แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - khunpou

หน้า: [1] 2 3 ... 6
1
กว่าหนึ่งเดือนแล้ว ที่ปลัดไพจิตร ไปรับแจ้งจากวิปรัฐบาลให้ประชาพิจารณ์ร่างพรบในผู้ปฏิบัติ สธ.ยังเงียบ
เขียนโดย วิบูลาลา   
12 ธ.ค. 2010 22:01น.

http://www.thaitrl.org/


วันนี้ที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๓ เป็นเวลากว่า 1 เดือนที่ ปลัดไพจิตร์ วราชิต ไปชี้แจงกับวิปรัฐบาลที่ทำเนียบรัฐบาล  และ เมื่อปลายเดือน ตุลาคม ต่อ ต้น พฤศจิกายน 2553 วิปรัฐบาล แจ้งให้กระทรวงสาธารณสุข โดย นายแพทย์ไพจิตร์ ในฐานะกระทรวงสาธารณสุข ได้รับแจ้งด้วยตนเองว่าให้นำร่าง พรบ.คุ้มครองฯไปทำประชาพิจารณ์ในหมู่ข้าราชการและผู้ทำงานด้านการแพทย์และ สาธารณสุขทั่วประเทศ บัดนี้ นายแพทย์ไพจิตร์  ยังคงเงียบ ไม่จัดทำประชาพิจารณ์ตามหน้าที่ของกระทรวงผู้เสนอร่าง กม.นี้แต่อย่างใด  นายแพทย์ไพจิตร์ ไม่ใส่ใจรับฟังความเห็นของผู้ปฏิบัติงาน  เอาแต่พูดกับผู้ปฏิบัติงานให้ตัวเองดูดีอย่างเดียว  แต่ไม่ฟังความเห็นทัดทานใดๆจากผู้ปฏิบัติงาน  แม้ได้รับแจ้งให้ทำประชาพิจารณ์นั้นแล้ว  แต่ก็ยังไม่ทำ อ้างเพียงไม่เห็นหนังสือจากวิป  หากเราท่านเป็นปลัด สธ. คงไม่ทำเช่นนี้  คงจะเร่งทำการประชาพิจารณ์อย่างแน่นอน เนื่องจากละเว้นมาแล้ว จนเป็นปัญหา และวิปแจ้งแล้ว ซึ่งตนเองก็ไปทราบมาแล้ว  และตนเองมีหน้าที่อีกด้วย  ไม่ใช่เป็นใครที่ไม่มีหน้าที่

2
พรุ่งนี้แล้ว ประธานคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงกรณีปลัดไพจิตร์ เชิญ พญ.อรพรรณ์ให้ข้อมูล
เขียนโดย นินิ   
12 ธ.ค. 2010 21:07น.

วันี่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๓ พญ.อรพรรณ์ เมธาดิลกกุล ให้สัมภาษณ์ว่า ในวันพรุ่งนี้ จะเป็นวันแรกที่ท่านประธานคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง กรณี  6 ประเด็นร้อง ของ สผพท.ถึง ปลัดไพจิตร์ วราชิต ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ  ซึ่งท่านประธาน คือ นายพรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  กับกรรมการจากรองปลัดกระทรวงอื่น รวม 3 ท่าน โดยเป็นคนนอกกระทรวง สธ.ทั้งสิ้น   โดยจะให้ปากคำที่ อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถนนศรีอยุธยา ซึ่ง พญ.อรพรรณ์ ขอขอบพระคุณ ชาว สธ.หลายท่านที่จัดส่งข้อมูลให้ พญ.อรพรรณ์ และ พร้อมเป็นพยานบุคคลให้ปากคำกับคณะกรรมการในเรื่องการสอบครั้งนี้ด้วย  "ชาว สธ.เราควรมีผุ้นำที่สง่างาม และประพฤติตนเป็นผู้ที่มีภาวะการนำที่ดี กล้าหาญที่จะตัดสินใจเพื่อประโยชน์ส่วนรวม และไม่ช่วยเหลือคนทำผิด ไม่ช่วยเหลือคนคอรัปชั่น" พญ.อรพรรณ์กล่าว

http://www.thaitrl.org/

3
คอรัปชั่นบานสะพรั่งในกระทรวงสาธารณสุข คนโกงที่ ปปช.ชี้มูลแล้วไม่ต้องรับโทษใดๆ ปลัด สธ.ต้องรับผิดชอบ
เขียนโดย แพทย์หญิงอรพรรณ์ เมธาดิลกกุล   
12 ธ.ค. 2010 20:56น.

วันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๓  พญ.อรพรรณ์ เมธาดิลกกุล แจ้งไทยทีอาร์แอล   กรณีพบคอรัปชั่นบานสะพรั่งในกระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่รัฐมนตรี คอรัปชั่นทางนโยบายเกี่ยวกับการใช้งาน/งบ สธ.หาเสียงให้ตนอย่างชัดแจ้ง  แต่ไม่มีใครทำอะไรได้   ส่วนค่านิยม และแนวคิด ตลอดจนถึงแนวคิดการจัดการเกี่ยวกับคอรปชั่น  เป็นเรื่องที่ผู้บริหารระดับกระทรวงคือ ปลัดสธ.ละเลย ได้อย่างไม่กระดากอาย เห็นชัดจากความกล้าหาญในสิ่งผิด  คือกล้าไม่ลงโทษ ไม่นำเรื่อง ปปช.ชี้มูลความผิดฐานทุจริต ผิดวินัยอย่างร้ายแรง ของ นพ.วิชัย โชควิวัฒน์ เข้ายัง อกพ.กระทรวง  และ ไม่ลงโทษผู้ผิด  ทำให้ข้าราชการที่ทำงานต้องผิดคาดกับการจัดการแบบฝืนกระแสของความถูกต้อง ศีลธรรม และจริยธรรมข้าราชการ ของ ปลัด สธ.  เรื่องนี้ คงไม่จบง่ายๆ  การปล่อยคนผิด ช่วยคนผิด ในครั้งนี้ จะเป็นตราบาปของ นพ.ไพจิตร์ วราชิต ไปโดยตลอด  และคนทำผิดที่ ปปช.ชี้มูลนี้ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารเงินงบประมาณแผ่นดินในระดับแสนล้านบาท ที่ สปสช. สช. สสส. และองค์การเภสัชกรรม  จะปล่อยให้คนผิดไปดูแลงบของแผ่นดินอย่างนี้ต่อไป เท่ากับเป็นการส่งเสริมคนทำผิด  พญ.อรพรรณ์ขอ เรียกให้ ปลัด สธ.ต้องรับผิดชอบ

http://www.thaitrl.org/

4
http://www.thaitrl.org/index.php?option=com_content&task=view&id=745&Itemid=45

จุรินทร์ ยืนยัน จะผลักดันร่าง พรบ.ในสมัยประชุมหน้า อ้างเป็นประโยชน์กับชาว สธ.แท้จริงคือลูกไล่หมอ ส.
เขียนโดย เชิงลึก   
12 ธ.ค. 2010 20:23น.

วันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๓  นับเป็นวันที่ ๑๖ ของNGOที่ไม่สำเร็จในการผลักดันร่าง พรบ.คุ้มครองฯ เข้าพิจารณาในวาระ ๑ ท่ามกลางการคัดค้านที่ทีมงาน สผพท.ต้องทำงานหนัก เนื่องจากด้าน NGO มีงบ มีเงิน มีกองทุน และมีการสนับสนุนงบจาก สปสช. สสส. สช. ในรูปของโครงการด้นสุขภาวะสารพัดอ้าง    ทำให้มีการจัดละครฉากต่างๆ ทำว่ากดดันรัฐบาลทางฝ่ายการเมือง ให้เห็นว่ามีสารพัดปัญหาของความเสียหาย  โดยมี นพ.วิชัย โชควิวัฒน์ ชมรมแพทย์อ้างชนบท  และ หมอตระกูล ส.หลายคนออกมากล่าวผลักดันร่างอย่างออกนอกหน้า แต่แล้วก็เป็นเพียงคำกดดัน  เนื่องจากความเสียหายที่อ้างถึงนั้น  ผู้อ้างไม่ไปเรียกร้องกับ สปสช. ซึ่งเป็นผู้กุมเงินตามมาตรา ๔๑  ทำให้เข้าใจได้ว่า ผู้อ้างเสียหาย คือกลไกหนึ่งของ สปสช. สช. เพื่อจะรุกเอาอำนาจเงินอีกก้อนใหญ่ คือกองทุนอ้างเป็นค่าเสียหายและบริหารความปลอดภัย  โดย NGO หมอตระกูล ส. และ นักการเมืองคือ พวกเดียวกัน  ร่วมประโยชน์กัน  แสดงละคร ให้เห็นเป็นบทๆไป

เช่นบทประชาชน อ้างเสียหาย  บทนักวิชาการชี้ว่าควรมีกฎหมายกองทุนใหม่  และ บทนักการเมืองที่รับลูกทำว่าแก้ไขปัญหาตามอ้างของประชาชน  โดยมีข้าราชการประจำระดับบริหารกระทรวงรับบทเป็นผู้ตั้งเรื่องชงเรื่องให้ นักการเมืองโดยใช้การแบลคเมล์สารพัดถนัดของNGOในแวดวงของสาธารณสุข  และ นักการเมืองอย่างนายจุรินทร์ ได้แสดงชัดถึงความเป็นลูกไล่ของ NGO และ หมอตระกูล ส. ที่กุมงบ สธ.ไว้ในมือ  โดยยอมตนเป็นเครืองมือของหมอ ส. ทั้งหลาย     เนื่องจากว่า   ตนเป็น รมว.ที่ดูแลกระทรวงซึ่งไม่มีงบใดๆที่จะเพียงพอให้ออก ทีวี ขึ้นคัทเอ้าท์ตัวโต เพื่อหาเสียงได้แต่อย่างใด  จึงทำตัวแบบคนไม่มีอำนาจหน้าที่ใด ๆ วันๆเอาแต่ทำตัวอย่างกับดารา   โดยบอกว่า ว่าจะนำร่างพรบ.นี้ให้ผ่านมาบังคับใช้เป็นกฎหมายล้านเปอร์เซ้นต์  หลายวันมานี้ ยังประกาศว่าจะนำร่างเข้าพิจารณาโดยสภาในสมัยการประชุมหน้า  ยังมีหน้ามาเสนอในทีวี ว่าเป็น รมว.สธ.อยู่โดยที่บกพร่องหน้าที่อย่างสุดๆ  ชาว สธ.หลายท่านบอกเหลือทน  ต้องเข้าชื่อปลดกันจริงจังแล้ว  หรือ ชาวไทยทีอาร์แอล www.thaitrl.org ว่าอย่างไรกัน

5
http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1292033265;start=0
กองทุนอิสระ
 
คำบอกกล่าว โดย แก้วสรร อติโพธิ
 
 http://www.thailandforum2010.com/forum/index.php?page=articles&op=re adArticle&id=179&title=i%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-15/i-b%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B0/b-%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A2-%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%A3-%E0%B8%AD%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%98%E0%B8%B4
 
ครับ... ‘กองทุนอิสระ’ ที่เป็นโฟกัสของเราในฉบับนี้ ก็คือกองทุนจากเงินสาธารณะที่อยู่ในการครอบงำของบรรดาเอ็นจีโอซุ้มต่างๆ เท่านั้น จะไม่รวมถึงกองทุนอิสระที่ใช้กันในราชการอิสระอื่น เช่นกองทุนค่าโครงข่ายโทรศัพท์หลายหมื่นล้านของ กทช. ที่แม้จะมีปัญหาความรั่วไหลเหมือนกัน แต่ก็ขอแยกไว้ไม่พูดถึงเนื่องจากไม่มีลักษณะผลักดันขยายตัวเหมือนกองทุนเอ็น  จีโอทั้งหลาย
          กองทุนอย่างนี้ มีปัญหาต้องชำแหละแก้ไขกันอย่างไรนั้น ผมก็ขอนำเสนอในทำนอง ปุจฉา–วิสัชนา เช่นเคย กล่าวคือ
 
 
ถาม กองทุนอิสระของเอ็นจีโอมีลักษณะอย่างไร?
ตอบ ก่อนอื่นต้องมีเงินหลวงไหลมากองรวมกันก่อน แล้วก็มีระบบบริหารที่เป็นอิสระจากราชการ จนอิสระทั้งระเบียบ ทั้งการอนุมัติ ตรวจสอบ จะมีคณะกรรมการแล้วก็เลขาฯใหญ่สั่งจ่ายเงินได้คนเดียว ระดับเดียว  วันเดียวได้เป็นสิบล้านร้อยล้าน นี่คือความเป็นกองทุนอิสระ
 
ถาม แล้วความเป็นเอ็นจีโออยู่ที่ตรงไหน
ตอบ อยู่ที่การเข้าไปกลุ้มรุม ได้ตำแหน่ง ได้งานทำ ได้สัญญาจ้างกันอย่างง่ายดาย โดยมีเอเยนต์เข้าไปยึดกุมอยู่ในแกนขององค์กรนั้นๆ ได้อย่างเป็นหลักเป็นฐาน อาจมีพันธมิตรจากมหาวิทยาลัย หรือข้าราชการโดยตำแหน่ง มาร่วมเอื้อประโยชน์และแบ่งประโยชน์อยู่ด้วย
 
ถาม อาหารประจำวันมีอะไรบ้าง
ตอบ เมนูหลักก็คืองานศึกษาวิจัยต่างๆ นี่แหละคุณเอ๋ย ที่ให้ซุ้มเอ็นจีโอของตนรับสัญญาตรง จากกองทุนก็มี หรือให้มหาวิทยาลัยรับสัญญาไป แล้วเอาไปส่งช่วงต่อให้เอ็นจีโอทำ โดยมหาวิทยาลัยหักหัวคิวก็มี
 
ถาม แล้วทำงานวิจัยนี่มันผิดตรงไหน
ตอบ ต้องเริ่มตรงงานที่มอบหมายให้ทำก่อนว่า เรายอมเอาเงินหลวงมากองไว้ให้ทำอะไร อย่างภาษีบาปที่ให้ สสส. ต่อท่อดูดเข้ามาป็นกองทุนอิสระปีละ 2 พันล้านบาทนั้น กองไว้ให้ทำอะไร ก็เริ่มกันจากที่ว่า จะยับยั้งการทำลายสุขภาพของคนไทยด้วยเหล้าและบุหรี่ หรือสิ่งเสพติดทั้งปวงให้ได้ นี่คืองานของคุณ ที่ต้องคิดต้องวางเป็นยุทธศาสตร์ เป็นโครงการหลักๆ ก่อน แล้วจึงมีงานวิจัยอันจำเป็น เป็นแผนงานหนึ่งในนั้น อย่างนี้จึงจะเป็นงานวิจัยที่มีที่มาที่ไป ไม่ใช่ขอให้แจกกันตามอำเภอใจว่าเรื่องนั้นก็ดี เรื่องนี้ก็ใช้ได้ แบ่งกันเป็นก้อนเป็นซุ้มไปบริหารกันเลย
 
ถาม คราวท่าน ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ท่านไปดูแล สสส. ก็พบปัญหาอย่างนี้ใช่ไหม
ตอบ ใช่ครับ ผมสืบค้นแล้ว ปีนั้นงบวิจัยถูกแบ่งเป็นก้อนละ 200 ล้าน และจำกัดตัวอนุมัติโครงการเป็นก้อนๆ มีกรรมการนั่งรับสัญญาด้วยตนเองเลย อย่างนี้อาจารย์ปุระชัย ท่านจะไปยอมได้อย่างไร ผมเคยอ่านรายงานของ สสส. ก็เห็นวิจัยกันเปะปะไปหมด ไปเรื่องจิตวิญญาณไปโน่นเลยก็มี
 
ถาม เงินภาษีสรรพสามิตนี่ ยังถูกดูดไปที่ทีวีไทย ทีวีอิสระด้วยใช่ไหม?
ตอบ นั่นก็ต่อท่อดูดจากกรมไปปีละเป็นพันๆ ล้านเลยเช่นกันครับ เอ็นจีโอเข้าไปเต็มหมด ตอนสรรหากรรมการ สรรหาสภาผู้ชมอะไรนี่ มีแต่โผเอ็นจีโอล็อคคนไว้ทั้งนั้น อย่ามาเถียง ผมได้โผไว้ดูเล่นหลายใบทีเดียว เงินก้อนทีวีไทยนี่ก็ถือเป็นกองทุนอิสระ ที่อยู่ในการครอบงำของเอ็นจีโอเช่นกัน ลองตรวจกันให้ลึกว่าใครเป็นคนรับงานรับเงินจริงๆ จะเจอซุ้มเอ็นจีโอเป็นรังปลวกเลย
 
ถาม เงินพวกนี้ สตง. ได้เข้ามาตรวจไหม
ตอบ ก็ตรวจทางบัญชีเท่านั้นครับ ส่วนตัวสัญญาตามโครงการต่างๆ นานานั้น ก็สุ่มตรวจบ้างว่ารัดกุมไหม   แต่การตรวจลึกลงไปว่าเป็นงานที่ควรทำหรือเปล่า เปะปะ สูญเปล่า ดังที่เรียกว่าตรวจประเมินผลงานเลยนั้น สตง. ตรวจไม่ได้ ถ้าตรวจกันจริงๆ อย่างกองทุนประกันสุขภาพนี่เละแน่นอน
 
ถาม นั่นก็เป็นกองทุนอิสระในซุ้มเอ็นจีโอเหมือนกันหรือครับ
ตอบ เป็นแหล่งหากินหนึ่งทีเดียว รัฐบาลตัดเงินงบประมาณมาให้โรงพยาบาลในโครงการ 30 บาท โดยให้สำนักงานประกันสุขภาพรับบริหารเงินเท่านั้น แต่สำนักงานกลับกันเงินไปทำงานสาธารณสุขอื่นๆ ซ้ำซ้อนกับของกระทรวงสาธารณสุข จนเงินเหลือไม่พอจ่ายให้โรงพยาบาลเป็นร้อยแห่ง อย่างที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้
          ถ้าตรวจการใช้เงินลึกลงไปว่าใช้นอกเรื่องนอกหน้าที่ด้วย อย่างนี้ก็เสร็จแน่ๆ ถ้าลากออกมาว่าเงินที่ใช้นอกลู่นอกทางนี้ มีใครได้ไปบ้าง คุณจะเจอซุ้มปลวกเอ็นจีโอด้านสาธารณสุขอีกแน่นอน
 
ถาม เห็นเขาว่าจะตั้งกองทุนคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุขอีกนี่ครับ
ตอบ นั่นก็อีก เงินจะเป็นพันๆ ล้านต่อปี บังคับเก็บจากทุกโรงพยาบาล ทุกคลินิก ทุกร้านขายยาเลย เงินเหลือก็ไม่ต้องคืน เอาไปทำโน่นทำนี่ จ้างกันเองทำกันเองสนุกมือแน่นอน ผู้เสียหายอะไรนั่นแค่ได้ใบบุญบ้างเท่านั้น
 
ถาม ล่าสุดก็มีองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมอีกนะครับ
ตอบ เอ็นจีโอเข้าไปเต็มเลย มีอาจารย์มหาวิทยาลัยด้วย 2 คน ได้เงินประเดิมก่อน 30 ล้านบาท ออกแบบโลโก้สำนักงานเสร็จแล้ว กำลังจะตัดสูทองค์กร เสร็จแล้วก็จะกันเงินไปดูงานต่างประเทศ นี่ก็กำลังคิดโครงการสัญจรต่างๆ ให้ประชาชนมีส่วนร่วม ส่วนเนื้องานตรวจรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หลายสิบฉบับ ให้เสร็จใน 60 วันนั้น จะทำกันได้ไหม ด้วยแหล่งความสามารถใด อันนี้ยังไม่วางแผนกันเป็นเรื่องเป็นราวเลย
          อิสระที่ไม่ต้องรับผิดชอบอะไร แล้วเงินเต็มมือด้วย จะเละอีกหนึ่งองค์กรแน่นอน นี่ผมก็รอดูองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคอีกองค์กรหนึ่ง
 
ถาม มาอีกองค์กรแล้วหรือครับ
ตอบ เขาจับมือกันเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ และนี่ก็กำลังร่างกฎหมายกันอยู่ ถ้างานไม่ชัดและเงินมากอีก ก็เละแน่ๆ ปลวกรุมเต็มอีกตามเคย
 
ถาม ฟังดูแล้วกองทุนอิสระ องค์กรอิสระพวกนี้ ควรต้องทบทวนแก้ไขอย่างไรบ้าง?
ตอบ ต้องทบทวนหมดเลยครับว่า จะให้ทำงานอะไรกันแน่ ต้องออกมาให้ชัดเจนที่สุดก่อน อย่างองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมนี่เลิกไปเลย แก้ผิดจุดที่ให้มาตรวจซ้อนตรวจแบบนี้ แก้กฎหมายสิ่งแวดล้อมเลย ให้เอกชนเจ้าของโครงการวางเงินค่าจ้างผู้ชำนาญการ วิเคราะห์ ให้ไว้กับราชการ แล้วราชการก็เลือกบริษัทผู้ชำนาญมาทำรายงานเสนอให้รัฐพิจารณาเลย ทำอย่างนี้ก็จะได้รายงานที่เป็นมืออาชีพจริงๆ ตั้งแต่แรกแล้ว
 
