ผู้เขียน หัวข้อ: เปิดวิจัยสื่อพบ'ความเกลียดชัง'เกลื่อนเว็ปไซต์  (อ่าน 1121 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9779
    • ดูรายละเอียด
เครือข่ายนักวิชาการ-วิชาชีพสื่อปี 55 Media Convergence ประเด็นร้อนวงการพบ"ความเกลียดชัง"เกลื่อนเว็ปไซต์-ทีวีดาวเทียมการเมือง

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย โครงการเสริมสร้างสื่อมวลชนศึกษาเพื่อสุขภาวะ(Media Monitor) มูลนิธิสื่อมวลชนศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมจัดประชุมเครือข่ายนักวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน ประจำปี2555

โดยเป็นการประชุมสัมมนาในหัวข้อ "ยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์"ครั้งที่ 3 ทั้งนี้เป็นการแลกเปลี่ยนมุมมองจากนักวิชาการ นักวิชาชีพ ในประเด็นของสื่อมวลชนในสภาวการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะการหลอมรวมของสื่อ (Media Convergence) ซึ่งเกี่ยวพันกับทั้งโครงสร้างระบบทุน เนื้อหา กระบวนการการสร้างความหมายสังคมผ่านสื่อ ฯลฯ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายในการประชุม โครงการเสริมสร้างสื่อมวลชนศึกษาเพื่อสุขภาวะ (Media Monitor) ได้มีการเผยแพร่ผลการศึกษาในหัวข้อ "Hate Speech ในเว็ปไซต์ และทีวีดาวเทียม การเมือง" ซึ่งเป็นการศึกษาระหว่างวันที่ 12-18มิถุนายนที่ผ่านมา โดยที่ช่วงดังกล่าวนั้นได้เกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง

เนื่องด้วยเกิดกรณีกาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 วาระ 3 รวมถึงกรณีการชะลอการลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 3 กรณีโหวตล้มค้านคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ กรณีการโต้ตอบระหว่างนายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีกับ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ กรณีทุจริตคอร์รัปชั่นของนักการเมือง อาทิ คดีสนามกอล์ฟอัลไพน์ ฯลฯ

โดยเกณฑ์ในการศึกษาศึกษาเว็ปไซต์ทางการเมืองนั้น ได้เลือกเว็ปไซต์ที่มีการอัพเดทเนื้อหาสม่ำเสมอ แบ่งเป็น3กลุ่มคือ

1.เว็ปไซต์ของผู้สนับสนุนกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

2.เว็ปไซต์ของผู้สนับสนุนกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ

3.เว็ปไซต์ของกลุ่มที่ไม่เลือกข้างทางการเมือง ขณะที่การเลือกทีวีดาวเทียมทางการเมืองนั้น ได้เลือกจากสถานีที่มีจุดยืนทางการเมืองชัดเจน 3 กลุ่มคือ

1.สถานีที่สนับสนุนกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
2.สถานีที่สนับสนุนกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
3.สถานีที่สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ รวมทั้งสิ้น4สถานี

จากนั้นได้เลือกศึกษาสถานีละ1รายการที่ได้รับความนิยมจากผู้ชมหรือมีการแสดงความเห็นที่ก่อให้เกิด Hate Speech ได้แก่ รายการประชาชนข่าว (ช่องAsia Update) รายการคนเคาะข่าว (ช่องASTV) รายการสายล่อฟ้า (ช่อง Blue sky Chanel)และรายการ The Daily Dose(ช่อง Voice TV)

จากนั้นวิเคราะห์ลักษณะการใช้ Hate Speech 3รูปแบบ ได้แก่ 1.การลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เช่น การหยามเหยียดฝ่ายตรงข้าม การดูถูกว่าต้อยต่ำ การเปรียบเทียบเป็นสัตว์ 2.การลดคุณค่า คือการกล่าวโจมตี การด่าด้วยคุณค่าด้านลบ ลดทอนการกระทำ ลดทอนอุดมการณ์ทางการเมือง และ3.การชี้นำสู่ความรุนแรง คือการแสดงออกที่นำไปสู่การปลุกเร้าให้เกิดความรุนแรง เช่น การขมขู่ อาฆาตมาดร้าย การกล่าวปลุกปั่น การปะทะ การต่อสู้

ทั้งนี้ผลการศึกษาการใช้ Hate Speech พบว่าเว็ปไซต์ทางการเมืองมีการใช้ Hate Speech ทั้ง3ลักษณะ ได้แก่ 1.ด้านการลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ พบ4ลักษณะ คือการเปรียบเทียบกับสัตว์ การเหยียดชนชั้น การเปรียบเทียบกับอมนุษย์ การเหยียดเชื้อชาติ ถิ่นกำเนิด

2.ด้านการลดคุณค่า พบ9ลักษณะ คือ การโจมตีว่าชั่วร้าย โหดเหี้ยม โง่เขลา ขี้โกหก เห็นแก่เงิน ขี้ขลาด ขี้โกง น่าขยะแขยง-น่ารังเกียจ บ้า-เสียสติ และหน้าด้าน

3.ด้านการชี้นำสู่ความรุนแรง พบ2ลักษณะ คือการข่มขู่-อาฆาต การปลุกปั่นให้เกิดความรุนแรง ส่วนทีวีช่องการเมือง พบการใช้Hate Speech 2ลักษณะ ได้แก่ 1.การลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ คือการเปรียบเทียบกับสัตว์ และ2.ด้านการลดคุณค่า พบ4ลักษณะ คือการโจมตีว่าชั่วร้าย-โหดเหี้ยม ขี้โกหก ขี้โกง และโง่เขลา

อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบการใช้ Hate Speech ที่พบในสื่อทั้งสองพบว่า เว็ปไซต์การเมืองมีสัดส่วนเนื้อหาที่เข้าข่าย Hate Speech มากกว่า และมีลักษณะที่หลากหลายกว่าทีวีดาวเทียมช่องการเมือง

นอกจากนี้เนื้อหาที่เข้าข่าย Hate Speech ในเว็ปไซต์การเมืองจะมุ่งไปที่ทั้งพรรคและกลุ่มการเมืองภาคประชาชน ส่วนทีวีดาวเทียมช่องการเมืองพบว่าเนื้อหาส่วนใหญ่จะเข้าข่ายโฆษณาชวนเชื่อ แต่พบการใช้Hate Speech น้อยและมุ่งไปที่พรรคการเมืองเท่านั้น

นอกจากนี้ ประเด็นที่พบมากทั้ง 2 สื่อ คือ กรณีการชะลอแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ3 และกรณีการโหวตล่มค้านคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ กรณีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ไม่คืนรถยนต์กันกระสุน กรณีการตอบโต้ระหว่างนายพานทองแท้กับ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ผ่านเฟสบุ๊ค

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์  11 ตุลาคม 2555