการ “ร็ถึงความเสียหาย” มิได้นับจากระยะเวลาที่ได้รับการรักษา
 มาตรา ๓๕ ถ้าผู้เสียหายหรือทายาทนำเรื่องไปฟ้องศาล  ให้คณะกรรมการพิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้เสียหายหรือทายาทอีกด้วย และในมาตรา ๓๖ ถ้าศาลให้จ่ายค่าสินไหมทดแทน ให้หักเงินช่วยเหลือเบื้องต้นออกไปด้วย
มาตรา ๓๘ ถ้าทั้งสองฝ่ายตกลงให้มีการไกล่เกลี่ย ให้คณะกรรมการดำเนินการไกล่เกลี่ยเพื่อตกลงกันในเรื่องอื่นนอกเหนือจากเงินค่าเสียหายตามพ.ร.บ.นี้ หมายความว่าไม่มีการไกล่เกลี่ยหรือตกลงต่อรองการจ่ายค่าเสียหาย
และมาตรา ๔๐ ในระหว่างการไกล่เกลี่ย ให้อายุความสะดุดหยุดอยู่จนกว่าจะไกล่เกลี่ยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันได้ แต่ถ้าไม่สามารถยอมความกันได้ ก็จะเริ่มนับอายุความใหม่
 และถึงแม้ว่าจะมีการจ่ายค่าเสียหายแล้ว ผู้เสียหายและทายาทยังสามารถนำคดีไปสู่ศาลแพ่ง ศาลอาญาได้อีก
 ฉะนั้นถ้าอ่านรายละเอียดในร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....แล้ว จะเห็นได้ว่า ประชาชนนอกจากจะได้รับการบริการสาธารณสุขแล้ว ยังมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือ เงินชดเชย ถ้าไม่พอใจก็ร้องอุทธรณ์ได้อีก หรือถ้าไม่พอใจก็ยังไปฟ้องศาลแพ่ง ศาลอาญาได้อีก และอายุความก็ยาวนาน
ส่วนแพทย์และผู้ประกอบวิชาชีพนั้น นอกจากจะต้องใช้ความรู้ความสามารถและความเสียสละอดทน เพื่อดูแลรักษาประชาชนอย่างดีที่สุดให้ได้มาตรฐานแล้ว ยังต้องถูกเรียกเก็บเงินล่วงหน้า ต้องเก็บประวัติผู้ป่วยไว้ตลอดชีวิตของผู้ป่วย มีสิทธิ์ถูกฟ้องต่อคณะกรรมการ ศาลแพ่ง ศาลอาญา และยังจะถูกสภาวิชาขีพสอบสวนอีก ฉะนั้น เมื่อแพทย์รักษาผู้ป่วยหนึ่งคน จะมีความเสี่ยงต่อการถูกพิจารณาการฟ้องร้อง 6 ครั้ง จากคณะอนุกรรมการจ่ายเงินช่วยเหลือ คณะอนุกรรมการอุทธรณ์ คณะอนุกรรมการจ่ายเงินชดเชย คณะอนุกรรมการอุทธรณ์ คณะอนุกรรมการไกล่เกลี่ย คณะกรรมการจริยธรรมของสภาวิชาชีพ ศาลแพ่ง ศาลอาญา
 แต่แพทย์จะมีสิทธิเพียงอย่างเดียวคือไปฟ้องศาลปกครองให้พิจารณายกเลิกคำสั่งของคณะกรรมการเท่านั้น  ทำให้รู้สึกว่ากลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
แต่ถ้าพิจารณาให้ถ่องแท้แล้ว ถ้าพ.ร.บ.นี้สามารถออกมาเป็นกฎหมายใช้บังคับแล้ว แพทย์ก็คงต้องระมัดระวังมากเกินความจำเป็นในการตัดสินใจรักษาผู้ป่วยแบบที่เรียกว่า เวชศาสตร์ป้องกันตัวเอง (Defensive Medicine) เพื่อป้องกันความผิดพลาดและป้องกันการถูกพิจารณาคดีทั้งมวล ได้แก่การสั่งการตรวจร่างกายและการตรวจพิเศษเกินความจำเป็น ซึ่งจะมีผลทำให้ค่าใช้จ่ายในด้านการแพทย์เพิ่มขึ้นมากมายมหาศาล ส่งผลไปยังภาระงบประมาณของประเทศ และในกรณีผู้ป่วยที่มีอาการหนักและยุ่งยากซับซ้อน แพทย์ก็คงต้องเลือกที่จะส่งผู้ป่วยไปรักษาต่อยังที่อื่น เพื่อให้มีความมั่นใจว่าผู้ป่วยจะปลอดภัย (และตัวแพทย์เองก็คงจะปลอดภัยด้วย) เนื่องจากการรักษาผู้ป่วยนั้น ย่อมต้องมีความเสี่ยงต่ออาการแทรกซ้อน ผลอันไม่พึงประสงค์ หรือเหตุสุดวิสัย อันจะนำไปสู่การร้องเรียนหรือฟ้องร้องอย่างแน่นอนถ้ามีพ.ร.บ.นี้ เพราะประชาชนมองเห็นแต่ทางได้กับได้ลูกเดียว แต่ผลสุดท้ายก็คือประชาชนนั่นเองจะไม่ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วทันเวลาในการช่วยชีวิต เพราะจะถูกส่งไปรักษาที่อื่นต่อไป
