แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - story

หน้า: 1 ... 529 530 [531] 532 533 ... 535
7951
เอเอฟพี - นักวิทยาศาสตร์พบหลักฐานระบุ สงครามรบพุ่งภายในแผ่นดินมังกร และการรุกรานจากข้าศึกภายนอกในช่วง 2 พันปีในอดีต เกิดจากแรงขับของสภาพภูมิอากาศ ที่หนาวเย็นลง มากกว่าแรงขับจากระบบศักดินาสวามิภักดิ์, การต่อสู้ทางชนชน หรือความเลวทรามของคณะผู้ปกครองอย่างที่นักประวัติศาสตร์ให้เหตุผลกันโดยทั่วไป
       
       ทฤษฎีที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างสภาพดินฟ้าอากาศกับความวิบัติหายนะ เช่น ภัยแล้ง, น้ำท่วม และการแห่ลงมากินพืชผลในไร่นาของตั๊กแตนฝูงมหึมา ซึ่งนำไปสู่การล่มสลาย หรือการสถาปนาราชวงศ์จีนนั้น มิใช่เรื่องใหม่อะไร
       
       แต่ก็ยังไม่มีใครสามารถวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ อันโกลาหลวุ่นวายมายาวนานของจีนได้อย่างเป็นระบบ เพื่อแสดงให้เห็นว่า สภาพภูมิอากาศและสังคมจีนอาจมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไรบ้าง
       
       จนกระทั่งคณะนักวิทยาศาตร์ของจีนและยุโรป ซึ่งมีนาย จาง จื้อปิน จากสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติของจีนในกรุงปักกิ่งเป็นหัวหน้า ได้ตัดสินใจนำข้อมูลในช่วงกว่า 1,900 ปีมาเปรียบเทียบกัน 2 ชุด
       
       ผลงานวิจัยชิ้นนี้ตีพิมพ์ในวารสาร “ the British Journal Proceedings of the Royal Society B.” โดยพวกเขาขุดค้นลงไปในกองเอกสารประวัติศาสตร์ แล้วก็พบความถี่ของการเกิดสงคราม, ข้าวยากหมากแพง, การถล่มพืชไร่ของฝูงตั๊กแตน,ความแห้งแล้ง และอุทกภัย
       
       ขณะเดียวกัน ก็ได้จำลองแบบของสภาพภูมิอากาศในช่วงเวลาเหล่านั้น เพื่อพิจารณาเทียบเคียง
       
       “การล่มสลายของราชวงศ์ในสังคมเกษตรกรรมได้แก่ราชวงศ์ฮั่น (ค.ศ.25-220), ถัง (ค.ศ.618-907), ซ่งเหนือ (ค.ศ.960-1125), ซ่งใต้ (ค.ศ.1127-1279) และหมิง (ค.ศ.1368-1644) มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับระดับอุณหภูมิอากาศ ที่ต่ำ หรืออุณหภูมิอากาศ ที่ลดลงอย่างรวดเร็ว” นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้สรุป
       
       นอกจากนั้น การขาดแคลนอาหารในหมู่อาณาราษฎรน่าจะทำให้ราชวงศ์เหล่านี้อ่อนแอลง ขณะเดียวกัน การขาดแคลนอาหารยังผลักดันให้พวกชนเผ่าเลี้ยงสัตว์เร่ร่อนทางภาคเหนือ ซึ่งอุณหภูมิอากาศลดต่ำลงได้ง่ายอยู่แล้ว บุกโจมตีดินแดนทางใต้ โดยอุณหภูมิอากาศ ที่ลดลงเฉลี่ย 2.0 องศาเซลเซียสต่อปี อาจทำให้ฤดูกาลเติบโตของต้นหญ้าในทุ่งราบ หดสั้นลงถึง 40 วัน
       
       งานวิจัยชี้ว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจนำไปสู่การจลาจล และสงคราม โดยตั้งข้อสังเกตว่า จักรวรรดิโรมันและมายาก็ถึงกาลอวสานในระหว่างที่สภาพอากาศมีความหนาวเย็นด้วยเช่นกัน
       
       นอกจากนั้น ยังสันนิษฐานว่า การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอากาศในแต่ละยุคสมัยทุก ๆ 160 หรือ 320 ปีนั้น น่าจะเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ เช่น ความผันผวนที่เกี่ยวกับดวงอาทิตย์, การโคจรของโลก และการเอียงของแกนโลก
       
       อย่างไรก็ตาม หลักฐานประวัติศาสตร์ ที่พวกเขาพบนั้น ชี้ว่า ภาวะโลกเย็นต่างหากเล่าคือเจ้าตัวการร้าย หาใช่ภาวะโลกร้อนอย่างที่มนุษย์ในปัจจุบันกำลังเผชิญกันแต่อย่างใด

7952
รพ.จุฬาฯ อวดนวัตกรรมหุ่นยนต์จัดเตรียมหลอดเลือดอัตโนมัติ ร่นเวลาตรวจจากเดิม 1 ชม.เหลือ 20 นาที ศักยภาพเยี่ยมตรวจบริการคนได้เร็วขึ้น

วันนี้ (16 ก.ค. ) ศ.นพ.อดิศร ภัทราดูลย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวภายในงานแถลงข่าวนวัตกรรมไทยประดิษฐ์ “หุ่นยนต์จัดเตรียมหลอดเลือดอัตโนมัติ” เครื่องแรกของประเทศไทย ที่ตึก ภปร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ว่า จากสถานการณ์การเข้าใช้บริการภายในโรงพยาบาลจุฬาฯที่มีผู้ป่วยนอกสูงถึงปีละ 1.2 ล้านราย เป็นผู้ป่วยในปีละประมาณ 5-6 หมื่นราย และส่วนใหญ่จะต้องเจาะเลือดเพื่อให้แพทย์ทำการวินิจฉัยโรค โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ด้วยโรคเบาหวาน จากการบิรการดังกล่าวถ้าเป้นช่วงเวลาเร่งด่วนตั้งแต่ 07.00-09.00 น.จะมีผู้ป่วยรอคิวเจาะเลือดราว 300 ราย จากผู้ป่วยที่เข้าใช้บริการทั้งวันตกประมาณ 2,000 ราย ส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการให้บริการ จากปัญหาที่มีทาง รพ.จุฬาฯ จึงเล็งเห็นปัญหาดังกล่าว อีกทั้งเพื่อพัฒนา รพ.สู่ความเป็นเลิศระดับโลก ( World Class hospital) และมหาวิทยาลัยระดับโลก (World Class University) ฝ่ายเวชศาสตร์ชันสูตร รพ.จุฬาฯ และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้ประสานความร่วมมือกับบริษัท เซนนิเมต (ประเทศไทย) จำกัด สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติพัฒนา หุ่นยนต์จัดเตรียมหลอดเลือดอัตโนมัติ ที่ชื่อราเบลอน (Rabelon) ซึ่งเป็นฝีมือคนไทยขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศ ซึ่งก็ประสบความสำเร็จและสามารถนำมาใช้บริการใน รพ.จุฬาฯ เพื่อนำร่องและในอนาคตก็อาจจะเผยแพร่นวัตกรรมไปสู่โรงพยาบาลอีกหลายแห่งในประเทศไทย
       
       “ นวัตกรรมที่มีช่วยให้การกระบวนการในการเก็บตัวอย่างเลือดเป็นไปอย่างรวดเร็ว สะดวกและถูกต้อง ลดระยะเวลาในการให้บริการด้วย เพราะหุ่นยนต์ทำช่วยในการลำเลียงหลอดเลือดจากห้องเจาะเลือดไปยังห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็วและสะดวก ทำให้ช่วงเวลาเร่งด่วนในการเจาะเลือดลดลงกว่าครึ่ง จากระบบเดิมใช้เวลาตรวจนานถึง 1 ชั่วโมง แต่ถ้าใช้หุ่นยนต์นั้นจะใช้เวลาแค่ 20 นาที และสามารถตรวจคนไข้ได้เพิ่มขึ้นจาก 300 ราย เพิ่มเป็น 600 รายในช่วงเวลาเร่งด่วน ” ศ.นพ.อดิศร กล่าว
       
       ด้าน ศ.นพ.เทวารักษ์ วีรวัฒน์กานนท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านงานสนับสนุนบริการผู้ป่วย กล่าวว่า ศักยภาพการทำงานของหุ่นยนต์ฯ สามารถจำแนกหลอดเลือดได้ถึง 8 แบบที่เหมาะกับเลือดแต่ละชนิด และเมื่อเจาะเลือดแล้วเสร็จจะลำเลียงไปยังห้องตรวจวิเคราะห์เลือดทันที ซึ่งประโยชน์หลักๆ คือ ช่วยให้ทำงานได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำขึ้น และจากที่ได้ทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพที่ช่วยลดเวลากระบวนการเจาะเลือด พบว่า ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ใช้เวลา 44 นาทีต่อคน เหลือเพียง 20 นาทีต่อคนในเดือนมิถุนายน และหากเวลาไม่เร่งด่วนประมาณ 9.00 น.ขึ้นไป จะเหลือเพียงไม่ถึง 10 นาทีต่อคนเท่านั้น อีกทั้งยังสามารถจัดเตรียมหลอดเลือดได้ประมาณ 1,440 หลอดต่อชั่วโมง ซึ่งประเทศญี่ปุ่นมีการพัฒนาหุ่นยนต์ลักษณะนี้แล้ว แต่ราคาสูงถึง 15 ล้านบาท ขณะที่ของไทยมีราคาถูกกว่ามากเพียง 4 ล้านบาทเท่านั้น อย่างไรก็ตาม หุ่นยนต์ดังกล่าวยังเป็นเพียงหุ่นยนต์ลำเลียง ซึ่งการเจาะเลือดยังต้องใช้พยาบาลในการดำเนินการ แต่คาดว่า ในอนาคตอาจมีการพัฒนาหุ่นยนต์ที่มีศักยภาพในการเจาะเลือดได้เอง
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 กรกฎาคม 2553 

7953
เขียนโดย Webmaster Consumerthai   
วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน 2010 เวลา 15:18

เครือข่ายผู้บริโภคเรียกร้องรัฐบาลเร่งออกกฎหมายคุ้มครองผู้ป่วยที่เสียหาย เพื่อลดการฟ้องร้องแพทย์ ย้ำ แพทยสภาต้องจริงใจต่อการแก้ไขปัญหาการฟ้องร้อง ปัญหาความขัดแย้งระหว่างแพทย์และคนไข้ พร้อมจะเดินหน้าตรวจสอบการทำหน้าที่ของแพทยสภาและองค์กรวิชาชีพ consumerthai - 28 มิ.ย.53 เครือข่ายผู้บริโภค เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีเอดส์ประเทศไทย เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ชมรมผู้ป่วยโรคไต เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพภาคประชาชน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ ย้ำ แพทยสภาต้องจริงใจต่อการแก้ไขปัญหาการฟ้องร้อง ปัญหาความขัดแย้งระหว่างแพทย์และคนไข้ เพราะกฎหมาย "พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....” เป็น เครื่องมือที่สำคัญในการช่วยไม่ให้คนไข้ฟ้องแพทย์ เพราะคนไข้ที่ได้รับความเสียหายได้รับการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น

พร้อมย้ำ กฎหมายฉบับนี้ มีไม่น้อยกว่า 5 ประเด็นที่เครือข่ายองค์กรข้างต้นไม่เห็นด้วย แต่ก็ต้องยอมรับให้รัฐบาลนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของรัฐสภา และยืนยันหลักการกฎหมายฉบับนี้จะช่วยลดการฟ้องร้องของคนไข้ เพราะคนไข้หากมีความเสียหายก็จะได้รับการชดเชยที่เหมาะสม ผู้บริโภคไม่ต้องมีภาระในการฟ้องคดี