ถาม แล้วองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคล่ะครับ
ตอบ ต้องให้งานอย่างจำกัดชัดเจน คือ รายงานข้อมูลผู้บริโภคต่อสาธารณะเท่านั้นอย่าให้ไปขี่คอตรวจสอบ อย. เขาให้มีเงินสนับสนุนเฉพาะงานวิจัยคุณภาพสินค้าเป็นเรื่องๆ เท่านั้น
 
ถาม ทีวีไทยล่ะครับ
ตอบ อังกฤษต้นตำรับ บีบีซี เขาทำทีวีใหม่ๆ ด้วยกลไกใหม่แล้ว คือ ใช้วิธีว่าจ้างบริษัทเอกชน มีกรรมการคุมเป้าหมายและคุณภาพ พร้อมราคาทุนชัดเจน ประเมินผลโดยตรงจากผู้ชม ถ้าผ่านเกณฑ์ก็จะเพิ่มเงินให้เป็นทำนองโบนัสรายชิ้นงาน วิธีนี้น่าสนใจมาก ซุ้มปลวกหายไปเลยแน่นอน
 
ถาม ส่วน สสส. นี่ทำอย่างไรดี
ตอบ ผมว่าต้องตัดท่อที่ดูดภาษีออกไปโดยอัตโนมัติทิ้ง เอาเนื้องานมาว่ากันเป็นปีๆ แล้วเหมาเงินเป็นก้อนไปทำ ได้เงินไปแล้วต้องจ้างวานเองโดยตรง ห้ามตัดงานให้มหาวิทยาลัยไปจ้างใครต่ออีกที แก้อย่างนี้งานถึงจะมาก่อนเงิน และเงินจะไปที่งานจริงๆ
 
ถาม ความรั่วไหลในงานสำนักงานประกันสุขภาพล่ะครับ
ตอบ มันรั่วไหลไปยังงานที่ไม่ใช่หน้าที่ รัฐมนตรีสาธารณสุขมีอำนาจมีหน้าที่ตรวจสอบสั่งแก้ไข สั่งระงับได้อยู่แล้ว โรงพยาบาลเขาขาดสภาพคล่อง ร้องกันเป็นร้อยแห่งทำไมไม่ทำผมก็ไม่ทราบ เห็นแต่หน้าบนคัทเอาท์โฆษณาอยู่ทุกวัน
 
 
          เสียภาษีแล้วไม่ได้งาน รัฐก็ไม่ได้เรื่อง เอ็นจีโอก็ไม่ได้ความ อย่างนี้แย่ (ชิบ..หาย) ชัดๆ

6
เบื้องหลัง พรบคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข


นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ (พ.บ., ประสาทศัลยศาสตร์., น.บ.)


http://www.medicalprogress-cme.com/Voice/VoiceV9N10.pdf


มาจาก :- Medical Progress CME / October 2010

http://www.medicalprogress-cme.com/index.asp




ณ เวลานี้ ข่าวเรื่องการพยายามผ่าน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขที่ถูกรณรงค์โดยมูลนิธิ เพื่อผู้บริโภคมีแพทย์น้อยคนนักที่จะไม่ทราบเรื่องนี้ เพราะร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นสิ่งที่ทำให้ฟางเส้นสุดท้ายของความอดทนของ บุคลากรสาธารณสุขหลายภาคส่วนหมดลงทันที และก่อให้เกิดปฏิกิริยาต่อต้านอย่างรุนแรงชนิดที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน และทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคก็คงนึกไม่ถึงเช่นกันว่าบุคลากรสาธารณสุขโดย เฉพาะกลุ่มแพทย์ที่แต่ไหนแต่ไรมาเปรียบเหมือนลูกไก่ในกำมือในสายตาของ มูลนิธิ กลับกระโดดออกมาต่อต้านร่างกฎหมายนี้อย่างถึงที่สุด บุคลากรที่ไม่เคยรวมตัวกัน กลับสามารถรวมตัวกันได้ (แม้จะยังไม่เหนียวแน่นอย่างถึงที่สุด) และแสดงพลังออกมาให้เห็น สุภาษิตที่ว่า “รวมกันเราอยู่
แยกกันเราตาย” หรือ “สามัคคีคือพลัง” ดูจะใช้ได้ดีที่สุดในสถานการณ์เช่นนี้

ตลอด สามปีที่ผ่านมา ผู้เขียนเข้าไปรับรู้เรื่องการร่างกฎหมายนี้ตั้งแต่แรกๆ และมีส่วนเข้าไปร่วมร่างและชี้แจงต่อผู้เกี่ยวข้องทั้ง สวรส. สช. สปสช. คณะกรรมาธิการสาธารณสุขของรัฐสภา คณะกรรมการกฤษฎีกา หลายต่อหลายครั้ง ไม่น่าจะต่ำกว่าห้าสิบครั้ง เรียกว่าไปจนเบื่อ ความรู้สึกกระตือรือร้นในการพยายามให้กฎหมายออกมามีหน้าตาดี ทำงานได้

กลายเป็นท้อแท้และสิ้นหวังกับกฎหมายนี้ หลายคนถามว่าทำไมกฎหมายถึงมีหน้าตาแบบนี้


แรกปฏิสนธิ

วัน แรกที่ถูกตามตัวทางโทรศัพท์จากกระทรวงสาธารณสุขให้ไปดำเนินการในการจัดทำ ร่างกฎหมายโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อคุ้มครองประชาชนและผู้ให้บริการสาธารณสุข ให้สามารถปฏิบัติงานได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการฟ้องร้อง ทั้งๆ ที่ไม่เคยมีพื้นฐานหรือความรู้ในการร่างกฎหมายมาก่อนแม้จะจบปริญญาทางด้าน กฎหมายมา แต่ในการเรียนการสอนไม่เคยมีตำรา หรือวิชาใดที่พูดถึง “เทคนิคและหลักเกณฑ์การร่างกฎหมาย” ความรู้สึกแรกคือหนักใจและไม่แน่ใจว่าจะทำได้หรือไม่ แต่ไม่ลองไม่รู้

คณะ กรรมการที่ตั้งขึ้นมามีทั้งตัวแทนจากสภาทนายความ แพทยสภา อัยการ วันแรกที่เจอหน้าคณะกรรมการ ความรู้สึกแรกคือเราอ่อนอาวุโสที่สุด บางคนเป็นผู้อาวุโสจากสภาทนายความ (ซึ่งภายหลังมีส่วนในการว่าความเอาผิดอดีตนายกรัฐมนตรี) บางคนเคยเป็น สนช. สสร. ในการร่างรัฐธรรมนูญ หลายคนมีตำแหน่งเป็นทางการที่ค่อนข้างใหญ่โตในองค์กรของตนเอง

โจทย์ ตอนแรกคือ การจัดทำประมวลวิธีพิจารณาความที่เกี่ยวข้องกับการฟ้องร้องในมูลละเมิดและ อาญาทางด้านสาธารณสุข เมื่อประชุมกันก็ได้รับคำแนะนำจากผู้อาวุโสที่เคยมีส่วนร่วมร่างรัฐธรรมนูญ ว่า การแก้ไขประมวลกฎหมายสบัญญัติ (ประมวลวิธีพิจารณาความ) เป็นเรื่องยุ่งยากและมักไม่ได้รับความเห็นชอบ ดังนั้นให้มุ่งไปในเรื่องกฎหมายอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง


ในขณะ เดียวกันนั้นเอง ทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคก็ได้กำลังจัดทำกฎหมายในลักษณะเดียวกันโดยใช้ชื่อ ว่า “พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข” ซึ่งมี สวรส.เป็นแกนกลาง ส่วนคณะจัดทำมาจากภาคประชาชนเป็นส่วนใหญ่

ดังนั้นในช่วงแรกของการจัดทำจึงมีคณะทำงานอยู่สองชุด แต่จุดประสงค์คล้ายๆ กัน ระหว่าง นั้นก็มีการประชุมข้ามคณะกันเป็นบางครั้ง โดยทางฝั่งของกระทรวงสาธารณสุขจะมีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพเป็นแกนกลาง ฝ่ายของมูลนิธิจะมาใช้ที่ประชุมของ สวรส. หรือบางครั้งก็เป็น สช. เป็นหลัก ทำให้ดูเหมือนว่ามีจุดกำเนิดมาจากกระทรวงสาธารณสุขทั้งสองร่าง (ซึ่งผู้เขียนก็เข้าใจเช่นนั้น) ระหว่างการประชุมเมื่อถึงมาตราสำคัญๆ ทางฝั่งมูลนิธิจะมีการนำผู้ที่เคยพบเห็นหน้าทางสื่อสาธารณะบ่อยๆ เข้ามาร่วมประชุม ซึ่งผู้เขียนรู้สึกว่าไม่เหมาะสมเพราะผู้เข้าร่วมประชุมมักจะใช้อารมณ์ มากกว่าเหตุผลในการบีบให้ร่างเป็นไปตามความต้องการ


เนื้อหาของกฎหมาย


ร่างที่มาจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพจะ เน้นไปในเรื่องการเยียวยาผู้ป่วยในกรณีที่มีการกระทำทุรเวชปฏิบัติของแพทย์ และอาจมีการเยียวยาในกรณีเหตุการณ์สุดวิสัยแต่เป็นเรื่องรุนแรง เช่น น้ำคร่ำหลุดเข้ากระแสเลือด หรือแพ้ยารุนแรงโดยไม่ทราบมาก่อน

แนวทาง การยื่นคำขอคือการเพิ่มช่องทางให้เลือกรับเงินจากกองทุน และต้องยุติสิทธิในการฟ้องร้องทั้งหมดเมื่อผู้ฟ้องร้องได้รับเงิน เมื่อยื่นเรื่องรับเงินแล้วห้ามไปใช้ช่องทางศาลอีก เพราะต้องการส่งเสริมให้ใช้ช่องนี้เป็นหลัก แต่ก็ไม่ตัดสิทธิการฟ้อง เพียงแต่เมื่อฟ้องแล้วห้ามกลับมายื่นเรื่องขอรับเงินจากกองทุนอีก

การ พิสูจน์ว่าควรช่วยเหลือหรือไม่ ก็ดูว่าเป็นผู้ได้รับผลกระทบหรือไม่ (มิได้เรียกว่า ผู้เสียหาย) เพียงแต่ไม่เน้นการพิสูจน์ว่าใครเป็นคนทำผิด (พิสูจน์ผิดถูก แต่ไม่พิสูจน์ทราบคนกระทำ)


ส่วนร่างที่คลอดออกมาจาก สวรส. นั้นเน้นการเยียวยาให้รวมไปถึงการรักษาที่ได้มาตรฐานแล้วแต่เกิดผลไม่พึง ประสงค์ เช่น ผ่าตัดช่องท้องที่มีพังผืดมากมายแล้วระหว่างผ่าตัดมีความเสียหายกับลำไส้ หรือท่อไต หรือการจ่ายเงินให้หากผ่าตัดแล้วมีการติดเชื้อ ซึ่งทางการแพทย์ไม่ได้เรียกว่าการกระทำให้เกิดความเสียหายแต่เรียกว่า “adverse effect” ซึ่งเกิดได้ภายใต้การรักษาตามมาตรฐาน

ความแตกต่างที่สำคัญอีกประการคือ ร่าง นี้เปิดให้ผู้ที่เรียกตนเองว่าผู้เสียหายสามารถรับเงินแล้วไปฟ้องต่อได้อีก เมื่อฟ้องแล้วแพ้คดีไม่จำเป็นต้องคืนเงินและยังอาจได้รับเงินเพิ่มเติม ในกรณีที่ฟ้องแล้วชนะทางกองทุนก็ต้องจ่ายเงินสมทบเพิ่มเติม ห้ามตัดสิทธิการฟ้องทุกรูปแบบ คดีอาญาก็ห้ามเว้น ถึงแม้จะทราบว่าแพทย์ไม่ได้เจตนา แต่ต้องคงไว้เพราะจะเป็นการรอนสิทธิตามรัฐธรรมนูญ อีกทั้งต้องเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยขยายอายุความทางแพ่งด้วยการฟ้องอาญา



ถึงเวลารวมร่างแปลงกายและปัญหาเรื่องประชาพิจารณ์

กฎหมาย ที่ได้ออกมาทั้งสองฉบับในที่สุดก็ถูกสั่งให้รวมกันเป็นร่างเดียวกันโดยคำ สั่งของรัฐมนตรีสาธารณสุขในขณะนั้น ทั้งนี้เพื่อให้กฎหมายออกเป็นฉบับเดียวในนามของกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ออก กฎหมาย เนื้อหาในกฎหมายทั้งสองมีหลายมาตราต่างกันแบบ “ขมิ้นกับปูน” เพราะต่างฝ่ายต่างต้องการในสิ่งที่ขัดกันอย่างสิ้นเชิง ดังนั้นการรวมร่างในชั้นกฤษฎีกาจึงเป็นเรื่องน่าเวียนหัว

ประเด็น เรื่องการประชาพิจารณ์นั้นเป็นที่โต้เถียงมาตลอดว่า กฎหมายนี้ของทางมูลนิธิผ่านการประชาพิจารณ์มาแล้ว ผู้เขียนยอมรับว่าไม่มีความรู้เรื่องกฎหมายหรือข้อบังคับการทำประชาพิจารณ์ แต่สิ่งที่พบเห็นคือมีการจัดสัมมนาตามโรงแรมหรือสภาวิจัยแห่งชาติ (ตรงสถานีรถไฟฟ้า BTS พญาไท) เป็นครั้งคราว

สิ่งที่พบเห็นในขณะนั้น คือ ผู้ร่วมประชุมจะเป็นคนหน้าเดิม ทั้งจากกระทรวง แพทยสภาบางท่าน (ที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งตรงนี้ผู้เขียนคิดว่าเป็นความบกพร่องของแพทยสภาที่ไม่สื่อเรื่องนี้ออก ไปให้กว้างขวางเหมือนกับที่สมาพันธ์วิชาชีพแพทย์หรือชมรมรพ.ศูนย์ ทำได้ในขณะนี้) ตัวแทนจากกระทรวงก็มีทั้งผู้เขียน (ซึ่งมีโอกาสพูดไม่มาก) และผู้หลักผู้ใหญ่บางท่านที่ทุ่มเทเวลาในการทำงานเพื่อช่วยเหลือเพื่อนแพทย์ และพยาบาล (แต่ติดขัดหลายอย่างที่ไม่อาจกล่าวได้)

การสัมมนาในสายตา ของผู้เขียนโดยเฉพาะที่เกิดขึ้นที่สภาวิจัยแห่งชาติ เป็นการสัมมนาหรือการประชาพิจารณ์ที่น่ากระอักกระอ่วนชนิดที่หากไม่ถูก บังคับหรือขอร้องให้ไปก็ไม่อยากไป นอกจากจะเสียเวลาแล้วยังอาจโดนเชือดคาเวทีง่ายๆ เพราะผู้ร่วมประชุมส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องการร่างกฎหมายน้อยมาก หลายท่านเป็นชาวบ้านที่ยังไม่เคยอ่านกฎหมายนี้ทั้งฉบับ เพียงแต่รับทราบว่าจะมีกฎหมายที่ให้เงินเมื่อเกิดความไม่พอใจในผลการรักษา หลายท่านเคยมีประสบการณ์ที่ไม่ดีในการเข้าไปรับการรักษา ซึ่งอาจมีทั้งที่ถูกและผิด แต่สิ่งที่อยู่ในใจของผู้ร่วมสัมมนาคือ ความรู้สึกเป็นลบต่อบุคลากรทางการแพทย์ ราวกับว่ากำลังจะออกกฎหมายเพื่อประหัตประหารหรือจัดการโจรในชุดขาว ทำให้ระยะหลังผู้เขียนได้แต่ไปเซ็นชื่อแล้วเดินออก เพราะประธานไม่เปิดโอกาสมากนัก คนที่ขึ้นเวทีส่วนใหญ่มีการกำหนดไว้ล่วงหน้าว่าจะให้ใครพูดได้มากได้น้อย

แต่ ไม่ว่าอย่างไรสิ่งที่รู้สึกคือแบบนี้ไม่น่าเรียกประชาพิจารณ์ (ยกเว้นกฎหมายบัญญัติไว้ว่าใช่) แต่น่าจะเรียกว่าการสัมมนาในกลุ่มที่เป็นฝ่ายเดียวกับตน แต่มีการเชิญคนนอกเข้ามาร่วมเพื่อให้ดูว่ามีสีอื่นเข้าไปปะปน

ประธาน ในที่ประชุมหลายครั้งเป็นคนที่มีชื่อเสียง แต่เกือบทุกครั้งจะมาแค่เปิดประชุมแล้วไปงานอื่นต่อแต่ออกมาให้สัมภาษณ์ภาย หลังเป็นเรื่องเป็นราว ราวกับว่าอยู่รับฟังทุกความเห็นในห้องประชุม บางครั้งการจัดประชาพิจารณ์หรือรับฟังความเห็นก็จัดขึ้นโดยอาจารย์ มหาวิทยาลัยการเมืองที่ติดแม่น้ำซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ดีกับมูลนิธิ

ประเด็น เรื่องการประชาพิจารณ์นั้น ผู้เขียนไม่ทราบว่ากฎหมายเขียนไว้อย่างไร แต่สิ่งที่เห็นคือเป็นการสัมมนาในกลุ่มคนที่มีความสัมพันธ์กันไม่ทางตรงก็ ทางอ้อม รู้จักกันมาก่อน บางครั้งมีการประชุมกันไปมาระหว่างหน่วยงานของแต่ละคนมีการรับเบี้ยประชุม กันไปมา คนในกลุ่มหลายคนได้รับการผลักดันให้ไปมีตำแหน่งในแต่ละหน่วยงานของแต่ละ กลุ่ม เช่น กทช. สภาวิจัยฯ สสส. สวรส. สช. ลักษณะนี้ไม่น่าจะเรียกว่า ประชาพิจารณ์ที่ควรเป็นกลาง และกลุ่มตัวอย่างน่าจะกว้างขวางกว่านี้มาก รวมทั้งไม่ควรมีความสัมพันธ์ในลักษณะนี้มาก่อน



ห้องประชุมติดแม่น้ำเจ้าพระยาทิวทัศน์ดี แต่บรรยากาศเครียด

ที่ สำนักงานกฤษฎีกา มีการตั้งคณะกรรมการเป็นกรณีพิเศษเพื่อพิจารณากฎหมายฉบับนี้ โดยมีอดีตประธานศาลฎีกาเป็นประธาน มีอดีตอัยการสูงสุด มีผู้พิพากษาศาลสูง มีอาจารย์แพทย์ที่มีคุณวุฒิทั้งทางด้านนิติเวชและกฎหมาย มาเป็นองค์ประชุม มีการเชิญตัวแทนมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แพทยสภา กระทรวงสาธารณสุข สปสช. อัยการ สำนักงานไกล่เกลี่ยและระงับข้อพิพาท กระทรวงยุติธรรม มาเป็นหลัก ที่เหลือเข้ามาร่วมเป็นครั้งคราว แต่ระยะหลัง (ใช้เวลาเป็นปี) ตัวแทนแพทยสภาไม่ได้เข้ามา นัยว่าไม่เห็นด้วยกับการทำหน้าที่ของท่านประธาน อีกทั้งมีภารกิจที่สำคัญอื่น

บรรยากาศวันแรกก็เคร่งเครียดแล้วเพราะเนื้อหาของสองร่างต่างกันมากจนการรวมให้เป็นเนื้อเดียวกันทำได้ยาก แค่ ชื่อกฎหมายก็ต้องเรียกว่า “ทะเลาะ”กันแล้ว เพราะทางมูลนิธิยืนยันว่า เขาและคนไข้ทั่วประเทศเป็นผู้เสียหายอันเกิดจากการกระทำของบุคลากร (ทำให้ผู้เขียนนึกในใจว่า เราเป็นแพทย์หรือเป็นโจรที่มีเจตนามาดร้ายประชาชนคนไทย)

บาง มาตราทางคณะกรรมการก็เห็นด้วยกับเรา (แต่น้อยมากๆๆ แสดงว่าคนส่วนใหญ่มองบุคลากรสาธารณสุขในภาพลบ) หลายมาตราคณะกรรมการก็ไม่เห็นด้วยกับทางมูลนิธิ

แต่สิ่งที่รู้สึกตลอดระยะเวลาเป็นปีที่สำนักงานกฤษฎีกาคือ นี่น่าจะเป็นการโต้วาทีระหว่างตัวแทนกระทรวงสาธารณสุขกับมูลนิธิโดยตรง แทนที่จะเป็นการโต้วาทีระหว่างบุคลากรกับประชาชนทั่วประเทศ เพราะตลอดเวลาทางมูลนิธิทำให้ผู้เขียนรู้สึกว่าเขาเป็นตัวแทนของประชาชนทั้งประเทศ ยิ่งกว่าสส.ที่เป็นเฉพาะเขตที่ได้รับเลือกตั้ง

