ผู้เขียน หัวข้อ: สช.ดัน4ยุทธศาสตร์ ส่งเสริมการเดินและปั่นจักรยานเพื่อสุขภาพ  (อ่าน 1009 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9787
    • ดูรายละเอียด
สช.จัดกิจกรรม"เดินปั่น สายฝันนโยบาย"ภายใต้แนวคิด มองอนาคตนโยบายส่งเสริมการเดินและใช้จักรยาน โดยมีข้อเสนอในการจัดทำยุทธศาสตร์ 4 ด้าน ผลักดันให้เกิดการรณรงค์ให้คนไทยหันมาใช้การเดินและปั่นจักรยานมากขึ้น เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ลดอัตราการเจ็บป่วย ให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐ
       
       สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) ได้จัดการแถลงข่าวในหัวข้อ "มองอนาคตนโยบายส่งเสริมการเดินและใช้จักรยาน" เนื่องมาจากปัจจุบันคนจำนวนมากเลือกการเดินทางด้วยรถยนต์แม้ในระยะทางสั้นๆ ภายใต้เหตุผลหลักคือ ความสะดวกสบาย สุดท้ายความเคยชินทำให้กลายเป็นพฤติกรรมและนิสัยของคนทั่วไป การเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางมาเป็นรถยนต์ ยังทำให้ผู้เดินทางต้องนั่งอยู่กับที่ ทำให้มีกิจกรรมทางกาย(Physical Activity) ในชีวิตประจำวันลดลงถึงขั้นไม่เพียงพอทำให้ส่งผลทางด้านลบต่อสุขภาพ เกิดการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง
       
       ดร.ศิรินา ปวโรฬารวิทยา ประธานกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ(คจ.สช.) กล่าวว่า ทุกวันนี้ถ้าหากว่าอยากมีสุขภาพที่ดีก็ต้องเริ่มต้นที่ตนเอง สมัชชาสุขภาพแห่งชาติจึงจัดกิจกรรม "เดินปั่น สานฝันนโยบาย" ส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีการเดินช่วยได้ ถ้าเดินอย่างถูกต้อง การเดินและการปั่นจักรยานเป็นเรื่องง่ายๆที่ทำได้ทุกวัน แต่การใช้จักรยานก็ยังขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคลด้วย เนื่องจากการดำเนินชีวิตของแต่ละคนไม่เหมือนกันฉะนั้นควรเลือกใช้ให้สะดวก กับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของตนเอง เชื่อว่าถ้าเริ่มโครงการและปฎิบัติกันในวันนี้ อีก 10 ปีข้างหน้าเด็กและคนไทยจะแข็งแรงและมีสุขภาพร่างกายที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน
       
       ศ.ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์ ประธานคณะทำงานวิชาการเฉพาะประเด็น "การจักระบบและโครงสร้าง เพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน" กล่าวว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยได้จัดทำนโยบายและแผนพัฒนาหลายฉบับ ทั้งในประเทศและระดับสากลที่ประเทศไทยเข้าร่วม แต่นโยบายที่ผ่านมาขาดความต่อเนื่องและไม่มีการศึกษาว่าทางจักรยานที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่จะเป็นอย่างไร ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนผู้ใช้ และขาดการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้คนมาใช้เส้นทางที่เตรียมไว้ จึงทำให้ไม่สามารถนำเส้นทางมาใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
       
       "ในการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 พ.ศ.2555 นี้ภายใต้แนวคิด ทุกนโยบาย ห่วงใยสุขภาพ ต้องการผลักดันให้ทุกภาคส่วนมามีส่วนร่วมแบบบูรณาการ สร้างความรู้และรณรงค์ให้เกิดความตื่นตัวในการส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานมากขึ้น นำกฏหมายที่มีอยู่ไปใช้อย่างจริงจัง มุ่งสู่การมีระบบขนส่งและจราจรที่ยั่งยืน พัฒนาเมืองให้น่าอยู่ จัดทำยุทธศาสตร์ การจัดระบบโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน เสนอให้รัฐกำหนดเส้นทางที่ใช้ในการเดินและการใช้จักรยานเป็นนโยบายสาธารณะและวาระแห่งชาติ โดยมีข้อเสนอในการจัดทำยุทธศาสตร์ 4 ด้าน ได้แก่