เครือข่ายองค์กรข้างต้น ในฐานะผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข พ.ศ. ... โดยการเข้าชื่อประชาชน ๑๐,๐๐๐ ชื่อ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ขอยืนยันถึงเจตนารมณ์และเป้าหมายสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ ๓ ประการ คือ ๑) การชดเชยผู้เสียหายจากระบบบริการสาธารณสุข ๒) ลดการฟ้องร้องระหว่างแพทย์และคนไข้ ๓) พัฒนาคุณภาพ มาตรฐานระบบบริการสาธารณสุขในประเทศไทย

เป็นที่รับรู้และยอมรับกัน ทั่วโลกว่า ความผิดพลาดทางการแพทย์ (Medical Error) สามารถเกิดขึ้นได้ แม้จะให้การรักษาอย่างดีที่สุดตามมาตรฐานวิชาชีพแล้วก็ตาม ดังนั้นควรมีกลไกการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายที่มีประสิทธิภาพ เพื่อลดการฟ้องร้อง และนำข้อผิดพลาดมาพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการบริการต่อไป

ถึงแม้ประเทศไทยจะมี พรบ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่มีกลไกการช่วยเหลือเบื้องต้นตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๔๑  โดยไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิด แต่ก็ครอบคลุมเฉพาะผู้เสียหายที่ใช้สิทธิหลักประกันแห่งชาติ (บัตรทอง) เท่านั้น ยังไม่ครอบคลุมผู้เสียหายในระบบสวัสดิการข้าราชการและประกันสังคม อีกทั้งยังเป็นการช่วยเหลือเบื้องต้น(ไม่เกินสองแสนบาท) ที่มีความจำกัดในเรื่องวงเงินงบประมาณ ทำให้ไม่สามารถเยียวยาให้ผู้เสียหายสามารถมีชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรีและมี คุณภาพชีวิตที่ดีได้
ดังนั้นเครือข่ายผู้บริโภค จึงขอเรียกร้องต่อรัฐบาล ดังนี้

๑. ขอให้รัฐบาลเร่งพิจารณาและผ่าน ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข พ.ศ. .... โดยเร็ว และให้มีสาระสำคัญเป็นไปตามกรอบของร่างที่เสนอโดยเครือข่ายผู้บริโภคและ ประชาชน อาทิเช่น 
- สำนักงานเลขานุการตามกฎหมายฉบับนี้ ต้องแยกออกจากกระทรวงสาธารณสุข ทั้งนี้เพื่อให้มีความเป็นกลาง เข้าถึงได้ง่าย และไม่เป็นการขัดแย้งในเชิงบทบาทหน้าที่
แต่หากจำเป็น ต้องยึดแนวทางตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง “ไม่ให้มีการจัดตั้งสำนักงานที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลขึ้นใหม่” ก็ควรกำหนดให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นสำนักงานไปพลางก่อน เนื่องจากมีประสบการณ์ในการดำเนินงานช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติอยู่แล้ว และมีฐานะเป็นผู้ซื้อบริการ มิใช่ผู้ให้บริการอย่างกระทรวงสาธารณสุข

- องค์ประกอบของคณะกรรมการ ให้มีองค์ประกอบจากผู้แทนสถานพยาบาล และผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานคุ้มครองสิทธิด้านบริการสุขภาพ ในสัดส่วนที่เท่ากัน ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้แทนจากสมาคมวิชาชีพหรือสภาวิชาชีพ เพราะบทบาทที่สำคัญของคณะกรรมการ คือ การพิจารณาว่าเป็นความเสียหายที่เกิดจากการรับบริการสาธารณสุขจริงหรือไม่ โดยไม่ได้พิจารณาว่ามีผู้ใดต้องรับผิดหรือไม่ และไม่เกี่ยวพันกับการสอบสวนหรือลงโทษโดยสภาวิชาชีพ เพื่อให้การชดเชยเป็นไปโดยรวดเร็วและเป็นธรรมและต้องใช้หัวใจของความเป็น มนุษย์

๒.ขอให้เร่งออกกฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครอง ผู้บริโภค เพื่อให้องค์กรผู้บริโภคสามารถทำหน้าที่ติดตาม ตรวจสอบการทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคของหน่วยงานต่างๆ ได้อย่างสมบูรณ์

สุด ท้าย เครือข่ายผู้บริโภค ใคร่ขอเรียกร้องให้สังคมร่วมกันตรวจสอบการทำหน้าที่ของแพทยสภา และติดตามตรวจสอบพฤติกรรมของกรรมการแพทยสภาบางคน รวมทั้งแพทย์บางกลุ่ม ว่าได้ทำหน้าที่เหมาะสมกับความเป็นวิชาชีพแพทย์เพื่อประชาชนหรือไม่ หรือทำเพียงเพื่อผลประโยชน์ทางอำนาจและธุรกิจ

7954
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)  กล่าวภายหลังการประชุมผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ว่า กรมอนามัยแจ้งให้ที่ประชุมทราบเกี่ยวกับการที่คณะอนุกรรมการของคณะกรรมการ อนามัยเจริญพันธุ์แห่งชาติยกร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองอนามัยการเจริญพันธุ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยสาระสำคัญเป็นการออกกฎหมายเพื่อรับรองและคุ้มครองสิทธิให้กับประชาชน ทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย ให้ได้รับบริการการอนามัยเจริญพันธุ์อย่างทั่วถึง ด้วยการจัดให้มีสถานบริการให้คำปรึกษาและให้บริการอนามัยเจริญพันธุ์ในสถาน พยาบาลทุกสังกัด อีกทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องต้องขัดขวางการลาคลอด การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และต้องช่วยเหลือสตรีตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมมีบุตรและไม่พร้อมในการเลี้ยงดูบุตร ร่าง พ.ร.บ.นี้จะมีคณะกรรมการคุ้มครองอนามัยเจริญพันธุ์แห่งชาติ (กอช.) ที่มีรัฐมนตรี สธ.เป็นประธาน ปลัด สธ.และปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นรองประธาน และผู้ทรงคุณวุฒิ 14 คนเป็นคณะกรรมการ หลังจากนี้กรมอนามัยจะนำร่างกลับเข้าสู่การพิจารณาของคณะอนุกรรมการ ซึ่งได้สั่งการให้ทำประชาพิจารณ์อย่างน้อย 1 ครั้ง ก่อนเสนอคณะกรรมการอนามัยเจริญพันธุ์แห่งชาติและเสนอเข้าที่ประชุมคณะ รัฐมนตรี (ครม.)

นายจุรินทร์กล่าวว่า มาตรา 12 ที่กำหนดให้นักเรียน นักศึกษาที่ตั้งครรภ์ศึกษาต่อได้และสามารถลาคลอดได้นั้นให้คณะอนุกรรมการนำ ไปเป็นประเด็นหนึ่งในการพิจารณาอย่างรอบคอบและทำประชาพิจารณ์เพราะมีความ เห็นที่หลากหลายต่อประเด็นนี้ ทั้งในส่วนที่เกรงจะเป็นการส่งเสริมค่านิยมให้เด็กในวัยเรียนตั้งครรภ์ ขณะที่อีกส่วนเห็นว่าเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนต่อ เพราะหากตัดโอกาสการเรียนเท่ากับเป็นการซ้ำเติมอนาคตเด็ก

"การไล่เด็กที่ตั้งครรภ์ออกจากการศึกษาแบบที่ผ่านมา ไม่ได้ทำให้ตัวเลขเด็กตั้งครรภ์ลดลง แต่กลับลงโทษเด็กจนเสียอนาคต ซึ่งการออกพ.ร.บ.นี้ก็เพื่อให้สอดคล้องกับ มาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ที่กำหนดว่าสุขภาพของหญิงในด้านสุขภาพทางเพศ และสุขภาพของระบบเจริญพันธุ์ ซึ่งมีความจำเพาะซับซ้อนและมีอิทธิพลต่อสุขภาพหญิงตลอดช่วงชีวิต ต้องได้รับการสร้างเสริมและคุ้มครองอย่างสอดคล้องและเหมาะสม" นายจุรินทร์กล่าว

นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ในแต่ละปีมีสตรีอายุต่ำกว่า 20 ปี คลอดประมาณร้อยละ 15 ของผู้หญิงที่คลอดในแต่ละปี ขณะที่ตามมาตรฐานสากลกำหนดให้ไม่ควรเกินร้อยละ 10 ส่วนเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี พบว่ามีการคลอดบุตรประมาณร้อยละ 1.5 ต่อปี เมื่อประมาณการจากที่คนไทยคลอดปีละ 8 แสนราย เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จะคลอดบุตรราว 1 หมื่นรายต่อปี ส่วนอัตราการทำแท้งของคนไทยโดยภาพรวมประมาณ 1 แสนรายต่อปี
วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เวลา 12:47:25 น.   มติชนออนไลน์ 

7955
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2553 ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษายกฟ้อง กิจการร่วมค้าพีสแควร์ไทยคอม และ บริษัท พีสแควร์ โฮลดิ้ง จำกัด ที่ได้ยื่นฟ้องกระทรวงสาธารณะสุข ที่ 1 และรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข ที่ 2 กับพวกรวม 4 ราย เป็นคดีพิพาทที่ฝ่ายผู้ยื่นฟ้องกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ ชอบด้วยกฎหมายในกรณีให้มีการยกเลิกการประกวดราคาจัดซื้อจัดคอมพิวเตอร์ มูลค่า 900 ล้านบาทโดยไม่ชอบ และเป็นการละเมิด พร้อมเรียกค่าเสียหาย 1,200 ล้านบาท

ศาลปกครองกลางได้วินิจฉัยในข้อสาระสำคัญของข้อพิพาทว่า ปลัดกระทรวงสาธารณะสุขมีอำนาจสั่งยกเลิกการประกวดราคาได้ ถือเป็นการกระทำที่มีอำนาจและไม่นอกเหนือหน้าที่ นอกจากนี้ยังเห็นว่าฝ่ายผู้ฟ้องคดีผิดคุณสมบัติทางเทคนิค ด้าน Hardware โดยผู้ฟ้องคดีเสนอไม่ตรงตามเกณฑ์ขั้นต่ำตามที่กำหนดในเอกสารประกวดราคาเป็น การผิดเงื่อนไขในสาระสำคัญของทางราชการ การสั่งยกเลิกการประกวดราคา จึงเป็นการใช่ดุลพินิจโดยชอบ

สำหรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ ขณะดำรงตำแหน่ง) ศาลเห็นว่าตำแหน่งรัฐมนตรีอยู่ในฐานะผู้มีอำนาจสั่งซื้อเท่านั้น คดีนี้ปรากฏว่าการยกเลิกการประกวดราคาเป็นการยกเลิกการประกวดราคาก่อนจะมี การเสนอให้รัฐมนตรีว่าการฯ สั่งซื้อ ดังนั้นการยกเลิกการประกวดราคาจึงเป็นเรื่องของปลัดกระทรวงสาธารณะสุขไม่ เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการ และแม้ต่อมารัฐมนตรีว่าการจะได้วินิจฉัยอุทธรณ์ว่าการยกเลิกการประกวดราคา ตามที่ปลัดกระทรวงสาธารณะสุขดำเนินการ ก็ถือว่าการวินิจฉัยของรัฐมนตรีที่ได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นไปโดยชอบด้วย กฎหมายแล้วจึงไม่เป็นละเมิดต่อฝ่ายผู้ฟ้องคดีและไม่จำต้องชดใช้ค่าสินไหมทด แทนแก่ผู้ฟ้องคดี

ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) พิจารณาสั่งยกโทษ นพ.ชาตรี บานชื่น นพ.เทียม อังสาชน นพ.ชาญวิทย์ ทระเทพ นายวริทธินันท์ จินดาถาวรกิจ และ นพ.สมชาย เชื้อเพชระโสภณ ซึ่งได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งลงโทษตัดเงินเดือนของกระทรวงสาธารณสุขฐานกระทำผิด วินัยกรณีการจัดซื้อและติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อการบริหารข้อมูลข่าวสารด้านการเงิน การคลัง และข้อมูลโรงพยาบาล ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข มูลค่า 900 ล้านบาทมาก่อนหน้านี้แล้ว