หลาย ครั้งก็มีการโต้เถียงกับท่านประธานอย่างรุนแรง โดยเฉพาะเรื่องการไกล่เกลี่ยที่ตัวแทนมูลนิธิยืนยันหนักแน่นว่า “ไม่ต้องมี ไม่ต้องไกล่เกลี่ยใดๆ เพราะกฎหมายนี้เขียนเพื่อจ่ายเงิน ห้ามมาต่อรองราคา” แต่ ท่านประธานยืนยันหนักแน่นว่า “.....ปาก เพราะไม่ได้บังคับให้มาไกล่เกลี่ย คุณไม่อยากไกล่เกลี่ยก็ไม่ต้อง แต่ประชาชนคนอื่นอาจต้องการ ไม่ต้องมาพูดแทน อีกทั้งในกระบวนการทางศาลปกติก็มีการบังคับให้ไกล่เกลี่ยทุกรายอยู่แล้ว” วันนั้นเล่นเอาบรรยากาศอึมครึมเพราะนานๆ จะเห็นท่านประธานฟิวส์ขาด จนระยะหลังเลขาธิการมูลนิธิต้องเข้ามาคุมเกมเองเวลาพิจารณามาตราสำคัญๆ เช่น สิทธิการฟ้องต่อ

ประเด็นที่นับเป็นเรื่องร้อนอีกอย่างคือ “การระงับคดีอาญา” ซึ่งเป็นประเด็นที่ผู้เขียนต้องการมาก แต่ดูเหมือนว่ามีน้อยคนมากที่สนับสนุน ส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าแพทย์ที่เข้าไปช่วยผู้ป่วยด้วยเจตนาสุจริตแล้วเกิดพลาด พลั้งต้องมีสิทธิถูกฟ้องอาญาได้ ตัวแทนแพทยสภาถกประเด็นเรื่องนี้อย่างหนักจนแทบจะเรียกได้ว่าเกิดอาการไม่ กินเส้นกัน ที่น่าเสียใจคือคณะกรรมการที่เป็นแพทย์ก็เห็นด้วยว่าแพทย์ที่มีเจตนาไปช่วย ผู้ป่วยย่อมสามารถถูกฟ้องได้ ให้ไปแก้ต่างในศาล “หลายคนในนั้นมองว่าการขึ้นไปแก้ต่างในฐานะจำเลยในศาลเป็นเรื่องปกติที่สุด แล้วหากแน่ใจว่าตนไม่ผิดเดี๋ยวศาลก็ยกฟ้องเอง” ฟังแล้วท้อใจมาก

ส่วน ตัวผู้เขียนน่าจะเป็นคนแรกที่หยิบยกคำว่า “ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง” หรือ “Gross negligence” มาใช้ในคดีทางการแพทย์เพราะในต่างประเทศก็มีบัญญัติคำนี้

แต่ ณ เวลานั้นส่วนใหญ่เห็นว่ากฎหมายไทยไม่มีคำนี้ มีแต่ “ประมาท” หรือ “ordinary negligence” เท่านั้น เมื่อแพทย์ประมาทก็ต้องโดนฟ้องได้ (แต่ ณ เวลาที่พิมพ์บทความนี้คือ เดือนสิงหาคม พ.ศ.2553 ประเทศไทยมีบัญญัติคำว่า ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงไว้แล้วในกฎหมายอย่างน้อยสองฉบับคือ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ และพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ

ซึ่ง ผู้เขียนคิดว่าน่าจะถึงเวลาหยิบยกคำๆ นี้มาใช้บัญญัติเรื่องความรับผิดทางอาญาอันมีมูลเหตุมาจากการรักษาพยาบาล ให้แยกความผิดออกเป็นสองฐานคือ ประมาทธรรมดาและประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ได้แล้ว)

อีกประเด็นที่ถกเถียงกันหนักคือการรับเงินแล้วฟ้องต่อได้หรือไม่ได้ ที่สุดแล้วก็ออกมาค่อนไปทางความต้องการของมูลนิธิ

ประเด็น เรื่องสัดส่วนคณะกรรมการเป็นอีกประเด็นที่เราแพ้คนของมูลนิธิ เพราะท่านประธานมองเรื่องนี้ในลักษณะเสียงข้างมาก และคนของมูลนิธิก็ยืนยันว่าไม่ต้องมีสภาวิชาชีพหรือแพทย์เฉพาะทางมาตัดสิน แต่ให้ใช้เสียงข้างมาก (ซึ่งประเด็นนี้ทำให้ผู้เขียนไม่เข้าใจว่า ทำไมตอนนี้ทางมูลนิธิถึงเปลี่ยนคำพูดว่าไม่ติดใจเรื่องสัดส่วนคณะกรรมการ บอกว่ายินยอมให้ไปแก้ในชั้นกรรมาธิการ แต่ในห้องประชุมกฤษฎีกากลับคัดค้านอย่างมาก)



ลูกที่พ่อจำไม่ได้

ที่ สุดแล้วกฎหมายนี้ก็คลอดออกจากคณะกรรมการกฤษฎีกา แต่เปลี่ยนชื่อเป็น “พ.ร.บ.สร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข” กฎหมายทั้งฉบับออกมาในลักษณะที่พ่อจำหน้าลูกไม่ได้ว่านี่ใช่ลูกเราหรือเปล่า

หลายมาตราขัดกันเอง หลายมาตราจะส่งผลเสียต่อระบบสาธารณสุขอย่างรุนแรง เกิดการกลายพันธุ์ (mutation) อย่างมากชนิดที่อาจจะเป็นมะเร็งร้ายที่กัดกินระบบสาธารณสุขในระยะยาว จนหากใครเป็นพ่ออาจเกิดความรู้สึกอยากทำ criminal abortion เป็นแน่

ถึง ที่สุด ณ ขณะนี้กว่าที่บทความนี้จะตีพิมพ์ คงพอเห็นทางออกกันบ้างแล้วจากการรวมกลุ่มกันของบุคลากรหลายวิชาชีพมาจัดตั้ง และทำงานร่วมกัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อปฏิรูประบบสาธารณสุขโดยไม่ต้องอาศัยมูลนิธิเพื่อผู้ บริโภคหรือกระทรวงสาธารณสุข

ในอนาคตเชื่อว่าหากยังรวมตัวกัน อย่างเหนียวแน่นอยู่คงได้เห็นกฎหมายที่บัญญัติให้คุ้มครองบุคลากรสาธารณสุข ที่ปฏิบัติงานอย่างสุจริตตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 80(2) บัญญัติไว้











7
พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข (ฉบับรัฐบาล) – กระจกสะท้อน
สถานภาพวิกฤติของสถาบันแพทย์และการสาธารณสุขไทย
ปัญหาที่ต้องสนใจและแก้ไขโดยด่วน

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พันเอกพิเศษ แพทย์หญิงถนอมศรี ศรีชัยกุล
พ.บ. M.Sc. Med (penn)

ผู้เขียนบทความนี้เป็นอายุรแพทย์ ซึ่งใช้ชีวิตการเป็นอายุรแพทย์มายาวนานถึง 56 ปี  เคยเป็นอาจารย์แพทย์ก่อตั้งหน่วยโลหิตวิทยาในสถาบันการแพทย์ถึง 2 สถาบัน  คือ คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี (2510-2522) และวิทยาลัยแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า (2525-2533)   ปัจจุบันก็ยังเป็นอายุรแพทย์ดูแลรักษาผู้ป่วยอยู่  ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวงการแพทย์ไทยมาตลอด โดยเฉพาะในระยะ 10 ปีหลัง  มีความสะเทือนใจและห่วงใยว่า ความเสื่อมที่เกิดขึ้นนี้เพราะเรากำลังหลงทาง และเดินไปสู่ขอบ “เหว” ซึ่งเมื่อตกลงไปแล้วการแพทย์ไทยก็จะล่มสลาย  เมื่อได้ทราบว่ามี พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ซึ่งประชาชนน่าจะได้ประโยชน์และอาจทำให้วงการแพทย์ไทยฟื้นตัวขึ้น  จึงเกิดความสนใจและศึกษา ซึ่งจะขอสรุปผลดังนี้คือ

จุดมุ่งหมายของ พรบ.ฉบับนี้ มี 4 ประการคือ
   1)  ต้องการชดเชยค่าเสียหายจากการรับบริการทางแพทย์แก่ผู้เสียหายอย่างรวดเร็ว โดยจัดตั้งเป็นกองทุนเพื่อชดเชยความเสียหายนั้น ๆ
   2)  ผู้ป่วยได้ประโยชน์จาก พรบ. ฉบับนี้ เพราะได้เงินชดเชยเร็วขึ้นโดยมาตรฐานบริการทางการแพทย์มิได้ลดลง
   3)  จะช่วยลดการฟ้องร้องระหว่างผู้ป่วยและแพทย์ให้น้อยลง
   4)  จะเป็นการสร้างความสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้รับ (ผู้ป่วย) และผู้ให้บริการ (แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์)

   พรบ.นี้มี 7 หมวด และ 50 มาตรา  จากการอ่านพิจารณาดูในฐานะแพทย์ซึ่งมิใช่นักกฎหมาย  มีความเห็นว่า พรบ. นี้มีข้อบกพร่องหลายประการที่จะนำไปสู่ความเสียหายแก่การแพทย์และการสาธารณสุขของชาติ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในภาวะใกล้ล่มสลาย  ความวกวน ไม่กระจ่างชัด ขัดแย้งกันเอง ทำให้ พรบ. นี้ไม่สามารถบรรลุจุดมุ่งหมาย 4 ข้อต้นได้ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

ข้อ 1  หมวดที่ 1 ตามมาตรา 5 ผู้เสียหายมีสิทธิ์ได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นและเงินชดเชยจากกองทุน โดยมิต้องพิสูจน์ความรับผิด  แต่ในมาตรา 6 มีข้อขัดแย้งกันเองกล่าวคือ มีข้อยกเว้นสามข้อซึ่งจะจ่ายเงินชดเชยตามมาตรา 5 ไม่ได้  คือ 1) ความเสียหายเกิดขึ้นตามปกติธรรมดาของโรคนั้น ๆ    2) ความเสียหายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จากการให้บริการสาธารณสุขตามมาตรฐานวิชาชีพ   และ 3) ความเสียหายเมื่อสิ้นสุดกระบวนการให้บริการสาธารณสุขไม่มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตตามปกติ

   ข้อยกเว้นในมาตรา 6 ทั้งสามข้อ ต้องใช้เวลาในการพิสูจน์ด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขา ซึ่งในคณะกรรมการไม่มีผู้ที่มีคุณสมบัติดังกล่าว  การใช้ความเห็นของกรรมการที่ปราศจากความรู้ทางแพทย์ และให้ลงมติโดยการใช้คะแนนเสียง ทำให้การตัดสินเป็นไปโดยขาดหลักเกณฑ์ ปราศจากความยุติธรรม เป็นผลเสียหายทั้งแก่แพทย์และผู้ป่วย   นอกจากนั้นการมีข้อยกเว้นต้องพิสูจน์โดยใช้เวลา  การจ่ายเงินชดเชยจึงทำไม่ได้ในเร็ววันตามที่กำหนดไว้ ผิดจุดประสงค์ของ พรบ. ข้อ 1 และ ข้อ 2  การไม่ได้เงินชดเชยในระยะเวลารวดเร็วจะนำไปสู่การฟ้องร้องให้มากขึ้น กระทบกระเทือนต่อสัมพันธภาพระหว่างแพทย์และผู้ป่วย ผิดเจตจำนง ข้อ 3 และ ข้อ 4 ของ พรบ.นี้

ข้อ 2  การพิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นและเงินชดเชย  ในหมวด 4 (มาตรา 27-37)  มีข้อน่าสังเกตว่า มีการจ่ายค่าชดเชยเบื้องต้น ถ้าผู้เสียหายไม่พอใจ ให้อุทธรณ์ได้ ถ้ายังไม่พอใจกับเงินชดเชยจากการอุทธรณ์ให้ผู้เสียหายฟ้องศาลได้ทั้งทางแพ่งและอาญา  ดังนั้นจะทำให้เกิดการฟ้องร้องต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ จึงเกิดผลเสียหายตามมาคือ
1)   ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยเลวลง นำไปสู่การฟ้องร้องมากขึ้น การรักษาพยาบาลไม่ได้ผล มาตรฐานการแพทย์ต่ำลง เพราะผู้ป่วยขาดความเชื่อถือแพทย์ แพทย์ต้องโดนทำร้ายทางจิตใจอย่างมาก เสียทรัพย์สินและอาจจะเสียอิสรภาพ หมดกำลังใจในการดูแลรักษาผู้ป่วย
2)   การจ่ายเงินชดเชยให้ผู้เสียหายเมื่อมีปัญหา ต้องพิสูจน์โดยกรรมการที่ไม่มีความรู้ทางแพทย์  ทำให้การพิจารณาไม่มีหลักเกณฑ์ เป็นการทำลายหลักวิชาแพทย์ ซึ่งควรตัดสินด้วยความรู้ทางวิชาการร่วมกับเมตตาธรรม แต่กรรมการชุดนี้ทำไม่ได้

ข้อ 3 ที่มาของกองทุน (หมวด 3 มาตรา 20-24)
กองทุนมีที่มาหลายแห่ง ขอวิจารณ์เพียง 2 แห่ง คือ
1.  จากโรงพยาบาลเอกชน
2.  จากโรงพยาบาลของรัฐ ซึ่งรวมทั้งกระทรวงสาธารณสุขและมหาวิทยาลัย

ผลที่เกิดขึ้น
1.  โรงพยาบาลเอกชนจะขึ้นค่ารักษาพยาบาลเพื่อนำมาจ่ายให้กองทุน ผู้ป่วยจะต้องเสียเงินมากขึ้นโดยไม่ได้รับการบริการที่ดีขึ้น
2.  โรงพยาบาลของรัฐซึ่งไม่มีเงินอยู่แล้ว คงต้องหาเงินโดยการหักจากงบประมาณในการรักษาผู้ป่วยที่มีอยู่ ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยมาตรฐานที่ต่ำลงทั้งที่ปัจจุบันก็แย่อยู่แล้ว

ข้อ 4  กรรมการบริหารพรบ. (หมวดที่ 2 มาตรา 7-16)
   1.  คุณสมบัติของกรรมการ ไม่ครบถ้วน ขาดองค์ประกอบที่สำคัญคือ กรรมการวิชาชีพ ได้แก่ ผู้แทนแพทยสภา ผู้แทนทันตแพทยสภา ผู้แทนสภาการพยาบาล ผู้แทนสภาเภสัชกรรม ผู้แทนสมาคมแพทย์คลินิกไทย ผู้แทนสมาคมโรงพยาบาลเอกชน  ที่ปรากฏใน พรบ.มีเพียงผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคและด้านบริการสุขภาพ จำนวน 6 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านเศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ สื่อสารมวลชน สิทธิมนุษยชน และการเจรจาไกล่เกลี่ยสาธารณสุขด้านละหนึ่งคน

   ผู้แทนสภาวิชาชีพเป็นหัวใจสำคัญ จำเป็นมากเพราะต้องดูแลและสร้างมาตรฐานทางด้านวิชาการ เพื่อนำไปใช้ในการรักษาพยาบาลให้แก่ประชาชนต่อไป เท่าที่ทราบจากการแก้ไขร่างครั้งแรกได้เพิ่มเติมกรรมการวิชาชีพลงไปในพรบ.โดยผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว แต่ถูกตัดทิ้งไปด้วยเหตุผลอย่างใดไม่ชัดเจน

   เป็นที่น่าสังเกตุว่ากรรมการบริหารจำนวนเพียงไม่กี่คนที่ดูแลกองทุนนี้มีสิทธิจ่ายเงินจำนวนมหาศาลในการบริหารจัดการกองทุนมากถึง 10% จากเงินกองทุน โดยไม่ได้ระบุว่ามีกลไกตรวจสอบการใช้เงินอย่างรัดกุมหรือไม่?

   2)  ขอบเขตหน้าที่และอำนาจของกรรมการ เขียนไว้ไม่ชัดเจน ไม่มีข้อจำกัด สามารถลงโทษโดยปรับไหมผู้ที่ส่งเงินสมทบกองทุนช้าไป สามารถฟ้องศาลพิจารณาผู้ที่ไม่ร่วมมือจำคุกได้ 6 เดือน

        ปรับไหม ผู้ที่ส่งเงินสมทบกองทุนช้าถูกปรับเดือนละ 2% ปีละ 24% ไม่ทราบว่ามีหลักเกณฑ์อะไร ในเมื่อดอกเบี้ยนอกระบบยังน้อยกว่านี้  ถ้าพรบ.นี้ร่างโดยนักสิทธิมนุษยชน และแพทย์ที่ได้ MD แต่เลิกไม่ดูแลผู้ป่วยแล้ว ประเทศไทยจะหวังอะไรกับการร่างกฎหมายชนิดนี้?

        ฟ้องศาลจำคุกได้ถึง 6 เดือน เป้าคือใคร? นอกจากแพทย์ พยาบาล บุคลากรที่ดูแลรักษาผู้ป่วย  ผู้ร่าง พรบ.ควรทราบว่า แพทย์และพยาบาลที่จะมีปัญหาในเรื่องคดีส่วนใหญ่เป็นแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลรัฐบาล ที่คนไข้ล้นมือจนทำไม่ไหว เมื่อทำไม่ไหวก็ย่อมมีข้อผิดพลาด ถ้าแพทย์หรือพยาบาลต้องเดินทางมาให้ปากคำ คนไข้ก็ไม่มีคนตรวจรักษาดูแล มาตรฐานการแพทย์ก็ยิ่งต่ำลง ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และคนไข้ยิ่งเลวลง คนไข้จำนวนมากอาจพิการหรือเสียชีวิตเพราะมีหมอไม่พอจะรักษา

   ในปัจจุบันนี้ประชาชนที่ยากจนเมื่อเจ็บป่วยก็ต้องเดือดร้อนแสนสาหัส  เพราะแพทย์ไม่สามารถทำหน้าที่ของตนเองได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากการฟ้องร้องระบาดไปทั่วจนแพทย์ “ขยาด” จะให้การรักษาผู้ป่วยหนักในภาวะที่มีความ “จำกัด” ทั้งบุคลากรและอุปกรณ์ต่าง ๆ โดย “รัฐ” ไม่เคยเหลียวแลแก้ปัญหาให้อย่างจริงใจ พรบ.ฉบับนี้จะยิ่งซ้ำเติมให้เกิดความเดือดร้อนมากขึ้นจนนำไปสู่ความล่มสลายของแพทย์และการสาธารณสุขของประเทศให้เกิดรวดเร็วขึ้น

ปัจจุบันนี้แพทย์ พยาบาล ในโรงพยาบาลชุมชนหรือแม้แต่โรงพยาบาลศูนย์ทำงานด้วยความยากลำบาก ทุกคนหมดกำลังใจ ขยาดต่อการรักษาดูแลผู้ป่วยหนักเพราะโรงพยาบาลมีขีดความสามารถจำกัดทั้งบุคลากรและเทคโนโลยีต่าง ๆ  ถ้าการรักษาไม่ได้ผลจะถูกฟ้องร้อง แพทย์เคยถูกตัดสินจำคุกมาแล้ว 3 ปี โดยไม่รอลงอาญา (คดีที่อำเภอร่อนพิบูลย์)   ดังนั้นเมื่อไม่แน่ใจจึงต้องใช้ระบบส่งต่อทั้ง ๆ ที่ไม่อยากทำ เพราะทราบดีว่าเวลาที่ผ่านไปแต่ละนาทีมีค่าต่อชีวิตผู้ป่วยเพียงไร  ผู้ป่วยได้รับผลกระทบ โอกาสจะพิการและเสียชีวิตมีมาก เพราะเสียเวลาในการเดินทาง เมื่อไปถึงโรงพยาบาลใหญ่ ๆ ก็ต้อง “รอคิว” เพราะคนไข้ไปรออยู่มากมาย  ถ้า พรบ.ฉบับนี้ผ่าน การฟ้องร้องทำง่ายขึ้น ผู้ที่เดือดร้อนคือประชาชน และแพทย์ พยาบาล ซึ่งส่วนใหญ่ยังมีหัวใจสำหรับผู้ป่วยอยู่

   ในอนาคตจะไม่มีใครเรียนแพทย์ พยาบาล นอกจากคนที่ไม่อยากเรียนแต่ไม่มีทางเลือก  สถาบันแพทย์และการสาธารณสุขไทยจะล่มสลาย ประชาชนจะไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้องตามมาตรฐาน

8
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโฆษณาว่าให้ประชาชนไทยสุขภาพดี มีรอยยิ้ม
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
กลุมพิทักษ์สิทธิพลเมือง
   โปสเตอร์รูปยิ้มนี้ติดทั่วไปในโรงพยาบาลและหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข นัยว่าเป็นนโยบายของนายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในขณะที่หลายโรงพยาบาลร้องว่า ขาดทุน ไม่มีเงินซื้อยา ผู้ป่วยล้นโรงพยาบาลต้องนอนเตียงเสริมเตียงแทรก หน้าบันได ในระเบียงฯลฯ แพทย์พยาบาล และบุลากรมีภาระงานล้นมือ และบุคลากรหลายสาขาวิชาชีพ ไม่ได้บรรจุเป็นข้าราชการ ต้องเป็นลูกจ้างชั่วคราวหลายสิบปี และไม่มีทีท่าว่าจะได้บรรจุเป็นข้าราชการ ต้องเป็นลูกจ้างชั่วคราวไปเรื่อยๆ แพทย์ พยาบาลต้องทำงานติดต่อกัน 16-32 ชั่วโมงในการให้บริการรักษาประชาชน ส่วนเงินค่าจ้างทำงานนอกเวลาก็ไม่ได้รับ หรือได้รับในอัตราต่ำมากๆ
   ปัญหาของประชาชนกลุ่มที่ต้องทำงานบริการประชาชนที่เจ็บป่วย ซึ่งถือว่า เป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเองนั้น ยังไม่ได้รับการเอาใจใส่ให้มีสุขภาพดี มีรอยยิ้มได้เลย (มีความทุกข์ ทำงานหนัก ไม่มีความมั่นคงในอาชีพ ไม่ได้รับการขึ้นค่าจ้าง เพราะลูกจ้างชั่วคราวจะไม่ได้รับการพิจารณาขึ้นเงินเดือนประจำปีเหมือนข้าราชการและลูกจ้างประจำ ) แล้วคนเหล่านี้ จะช่วยให้คนอื่นสุขภาพดี มีรอยยิ้มได้(อย่างแท้จริง)หรือไม่?
  อยากฝากให้ท่านรัฐมนตรี ช่วยแก้ปัญหาให้ประชาชนที่เป็นผู้ทำงานอยู่ในกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของท่าน ได้รับการเอาใจใส่ให้เป็นผู้มีสุขภาพดี มีรอยยิ้ม เหมือนที่ท่านต้องการตามโปสเตอร์ของท่าน ที่ติดอในสถานพยาบาลทุกแห่งของกระทรวงสาธารณสุขด้วย ประชาชนเหล่านี้ จะได้ทำงานของเขาอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อช่วยให้ประชาชนที่มารับบริการจากสถานพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข มีสุขภาพดี และมีรอยยิ้มได้ตามนโยบายของ
ท่านรัฐมนตรี

9
ทำไมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ประชาชนรักษาฟรีแค่ 48 ล้านคน
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
กลุ่มพิทักษ์สิทธิพลเมือง
   วันนี้มีภาระพาญาติไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลราชวิถี ได้เห็นโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ที่มีรูปนายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และมีข้อความว่า รักษาฟรี 48 ล้านคน ใช้บัตรประชาชนใบเดียว
  ผู้เขียนเรื่องนี้ก็เลยเกิดความสงสัยว่า ทำไมนายจุรินทร์ฯ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงเลือกให้สิทธิการรักษาฟรีแก่ประชาชนเพียง 48 ล้านคนเท่านั้น แล้วประชาชนกลุ่มอื่น เช่นลูกจ้างเอกชน ที่ต้องจ่ายเงินของตนเองทุกเดือนเข้ากองทุนประกันสังคม จึงถูกละเมิดสิทธิจากคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและจากกระทรวงสาธารณสุข ไม่ให้ได้รับสิทธิรักษาฟรีบ้าง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จะดูแลไม่ให้ประชาชนอีก 17 ล้านคน ถูกละเมิดสิทธิได้หรือไม่?

