แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - story

หน้า: 1 ... 557 558 [559] 560 561 ... 652
8371
ประเด็นที่ 2   การบริหารพัสดุไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้กำหนดข้อบังคับ สปสช. ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2546 เพื่อใช้สำหรับการจัดหาและบริหารงานพัสดุของสำนักงาน โดยที่ข้อบังคับดังกล่าวค่อนข้างเปิดกว้างมากกว่าระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และมีการปฏิบัติตามข้อบังคับดังกล่าวไม่เคร่งครัด

2.1 การบริหารพัสดุของ สปสช. ไม่เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และข้อบังคับที่กำหนดไว้ ดังนี้

2.1.1 การบริหารพัสดุของ สปสช. ไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

2.1.1.1 สปสช. ไม่ได้ส่งแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภายในกำหนดเวลาอย่างช้าภายในวันที่ 31 ตุลาคม ของทุกปี ตามประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ. 2546 ข้อ 5 โดยในปีงบประมาณ 2550 – 2552 สปสช. ได้จัดทำแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างส่งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตามหนังสือลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2549 วันที่ 20 พฤศจิกายน 2550 และ วันที่ 19 ธันวาคม 2551 ตามลำดับ

2.1.1.2 แผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างมีรายการไม่ครบถ้วน ตามประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ. 2546 ข้อ 4(1) แผนที่จัดทำเป็นแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างสำหรับครุภัณฑ์ที่มีราคาเกิน 100,000.00 บาท และที่ดินสิ่งก่อสร้างที่มีราคาเกิน 2,000,000.00 บาท

   จากการตรวจสอบโดยการเปรียบเทียบรายการจัดซื้อจัดจ้างตามแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างประจำปีงบประมาณ 2552 กับการจัดซื้อจัดจ้างจริง พบว่า สปสช. จัดซื้อจัดจ้างจริงมากกว่ารายการตามแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างที่ส่งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ปรากฏดังตาราง

จากตาราง รายการจัดซื้อจัดจ้างที่ไม่ปรากฏในแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างที่ส่งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินมีจำนวน 28 สัญญา หรือคิดเป็นร้อยละ 77.78 โดยรายการที่ไม่ได้จัดทำแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างส่วนใหญ่เป็นรายจ่ายเกี่ยวกับการจัดหาระบบสารสนเทศและคอมพิวเตอร์
ทั้งนี้จากการสอบถามเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการจัดทำแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง พบว่ายังมีความเข้าใจไม่ถูกต้องในรายจ่ายที่เป็นค่าครุภัณฑ์ จึงไม่ได้นำรายการรายจ่ายเกี่ยวกับการจัดหาระบบสารสนเทศและคอมพิวเตอร์มาจัดทำแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง

2.1.2 สปสช. ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2546 และคู่มือการจัดหาพัสดุ

ข้อบังคับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2546 หมวด 2 การจัดหา ข้อ 8 กำหนดว่า “ให้ผู้ปฏิบัติงานที่มีความประสงค์จะขอให้จัดหาพัสดุเพื่อใช้งาน แสดงความจำนงต่อเจ้าหน้าที่พัสดุโดยเสนอบันทึกตามแบบที่เลขาธิการกำหนด แสดงวัตถุประสงค์หรือความจำเป็นในการใช้งาน รายละเอียดของพัสดุที่ขอให้จัดหา กำหนดเวลาที่ต้องการใช้และรายละเอียดที่จำเป็น” และในคู่มือการจัดหาพัสดุได้กำหนดหลักเกณฑ์การจัดหาคือ ให้สำนักต่าง ๆ จัดทำบันทึกเสนอเลขาธิการขออนุมัติหลักการในการจัดหาพัสดุ โดยแบบของเนื้อหาบันทึกอย่างน้อยต้องมีข้อความดังนี้

(ก) เหตุผลความจำเป็นที่ต้องจัดหา
(ข) รายละเอียดของพัสดุ รวมทั้ง Spec (ถ้ามี)
(ค) ราคามาตรฐาน ราคากลาง หรือราคาอ้างอิงในตลาด หรือราคาที่เคยจัดหาครั้งหลังสุด
(ง) ระยะเวลาที่จะใช้ หรือให้งานแล้วเสร็จ
(จ) วงเงินที่จะใช้ / หมวดเงิน
(ฉ) วิธีที่จะจัดหา และเหตุผลที่จะต้องใช้วิธีนั้น ๆ

จากการตรวจสอบการจัดหาพัสดุของสำนักต่าง ๆ ระหว่างปีงบประมาณ 2552 - 2553 จำนวน 42 รายการพบว่า บันทึกเสนอเลขาธิการเพื่อขออนุมัติหลักการในการจัดหาพัสดุไม่มีเนื้อหาข้อ (ค) ราคามาตรฐาน ราคากลาง หรือราคาอ้างอิงในตลาดหรือราคาที่เคยจัดหาครั้งหลังสุดทุกรายการ และจากการสอบถามผู้อำนวยการสำนักต่าง ๆ ซึ่งเป็นผู้จัดทำบันทึกขออนุมัติหลักการการจัดหาพัสดุเสนอเลขาธิการจำนวน 8 สำนัก ส่วนใหญ่ให้ข้อมูลว่ามีการสืบหาราคามาตรฐาน ราคากลาง หรือราคาอ้างอิงในตลาด หรือราคาที่เคยจัดหาครั้งหลังสุดก่อนทำบันทึกขออนุมัติแต่ไม่ได้นำข้อมูลเสนอไป

ในการเสนอขออนุมัติ นอกจากนี้จากการสอบถามเจ้าหน้าที่พัสดุ สำนักบริหารทั่วไป ซึ่งทำหน้าที่จัดซื้อได้รับข้อมูลสอดคล้องกันว่าไม่ได้ทำการตรวจสอบบันทึกเสนอขออนุมัติของสำนักต่าง ๆ ว่ามีเนื้อหาครบตามที่คู่มือกำหนดหรือไม่ ทั้งนี้ในรายงานผลการจัดหาของคณะกรรมการจัดหาพัสดุส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ระบุว่าได้นำข้อมูลเกี่ยวกับราคากลางมาใช้ประกอบการตัดสินใจแต่อย่างใด กรณีที่การจัดหาพัสดุของเจ้าหน้าที่ สปสช. ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อการใช้ราคากลางเป็นเกณฑ์เปรียบเทียบเพื่อให้ได้ราคาที่เหมาะสมในการจัดหาพัสดุนั้น ย่อมส่งผลให้มีการจัดหาพัสดุในราคาที่สูงเกินไป แม้บางกรณีหากมีการต่อรองราคาแล้วผู้เสนอหรือผู้เข้าแข่งขันราคาจะยอมลดราคาลงให้อย่างมากก็ตาม

2.1.3 การให้เลขที่ใบสั่งซื้อสั่งจ้างในทะเบียนคุมใบสั่งซื้อสั่งจ้างไม่ครบทุกรายการ ข้อบังคับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2546 ข้อ 12 กำหนดหลักฐานในการจัดหาพัสดุไว้ 3 แบบดังนี้

(ก) ใบเสร็จรับเงินหรือใบส่งของ ใช้สำหรับการจัดหาพัสดุโดยวิธีตกลงราคาซึ่งผู้ขายหรือผู้รับจ้างสามารถส่งมอบพัสดุทั้งหมดได้ทันทีหรือเป็นกรณีจำเป็นเร่งด่วนหรือมีเหตุฉุกเฉิน

(ข) ใบสั่งซื้อหรือจ้าง ใช้สำหรับการจัดหาพัสดุที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างสามารถส่งมอบพัสดุหรืองานจ้างทั้งหมดได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันถัดจากวันที่สำนักงานตกลงซื้อหรือจ้าง

(ค) หนังสือสัญญา ใช้สำหรับกรณีนอกเหนือจากข้อ 1 และข้อ 2 หรือเป็นการจัดหาพัสดุที่มีการส่งมอบเป็นงวด การเช่า การแลกเปลี่ยน หรือการจัดหาพัสดุที่เลขาธิการเห็นสมควรให้ทำเป็นหนังสือสัญญา

ใบสั่งซื้อหรือจ้างซึ่งเป็นหลักฐานในการจัดหาพัสดุรูปแบบหนึ่งของ สปสช. ที่ใช้ในการจัดซื้อหรือจ้างกรณีที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างสามารถส่งมอบพัสดุหรืองานจ้างทั้งหมดภายใน 30 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่ สปสช. ตกลงซื้อหรือจ้างนั้น สปสช. สามารถจัดทำใบสั่งซื้อหรือจ้างได้ 2 ลักษณะ คือ

(1) ใบสั่งซื้อหรือจ้างจากระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบ SAP จะใช้ในกรณีที่จัดหาโดยใช้งบบริหาร และ

(2) ใบสั่งซื้อหรือจ้างที่จัดทำด้วยมือจะใช้ในกรณีที่เป็นการจัดหาโดยใช้งบบริหารผ่านเงินยืมทดรอง การจัดหาโดยใช้งบกองทุน และงบสวัสดิการ

จากการตรวจสอบพบว่าทะเบียนคุมใบสั่งซื้อหรือจ้างที่จัดทำด้วยมือไม่มีหมายเลขใบสั่งซื้อหรือจ้างจำนวนมาก โดยในปีงบประมาณ 2551 ไม่มีหมายเลขใบสั่งซื้อหรือจ้าง จำนวน 47 หมายเลข คิดเป็นร้อยละ 26.86 ของจำนวนหมายเลขทั้งหมดที่เรียงลำดับในทะเบียนคุมทั้งสิ้น 175 หมายเลข และปีงบประมาณ 2552 ไม่มีหมายเลขใบสั่งซื้อหรือจ้าง จำนวน 228 หมายเลข คิดเป็นร้อยละ 49.78 ของจำนวนหมายเลขทั้งหมดที่เรียงลำดับในทะเบียนคุมทั้งสิ้น 458 หมายเลข กรณีดังกล่าวไม่เป็นไปตามหลักการควบคุมภายในที่ดีเนื่องจากไม่สามารถให้ความเชื่อมั่นได้ว่าจำนวนใบสั่งซื้อหรือจ้างที่ สปสช. ออกทั้งหมดมีจำนวนกี่รายการ และมีความครบถ้วนหรือไม่เพียงใด
......................................................................................

8372
ข้อเสนอแนะ ประเด็นที่ 1การใช้จ่ายงบบริหารไม่ถูกต้อง และไม่ประหยัด

เพื่อให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นไปอย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ ประหยัด และคุ้มค่า สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินมีข้อเสนอแนะให้ประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
1. ประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
•การปรับอัตราเงินเดือนให้เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
1.1 แก้ไขการกำหนดอัตราเงินเดือนของเลขาธิการให้มีการปฏิบัติให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีอย่างเคร่งครัด
•การจ่ายเงินค่าเบี้ยประชุมคณะอนุกรรมการตรวจสอบ
1.2 ให้ตรวจสอบการจ่ายค่าเบี้ยประชุมคณะอนุกรรมการตรวจสอบให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี โดยหารือกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ หากคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีความเห็นว่าการปฏิบัติงานของคณะอนุกรรมการตรวจสอบไม่ได้เป็นการมาประชุมเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการจ่ายผลตอบแทนให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบในการปฏิบัติงานตรวจสอบ
•การจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษ (โบนัส)
1.3 ทบทวนการจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษ (โบนัส) ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยประสานงานกับสำนักงบประมาณและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามแนวทางที่ถูกต้อง
1.4 ควบคุมกำกับให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปฏิบัติตามมติคณะกรรมการในการจ่ายค่าตอบแทนพิเศษ (เงินโบนัส) และนำเสนอจำนวนเงินที่ต้องจ่ายค่าตอบแทนพิเศษ (โบนัส) ให้บุคลากรทุกประเภทของสำนักงานหลักประกันสุขภาพในแต่ละปีต่อคณะกรรมการ
• การจ้างที่ปรึกษา
1.5 ออกระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการจ้างที่ปรึกษาให้มีความชัดเจน โดยในระเบียบหรือข้อบังคับดังกล่าวให้มีรายละเอียดข้อมูลอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
1.   ความหมายของที่ปรึกษาสำนักงาน
2.   ลักษณะขอบเขตงานที่ต้องจ้างหรือใช้บริการที่ปรึกษา
3.    จำนวนที่ปรึกษาในแต่ละปี
4.   กรอบอัตราผลตอบแทน
5.   ระยะเวลาในการจ้าง
6.   เกณฑ์การพิจารณาผลงาน

อย่างไรก็ตามสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติควรให้ความสำคัญกับความจำเป็นที่ต้องมีที่ปรึกษาและกำหนดอัตราผลตอบแทนที่ไม่สูงมากเกินไป

2. เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
•การใช้จ่ายเงินกรณีการประชุม อบรม สัมมนา
2.1 แก้ไขประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องค่าใช้จ่ายในการบริหารและการจัดการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 หรือกำหนดเป็นแนวปฏิบัติเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพิจารณากำหนดอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงให้เหมาะสมกรณีมีการจัดบริการอาหารให้ในระหว่างการประชุม อบรม สัมมนา เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณของแผ่นดินเกิดประโยชน์สูงสุด และไม่เกิดความซ้ำซ้อนกับรายจ่ายอื่นที่หน่วยงานได้จ่ายให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุมไปแล้ว
2.2 สั่งการให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องค่าใช้จ่ายในการบริหารและการจัดการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 เกี่ยวกับหลักฐานที่ใช้ประกอบการเบิกจ่าย เช่น กรณีเดินทางโดยเครื่องบินต้องกำหนดให้มีบัตรที่นั่งโดยสารเครื่องบินแนบรายการขอเบิกทุกครั้ง และหากมีการอนุมัติให้ผู้ปฏิบัติงานที่ตำแหน่งต่ำกว่ารองผู้อำนวยการสำนักเดินทางโดยเครื่องบิน ต้องระบุถึงเหตุผลความจำเป็นที่ต้องเดินทางโดยเครื่องบินให้ชัดเจน โดยเหตุผลความจำเป็นดังกล่าวต้องคำนึงถึงความประหยัดและคุ้มค่าเป็นสำคัญ
..............................................................................