โครงการคอมพิวเตอร์เริ่มจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติให้ สธ.ดำเนินการประกวดราคาซื้อ และติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อการบริหารข้อมูลข่าวสารด้านการเงิน การคลัง และข้อมูลโรงพยาบาลของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขมูลค่าประมาณ 911.7 ล้านบาท ซึ่งเริ่มมีการดำเนินการในเดือนธันวาคม 2546 ในสมัยของคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้มีการตั้งคณะกรรมการพิจารณาผลประกวดราคา โดยให้ นพ.ธวัช สุนทราจารย์ รองปลัด ขณะนั้นเป็นประธาน แต่หลังจากคณะกรรมการพิจารณาด้านเทคนิคได้สรุปผลการพิจารณาว่ามีบริษัทที่ ผ่านเกณฑ์ 2 บริษัทได้แก่ บริษัทไพร์มลิงค์ จำกัด และกิจการร่วมค้าพีสแควร์ไทยคอม เพียง 1 วัน นพ.ธวัช ก็ลาออกจากการเป็นประธานในวันที่ 8 เม.ย. 2547

ต่อมา นพ.ชาตรี บานชื่น ผู้ตรวจราชการกระทรวงฯ มารับหน้าที่แทนในวันที่ 9 เม.ย. 2547 และมีการร้องเรียนขอความเป็นธรรมและประกวดราคาอีกหลายครั้ง จนยกเลิกการประกวดราคาในที่สุด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าภายหลังจากทราบคำตัดสินของศาลปกครอง คุณหญิงสุดารัตน์ได้ให้ที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมายเผยแพร่ข่าวสื่อมวลชน
วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เวลา 17:06:56 น.   มติชนออนไลน์ 

7956
เครือข่ายผู้บริโภค เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีเอดส์ประเทศไทย เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ชมรมผู้ป่วยโรคไต เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพภาคประชาชน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ คณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ (กพอ.) ได้จัดการเสวนาเรื่อง "การเกิด พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการบริการ สาธารณสุข จะทำให้หมอถูกฟ้องอาญาจริงหรือ" ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 5 สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

  โดยมี นส.บุญยืน สิริธรรม จากเครือข่ายองค์กร ผู้บริโภค ผศ.ดร.ยุพดี ศิริสินสุขกรรมการ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค นส.สุภัทรา นาคะผิว ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้าน เอดส์ และประธานคณะกรรมการองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ นางปรียานันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธาน เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ เข้าร่วมในการเสวนาครั้งนี้ โดยได้มีการออกแถลงการณ์เพื่อแสดงเจตนารมย์ ในการยืนยันกฏหมายคุ้มครองผู้ป่วยที่เสียหาย เพื่อการลดการฟ้องร้องแพทย์ ดังนี้

"เครือข่ายผู้บริโภค เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีเอดส์ประเทศไทย เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ชมรมผู้ป่วยโรคไต เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพภาคประชาชน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ คณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ (กพอ.) ยืนยัน "ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข " ซึ่งกำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในสมัยประชุมหน้า (เดือนสิงหาคมนี้) เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ระหว่างแพทย์และคนไข้ โดยจะช่วยไม่ให้เกิดการฟ้องแพทย์ เพราะคนไข้ที่ได้รับความเสียหายได้รับการชดเชยจากความเสียหายที่ เกิดขึ้น

 ดังนั้นผู้ที่จะได้ รับประโยชน์โดยตรงจากกฏหมายฉบับนี้ คือ คนไทยทั้งประเทศ 65 ล้านคน ซึ่งรวมทั้งแพทย์และผู้ป่วย ที่ผ่านมา มีข่าวและความเห็นที่สร้างความ เข้าใจผิดในสาระสำคัญอย่างมากซึ่งอาจสร้างความเข้าใจผิดต่อกลุ่ม แพทย์และสาธารณชนโดยรวม ทั้งนี้ กฏหมายฉบับนี้ มีหลักการสำคัญ 3 ประการคือ

1. กองทุนชดเชยผู้เสียหายจากระบบบริการสาธารณสุข เพื่อลดการฟ้องร้องระหว่างแพทย์และคนไข้ที่ครอบคลุมผู้รับบริการ ในทุกสิทธิการรักษา เพราะเป็นที่รับรู้และยอมรับกันทั่วโลกว่า ความผิดพลาดทางการแพทย์ (Medical Error) นั้น สามารถเกิดขึ้นได้

2. คณะกรรมการกลาง และสำนักงานที่เป็นอิสระ โดยองค์ประกอบของคณะกรรมการ ให้มีองค์ประกอบจากผู้แทนสถานพยาบาล และผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำ งานคุ้มครองสิทธิด้านบริการสุขภาพ ในสัดส่วนที่เท่ากัน  ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้แทนจากสมาคมวิชาชีพหรือสภา วิชาชีพ เพราะบทบาทที่สำคัญของคณะกรรมการ คือการพิจารณาว่าเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรับบริการ สาธารณสุขจริงหรือไม่ โดยไม่ได้พิสูจน์ ถูกผิด และไม่เกี่ยวพันกับการสอบสวนหรือลงโทษโดยสภาวิชาชีพ เพื่อ ให้การชดเชยเป็นไปโดยรวดเร็วและเป็นธรรม และต้องใช้หัวใจของความเป็นมนุษย์

3. พัฒนาคุณภาพ มาตรฐานระบบบริการสาธารณสุขในประเทศไทยปัญหาเรื่องความ กังวลในเรื่องการฟ้องอาญาแพทย์นั้น หากดูจากข้อเท็จจริงไม่พบว่ามีคนไข้ที่อยากฟ้องอาญาแพทย์

   จากข้อมูลของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ทั้งหมด 33 ราย ในปี 2552 ผู้ป่วยทั้ง 100 % ไม่มีความประสงค์จะฟ้องอาญา แพทย์ หรือจากข้อมูลของเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ที่มีผู้เสียหายเข้ามาปรึกษากว่า 600 ราย มีเพียงไม่ถึง10 ราย ที่จำเป็นต้องฟ้องอาญา เพราะการพิจารณาคดีโดยแพทยสภาล่าช้า จนทำให้เกิดปัญหาการหมดอายุความของคดี ผู้เสียหายอยู่ในภาวะจำยอมที่จะ ต้องเลือกฟ้องเพื่อทำให้อายุความเพิ่มขึ้นเท่านั้น

นอกจากนี้การฟ้อง ร้องส่วนใหญ่ เป็นการฟ้องร้องโรงพยาบาลหรือกระทรวงสาธารณสุข ไม่ใช่การฟ้องแพทย์แต่อย่างใด ดังนั้นแพทยสภา ควรเปิดเผยข้อมูลการร้องเรียนที่ชัดเจน ไม่ใช่การสร้างความตระหนกให้เกิดในหมู่แพทย์โดยที่ไม่มีข้อมูลและ ข้อเท็จจริง

เครือข่ายประชาชน ข้างตน ขอตั้งข้อสังเกตว่า การต่อต้าน "ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข " และขบวนการให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อนขณะนี้ ที่มีการเคลื่อนไหวเป็นระบบอย่างผิดปกตินั้น มีความเกี่ยวเนื่องกับการหาเสียงเลือกตั้งแพทยสภาชุดใหม่ที่กำลัง จะมีขึ้นในต้นปีหน้าหรือไม่

นอกจากนี้ เครือข่ายประชาชนข้างต้น ยังขอให้สาธารณชนจับตาและตรวจสอบการคัดค้าน การจ่ายเงินสมทบของโรงพยาบาลเอกชนนั้น เกี่ยวพันกับการที่โรงพยาบาลไม่ต้องการเปิดเผยรายได้ที่แท้จริงหรือ ไม่

สุดท้าย เครือข่ายประชาชน ขอเรียกร้องให้รัฐบาลแสดง ความจริงใจในการปฏิรูปการเมืองและสังคม ด้วยการผลักดัน "ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข" ฉบับนี้ เพราะนี่คือรูปธรรมของการปฏิรูปสังคมที่แท้จริง

ผศ.ดร.ยุพดี ศิริสินสุข กล่าวว่าสาระสำคัญของ ร่างพระราชบัญญัตินี้ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อคนไทยทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่ได้รับความเดือดร้อนจากการรักษา พยาบาล โดยกล่าวว่า กระบวนการฟ้องอาญาแพทย์ไม่ได้เกิดมาจากสาระสำคัญ ซึ่งภาคประชาชนเป็นผู้ขับเคลื่อน และนักกฎหมายคณะกรรมการกฤษฎีกา บางคน ก็ได้ให้ความเห็นว่านี่คือสิทธิพื้นฐานของประชาชนในฐานะที่เป็นพ ลเมืองไทย การฟ้องอาญาเป็นเรื่องที่สามารถทำได้อยู่แล้วโดยที่ไม่จำ เป็นต้องมีร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มารองรับแต่อย่างใด  และไม่มีผู้ป่วยคนใดที่ต้องการฟ้องแพทย์อย่างแน่นอน แต่หากทำไปเพราะเกิดจากสถานภาพจำยอม

 เนื่องจากกระบวนการ ยุติธรรมนอกศาลซึ่งก็คือแพทยสภา ซึ่งผู้ป่วยคาดหวังว่าจะสามารถ พึ่งพาได้อย่างเป็นธรรมและรวดเร็ว ไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริง ดังนั้นผู้ป่วยจำเป็นต้องทำการฟ้องอาญาเพื่อที่จะคงสภาพของอายุ ความไว้

แพทยสภาในปัจจุบัน นี้ควรมีส่วนเกี่ยวข้องกับประเด็นนี้ให้มากขึ้น โดยที่ไม่จำเป็นต้องกังวลต่อการที่ผู้ป่วยจะมาทำการฟ้องร้อง แต่นำความผิดพลาดมาพัฒนาระบบความปลอดภัยให้ผู้ป่วย บุคลากรทางสาธารณสุขในปัจจุบันเป็นที่พึ่งของประชาชนโดยแท้จริง การออกมาแสดงความเชื่อหรือไม่เชื่อในสิ่งที่รับฟังนั้นควรใช้วิจารณญาณ เนื่องจากปัจจุบันเรามีร่างกฏหมายจำนวน 7 ฉบับ ซึ่งรอการพิจารณาจากสภา บุคลากรจึงจำเป็นต้องศึกษาสาระสำคัญด้วยตนเอง และไม่เอนเอียงไปฝั่งใดฝั่งหนึ่ง"

นส.สุภัทรา นาคะผิว กล่าวว่า การมีหรือไม่มีกฏหมายฉบับนี้ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือก่อให้เกิดสิทธิ ประโยชน์เพิ่มขึ้นในเรื่องของการฟ้องคดีอาญากับแพทย์แต่อย่างใด ซึ่งก่อนหน้านี้ เราเคยมีกองทุนลักษณะนี้ในมาตรา 41 พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ซึ่งเป็นกองทุนที่ถูกจัดตั้งขึ้นในเบื้องต้นเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ ได้รับความเสียหายจากการรับบริการในระบบหลักประกันสุขภาพ

 เจตนารมย์หลักของ กฏหมายฉบับนี้ คือการขยายการคุ้มครองผู้เสียหายที่ไปรับบริการทาง สาธารณสุขให้ไปถึงผู้ที่อยู่ในกองทุนอื่นด้วย เช่น กองทุนประกันสังคม กองทุนสวัสดิการข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งนั่นหมายถึงคนไทยทั้งหมด จะได้รับประโยชน์จากกองทุน

โดยพบว่าปัญหาของกอง ทุนในมาตรา 41 ที่มีผู้ร้องเรียนนั้น ได้รับการชดเชยเป็นจำนวนเงินประมาณ 73 ล้านบาท ความกังวลของบุคลากรทางการแพทย์จากการได้ข้อมูลที่ผิดนั้น ไม่ได้เกิดจากภาคประชาชนเพื่อหวังที่จะให้เกิดข้อขัดแย้งระหว่าง ผู้ป่วยและแพทย์ให้มากขึ้น และแพทย์จะเป็นกลุ่มคนที่ได้รับผลประโยชน์ จากกฏหมายฉบับนี้