10
การดำเนินการในการคัดค้านร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. ....
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย (สผพท.)
  นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีได้ส่งหนังสือที่ นร ๐๕๐๓/๖๕๓๖ ลงวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๓ เพื่อขอให้ประธานสภาผู้แทนราษฎร นำร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. .... และพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....เช้าบรรจุในระเบียบวาระการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรเป็นเรื่องด่วน ในขณะที่สส.ได้เสนอร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. .... เข้าสู่การพิจารณาของสภาฯอีก 5 ฉบับ และยังมีประชาชนเข้าชื่อกันเสนอร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. ....อีก 1 ฉบับ
   ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะเสนอร่างพ.ร.บ.นี้เช้าสู่สภานั้น คณะรัฐมนตรีชุดของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้ส่งร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. ....ให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาตั้งแต่วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐  และคณะกรรมการกฤษฎีกาได้เริ่มพิจารณาตั้งแต่วันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๑ และหลังจากการประชุม ได้พิจารณาแก้ไขในบางมาตรา และได้เปลี่ยนชื่อร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้เป็น “ร่างพระราชบัญญัติสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุขพ.ศ. ....”
 วันที่ ๒๒ มิถุนายน  ๒๕๕๒ เครือข่ายภาคประชาชน ได้มีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อขอให้พิจารณาข้อเสนอต่อการปรับปรุงร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. ....
วันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๒ กระทรวงสาธารณสุขได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือข้อเสนอต่อการปรับปรุงร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. ....ของเครือข่ายภาคประชาชน และที่ประชุมได้มีมติให้กลับไปใช้ชื่อร่างพระราชบัญญัติตามเดิม
วันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๓ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ได้มีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขขอให้เปลี่ยนชื่อเป็น“ร่างพระราชบัญญัติสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุขพ.ศ. ....” และเห็นว่าควรให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ และเสนอให้มีการตั้งผู้แทนจากสภาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง เป็นองค์ประกอบของคณะกรรมการด้วย
วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้มีหนังสือเรียนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเพื่อให้พิจารณายืนยัน“ร่างพระราชบัญญัติสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุขพ.ศ. ....” เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ ซึ่งในขณะนั้น นายวิทยา แก้วภราดัยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินกา
    เมื่อนายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฏ์ ได้มารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ได้นำผู้พิการนั่งรถเข็นบ้าง นอนบนเปลหามบ้าง มาร้องเรียนที่ห้องรัฐมนตรีว่าเป็นกลุ่มผู้เสียหายทางการแพทย์ ต้องการให้รัฐมนตรีนำ“ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. ....”เข้าสู่กระบวนการพิจารณาออกมาใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป  โดยมีข่าวออกมาว่า นายจุรินทร์ได้สัญญาจะผลักดันให้มีการนำร่างพ.ร.บ.นี้เข้าสู่การพิจารณาในสภาฯ “ล้านเปอร์เซ็นต์”
 และในวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๓  นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เสนอ“ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....” พร้อมกับร่างพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่..) พ.ศ. .... แก่ประธานสภาผู้แทนราษฎรเพื่อนำเข้าบรรจุในวาระด่วน
  ในส่วนของคณะกรรมการแพทยสภานั้นได้มีมติในการประชุมคณะกรรมการแพทยสภา เมื่อวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๓ และได้ส่งหนังสือที่พส. ๐๑๐/๔๐๙ เพื่อขอให้คณะรัฐมนตรีได้ทบทวนมติใน“ร่างพระราชบัญญัติสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุขพ.ศ. ....” ยืนยันตามที่แพทยสภาเคยส่งหนังสือที่ ๐๑๑/๑๓๒๕ ถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ให้พิจารณาเรื่ององค์ประกอบของคณะกรรมการว่าควรมีผู้แทนจากสภาวิชาชีพ และคำนิยามของสถานพยาบาลก็กว้างขวางมาก แต่สถานพยาบาลเหล่านั้นไม่เคยได้ทราบข้อมูลที่จะต้อมีภาระผูกพันกับร่างพระราชบัญญัตินี้มาก่อน โดยการต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนและภาระอื่นๆตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้  และในมาตรา ๔๕ นั้น แม้มีการประนีประนอมยอมความและจ่ายเงินชดเชยกันไปแล้ว ก็ยังไม่ยุติคดีความอาญา อันจะนำไปสู่ความขัดแย้งในอนาคตต่อไปอีก จึงสมควรยุติคดีความ
   อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในฐานะสภานายกพิเศษของแพทยสภาได้กล่าวว่าต่อที่ประชุมคณะกรรมการแพทยสภาในวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๓๓ ว่า ถ้าพวกแพทย์สามารถไปรวบรวมรายชื่อบุคลากรกระทรวงสาธารณสุขที่ไม่เห็นด้วยกับร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....มาได้ ”มากกว่า ๘๐%”แล้ว  รัฐมนตรีสธ.ก็จะยอมถอนร่างพ.ร.บ.นี้ออกจากระเบียบวาระการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
  แพทยสภาได้จัดสัมมนาเรื่องพ.ร.บ.นี้ โดยได้เชิญนพ.ธเรศ กรัษนัยระวิวงศ์ผู้อำนวยการกองประกอบโรคศิลปะ มาบรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับพ.ร.บ.นี้ รวมทั้งนอ.(พิเศษ)นพ.อิทธพร คณะเจริญ รองเลขาธิการแพทยสภา ได้บรรยายเกี่ยวกับรายละเอียดของร่างพระราชบัญญัตินี้ที่ไม่ชอบมาพากลในทุกมาตรา
 และผู้ที่ได้อ่านพ.ร.บ.นี้อย่างถี่ถ้วนและทำความเข้าใจแล้ว ก็ได้พบว่า ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....” ฉบับของรัฐบาล จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ระบบการแพทย์และสาธารณสุขอย่างมากมายมหาศาล ไม่ว่าจะในแง่ของการเรียกเก็บเงินล่วงหน้าจากสถานพยาบาลจากการรักษาผู้ป่วยทุกคน เป็นการเก็บเงินของประชาชนส่วนใหญ่ มาเพื่อรอจ่ายให้คนส่วนน้อย( เพราะจากสถิติการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้เสียหายตามมาตรา 41ของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯมาเกือบแปดปีนั้น มีการจ่ายเงินเพียง .๐๑%ของจำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการทางการแพทย์เท่านั้น ) แต่ตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....”นี้จะเก็บเงินจากการรักษาผู้ป่วยถึง ๙๙.๙๙% มารอจ่ายแก่ผู้ป่วย(ที่อาจจะได้รับความเสียหายจากการรักษา)จำนวนเพียง ๐.๐๑%  ซึ่งจะมีผลทำให้โรงพยาบาลขาดแคลนเงินในการรักษาพยาบาลประชาชน แต่กองทุนจะมีเงินมาเก็บไว้มากมายมหาศาล ซึ่งคณะกรรมการสามารถใช้เงินกองทุนตามที่เขียนไว้ในพระรชบัญญัติถึง กองทุนได้ถึง ๑๐% ในการบริหารจัดการ
   และกรรมการที่กำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลก็คือเอ็นจีโอด้านสาธารณสุขเกินกึ่งหนึ่งของคณะกรรมการทั้งคณะ  ส่วนกรรมการที่เหลืออีก 5 คนตามที่กำหนดไว้ก็คงเป็นพวกข้าราชการในกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ทำให้มองเห็นเจตนารมณ์ว่า ผู้เขียนและผู้ผลักดันกฎหมายเตรียมตัวมาเป็นกรรมการบริหารกองทุน
 การเขียนบทบัญญัติตามมาตราต่างๆนั้นก็ขัดแย้งกันเอง เช่นมาตรา ๕ บอกว่าไม่ต้องพิสูจน์ความรับผิด แต่มาตรา๖ กำหนดว่าถ้าเป็นความเสียหายที่เกิดตามปกติธรรมดาของโรคนั้น หรือเป็นความเสียหายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จากการให้บริการตามมาตรฐานวิชาชีพ (ซึ่งการกำหนดเช่นนี้ จะรู้ได้ก็ต้องมีการพิสูจน์ว่าทำตามมาตรฐานหรือเปล่าเท่านั้น
  แต่คณะกรรมการที่จะมาตัดสินนั้นมิใช่ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพ และคณะกรรมการประชุมกันโดยใช้เสียงข้างมาก โดยไม่คำนึงถึงหลักวิชาชีพ  จึงถือว่าผู้ประกอบวิชาชีพถูกเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม
   นอกจากนั้นการอ้างว่าไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิดก็ไม่เป็นไปได้ เนื่องจากสถานพยาบาลและผู้ประกอบวิชาชีพต้องส่งรายงานและคำชี้แจง หรือต้องไปชี้แจงคณะกรรมการด้วยตนเองตามมาตรา ๑๘ และถ้าผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งคณะกรรมการตามมาตรานี้ จะถูกลงโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
 มาตรา ๒๐ ให้จัดตั้งกองทุนสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข เพื่อไว้จ่ายเป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้น เงินชดเชย ชำระค่าสินไหมทดแทนตามคำพิพากษาของศาล และใช้ในการส่งเสริมการดำเนินงานเพื่อพัฒนาระบบความปลอดภัยและป้องกันความเสียหาย และเป็นค่าใช้จ่ายในการไกล่เกลี่ย และเป็นค่าบริหารของสำนักงานอีกไม่เกิน ๑๐% และมาตรา ๒๑ ยังกำหนดให้สถานพยาบาลจ่ายเงินสมทบตามจำนวนผู้ป่วย สถานพยาบาลไหนทำงานมาก ยิ่งต้องจ่ายเงินมาก สถานพยาบาลไหนทำงานน้อย(ผู้ป่วยน้อย)ก็จ่ายเงินน้อย และถ้าสถานพยาบาลไหนไม่จ่ายเงินตามกำหนดก็จะถูกปรับเป็นเงินเพิ่มร้อยละ 2 ต่อเดือน(ซึ่งแพงกว่าดอกเบี้ยนอกระบบอีก)  และถ้าไม่จ่ายเงินและค่าปรับให้ฟ้องบังคับให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินเพื่อให้มาชำระเงินให้ได้
  โรงพยาบาลภาครัฐ โดยเฉพาะรพ.ของกระทรวงสธ.นั้น มีข่าวขาดทุนอยู่ ๕๗๐ แห่งจากจำนวนโรงพยาบาล๘๔๐แห่ง การจะเรียกเก็บเงินจากโรงพยาบาลล่วงหน้าตามรายหัวประชาชน จะทำให้โรงพยาบาลไม่มีเงินซื้อยามารักษาประชาชนอีกต่อไป ส่วนโรงพยาบาลเอกชนนั้น ก็คงผลักภาระค่าใช้จ่ายในการนรี้ให้แก่ผู้ป่วยต่อไป ในขณะที่นักกฎหมายมหาชนบอกว่า รัฐบาลไม่สามารถเรียกเก็บเงินจากสถานพยาบาลของรัฐได้และไม่สามารถเรียกเก็บเงินจากสถานพยาบาลเอกชนได้ เพราะเอกชนย่อมมีพันธะสัญญาที่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ป่วยของตนอยู่แล้ว