8373
1.5 การจ้างที่ปรึกษาไม่เหมาะสม

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มีการจ้างที่ปรึกษาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2549 จากการตรวจสอบพบว่าการจ้างที่ปรึกษาไม่เหมาะสม ดังนี้

1.5.1 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจ้างที่ปรึกษาในลักษณะต่อเนื่องและอัตราค่าจ้างค่อนข้างสูง
สปสช. เริ่มดำเนินการในปีงบประมาณ 2546 ตั้งแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2545 มีการจ้างที่ปรึกษาโดยทำเป็นสัญญาและใช้ชื่อว่า “สัญญาจ้างพนักงาน” และกำหนดให้ปฏิบัติงานในตำแหน่งพนักงาน (ที่ปรึกษาอาวุโส) ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2549 จนถึงปัจจุบันปีงบประมาณ 2552 รายละเอียดข้อมูลที่ปรึกษาอาวุโสและอัตราค่าจ้าง ปรากฏดังตาราง


หมายเหตุ :   
1. ปีงบประมาณ 2549 - 2552 จ้างเจ้าหน้าที่ สปสช. ที่เกษียณแล้วเป็นที่ปรึกษาอาวุโส
1.1 นพ.ปัญญา  กีรติหัตถยากร เกษียณในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญพิเศษ เงินเดือน 96,130.00 บาท สปสช.จ้างเป็นที่ปรึกษาอาวุโส
เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2548
1.2 พญ.เรณู  ศรีสมิต เกษียณในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักพัฒนาคุณภาพ เงินเดือน121,540.00 บาท สปสช.จ้างเป็นที่ปรึกษาอาวุโส
เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2548
1.3 เจ้า นางเขมรัสมี  ขุนศึกเม็งราย เกษียณในตำแหน่งผู้อำนวยการ สปสช. เขต 1 เชียงใหม่ เงินเดือน 112,400.00 บาท สปสช.จ้างเป็นที่ปรึกษาอาวุโสเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2551

2. ปีงบประมาณ 2553 ยังคงมีการจ้างที่ปรึกษาอาวุโส 3 คน ตามข้อ 1 และมีการจ้างที่ปรึกษาเพิ่มจำนวน 3 คน
2.1 นายวิญญู พิทักษ์ปกรณ์ เริ่มจ้างหลังเกษียณจาก สปสช. ในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย จ้างในอัตราเดือนละ 70,000 บาท
เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2552
2.2 นพ.สมชาย นิ้มวัฒนากุล อดีตเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชจังหวัดนครศรีธรรมราช จ้างในอัตราเดือนละ 80,000.00 บาท
เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2552
2.3 นพ.นิพนธ์ โตวิวัฒน์ อดีตเป็นนายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชกรรมป้องกันประจำสาธารณสุขจังหวัดอุทัยธานี จ้างในอัตราเดือนละ 41,500.00 บาท เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2553

จากตารางข้างต้น ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2549 - 2552 สปสช. มีการจ้างที่ปรึกษาอาวุโส จำนวน 3 คน โดยทั้ง 3 คน เป็นเจ้าหน้าที่ของ สปสช. มาก่อนและหลังจากจ้างแล้วจะมีการจ้างอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยสัญญาที่จัดทำในช่วงปีงบประมาณ 2549 - 2550 จะจัดทำทุกปี โดยมีเงื่อนไขในสัญญาว่าจะต่ออายุเมื่อผ่านการประเมินผล ต่อมาในปีงบประมาณ 2551 - 2552 มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหารายละเอียดในหัวข้อระยะเวลาการจ้าง โดยกำหนดเพิ่มในวรรคสอง คือ

“ในกรณีที่ระยะเวลาตามสัญญาจ้างพนักงานนี้ใกล้จะสิ้นสุดลง หากสำนักงานต้องการจ้างพนักงานปฏิบัติงานต่อไปอีกให้ถือว่าสัญญาจ้างพนักงานนี้ขยายออกไปอีกทุก ๆ หนึ่งปี เว้นแต่สำนักงานจะมีการยุบหรือยกเลิกตำแหน่งและได้แจ้งให้พนักงานทราบล่วงหน้าแล้ว ให้สัญญานี้สิ้นสุดลงตามระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา” และยังคงต้องให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อพิจารณาต่อสัญญาจ้าง โดยรูปแบบการประเมินผลให้เป็นไปตามที่ผู้รับจ้างกำหนด

ข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นว่า สปสช. มีการจ้างที่ปรึกษาในลักษณะต่อเนื่องและใช้สัญญาฉบับเดียวแล้วมีการต่ออายุสัญญาไปเรื่อย ๆ นอกจากนั้นพิจารณาจากอัตราค่าจ้างของแต่ละคนพบว่ามีอัตราที่ค่อนข้างสูงและในปีงบประมาณ 2553 มีการจ้างที่ปรึกษาเพิ่มอีกจำนวน 3 คน เป็นอดีตเจ้าหน้าที่ สปสช. 1 คน และบุคคลภายนอก 2 คน

1.5.2   การจัดทำสัญญาจ้างที่ปรึกษาไม่ครบถ้วน
   จากการตรวจสอบการทำสัญญาจ้างที่ปรึกษาทั้ง 3 คน พบว่า สปสช. จัดทำสัญญาจ้างที่ปรึกษาไม่ครบถ้วน ปรากฏดังตาราง

หมายเหตุ :  เจ้า นางเขมรัสมี  ขุนศึกเม็งราย เริ่มจ้างในปีงบประมาณ 2551 และในปีงบประมาณ 2552 ใช้สัญญาจ้างของปีงบประมาณ 2551

จากตารางข้างต้น สปสช. จัดทำสัญญาจ้างที่ปรึกษาไม่ครบถ้วน ดังนี้

1.5.2.1 สัญญาจ้าง นพ.ปัญญา กีรติหัตถยากร เริ่มจ้างในปีงบประมาณ 2549 และได้ทำสัญญาจ้างในปีงบประมาณ 2549 - 2550 สำหรับปีงบประมาณ 2551 ไม่ได้จัดทำสัญญาแต่มีการจ่ายเงินค่าจ้าง และเริ่มมาจัดทำสัญญาจ้างอีกครั้งในปีงบประมาณ 2552
1.5.2.2 สัญญาจ้าง พญ.เรณู ศรีสมิต เริ่มจ้างในปีงบประมาณ 2549 และได้ทำสัญญาจ้างในปีงบประมาณ 2549 - 2550 สำหรับปีงบประมาณ 2551- 2552 ไม่ได้จัดทำสัญญา แต่มีการจ่ายเงินค่าจ้างต่อเนื่องทุกปี
1.5.2.3 สัญญาจ้าง เจ้า นางเขมรัสมี ขุนศึกเม็งราย เริ่มจ้างในปีงบประมาณ 2551 และได้ทำสัญญาในปีงบประมาณ 2551 โดยในสัญญาฉบับนี้ได้มีการระบุระยะเวลาการจ้างต่อเนื่องว่า

“ในกรณีที่ระยะเวลาตามสัญญาจ้างพนักงานนี้ใกล้จะสิ้นสุดลง หากสำนักงานต้องการจ้างพนักงานปฏิบัติงานต่อไปอีก ให้ถือว่าสัญญาจ้างพนักงานนี้ขยายออกไปอีกทุก ๆ หนึ่งปี เว้นแต่สำนักงานจะมีการยุบหรือยกเลิกตำแหน่งและได้แจ้งให้พนักงานทราบล่วงหน้าแล้ว ให้สัญญานี้สิ้นสุดลงตามระยะเวลา ที่กำหนดในสัญญา” ดังนั้น ในปีงบประมาณ 2552 จึงเป็นการจ้างต่อเนื่องตามสัญญาในปีงบประมาณ 2551 อย่างไรก็ตามในปีงบประมาณ 2553 สปสช. ได้จัดทำสัญญาจ้างที่ปรึกษาใหม่ทั้งหมด และระบุระยะเวลาการจ้างต่อเนื่องเช่นเดียวกับสัญญาที่ทำในปีงบประมาณ 2551

1.5.3   สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจ้างที่ปรึกษาทำหน้าที่ผู้บริหารระดับสูง
จากการสอบถามผู้อำนวยการสำนักบริหารทรัพยากรบุคคลและการเปลี่ยนแปลงและวิเคราะห์ข้อมูลรายละเอียดประกอบสัญญาจ้าง พบว่า สปสช. จ้างที่ปรึกษาอาวุโสทำหน้าที่ผู้บริหารระดับสูงเช่นเดียวกับเลขาธิการ รองเลขาธิการ หรือผู้ช่วยเลขาธิการ โดยได้กำหนดในขอบเขตความรับผิดชอบของแต่ละคนดังนี้
1.5.3.1 นพ.ปัญญา กีรติหัตถยากร มีหน้าที่ความรับผิดชอบตามสัญญา
ในปีงบประมาณ 2550 - 2553 คือ ให้คำปรึกษาและคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สิทธิเข้ารับบริการสาธารณสุขที่สถานบริการอื่น การติดตามเงินลงทุนและการพิจารณาเงื่อนไขการชำระหนี้ การประสานงานด้านการเมือง การชี้แจงข้อมูลแก่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สนับสนุนและกำกับการพัฒนาคุณภาพของหน่วยบริการ ติดตามและตรวจเยี่ยมหน่วยบริการ และงานอื่น ๆ ที่เลขาธิการมอบหมาย
1.5.3.2 พญ.เรณู ศรีสมิต มีหน้าที่ความรับผิดชอบตามสัญญาปีงบประมาณ 2550 - 2553 คือ สนับสนุนการบริการผู้ติดเชื้อ เอช ไอ วี โครงการโรคลมชัก โครงการยิ้มสวยเสียงใส การพัฒนาระบบยาและเวชภัณฑ์ การบริหารจัดการงบประมาณสำหรับโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของหน่วยบริการและการควบคุมกำกับติดตามและประเมินผลหน่วยบริการ
ในส่วนของศูนย์ตติยภูมิเฉพาะด้าน การพัฒนาระบบคุณภาพและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล และงานอื่น ๆ ที่เลขาธิการมอบหมาย
1.5.3.3 เจ้า นางเขมรัสมี ขุนศึกเม็งราย มีหน้าที่ความรับผิดชอบตามสัญญาปีงบประมาณ 2551 - 2553 คือ การสนับสนุนและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับระบบบริการคุณภาพ (Quality Management System : QMS) เน้นหนักด้าน Management review ระบบตรวจสอบภายในและการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข การทบทวนเวชระเบียนในสถานพยาบาลตามมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ (Hospital Accreditation : HA) และการประเมินคุณภาพการรักษา (Clinical audit) การพัฒนาเครือข่ายบริการรวมทั้งระบบส่งต่อ - ส่งกลับ การพัฒนาการชดเชยเพื่อรับรองการพัฒนาระบบบริการ การพัฒนาระบบยาและเวชภัณฑ์ มาตรฐานการบริการเป็นรายกรณีและรายโรค การติดตามและตรวจเยี่ยมหน่วยบริการ การสนับสนุนและปฏิบัติงานร่วมกับส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับมอบหมาย และงานอื่น ๆ ที่เลขาธิการมอบหมาย (ภาคผนวกที่ 3)

จากข้อเท็จจริงการปฏิบัติหน้าที่ตามขอบเขตความรับผิดชอบดังกล่าวจะมีหน่วยงานและผู้ปฏิบัติรับผิดชอบอยู่แล้วในแต่ละภารกิจ แต่กำหนดให้มีที่ปรึกษาทำงานเต็มเวลาเหมือนเจ้าหน้าที่ของ สปสช.