   ซึ่งจะยกกรณีตัวอย่างที่ในปัจจุบันนี้ แพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนได้งดเว้นการผ่าตัดผู้ป่วยทุกราย แม้เป็นการผ่าตัดไส้ติ่งก็ไม่ทำแล้ว หลังจากศาลได้ตัดสินให้จำคุกแพทย์คนหนึ่งที่บล็อกหลังผู้ป่วยเพื่อผ่าไส้ติ่ง แล้วมีภาวะแทรกซ้อนจนผู้ป่วยเสียชีวิต ฉะนั้นถ้ามีพ.ร.บ.ฉบับนี้ แพทย์ก็คงกริ่งเกรงที่จะถูกสอบสวนและเลือกที่จะส่งผู้ป่วยไปรักษายังที่อื่นต่อไป
 สรุปก็คือ แพทย์ไม่มั่นใจในการรักษาผู้ป่วยอาการหนัก และคงเลือกที่จะส่งผู้ป่วย “ไปตายเอาดาบหน้า” ในกรณีที่ตนเองไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่ผู้ป่วยกำลังมีอาการอยู่ และในสภาพของประเทศไทยที่มีความขาดแคลนแพทย์ทั้งแพทย์ทั่วไป และแพทย์เฉพาะทางหลายสาขา ประชาชนย่อมไม่ได้รับความสะดวกและปลอดภัยในการไปรับการรักษาพยาบาลอย่างแน่นอน
    ฉะนั้นแพทย์ที่ได้อ่านร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....ฉบับของรัฐบาลแล้ว จึงได้พยายามที่จะให้รัฐบาลถอนร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....นี้ออกจากระเบียบวาระการประชุมของสภาผู้แทน และมาทำประชาพิจารณ์เพื่อแก้ไขให้พ.ร.บ.นี้มีความเหมาะสม ไม่เป็นภาระต่องบประมาณในการรักษาผู้ป่วยและการพัฒนาโรงพยาบาล และไม่เป็นอุปสรรคต่อการที่ประชาชนจะได้รับการรักษาพยาบาลอย่างเต็มที่สุดกำลังความสามารถของบุคลากรสาธารณสุข
 โดยพญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ได้เขียนจดหมายขอเข้าพบนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาฯ แต่ก็ได้รับการปฏิเสธไม่ให้เข้าพบ และบอกว่าอยู่นอกเหนืออำนาจของประธานสภาฯ ไม่สามารถถอนร่างพ.ร.บ.ออกมาได้ คณะแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์มีพญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ภญ.พัชรี ศิริศักดิ์ เทคนิคการแพทย์วัฒโนทัย ไทยถาวร  ร่วมกับบุคลากรอื่นอีก ๔-๕ คนจึงได้แต่งชุดดำ (เพื่อไว้ทุกข์ให้แก่ความล่มสลายของวงการแพทย์) ไปพบนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาลในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓พร้อมยื่นจดหมายร้องขอความเป็นธรรมในการประกอบวิชาชีพ  แต่นายกรัฐมนตรีไม่มาให้ได้พบ  และได้ไปพบนายกรัฐมนตรีอีกครั้งเพื่อขอร้องให้รัฐบาลชะลอหรือถอนร่างพ.ร.บ.นี้มาจัดการทำประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนส่วนใหญ่ว่าต้องการให้มีพ.ร.บ.นี้หรือต้องการแก้ไขอย่างใด ในขณะที่นายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า ได้มอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขดำเนินการในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับพระราชบัญญัตินี้คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. .... 

หน้า: [1] 2 3 ... 8