11
ข่าวเกี่ยวกับวงการแพทย์ / สผพท.แถลงข่าว
« เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2010, 17:37:13 »
แถลงข่าวสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย(สผพท.)
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ประธานสผพท.
ความเป็นมาของสผพท.
 เริ่มจากพญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนาในฐานะอดีตกรรมการแพทยสภา(พ.ศ. 2546-2550) และปัจจุบันเป็นประธานคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับเปลี่ยนเงินเดือนและค่าตอบแทนแพทย์ในภาคราชการของแพทยสภา ได้ติดตามศึกษาปัญหาการขาดแคลนบุคลากรแพทย์ การขาดแคลนงบประมาณสนับสนุนการให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขของประชาชนไทย ความเหลื่อมล้ำในการได้รับการคุ้มครองจากหลักประกันสุขภาพของประชาชนไทย และภาระงานที่มากเกินกำลังของบุคลากรทางการแพทย์ จนทำให้เกิดความเสี่ยงต่ออันตรายของประชาชนที่ไปรับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข และบุคลากรแพทย์มีความเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้อง/ร้องเรียนและถูกดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญา จนถึงกับมีคดีตัวอย่างที่ศาลชั้นต้นได้ตัดสินพิพากษาจำคุกแพทย์คนหนึ่ง ที่พยายามจะรักษาผู้ป่วย แต่เมื่อรักษาไม่สำเร็จกลับต้องคำพิพากษาให้จำคุก
พญ.เชิดชูฯจึงได้เสนอคณะกรรมการแพทยสภาให้จัดการสัมมนาในความรับผิดชอบของแพทยสภา เพื่อระดมความคิดในการหาทางออกเพื่อแก้ปัญหาในระบบการแพทย์และสาธารณสุขไทย ได้แก่
1.การสัมมนาเรื่องนโยบายการแพทย์และสาธารณสุขกับพรรคการเมือง เมื่อวันที่28 พฤศจิกายน 2550 โดยมีผู้ร่วมสัมมนาคือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นพ.วินัย วิริยะกิจจา รองหัวหน้าพรรคชาติไทยนพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เลขาธิการพรรคพลังประชาชน และนพ.พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ ผู้แทนพรรคเพื่อแผ่นดิน
2. การสัมมนาเรื่อง วิกฤติการขาดแคลนแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2551 โดยนายชวรัตน์ ชาญวีรกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มาเป็นประธานเปิดการสัมมนา
3.การสัมมนาเรื่อง แปดปีภายใต้หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2553
4.การสัมมนาเรื่อง การแยกบุคลากรสาธารณสุขออกจากกพ. เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2553
 หลังการสัมมนาแต่ละครั้ง ได้สรุปผลการสัมมนาเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อขอให้แก้ไขปัญหาต่างๆดังกล่าวแล้ว ตั้งแต่นายแพทย์มงคล ณ สงขลา นายไชยา สะสมทรัพย์ นายวิชาญ มีนไชยนันท์ นายชวรัตน์ ชาญวีรกุล ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง นายวิทยา แก้วภราดัย และนายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฎ์
 แต่อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาในระบบบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขนั้น ไม่สามารถจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้เป็นรูปธรรมได้ในเวลาอันรวดเร็ว และกลุ่มแพทย์รวมทั้งบุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุขหลายคน ได้ร่วมกันก่อตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทยด้านสาธารณสุข ชื่อย่อว่า ปท.สธ. เป็นคณะกรรมการอาสา เข้ามาช่วยราชการ และประชาชนอีกทางหนึ่ง คณะกรรมการนี้ประกอบด้วย แพทย์ เภสัชกร ทันตแพทย์ พยาบาล นักเทคนิคการแพทย์ นักวิชาการสาธารณสุข นักกฎหมายด้านกฎหมายมหาชน ผู้บริหารสาธารณสุข และอีกหลากหลายสาขาอาชีพ
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทยด้านสาธารณสุข (ปท.สธ.) ได้ตั้ง คณะทำงานเข้าชื่อเสนอกฎหมายปฏิรูปการสาธารณสุขไทย (ขก.สธ.) เพื่อรวบรวมผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย และรวบรวมความคิดเห็นในการปรับปรุงร่างกฎหมาย ต่อไปนี้
1) ร่าง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการสาธารณสุข พ.ศ. .... มีชื่อย่อว่า ก.สธ.
2) ร่าง พระราชบัญญัติจัดบริการสาธารณะด้านสาธารณสุข พ.ศ. .... 
3) ร่างพระราชบัญญัติยกเลิกกฎหมายอันเกี่ยวกับบริการสาธารณะด้านสาธารณสุขบาง ฉบับที่ไม่เหมาะสมกับการบริหารราชการแผ่นดินในกาลปัจจุบัน พ.ศ. ....   
และประสานความร่วมมือกับ องค์กร คณะบุคคล ที่ดำเนินการในด้านนี้อยู่ก่อนแล้วและได้แสดงเจตจำนงทำการเข้าชื่อเสนอกฎหมายฯ    โดยได้จัดทำWebsite ของ ก.สธ. มี domain name ว่า www.thaitrl.org  มี พญ.อรพรรณ์ เมธาดิลกกุล เป็นผู้บริหารเว็บไซต์
แต่อย่างไรก็ตาม ในขณะที่คณะปท.สธ. ได้มุ่งไปที่การแก้ไขระบบบุคลากรสาธารณสุขนั้น คณะปท.สธ.ได้เริ่มขยายเครือข่ายไปยังบุคลากรสาธารณสุขในส่วนต่างๆของประเทศ โดยกลุ่มแรกที่เราไปทำการบรรยายและเสนอแนวความคิดในการจัดการบริหารงานบุคคลแยกจากกพ. ได้แก่เขต 11 (นครพนม มุกดาหาร สกลนคร ร้อยเอ็ด)  และเราได้พบว่า บุคลากรส่วนใหญ่ของกระทรวงสาธารณสุขที่ได้มารับฟังการบรรยาย ต่างก็เห็นด้วยกับการแยกสังกัดไปอยู่ต่างหากจากกพ. และพวกเราได้ไปบรรยายในเขต 6 (ชุมพร สุราฏร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง)โดยบุคลากรของกระทรวงสาธารณสุขเขต 6 ส่วนใหญ่ที่ได้มาร่วมรับฟังการอภิปราย ต่างก็มีความเห็นด้วยว่าสมควรแยกการบริหารจัดการด้านบุคลากรสาธารณสุขออกจากกพ.
  แม้ในการประชุมวิชาการของกระทรวงสาธารณสุขประจำปี 2553 ที่จังหวัดภูเก็ตในเดือน สิงหาคม 2553นั้น คณะกรรมการจัดประชุมวิชาการของกระทรวงสาธารณสุขได้เชิญพญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนาและคณะไปบรรยายเรื่อง “ก้าวต่อไปของกระทรวงสาธารณสุข จะอยู่หรือจะแยกไปจากกพ.”
ซึ่งนายสุกฤษฎิ์ กิติศรีวรพันธุ์ได้กล่าวว่า การะทรวงสาธารณสุขมีหน้าที่จัดบริการสาธารณะด้านสาธารณสุขแก่ประชาชน แต่กระทรวงสาธารณสุขขาดทั้งบุคลากร ขาดเงินงบประมาณ และขาดการบังคับบัญชาผู้กำเงินงบประมาณค่าใช้จ่ายในการจัดบริการสาธารณสุข(คือสปสช.) รวมทั้งขาดเงินในการพัฒนาอาคารสถานที่ที่ทำงานและขาดเครื่องมือรวมทั้งเวชภัณฑ์และเทคโนโลยีในการให้บริการรักษาประชาชน ซึ่งในการบรรยายครั้งนั้น มีบุคลากรเข้าฟังการอภิปรายไม่ต่ำกว่า 1,000 คน และพญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนาได้ถามในห้องประชุมว่า มีใครไม่เห็นด้วยกับหัวข้อที่ตั้งไว้ พบว่ามีผู้ที่ยังไม่เห็นด้วยว่าควรจะแยกบุคลากรสาธารณสุขออกจากกพ.เพียง 7 คน ซึ่งเมื่อผู้บรรยายได้ถามเหตุผลที่ไม่ขอแยก ก็ได้รับคำตอบว่า “พอทนได้”
ในขณะที่ผู้อยู่ในห้องประชุมอีกกว่า 90 % (เรียกว่าเกือบทุกคนในห้องประชุม) ได้ยกมือเห็นด้วยว่าควรจะแยกบุคลกรสาธารณสุขออกจากกพ. โดยมีผู้ให้เหตุผลในการขอแยกจากกพ.ทั้งแพทย์ พยาบาล เทคนิคการแพทย์ ทันตแพทย์ และอื่นๆ เหตุผลที่อยากจะแยกคือ
1.บุคลากรหลากหลายวิชาชีพไม่ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการ ต้องเป็นลูกจ้างชั่วคราวมาหลายสิบปี
2.บุคลากรขาดความก้าวหน้าในตำแหน่งและค่าตอบแทน
3. มีความเหลื่อมล้ำในการได้รับเงินเดือนและค่าตอบแทนนอกเวลาราชการ
4.ภาระงานมากเกินไป ขาดการพักผ่อน ขาดเวลาที่จะดูแลลูกและสามีภรรยา
5.มีความเครียดเพราะภาระงานและปัญหาการฟ้องร้อง/ร้องเรียน
   นอกจากนั้นยังมีปัญหาที่กระทรวงสาธารณสุขขาดงบประมาณในการบริหารจัดการโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสธ.เอง และไม่สามารถจัดสรรเงินเดือนและค่าตอบแทนแก่บุคลากรในสังกัดของตนเองได้ เนื่องจากว่าจำนวน 40 %ของเงินเดือนข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขนั้น รวมอยู่ในงบประมาณหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และรัฐบาลได้จัดสรรผ่านสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
หลังจากการรับฟังความคิดเห็นว่าบุคลากรส่วนใหญ่ของกระทรวงสธ.ต้องการแยกกออกจากกพ.  คณะปท.สธ.ได้เสนอต่อคณะกรรมการแพทยสภา ขอให้แต่งตั้งบุคลากรที่ทำงานในกระทรวงสาธารณสุข ในสาขาวิชาชีพอื่นจนครบทุกสหสาขาวิชาชีพ รวมทั้งวิศวกรและสถาปนิก และชมรมหมออนามัย มาเป็นอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับเปลี่ยนเงินเดือนและค่าตอบแทนแพทย์ในภาคราชการของแพทยสภา ที่มีพญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนาเป็นประธาน และคณะอนุกรรมการฯนี้ได้จัดประชุมคณะอนุกรรมการมาหลายครั้ง เพื่อพิจารณาข้อเสนอ ในการพิจารณาจัดทำร่างพ.ร.บ.ก.สธ. และแสวงหาแนวทางในการดำเนินการให้ประสบความสำเร็จ
   แต่ในขณะที่ปท.สธ.กำลังเตรียมการเข้าชื่อเสนอพ.ร.บ.ก.สธ. โดยมีพญ.อรพรรณ์ เมธาดิลกกุลเป็นหัวหน้าคณะทำงานเข้าชื่อเสนอกฎหมายอยู่นี้ เราก็ได้ทราบข่าวการบรรจุร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. ....ทั้งหมด 7 ร่างเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเมื่อพวกเราได้อ่านร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. ....ฉบับของรัฐบาลทุกตัวอักษรแล้ว เราก็ตระหนักว่าพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. ....นี้จะก่อให้เกิดความไม่ชอบธรรมตามหลักธรรมาภิบาลหรือหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และจะทำให้เกิดผลเสียหายแก่ระบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขอย่างรุนแรง รวมทั้งจะก่อให้เกิดผลกระทบเป็นความเสียหายแก่ทั้งประชาชนทั่วไปและแก่ประชาชนที่เป็นผู้ให้การรักษาพยาบาลในระบบการแพทย์และสาธารณสุข พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนาจึงได้เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรีและขอไปพบนายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล (ข่าวหนังสือพิมพ์พาดหัวข่าวว่า หมอคอตกนายกฯไม่ให้พบ) เพื่อขอให้ชะลอการนำร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. .... เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร และขอให้รัฐบาลดำเนินการทำประชาพิจารณ์เกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. .... เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงผลดี/ผลเสีย ที่จะเกิดจากการตราพ.ร.บ.นี้และแก้ไขก่อนนำเข้าสู่การพิจารณาในวาระที่ 1 แต่นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าได้มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้รับผิดชอบในการไปทำความเข้าใจกับประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์
   แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขก็ได้มอบหมายให้นพ.ไพจิตร วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข มาเป็นผู้ทำความเข้าใจกับประชาชน (กลุ่มที่เข้าชื่อเสนอพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. ....) และบุคลากรทางการแพทย์ 
   ในขณะที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในฐานะสภานายกพิเศษของแพทยสภา ได้กล่าวต่อที่ประชุมคณะกรรมการแพทยสภาว่า ถ้าพวกแพทย์สามารถไปรวบรวมรายชื่อบุคลากรสาธารณสุขได้มากกว่า 80% ว่าไม่เห็นด้วยกับร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. .... แล้ว รัฐมนตรี(นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฎ์) จะถอนร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. ออกจากระเบียบวาระการประชุมของสภาผู้แทนราษฎร
  นพ.ไพจิตร วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ ประกอบด้วยกลุ่มเอ็นจีโอและเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ (ที่เป็นผู้เสนอร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. ....)รวมทั้งผู้แทนสหสาขาวิชาชีพทางการแพทย์ในกระทรวงสาธารณสุขเป็นกรรมการร่วมกันในการแก้ปัญหาความเห็นที่ไม่ตรงกันระหว่างกลุ่มเอ็นจีโอและเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์กับสหสาขาวิชาชีพในกระทรวงสาธารณสุข
แต่กลุ่มผู้ปฏิบัติงานทางการแพทย์และสาธารณสุข ได้ตระหนักว่าปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้พยายามบิดเบือนความจริงที่เกิดขึ้นในการประชุมคณะกรรมการสมานฉันท์ จึงได้ออกมาจัดประชุมกันเอง จากแต่ละกลุ่ม ไม่ว่าจะมาจากกลุ่มแพทยสมาคม แพทย์ทหาร ตำรวจ เทศบาล(กทม.) คณะแพทยศาสตร์  สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป เอกชน แพทย์  ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล เทคนิคการแพทย์ และอื่นๆ ที่ได้อ่านและตระหนักในปัญหาที่จะเกิดจากการตราพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. ....นี้ และไม่อาจจะแก้ไขได้ในวาระที่ 2ของการตั้งคณะกรรมาธิการในสภาผู้แทนราษฎร
   โดยกลุ่มการประชุมของบุคลากรเหล่านี้ได้ตกลงกันจัดตั้ง “สหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย (สผพท.)” โดยมอบให้พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา เป็นประธานฯ มีพ.ญ.อรพรรณ์ เมธาดิลกกุลและนพ.ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ เป็นรองประธาน และมีแพทย์ผู้อาวุโสเป็นที่ปรึกษาหลายคน มีสมาชิกทั้งที่เป็นส่วนตัวและในนามองค์กรอีกหลายคนและหลายองค์กร
   ทั้งนี้วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสผพท.นั้นเป็นเรื่องที่ไม่ได้วางแผนการไว้ก่อน แต่มีวัตถุประสงค์หลักคือการเสนอให้รัฐบาลจัดทำประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ก่อนนำพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. .... เข้าสู่การพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎร
   ทั้งนี้เพื่อแก้ไขพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. .... ให้เหมาะสมและไม่เกิดความขัดแย้งในบ้านเมืองเพิ่มขึ้นอีกในเรื่องการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่อีกเรื่องหนึ่งของประเทศ ที่จะต้องเกิดผลกระทบต่อสุขภาพและชีวิตของประชาชนทั้งประเทศอย่างแน่นอน รวมทั้งพิจารณาแก้ไขพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 ในมาตรา 41 เพื่อขยายความครอบคลุมในการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากบริการสาธารณสุขทั้งสองฝ่ายคือฝ่ายผู้ให้การรักษาและผู้รับการรักษา
   ซึ่งสผพท.ก็ได้ไปทำประชาพิจารณ์ในหมู่บุคลากรสาธารณสุขมาแล้วมาแล้วใน 41 จังหวัดโดยบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนที่ได้ร่วมรับฟังการทำประชาพิจารณ์มากกว่า 90% ไม่เห็นด้วยกับร่างพ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. ....
   อย่างไรก็ตาม ในวันนี้วันที่ 26 พฤศจิกายน 2553 นับเป็นวันปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎรวาระนิติบัญญัติ สผพท.ก็ยินดีที่พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. .... ยังไม่ได้รับการนำขึ้นมาพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎร แต่เราก็ยังยืนยันข้อเสนอว่า เป็นภาระหน้าที่ของรัฐบาลผู้บริหารประเทศ ที่จะต้องทำประชาพิจารณ์ให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ เข้าใจถึงผลกระทบที่จะเกิดจากพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. .... และรัฐบาลต้องหาทางออกที่เหมาะสมในเรื่องการ “คุ้มครองประชาชน” ทุกคนในประเทศไทยที่จะได้รับผลกระทบจากระบบการแพทย์และสาธารณสุข ไม่เฉพาะผู้ไปรับการรักษาเท่านั้น

12
จดหมายถึงผู้ปฏิบัติราชการแทนเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
31 ตุลาคม 2553
เรื่อง ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. ....
เรียน นางฐะปานีย์ อาจารวงศ์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ ด้านประสานกิจการภายในประเทศ ปฎิบัติราชการแทน เลขาธิการนายกรัฐมนตรี

อ้างถึงหนังสือที่ นร 0404/11941ลวที่ 28 ตุลาคม 2553

สิ่งที่ส่งมาด้วย 1.สรุปความเห็นเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. ....
                       2.บทความประกอบการบรรยาย ความเห็นเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. ....โดยผศ. พอ.(พิเศษ) นพ.กิฎาพล วัฒนะกุล
                         3.มติของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
                        4. จดหมายอีเล็คโทรนิกของผศ.ธวัชชัย พีรพัฒน์ดิษฐ์ รองคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล


                          จากหนังสือที่อ้างถึงนั้น ท่านประธานคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร(วิปรัฐบาล) ได้ส่งสรุปประเด็นความเห็น/ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. .... ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ส่งมายังประธานวิปรัฐบาล เพื่อให้ดิฉันในฐานะประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย(สผพท) พิจารณานั้น ดิฉันได้สรุปความเห็นจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อนำเรียนท่านประธานวิปรัฐบาล เพื่อโปรดทราบตามเอกสารที่แนบมาพร้อมนี้
                          อนึ่ง ดิฉันขอเสนอชื่อผู้ที่จะเข้าชี้แจงกับคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร ดังนี้
1.   จากสผพท. 2 คน คือพญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา พญ.อรพรรณ์ เมธาดิลกกุล และนพ.ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ
2.   จากแพทยสภา 1 คน คือ นอ.(พิเศษ ) นพ.อิทธพร คณะเจริญ
3.   จากแพทยสมาคม 1 คน คือ นพ.วันชาติ ศุภจตุรัส


                      


สรุปความเห็นเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. ....
1.คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พิจารณาแล้วเห็นว่า เจตนารมณ์ของพ.ร.บ.ฉบับนี้ ร่างขึ้นเพื่อประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการบริการสาธารณสุข ผู้ประกอบวิชาชีพ และสังคมส่วนรวม แต่เนื้อหายังไม่สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ถ้านำมาใช้จริงอาจทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นได้ เช่นประเด็นมาตรฐานวิชาชีพ ความเสียหาย และการเชื่อมโยงแต่ละมาตรายังไม่สอดคล้องกัน
2.ความเห็นของรศ.ธวัชชัย พีรพัฒน์ดิษฐ์ ผู้เข้าประชุมกับคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์ มีดังนี้
2.1.       ในส่วนที่ผมเกี่ยวข้อง ผมขอชี้แจง คือ มติของที่ประชุมคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มีรายละเอียดดังแฟ้มที่ผมแนบมา ซึ่งมีข้อความชัดเจนตามเอกสาร(ในข้อ1)
2.2      สำหรับความเห็นส่วนตัวของผม ที่มีส่วนร่วมในคณะกรรมการสมานฉันท์ นั้น ไม่สามารถนับว่าเป็นความเห็นของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลทั้งหมด
2.3      ความกังวลใจของผมในฐานะเป็นผู้ร่วมประชุมในคณะกรรมการสมานฉันท์ มีประเด็นที่ผมเป็นห่วงอย่างมากคือ เจตนาของร่างกฎหมายนี้ มุ่งเน้นให้ได้ประโยชน์ทั้งฝ่ายผู้รับบริการและผู้ให้บริการ แต่ฝ่ายกฎหมายไม่สามารถเขียนให้เป็นไปตามเจตนาดังกล่าวได้ (ตัวแทนฝ่ายกฤษฎีกา ยืนยันเช่นนี้ในที่ประชุมคณะกรรมการสร้างเสริมสมานฉันท์ฯ  ซึ่งในที่ประชุม ได้มีการอภิปรายในเรื่องนี้ อย่างจริงจังและเข้าใจข้อจำกัดนี้ชัดเจน เนื่องจากเกี่ยวพันกับกฎหมายอื่นๆ ในหลายระดับ) ซึ่งผมได้อภิปรายว่า หากสังคมหวังใช้การออกกฎหมายเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม ให้สังคมโดยรวมได้รับประโยชน์ แต่ฝ่ายกฎหมายเองบอกว่า ไม่สามารถเขียนให้เป็นเช่นนี้ได้ คณะกรรมการฯ ก็ไม่ต้องดำเนินการใดๆ อีกต่อไป ควรยกเลิกกระบวนการออกกฎหมายได้เลย เพราะสังคมหวังใช้เครื่องมือนี้ แต่เจ้าของเครื่องมือแจ้งว่า เครื่องมือที่มีอยู่ใช้ไม่ได้ และยังปรับปรุงส่วนต่างๆ ของเครื่องมือให้ทันสมัยไม่ได้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงทางสังคม จึงไม่สามารถใช้เครื่องมือนี้สำหรับกฎหมายฉบับนี้โดยตรงได้ อาจต้องดำเนินการโดยทางอ้อม
2.4   จากข้อกังวลดังที่ชี้แจงในข้อ ๓ ผมเห็นว่า ท่านปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานที่ประชุมคณะกรรมการสร้างเสริมสมานฉันท์ฯ ควรให้ตัวแทนกฤษฎีกา ช่วยชี้แจงประเด็นที่ผมกังวลและเปรียบเทียบเพื่อให้เกิดความเข้าใจง่าย ดังข้อ ๓ ให้เกิดความเข้าใจและมั่นใจว่า ฝ่ายกฎหมายสามารถเขียนได้ ให้เกิดประโยชน์ต่อทั้ง ๒ ฝ่ายตามเจตนารมณ์ของกฎหมายได้จริง และผมไม่ควรวิตกกังวลจนเกินไป ซึ่งประเด็นนี้แหละครับ ผมเห็นว่า สำคัญที่สุด เพราะในที่ประชุมคณะกรรมการฯ ต่างมีความเห็นร่วมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งสิ้น ไม่ได้มีการทะเลาะเบาะแว้งกันแต่อย่างใด ทั้งฝ่ายตัวแทนผู้รับบริการและตัวแทนผู้ให้บริการที่อยู่ในที่ประชุม ต่างมีความเห็นเอื้ออาทรต่อกันอย่างกัลยาณมิตร แต่ทางกฤษฎีกา แจ้งว่า รู้สึกว่า ตัวเองตกเป็นจำเลยของที่ประชุม เนื่องจากไม่สามารถเชียนตามเจตนาของที่ประชุมได้ เนื่องจากติดขัดกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.5  กล่าวโดยสรุป หากรัฐมนตรีสาธารณสุข ต้องการใช้ความเห็นของที่ประชุมคณะกรรมการฯ ไปสนับสนุนเพื่อดำเนินการในชั้นต่อไป ผมเสนอว่า จำเป็นต้องทำประเด็นนี้ให้ชัดเจนก่อน เพราะมิเช่นนั้น จะเกิดความเข้าใจไม่ตรงกัน และไม่เป็นประโยชน์ต่อใครทั้งสิ้น
ผมจึงขออนุญาตเรียนตอบอาจารย์เชิดชูตามความเข้าใจของผม พร้อมแจ้งท่านอื่นๆ ตามที่อาจารย์เชิดชูเห็นว่า ควรมีส่วนรับรู้มา ณ ที่นี้นะครับ
อนึ่ง ความประทับใจส่วนตัวของผมในเรื่องนี้ คือ ผมรับรู้ได้ว่า แทบทุกคนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ล้วนเป็นคนดี และมีความปรารถนาดีต่อสังคมจริงๆ แต่ที่มีประเด็นมองต่างมุมและต้องออกมาเคลื่อนไหว ประหนึ่งขัดแย้งกันนั้น เป็นเพราะกระบวนการดำเนินการเร่งรัดมากเกินไป ซึ่งประเด็นการเร่งรัดมากเกินไปนี้ ผมอยากฝากผู้มีอำนาจทั้งหลายว่า ขอให้ช่วยพิจารณาอย่างรอบคอบอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมอย่างแท้จริงครับ
ด้วยความเคารพ
รศ.นพ.ธวัชชัย พีรพัฒน์ดิษฐ์
                รองคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
                มหาวิทยาลัยมหิดล
               (อดีตโฆษกและกรรมาธิการวิสามัญ ร่าง พรบ.มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ....)
3. ความเห็นของสผพท.
3.1 เห็นว่ายังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะนำร่างพ.ร.บ.นี้ เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ควรชะลอไว้ก่อน และรัฐบาลควรเป็นเจ้าภาพในการนำร่างพ.ร.บ.นี้ออกมาทำประชาพิจารณ์เพื่อความเข้าใจร่วมกันของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ และแก้ไขให้กฎหมายนี้มีความเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมไทย ที่มีความเอื้ออาทรต่อกัน และสามารถส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีของประชาชน และบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุข และสามารถพัฒนาคุณภาพมาตรฐานของระบบการแพทย์และสาธารณสุขได้อย่างต่อเนื่อง
3.2 ในขณะนี้ รัฐบาลสามารถแก้ไขพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 ให้ครอบคลุมประชาชนทั้งประเทศ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม และความเสมอภาคแก่ประชาชนทุกคน
3.3 สผพท.เคยอธิบายเรื่องทำไมจึงคัดค้านร่างพ.ร.บ.นี้มาหลายครั้ง ต่างกรรม ต่างวาระกัน แต่ในวันนี้ขอสรุปอีกครั้งว่า การเสนอประเด็นแก้ไขพ.ร.บ.นี้เพียง 12 ประเด็นนั้น ยังไม่สามารถทำให้พ.ร.บ.นี้เป็นกฎหมายที่จะอำนวยให้เกิดความยุติธรรมและสร้างสรรค์ให้เกิดความสามัคคีปรองดองและความสงบสุขในบ้านเมืองได้จริง
3.4   นอกจากเหตุผลต่างๆดังที่ได้เคยเสนอไปแล้ว ขออธิบายเพิ่มเติมเรื่องผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อประเทศไทย ถ้าพ.ร.บ.นี้สามารถออกมาบังคับใช้เป็นกฎหมายได้ดังนี้
3.4.1   จะมีการเรียกร้องขอเงินค่าช่วยเหลือและเยียวยาเพิ่มขึ้นอย่างมากมายมหาศาล จากประสบการณ์ของสปสช.ที่เคยให้การช่วยเหลือแก่ประชาชนตามมาตรา 41 แห่งพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 ในระยะแรก มีการร้องขอเงินช่วยเหลือน้อยมากเพียง 99 รายในปีพ.ศ. 2547  (จ่ายเงินไป 73 ราย) แต่จำนวนประชาชนที่ร้องขอเงินนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเป็น 810 ราย ในปีพ.ศ. 2552 (จ่ายเงินไป 660 ราย)คิดเป็นจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 9 เท่า ในระยะเวลา 6 ปี
   และจากสถิติของประเทศสวีเดน(ซึ่งเป็นประเทศที่มีการอ้างถึงว่ามีการใช้กฎหมายลักษณะคล้ายร่างพ.ร.บ.ฯฉบับนี้) ก่อนเริ่มมีการออกกฎหมาย (ปี ค.ศ.1975)   มีการยื่นคำร้องประมาณสิบรายต่อปี  พอปีค.ศ. 1977 มีประมาณเก้าพันราย พอถึงปี ค.ศ.2004  มีการยื่นคำร้องมากถึงหนึ่งหมื่นราย นั่นคือ การร้องขอเงินชดเชยเพิ่มขึ้นเป็นเกือบพันเท่าในระยะเวลายี่สิบกว่าปี ถ้าเอาข้อมูลของสำนักงานหลักประกันสุขภาพ และของประเทศสวีเดน มาเขียนเป็นรูปกราฟ คงได้กราฟในลักษณะเดียวกัน คืออตราการจ่ายเนเพิ่มขึ้นสูงมากในระยะเวลาอันรวดเร็ว
  จากข้อมูลของประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีกฎหมายลักษณะนี้  มีการยื่นคำร้องประมาณ 2,000 รายต่อประชากร 4 ล้านคนต่อปี ถ้าเอาประชากรประเทศไทยมาคิด จาก 65 ล้านคน ก็คงจะมีการยื่นคำร้องประมาณ สามหมื่นรายต่อปี
  ในขณะที่ปัจจุบันนี้จำนวนเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตาม มาตรา 41 ของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน จ่ายสูงสุดรายละสองแสนบาท แต่ในร่างพ.ร.บ.ฯฉบับนี้จะมีการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น เงินชดเชย และอาจมีเงินจากการไกล่เกลี่ยอีก โดยไม่กำหนดเพดาน และมีการคาดการณ์กันว่า เป็นหลักล้านบาทขึ้นไปต่อราย
   ฉะนั้นการคาดการณ์จากประสบการณ์ของสปสช.และต่างประเทศ ถ้ามีการใช้พ.ร.บ.ฉบับนี้ ประเทศไทยคงมีการใช้จ่ายเนื่องจากผลของพ.ร.บ.ฉบับนี้เป็นหลักหมื่นล้านบาทใน ระยะเวลาไม่กี่สิบปีข้างหน้า
3.4.2ถ้ามีพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขฯนี้แล้ว จะสูญเสียเงินตราของประเทศมากมายมหาศาลจาการที่ แพทย์จะพยายามป้องกันตัวเองไม่ให้ถูกร้องเรียนหรือฟ้องร้อง ด้วยการกระทำที่เรียกว่า การแพทย์เพื่อป้องกันตัวเองจากความผิดพลาด ( Defensive Medicine)  โดยแพทย์ต้องระมัดระวังในการตรวจรักษาผู้ป่วยมากเกินความจำเป็นเพื่อไม่ให้เกิด “ช่องว่างในการถูกจับผิดจากการประกอบวิชาชีพเวชกรรม” โดยการส่งผู้ป่วยตรวจค้นสาเหตุแห่งอาการเจ็บป่วยด้วยวิธีพิเศษพิสดาร (แปลว่าละเอียดละออเกินจำเป็น) โดยไม่มีข้อบ่งชี้หรือความจำเป็นทางการแพทย์ เช่นส่งตรวจเลือด เอ๊กซเรย์ ultrasound (อัลตร้าซาวด์ )CT MRI และการตรวจพิเศษอื่นๆอีกมากมาย หรือใช้ยาหลายๆขนานให้ครอบจักรวาล โดยอาจจะไม่จำเป็น ซึ่งจะทำให้เกิดการสิ้นเปลืองเงินตราในการนี้อีกมากมายหลายเท่าตัว
นอกจากนี้ การแพทย์แบบป้องกันตัวเอง ยังจะทำให้แพทย์ไม่กล้ารักษาผู้ป่วยที่ไม่แน่ใจว่าเมื่อได้ลงมือรักษาผู้ป่วยแล้ว ผลการรักษาจะดีขึ้นหรือไม่  และแพทย์คงไม่กล้ารักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคที่ตนเองไม่เชี่ยวชาญเฉพาะ โดยเลือกที่จะส่งผู้ป่วยไปรักษาต่อที่รพ.อื่น ที่อาจจะมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือมีอุปกรณ์การแพทย์และเทคโนโลยีที่ดีกว่า แต่ผู้ป่วยอาจจะมีอาการทรุดหนักในระหว่างเดินทางและอาจสูญเสียโอกาสในการรอดชีวิตก็ได้ ซึ่งผลที่สุดแล้ว ผู้จะเสียหายก็คือผู้ป่วยและครอบครัวนั่นเอง
ในประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศที่มีการ ฟ้องร้องบุคลากรทางการแพทย์มากที่สุดในโลก นอกจากแพทย์จะต้องซื้อประกัน(สำหรับความผิดพลาดจากการตรวจรักษาคนไข้) เพื่อจะได้ประกันว่า ถ้าถูกฟ้องร้องให้จ่ายค่าเสียหายแล้ว จะมีบริษัทประกันจ่ายค่าเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องร้อง  และด้วยความกลัวการตกเป็นจำเลยในศาล แพทย์ยังมีการป้องกันตัวเองแบบ Defensive Medicine ซึ่งมีผลให้มีค่าใช้จ่ายจากการ การจ่ายเงินสูงถึงหลักแสนล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี หรือประมาณสิบเปอร์เซ็นต์ของค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขของประเทศ  
 