1.5.4 เอกสารการประเมินผลการปฏิบัติงานของที่ปรึกษาสำหรับปีงบประมาณ 2551 และ 2552 ไม่สมบูรณ์

จากการสัมภาษณ์ผู้อำนวยการสำนักบริหารทรัพยากรบุคคลและการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงานของที่ปรึกษาทั้ง 3 คน ชี้แจงว่า รูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของที่ปรึกษาไม่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่การประเมินผลใช้มติการประชุมของคณะกรรมการนโยบายทรัพยากรบุคคลที่ประกอบด้วยคณะกรรมการ 4 คน คือ เลขาธิการ และรองเลขาธิการ 3 คน แต่การประชุมคณะกรรมการดังกล่าวไม่เป็นทางการ และไม่ได้จัดทำรายงานการประชุม การต่อสัญญาที่ปรึกษาใช้การแจ้งผลการลงมติของคณะกรรมการดังกล่าวที่แจ้งให้สำนักบริหารทรัพยากรบุคคลและการเปลี่ยนแปลงด้วยวาจาไม่มีการแจ้งผลการลงมติเป็นลายลักษณ์อักษร

อย่างไรก็ตามแม้ว่าในสัญญาว่าจ้างที่ปรึกษาจะระบุว่ารูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามที่ผู้ว่าจ้างกำหนด แต่รูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติการของที่ปรึกษาในลักษณะดังกล่าวไม่เหมาะสมเนื่องจากไม่มีหลักฐานการประเมินผลการปฏิบัติงานที่เป็นทางการ ดังนั้นในปีงบประมาณ 2552 สปสช. จึงมีการประเมินผลการปฏิบัติงานของที่ปรึกษาอาวุโสประจำปีงบประมาณ 2551 เป็นลายลักษณ์อักษรแต่พิจารณาจากเอกสารรายงานผลการประเมินพบว่าไม่มีการลงวันที่ที่ทำการประเมินผลและลายมือชื่อรับทราบผลการประเมินซึ่งระบุไว้ในแบบฟอร์ม ต่อมา
ในปีงบประมาณ 2552 ได้มีการปรับแบบฟอร์มประเมินผลงานที่ปรึกษาใหม่ โดยในแบบฟอร์มไม่มีการระบุวัน เดือน ปี ที่ทำการประเมินจึงถือว่าเป็นการจัดทำเอกสารที่ไม่สมบูรณ์
.........................................................................................

8374
1.4 การใช้จ่ายเงินบางรายการเป็นไปโดยไม่ประหยัด
จากการวิเคราะห์รายการค่าใช้จ่ายของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) พบว่ามีการใช้จ่ายเงินโดยไม่ประหยัด กล่าวคือมีการเลือกเบิกค่าพาหนะเดินทางประเภทรถส่วนตัวมากกว่าการเบิกค่าพาหนะประจำทาง การเบิกค่าเครื่องบินไม่เป็นไปตามประกาศที่ สปสช. กำหนด และการเบิกเบี้ยเลี้ยงในการเดินทางที่ซ้ำซ้อนกับค่าอาหาร โดยมีรายละเอียดดังนี้

1.4.1 การเดินทางโดยเครื่องบินไม่เป็นไปตามประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องค่าใช้จ่ายในการบริหารและการจัดการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ที่กำหนดประกาศฯ กำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานหรือพนักงานตำแหน่งอื่น ๆ ตั้งแต่ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักลงมาสามารถเดินทางโดยเครื่องบินได้เฉพาะกรณีที่มีความจำเป็น แต่จากการตรวจสอบพบว่า การเดินทางโดยเครื่องบินของผู้เข้าร่วมประชุมที่เป็นผู้ปฏิบัติงานหรือพนักงานตำแหน่งอื่น ๆ ที่มิใช่ผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญ หรือรองผู้อำนวยการสำนัก หากเป็นการเดินทางมาจากจังหวัดที่เป็นที่ตั้งของสนามบินภายในประเทศแล้ว ส่วนใหญ่ผู้เข้าร่วมประชุมจะเดินทางโดยเครื่องบินและการขอเบิกค่าโดยสารเครื่องบินทุกรายการไม่ได้ระบุถึงเหตุผลความจำเป็นที่ต้องเดินทางโดยเครื่องบิน ไม่ว่าการเดินทางดังกล่าวนั้นจะได้รับอนุมัติจากผู้อำนวยการพื้นที่สาขาเขตหรือไม่ก็ตาม ตัวอย่างปรากฏดังตาราง
ตัวอย่างโครงการและจำนวนเจ้าหน้าที่ที่เดินทางโดยเครื่องบินโดยไม่ประหยัดและไม่ได้ระบุเหตุผลความจำเป็น ประจำปีงบประมาณ 2552

ที่มา : เอกสารประกอบการเบิกค่าใช้จ่ายในการประชุมอบรมสัมมนา สำนักบริหารการเงิน สปสช.

1.4.2 ค่าเบี้ยเลี้ยงการเดินทาง
การจ่ายเงินค่าเบี้ยเลี้ยงการเดินทางในการจัดประชุมอบรมสัมมนาถือปฏิบัติตามประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องค่าใช้จ่ายในการบริหารและการจัดการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 โดยในการเข้าร่วมประชุมอบรมสัมมนาเมื่อมีการจัดอาหารเลี้ยงก็ยังคงเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงได้เต็มสิทธิ แต่จากระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ พ.ศ. 2549 ข้อ 20 ได้กำหนดกรณีที่มีการจัดอาหารให้แก่ผู้เข้าประชุมอบรมสัมมนาที่ได้รับค่าเบี้ยเลี้ยงด้วยนั้น ให้หักค่าเบี้ยเลี้ยงได้ในอัตรามื้อละ 1 ใน 3 ของอัตราเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายต่อวัน แต่ประกาศของ สปสช. ดังกล่าวไม่ได้วางหลักเกณฑ์ข้อนี้ไว้ทำให้หน่วยงานมีการเบิกค่าใช้จ่ายซ้ำซ้อน เนื่องจากผู้เข้าประชุมอบรมสัมมนาจะได้รับค่าเบี้ยเลี้ยงเต็มจำนวนแม้ในการอบรมดังกล่าวจะได้มีการจัดอาหารให้ครบทุกมื้อแล้วก็ตาม
...




8375
1.3 การจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษ (โบนัส) ให้แก่เจ้าหน้าที่ พนักงาน และลูกจ้างไม่เหมาะสม

สปสช. เริ่มมีนโยบายให้จ่ายเงินโบนัสให้เจ้าหน้าที่ของ สปสช. ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2548 การจ่ายเงินโบนัสพิจารณาจากผลการดำเนินงานในภาพรวมของ สปสช. ซึ่งประเมินโดยบริษัท ไทยเรทติ้งแอนด์อินฟอร์เมชั่นเซอร์วิส จำกัด (Thai Rating & Information Service Co., Ltd. : TRIS ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ทริส คอร์ปอชั่น จำกัด TRIS Corporation Limited หรือ ทริส (TRIS)) และจากมติของคณะกรรมการกำหนดกรอบวงเงินโบนัสจากการประเมินผลงานในภาพรวมโดย ทริส ซึ่งแบ่งผลงานออกเป็น 3 ระดับ คือ
ระดับ A คะแนนตั้งแต่ร้อยละ 81 ได้รับกรอบเงินโบนัสร้อยละ 12 ของเงินเดือน
ระดับ B คะแนนตั้งแต่ร้อยละ 71 - 80 ได้รับกรอบเงินโบนัสร้อยละ 8 ของเงินเดือน และ
ระดับ C คะแนนระหว่างร้อยละ 60 - 70 ได้รับกรอบวงเงินโบนัสร้อยละ 4 ของเงินเดือน
โดยมีแนวทางและหลักเกณฑ์การจ่ายเงินโบนัส ที่ประกอบด้วยการพิจารณาผลการปฏิบัติงานดังนี้
ส่วนที่ 1 ให้เจ้าหน้าที่ของ สปสช. ทุกสำนักทุกคนเท่า ๆ กัน ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของทีมที่ช่วยผลักดันเป้าหมายของ สปสช. ให้บรรลุเป้าหมาย
ส่วนที่ 2 จัดสรรให้สำนักไม่เท่ากัน โดยให้ตามผลงานของสำนัก และทุกคนในสำนักเดียวกันได้เท่ากัน ในฐานะเป็นหนึ่งของทีมสำนัก และรับผิดชอบต่อผลงานของสำนักร่วมกัน
ส่วนที่ 3 ให้แต่ละคนไม่เท่ากันโดยให้ตามผลงานส่วนบุคคล

ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2548 - 2552 การประเมินผลงานของ สปสช. โดยรวมที่ประเมินโดยทริสนั้น สปสช. มีผลงานอยู่ในระดับ A ทั้ง 5 ปี โดยมีคะแนนระหว่าง 90.95 - 93.80 โดยมีรายละเอียดผลการประเมินแต่ละปีงบประมาณปรากฏดังตาราง


จากผลการประเมินผลการดำเนินงานโดยทริสตั้งแต่ปีงบประมาณ 2548 - 2552 สปสช. จึงมีการจ่ายเงินโบนัส ให้แก่เจ้าหน้าที่ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2548 - 2552 จ่ายเงินโบนัสให้พนักงานตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550 - 2552 และจ่ายเงินโบนัสให้ลูกจ้างตั้งแต่ปีงบประมาณ 2552เป็นต้นมา ปรากฏดังตาราง


หมายเหตุ :
1. ปีงบประมาณ 2548 - 2551 สปสช. มีการจ้างบุคคลปฏิบัติงานใช้ชื่อเรียกว่า “พนักงาน” ต่อมาในปีงบประมาณ 2552 มีการปรับจากพนักงานเป็นเจ้าหน้าที่ประมาณ 150 ตำแหน่ง และที่เหลือบางส่วนปรับเป็นลูกจ้างทำให้ปีงบประมาณ 2552 มีเจ้าหน้าที่เพิ่มขึ้นมาก

2. ปีงบประมาณ 2548 - 2549 มีพนักงานจำนวน 158 คน และ 204 คน ตามลำดับ แต่ไม่มีการจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษ (โบนัส) และ สปสช. จ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษ (โบนัส) ให้แก่พนักงานในปีงบประมาณ 2550 - 2551 เป็นเงินจำนวน 2,751,615.00 บาท

3. ปีงบประมาณ 2552 จ่ายเงินโบนัสเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2552 

จากการตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลการจ่ายเงินโบนัสให้แก่เจ้าหน้าที่ พนักงาน และลูกจ้างของ สปสช. พบว่าไม่ได้นำเสนอข้อมูลที่ครบถ้วนต่อคณะกรรมการ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.3.1   ในปีงบประมาณ 2549 การจ่ายเงินโบนัสของ สปสช. เป็นการจ่ายโดยไม่มีมติเห็นชอบจากคณะกรรมการ ซึ่ง สปสช. จ่ายเงินโบนัสให้เจ้าหน้าที่ และลูกจ้าง เป็นจำนวนเงิน 18,702,836.00 บาท โดย สปสช. นำมติคณะกรรมการเรื่องการจ่ายโบนัสในปีงบประมาณ 2548 มาใช้สำหรับการจ่ายโบนัสในปีงบประมาณ 2549 ในขณะที่ปีอื่น ๆ จะมีมติคณะกรรมการอนุมัติให้จ่าย

1.3.2   ในปีงบประมาณ 2550 - 2551 สปสช. จ่ายเงินโบนัสให้พนักงานที่ สปสช. จ้างตามข้อบังคับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. 2546 ข้อ 15 ซึ่งไม่ถือว่าเป็นลูกจ้างของ สปสช. แต่เป็นพนักงานจ้างเหมาเฉพาะกรณี ซึ่งจากการสอบถามเลขาธิการ สปสช. ชี้แจงว่าพนักงานสามารถได้รับค่าตอบแทนพิเศษ (โบนัส) ตามประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องการบริหารงานบุคคลสำหรับพนักงาน (ลูกจ้างสัญญาจ้าง) พ.ศ. 2550 ลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2550 ข้อ 11 พนักงานนอกจากได้รับค่าจ้างตามอัตราจ้างแล้วอาจได้รับเงินค่าตอบแทนอื่น เงินเพิ่มพิเศษ ค่าล่วงเวลา เบี้ยขยัน ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าใช้จ่ายอื่น สวัสดิการ การสงเคราะห์และประโยชน์เกื้อกูล ตามที่คณะกรรมการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลกำหนด การจ่ายเงินโบนัสให้พนักงานในปีงบประมาณ 2550 - 2551 จำนวน 2,751,615.00 บาท นั้นเป็นการจ่ายโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกำหนดนโยบายบริหารทรัพยากรบุคคล และไม่ได้นำเสนอการจ่ายโบนัสให้พนักงานเพื่อขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการทำให้คณะกรรมการยังไม่ได้พิจารณาว่าการจ่ายโบนัสให้พนักงานถูกต้องตามแนวทางหลักเกณฑ์การจ่ายเงินโบนัสที่คณะกรรมการกำหนด
...