  ส่วนสิทธิในการฟ้องร้องคดีอาญาหรือคดีในทางแพ่งอื่นๆ เป็นสิทธิของประชาชนทุกคนที่ได้รับความเสียหายอยู่แล้ว นอกจากนั้นกฏหมายฉบับนี้ยังต้องการที่จะให้มีการคุ้มครองแบบย้อน หลัง โดยคนที่มีปัญหาฟ้องร้องกับแพทย์และต้องการใช้สิทธิในกองทุน นี้ ก็สามารถทำได้เช่นกัน ในกรณีที่ย้อนหลังไป 120 วัน ซึ่งจะช่วยลดคดีความต่างๆในศาลด้วย

นางปรียานันท์ ล้อเสริมวัฒนา กล่าวว่า การใช้กฏหมายเดิมมาแก้ไขปัญหา ไม่ก่อให้เกิดผลดีต่อทั้งสองฝ่าย บุคลากรทางการแพทย์เกิดความตระหนกและหวั่นไหว ในขณะที่ทางผู้ป่วยถูกปิดกั้นหนทางในการแสวงหาความยุติธรรมในทุก รูปแบบ จึงมีการเคลื่อนไหวเพื่อขอให้รัฐบาลหาทางแก้ไขปัญหานี้มา โดยตลอด
  จนกระทั่งอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์มงคล ณ สงขลา ได้ส่งให้มีการยกร่างฉบับนี้ ซึ่งไม่ได้มีเพียงแค่กลุ่มเครือข่ายฯเท่า นั้นที่เป็นผู้ร่างกฏหมาย แต่ประกอบด้วยหน่วยงานหลายภาคส่วน โดยผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา และกรรมการแพทยสภาก็ได้เข้าร่วมด้วย ทุกครั้ง แต่ก็ยังออกมาเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าแคลงใจเป็นอ ย่างยิ่ง เนื่องจากนี่คือทางออกเดียวของคนไข้ ซึ่งคงไม่มีความสามารถในการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาได้แน่ นอน ส่วนสาเหตุที่ทางเครือข่ายต้องอกมาทำการเรียกร้อง เกิดจากสาเหตุ อาทิ

-หน่วยงานต่างๆมักจะ ดึงเวลา จนหมดอายุความทางแพ่ง จึงจำเป็นต้องแจ้งความเพื่อนำเอาอายุ ความที่ยาวกว่ามาใช้การฟ้องร้องคดีแพ่ง

-การเจรจาใช้เวลาในการไกล่เกลี่ยนานเกิน ไป และไม่สามารถเจรจาจบได้ในครั้งเดียว ซึ่งทำให้ความคับแค้นใจก่อตัวเพิ่ม ขึ้น การมีพระราชบัญญัติฉบับนี้จะช่วยล ดระยะเวลาความเจ็บป่วยของผู้ป่วย ลดแรงปะทะระหว่างสถานบริการทาง การแพทย์และผู้รับบริการ โดยพระราชบัญญัติฉบับนี้จะมี ข้อดีในการชดเชยความเสียหายไม่เพียงเฉพาะตัวเงินเท่านั้น แต่เป็นการรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องอีกด้วย

 เนื่องจากมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ส่วนเรื่องคดีอาญานั้น ก็แทบจะไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใด โดยเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ จะยุติบทบาทในทันที หากพระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลบังคับใช้ จะไม่มีการฟ้องร้องแพทย์และไม่มี การรวมตัวเคลื่อนไหวอีกต่อไป เนื่องจากไม่ต้องการสร้างความเดือดร้อนใดๆให้สังคมอีก หากกลุ่มใดต้องการเรียกร้อง ก็ควรจะทำการเคลื่อนไหวในสภา ซึ่งน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด


7957
"เอ็นจีโอ” ออกแถลงการณ์ดัน “ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ” ช่วยลดปัญหาขัดแย้งแพทย์ผู้ป่วย ด้าน “ เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ” ประกาศยุติบทบาททันทีหากกฎหมายมีผลบังคับใช้ แถมไม่มีการฟ้องหมอทั้งแพ่งและอาญาอีกต่อไป เพราะผู้ป่วยได้รับการชดเชยแล้ว พร้อมวิงวอนวิชาชีพแพทย์ พยาบาล เข้าใจและเลิกต้าน ขณะที่ “ เครือข่ายผู้บริโภค ” ตั้งข้อสังเกตหมอบางกลุ่มเคลื่อนไหว ให้ข้อมูลผิดๆ เหตุหวังผลคะแนนเสียงเลือกตั้ง คกก.แพทยสภาปีหน้า

ที่สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 9 ก.ค.เครือข่ายองค์กรผู้บริโภค เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และศูนย์ประสานงานหลักประสุขภาพภาคประชาชน ร่วมออกแถลงการณ์ยืนยัน “ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ... ” ที่กำลังเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร์ในสมัยประชุมในเดือนสิงหาคมนี้ โดย น.ส.บุญยืน ศิริธรรม ตัวแทนเครือข่ายผู้บริโภคภาคตะวันตก กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุขจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างแพทย์และคนไข้   ช่วยไม่ให้เกิดการฟ้องแพทย์ เพราะเป็นการชดเชยผู้ป่วยที่ได้รับความเสียหาย

ดังนั้นผู้ที่ได้ประโยชน์โดยตรงจากกฎหมายฉบับนี้คือคนไทยทั้งประเทศ 65 ล้านคน ทั้งนี้ที่ผ่านมามีข่าวและความเห็นที่สร้างความเข้าใจผิดในสาระสำคัญของกฎหมายอย่างมาก สร้างความเข้าใจผิดต่อกลุ่มแพทย์และสาธารณชนโดยรวม ทั้งๆ ที่กฎหมายฉบับนี้มีหลักการสำคัญคือ การตั้งกองทุนชดเชยเพื่อลดการฟ้องร้อง และครอบคลุมทุกระบบการรักษา เพราะเป็นที่รู้กันทั่วโลกว่า ความผิดพลาดทางการแพทย์สามารถเกิดขึ้นได้ โดยมีคณะกรรมกลางอิสระพิจารณา ไม่มีการพิสูจน์ถูกผิด และไม่เกี่ยวพันกับการสอบสวนหรือลงโทษโดยสภาวิชาชีพ

 น.ส.บุญยืน กล่าวว่า ส่วนปัญหาการฟ้องร้องอาญาแพทย์นั้น ข้อเท็จจริงไม่มีคนไข้ที่อยากฟ้องแพทย์ จากข้อมูลของเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ในจำนวนผู้เสียหายที่เข้ามาปรึกษา 600 ราย มีไม่ถึง 10 ราย ที่ฟ้องคดีอาญา สาเหตุมาจากการพิจารณาของแพทยสภาที่ล่าช้าจนเกิดปัญหาอายุความแพ่งที่จะหมดลง จึงต้องยืนฟ้องคดีอาญาเพื่อยืดอายุความคดีแพ่งออกไป นอกจากนี้การฟ้องส่วนใหญ่เป็นการฟ้องโรงพยาบาลและกระทรวงสาธารณสุข ไม่ใช่การฟ้องร้องแพทย์ด้วย

 “ แพทยสภาควรพูดให้ชัด เพราะผู้เสียหายไม่ได้ฟ้องแพทย์แต่ฟ้องหน่วยงาน ดังนั้นแพทยสภาไม่ควรให้ข้อมูลที่สร้างความตื่นตระหนกให้เกิดในหมู่แพทย์ ทั้งที่ไม่เป็นข้อเท็จจริง อีกทั้งไม่ได้ทำให้การฟ้องแพทย์เพิ่มขึ้น แต่ช่วยลดปัญหาการฟ้องแพทย์ลง เพราะผู้เสียหายได้รับการเยียวยาโดยเร็ว ” น.ส.บุญยืน กล่าว และว่า ขอตั้งข้อสังเกตว่าการต่อต้านของแพทย์บางกลุ่มที่เป็นขบวนการให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อนและเคลื่อนไหวเป็นระบบอย่างผิดปกตินั้น เกี่ยวเนื่องกับการหาเสียงเลือกตั้งแพทยสภาชุดใหม่ที่กำลังจะมีขึ้นในต้นปีหน้านี้หรือไม่ เนื่องจากมีอดีตกรรมการแพทยสภาบางคนเป็นคนเปิดเรื่องนี้

 ด้าน นางปรียานันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่าวว่า เครือข่ายฯ ก่อตั้งมา 8 ปีแล้ว เหมือนว่าเรายืนคนละฝั่งกับวิชาชีพมาโดยตลอด ซึ่งในการแก้ไขปัญหามองว่า การฟ้องร้องไม่ใช่ทางออกที่ดีเพราะทำให้บุคลากรทางการแพทย์หวั่นไหว ขณะที่คนไข้ก็ถูกปิดกั้นการหาข้อมูลทุกรูปแบบ ส่งผลให้ความขัดยังรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งตนก็ไม่อยากเป็นส่วนหนึ่งความขัดแย้งอีกต่อไป จึงเสนอขอให้รัฐบาลหาทางแก้ไขปัญหานี้มาโดยตลอด จนมีการยกร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข แต่ไม่เข้าใจว่า เมื่อ ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ที่มาจาการเสนอของทุกภาคส่วน ผ่านการพิจารณาของกฤษฎีกาและกำลังเข้าสู่การพิจารณาในรัฐสภา ทำไมแพทยสภาเพิ่งออกมาเคลื่อนไหว ทั้งๆ ที่ในการประชุมพิจารณาในชั้นกฤษฎีกามีตัวแทนแพทยสภาเข้าร่วมทุกครั้ง หรือว่าไม่ต้องการเห็นสังคมมีความสงบสุขหรืออย่างไร เพราะกฎหมายฉบับนี้เป็นทางออกเพียงทางเดียงของคนไข้ ปัญหานี้เหมือนกับลูกโป่งหากถูกกดดันมากจะให้พวกเราใช้ความรุนแรงหรืออย่างไร 

 นางปรีญานันท์ กล่าวว่า ส่วนการฟ้องคดีอาญาที่แพทย์ตระหนกนั้น ขอชี้แจงให้สบายใจว่า สาเหตุเป็นการฟ้องเพื่อดึงคดีแพ่งที่มักถูกดึงโดยหน่วยงาน เพื่อให้คดีมีอายุความยืดเป็น 10 ปี และการเจราจาไกล่เกลี่ยมักใช้เวลานานมาก มีการปิดกั้นการขอเวชระเบียนทำให้เกิดความโกรธและฟ้องร้อง ขณะที่กฎหมายฉบับนี้จะทำให้การชดเชยรวดเร็ว ไม่เพียงแต่ชดเชยแต่เฉพาะเรื่องเงินเท่านั้น แต่ยังช่วยรักษาต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังการเป็นยุติคดีทางแพ่งโดยสิ้นเชิง เพราะมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ส่วนการฟ้องอาญาแพทย์นั้นตัดไปได้เลย เพราะเมื่อผู้ป่วยได้รับการชดเชยก็ไม่รู้จะไปจ้างทนายเพื่อฟ้องทำไมอีก

 “ เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ขอประกาศว่า หาก ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุขบังคับใช้เมื่อไหร่ เราจะตั้งโต๊ะแถลงข่าวประกาศเลิกเครือข่ายอย่างเป็นทางการ จะไม่มีการฟ้องหมอ หรือรวมตัวกันอีกต่อไป เพราะกลไกลที่เข้ามาดูแลแล้ว และเราเองไม่อยากเป็นส่วนหนึ่งความขัดแย้ง สร้างปัญหาให้สังคม เพราะสังคมไทยวันนี้แตกแยกพอแล้ว และไม่อยากมีมือที่ 3 มาใช้ความเจ็บปวดในชีวิตพวกเรามาหาผลประโยชน์ เคลื่อนไหวทางใดทางหนึ่งต่อไป และขอวิงวอนให้ฝ่ายวิชาชีพเลิกต่อต้าน และหันมาช่วยกันหาทางออกของปัญหา หากจะเคลื่อนไหวขอให้ไปในสภาเพื่อหาทางออกร่วมกัน ซึ่งคิดว่าเป็นทางออกของคนที่มีปัญญา เราเลิกทะเลาะกันเถอะ เพราะตัวเองก็เบื่อ มันหลายปีมาแล้ว ” ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่าว