     ถ้ามีการใช้พ.ร.บ.ฉบับนี้ในประเทศไทย มีการคาดการณ์กันว่า จะเกิดการแพทย์เพื่อป้องกันตัวเองจากความผิดพลาด (Defensive Medicine)ทุกอย่างเต็มรูปแบบ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งจะทำให้งบประมาณภาครัฐที่ใช้ในด้านสาธารณสุขของประเทศไทยประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ต้องถูกใช้ไปอย่างไม่จำเป็นในการที่แพทย์ต้องประกอบวิชาชีพอย่างป้องกันตัวเอง โดยที่ขณะนี้งบประมาณสาธารณสุขภาครัฐอยู่ที่มากกว่าแสนล้านบาทต่อปี นั่นหมายความว่า เงินประมาณหลักหมื่นล้านบาทจะถูกใช้ไปโดยเปล่าประโยชน์เพื่อ Defensive Medicine อย่างแน่นอน
  ในขณะที่ปัจจุบันนี้ โรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขมีความขาดแคลน ทั้งเงินงบประมาณ (ขาดทุนหลายร้อยแห่ง) ขาดบุคลากรทุกประเภท (แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล เทคนิเชียน และอื่นๆ) ขาดทั้งอาคารสถานที่ (ผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล ต้องนอนตามระเบียง เตียงแทรก เตียงเสริม) แพทย์ในโรงพยาบาลอำเภอ ก็ไม่กล้ารักษาผ่าตัดผู้ป่วย เนื่องจากมีตัวอย่างคำพิพากษาให้จำคุกแพทย์ในคดีผ่าตัดไส้ติ่งที่อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ว่าไม่ใช่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ต่อไปถ้ามีพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหาย มีคำว่า “รักษาตามมาตรฐาน”ในมาตรา 6 แพทย์ในโรงพยาบาลจังหวัด (ทั้งโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลศูนย์ฯ) ก็คงไม่กล้ารักษาผู้ป่วย เพราะเกรงว่าอาจไม่ได้มาตรฐานเหมือนในโรงเรียนแพทย์ และก็คงเลือกที่จะส่งผู้ป่วยไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลระดับสูงกว่า คือโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยต่อไป  
3.4.3 ถ้ามีพ.ร.บ.นี้ ผู้ป่วยก็อาจจะไม่ไว้ใจหมอว่าผลการรักษานั้นมันดีที่สุดแค่นี้แล้วหรือ และก็คงอยากจะเรียกร้องเงินจากกองทุนตามพ.ร.บ.นี้  ในขณะที่บุคลากรสาธารณสุขก็คงหวาดระแวงว่า อาจจะถูกผู้ป่วยหรือญาติฟ้องร้อง แพทย์ก็คงจะต้องหาทางป้องกันตนเองจากการร้องเรียน/ฟ้องร้องและคดีความ ฉะนั้นความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ก็คงจะไม่ใช่ความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัย และช่วยเหลือเกื้อกูลกันเหมือนในปัจจุบัน กลายเป็นต่างหวาดระแวงซึ่งกันและกัน การบริการทางการแพทย์ก็จะเป็นการทำตามหน้าที่ (และผู้ป่วยก็อาจจะคาดหวังว่าจะได้รับเงินชดเชย ถ้ารักษาแล้วไม่หายจากอาการป่วย)  โดยปราศจากความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ตามแบบเดิมๆในปัจจุบัน ก่อนที่จะมีการยื่นเสนอร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขฯนี้
4. ความเห็นจากพญ.พจนา กองเงิน ประธานสมาพันธ์แพทย์รพ.ศ./รพ.ท. ที่เข้าร่วประชุมกับคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์ฯของกระทรวงสาธารณสุข ได้บอกกับพญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนาว่า เธอต้องการให้ชะลอการนำร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขเข้าสู่การพิจารณาของสภษฯ และปลัดกระทรวงยืนยันว่า จะพิจารณาประเด็นที่จะแก้ไขในที่ประชุมก่อน แล้วจะนำไปทำประชาพิจารณ์ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้เธอเข้าประชุมคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ เพื่อไปพิจารณาแก้ไขประเด็นต่างๆก่อนนำไปทำประชาพิจารณ์ แต่หลังจากได้ผลสรุป ที่ต้องการแก้ไข 12 ประเด็นแล้ว ปรากฏว่า ปลัดกระทรวงไม่ได้ทำตามคำพูดที่ว่าจะทำประชาพิจารณ์ใน 18 เขตของงานสาธารณสุข เมื่อพญ.พจนา ทวงถามปลัดว่า ทำไมไม่ทำประชาพิจารณ์อย่างที่พูดไว้ ปลัดกระทรวงตอบว่า “เพราะรัฐมนตรีไม่ได้สั่งให้ทำ”

5. ผศ.พอ.(พิเศษ) นพ.กิฎาพล วัฒนกุล แห่งวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า เห็นว่า ร่างพ.รงบ.นี้ สมควรแก้ไข 25 มาตรา ในจำนวน 50 มาตรา ดังรายละเอียดตามข้อมูลที่แนบมาพร้อมนี้
6. คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มิได้มีรายชื่อเป็นกรรมการสมานฉันท์ของกระทรวงสาธารณสุข แต่ทำไมมีรายชื่อว่าเห็นด้วยกับร่างพ.ร.บ.นี้
7.มีหลายหน่วยงานที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขอ้างว่าเห็นด้วยในหลักการ นั้น ส่วนมากเท่าที่ได้สอบถามแล้วและจากมติในการประชุมวันที่ 12 ตค. 53 พบว่าควรชะลอร่างพ.ร.บ.ไว้ก่อน ไม่ควรรีบเร่งนำพ.ร.บ.เข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ โดยนำมาทำประชาพิจารณ์ก่อน เช่น คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สมาคมโรงพยาบาลเอกชน วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป คณะแพทยศาสตร์จุฬาฯ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กระทรวงกลาโหม กรุงเทพมหานคร แพทยสมาคม แพทยสภา กลุ่มวิชาชีพพยาบาล กลุ่มวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ กลุ่มวิชาชีพกายภาพบำบั และผู้แทนจากคณะกรรมการกฤษฎีกา

 จึงขอกราบเรียนประธานวิปรัฐบาล ได้โปรดทราบความเห็นของหน่วยงาน และองค์กรต่างๆตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น และดำรงอยู่ ในแวดวงนักวิชาการและผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขไทย
 

 
    

 
 



13
ประชาชนเสี่ยงอันตรายจากการไปโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
     ปัจจุบันนี้ ประชาชนที่เจ็บป่วยหรือมีปัญหาด้านสุขภาพ หรือตั้งครรภ์ คลอดบุตร และไปรับบริการตรวจรักษาสุขภาพที่โรงพยาบาลต่างๆแล้ว จะเกิดปัญหาความไม่พึงพอใจ กล่าวหาหรือฟ้องร้องแพทย์และโรงพยาบาลมากขึ้นจากเดิม จนปรากฏเป็นข่าวให้เห็นอยู่เป็นประจำ จนถึงกับมีการตั้งเครือข่ายผู้ได้รับความเสียหายทางการแพทย์ เพื่อช่วยกันฟ้องร้องแพทย์ทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา ประชาชนต้องการค่าชดเชยจากม.41ของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  และหลังจากการได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตามมาตรา 41 แล้วประชาชนบางคนก็ยังนำคดีไปฟ้องต่อที่ศาล เพื่อขอค่าเสียหายเป็นจำนวนเงินรายละหลายร้อยล้านบาท
  นอกจากฟ้องแพ่งแล้ว ประชาชนบางคนยังนำคดีเข้าสู่ศาลอาญาอีกด้วยเหตุผลที่สำคัญประการหนึ่งคือต้องการยืดอายุคดีแพ่งออกไปให้ยาวนานกว่าปกติที่อายุความจะสิ้นสุดเร็ว แต่ถ้าคดียังอยู่ในศาลอาญา อายุความของคดีแพ่งก็ยังไม่สิ้นสุดลง 
 กระทรวงสาธารณสุขพยายามที่จะแก้ปัญหาการฟ้องร้องแพทย์ โดยการจัดตั้งคณะกรรมการไกล่เกลี่ย และจัดหานิติกรมาช่วยแก้ต่างในคดีฟ้องร้อง ส่วนประชาชนก็เรียกร้องให้มีการออกกฎหมายในการจ่ายเงินชดเชยแก่ประชาชนผู้ได้รับความเสียหายจากการไปรับบริการทางการแพทย์จากโรงพยาบาล เช่นมีการเสนอพ.ร.บ.ชดเชยความเสียหายจากการไปรับบริการทางการแพทย์ (ซึ่งกำลังดำเนินการอยู่)
 แต่กระทรวงสาธารณสุขยังไม่เคยคิดวิธีป้องกันไม่ให้เกิดการฟ้องร้องแพทย์ โดยการทำให้ประชาชนปลอดภัยจากการไปรับบริการทางการแพทย์เลย
     ถ้าถามว่า ทำไมประชาชนจึงฟ้องร้องแพทย์? ก็จะตอบได้ว่า เพราะตัวเขาเองหรือคนในครอบครัวของเขาได้รับผลเสียหายต่อชีวิตและสุขภาพ หรือไม่พอใจในการรักษาของแพทย์และ/หรือโรงพยาบาล และประชาชนคิดว่า ความเสียหายเหล่านั้นต้อง “เป็นความผิดของแพทย์” อย่างแน่นอน ฉะนั้นแพทย์ต้องชดใช้ “ความเสียหาย” หรือ “สมควรถูกลงโทษเพราะทำความผิด”
 แต่ผลเสียหายต่อชีวิตและสุขภาพที่เกิดขึ้นกับประชาชนและครอบครัวนั้น เกิดจาก “ความผิดพลาด” ของแพทย์ทุกครั้งหรือไม่? ประชาชนก็คงคิดว่า ใช่แน่ๆ  ถึงแม้สภาวิชาชีพตรวจสอบว่าไม่ใช่ความผิดพลาดของแพทย์ ประชาชนก็จะกล่าวหาว่าสภาวิชาชีพ(แพทยสภา) เข้าข้างแพทย์ จึงไม่ตัดสินลงโทษแพทย์ แม้บางครั้งที่ประชาชนนำคดีไปฟ้องศาลและศาลตัดสินว่าแพทย์ไม่ผิด ประชาชนก็คงยังไม่พอใจในคำตัดสินของศาล และดำเนินการเรียกร้องต่อไป เช่นกการเดินขบวน ออกข่าวสื่อมวลชน และร้องเรียนให้ “เครือข่ายผู้ได้รับความเสียหายทางการแพทย์”

  แต่อันที่จริงแล้ว ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับประชาชนในการไปรับการรักษาจากแพทย์นั้น อาจเกิดจากอาการผู้ป่วยที่มากจนเกินเยียวยา หรือมีโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในการรักษาตามมาตรฐานที่ดีที่สุด หรือเกิดอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา อาการของผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษาทั้งๆที่แพทย์ได้ใช้ความระมัดระวังอย่างดีที่สุดแล้ว หรือยา เครื่องมือ และเทคโนโลยี ไม่เพียงพอที่จะรักษาอาการผู้ป่วยได้ 
และสุดท้ายแล้วก็อาจ เกิดจากความ “ผิดพลาด” ของแพทย์ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากความด้อยประสบการณ์ ความเครียดและความเหนื่อยล้าจากการทำงานมากเกินไปและ/หรือขาดการพักผ่อน หรือความผิดพลาดนี้ อาจเกิดขึ้นเพียง เพราะว่าแพทย์เป็นเพียงมนุษย์ปุถุชน อาจจะทำความผิดพลาดได้ เหมือนคนในวิชาชีพอื่นๆ แต่แพทย์ต้อง “ใช้ความระมัดระวังอย่างเต็มที่ ตามภาวะวิสัยและพฤติการณ์” ของผู้ที่เป็นแพทย์จะต้องใช้ความระมัดระวังอย่างดีที่สุด เพราะวิชาชีพแพทย์นั้น ถ้าเกิดความผิดพลาดขึ้น ย่อมมีผลเสียหายร้ายแรงแก่ผู้ป่วยของตน
  แต่ความผิดพลาดทางการแพทย์ จะเกิดขึ้นได้ง่าย ถ้าแพทย์ต้องทำงานมากเกินไป อดนอน และรีบเร่งตรวจผู้ป่วยมากเกินไป รวมทั้งแพทย์ขาดความรู้และประสบการณ์(skill) ในการดำเนินการทางการแพทย์

  โรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข มีแพทย์จำนวนน้อย แต่มีผู้ป่วยจำนวนมาก  ทำให้แพทย์มีเวลาทำงานมากถึงสัปดาห์ละ 120 ชั่วโมง( เวลาทำงานมากกว่า 3 เท่าของคนปกติ) และแพทย์ต้องตรวจผู้ป่วยมากเกินไป จนแพทย์มีเวลาตรวจผู้ป่วยแต่ละคนเพียง 2- 4 นาทีเท่านั้น ซึ่งภาวะการณ์เช่นนี้ ทำให้มีความเสี่ยงอย่างมากที่จะเกิดความผิดพลาดอันจะนำไปสู่ความเสียหายแก่ผู้ป่วย

    ฉะนั้นการป้องกันไม่ให้ประชาชนได้รับความเสียหาย ก็จะต้องลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดความผิดพลาดทางการแพทย์ ต้องทำให้มีจำนวนแพทย์มากขึ้น และ/หรือมีผู้ป่วยน้อยลง

 ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขจึงควรเร่งแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์อย่างเร่งด่วน โดยต้องจัดสรรให้มีบุคลากรแพทย์เพิ่มมากขึ้นเพื่อให้มีจำนวนเหมาะสมกับจำนวนผู้ป่วย
      และบริหารจัดการให้มีผู้ป่วยน้อยลง โดยการส่งเสริมประชาชนให้มีความสามารถในการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และพึ่งพาตนเองและครอบครัวในการดูแลรักษาความเจ็บป่วยเล็กน้อยได้เอง อันจะทำให้จำนวนผู้ป่วยน้อยลง และใช้บริการโรงพยาบาลเมื่อจำเป็นเท่านั้น

    ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ในกระทรวงสาธารณสุขเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนาน และไม่มีทีท่าว่าจะยุติลงง่ายๆ ถ้าดูจากข้อมูลของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ระหว่างปีพ.ศ. 2547และพ.ศ.2551เปรียบเทียบจำนวนแพทย์ไทย ที่มีอยู่ทั้งหมดกับแพทย์ในกระทรวงสาธารณสุขตามตารางข้างล่างนี้ จะเห็นได้ว่า แพทย์มีจำนวนน้อย และเพิ่มไม่มากนักในช่วง 4 ปีนี้
 
ตารางที่ 1 เปรียบเทียบจำนวนแพทย์ภาครัฐและเอกชน(1)

ปีพ.ศ.   2547   ร้อยละ   2551   ร้อยละ
จำนวนแพทย์ทั้งหมด   18,918   100   27,000   100
ราชการทั้งหมด   15,324   81   22,000   81.5
สธ.   9,375   49.5   11,000   40.75
ราชการนอกสธ   5.945   31.5   11,000   40.75
เอกชน   3,594   19   5,000   18.5