8376
ผลการตรวจสอบและข้อเสนอแนะ

จากการตรวจสอบประเมินผลการดำเนินงานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ที่ใช้งบบริหารสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (งบบริหาร) และงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (งบกองทุน) พบว่า การบริหารจัดการยังไม่ถูกต้องและเหมาะสมในหลายประเด็นดังนี้

ประเด็นที่ 1   การใช้จ่ายงบบริหารไม่ถูกต้อง และไม่ประหยัด
ประเด็นที่ 2   การบริหารพัสดุไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
ประเด็นที่ 3   การนำเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐจากการซื้อยาจากองค์การเภสัชกรรมโดยใช้งบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไปใช้เป็นเงิน สวัสดิการเป็นการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสม
ประเด็นที่ 4   การจัดส่วนงานและการกำหนดตำแหน่งงานไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545
ประเด็นที่ 5   ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด และการบรรจุแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ไม่เป็นไปตามคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง (Job Specification)
ประเด็นที่ 6   การใช้จ่ายงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์
ที่กำหนดในพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545
ประเด็นที่ 7   การบริหารงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติรายการงบบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคไม่เป็นไปตามที่คู่มือกำหนด

รายละเอียดแต่ละประเด็นข้อตรวจพบมีดังนี้

ประเด็นที่ 1    การใช้จ่ายงบบริหารไม่ถูกต้อง และไม่ประหยัด
จากการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินจากงบบริหารของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) พบว่ามีการจ่ายเงินไม่ถูกต้อง และไม่ประหยัด ดังนี้
1.1 การปรับอัตราเงินเดือนให้เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไม่เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี

จากการตรวจสอบสัญญาจ้างเลขาธิการ สปสช. ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2551 - 2553 พบว่าไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี โดยมีรายละเอียดดังนี้
เลขาธิการ สปสช. คนปัจจุบัน เริ่มปฏิบัติงานเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2551 ในอัตราค่าจ้างเดือนละ 171,600.00 บาท และเงินประจำตำแหน่งเดือนละ 42,900.00 บาท ต่อมาเมื่อมีการประเมินผลการปฏิบัติงานปีที่ 1 ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2551 - 31 มีนาคม 2552 คณะกรรมการมีมติเห็นชอบให้ปรับอัตราเงินเดือนเป็นเดือนละ 200,000.00 บาท และเงินประจำตำแหน่งเดือนละ 50,000.00 บาท

จากกรณีข้างต้นในช่วงเวลาปฏิบัติงาน 1 ปี เลขาธิการได้รับการปรับเงินเดือนจากอัตราเดือนละ 171,600.00 บาท เป็นเดือนละ 200,000.00 บาท หรือเป็นกรอบอัตราสูงสุดของกรอบเงินเดือนเลขาธิการตามมติ ครม. เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 16.55 ซึ่งไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของการได้รับเงินเดือนของเลขาธิการ ตามมติ ครม.ที่กำหนดว่า “การกำหนดอัตราค่าตอบแทนพื้นฐานในส่วนของเงินเดือนประจำในระยะเริ่มแรกไม่ควรกำหนดไว้ให้ใกล้เคียงกับขั้นสูงสุดเพื่อให้สามารถปรับอัตราค่าตอบแทนพื้นฐาน (เงินเดือน) ได้ตามผลงานเป็นระยะ ๆ ตลอดอายุสัญญา” ดังนั้นการกำหนดอัตราเงินเดือนให้เลขาธิการจากการปฏิบัติงานปีแรกแล้วปรับเป็นอัตราสูงสุดตามกรอบถือว่าเป็นการไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี

1.2 การจ่ายเงินค่าเบี้ยประชุมคณะอนุกรรมการตรวจสอบไม่เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2545 มีคำสั่งแต่งตั้งอนุกรรมการตรวจสอบ 4 คน มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม 2546 และมีคำสั่งแต่งตั้งอนุกรรมการตรวจสอบชุดใหม่มีจำนวน 5 คน เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2550 ในคำสั่งดังกล่าวได้กำหนดค่าตอบแทนเหมาจ่ายเป็นรายเดือน หรือค่าเบี้ยประชุมคณะอนุกรรมการตรวจสอบโดยให้ประธานอนุกรรมการได้รับเดือนละ 20,000.00 บาท และอนุกรรมการได้รับคนละ 16,000.00 บาทต่อเดือน
เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2547 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเรื่อง การปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดอัตราเงินเดือนฯ หลักเกณฑ์การกำหนดเบี้ยประชุมฯ และการพัฒนาการดำเนินงานและการประเมินผลองค์การมหาชน โดยมติคณะรัฐมนตรีมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดกรอบอัตราเงินเดือนและประโยชน์
ตอบแทนอื่นและเบี้ยประชุม ให้องค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 และองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะให้อยู่ในหลักเกณฑ์เดียวกัน ซึ่งมติคณะรัฐมนตรีกำหนดเบี้ยประชุมของประธานกรรมการ กรรมการ และอนุกรรมการ และมีการจ่ายจริง ดังนี้

1.2.1   สปสช. เป็นองค์การมหาชนในกลุ่มที่ 3 กำหนดอัตราเบี้ยประชุมกรรมการขั้นต่ำและขั้นสูงเท่ากับ 6,000.00 - 12,000.00 บาท จากการตรวจสอบพบว่ากรรมการได้รับเบี้ยประชุมคนละ 12,000.00 บาทต่อเดือน
1.2.2   ประธานกรรมการให้ได้รับอัตราสูงกว่ากรรมการร้อยละ 25 ดังนั้น ขั้นต่ำและขั้นสูงของประธานกรรมการเท่ากับ 7,500.00 - 15,000.00 บาท จากการตรวจสอบพบว่าประธานกรรมการได้รับเบี้ยประชุมเดือนละ 15,000.00 บาท
1.2.3   อนุกรรมการให้ได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนตามที่คณะกรรมการกำหนดแต่ไม่เกินครึ่งหนึ่งของอัตราเบี้ยประชุมกรรมการ ดังนั้นจากข้อมูลตามข้อ 1.2.1 อนุกรรมการตรวจสอบจะได้รับเบี้ยประชุมในอัตราสูงสุดไม่เกินคนละ 6,000.00 บาทต่อเดือน จากการตรวจสอบพบว่าอนุกรรมการตรวจสอบยังคงได้รับเบี้ยประชุมในอัตราคนละ 16,000.00 บาทต่อเดือน
1.2.4   ประธานอนุกรรมการให้ได้รับในอัตราสูงกว่าอนุกรรมการร้อยละ 25 ดังนั้นจากข้อมูลตามข้อ 1.2.2 ประธานอนุกรรมการตรวจสอบจะได้รับเบี้ยประชุมในอัตราสูงสุดไม่เกินเดือนละ 7,500.00 บาท จากการตรวจสอบประธานอนุกรรมการตรวจสอบยังคงได้รับเบี้ยประชุมในอัตราเดือนละ 20,000.00 บาท

กล่าวโดยสรุปตั้งแต่มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 7 กันยายน 2547 ถึงปัจจุบันเดือนมีนาคม 2553 เป็นระยะเวลา 5 ปี 6 เดือนที่ สปสช. จ่ายค่าเบี้ยประชุมคณะอนุกรรมการตรวจสอบสูงเกินกว่าที่คณะรัฐมนตรีกำหนดเป็นเงินจำนวน 3,105,000.00 บาท ปรากฏดังตาราง


หมายเหตุ :    
1. อัตราเบี้ยประชุมที่ควรได้รับ หมายถึง อัตราเบี้ยประชุมที่คำนวณมาจากฐานอัตราเบี้ยประชุมของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ คือครึ่งหนึ่งของอัตราเบี้ยประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
2. รวมเบี้ยประชุมที่จ่ายสูงเกินไปใช้ระยะเวลาคำนวณ 5 ปี 6 เดือน หรือ 66 เดือน (1 ตุลาคม 2547 – 31 มีนาคม 2553)
3. คณะอนุกรรมการชุดที่ 1 มีอนุกรรมการจำนวน 3 คน คำสั่งแต่งตั้งเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2546  คำนวณการประชุมตั้งแต่มีมติคณะรัฐมนตรี (เดือนตุลาคม 2547) ถึงวันที่ได้อนุกรรมการชุดที่ 2 (เดือนกันยายน 2550) เป็นระยะเวลา 36 เดือน
4. คณะอนุกรรมการชุดที่ 2 มีอนุกรรมการจำนวน 4 คน คำสั่งแต่งตั้งเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2550 คำนวณการประชุมตั้งแต่มีคำสั่งแต่งตั้งเดือนตุลาคม 2550 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2553 เป็นระยะเวลา 30 เดือน
...

8377
ผู้ชายไทยมีพฤติกรรมนอกใจคนรักมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ในโลก ขณะที่เพื่อนบ้านรั้วติดกันอย่างมาเลเซีย ก็ตามมาในอันดับที่ 3 หนังสือพิมพ์ไชนาเพรสส์ของมาเลเซีย รายงานผลการศึกษาของดูเร็กซ์ วานนี้ (5)
       
       การสำรวจครั้งนี้ เปิดเผยว่า ชายไทย 54 เปอร์เซ็นต์ ยอมรับว่า เคยนอกใจคนรัก โดยหนุ่มเกาหลีใต้ตามมาเป็นอันดับ 2 ที่ 34 เปอร์เซ็นต์ ส่วนผู้ชายมาเลเซีย มีจำนวน 33 เปอร์เซ็นต์ เคยนอกลู่นอกทาง
       
       ประเทศที่อันดับไล่หลังมาเลเซีย ได้แก่ รัสเซียที่ 32 เปอร์เซ็นต์ และฮ่องกง 29 เปอร์เซ็นต์
       
       ในกรณีของฝ่ายหญิง ดูเร็กซ์ รายงานว่า หญิงไทยครองอันดับ 2 แห่งการนอกใจด้วยคะแนน 59 เปอร์เซ็นต์ โดยอันดับ 1 ได้แก่ ไนจีเรีย ที่ 62 เปอร์เซ็นต์ ส่วนมาเลเซียตามมาเป็นอันดับ 3 อีกเช่นเคยที่ 39 เปอร์เซ็นต์
       
       สตรีจากรัสเซียครองอันดับ 4 ที่ 33 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่สิงคโปร์ มีผู้หญิงยืดอกยอมรับว่า เคยนอกใจคนรัก 19 เปอร์เซ็นต์ เป็นอันดับที่ 5
       
       ทั้งนี้ ดูเร็กซ์ ผู้ผลิตถุงยางอนามัยชั้นนำ ทำการสัมภาษณ์ผู้คน 29,000 คน ใน 36 ประเทศทั่วโลกว่าด้วยเรื่องเพศสัมพันธ์ในห้วข้อต่างๆ โดยยังระบุว่า ผู้ชายมาเลเซีย มีคู่ควงเฉลี่ย 3 คน ขณะที่สิงคโปร์และฮ่องกง มีมากถึง 16 คน เป็นสถิติที่สูงสุดในเอเชีย อย่างไรก็ตาม รายงานชิ้นนี้ไม่ได้อ้างถึงจำนวนคนรักเฉลี่ยของผู้ชายไทย