1.ด้านการบริหารจัดการเพื่อให้การส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน
2.ด้านการสร้างและพัฒนาระบบและโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยาน
3.ด้านการส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานด้วยมาตรการทางกฏหมายระเบียบข้อบังคับ การเงิน และ
4.ด้านการสร้างองค์ความรู้ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ สร้างความตระหนักตื่นตัวและทักษะ รวมทั้งพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารและการจัดการความรู้ เกี่ยวกับการเดินและการใช้จักรยาน" ดร.ธงชัย กล่าว
       
       ธงชัย กล่าวต่อว่า การผลักดันให้หันมาใช้การเดินและใช้จักรยานมีส่วนช่วยในเรื่องของเศรษฐกิจ ลดการใช้น้ำมัน หากใช้การเดินหรือใช้จักรยานแทนที่การใช้รถยนต์สัปดาห์ละ 1 วัน ประชาชนจะประหยัดค่าน้ำมันได้เฉลี่ย 5,200 บาท/คัน/ปี (คิดจากฐานการจ่ายค่าน้ำมันวันละ100 บาท) การเดินทางโดยใช้ความเร็วต่ำยังจะช่วยลดอุบัติเหตุ ลดมลพิษ จากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงมากในช่วงที่ผ่านมาอีกด้วย ทำให้มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น จากการไม่ต้องอารมณ์เสียในการจราจร การช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางแต่ละวัน แต่ใช่ว่าการปั่นจักรยานจะไม่มีข้อเสีย ข้อเสียของมันก็คือ ความอันตราย หากแต่ก็ไม่ได้อันตรายมากอย่างที่คิด ในเรื่องของการขับขี่ตนคิดว่าไม่ต้องมีทางเฉพาะก็ได้ หากคนที่ปั่นจักรยานขับขี่ด้วยจิตสำนึกที่ดี
       
       ด้าน นพ.อรรพล แก้วสัมฤทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ ๑ กล่าวว่า ในช่วง พ.ศ.2547-2552 ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน(Overweight) เพิ่มจากร้อยละ 28.7 เป็น 38.7 และเป็ฯโรคอ้วน(Obesity) เพิ่มจากร้อยละ 26.1 เป็น 32.1 หรือคิดเป็นร้อยละ 35 ของประชากรที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ผลสำรวจล่าสุดยังพบว่ามีคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปเป็นโรคอ้วนติดอันดับ 5 ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยมีคนอ้วยมารกถึง 17 ล้านคนทั่วประเทศและยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกปีละประมาณ 4 ล้านคน หากทำกิจกรรมการเดินและใช้จักรยาน เชื่อว่าจำนวนตัวเลขนี้จะมีการลดลงอย่างแน่นอน แต่ทั้งนี้ไม่ได้ขึ้อยู่กับการทำกิจกรรมเพียงอย่างเดียวต้องมีการลดควบคู่กับการควบคุมปริมาณการรับประทานอาหารไปด้วยเพื่อให้มีความสมดุลกัน โดยมีหลักการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควบคุมอาหาร 3 อ. 2 ส. คือ 3 อ. ได้แก่

1.อาหาร การบริโภคอาหารที่เหมาะสม ปลอดภัย ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผักผลไม้
2.ออกกำลังกายอย่างเพียงพอ และ
3.สามารถจัดการอารมณ์ความเครียดได้เหมาะสม

ส่วน2 ส. ได้แก่
1.ไม่ดื่มสุรา และ
2.ไม่สูบบุหรี่ ซึ่งเป็นวิธีง่ายๆในการลดความอ้วนควบคู่กับการทำกิจกรรมส่งเสริมร่างกาย
       
       ทั้งนี้ ในวันที่ 18-20 ธ.ค. ที่จะถึงนี้จะมีการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 ภายใต้แนวคิด "ทุกนโยบาย ห่วงใยสุขภาพ" เพื่อเสนอให้มีการสนับสนุนให้ภาคีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติทั่วประเทศ ทุกองค์กร ส่งเสริมและสนับสนุนการเดินและการใช้จักรยานเป็นวิธีการเดินทางในระยะสั้นที่สำคัญในเขตเมือง พร้อมขอให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ และมอบหมายให้หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกำหนดเป็นโยบายหลัก ให้กระทรวงคมนาคมส่งเสริมการเชื่อมต่อการเดินทางกับระบบขนส่งสาธารณะด้วยการเดินเท้าและใช้จักรยาน รวมถึงกำหนดพื้นที่จำกัดความเร็วของยานยนต์ในเขตเมือง และเขตชุมชนต่อไป

ASTVผู้จัดการออนไลน์    14 ธันวาคม 2555