จะเห็นได้ว่าในปีพ.ศ. 2551 มีแพทย์ทั้งหมด 30,000 คน เกษียณอายุราชการแล้ว 3,000 คน ทำให้มีแพทย์ที่ทำงานเต็มเวลาเพียง27,000 คน
  จะเห็นได้ว่าในพศ. 2551  มีจำนวนแพทย์เพิ่มขึ้นจากพ.ศ. 2547 ประมาณ 9,000 คน โดยจำนวนแพทย์ในราชการทั้งหมดคิดเป็นอัตราส่วน 81% เท่าเดิม แต่จำนวนแพทย์ที่อยู่ในกระทรวงสาธารณสุขคิดเป็นอัตราส่วนลดลงจาก49.5% เหลือเพียง 40.75%
และถ้าไปดูจำนวนแพทย์ที่บรรจุเข้ากระทรวงสาธารณสุขและลาออก ก็จะพบว่าในปีพ.ศ. 2547- 2550 มีแพทย์บรรจุเข้ากระทรวงสาธารณสุข 4,527     คน แต่มีแพทย์ลาออกจากกระทรวงสาธารณสุขถึง3,027   คน ดังรายละเอียดในตารางข้างล่างนี้ (เป็นข้อมูลจากสำนักงานบริหารบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ณเดือนมิถุนายน 2551)

ตารางจำนวนแพทย์ที่ลาออกจากกระทรวงสาธารณสุข(1)

ปีพ.ศ.   จัดสรรใหม่   ลาออก   ลาออกร้อยละ   คงเหลือ
2547   995   408   41.01   547
2548   1177   485   41.09   692
2549   1148   520   46.16   628
2550   1207   47   3.89   1,160
รวม   4,527   1,460   32.3   3,027
  ถ้าดูจากแนวโน้มนี้ในปีพ.ศ. 2550 จะเห็นว่าจำนวนแพทย์ที่ลาออกจากกระทรวงสาธารณสุขในปีพ.ศ. 2550 นั้นลดน้อยลงมาก ซึ่งอาจจะถือเป็นแนวโน้มที่ดีว่า จะมีจำนวนแพทย์เพิ่มมากขึ้น แต่ก็คงต้องคอยติดตามประเมินผลกันต่อไป
             ถ้ามาดูจำนวนแพทย์ไทยที่เหลือทำงานในกระทรวงสาธารณสุขในปีพ.ศ.2550แล้วจะพบว่ามีจำนวนเพียง 11,415 คน แต่ถ้านับจำนวนผู้บริหารที่เป็นแพทย์แล้วจะพบว่ามีจำนวนประมาณ 1,000 คน และยังมีแพทย์ที่ลาไปศึกษาต่อเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในสถาบันฝึกอบรมที่เป็นโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ(ส่วนใหญ่) และส่วนน้อยที่มาเรียนต่อในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขอีกทั้งสิ้นประมาณ
 2,000 คน ก็จะเหลือแพทย์ที่ทำการตรวจรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขอยู่ประมาณ 8,000 คนเท่านั้น(1)
      แต่จำนวนประชาชนที่ไปรับบริการตรวจรักษาโรคที่โรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุขนั้นตามรายงานของกระทรวงสาธารณสุขในปีพ.ศ. 2548 พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยไปรับการตรวจรักษาในโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขทั้งหมด134,057,237 ตรั้ง มีผู้ป่วยนอนอยู่ในโรงพยาบาล 8,477,543 รายคิดเป็นจำนวน 35,656,391 วัน(2)
    ความหมายจำนวนวันที่ผู้ป่วยนอนในโรงพยาบาลหมายความว่า มีผู้ป่วยที่แพทย์ต้องตรวจรักษาเป็นจำนวนอย่างน้อย 35,656,391 ครั้งหรือมากกว่านั้น เพราะแพทย์ต้องไปดรวจรักษาผู้ป่วยที่นอนในโรงพยาบาลอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง แต่ถ้าเป็นผู้ป่วยหนัก แพทย์ต้องไปตรวจผู้ป่วยวันละหลายๆครั้ง และอาจต้องไปทำการผ่าตัด ทำหัตถการทางการแพทย์เพื่อตรวจและทำการรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีต่างๆ เช่นเจาะหนองจากปอด เจาะไขกระดูกเพื่อวินิจฉัยโรค ดึงกระดูก ใส่เฝือก ทำคลอด ผ่าตัดต่างๆ ฯลฯ อีกมากมายหลายครั้งสำหรับผู้ป่วยแต่ละคน
   ฉะนั้นจึงเท่ากับว่า แพทย์ต้องทำการตรวจรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขถึง 134,057,237 ครั้งรวมกับ 35,656,391 (หรือมากว่านั้นตามที่อธิบายแล้วข้างบน) ประมาณ 170 ล้านครั้งต่อปี
   โดยแพทย์ผู้ทำงานตรวจรักษาผู้ป่วยเหล่านี้มีประมาณ 8,000 คนเท่านั้น
      จึงไม่น่าสงสัยเลยว่า แพทย์ของกระทรวงสาธารณสุขจะต้องทำงานคนละ 120 ชั่วโมงต่อสัปดาห์(3) แต่มีเวลาตรวจผู้ป่วยนอกเพียงคนละ 2-4 นาที (3,4)และผู้ป่วยเสี่ยงต่อความผิดพลาด ได้รับอันตรายต่อชีวิตและสุขภาพ จนมีปัญหาฟ้องร้องแพทย์เพิ่มขึ้นมากมาย  (5)ทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา จนถึงกับมีคำพิพากษาให้จำคุกแพทย์ เพราะรักษาผู้ป่วยแล้วไม่รอดชีวิต(6)
  ฉะนั้น เราจึงเห็นว่า แพทย์ลาออกจากกระทรวงสาธารณสุขมากขึ้นทุกปี แม้ว่าในปี 2551 จำนวนแพทย์ลาออกจะน้อยลง แต่จำนวนแพทย์ในกระทรวงสาธารณสุขก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก แต่จำนวนผู้ป่วยกลับเพิ่มมากขึ้นทุกปี ประชาชนก็เรียกร้องค่าชดเชยทางการแพทย์มากขึ้น(7) และต้องการเห็นแพทย์ถูกลงโทษมากขึ้น
  แต่จะมีใครคิดป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการฟ้องร้องและความเสียหายของประชาชนจากการไปรับบริการทางการแพทย์บ้างหรือไม่?
 หรือจะแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ คือปล่อยให้แพทย์พำงานแบบเร่งรีบต่อไป เมื่อเกิดความเสียหายกับประชาชนแล้ว ก็ตั้งกองทุนชดเชยผู้เสียหาย และหาทนายมาช่วยหมอแก้คำฟ้องไปวันๆ

  ประชาชนต้องการความปลอดภัยจากการไปโรงพยาบาล
 แพทย์ก็ไม่อยากทำงานแบบเร่งด่วน เพราะเสี่ยงต่อผลเสียหายต่อประชาชน และแพทย์เองก็เสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้อง

แต่สถานการณ์ที่มี “ผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล” (8)ใครจะช่วยป้องกันปัญหาความเสี่ยงของประชาชนและป้องกันปัญหาความเสี่ยงของแพทย์

  รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขหรือนายกรัฐมนตรีจะช่วยคุ้มครองประชาชนให้ปลอดภัยจากการไปโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุขหรือไม่?

จะทำให้เกิดอานิสงค์ต่อแพทย์ให้ได้มีเวลาทำงานอย่างมีคุณภาพมาตรฐาน และรอดจากการ “ติดคุกเพราะรักษาคน” อีกด้วย

 หมายเหตุ ตีพิมพ์ในวารสารวงการแพทย์ 2553: 12 ( 328) : 26-27

เอกสารอ้างอิง
1.จำนวนแพทย์ไทยจำแนกตามการทำงาน : ข้อมูลจากกลุ่มบริหารงานบุคคล สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข มิถุนายน 2551
2.สถิติการตรวจรักษาผู้ป่วยของหน่วยงานกระทรวงสาธารณสุข จากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข
3.พญ.ฉันทนา ผดุงทศและคณะ. ชั่วโมงการทำงานของแพทย์ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2550 ;16 (4) : 493-502
4. ศ.ดร.ศุภชัย ยาวะประภาษและคณะ. โครงการกำหนดยุทธศาสตร์กำลังคนภาครัฐ. กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์
5. สถิติการฟ้องร้องแพทย์ แพทยสภา
6.นพ.วิสูตร ฟองศิริไพบูลย์ คำพิพากษาให้แพทย์ต้องโทษจำคุก วารสารวงการแพทย์ 2551; 262, 263 :16-20
7.นพ.เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์ . การช่วยเหลือเบื้องต้นตามพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศง 2545 บรรยายในการประชุมใหญ่แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2550
8.พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา . ผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล . วารสารวงการแพทย์ 2551 ; 272 : 28-29



14
ความเห็นวิทยากรในการสัมมนา
เรื่องแปดปีภายใต้หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ปัญหา อุปสรรค สิ่งท้าทายในการพัฒนา ความสำเร็จและความเสี่ยง
วันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
ณ ห้องประชุมไพจิตร ปวะบุตร
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ผู้จัดสัมมนา   แพทยสภา
ผู้สรุปการสัมมนา พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ประธานอนุกรรมการพิจารณาปรับเปลี่ยนเงินเดือนและค่าตอบแทนแพทย์ในภาคราชการ แพทยสภา
  การสัมมนา เริ่มด้วยการบรรยายพิเศษ เรื่อง การบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขในประเทศไทยโดยนายสุกฤษฎิ์ กิติศรีวรพันธ์ ประธานชมรมนักกฎหมายเพื่อความมั่นคง ซึ่งได้ชี้ให้เห็นว่า จากการบัญญัติพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ทำให้มีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)  ตามมาตรา 24 ที่กำหนดไว้ว่า
 มาตรา ๒๔ ให้มีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคล อยู่ภายใต้การกำกับของรัฐมนตรี
มีหน้าที่ ---- กำกับดูแลหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการในการให้บริการสาธารณสุข
             ---- ควบคุมคุณภาพและมาตรฐานหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการ
             ---- กำกับดูแลการให้บริการสาธารณสุขของหน่วยบริการให้มีคุณภาพและมาตรฐาน
            ---- กำหนดมาตรการควบคุมและส่งเสริมคุณภาพและมาตรฐานหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการ
นายสุกฤษฎ์ กิติศรีวรพันธุ์ ประธานชมรมนักกฎหมายเพื่อความมั่นคง กล่าวว่า สปสช. มีโครงสร้างการบริหารที่แปลกประหลาดในสายตาของนักกฎหมาย เนื่องจากอยู่เหนือพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534แต่มีกฎหมายดูแลโดยเฉพาะ ที่เรียกว่า พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ซึ่งกำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มีอำนาจในการกำกับดูแลสปสช. แต่ไม่สามารถควบคุมบริหารจัดการ โดยอำนาจทั้งหมดเป็นของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.)
  
  “แม้โครงสร้างของ สปสช.จะจัดตั้งขึ้นเพื่อป้องกันการล้วงลูกของฝ่ายการเมือง แต่โดยหลักประชาธิปไตยควรมีการเกาะเกี่ยวกับผู้บริหารกระทรวงสธ.ด้วย เพราะหากปล่อยให้ สปสช.ดูแลกันเอง ในอนาคตจะต้องเกิดปัญหา โดยเฉพาะการใช้จ่ายงบประมาณอย่างแน่นอน เห็นได้จากปัจจุบันกฎหมายกำหนดให้เลขาธิการ สปสช.สามารถเซ็นอนุมัติใดๆ วงเงินถึงพันล้านบาท ซึ่งมากเกินไป” นายสุกฤษฎิ์ กล่าว


นายสุกฤษฎิ์ ยังพูดอีกว่า แม้กทช. (คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) จะเป็นองค์กรอิสระ แต่ก็ยังประกาศว่า การดำเนินงานทั้งหมดของกทช.ฃจะดำเนินตามนโยบายของรัฐบาลที่เป็นผู้บริหารประเทศ
     แต่สปสช.ไม่ใช่องค์กรอิสระ เป็นองค์กรของรัฐ อยู่ภายใต้การกำกับของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสธ. แต่สปสช.ไม่เคย สนใจว่ารมว.สธ.ต้องการดำเนินนโยบายด้านการแพทย์และสาธารณสุขอย่างไร แต่สปสช จะดำเนินการตามความต้องการของตน (คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) เท่านั้น  
 ส่วนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสธ. ก็ไม่รู้ว่าตัวเองมีอำนาจหน้าที่อะไรในคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  
รัฐมนตรีมีอำนาจแค่ กำกับดูแลสปสช.เท่านั้น  ไม่มีอำนาจสั่งการหรือบังคับบัญชา แค่อยากให้สปสช.ทำอะไร ก็ต้องผ่านมติของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเท่านั้น
      มีรัฐมนตรีกระทรวงไหนบ้าง ที่ขาดอำนาจ "สั่งการและบังคับบัญชา" ผู้ที่ทำหน้าที่ตามนโยบายของรัฐบาล
 
  แต่รัฐมนตรีหลายคนของกระทรวงสธ. (เป็น สิบๆคน หลังมีพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545) ยังไม่รู้สึกตัว ว่าตัวเองขาดอำนาจ "ในการบังคับบัญชา" หน่วยงานที่มีงบประมาณมากที่สุดที่ต้องทำงานให้กระทรวงของตนเอง ตามนโยบายที่คณะรัฐมนตรีที่ตัวเองเป็นผู้กำหนด โดยที่สปสช.จะทำตามหรือไม่ก็ได้
        ต่อมาเป็นการบรรยายเรื่อง “สถิติจำนวนบุคลากรและภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์” โดยน.อ.(พิเศษ)นพ.อิทธพร คณะเจริญ รองเลขาธิการแพทยสภา  ซึ่งสรุปได้ว่า จำนวนแพทย์ที่ถูกบังคับจัดสรรเข้าทำงานในกระทรวงสาธารณสุขทุกปีนั้น ได้มีการลาออกมากขึ้น จนทำให้มีแพทย์ทำงานในกระทรวงสาธารณสุขพียง 12,500 คน แต่มีแพทย์ที่ปฏิบัติงานจริงเพียงประมาณ 7,000 คน ในขณะที่มีผู้ป่วยไปรับการรักษาพยาบาลถึง140.5 ล้านครั้งในแผนกผู้ป่วยนอก และ5.21 ล้านครั้งแบบผู้ป่วยใน(ซึ่งถ้าวันนอนเฉลี่ยประมาณ 3 วัน) ก็จะทำให้แพทย์ต้องไปตรวจผู้ป่วยเฉลี่ยวันละ2- 3 ครั้ง ทำให้จำนวนผู้ป่วยทั้งหมดที่ต้องรับการตรวจรักษาจากแพทย์ปีละประมาณ 180 ล้านครั้ง และถึงแม้จำนวนบัณฑิตแพทย์จบใหม่จะเพิ่มขึ้นทุกปี แต่ก็ยังมีความขาดแคลนอยู่ เพราะการจัดสรรแพทย์ใช้ทุน เป็นไปตามระบบ GIS ซึ่งอาจจะไม่เหมาะสมกับภาระงานที่แท้จริงของแพทย์ ทำให้มีการลาออกอยู่เสมอ นอกจากนั้น การที่กระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้มีอำนาจกำหนดโควต้าการเรียนต่อเฉพาะทาง ทำให้แพทย์ที่ไม่ได้เรียนต่อในสาขาที่ต้องการ ต้องลาออกเพื่อไปเรียนต่ออีกด้วย
        ต่อมาเป็นการบรรยายของรศ.นพ.จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ รองอธิการบดีจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ได้กล่าวว่า การกำหนดงบประมาณในระบบหลักประกันสุขภาพแบบปลายปิด โดยใช้หลักเกณฑ์เหมาจ่ายรายหัวต่อปี ของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาตินั้น มีข้อดีคือสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้แต่ประชาชนอาจจะมีความเสี่ยงต่อบริการที่ไม่มีคุณภาพ
        โดยได้ยกตัวอย่างจากยุโรปและอเมริกา ว่างบประมาณปลายปิดจะเสี่ยงต่อการรักษาที่ล่าช้า ผู้ป่วยที่อาการรุนแรง/มีความเสี่ยงสูงอาจไม่ได้รับการรักษา และจะถูกส่งต่อไปหา ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ (เพราะเกรงว่าจะต้องใช้เงินในการรักษามากเกินงบประมาณ)
      โรงพยาบาลต้องคลำกระเป๋าเงินไปด้วย ว่าจะมีเงินพอใช้หรือไม่ในการรักษาผู้ป่วย ในขณะที่คิดหาวิธีจะรักษาผู้ป่วยให้เหมาะสมกับจำนวนเงินในกระเป๋า
***** นอกจากนี้ นพ.จิรุตม์ ยังได้อ้างถึง ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในปีพ.ศ. 2547 เปรียบเทียบอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพ(บัตรทอง) ประกันสังคมและระบบสวัสดิการข้าราชการ  ว่า adjusted CFR  (ปรับตามอายุแล้ว) ในระบบบัตรทองสูงสุดเมื่อเทียบกับอีก 2 ระบบ  และSMR ของระบบบัตรทองก็สูงสุดเช่นเดียวกัน
  ต่อมาเป็นการอภิปราย เรื่อง “แปดปีภายใต้หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปัญหา อุปสรรค สิ่งท้าทายในการพัฒนา ความสำเร็จและความเสี่ยง โดยพญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย และได้กล่าวว่า การประกอบวิชาชีพเวชกรรมภายใต้หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีปัญหา อุปสรรค เกิดขึ้นมากมาย เนื่องจากความจำกัดของงบประมาณและบุคลากร ในขณะที่จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างมากมายมหาศาล ประชาชนอาจเกิดความพึงพอใจที่ได้รับบริการด้านการแพทย์โดยไม่ต้องจ่ายเงินเลย แต่ประชาชนอาจไม่รู้ว่า การบริการทางการแพทย์ที่ตนเองได้รับนั้นนั้น มีมาตรฐานที่ดีที่สุดหรือไม่ ทำไมเกิดการฟ้องร้องหรือร้องเรียนแพทย์เกิดขึ้นอย่างมากมาย
 วันนี้ จึงเป็นโอกาสดีที่เราจะได้ฟังความเห็น ข้อเท็จจริงและมุมมองของผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบบริการด้านสุขภาพ และผู้ดำเนินการของสปสช. โดยหวังว่าอาจจะมีการปรับเปลี่ยนและพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพ และการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขให้เหมาะสม ทั้งด้านผู้จ่ายเงินคือรัฐบาล ที่จ่ายให้แก่กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยสปสช.เป็นผู้จ่ายเงินนี้ต่อให้โรงพยาบาลที่ต้องทำงาน ให้บริการแก่ประชาชน ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือโรงพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ภายใต้การบริหารของกระทรวงสาธารณสุข และประชาชนทั่วไปที่ได้รับเชิญให้มาร่วมรับฟังในวันนี้
 ผู้อภิปรายคนแรกคือ นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการสปสช. ได้กล่าวถึงงบประมาณของหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเริ่มต้นในปีแรก 27,612 ล้านบาท (หลังจากหักเงินเดือนบุคลากรออก) เพิ่มเป็น  89,385 ล้านบาทในปี 2553 คิดเป็นอัตราเพิ่มสูงถึง 224%  โดยอ้างการสำรวจว่า ประชาชนมีความพึงพอใจ 89.3 % ในขณะที่ผู้ให้บริการ(บุคลากรทางการแพทย์) มีความพึงพอใจ 60.3%
 แต่ในขณะเดียวกัน นพ.ประทีปยังได้อ้างว่า มีจำนวนแพทย์ลาออกจากระบบของกระทรวงสาธารณสุขเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน  และมีผู้ป่วยที่ได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้นตามม.41 รวมทั้งสิ้น  2,265 คน ในจำนวนนี้ เสียชีวิต 1263 คน พิการ 356 คน และบาดเจ็บ 646 คน โดยผู้ป่วยสูตินรีเวช ได้รับความช่วยเหลือมากที่สุด
( หมายเหตุ สิ่งที่นพ.ประทีปไม่ได้กล่าวถึงคือ งบประมาณช่วยเหลือเบื้องต้นยังมีเหลืออยู่มาก และความเสียหายจากผู้ป่วยด้านสูติศาสตร์ ส่งผลกระทบต่อแพทย์ โดยตรง ทำให้แพทย์รุ่นใหม่ไม่อยากเรียนต่อด้านสูติศาสตร์ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประชาชนอย่างแน่นอนในอนาคตที่จะมีจำนวนผู้เชี่ยวชาญด้านสูติศาสตร์ดูแลรักษาผู้ป่วยน้อยลง)
นพ.ประทีปยังได้กล่าวถึงว่า แนวโน้มวัสดุคงคลังและหนี้สินของโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสธ. (สป.สธ.)ก็เพิ่มขึ้น และอ้างว่า แนวโน้มเงินสดคงเหลือของโรงพยาบาลสังกัดสป.สธ.ก็เพิ่มขึ้นถึ42,968 ล้านบาท และสปสช.ได้พัฒนาคุณภาพบริการในหลายๆโรค เช่น การพัฒนาเครือข่ายบริการ การบริการเฉพาะโรคต่างๆ
***** หมายเหตุผู้เขียน  การดำเนินงานของสปสช. ขัดต่อพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 ที่กำหนดให้ สปสช.เป็นผู้จ่ายเงินค่าบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขให้แก่หน่วยบริการเท่านั้น และกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้นที่มีหน้าที่ในการพัฒนาบริการ ไม่ใช่สปสช.
นอกจากนั้นนพ.ประทีปยังได้กล่าวถึงว่า ความเสี่ยงของระบบหลักประกันสุขภาพคือ งบประมาณจากรัฐบาลที่ต้องเพิ่มขึ้น  ต้องพึ่งการบริการทางการแพทย์จากกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งไม่ทราบว่ามีมาตรฐานแบบใดบ้าง (อ้างว่าไม่ได้กำหนดไว้ชัดเจนในพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)
รวมทั้งกล่าวหาว่า แพทยสภาซึ่งควรจะควบคุมมาตรฐานการประกอบวิชาชีพ กลับคอยปกป้องแพทย์  ส่วนสปสช.มีหน้าที่ซื้อบริการ
 และยังได้กล่าวว่าสวัสดิการข้าราชการใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นมาก จนมีข่าวว่ากระทรวงการคลังต้องหาทางที่จะคุมงบประมาณของสวัสดิการข้าราชการ ในขณะที่งบประมาณของหลักประกันสุขภาพสามารถควบคุมได้ดีกว่า และกล่าวว่าสิทธิประกันสังคมก็ควรจะได้รับสิทธิไม่น้อยกว่าหลักประกันสุขภาพ
นพ.ประทีปยังได้กล่าวว่า ความเสี่ยงของกระทรวงสาธารณสุขคือ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2550 จะเป็นผู้กำหนดนโยบาย ด้านการแพทย์และสาธารณสุข
พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 จะเป็นผู้บริหารระบบการบริการสาธารณสุข
 และพ.ร.บ.แผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ จะเป็นผู้รับผิดชอบให้บริการสุขภาพ
  ***** ซึ่ง ความหมายของการกล่าวเช่นนั้น ก็คือ ต่อไปนี้ กระทรวงสาธารณสุขก็จะไม่มีความจำเป็นที่จะดำรงอยู่ต่อไป เพราะไม่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการแพทย์และสาธารณสุขแล้ว
    

15
สรุปปัญหาการดำเนินงานแปดปีภายใต้พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545

และข้อเสนอแนะในการแก้ไข
http://www.thaitrl.org/index.php?option=com_content&task=view&id=612&Itemid=56

จากการสัมมนาเรื่อง “แปดปีภายใต้หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545

จัดการสัมมนาโดยแพทยสภา เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2553

สรุปโดยพญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ประธานคณะอนุกรรมการจัดการสัมมนา



สรุปปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานของหน่วยบริการสาธารณสุขภายใต้การบริหารงบประมาณของสปสช.