ASTVผู้จัดการออนไลน์    6 ธันวาคม 2554

8378
หรือสังคมจะอยู่​ในภาวะถดถอยจน​ถึงขั้นต้อง "หากินกับศพ" กัน​แล้ว? ​และที่กระตุกต่อม​ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี​ให้ออกมาดิ้นพล่านๆ ด้วย​ความคิดที่ว่า​ทำ​ไม​จึงมี​เรื่อง​แบบนี้​เกิดขึ้น​ได้​ก็​เพราะศพที่ถูก​ใช้หากินคือร่าง​ซึ่งมีคุณูป​การต่อ​การพัฒนาวง​การ​แพทย์ ​เป็นร่าง​ซึ่ง​แม้จะ​ไร้วิญญาณ​แต่​ไม่​ไร้จิตวิญญาณฝ่ายดีที่มีต่อสังคม​โดยรวม นั่นคือร่างบริสุทธิ์ที่​เปี่ยมด้วยคุณค่าภาย​ใต้ชื่อ "อาจารย์​ใหญ่" ​และ​เรื่องที่สร้างภาวะขุ่น​เคือง ​ความสับสน ​ความลัง​เล​ให้คนดีของสังคมที่ยอมอุทิศร่างกายภายหลังสิ้นลมหาย​ใจของตน​ให้​แก่​โรงพยาบาลต่างๆ ​เพื่อนำ​ไป​ใช้ประ​โยชน์​แล้ว ต้องกลับมาคิดทบทวน​ความรู้สึกนั้นอีกรอบ จนบางคน​ถึงขั้นจะขอยก​เลิก​การบริจาค​ทั้งหมด ​เพียง​เพราะปลา​เน่า​ไม่กี่ตัวที่สร้าง​ความวุ่นวาย​และ​ความ "​เสื่อม" ​เป็นวงกว้าง

​โดยประ​เด็นที่กำลังถก​เถียง​และ​ได้รับ​ความสน​ใจ​เกี่ยวกับ​การ "หากินกับศพ" จนลุกลาม​ไป​ใหญ่​โต​เรื่องนี้ ​เกิดจาก​เจ้าหน้าที่ของ​โรงพยาบาลศิริราช ​เรียก​เ​ก็บ​เงินค่ารับร่างอาจารย์​ใหญ่จากญาติราคาสูง​ถึง 14,000 บาท ​โดย​ไม่มี​ใบ​เสร็จ​ใดๆ รับรองนอกจาก​การชี้​แจงปาก​เปล่าว่ามีค่าอะ​ไรบ้าง จน​ผู้​เสียหายฉุกคิดอย่างฉงนสงสัยว่าบริจาคร่างกาย​แล้วยังต้องมีค่า​ใช้จ่ายด้วยจริง​หรือ? ​และค่า​ใช้จ่าย​ทั้งหมดนั้นจะ​เข้ากระ​เป๋า​ใคร? ​เป็นน​โยบาลของ​โรงพยาบาล ​หรือ​แค่คนคน​เดียว? ​จึง​ได้มี​การตั้งกระทู้​ใน​เว็บ​ไซต์ชื่อดังอย่างพันทิพ พร้อม​ทั้ง​โทรสอบถาม​แก่​เจ้าหน้าที่​และ​ได้รับคำตอบว่า "หากร่างที่บริจาคอยู่นอกหลัก​เกณฑ์ (นอก​เขตรับบริจาค) ​การ​เกิดค่า​ใช้จ่ายจะ​เป็นข้อตกลงกัน​เองระหว่างญาติ​และ​เจ้าหน้าที่"

​ทั้งนี้ ล็อคอิน มะม่วงกะล่อน ​ซึ่งอ้างว่าตน​เป็น นายบุญส่ง ​เจริญวัฒน์ อาจารย์ ​ผู้รับผิดชอบดู​แล​เจ้าหน้าที่ห้องศพ ของภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะ​แพทย์ศิริราช ​ได้ออกมายืนยัน​ในกระทู้ดังกล่าวด้วยว่า​การรับศพนั้น "​ไม่มีค่า​ใช้จ่าย" ส่วนค่า​ใช้จ่ายที่​เกิดขึ้น ​เป็น​การตกลงกันระหว่างญาติอาจารย์​ใหญ่​และ​เจ้าหน้าที่ฯ พร้อม​ทั้ง​แจ้งว่ามี​เรื่องร้อง​เรียน ​การ​ทำงานของ​เจ้าหน้าที่ฯ ​เฉลี่ยปีละ ๑ ครั้ง ส่วน​ใหญ่​เป็น​เรื่อง​เรียกรับ​เงิน - ทุกครั้ง "​ผู้ที่ร้อง​เรียน" ​ไม่​เคย​เป็นคน​เดียวกับ "​ผู้ตกลง" ​และทุกครั้งที่มี​การร้อง​เรียน ​หรือ ภาควิชาฯ รับทราบปัญหา ​ไม่ว่าจะ​เป็นช่องทาง​ใด จะมี​การตั้งกรรม​การสอบสวน บันทึก​เป็นลายลักษณ์อักษร - หากพบว่า​เจ้าหน้าที่ฯ มีส่วนผิด ​หรือ บกพร่อง จะมี​การลง​โทษ ตามระ​เบียบขั้นตอน

อย่าง​ไร​ก็ตาม จากคำชี้​แจงของอาจารย์บุญส่งข้างต้น มิ​ได้​ทำ​ให้​ความ​เดือดดาลของ​ผู้​ให้​ความสน​ใจ​เกี่ยวกับ​เหตุ​การณ์นี้ลดน้อยลง​แม้​แต่น้อย ​แต่กลับกระตุ้นอารมณ์ขุ่นมัว​และสร้างคำถามค้างคา​ให้​เกิดขึ้น​ใน​ใจ​เพิ่ม​เติม​เมื่อ​เหตุ​การณ์ดังกล่าว​ไม่​ได้​เพิ่ง​เกิดขึ้น​เป็นครั้ง​แรก ​เหตุ​ใดทาง​โรงพยาบาล​จึงปล่อยประละ​เลย​ให้มี​การทุจริต​ใน​เรื่อง​เดิม​เกิดขึ้นซ้ำ​แล้วซ้ำ​เล่า ​โดย​ไม่มี​แนวทางป้องกันที่ชัด​เจน พร้อม​ทั้งยกตัวอย่างสถานรับบริจาคอื่นๆ ​ซึ่ง​ให้​ความ​เคารพต่อร่างอาจารย์​ใหญ่ ​ให้​เกียรติดู​แลพิธีทุกขั้นตอน ​และที่สำคัญ​ไม่มี​การ​เรียก​เ​ก็บค่า​ใช้จ่าย​ใด​ใด​ทั้งสิ้น

...จาก​เหตุ​การณ์ที่​เกิดขึ้นน่าจะ​เป็นบท​เรียน​ให้​แก่​ผู้ที่สน​ใจบริจาคร่างกายพึงต้องศึกษาหลัก​เกณฑ์​การรับบริจาคของ​แต่ละสถาบันอย่างละ​เอียด​เพื่อจะ​ได้​ไม่ต้อง​เสียรู้​ให้กับกล​โกงที่พร้อมจะมา​ในรูป​แบบต่างๆ ​และ​ไม่​ให้ศรัทธาดีๆ ต้อง​เสีย​ไป​เพียง​เพราะปลา​เน่า​เพียง​ไม่กี่ตัว ส่วนทางสถานรับบริจาค​ก็ควรออกกฏระ​เบียบ บทลง​โทษ​แก่​ผู้กระ​ทำผิด​ไว้อย่างชัด​เจน ​และดู​แล​เอา​ใจ​ใส่มิ​ให้มี​การทุจริต​เกิดขึ้นอย่าง​ใกล้ชิด หากต้องมีค่า​ใช้จ่าย​ใดๆ ​เกิดขึ้นควร​แจ้งญาติ​ผู้ตายก่อน​เกิด​เรื่องบานปลายตามมา หมั่นดู​แลทรัพยากรบุคคลของท่าน​ให้ประพฤติตนอย่าง​เหมาะสม ก่อนที่ทรัพยากรบุคคลที่​ไม่ดี​เหล่านั้นจะ​ทำ​ให้องค์กร​ใหญ่ต้อง​เสื่อม​เสีย ​และก่อนที่​ผู้มีจิตศรัทธาต้อง​เสื่อมศรัทธา​และกลาย​เป็น​ความ​เย็นชา​ในสังคม​ไปทีละน้อย

RYT9.COM  6 ธันวาคม 2554

8379
จิต​แพทย์​แนะ​ไม่ว่าจะ​เกิดวิกฤต​การณ์อย่าง​ไร "พ่อ" ​ผู้ที่​ทำหน้าที่หัวหน้าครอบครัว ​ผู้​แบกรับ​การตัดสิน​ใจ ​การ​แก้​ไขปัญหา ​การ​เผชิญหน้ากับอุปสรรคมากมาย จะต้อง ​ให้​ความสำคัญต่อ​การ​เป็นตัวอย่าง​ให้กับลูก ​โดย​เฉพาะลูกชาย​ใน​เรื่องของ​การวางตัว ​การมีสติ ​การตัดสิน​ใจ ​และ​การ​ใช้อารมณ์ ​เพื่อ​ให้ลูกก้าวสู่​การ​เป็น​ผู้​ใหญ่ที่ดี ​และ​เป็น "พ่อ" ที่ดีต่อ​ไป​ในอนาคต

นาย​แพทย์​โกวิทย์ นพพร จิต​แพทย์​โรงพยาบาลมนารมย์ กล่าวว่า ประ​เด็น ​ใน​การ​เป็น​แบบอย่างที่ดี​ให้กับลูกของพ่อ​แต่ละคนนั้นอาจ​แตกต่างกัน​ไป ​แต่สิ่งที่​เหมือนกัน​และ​เป็นพื้นฐานของ​การ​เป็น​แบบอย่างที่ดี​ให้ลูก​ก็คือ ​เรื่องของ​การครอง​และบริหารชีวิต ​ซึ่ง​การครองชีวิตที่ดี​เหมาะสม จะนำพาชีวิต​เรา​ไปสู่​ความสำ​เร็จ ​ทั้งนี้ พ่อควร​เป็น​แบบอย่างของคนที่ประพฤติดี มี ศีลธรรม จริยธรรม ขยันหมั่น​เพียร มี​ความอดทน มี​ความสามารถ​ใน​การฟันฝ่าอุปสรรค ​และ​แก้​ไขปัญหาต่างๆ ​ในชีวิต​ไป​ได้ รวม​ถึง ​การตัดสิน​ใจที่ดี​ในยามวิกฤติ​และ​การยืนหยัด อยู่​ได้​ในทุกสถาน​การณ์

"​เมื่อ​เรา​เป็นคนดี มีศีลธรรม ​ก็จะสามารถอดทน อดกลั้น ฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ​ในยามวิกฤติ​ได้ ​ในขณะที่​ความขยันหมั่น​เพียร มีสัมมาอาชีวะ ​ก็จะสามารถสร้างสิ่งที่ดีๆ ส่งต่อ​ไปยังอนุชนรุ่นหลัง​ได้ ​ซึ่งต้องพึงระลึก ว่า​การสอน​ให้ลูก​เป็นอย่างที่ตัว​เอง​เป็นนั้น ​ก็คือ​การ​ทำตัว​ให้​เป็น​แบบอย่างที่ดีควบคู่​ไปกับ​การสอนสิ่งที่ถูกต้อง​ให้​แก่ลูกด้วย"

สำหรับ​การกระ​ทำ​ให้​เป็น​แบบอย่างที่ดี ​แม้จะต้อง​เจอวิกฤติน้ำท่วม​หรือภัยพิบัติที่ถา​โถม​เข้ามา​ในช่วงท้ายปี 2554 ​และอาจจะ ต่อ​เนื่องยาว​ไปจน​ถึงปี 2555 นั้น นพ.​โกวิทย์ ​แนะว่า​ผู้ที่​ทำหน้าที่พ่อควร​ใช้ช่วงวิกฤตินี้ถ่ายทอด​แบบอย่างที่พึงประสงค์ ​เพื่อ​ให้ลูกสามารถ​เติบ​โต​และฝ่าวิกฤติ​ไป​ได้​เมื่อ​โตขึ้น ​โดยมีหัว​ใจที่สำคัญ 3 ประ​การคือ

