ผู้เขียน หัวข้อ: รมว.สธ.กำชับรพ.รัฐ-เอกชนทุกแห่งห้ามปฏิเสธรักษา‏  (อ่าน 1026 ครั้ง)

ABBA

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2105
    • ดูรายละเอียด
รมว.สธ. กำชับ รพ.ทั้งภาครัฐเอกชน ต้องให้การดูแลรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินที่อยู่ในภาวะวิกฤติอย่างไม่มีเงื่อนไข ห้ามปฏิเสธการรักษา ขู่ หากพบฝ่าฝืนมีความผิดตามพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ.2551

วันที่ 13 พ.ค. นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ กรณี นโยบายรัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาผู้บาดเจ็บและเจ็บป่วยฉุกเฉินที่อยู่ในภาวะ วิกฤติ ให้ได้รับบริการที่มีคุณภาพมาตรฐานโดยเร็ว เพื่อลดการเสียชีวิตและความพิการ ตามนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉิน ถึงแก่ชีวิต ไม่ถามสิทธิ์ ใกล้ที่ไหน ไปที่นั่น ที่เริ่มดำเนินการ ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2555 เป็นต้นมา ซึ่งที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากโรงพยาบาลเอกชน   อย่างไรก็ตาม ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งทำความเข้าใจกับประชาชน และเน้นย้ำให้โรงพยาบาลทุกแห่งทั้งภาครัฐและเอกชน ดูแลผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินให้พ้นขีดอันตราย โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น

นายวิทยา กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ได้ให้สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ดูแลให้สถานพยาบาลทุกแห่ง ดำเนินการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินตามกฎหมายคือพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ.2551 ซึ่งสถานพยาบาลจะต้องให้การช่วยเหลือเยียวยาผู้ป่วยที่อยู่ในอันตราย จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาพยาบาลอย่างฉุกเฉิน จนพ้นอันตรายตามมาตรฐานทางวิชาชีพ และเต็มขีดความสามารถของสถานพยาบาลก่อนส่งต่อ ยกเว้นกรณีที่แพทย์รับรองว่าการส่งต่อจะช่วยป้องกันการเสียชีวิตหรือความรุนแรงของการเจ็บป่วยของผู้ป่วยได้ ซึ่งโรงพยาบาลทุกแห่งที่มีเตียงรับผู้ป่วย ทั้งรัฐและเอกชนจะมีห้องฉุกเฉินเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยเบื้องต้น

ทั้งนี้ หากพบว่าโรงพยาบาลไม่ว่าจะเป็นรัฐหรือเอกชน ปฏิเสธไม่รับผู้ป่วยฉุกเฉินเข้ารับการรักษา   จะ มีความผิดตามพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ.2551 โดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติจะส่งหนังสือให้สถานพยาบาลปฏิบัติตามกฎหมาย ในกรณีโรงพยาบาลเอกชนจะส่งเรื่องให้สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ พิจารณาดำเนินการตามกฎหมายสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ส่วนโรงพยาบาลรัฐจะส่งเรื่องไปยังหน่วยงานต้นสังกัด รวมทั้งจะส่งเรื่องให้สภาวิชาชีพดำเนินการด้านจริยธรรมกับ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานต่อไป

นายวิทยา กล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมา ได้รับการร้องเรียนโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งที่เกาะช้าง จังหวัดตราด ปฏิเสธไม่รับผู้ป่วยจมน้ำ ให้ส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลเกาะช้างที่อยู่ไกลออกไป 20 กิโลเมตร โดยอ้างว่าไม่มีเจ้าหน้าที่เพียงพอ  ได้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราดและกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายต่อไป.

Thairath.co.th