 น.ส.สุภรัทา นาคะผิว ประธานคณะกรรมการองค์กรเอกชนด้านเอดส์ กล่าวว่า ยืนยันว่ากฎหมายฉบับนี้ไม่ได้มุ่งให้เกิดการฟ้องอาญาแพทย์ เพียงแต่เป็นการขยาย มาตรา 41 ในการชดเชยผู้เสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์ ใน พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้ครอบคลุมระบบหลักประกันอื่นๆ ด้วย ซึ่งจากข้อมูลหลังที่ได้บังคับใช้มาตราดังกล่าวในช่วง 6-7 ปี มีผู้ขอใช้สิทธิ์เพียง 810 ราย ในจำนวนนี้ผ่านเกณฑ์รับการชดเชย 660 ราย และมีการจ่ายเงินชดเชย 73 ล้านบาท หรือเฉลี่ยคนละ 100,000 บาทเท่านั้น ทั้งนี้เห็นว่าความกังวลของบุคลากรทางการแพทย์ที่เกิดขึ้น มาจากการให้ข้อมูลที่ผิด ซึ่งยืนยันว่าร่างกฎหมายฉบับนี้จะช่วยลดปัญหาฟ้องร้องแพทย์ได้ ทั้งนี้อยากให้แพทย์อ่านเนื้อหาร่างกฎหมายให้ดี อย่าฟังเพียงแต่ข้อมูลที่มีคนนำเสนอ


7958
นายกแพทยสภา ขวาง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายฯ แนะชะลอ พ.ร.บ.นี้ไปก่อนแล้วนำมาศึกษาให้รอบคอบ หวั่นประเทศชาติล่มจมเงินไม่พอจ่ายชดเชย

นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวว่า   โดยส่วนตัวเห็นด้วยในหลักการว่า หากมี พ.ร.บ.นี้แล้วจะลดปัญหาการฟ้องร้องแพทย์ลงได้ แต่เมื่อดูจากเนื้อหาข้างในวิธีการปฏิบัติไม่ได้เป็นอย่างนั้น จึงเป็นห่วงว่าประเทศชาติจะเดือดร้อน เพราะจะมีการไปเก็บเงินจาก รพ.ซึ่งถ้าเป็น รพ.รัฐอาจจะทำให้งบประมาณที่จะนำมารักษาคนไข้ก็จะน้อยลง แต่ถ้าเป็น รพ.เอกชน อาจจะไปเก็บค่ารักษาจากคนไข้เพิ่ม ผลเสียก็ตกอยู่กับคนไข้

 “ดังนั้นส่วนตัวผมไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.นี้   จุดยืนคือขอให้มีการชะลอและถอนเรื่องออกไปก่อน แล้วนำมาศึกษาให้ดี ๆ   โดยนำบทเรียนในต่างประเทศมาดู ที่สำคัญคนไทยเรามักจะเรียกร้องมากกว่าฝรั่ง หากมี พ.ร.บ.นี้จะเอาเงินที่ไหนมาจ่ายให้กับผู้เสียหายทางการแพทย์ ผมมองว่า พ.ร.บ.นี้ไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหา ประเทศชาติจะล่มจมในระยะยาว เพราะต้องใช้งบประมาณจำนวนมากมาจ่ายค่าชดเชย ผลเสียก็จะตกอยู่กับคนไข้ เรื่องนี้ต้องบอกว่าเมื่อมีคนหนึ่งได้ก็ต้องมีคนหนึ่งเสีย ”นายกแพทยสภา กล่าว

7959
สธ.เร่งตั้งกรรมการสอบ SP2 เชื่อ ทุกขั้นตอนโปร่งใส จับตากรณีจัดซื้อครุภัณฑ์ยานพาหนะ โดยเฉพาะกรณีการจัดซื้อรถจักรยานยนต์และรถกระบะ โดยมีผู้ตรวจราชการสาธารณสุขทุกเขตทั่วประเทศ เป็นประธานคณะกรรมการขีดเส้นตาย 30 วัน
       
       วันนี้ (6 ก.ค. ) นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังการประชุมผู้บริหารส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ว่า นโยบายเร่งด่วนของ สธ.ในปีนี้ มีประเด็นหลักที่ต้องเร่งดำเนินการให้ทันภายในเดือน ก.ย.2553
       
       ประกอบด้วย โครงการพัฒนาบริการโรงพยาบาลสาธารณสุขยุคใหม่ เพื่อคนไทยสุขภาพดี มีรอยยิ้ม โครงการยกระดับสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) 2,000 แห่ง โครงการไทยเข้มแข็ง ซึ่งขณะนี้ทุกจังหวัดมีผลดำเนินงานคืบหน้าทุกเรื่อง โดยเฉพาะโครงการไทยเข้มแข็งในส่วนของพระราชกำหนดเงินกู้ ปี 2553 ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ปรับลดวงเงินเดิมจาก 11,515 ล้านกว่าบาท เหลือ 10,024 ล้านกว่า บาท ใน 5 กลุ่มรายการ ได้แก่ 1.สิ่งก่อสร้างภายใน 1 ปี 679 รายการ วงเงิน 4,340 ล้านบาทเศษ
       
       2.จัดซื้อครุภัณฑ์ที่มีสเปก 335 รายการ ได้แก่ รถยนต์บรรทุก รถยนต์โดยสาร เครื่องกำเนิดไฟฟ้า วงเงิน 253 ล้านบาทเศษ 3.จัดซื้อรถพยาบาลฉุกเฉินที่มีเครื่องมือแพทย์ ได้แก่ เครื่องกระตุ้นหัวใจ เครื่องช่วยหายใจใช้รับส่งผู้ป่วยจาก รพ.สต.829 คัน รถกระบะ 63 คัน วงเงินรวม 1,494 ล้านบาทเศษ 4.กลุ่มสิ่งปลูกสร้างผูกพัน 5 ปี 45 รายการ วงเงิน 2,178 ล้านบาทเศษ และ 5.กลุ่มครุภัณฑ์ประจำ รพ.สต.2,000 แห่ง วงเงิน 1,484 ล้านบาทเศษ
       
       นพ.ไพจิตร์ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้จังหวัดที่ได้รับจัดสรรอยู่ระหว่างดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง คาดว่า จะได้รายการส่วนใหญ่ภายในวันที่ 15 ก.ค.นี้ ได้เน้นย้ำให้ทุกจังหวัดปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 ด้วยความรอบคอบ โปร่งใส เพราะวงเงินค่อนข้างสูง โดยได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการใช้เงินในโครงการไทยเข้มแข็งเป็นการเฉพาะด้วย 1 ชุด โดยเฉพาะกรณีการจัดซื้อรถจักรยานยนต์และรถกระบะ โดยมีผู้ตรวจราชการสาธารณสุขทุกเขตทั่วประเทศ เป็นประธานคณะกรรมการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน
       
       ปลัด สธ.กล่าวเพิ่มเติมว่า หลังจากที่ สธ.ได้ปรับลดรายการต่างๆ ให้เหมาะสมแล้ว ยังมีเงินกู้ในส่วนของพระราชกำหนดเหลืออีก 1,490 ล้านบาท โดยมีนโยบายให้นำไปใช้พัฒนาสถานีอนามัยให้เป็น รพ.สต.เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่มีคุณภาพยิ่งขึ้น ในการพัฒนา รพ.สต.ทั้งหมด กระทรวงสาธารณสุขได้ตั้งสำนักงานประสานการพัฒนา รพ.สต.อยู่ที่อาคาร 3 ชั้น 7 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข มี นพ.เกษม เวชสุทานนท์ เป็นผู้อำนวยการ เพื่อเป็นศูนย์ประสานงานการพัฒนา รพ.สต.ทั่วประเทศ ทั้งเรื่องกำลังคน การใช้งบประมาณ และอื่นๆ เพื่อให้การดำเนินงานเกิดความสมบูรณ์ แบบยิ่งขึ้น และมีความพร้อมต่อการบริการประชาชนตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 6 กรกฎาคม 2553

7960
 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ประจำปีการศึกษา 2552 โดยกำหนดจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม และวันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม 2553 นี้ ณ หอประชุมจุฬาฯ
       
       อนึ่ง ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรวันแรก (พฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม) สภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

นอกจากนี้ยังมีผู้ทรงคุณวุฒิได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาต่างๆ ได้แก่ ม.จ.ภีศเดช รัชนี (วิทยาศาสตร์) รศ.ทญ.อัมพุช อินทรประสงค์ (ทันตแพทยศาสตร์) ศ.กิตติคุณ ดร.คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ (บริหารธุรกิจ) ภก.พล.ต.สุนันท์ โรจนวิภาต (เภสัชศาสตร์) นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ (รัฐศาสตร์) ศ.กิตติคุณ ศักดา ศิริพันธุ์ (วิทยาศาสตร์) รศ.ดร.ธัชชัย สุมิตร (วิศวกรรมศาสตร์) รศ.สดใส พันธุมโกมล (อักษรศาสตร์) ศ.ดร.มาร์ค เกรกอรี รอบสัน (สาธารณสุขศาสตร์) และผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์กิตติคุณ ได้แก่ ศ.นพ.สุขิต เผ่าสวัสดิ์ คณะแพทยศาสตร์ ศ.นพ.ดำรง เหรียญประยูร คณะแพทยศาสตร์ ศ.ดร.สุภางค์ จันทวานิช คณะรัฐศาสตร์ ศ.สุกัญญา สุดบรรทัด คณะนิเทศศาสตร์
       
       สำหรับกำหนดการเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรของบัณฑิตคณะต่างๆ มีดังนี้
       
       วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม 2553
       
       รอบเช้า ประกอบด้วย ดุษฎีบัณฑิต มหาบัณฑิต บัณฑิตคณะครุศาสตร์ คณะจิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ / มหาบัณฑิต บัณฑิตคณะสหเวชศาสตร์/ มหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ /ดุษฎีบัณฑิต มหาบัณฑิตคณะวิทยาศาสตร์
       
       รอบบ่าย ปริญญากิตติมศักดิ์ ศาสตราจารย์กิตติคุณ / รางวัลเงินทุนรัชดาภิเษกสมโภช / ดุษฎีบัณฑิต มหาบัณฑิต บัณฑิตคณะนิเทศศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ / ดุษฎีบัณฑิต มหาบัณฑิตคณะพยาบาลศาสตร์ / บัณฑิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คณะวิทยาศาสตร์ มหาบัณฑิต บัณฑิตคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา / ดุษฎีบัณฑิต มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย (สหสาขาวิชา)
       
       วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม 2553
       
       รอบเช้า ประกอบด้วย ดุษฎีบัณฑิต มหาบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี วิทยาลัยประชากรศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข / มหาบัณฑิต บัณฑิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ / ดุษฎีบัณฑิต มหาบัณฑิต บัณฑิตคณะเศรษฐศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
       
       รอบบ่าย ดุษฎีบัณฑิต มหาบัณฑิต บัณฑิตคณะเภสัชศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ / บัณฑิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ / บัณฑิตพยาบาลสภากาชาดไทย วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ / ผู้แทนขึ้นรับพระราชทานอนุปริญญาบัตร / ผู้รับเหรียญรางวัลในหลักสูตรปริญญาบัณฑิต / ผู้รับพระราชทานรางวัลและทุนการศึกษาในเงินทุนภูมิพล

ทั้งนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดรถโดยสารภายในไว้ให้บริการฟรี โดยวิ่งรถบริการทั้ง 2 ฝั่งของมหาวิทยาลัย
       
       สาย 1 วิ่งระหว่างศาลาพระเกี้ยว ถ.อังรีดูนังต์ สยามสแควร์ ถ.พญาไท คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ศาลาพระเกี้ยว
       