​การรู้จักตั้งสติที่ดี​ไม่ตื่นตระหนก​เกิน​ไป ​เช่น ​เวลาที่​เกิดปัญหา พ่อต้อง​แสดง​ให้ลูก​เห็นว่าจะต้องมีสติ ​ไม่ตื่นตระหนกจน​ทำอะ​ไร​ไม่ถูก มี​ความอดทนอดกลั้นต่อสภาวะที่ประสบอยู่ ​แม้ว่าน้ำท่วมจะ​ทำ​ให้​เรา​เดือด​เนื้อร้อน​ใจ ​แต่ถ้า​เรา​ไม่อดทน มัว​แต่ตก​ใจจน​ทำอะ​ไร​ไม่ถูก ​เรา​ก็จะ​แก้ปัญหา​แบบ​ไร้ทิศทาง ฉะนั้น​การที่​เรามี​ความสุขุม จะ​ทำ ​ให้​เราค่อยๆ ​แก้​ไขปัญหา​ได้

​การมีจริยธรรม มี​การตัดสิน​ใจ​แก้ปัญหาที่ดี ด้วยพฤติกรรมที่​เหมาะสม ​เช่น ถ้า​เรา​เป็นคนที่มี​ความมานะอุตสาหะ ​เรา​ก็จะ​ไม่​ได้​เป็นคนที่นั่งรอคอย​ความช่วย​เหลือ​แล้ว​ก็​โวยวาย​ไปว่า​ทำ​ไม​ไม่มี​ใครมาช่วย ​เมื่อมีคนมาช่วย​เหลือ​แล้ว ​ก็​เผื่อ​แผ่​แบ่งปัน ​เจือจาน​ให้คนข้างหลัง ​ได้รับ​การช่วย​เหลืออย่างทั่ว​ถึง ​ความคิดที่ว่าฉัน​เดือดร้อน​แล้ว ​แต่​เธอยังสบายอยู่​หรือ​เดือดร้อนน้อยกว่า ฉัน​ไม่ยอม ฉันต้อง​ทำ​ให้​เธอ​เดือดร้อนลำบากด้วย ​ไม่​ใช่​โม​เดลที่ดีที่จะ​แสดง​ให้ลูก​ได้​เห็น ​และ​ไม่ควร​ไป​แสดง​ให้​ใคร​เห็น

ประ​การสุดท้าย คือ ​การ​ไม่​ใช้​ความรุน​แรง​ใน​การ​แก้​ไขปัญหา ​เพราะ​การ​ใช้​ความรุน​แรง ​ไม่​ได้​ทำ​ให้สิ่งที่ตัว​เองประสบอยู่นั้นทุ​เลา​เบาบางลง​ไป ควร​ใช้สติปัญญา​ใน​การตัดสิน​และ​แก้​ไขปัญหา ​ซึ่งน่าจะ​เป็นต้น​แบบ ที่ดี​ให้กับลูก ​และ​เมื่อ​เขา​เรียนรู้จากพ่อ-​แม่ ​ในอนาคต​เมื่อ​เขาพบปัญหาลักษณะ​เดียวกัน ​เขาจะ​ได้ยึดหลัก​การตัดสิน​ใจ​และ​แก้​ไขปัญหาตาม​แบบพ่อ-​แม่

นพ.​โกวิทย์ ยัง​แนะนำหลักปฏิบัติสำคัญพื้นฐานสำหรับ​การ​เลี้ยงดูลูก ​เพื่อ​ให้ลูก​ได้ซึมซับ​และ​เป็น​แบบอย่างของ​การ​เป็นพ่อ ที่ดี​ในอนาคต คือ ​การที่พ่อจะต้องมีอารมณ์ที่มั่นคง คง​เส้นคงวา อย่า​เป็นพ่อที่อารมณ์​เดี๋ยวดี​เดี๋ยวร้าย ​เพราะจะ​ทำ​ให้ลูกงงว่า​ทำ​ไม ​ทำ​แบบ​เดียวกัน ​แต่​เดี๋ยวพ่อ​ก็ดุด่า บางที​ก็​เฉยๆ ​ไม่สน​ใจ ​และบางที​ก็ยิ้ม ​และยิ่งถ้าพ่อควบคุมอารมณ์ตัว​เอง​ไม่​ได้​แล้ว​ใช้​ความรุน​แรง ​เช่น ถ้า​ทำผิดอย่าง​เดียวกัน วันนี้พ่อตี​เสียตัวลาย อีกวันพ่อ​ทำ​เป็นมอง​ไม่​เห็น อีกวัน ​ก็กลับชม​เสียอีก ​เด็ก​ก็จะสับสน ​ใน​แง่หนึ่งคือ​เด็ก​เรียนรู้ ว่าตกลงจะ​เอายัง​ไง ​ในวันที่พ่อ ​ทำ​โทษ​แรงๆ ​เด็ก​ก็จะมองว่าพ่อ​ไม่รัก ​เรื่องนี้มีผลกระทบกับลูกมาก ​เด็กจะ​ไม่รู้ว่าอะ​ไรคือสิ่งที่ควร​ทำ อะ​ไร​ไม่ควร​ทำ ที่สำคัญอารมณ์ที่​ไม่คง​เส้นคงวาอาจ​ทำ​ให้ลูก​ไม่ค่อยกล้า​เข้าหาพ่อ​เ พราะ​ไม่​แน่​ใจว่าวันนี้​เข้าหาพ่อ​แล้วพ่อจะดี​หรือร้าย ​และ​ผู้​เป็นพ่อจะต้องลด​ความคาดหวังที่มีต่อลูกลงบ้าง ว่าลูกของ​เรานี่จะต้อง​เก่ง จะต้อง​เป็นคน​โดด​เด่นกว่า​เพื่อน​ใน​โรง​เรียน ลด​การ​แข่งขันลง ​เพื่อที่ว่า​เด็กจะ​ได้มีชีวิตอยู่อย่างมี​ความสุขมากกว่า

"​เท่าที่​เห็น​ในสังคมทุกวันนี้ พ่อ-​แม่ค่อนข้างจะคาดหวังจากลูกมาก คาดหวังว่าจะ​เรียนรู้​เยอะ ​เข้า​โรง​เรียนดีๆ ​แข่งขันกับ​เพื่อน​ได้ ฉะนั้น พ่อ​แม่​ก็​เลยพยายามยัด​เยียด สิ่งต่างๆ ที่คิดว่าดี​ให้ลูก ​เน้น​เรื่อง​การ​ให้ ​การศึกษา พ่อ​แม่​ทั้งหลาย​ก็​เน้นผลักดัน​ให้ลูก​ได้รับ​การศึกษามากๆ ​ให้ลูก​เป็นคนที่​โดด​เด่นกว่าคนอื่น อาจจะ​ไม่​ได้มองที่ว่า มัน​เหมาะสมกับลูกตัว​เอง​แค่​ไหน พยายามผลักดัน​ให้ลูก​ทำอย่าง​เดียว​ก็คือ ​เรียนหนังสือ รวม​ถึง​เรียนนอก​เวลา ​เรียนพิ​เศษอย่างอื่น ​ทั้ง​เรียนดนตรี กีฬา ศิลปะ ​ทำ​ให้​เด็ก​ไม่​ได้ถูกฝึก​ให้มี​ความรับผิดชอบ​ในชีวิตประจำวันด้านอื่นๆ หลายรายติดสินบนลูก ด้วยของ​เล่น​หรือด้วยรางวัลอย่างอื่น ​ซึ่งบางที มัน​ก็​ไม่​เหมาะกับอายุ​เด็ก ​และอาจ​ทำ​ให้​เด็กกลาย​เป็นคนที่ติดวัตถุมากกว่าทางด้านจิต​ใจ สุดท้าย​ก็ส่งผล​เสียกลับมา ​และ​เมื่อ​เขา​โตขึ้น ​เขาจะ​ไม่สามารถ​เป็น​โม​เดลที่ดี​ให้กับคนรุ่นต่อ​ไป กลาย​เป็นว่า​ได้​เรียนรู้สิ่งผิดๆ ​และ​ทำสิ่งผิดๆ ตาม​แบบที่ซึมซับมาอีก"

สำหรับ "พ่อ" ​ซึ่งกำลังมี​ความวิตก กังวล ​ไม่สบาย​ใจ ทุกข์​ใจ ​หรือมี​ความ​เครียดจากวิกฤติน้ำท่วม หากต้อง​การคำปรึกษาจากนักจิตวิทยา​และจิต​แพทย์ สามารถ ​ใช้บริ​การสายด่วน "มนารมย์ร่วม​ใจช่วย ​ผู้ประสบภัยน้ำท่วม" ที่ 02-7259555 ​ได้ทุกวัน ตั้ง​แต่​เวลา 8.00-18.00 น. ​หรือ ศึกษาข้อมูล​การสร้างสุขภาพจิตที่ดี รวม​ถึง ​ทำ​แบบทดสอบประ​เมิน​ความ​เครียดด้วยตัว​เองที่ www.manarom.com

​แนวหน้า  6 ธันวาคม 2554

8380
กลุ่ม​เอ็นจี​โอ" ​เตรียมยื่นหนังสือคัดค้านตั้ง "หมอประดิษฐ์" ​เป็นกรรม ​การ​ผู้ทรงคุณวุฒิ บอร์ด สปสช.​เผย​เคยมีคำ วินิจฉัย​ในสมัย "สุดารัตน์" ​ไม่ครบองค์ประกอบ คัด​เลือก​ไม่​ได้ ฉะ​แสน​เสียดายสัดส่วนกรรม ​การบอร์ดชุดนี้มีหมอ​แต่งดำคัดค้านระบบหลักประกันสุขภาพอยู่ด้วย

นายนิมิตร์ ​เทียนอุดม กรรม​การคณะกรรม​การหลักประกันสุขภาพ​แห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ​เปิด​เผยว่า ที่ผ่านมา​การที่ตน​ไม่​เข้าประชุมบอร์ด สปสช.  ​เพราะ​เห็นว่า​การประ ชุมยัง​เป็น​เรื่อง​ไม่ถูกต้อง ​แต่ยืนยันว่า​การที่กลุ่ม ตน​ไม่​เข้าประชุม​ก็ถือว่า​เป็น​การ​ทำงานอย่างหนึ่ง ​โดย​ในวันที่ 6 พ.ย.นี้ จะ​เข้าร่วมประชุม​แน่นอน ​ทั้งนี้ ​ก็​เพื่อจะ​ไปยื่นหนังสือคัดค้าน​การคัด​เลือกกรรม​การ​ผู้ทรงคุณวุฒิด้าน​การ​แพทย์​แผน​ไทยที่​ไม่ถูกต้อง ​เพราะ​ในวันที่มี​การลงคะ​แนนคัด​เลือกนั้น  องค์ประกอบของที่ประชุม​ไม่ครบตามหลัก​การ

นายนิมิตร์กล่าวต่อว่า ​ทั้งนี้ ที่ผ่านมา​เคยมีกรณี​การคัด​เลือกกรรม​การ​ผู้ทรงคุณวุฒิ ​และถูกคัดค้านด้วย​เหตุผล​เดียวกันนี้​ในสมัยที่นางสุดารัตน์ ​เกยุราพันธุ์ ​เป็นประธานบอร์ด ​ซึ่งต่อมากฤษฎีกา​ได้วินิจฉัยว่าคำ​แย้งดังกล่าวถูกต้อง  ​การ​ไม่ครบองค์ประกอบถือว่าคัด​เลือก ​ไม่​ได้ ดังนั้นตน​จึงถือว่าคำตัดสินนี้​เป็นบรรทัด ฐาน​ใน​การยื่นคัดค้านครั้งนี้

ต่อข้อถามว่า หาก รมว.สธ.ยังยืนยันมติตั้ง นพ.ประดิษฐ์ สินธวณรงค์  ​เป็นกรรม​การ​ผู้ทรงคุณวุฒิต่อ จะดำ​เนิน​การทางกฎหมายอย่าง​ไรต่อ​ไป​หรือ​ไม่  นายนิมิตร์กล่าวว่า คงต้อง​ให้หน่วยงานทางด้านกฎหมายมาช่วยดู ​เพราะถ้า​เป็นมุมขัด​แย้งของสองฝั่ง​แล้วตกลงกัน​ได้​ก็จำ​เป็นต้องมีคนกลาง ​แต่​ทั้งหมดนี้​เป็น​เพียง​ความ​เห็นของตน​เพียงคน​เดียว ต้องรอปรึกษากับพรรคพวกอีก 5 คนอีกครั้ง​เพื่อหา​แนวทางที่​เหมาะสม

"​เป็น​เรื่องที่น่าหนัก​ใจกับสัดส่วนของคณะกรรม​การบอร์ด สปสช.ชุดนี้  ​เพราะหลายคนมี​แนว​โน้ม​ไม่ค่อย​เห็นด้วยกับระบบหลักประกันสุขภาพด้วยซ้ำ  ​จึงน่า​เป็นห่วง​ใน ​เชิงทัศนะ​ความ​เข้า​ใจต่อระบบหลักประกันสุขภาพ​แห่งชาติ  ​เพราะคนที่​เข้า​ไปคือคนที่​เคย ​แต่งชุดดำ ​เคยมี​ความ​เห็นว่าระบบหลักประกันสุขภาพ​เป็นตัว​ทำลายระบบสาธารณสุขของประ​เทศ ​หรือมีมุมมองว่าระบบนี้​ทำ​ให้คน​เคย ตัว ​ทำ​ให้คนออก​ไป​ใช้บริ​การกันพร่ำ​เพรื่อ คือถ้าคุณมีมุมมอง​แบบนี้​แล้วคุณมานั่งบริหารระบบนี้ ​ก็คิดดูว่าประชาชนจะ​ได้​หรือ​เสียประ ​โยชน์" นายนิมิตร์กล่าว.