1.งบประมาณรายหัวไม่เพียงพอต่อการดำเนินการของหน่วยบริการ

โดยมีข้อมูลสนับสนุนดังนี้

1.1โรงพยาบาลเอกชนถอนตัวออกจากโครงการนี้ เนื่องจากรายได้ไม่คุ้มทุน

       1.2  โรง พยาบาลของรัฐขาดทุน กระแสเงินสดติดลบเป็นจำนวน 505 แห่งจาก 807 แห่ง (จำนวน 62%) ยังมีโรงพยาบาลที่ขาดทุนจนไม่สามารถจ่ายค่ายาได้ 175 แห่ง

      1.3  โรง พยาบาลของรัฐไม่มีงบประมาณสร้างตึกและซื้อครุภัณฑ์ ต้องขอการสนับสนุนจากงบประมาณไทยเข้มแข็งหรือเงินบริจาค ทำให้เกิดการชะลอตัวของคุณภาพบริการ ผู้ป่วยล้นตึก ต้องนอนตามระเบียงบ้าง หน้าบันได หน้าห้องน้ำ

    1.4 โครงการส่งเสริมการจัดบริการตติยภูมิเฉพาะด้านไม่มีงบประมาณต่อเนื่อง โดยเฉพาะโครงการ  Center of Excellence in Trauma Management ของรพ. ราชบุรี และรพ.นครปฐม ไม่มีเงินจ่ายค่าเวรแพทย์ ปัจจุบันยังไม่มีเวรแพทย์อุบัติเหตุฉุกเฉินโดยเฉพาะ

1.5 การจัดบริการตติยภูมิเฉพาะ โดยเฉพาะด้านการรักษาโรคมะเร็งหรือโรคเอดส์ถูกจำกัดเพียงการใช้ยาพื้นฐาน เท่านั้น ทำให้คณะแพทยศาสตร์ที่รับรักษาผู้ป่วยจากการส่งต่อมีปัญหาในการรักษาโรคที่ ยากขึ้น และไม่สามารถพัฒนาการรักษาใหม่ๆให้เกิดความก้าวหน้าต่อไป

1.6  โรง พยาบาลส่วนใหญ่ต้องหารายได้เพิ่มจาการดึงงบประมาณจากผู้ป่วยอื่น เช่นจากสวัสดิการข้าราชการ จึงก่อให้เกิดผลกระทบทำให้มองว่า ค่ารักษาพยาบาลของราชการสูงขึ้นมาก ทำให้กรมบัญชีกลางออกมาตรการควบคุมการใช้ยาให้อยู่ในบัญชียาหลัก และมีการตรวจสอบอย่างเข้มข้น มีผลกระทบต่อการรักษามาตรฐานการประกอบวิชาชีพเวชกรรม


2.มาตรฐานคุณภาพการบริการและศักยภาพงานบริการลดลง

     2.1 โรงพยาบาลเอกชนถูกร้องเรียนมากขึ้น เพราะต้องควบคุมค่าใช้จ่ายให้อยู่ในงบประมาณรายหัว

     2.2 โรงพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชนมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ทำให้แพทย์มีเวลาตรวจผู้ป่วยแต่ละคนน้อยลง จากการสำรวจของแพทยสภาในปี 2549 แพทย์ใช้เวลาตรวจผู้ป่วยคนละ 2- 4 นาที

     2.3 การส่งต่อผู้ป่วยที่เป็นโรคยุ่งยากซับซ้อน มีความเสี่ยงต่อชีวิต มีค่าใช้จ่ายสูง โรงพยาบาลได้ค่าตอบแทนเป็นราคากลางตามรายกลุ่มโรค  (DRG Diagnosis Related Group) แต่ เป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาค่าใช้จ่ายจริงของโรงพยาบาล ทำให้โรงพยาบาลที่รับส่งต่อขาดทุนและสร้างภาระแก่บุคลากรที่รักษา ทั้งความเหนื่อยยาก ความเสี่ยงที่จะโดนฟ้องร้อง ผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวจะถูกปฏิเสธในการรับการส่งต่อ เช่น ทารกคลอดก่อนกำหนด (น้ำหนักตัวน้อย จะต้องใช้เวลาในการดูแลรักษาหลายเดือน และมีค่าใช้จ่ายสูง )การบาดเจ็บของเส้นเลือด เส้นเลือดใหญ่มีการโป่งพอง ฯลฯ

   2.4 โรงพยาบาลชุมชนลดศักยภาพของงานบริการ ไม่รักษาผู้ป่วยที่มีโรคยากๆแต่มีการส่งต่อผู้ป่วยไปรักษายังโรงพยาบาลอื่นๆมากขึ้น

นอก จากนั้น งบประมาณจากสปสช.เน้นงานบริการปฐมภูมิ จึงทำให้โรงพยาบาลทุกระดับ ไม่ว่ารพ.ชุมชน รพท. รพศ. เน้นงานปฐมภูมิมากขึ้น ทำให้ต้องดึงบุคลากรผู้เชี่ยวชาญมาทำงานดังกล่าว จึงเกิดปัญหาการพัฒนากลับทิศทาง(ถอยหลัง ไม่ใช่เดินหน้า)  ทำ ให้มีผลกระทบต่องานรักษาโรคในระดับสูงที่ยุ่งยากซับซ้อนขาดการพัฒนา และบุคลากรขาดขวัญกำลังใจในการพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพการรักษา เพราะนอกจากจะมีความเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้อง/ร้องเรียนแล้ว ยังมีความเสี่ยงที่โรงพยาบาลจะขาดทุน(เนื่องจากการรักษาโรคที่ยุ่งยากซับ ซ้อนจะได้เงินน้อย ไม่คุ้มต้นทุนการรักษาซึ่งจะมีผลกระทบต่อการลดค่าตอบแทนบุคลากรต่อไป

   2.5 สปสช.เน้นการส่งข้อมูลที่ครบถ้วนแล้วจึงจะจ่ายเงินงบประมาณการรักษาให้แก่ โรงพยาบาล และถ้าส่งข้อมูลช้า สปสช.ก็จะหักเงินที่จะจ่ายไม่ให้เต็มจำนวน ทำให้โรงพยาบาลต้องดึงบุคลากรจากหน่วยบริการมาช่วยบันทึกข้อมูล และเร่งรัดการทำงาน ทำให้สูญเสียคุณภาพงานบริการ ทำให้เจ้าหน้าที่เกิดความกดดัน เครียด เบื่อหน่าย โกรธเกลียดสปสช.อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


3. พฤติกรรมการใช้บริการของประชาชนเปลี่ยนแปลงไป  มาใช้บริการของโรงพยาบาลมากขึ้น โดยไม่ต้องรับผิดชอบดูแลรักษาสุขภาพตนเอง ทำให้เกิดอุปสรรคต่อการส่งเสริมคุณภาพการบริการ และการบริการที่จำเป็นอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ไม่สามารถทำได้

3.1 เนื่องจากผู้ป่วยไม่ต้องจ่ายเงินในการมาโรงพยาบาล ไม่ต้องรับผิดชอบการดูแลรักษาสุขภาพ จึงเกิดการเรียกร้องสิทธิในการตรวจรักษาโดยไม่มีข้อจำกัด ทั้งในด้านการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ทางยา และวัสดุอุปกรณ์การแพทย์อื่นๆ

3.2 ผู้ป่วยที่มีอาการป่วยไม่ฉุกเฉินมักจะเลือกมาตรวจนอกเวลาราชการเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการดูแลล่าช้า เพราะนอกเวลาราชการมีบุคลากรน้อย

3.3 ผู้ป่วยฟ้องร้องและร้องเรียนมากขึ้น เพราะต้องการมาตรฐานสูงสุดโดยไม่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่าย ถ้าไม่พอใจก็จะร้องเรียนและฟ้องร้อง นอกจากรักษาฟรีแล้วยังได้เงินอีก มีพฤติกรรมข่มขู่ผู้ให้บริการ จึงทำให้แพทย์กลัวและจะต้องจ่ายเงินทดแทนให้

3.4 การดูแลสุขภาพเชิงป้องกันโรคลดลง เพราะมาโรงพยาบาลไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ถ้านอนรักษาตัวในโรงพยาบาลก็ได้แถมนอนฟรี กินฟรีอีกด้วย

3.5 ประชาชนใช้บริการบ่อยครั้งเกินความจำเป็น เช่นมีไข้ ให้ยาไปกินวันเดียวไม่หาย วันรุ่งขึ้นรีบมาใหม่อีกครั้ง

3.6 ผู้ป่วยไม่เห็นคุณค่าของยาฟรี รับเอาไปทิ้งก็มาก ยาหายไม่เป็นไร ไปขอเอาใหม่ พบได้บ่อยในโรงพยาบาลทั่วไป


4. บุคลากรสาธารณสุขทำงานด้วยความเครียดและหวาดผวา ทำงานอย่างมีความทุกข์ เพราะกลัวจะถูกฟ้องร้องและร้องเรียน จึงให้การตรวจรักษาเกินความจำเป็น (Defensive medicine) ไม่กล้าให้การรักษาผู้ป่วยที่มีอาการยุ่งยากซับซ้อน มีการส่งต่อผู้ป่วยมากขึ้น ขาดขวัญกำลังใจในการดูแลผู้ป่วย

4.1 แพทย์ลาออกมากขึ้นหลังประกาศใช้พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

4.2 การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด มีการส่งตรวจเกินความจำเป็นมากขึ้น เช่นผู้ป่วยปวดหัว แพทย์มีแนวโน้มจะส่งตรวจเลือด เอ๊กซเรย์คอมพิวเตอร์สมองทุกราย

4.3 การสำรวจความพึงพอใจผู้ให้บริการ ช่วงแรกที่ต่ำกว่า 50%  แม้มีจำนวนเพิ่มขึ้นในปี 2552 ก็เพียง 60% เท่านั้น

4.4 ได้รับความกดดันจากผู้บริหารให้ทำมาตรฐานโรงพยาบาล (Hospital accreditation)ซึ่งต้องมีการทำรายงานโดยเอกสารจำนวนมาก  และ ต้องกรอกข้อมูลส่งสปสช.ให้ครบถ้วน ทำให้งานเอกสารเพิ่มขึ้นมาก ในขณะที่งานบริการผู้ป่วยก็มากขึ้น แต่จำนวนบุคลากรก็น้อยลง มีผลให้ภาระงานเพิ่มขึ้นมาก และกระทบต่อคุณภาพการบริการ

4.5 ได้รับความกดดันจากประชาชนมากขึ้น เพราะเรียกร้องเกินความจำเป็น


5.ความเห็นเกี่ยวกับ สปสช.

5.1 สปสช.ทำงานนอกเหนืออำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่ง ชาติ ซ้ำซ้อนกับงานของกระทรวงสาธารณสุข โดยการลดบทบาทการบริหารจัดการของกระทรวงสาธารณสุขลง โดยใช้เงินงบประมาณเป็นตัวกำหนด ใช้เงินเป็นอำนาจในการทำสัญญากับหน่วยบริการโดยตรง ซึ่งไม่ถูกต้องตามสายบังคับบัญชา โดยที่ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขไม่ดำเนินการขัดขวางหรือแก้ไข สร้างปัญหาการทำงานของบุคลากรระดับปฏิบัติงานกับผู้ป่วย

5.2 สปสช.ทำงานนอกเหนือหน้าที่ที่บัญญัติไว้ในพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 โดยการจัดซื้อจัดจ้าง ซื้อยาและเวชภัณฑ์แทนโรงพยาบาล เป็นการบีบบังคับให้หน่วยบริการใช้ยาตามที่สปสช.กำหนด เป็นการก้าวล่วงการประกอบวิชาชีพเวชกรรมและเภสัชกรรม

5.3 เงินเดือนและค่าตอบแทนของบุคลากรของสปสช.สูงมากผิดปกติ เลขาธิการตั้งเงินเดือนเจ้าหน้าที่และตนเองให้สูงมาก เลขาธิการมีเงินเดือนสูงกว่านายกรัฐมนตรี ทั้งๆที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและมีภาระรับผิดชอบในการจ่ายเงินค่าบริการ สาธารณสุขแก่หน่วยบริการแทนประชานเท่านั้น (ตามที่กำหนดไว้ในพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545)

5.4 การบริหารงานของสปสช.เป็นลักษณะเผด็จการรวบอำนาจเบ็ดเสร็จทั้งเงินงบประมาณ ทั้งการบริหารจัดการ กำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ รวมทั้งการเข้าไปควบคุมมาตรฐานวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม โดยการกำหนดการใช้ยาในวงเงินจำกัด โดยไม่ทำตามมาตรา 18 (13) ที่ให้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นโดยทั่วไปจากผู้ให้บริการและผู้รับบริการ เป็นประจำทุกปี

5.5 การจัดสรรงบประมาณของสปสช.ให้ความสำคัญกับการแพทย์ปฐมภูมิมากกว่า จนทำให้ทุกโรงพยาบาลปรับตัวเป็นเหมือนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล การบริการระดับสูงตติยภูมิไม่พัฒนา จึงทำให้มีการปฏิเสธการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการโรคที่ยุ่งยากซับซ้อน

5.6 สปสช.เป็นองค์กรที่ไม่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง สาธารณสุข ฉะนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขไม่สามารถดำเนินนโยบายตามที่รัฐบาลประกาศไว้ ได้ ถ้าคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพไม่เห็นด้วย


6.กระทรวงสาธารณสุข ไม่มีงบประมาณเงินเดือนของบุคลากร ไม่มีอัตราบรรจุข้าราชการทำงาน ทั้งๆที่บุคลากรขาดแคลน ไม่สามารถพัฒนาระบบบริการให้ได้มาตรฐาน เนื่องจากขาดแคลนทั้งบุคลากร อาคารสถานที่ งบประมาณในการดำเนินงาน ตกอยู่ใต้เบี้ยล่างของสปสช. ที่ใช้เงินผิดประเภทในการ “สั่ง” ให้หน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุขและบุคลากรของกระทรวงสาธารณสุขต้องทำตาม ระเบียบและกฎเกณฑ์ที่ไม่เป็นธรรม

นพ.ประทีป ธนกิจเจริญได้กล่าวว่า ความเสี่ยงของกระทรวงสาธารณสุขมีอยู่ 3 ข้อคือ

   6.1 คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเป็นผู้กำหนดนโยบาย

   6.2 สปสช.เป็นผู้มีเงินงบประมาณ

   6.3 องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นกำลังจะถ่ายโอนภารกิจและบุคลากรไปจากกระทรวงสาธารณสุช

 


แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินงานภายใต้ พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545


 1.แก้ไขพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545ในประเด็นที่สำคัญดังนี้

   1.1 ให้สปสช.เป็นกรมหนึ่งในกระทรวงสาธารณสุข เพราะมีหน้าที่ “จ่ายค่าบริการสาธารณสุข” เท่านั้น

   1.2 ใช้มาตรการทางกฎหมายตรวจสอบการทำงานของสปสช.ในกรณีที่สปสช.ทำผิดพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 ดังกล่าวแล้ว

    1.3  ขยายสิทธิในหลักประกันสุขภาพให้ครอบคลุมประชาชนทุกคนเป็นระบบเดียว

   1.4 ประชาชนที่ยากจนได้รับการดูแลรักษาสุขภาพฟรี ประชานที่มีเงินควรมีส่วนร่วมจ่าย


2. กระทรวงสาธารณสุขควรได้รับการจัดสรรงบประมาณโดยตรงไม่ต้องผ่านคนกลางเช่นสปสช. ไม่ว่าด้านเงินเดือนบุคลากรงบประมาณในการดำเนินการ และงบประมาณในการพัฒนาคุณภาพการบริการสาธารณสุขแยกต่างหากจากงบประมาณค่าใช้ จ่ายรายหัวในการรักษาพยาบาล โดย ที่โรงพยาบาลระดับจังหวัดไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลทั่วไปหรือโรงพยาบาลศูนย์การ แพทย์ ควรได้รับงบประมาณในการพัฒนาศักยภาพการให้บริการทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง เพื่อประชาชนจะได้รับการรักษาโรคที่มีความยุ่งยากซับซ้อน โดยม่ต้องส่งผู้ป่วยไปรักษาต่อในกทม.


3. ภาคประชาชน

3.1 ควรแก้ไขให้ประชาชนทั้งปะเทศมีสิทธิเหมือนกันในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

3.2ต้องมีระบบร่วมจ่าย (co-payment) ทั้ง นี้เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนให้เกิดความสนใจในการดูแลสร้างเสริม สุขภาพของตนเอง จะได้มีสุขภาพดีและลดอัตราการเจ็บป่วย เพื่อจะได้ลดอัตราการพึ่งพาบริการของโรงพยาบาล โดยคนยากจนได้รับการบริการพื้นฐานจำเป็นฟรี คนไม่จนต้องร่วมจ่าย และการร่วมจ่ายในกรณีการรักษาเกินพื้นฐาน และเป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงที่สามารถป้องกันได้ ส่งผลดีในการรักษามาตรฐานวิชาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการดูแลรักษาโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง


4.แก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากรสาธารณสุข

4.1 การกำหนดมาตรฐานภาระงานบุคลากร ไม่ควรมีภาระงานที่เกินอัตรากำลังจนไม่สามารถรักษามาตรฐานวิชาชีพ

4.2 สร้างขวัญกำลังใจและแรงจูงใจในการทำงานในภาครัฐ โดยการปรับระบบเงินเดือนและค่าตอบแทนให้เกิดความยุติธรรม เหมาะสมกับความขาดแคลน ภาระงานและความรับผิดชอบ

4.3 มีการแยกบัญชีเงินเดือน การกำหนดตำแหน่ง และความก้าวหน้าในวิชาชีพ แยกจากกพ. เนื่องจากลักษณะงานที่แตกต่างจากกระทรวงอื่น รวมทั้งภาระงานจะเพิ่มมากขึ้น ไม่สามารจำกัดอัตรากำลังได้ สมควรจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจในการร่างพ.ร.บ.ข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขและ ดำเนินการอย่างจริงจัง สามารถแก้ไขได้อย่างเป็นรูปธรรมในระยะเวลาอันรวดเร็วและเหมาะสม

4.4 มีหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดสรรบุคลากร การกำหนดอัตรากำลังและค่าตอบแทนที่เหมาะสม เป็นธรรม และเปรียบเทียบได้กับราคาตลาด เพื่อเป็นแรงจูงใจให้บุคลากรยังทำงานราชการเพื่อดูแลรักษาประชาชนทั่วไป ไม่ขาดแคลนบุคลากร อันจะนำไปสู่มาตรฐานการแพทย์ที่ดี เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตและสุขภาพของประชาชน

 

 


หน้า: [1] 2 3 ... 6