       สาย 2 เริ่มที่อาคารจามจุรี 9 คณะนิติศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ ถ.พญาไท จุฬาฯ ซอย 12 สิ้นสุดที่อาคารจามจุรี 9
       
       ในการนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยของดเว้นการนำรถยนต์ส่วนบุคคลมาร่วมงาน เนื่องจากมหาวิทยาลัยจะปิดประตูทางเข้าออกทุกประตู ไม่อนุญาตให้บุคลภายนอกนำรถเข้ามาจอดในมหาวิทยาลัย โดยประตูคณะรัฐศาสตร์ และประตูคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีจะเปิดและอนุญาตเฉพาะรถบุคลากรที่มีตราติดรถยนต์ของจุฬาฯ เท่านั้น
       
       อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยได้จัดที่จอดรถสำรองไว้ที่อาคารจัตุรัสจามจุรี อาคารจามจุรี 9 อาคารวิทยกิตติ์ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ อาคารมหาจักรีสิริธร เป็นต้น

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 6 กรกฎาคม 2553 

7961
ข่าวสมาพันธ์ / มันต้องถอน..มันต้องถอย
« เมื่อ: 30 มิถุนายน 2010, 23:35:58 »
               ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. ....
                     มันต้องถอน.............มันต้องถอย เพราะ ประชาชนส่วนใหญ่เสียประโยชน์   มีผลกระทบต่อระบบบริการสาธารณสุข    แต่ประชาชนส่วนน้อยคือผู้เสียหาย  และกลุ่ม  NGO บางกลุ่มที่ต้องการมีอำนาจควบคุมเงิน ได้ประโยชน์
เหตุผล
   
1.ชื่อไม่เป็นมงคล  ต่อวงการแพทย์ ส่อเค้าให้เกิดความเสียหายเป็นอาจินต์ ในความเป็นจริงไม่ใช่   ไม่ใช่เจตนารมณ์ของการแพทย์และการสาธารณสุข เราต้องการให้ผู้ป่วยหายจากโรคมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี

2. ชื่อ และเนื้อหาไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย  ทำลายสัมพันธภาพที่ดีระหว่างแพทย์และผู้ป่วย     และยิ่งตอกย้ำความไม่ไว้วางใจให้ร้าวลึกมากขึ้น   แพทย์ตรวจผู้ป่วยด้วยความระแวงว่าจะเกิดการฟ้องร้องหรือไม่   เกิดปรากฏการณ์ การแพทย์ที่ปกป้องตนเอง(defensive  medicine)     ซี่งคนทั่วไปยากที่จะเข้าใจ   ปัญหานี้เกิดขึ้นในปัจจุบันตั้งแต่ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ ฯ ม.41  ม42   และจะเกิดมากขึ้นในอนาคต ดังนี้ 
   2.1 ค่าใช้จ่ายในการแพทย์บานปลายมากขึ้นทั้งของรัฐและเอกชนเพราะแพทย์จะส่งตรวจและให้การรักษาเกินความจำเป็น  ร.พ.รัฐขาดทุน  505 แห่ง ต้นเหตุแห่งพ.ร.บ.ประกันสุขภาพฯ ( งบประมาณฯไม่พอ  ม.41และ ม.42 )  เราได้เตือนท่านแล้วแต่ไม่รับฟัง   หากเรียกเก็บเงินจากร.พ.ที่ขาดทุนอีกจะกระทบต่องานบริการของผู้ป่วยส่วนใหญ่อย่างแน่นอน
  2.2ผู้ป่วยหนักมีปัญหาซับซ้อนและรักษายากถูกส่งไปร.พ.ใหญ่มากขึ้น  รอคิวยาว  จนเสียชีวิตไปก่อน
  2.3ผู้ป่วยที่มีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง  ฉุกเฉินและรุนแรงเมื่อถูกส่งต่อจะได้รับการปฏิเสธ จนต้องเสียชีวิต ณ
ร.พ.เดิม เพราะไม่มีศักยภาพที่จะรักษา  และขาดขวัญกำลังใจในการพัฒนาการรักษาในโรคที่ยาก  เพราะทำแล้วร.พ.ขาดทุน  ผุ้รักษาเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องสูง

3.ไม่สอดคล้องเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญในประเด็นดังนี้
   3.1เลือกปฏิบัติไม่ให้ความเท่าเทียมในด้านสิทธิของทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการซี่งเกิดความเสียหายได้ทั้งคู่  เช่น  การติดโรคจากผู้รับบริการ   การถูกบังคับอยู่เวรนอกเวลาราชการจนสุขภาพกายและจิตเสื่อม   การรับผลกระทบจากรังสีและเคมีบำบัด    คุณภาพชีวิตที่แย่ลงฯลฯ
   3.2 ผู้ให้บริการตามมาตรฐานวิชาชีพไม่ได้รับการคุ้มครองทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา ตามรัฐธรรมนูญ  ในร่างพ.ร.บ.นี้  คณะกรรมการฯไม่มีตัวแทนสภาวิชาชีพในการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ  การให้บุคคลอื่นที่ไม่เข้าใจหลักการแพทย์ย่อมไม่ยุติธรรมและไม่ถูกต้อง
   3.3 มีการบังคับจ่ายเงินทั้งจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนซึ่งกระทบสิทธิและเสรีภาพอย่างแรง    แต่ไม่มีการทำประชาพิจารณ์ ในบุคคลที่เกี่ยวขอ้ง

4.อายุความยาว 10 ปี  ยืดเยื้อยาวนาน  เช่นเดียวกับคดีอาญา สร้างความวิตกกังวล  รบกวนสมาธิการทำงาน  มีผลกระทบต่อผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่รับบริการ    ทำให้สูญเสียแพทย์ที่ดีออกจากระบบเพียงแค่ถูกกล่าวหา   

5.ภาระค่าใช้จ่ายจะถูกผลักไปยังผู้ป่วยที่รักษากับ คลินิกและร.พ.เอกชน

6.เพิ่มหน่วยงานที่มารับผิดชอบในการจ่ายเงิน   สร้างภาระงบประมาณและ  สร้างปัญหาเช่นเดียวกับสปสช.  ที่เรียกว่าเสือนอนกิน  ไม่มีหน่วยงานใดตรวจสอบ  และคานอำนาจ  บีบบังคับร.พ.ต่างๆโดยใช้เงินเป็นตัวล่อ   ซี่งรอ ฯพณฯ ร.ม.ต.สธ.มาแก้ไข     หากเกิดเสือ 2 ตัว ในวงการสาธารณสุข อีก  มวลชนบุคลากรสาธารณสุขจะหมดความอดกลั้น  จะเกิดการประท้วงกลางกระทรวงแน่นอน    ท่านเตรียมรับมือไว้ได้เลย

ทางออกของประชาชน
1.พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ ม.41 ควรครอบคลุมผู้ป่วยทุกประเภท และตัดเงินไปไว้ที่สถานบริการ  ดำเนินการเอง อย่าเอาไว้กับเสือนอนกิน (สปสช.)

2.รับเงินจากกองทุนต้องยุติคดีแพ่งและอาญา  หากไม่พีงพอใจ ประชาชนไปฟ้องศาลตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคได้ซี่งไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น  รวดเร็วมีระบบเจรจาไกล่เกลี่ย    ซี่งศาลให้ความยุติธรรมอยู่แล้ว  ไม่ต้องตั้งคณะกรรมการใหม่  ไม่ต้องตั้งองค์กรใหม่เสียงบประมาณแผ่นดิน  ซี่ง แย่กว่าเดิมองค์ประกอบไม่น่าเชื่อถือ

3.ผู้ร่วมจ่าย มี สปสช.รัฐบาล  สำนักงานประกันสังคม 

4.ผู้ป่วยรักษาคลินิกเอกชนและร.พ.เอกชน  หากมีปัญหาสามารถบริหารจัดการได้เองอยู่แล้ว  ไม่ต้องรวมในพ.ร.บ.ดังกล่าว  ยกเว้นสมัครใจ
       เพื่อประโยชน์ต่อประชาชนส่วนใหญ่ที่แท้จริงควรถอนร่าง พ.ร.บ.ออกจากสภาผู้แทนราษฎรก่อน   และ เริ่มต้นใหม่ในสิ่งที่ดีกว่า   ด้วยความรอบคอบรอบด้านและประชาชนทุกฝ่ายมีส่วนร่วม     
                                                พญ.สุธัญญา     บรรจงภาค   

7962
ข่าวสมาพันธ์ / บทสนทนา---หมอ-คนอันตราย ?
« เมื่อ: 24 มิถุนายน 2010, 09:48:57 »
ประชาชนคนหนึ่ง---ในสายตาของคนกลุ่มหนึ่ง ..หมอ ก็คือ คนที่อันตรายต่อสังคมผู้ใช้บริการทางสาธารณสุข ดังนั้น จึงต้อง ออก พรบ.เยียวยา....

หมอคนหนึ่ง---คนขับรถเมล์ แท็กซี่ คนขับเรือเมล์ ตำรวจ ครู ทนายความ พ่อค้า ผู้รับเหมา คนงานก่อสร้าง มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ฯลฯ แม้แม่ค้าขายส้มตำ ก็อันตราย

หากคนมันคิดจะทำชั่ว หรือแม้เลินเล่อ แม่ค้าขายส้มตำก็อาจนำเชื้อ
โรคร้ายแรงให้ลูกค้ากิน แล้วมีพรบ.คุมครองไหมครับ? อันตรายไม่ต่างกัน

มีครั้งหนึ่งยังไม่มีกฎหมายฟ้อร้อง มาตรา๔๑ ผมผ่าตัดให้ ปรากฏว่า ผู้ป่วยมีอาการออกซิเจนในเลือดต่ำลง ตรวจพบว่า หลอดลมหดตัว ไม่รู้สาเหตุมาก่อน ก็ช่วยให้รอดชีวิต แต่เพื่อความปลอดภัย ฝากนอนไอซียูเพื่อสังเกตอาการ

ญาติจะฟ้องครับ แค่อยากเรียกเงินจากผมเพราะคิดว่าหมอรวย ถึงเราช่วยให้รอดตายกลับบ้านอย่างปลอดภัย ผมช่วยสุดชีวิต

แม้ต่อมาเขาจะไม่ได้ฟ้องร้อง แต่เจอเรื่องเช่นนี้กระทบต่อศรัทธาที่ผมมีในความตั้งใจที่จะเป็นหมอที่ดี

อยากเป็นหมอของประชาชน เป็นอุดมการณ์ที่อยากจะช่วยคนให้พ้นทุกข์ ความเมตตาที่ผมมีความสุขใจที่ได้ช่วยชีวิตคน ครั้งนั้นไม่เหลือเลย ไม่รู้จะช่วยทำไม

คุณว่าอยากให้หมอทั้งหลายมีอาชีพแบบสิ้นศรัทธาไหมครับ?

ความรู้สึกค่อยๆฟื้นกลับมาใหม่ เมื่อผมเปลี่ยนแผนก.....