ไทย​โพสต์ 6 ธันวาคม 2554
.........................................................................................

  “วิทยา” เมินเสียงคัดค้าน ถอดถอน “นพ.ประดิษฐ์” พ้นแถวการพิจารณาเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ บอร์ด สปสช.ยันดำเนินการทุกอย่างตามขั้นตอนแล้ว ด้านภาคประชาชน ท้าขอดูผลงาน ย้ำ ทุกฝ่ายพร้อมเดินหน้าเพื่อประชาชน
       
       หลังจาก นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอชื่อ นพ.ประดิษฐ์ สินธวณรงค์ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิสัดส่วนการแพทย์แผนไทย ของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) และเตรียมเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัตินั้น
       
       ล่าสุด ( 6 ธ.ค.) นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ว่า ในการประชุมครั้งนี้ ทางภาคประชาชน ได้ใช้สิทธิในการคัดค้าน ซึ่งเป็นสิทธิปกติที่พึงกระทำ อย่างไรก็ตาม ในที่ประชุมก็อธิบายชัดเจนว่า การเลือกที่ผ่านมาถูกต้องครบตามองค์ประชุม ซึ่งยังยืนยันว่าเป็นนพ.ประดิษฐ์ เนื่องจากดำเนินการตามขั้นตอนที่ถูกต้องแล้ว
       
       ขณะที่ นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า จากการที่ได้ยื่นหนังสือคัดค้านการแต่งตั้งผูทรงคุณวุฒิดังกล่าวนั้น นายวิทยา ได้รับเรื่องไว้แล้ว แต่ในเมื่อที่ประชุมยังยึดมติเดิม ทางภาคประชาชนก็ต้องขอให้โอกาสในการดำเนินงานร่วมกัน แล้วค่อยๆ ดูกันต่อไปว่า จะบริหารงานไปในทิศทางใด เพราะถือว่า ได้ดำเนินการอย่างเต็มที่แล้วในการสรรหาคณะกรรมการดังกล่าว
       
       นายนิมิตร์ กล่าวด้วยว่า ในการจะยอมรับ นพ.ประดิษฐ์ นั้น ก็ถือเป็นการให้โอกาส เพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพของไทย แต่หากบริหารงานบกพร่อง หรือผิดพลาด ก็ค่อยพิจารณากันใหม่ ส่วนกรณีที่หลายคนสงสัยว่า การบริหารงานของคณะกรรมการชุดนี้จะเอนเอียงหรือไม่ คิดว่าคงต้องดูแนวโน้มการบริหารงานในภาพรวมก่อน เพราะในที่ประชุมมีการหารือกันแล้วว่า จะทำงานเพื่อประชาชนร่วมกัน

ASTVผู้จัดการออนไลน์  6 ธันวาคม 2554

8381
สพศท.แฉ สตง.ตรวจพบ สปสช.บริหารงบผิดพลาด หลายส่วนไม่ตรงตามมติ ครม.มีการจ่ายเงินคณะอนุกรรมการซี้ซั้ว “หมอประชุมพร” ขนข้อมูลฟ้อง “วิทยา” 6 ธ.ค.นี้ ด้าน “นพ.วินัย” พร้อมชี้แจงทุกประเด็น เว้นจ่ายเงินเบี้ยเลี้ยง ขอเวลาคุยกฤษฎีกา
       
       พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป (สพศท.) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 22 พ.ย.2554 สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ได้เผยแพร่สรุปผลการตรวจสอบประเมินผลสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ปีงบประมาณ 2554 โดยระบุว่า มีการฝ่าฝืนมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) หลายข้อ เช่น การจ่ายเงินเบี้ยประชุมให้ประธานและอนุกรรมการเกินกว่ามติ ครม. มั่วจ่ายเบี้ยเลี้ยง โดยไม่มีมติคณะกรรมการ สปสช.การจ่ายเงินค่าเบี้ยเลี้ยงการเดินทางในการจัดประชุมอบรมสัมมนาของสปสช. ที่เกินกว่าอัตรากำหนด หรือ แม้กระทั่งการบริหารงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติรายการงบบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคไม่เป็นไปตามที่คู่มือกําหนด
       
       พญ.ประชุมพร“สรุปผลของ สตง.นั้นย่อมสะท้อนให้เห็นว่า สปสช.มีความผิดพลาดในการบริหารงานจริงๆ ดังนั้น ในวันที่ 6 ธ.ค.ที่จะมีการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ตนจะนำหนังสือร้องเรียนเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว พร้อมกับหลักฐานผลสรุปของ สตง.ไปเสนอต่อ นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมว.สธ.) ในฐานะประธานบอร์ด ให้รับทราบถึงความไม่โปร่งใสของหน่วยงานเพื่อที่จะได้แก้ไขและปรับปรุงข้อบกพร่องให้ดีขึ้น” กล่าว
       
       ด้าน นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า จากข้อท้วงติงของ สตง.นั้น ตนและหน่วยงานรับทราบดี และได้ชี้แจงในบางส่วนไปแล้ว เช่น กรณีการบริหารงบประมาณ การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคนั้น ความจริงแล้วเป็นเพียงความเข้าใจผิดที่ตีความทางคู่มือ ซึ่ง สปสช.ได้กระจายงบประมาณไปยังหน่วยงานนอกบริการในลักษณะความร่วมมือ หรือ MOU (เอ็มโอยู) เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนมีการดูและป้องกันสุขภาพอย่างถูกต้อง เหล่านี้ล้วนเป็นการส่งเสริมการสร้างเสริมสุขภาพทั้งสิ้น ซึ่ง สปสช.จะแก้ไขคู่มือใหม่ให้ครอบคลุมการบริการสุขภาพมากขึ้น
       
       “สำหรับกรณีของการจ่ายเงินในเรื่องการลงพื้นที่ดำเนินงานและการการใช้จ่ายเงินบางรายการที่ระบุว่า เป็นไปโดยไม่ประหยัด เช่น ค่าเดินทางโดยเครื่องบิน เบี้ยเลี้ยงการประชุมอบรมสัมมนาของ สปสช.ที่ไม่ได้มีการคิดรวมกับค่าอาหารในงานประชุมซึ่งไม่ได้อยู่ในมติของ ครม.นั้นทาง สปสช.คงต้องขอเวลาในการหารือกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการเสียก่อน ส่วนกรณีเบี้ยประชุมนั้น ไม่ได้อยู่ในอำนาจการสั่งจ่ายของ ครม.หรือต้องผ่านความเห็นของรัฐมนตรีเลย เพราะเบี้ยประชุมมีการคิดแยกจากค่าตอบแทนในการปฏิบัติงานอยู่แล้ว” นพ.วินัย กล่าว

ASTVผู้จัดการออนไลน์    6 ธันวาคม 2554

8382
“หม่ำ” ฮาไม่ออกบ้านน้ำท่วมมิดหัว ผ่านมาเป็นเดือนเพิ่งลดเหลือระดับเอว ยันยังไม่คิดย้ายกลับไปเพราะกลัวปลิงมาก ออกปากเห็นใจหน่วยงานทุกฝ่ายที่ต้องเร่งแก้ปัญหา ยันที่เหน็บ 5 พันยังไม่พอค่าสีทาบ้านแค่พูดเล่น เผยสงสารชาวบ้านที่หาเช้ากินค่ำจะหาเงินจากไหนมาซ่อมบ้าน ฝากให้ทุกคนตั้งสติอย่าคิดมาก
       
       ตลกชื่อดังอย่าง “หม่ำ จ๊กมก” หรือ “เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา” ก็อ่วมไปไม่น้อยทั้งๆ ที่เพิ่งย้ายไปอยู่คฤหาสน์หรูกว่า 50 ล้านบาทได้ไม่ทันไร ก็เจอมหาอุทกภัยซัดบ้านท่วมสูงมิดหัว เล่นเอาหน้ามืดจนเมียบ่นเป็นห่วงบ้านไม่ยอมออกมา เจ้าตัวเผยถึงตอนนี้น้ำลดเหลือระดับเอวแต่ก็ยังไม่กล้ากลับเข้าบ้านเพราะกลัวปลิง
       
       “ตอนนี้ยังเข้าบ้านไม่ได้ครับ น้ำลดแล้วแต่รถยังเข้าไม่ได้ บ้านอยู่แถว อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี ตอนแรกสูงท่วมหัว ตอนนี้อยู่ระดับเอว มันก็ไม่รู้จะพูดยังไงเพราะมันเป็นเรื่องธรรมชาติ ต้องปล่อยไปตามนั้น โดนกันทุกคนไม่รู้จะสงสารใคร ผมเห็นข่าวแล้วก็สงสารคนนู้นคนนี้ เขาก็โดน เราก็โดน สงสารรัฐบาล มายังไม่ทันไรมาเจอเรื่องนี้แล้ว น่าเห็นใจทุกฝ่าย เห็นใจผู้ว่าฯ กทม.ด้วย มันมะรุมมะตุ้มไปหมด”
       
       “สงสารชาวบ้านที่หาเช้ากินค่ำ มันไม่รู้จะไปไหน ไม่มีบ้านแล้วก็ต้องอยู่ชั้น 2 แล้วจะเอาเงินที่ไหนไปกู้มาทำบ้านใหม่อีก มันก็โอเคสำหรับคนที่พอมีเงินมีทองหน่อย แต่คนที่ไม่มีนี่สิ บอกให้เขาย้ายไปอยู่ที่ศูนย์อพยพเขาจะไปได้ไง ทั้งชีวิตเขามีแค่บ้านหลังนั้นน่ะ เขาจะทิ้งไปได้ยังไง”
       
       “เหมือนเมียผม ต้องดึงเขาออกมา เขาไม่ยอมออกมา ไม่ออกไม่ได้ นี่ขนาดเขาอายุยังไม่มากยังไม่อยากออกเลย ขอตายอยู่ตรงนั้นแหละ ให้ลูกให้เต้าไปก่อน อ้าว แล้วลูกจะอยู่กับใคร สัญชาตญาณของคนรักบ้าน มันเป็นสิ่งสุดท้ายแล้วที่มีอยู่ อย่างที่บอกคนที่มีเงินมีทองมันก็โอเค แต่คนที่หาเช้ากินค่ำจะเอาเงินจากไหน เขาก็รู้สึกว่าอยู่กับบ้านตายกับบ้านไม่เห็นจะเป็นอะไรเลย มันหนีธรรมชาติไม่รอดอยู่แล้ว (เห็นแอบเหน็บว่า 5 พันยังไม่พอค่าสีทาบ้าน?) ผมพูดเล่น สำหรับผม 5 พันบาทมันก็โอเคอยู่แล้วนะ เพราะมาลองนึกว่ามันกี่หลังรวมแล้วเป็นเงินเท่าไหร่ ไม่ใช่น้อยๆ”
       
       ถ้าน้ำไม่ลด จะไม่กลับเข้าบ้านเด็ดขาด ไม่คิดแตะน้ำเพราะกลัวปลิงมาก!
       
       “ส่วนตัวผมกลัวปลิงมาก ผมจะไม่ลงน้ำเลย ว่ายน้ำเป็น แต่ถ้าเจอปลิงแล้วเนี่ย ไม่เอาด้วยเลย ให้ทำอะไรก็ได้ เออ ให้ไปล่าไอ้เข้ยังไม่น่ากลัวเท่าปลิงเลย เป็นความรู้สึกของคนเฉยๆ มันไม่ได้น่ากลัวอะไรหรอก ไม่มีพิษมีภัย แต่เห็นมันอี๋.. ขนลุก”
       
       “ยังไงก็อย่าไปคิดอะไรมากครับทุกท่าน ชาวไทยทุกคน ผมก็โดนหนักไม่ใช่เล่น มันผ่านมาแล้วก็ให้มันผ่านไปเหมือนสายลม อย่าให้มันพัดมาอีกแล้วกัน ตั้งสติกัน ใครที่ฟุ่มเฟือยจะรู้ตอนนี้แหละว่าต้องเก็บเงิน เวลามันจะได้ใช้มันจะมีประโยชน์”

ASTVผู้จัดการออนไลน์    4 ธันวาคม 2554

8383
 เอเอฟพี - หลายหมื่นครอบครัวที่ติดเชื้อเอชไอวีในเอเชียกำลังเผชิญ “ความยากจนที่เลี่ยงไม่ได้” จากอัตราค่าครองชีพที่สูงขึ้นตามราคายาต้านไวรัสเอดส์ โดยเด็กและสตรีเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ยูเอ็นเสนอรายงานสถานการณ์เอดส์ในเอเชียวันนี้ (1 ธ.ค.) เนื่องในวันเอดส์โลก
       
       อัตราค่ารักษาพยาบาลราคาสูงประกอบกับโอกาสที่ผู้ติดเชื้อจะตกงานจากการถูกเลือกปฏิบัติ หมายความว่า สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนที่ติดเชื้อเอดส์ทั่วเอเชียกำลังตกต่ำลงอย่างรวดเร็ว รายงานของยูเอ็นระบุ
       
       “หากไม่มีการแทรกแซง ครอบครัวผู้ติดเชื้อจำนวนมากจะกลายเป็นคนยากจนโดยไม่อาจเลี่ยงได้” นิโกลัส โรเซลลินี รองผู้อำนวยการโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ภูมิภาคเอเชีย ระบุในคำแถลงที่เผยแพร่วันนี้
       
       โรเซลลินียังเรียกร้องรัฐบาลทั่วเอเชียหาทางช่วยลดผลกระทบของโรคเอดส์ต่อสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม ขณะที่ปัจจุบันเอดส์เป็นปัจจัยที่ทำให้หลายครอบครัวติดอยู่ในวังวนแห่งการเป็นหนี้ เด็กๆ ในครอบครัวเหล่านี้ก็จะเป็นคนยากจนไปตลอดชีวิต
       
       ค่าครองชีพพิเศษที่ครอบครัวผู้ป่วยเอดส์เผชิญทำให้ผู้ปกครองมีภาระหนักในการชำระค่าเล่าเรียนของลูกๆ ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า เอเชียมีอัตราการหยุดเรียนกลางครันสูงมากจากปัญหานี้
       
       โรคเอดส์ยัง “กระทบต่อสตรีและเด็กหญิงอย่างไม่เป็นธรรม” เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้มีข้อจำกัดในการเข้าถึงการพยาบาล และมักต้องรับหน้าที่ดูแลผู้ป่วยเอดส์ที่อยู่ในบ้าน
       
       จากการศึกษาครอบครัวผู้ป่วยเอดส์ทั่วเอเชีย 17,000 ครัวเรือน ยูเอ็นพบว่า ครอบครัวที่ติดเชื้อในประเทศเอเชีย เช่น อินเดีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม ต้องเสียค่ารักษาพยาบาลมากกว่าครอบครัวปกติถึง 3 เท่า
       
       กัมพูชาเป็นประเทศเดียวในเอเชียที่รายจ่ายด้านสุขภาพของครัวเรือนที่ติดเชื้อเอดส์ไม่สูงเกินกว่าค่าครองชีพเฉลี่ยของครอบครัวทั่วไป เนื่องจากมีการแจกจ่ายยาต้านไวรัสจากหน่วยงานรัฐบาลอย่างแพร่หลาย
       
       นอกจากนี้ ยูเอ็นประเมินว่า ประกรโลกประมาณ 34 ล้านคน ติดเชื้อเอชไอวีเมื่อปีที่แล้ว ขณะเดียวกัน การรักษาพยาบาลที่ดีช่วยให้จำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคเอดส์ลดลงมาก และยังสามารถยับยั้งการระบาดสู่ผู้ป่วยใหม่
       
       ทั้งนี้ นพ.สำลี เปลี่ยนบางช้าง ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แสดงความเห็นผ่านหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ไว้ว่า “ผู้หญิงเอเชียอายุต่ำกว่า 15 ปี ประมาณ 1.3 ล้านคน กำลังติดเชื้อเอชไอวี” ปัจจัยสำคัญต่อการระบาดของเอดส์ คือ การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน และการใช้เข็มฉีดยาเสพติดร่วมกัน โดยพม่า อินเดีย อินโดนีเซีย เนปาล และไทย เป็น 5 ประเทศ ที่พบการระบาดหนักที่สุดในเอเชีย

ASTVผู้จัดการออนไลน์    1 ธันวาคม 2554

8384
เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 ปีของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น ได้เสนอรายงานพิเศษ ชุด อาย ออน ไทยแลนด์ (Eye on Thailand) ซึ่งว่าด้วยเรื่องราวที่น่าสนใจในประเทศไทย โดยเริ่มออกอากาศตอนแรกในวันนี้ (5) เรื่อยไปจนถึงสัปดาห์หน้า
       
       เมื่อเวลา 07.00 น.ตามเวลาในประเทศไทย ซีเอ็นเอ็น ได้เสนอบทสัมภาษณ์พิเศษใน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่พระราชทานแก่พิธีกรหญิง พอลลา แฮนค็อกส์ ซึ่งติดตามเสด็จฯไปเยี่ยมโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นเวลา 1 วัน โดย ซีเอ็นเอ็น กล่าวชื่นชมพระองค์ว่า ทรงเป็น “เจ้าหญิงนางฟ้า” ผู้เป็นที่เคารพรักยิ่งของคนไทย
       
       สมเด็จพระเทพฯ ตรัสในบทสัมภาษณ์ต่อซีเอ็นเอ็น ตอนหนึ่งว่า “ประชาชนบางรายก็อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกล และมีปัญหาด้านสุขภาพ แต่ก็ไม่สามารถเดินทางไปโรงพยาบาลได้ เพราะติดปัญหาด้านการเดินทาง”
       
       ขณะเดียวกัน แอนนา โคเรน พิธีกรหญิงของซีเอ็นเอ็น ก็ได้รายงานบรรยากาศงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาจากด้านนอกพระบรมมหาราชวัง ซึ่งปวงชนชาวไทยต่างพร้อมใจกันเดินทางมาร่วมถวายพระพรแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อย่างมืดฟ้ามัวดินในวันนี้ (5)
       
       รายงานพิเศษชุด Eye on Thailand จะเริ่มออกอากาศในช่วง เวิลด์ รีพอร์ต ทางสถานีโทรทัศน์ ซีเอ็นเอ็น ตั้งแต่วันที่ 5-14 ธันวาคม โดยเนื้อหาประกอบด้วยสถานการณ์ในรอบวัน และประเด็นที่น่าสนใจในประเทศไทย เช่น
       
       - สถานการณ์น้ำท่วมไทย บทสัมภาษณ์เจ้าของธุรกิจโรงแรมเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้น ตลอดจนแผนฟื้นฟูการท่องเที่ยวหลังน้ำลด
       
       - แวดวงฟุตบอลไทย และบทสัมภาษณ์ ร็อบบี ฟาวเลอร์ อดีตดาวดังจากสโมสรลิเวอร์พูล ซึ่งเดินทางมาค้าแข้งในไทยพรีเมียร์ลีก
       
       - การแพทย์ของไทย ซึ่งได้รับความเชื่อมั่นจากนักท่องเที่ยวชาวอาหรับ ที่เดินทางมารับการรักษาเป็นจำนวนมากในแต่ละปี โดยมีการสำรวจแผนกคนไข้มุสลิมของโรงพยาบาลกรุงเทพ
       
       - มวยไทย กีฬาซึ่งได้รับความนิยมไปทั่วโลก และบทสัมภาษณ์ บัวขาว ป.ประมุข นักมวยไทยที่มีชื่อเสียงโด่งดังบนเวทีโลก
       
       นอกจากนี้ สำนักข่าวต่างประเทศทั่วโลก ต่างเผยแพร่ภาพพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 ปี ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กันโดยถ้วนหน้า โดยสำนักข่าวเอพีรายงานพระราชดำรัสที่พระราชทานต่อผู้มาเฝ้าฯโดยละเอียด พร้อมชี้ว่า ความขัดแย้งทางการเมืองตลอดหลายปีที่ผ่านมา ทำให้พระองค์ทรงเน้นย้ำมาโดยตลอดให้ชาวไทยมีความสมัครสมานสามัคคีเป็นหนึ่งเดียว ขณะที่ ไต้หวัน นิวส์ รายงานบรรยากาศรอบท้องสนามหลวง ว่า เป็นดั่ง “เทศกาลเฉลิมฉลองใหญ่” และ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของไทยนอกจากจะทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลกแล้ว ยังทรงเป็นกษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุด โดยคาดว่า ทรงมีพระราชทรัพย์ไม่ต่ำกว่า 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2010

ASTVผู้จัดการออนไลน์    5 ธันวาคม 2554

8385
สธ.สนองนโยบายรัฐ ฟื้นฟู 6 จังหวัดน้ำท่วมภายใน 45 วัน ด้าน ปภ.เขต 1 ปทุมฯ ร่วม 6 จังหวัด เร่งกู้หมู่บ้านเมืองเอก คาด 2-3 สัปดาห์สู่ภาวะปกติ

                     4 ธ.ค.54 ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย หรือ ศปภ.แจ้งว่า กระทรวงสาธารณสุขเร่งฟื้นฟูสภาพแวดล้อม 6 จังหวัด ที่มีน้ำท่วมขังภายใน 45 วัน โดยนายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขเร่งสนองนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลในการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมหลังน้ำลด เพื่อให้กลับคืนสู่ภาวะปกติ และมีความปลอดภัย ซึ่งจะเริ่มพร้อมกันใน 6 จังหวัด ประกอบด้วย ปทุมธานี นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สมุทรสาคร และนครปฐม ระหว่างวันที่ 1-5 ธันวาคมนี้

                     ทั้งนี้ จะมีการดำเนินการในเรื่องการกำจัดยุง แมลงวัน พาหะนำโรค เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด การกำจัดน้ำเน่าเสีย การจัดส่งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่บริการประชาชน และการตรวจคัดกรองสุขภาพจิตผู้ประสบภัย กิจกรรมดังกล่าวจะดำเนินการต่อเนื่องพร้อมทั้งตั้งเป้าให้พื้นที่ดังกล่าว  กลับคืนสู่สภาวะปกติ คือ มีอาหาร และน้ำ รวมถึงความปลอดภัยทุกตำบล

                     ขณะเดียวกันทาง ศปภ. แจ้งด้วยว่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) โดยศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 1 จังหวัดปทุมธานี ร่วมกับเทศบาลตำบลหลัก 6 จังหวัดปทุมธานี และการประปานครหลวงระดมรถสูบน้ำ 4 คัน และเครื่องสูบน้ำ 19 เครื่อง ซึ่งสามารถระบายน้ำได้วันละ 65,000 ลูกบาศก์เมตร ออกจากพื้นที่โครงการหมู่บ้านเมืองเอก ซึ่งมีพื้นที่กว่า 4,300 ไร่  คาดภายใน 2-3 สัปดาห์ สถานการณ์จะคลี่คลายกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

                     นอกจากนี้ นายสมชัย ศิริวัฒนโชค อธิบดีกรมการขนส่งทางบก แจ้งผ่าน ศปภ.ว่า กรมการขนส่งทางบกได้ประสานบริษัทรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ กว่า 10 บริษัท จัดตั้งคลินิกให้คำปรึกษาเจ้าของรถที่ประสบภัยน้ำท่วม ซึ่งแต่ละบริษัทได้จัดวิศวกรผู้เชี่ยวชาญมาให้คำแนะนำ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย พร้อมมอบคูปองส่วนลดค่าแรง และอะไหล่ให้กับผู้ที่มาร่วมงาน “ตรวจรถก่อนใช้ ปลอดภัยแน่นอน” ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 9 ธ.ค.นี้ ที่กรมการขนส่งทางบก เขตจตุจักร ซึ่งปกติงานดังกล่าวจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี อีกทั้งก็จะให้บริการตรวจความพร้อมของระบบเครื่องยนต์ โดยให้บริการฟรีตลอดเดือนธันวาคมนี้ด้วย

คมชัดลึก 5 ธค 2554

หน้า: 1 ... 557 558 [559] 560 561 ... 652