ครั้งหนึ่ง ก็มีเหตุการณ์กลัวฟ้องตามกฎหมายหลักประกันสุขภาพ ผมต้องการเลือดช่วยชีวิตเด็ก พ่อเด็กยอมเอาเลือดตนเองให้ลูก แต่คลังเลือดไม่ยอมทำ เพราะกลัวว่าเลือดพ่อหากมีเชื้อโรคแล้วติดลูก เจ้่าหน้าที่จะถูกฟ้องเอาความผิด ผมไปบอกว่า พ่อแม่เขารับรองและเซ็นต์ชื่อให้ ก็ไม่ยอม สุดท้ายผมเองต้องเป็นคนลงชื่อเป็นผู้รับผิดชอบ

ครั้งต่อๆมาก็พบว่า หมอถูกพิพากษาจำคุกในคดีหมอโรงพยาบาลชุมชนผ่าตัดแล้วผู้ป่วยเสียชีวิตจากปัญหาแทรกซ้อนจากการใช้ยาสลบ แม้ต่อมาจะอุทธรณ์แล้วไม่ต้องจำคุก ก็มีผลกระทบให้หมอโรงพยาบาลชุมชนแทบทั้งประเทศ งดการผ่าตัด ส่งเข้าจังหวัด

โรงพยาบาลเอกชนตามต่างจังหวัดก็ไม่น้อยที่กลัวฟ้องร้องอาการไม่ดีก็ส่งโรงพยาบาลจังหวัด เพราะเอกชนจริงๆแล้วก็เพียงดีด่านหน้า มาตรฐานคือที่แปะไว้ข้างฝา

เรื่องเสียศรัทธายังมีอีกมากครับ ส่วนตัวผมไม่ตำหนิใครแล้วครับเพราะเรื่องมันผ่านไปแล้ว ตอนนี้เพียงคิดอย่างเดียวว่า จะช่วยทั้งหมอ(รวมทั้งวิชาชีพสุขภาพที่ได้รับผลกระทบ)และคนไข้อย่างไร

แต่ผมก็ไม่ต้องการปกป้องหมอ(และผู้ประกอบวิชาชีพสุขภาพ)ที่ไม่ดีหรอกครับ หมอด้วยกันก็รู้ครับ ว่าเลวๆมีและเป็นอย่างไร?

ที่มันแก้ยาก คือการสื่อว่าแพทยสภาปกป้องแพทย์ อันนี้มันเกิดจากคนที่ได้รับคำตอบไม่เป็นไปตามที่ตนเองประสงค์จะได้รับ แม้บางกรณีก็เกิดจากหมอบางคนที่ถูกแพทยสภาลงโทษ ก็มีความอาฆาตต่อองค์กรนี้ กลายเป็นคนที่ส่งเสริมให้ฟ้องหมอคนอื่น และเล่นงานแพทยสภาทั้งทางตรงทางอ้อม

แพทยสภา ถึงจะไม่ได้อย่างใจมากนัก แต่ก็ยังนับว่าเท่าที่องค์ประกอบและปัจจัยต่างๆได้เอื้อให้เท่าที่มีนั้น ก็ยอมรับได้ว่าการดำเนินงานนั้นไม่มีใครไม่ทำงาน ไม่มีใครคิดไม่ดีกับประชาชน และไม่มีใครปกป้องแพทย์จากความผิด

แต่แพทยสภากำลังทำ สิ่งที่ผมคิด คือ

ปกป้องมาตรฐานวิชาชีพภายใต้ข้อจำกัดที่มีกฎหมายสปสช.ส่งผลคุกคามการทำงาน

ป้องกันแพทย์ไม่ให้กระทำความผิด(แต่หากคนมันชั่ว จะช่วยได้อย่างไร?)

และปกป้องประชาชนจากการกระทำชั่วของคนที่มันชั่ว จากการดูแลรักษาที่ต่ำกว่ามาตรฐาน จากการหาช่องทางแสวงประโยชน์จากกลุ่มคนที่แสวงประโยชน์ระหว่างแพทย์และประชาชน

นี่เป็นความเห็นของคนที่ประชาชนส่วนหนึ่งมองว่าเป็นคนที่อันตรายต่อสังคม คนหนึ่ง
............................













7963
“จุรินทร์” ปัดไม่ได้ดัน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ เวอร์ชันฉบับเอ็นจีโอ เผยเข้า ครม.ย้ำแค่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.ที่ผ่านกฤษฎีกา แจงหากมีฝ่ายใดไม่เห็นด้วยเสนอแก้ผ่านกรรมาธิการได้ ด้านแพทยสภา ค้าน สธ.ตั้งผู้ไม่รู้วิชาหมอมาเป็นกรรมการด้านวิชาชีพแพทย์ ฝ่ายเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ แฉมี ร่าง พ.ร.บ.ดองใน สภา 7 ฉบับ เตรียมประชุมหาข้อสรุป เดือน ส.ค.
       
       นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีแพทยสภามีหนังสือถึงสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ให้มีมติทบทวนร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ.... ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 ว่า เป็นเพียงการเข้าใจผิดเท่านั้น และยืนยันว่า ข้อเท็จจริงนั้น ตนไม่ได้เสนอร่าง พ.ร.บ.ของฝ่ายใดเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเป็นหลัก เพียงแต่ระหว่างที่เข้ามาบริหารงานนั้นเลขาธิการ ครม.สอบถาม ว่า ตนเห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.ของ สธ.ที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาหรือไม่ ซึ่งตนก็เห็นด้วยและยืนยันร่างดังกล่าว เพื่อให้เข้าสู่ที่ประชุม ครม.และนำไปสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
       
       นายจุรินทร์ กล่าวด้วยว่า ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวจะมีประโยชน์กับทั้งฝ่ายผู้ป่วย และบุคลากรทางการแพทย์ เนื่องจากหากเกิดกรณีอุบัติเหตุ หรือความเสียหายใดๆ ก็จะมีคณะกรรมการชุดหนึ่งมาพิจารณาเพื่อชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งจะช่วยลดคดีการฟ้องร้องของแพทย์ และยังช่วยเหลือผู้ป่วย อย่างไรก็ตาม สำหรับรายละเอียดในกฎหมาย หากกลุ่มใดไม่เห็นชอบ หรือมีอะไรเพิ่มเติมสามารถเสนอเพื่อแก้ไขได้ในขั้นของกรรมาธิการสภาผู้แทน ราษฎร แต่หากยังไม่แล้วเสร็จก็สามารถแก้ไขเพิ่มเติม โดยการตั้งกรรมาธิการร่วม 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎรและสภาวุฒิสภา เพื่อหาข้อสรุปได้เช่นกัน
       
       ขณะที่ ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวว่า แพทยสภาเห็นด้วยที่จะมี พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ... เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย แต่ไม่เห็นด้วยในวิธีการโดยเฉพาะประเด็นที่จะเอาผิดกับแพทย์ พยาบาล ตลอดจนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ทำการรักษา และการให้ผู้ประกอบวิชาชีพอื่นร่วมเป็นคณะกรรมการในการพิจารณาเรื่องเกี่ยว กับทางการแพทย์ที่มีลักษณะเฉพาะ เพราะเป็นเหมือนการใช้ระบบเสียงข้างมากในการตัดสินหลักการทางการแพทย์ โดยไม่คำนึงถึงข้อมูลเชิงวิชาการด้านการแพทย์ใดๆ ทั้งสิ้น
       
       นายกแพทยสภา กล่าวด้วยว่า จากศึกษารายงานกฎหมายในลักษณะใกล้เคียงกันถึง 10 ฉบับ พบว่า หลักการดำเนินการในเรื่องนี้ของประเทศสวีเดน เหมาะที่ประเทศไทยจะนำมาปรับปรุง เนื่องจากการจ่ายเงินชดเชยให้กับผู้ได้รับความเสียหาย โดยยึดหลักหากแพทย์รักษาด้วยวิธีการที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้แล้วเกิดความผิดพลาดขึ้น จะไม่มีการจ่ายเงินชดเชย แต่หากเกิดความผิดพลาดจากการรักษาที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ จึงจะมีการจ่ายชดเชย การดำเนินการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นี้ในไทยจะทำแบบผิวเผินไม่ได้ ควรมีทบทวน พิจารณา และศึกษาข้อมูลอย่างลึกซึ้ง โดยเทียบกับประเทศต่างๆ ที่มีการดำเนินการเช่นนี้ เมื่อได้ข้อสรุปควรเริ่มทดลองใช้ในบางพื้นที่ก่อนไม่ใช่เริ่มพร้อมกันหมด ทั้งประเทศ
       
       “ท้ายที่สุดหากร่าง พ.ร.บ.นี้มีผลบังคับใช้โดยไม่มีการศึกษาข้อมูลอย่างลึกซึ้ง และรอบด้าน ผลเสียจะเกิดกับประชาชนเอง แพทย์ไม่เสียอะไรถ้าไม่อยากเสี่ยงกับการถูกฟ้องร้อง ก็แค่ไม่รักษา แต่ผู้ป่วยจะไม่มีคนรักษาโรค และจะเป็นช่องโหว่ให้คนหาเงิน ด้วยการไปพบแพทย์บ่อยๆ แล้ว อ้างว่า เกิดความเสียหายจากการรักษาของแพทย์เพื่อหวังได้เงินชดเชยโดยที่ไม่ต้องรอ พิสูจน์ถูกผิดใดๆ ทั้งสิ้น เช่น ไปพบแพทย์แล้วบอกว่าแพ้ยา ก็จะได้เงินทันที ซึ่งเงินที่นำมาจ่ายก็ได้จากรัฐบาลและประชาชนที่ต้องเสียเงินมากขึ้นทั้ง สิ้น” ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าว
       
       ด้านนางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่าวว่า ขณะนี้มีร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 7 ร่าง ประกอบด้วย ร่างของ สธ.ที่รวมกับร่างของแพทยสภาและของภาคประชาชนเขย่ารวมกัน เป็นร่างหลัก แต่ประเด็น คือ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ สธ.มีความพยายามในการจัดตั้งสำนักงานกองทุนคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับ บริการสาธารณสุขไปอยู่ภายใต้กระทรวง โดยให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เป็นผู้บริหาร ซึ่งไม่ถูกต้อง เนื่องจากสำนักงานกองทุนฯ ควรเป็นองค์กรอิสระ ไม่ควรอยู่ในสังกัดของ สธ.ที่มีฐานะเป็นผู้ให้บริการ ซึ่งเป็นคู่กรณีกับผู้เสียหายอยู่แล้ว
       
       นางปรียนันท์ กล่าวอีกว่า ส่วนร่าง พ.ร.บ.อีก 6 ฉบับ แบ่งเป็นของภาคประชาชน ซึ่งเสนอเข้าไปด้วยการรวมรวม 10,000 รายชื่อ โดยเน้นการตั้งสำนักงานกองทุนฯที่เป็นอิสระ ทั้งนี้ ที่ภาคประชาชนต้องเสนอร่วมด้วยนั้น เพื่อต้องการมีสิทธิเข้าเป็นกรรมาธิการ 1 ใน 3 ส่วน ซึ่งจะมีประโยชน์ในการเสนอความคิดเห็นในสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร ขณะที่อีก 5 ร่างนั้นเป็นของ ส.ส. อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ไม่อยากมาถกเถียง แต่ขอให้ไปสู้กันในสภาเพื่อหาข้อยุติ ว่า ร่าง พ.ร.บ.ลักษณะใดจะดีที่สุด ซึ่งคาดว่าจะมีการนัดประชุมในช่วงเดือนสิงหาคมจากเดิมเข้าเป็นวาระเมื่อ 12 พ.ค.2553

7964
       วันนี้ (11 มิ.ย.) ที่ห้องประชุมชั้น 5 อาคารเฉลิมพระบารมี โรงพยาบาลมหาราช อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช นายวิทยา แก้วภราดัย ส.ส.นครศรีธรรมราช ประธานวิปรัฐบาล ในฐานะอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้รับเชิญไปปาฐกถาพิเศษในโครงการสัมมนาบุคลากรสาธารณสุข ในเรื่อง “ระบบบริหารสาธารณสุขกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต” โดยมีแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์กว่า 300 คนเข้าร่วม และถือเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือนหลังจากที่นายวิทยา ลาออกจากการเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเพื่อรับผิดชอบต่อผลการสอบสวนของ นพ.บรรลุ ศิริพาณิช ประธานคณะกรรมการสอบสวนโครงการไทยเข้มแข็งในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข

นายวิทยา กล่าวกับผู้เข้าร่วมสัมมนาว่า เวทีนี้ถือเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน ที่ได้พูดกับบุคลากรกระทรวงสาธารณสุข ครั้งแรกที่เข้าไปในกระทรวงสาธารณสุขเหมือนกับคนแปลกหน้า แต่หลังจาก 1 ปีผ่านไป ทำให้มีความชัดเจนและรู้ว่ามีปัญหาอย่างมากในกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาใหญ่ทั้งสิ้น โดยเฉพาะในเรื่องของบุคลากรทางการแพทย์ที่มีปัญหาสมองไหล เนื่องจากบุคลากรกระทรวงสาธารณสุขถูกจัดให้เป็นเหมือนกับข้าราชการกระทรวงอื่น ประมาณ 5 ปีที่ผ่านมาหลังเกิดปัญหาข้าราชการล้นระบบจึงมีการปรับลดอัตรากำลัง กระทรวงสาธารณสุขถูกลากไปด้วย และเมื่อมีการตรวจสอบคนในกระทรวงสาธารณสุขพบว่ามีอยู่ 1.6 หมื่นคน เป็นพยาบาล 7 พันคนที่ยังรอการบรรจุ
       
       อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกล่าวต่อว่า ปัญหาต่อมาคือความขัดแย้งระหว่างผู้รับบริการกับผู้ให้บริการ รุนแรงที่สุดหลังจากศาลได้สั่งจำคุกแพทย์ รพ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช ทำให้โรงพยาบาลขนาดเล็กขยาดที่จะทำงาน จึงมีปัญหาในระบบส่งต่อมายังโรงพยาลบาลจังหวัด โรงพยาลบาลศูนย์ เพราะโรงพยาลบาลอำเภอไม่กล้าที่จะจับมีดผ่าตัดเกรงว่าปัญหาจะตามมา โรงพยาลบาลขนาดเล็กจึงปฏิเสธรับงาน โรงพยาลบาลที่ใหญ่กว่าจึงแออัดยัดเยียด เป็นภาพชินตาที่ผู้ป่วยนอนบนระเบียง นอนทางเดิน นอนเตียงเปลสำรอง

 “ระบบเหล่านี้เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง และหนักหน่วงด้วยการนำเอาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมาใช้ หรือ 30 บาทรักษาทุกโรค เวลาเตรียมการสั้น ค่าใช้จ่ายต่อคนมีจำนวนน้อย จึงมีข้อครหาที่ตามมา คือเป็นทุกโรครับพาราเซตามอล พฤติกรรมคนเปลี่ยนไปเดิมคนในสังคมซื้อยากิน 70 เปอร์เซ็นต์ แต่ปัจจุบัน 70 เปอร์เซ็นต์นี้มุ่งเข้าสู่ระบบการรักษาพยาบาล ร้านขายยาเริ่มเข้าสู่ระบบทุนนิยมขึ้นห้าง และค่อยๆ หายไป คนในระบบงานสาธารณสุขถูกตรึงอยู่กับที่ งานล้นมือ โรงพยาบาลแออัด” นาวิทยากล่าว
       
       นายวิทยา กล่าวต่อว่า หน่วยราชการสาธารณสุขในพื้นที่ภาคใต้ไม่เคยเกิดตึกใหม่ ที่เกิดขึ้นได้เป็นงบประมาณจากกองสลาก คนในระบบการสาธารณสุขไทยมีคุณภาพมาก แต่ขาดกำลังใจ มีคนมีความรู้มีความสามารถแต่เครื่องมือ สถานที่ตกต่ำ รัฐบาลมีโครงการไทยเข้มแข็งขึ้นมากระทรวงสาธารณสุขมีกรอบงบประมาณถึง 8.5 หมื่นล้านถือว่าสูงที่สุด โดยการเอาปัญหาในกระทรวงมารับงบนี้

 “ปัญหาความขัดแย้งในกระทรวงสาธารณสุขเป็นการบ่อนทำลายตัวเอง วันที่กรอบงบประมาณลงมายิ่งมีความขัดแย้งหนัก ซึ่งตามนโยบายที่ให้ไว้ 5 ข้อ เขาก็ไปทำทั้ง 5 ข้อ ส่วนตัวผมนั้นยอมรับว่าไม่รู้จักเครื่องมือแพทย์ใดๆ ไม่มีบริษัทเครื่องมือแพทย์ ไม่มีบริษัทรับเหมา ไม่ค้าขาย อาชีพของผมคือทนายความ วันที่มีเรื่องเครื่องยูวีแฟน ไม่รู้จักด้วยซ้ำว่าคือเครื่องอะไร หลังจากถูกข้อครหาได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 1 ชุด สอบให้หมดทั้ง 8.6 หมื่นล้าน เมื่อผลการสอบออกมาในกระทรวงบางคนบอกว่าเชื่อถือไม่ได้ ต้องเอาคนนอกมาพิสูจน์ จึงเอาหมอบรรลุมา และผมบอกว่างบทั้งหมดของ สธ.ไม่ต้องจ่ายจนกว่าจะสอบเสร็จ และสั่งยุติโครงการทั้งหมด ประธานกรรมการบอกกับผมว่าเชื่อว่ารัฐมนตรีไม่โกงแต่ไม่เชื่อคนอื่น”

นายวิทยากล่าวต่อว่า หลังจากนั้นผลสอบออกมาปรากฏว่า ตนบกพร่องส่อไปในทางเอื้อให้มีการทุจริต ในวันที่ 28 ธ.ค. และในวันที่ 30 ธ.ค.ตนจึงลาออก มาถึงวันนั้น จึงเห็นเครือข่ายที่โยงใยอยู่ใน กระทรวงสาธารณสุขและเป็นเครือข่ายที่จะต้องได้รับการสะสาง การลาออกของตนนั้น เพื่อที่จะออกมาแสวงหาความเป็นธรรม การเป็นนักการเมืองมา 20 ปีเป็นรัฐมนตรีครั้งแรกต้องไม่มีใครเสียหายทั้งนายกรัฐมนตรี รัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุข แม้แต่คนใกลตัวยังโดนข้อหาประจบประแจงเอาใจรัฐมนตรี นพ.จักกฤษณ์ ภูมิสวัสดิ์ ถูกข้อหาเอาเงินไปซื้อรถยนต์ตู้ให้รัฐมนตรีใช้ เพราะเหตุบังเอิญว่าตนมีรถที่สีเหมือนกันกับรถที่ นพ.จักกฤษณ์ ซื้อ และยังโดนเรื่องยูวีแฟนอีก

 “งบประมาณที่ลงในโรงพยาลบาลนครศรีธรรมราช ไม่กล้าที่จะเอามาลงไว้ในสำนวนสอบสวน ไม่กล้าที่จะเขียนถึง โรงพยาลบาลในนครศรีธรรมราช แม้แต่โรงพยาบาลเดียว โรงพยาบาลที่ถูกทอดทิ้งมากที่สุดคือโรงพยาลบาลในภาคใต้ สภาพเลวที่สุด แย่ที่สุด คือ โรงพยาลบาลมหาราชนครศรีธรรมราช สอบแล้วไม่ได้มือเปล่ากลับได้ นพ.จักกฤษณ์ ภูมิสวัสดิ์ ติดปลายนวมไปด้วย ทิศทางการพัฒนากระทรวงสาธารณสุขนั้น ผมไม่ขอชี้แนะ แต่ที่สามารถแก้ได้คือคนในกระทรวงเองทั้งหมดที่เป็นปัญหาภายใน”

ภายหลังนายวิทยา ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า ขณะนี้ได้ฟ้องร้อง นพ.บรรลุ ศิริพาณิช ในฐานะประธานสอบในเรื่องนี้แล้ว และที่สำคัญข้อเท็จจริงของเรื่องทั้งหมดได้เริ่มทยอยออกมาสู่สาธารณชน ที่กรรมการวินิจฉัยในหลายเรื่องสุดท้ายมีการยืนยันที่ไม่ตรงกับกรรมการสอบ เห็นได้ชัดว่ากรรมการตั้งสมมติฐานขึ้นมาเอง ทั้งหมดนี้รัฐมนตรีจุรินทร์ทราบดี คนในกระทรวงไม่กล้าทำงาน และยิ่งเงินที่หายไปจากการที่วุฒิสภาไม่ผ่านนั้นอีก 7.5 หมื่นล้านการพัฒนาโรงพยาบาลทั่วประเทศกำลังไร้ทิศทาง นายวิทยากล่าวในที่สุด

7965
คมชัดลึก :  แฉกก.สอบไทยเข้มแข็งสธ.ชุดหมอบรรลุ อ้างหลักฐานราคาค่าก่อสร้างหอพักพยาบาลเท็จ บริษัทเอกชนร่อนหนังสือถึงสธ.ยืนยันราคาที่ 8.3 ล้านบาท ไม่ใช่ 7.2 ล้านบาทตามที่คณะกรรมการ
ระบุ “หมอวิชัย”รับ ไม่ได้ตรวจสอบข้อมูลเหตุเวลาแค่ 65วัน

จากกรณีที่รายงานการสอบ สวนข้อเท็จจริง ของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงโครงการไทยเข้มแข็ง ของกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ซึ่งมี นพ.บรรลุ ศิริพานิช เป็นประธาน ระบุว่า ราคาค่าก่อสร้างอาคารแฟลตที่พักพยาบาล ขนาด 24 ห้อง แบบเลขที่ 9555 ที่ สธ.ตั้งไว้ 9.57 ล้านบาทและต่อมาปรับลดเพื่อใช้เป็นราคากลางสำหรับปี 2553 เหลือ 8.52 ล้านบาทสูงเกินสมควร ส่อเจตนาไม่สุจริต เนื่องจากคณะกรรมการได้ส่งแบบก่อสร้างให้บริษัท อรุณ ชัยเสรี คอนซัลติ้ง เอนจิเนียร์ส จำกัด คำนวณราคาได้ที่ 7.2 ล้านบาทเท่านั้น ราคาที่สธ.ตั้งไว้ จึงสูงเกินสมควรถึง 32.9%นั้น

 แหล่งข่าวสธ.เปิดเผยว่า การอ้างเอกสารหลักฐานการประมาณราคาจากบริษัท อรุณ ชัยเสรีฯของคณะกรรมการชุด นพ.บรรลุ เป็นเท็จ เนื่องจากเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2553 นายทยุติ อิสริยฤทธานนท์ รองประธานฝ่ายบริหารโครงการ บริษัท อรุณ ชัยเสรีฯ ได้ส่งหนังสือถึง นพ.สถาพร วงษ์เจริญ รองปลัดสธ. เรื่อง ขอนำส่งข้อมูลประมาณราคา อาคารพักพยาบาล 24 ห้อง เนื้อหาระบุว่า บริษัท อรุณ ชัยเสรีฯ ขอเรียนว่าราคาอาคารพักพยาบาล ขนาด 24 ห้อง ตามแบบเลขที่ 9555 ทางบริษัทประมาณเป็นเงิน 8,374,300 บาท มิใช่ 7.2 ล้าน

 นพ.สถาพรกล่าวว่า บริษัท อรุณ ชัยเสรีฯ ได้ส่งหนังสือถึงตนจริง เพราะก่อนหน้านั้นได้ส่งหนังสือถึงกรรมการผู้จัดการ บริษัท อรุณ ชัยเสรีฯ เพื่อขอข้อมูลการประมาณราคา แบบเลขที่ 9555 และเมื่อบริษัทมีหนังสือตอบกลับมา ปรากฏว่าราคาที่บริษัทประเมินใกล้เคียงกับที่กองแบบแผนคำนวณไว้ ซึ่งข้อมูลจากบริษัทนี้จะส่งให้กองแบบแผนวิเคราะห์ต่อไป

 นพ.วิชัย โชควิวัฒน เลขานุการคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงโครงการไทยเข้มแข็งฯ กล่าวว่า ได้โทรศัพท์ไปสอบถามเจ้าหน้าที่ของบริษัทรายหนึ่งเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2552 และได้รับแจ้งราคาที่ 7.2 ล้านบาทจึงใส่ตัวเลขไปตามนั้น โดยไม่ได้ตรวจสอบข้อมูลเพราะมีเวลาทำงานแค่ 65 วัน ต้องส่งรายงานการสอบสวนในวันที่ 28 ธันวาคม ทั้งที่ปกติใช้เวลาเป็นปี คงต้องดูว่าผู้ที่หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาโจมตีเป็นการวิจารณ์รายงานการสอบสวน โดยสุจริตหรือไม่

หน้า: 1 ... 529 530 [531] 532 533 ... 535