ผู้เขียน หัวข้อ: อยากรู้ว่า: อะไรคือปัจจัยผลัก/ปัจจัยดึง ให้เกิดการย้ายถิ่นของแพทย์เฉพาะทางคะ  (อ่าน 8999 ครั้ง)

Kanokwan T.

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 8
    • ดูรายละเอียด
เกี่ยวกับตัวผู้ถาม: Kanokwan T.
- ดิฉันเป็นนิสิตปริญญาโท สาขายุโรปศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ตอนนี้ดิฉันกำลังทำวิทยานิพนธ์ชื่อเรื่อง The push and pull factors behind the migration of specialist physicians in an economic community: What can Thailand learn from Poland? (ปัจจัยผลักและปัจจัยดึงของการย้ายถิ่นในหมู่แพทย์เฉพาะทางภายในชุมชนเศรษฐกิจ: สิ่งใดบ้างที่ประเทศไทยควรเรียนรู้จากโปแลนด์?)

สาเหตุ: ในปี 2015 ASEAN จะยกระดับเป็น ASEAN Economic Community ซึ่งจะทำให้การค้าในหมู่ประเทศสมาชิกนั้นมีความเป็นเสรีมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ข้อตกลงดังกล่าวยังรวมไปถึง Free trade in health services ซึ่งประเด็นก็คือ เรายังไม่รู้ว่าการเปิด free trade ในสาขาสุขภาพนั้นมันจะดีกับประเทศไทยของเราหรือไม่ เพราะจากการเรียนรู้จากประสบการณ์ของโปแลนด์ในกลุ่มสหภาพยุโรป (European Union) การเปิด free trade in health services นั้นก่อให้เกิดปัญหามากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาเรื่องการย้ายถิ่นของแพทย์ หรือ ที่เรียกกันว่า "สมองไหล"

ทำไมถึงต้อง "แพทย์เฉพาะทาง" ? : เพราะเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพที่จะย้ายถิ่นสูง เพราะมีจำนวนน้อย แต่มีความต้องการมาก

สิ่งที่อยากรู้:
- ปัจจัยที่ผลักดันทำให้แพทย์เฉพาะทาง อยากย้ายถิ่น
    1. แพทย์เฉพาะทางในโรงพยาบาลของรัฐ  ย้ายไปทำงานที่--->โรงพยาบาลเอกชน ภายในประเทศ
    2. แพทย์เฉพาะทางในโรงพยาบาลของรัฐ  ย้ายไปทำงานที่---> ต่างประเทศใน ASEAN (ยกตัวอย่างเช่น สิงคโปร์)
- ปัจจัยที่ดึงดูดแพทย์เฉพาะทางในประเทศไทย ให้ย้ายถิ่น

ขอความกรุณาเพื่อนๆสมาชิกในเว็บบอร์ดที่เป็นแพทย์/ แพทย์เฉพาะทาง/ ผู้รู้ ช่วยแนะนำ ด้วยนะคะ

 ;D
   

pani

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 756
    • ดูรายละเอียด
ข้อมูลจากอดีต ที่แพทย์เฉพาะทาง สมองไหล  ที่สำคัญ มีอยู่ 2 ปัจจัย
1. ค่าตอบแทนที่ห่างกันมาก
2. ระบบราชการที่ไม่เป็นธรรม และไม่โปร่งใส

ปัจจัยที่ดึงให้อยู่ในระบบราชการ มีอยู่ 2 ปัจจัย
1. ความมั่นคง...เป็นข้าราชการแล้วอยู่ยาว เอาออกยาก
2. สวัสดิการ...โดยเฉพาะเรื่องการรักษาพยาบาล

ใครมีความเห็นอื่นๆ ช่วยบอกกันด้วย

Kanokwan T.

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 8
    • ดูรายละเอียด
ข้อมูลจากอดีต ที่แพทย์เฉพาะทาง สมองไหล  ที่สำคัญ มีอยู่ 2 ปัจจัย
1. ค่าตอบแทนที่ห่างกันมาก
2. ระบบราชการที่ไม่เป็นธรรม และไม่โปร่งใส

ปัจจัยที่ดึงให้อยู่ในระบบราชการ มีอยู่ 2 ปัจจัย
1. ความมั่นคง...เป็นข้าราชการแล้วอยู่ยาว เอาออกยาก
2. สวัสดิการ...โดยเฉพาะเรื่องการรักษาพยาบาล

ใครมีความเห็นอื่นๆ ช่วยบอกกันด้วย

ขอบคุณมากเลยนะคะที่ช่วยตอบ  ;D

แล้วเรื่องการแข่งขันทางวิชาชีพละคะ มีผลกับการย้ายถิ่นของแพทย์ในประเทศเรามั้ยคะ
เพราะว่าดิฉันได้อ่านบทความสำรวจแพทย์ในอเมริกา ซึ่งเขาสรุปว่า แพทย์มักจะย้ายถิ่นไปยังที่ๆไม่ค่อยมีการแข่งขันสูง เช่น ย้ายจากที่ๆมี จำนวนของแพทย์สาขานั้นมากกว่า ไปยังที่ๆมีจำนวนของแพทย์ในสาขาดังกล่าวน้อยกว่า


Dr.Peter98

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
ความเห็นส่วนตัว

เนื่องจากเป็นแพทย์ที่รับราชการมา 18 ปี ตั้งแต่เรียนจบ ปี 2536
และเป็นแพทย์เฉพาะทางมา 12 ปี ตั้งแต่ 2542
โดยไม่ได้ทำ รพ.เอกชนเลย

ปัจจัยที่ทำให้อยู่ในระบบราชการ
1. ได้รักษาคนจน ที่ไม่มีเงินจ่ายรพ.เอกชน
2. ได้ทำงานที่ตัวเองรัก โดยไม่ต้องเรียกเก็บเงินจากคนไข้ เพราะรับเงินเดือนหลวง
3. เป็นตัวอย่างของเศรษฐกิจพอเพียง
4. อยากเป็นข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นความภูมิใจอย่างยิ่ง
5. อยากสอนนักเรียนแพทย์ให้เป็นแพทย์ที่ดี มีอุดมการณ์ และสามารถเป็นแพทย์ที่มีความสุขได้
6. อุดมคติ กินไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งที่เหนือกว่าของกิน
7. ไม่สวนทางนิพพาน ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของชีวิต

ไม่รู้จะช่วยอะไรได้บ้างหรือเปล่า แต่เป็นอย่างนั้นจริง ๆ ครับ  :)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 ธันวาคม 2011, 00:14:53 โดย Dr.Peter98 »

Kanokwan T.

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 8
    • ดูรายละเอียด
ความเห็นส่วนตัว

เนื่องจากเป็นแพทย์ที่รับราชการมา 18 ปี ตั้งแต่เรียนจบ ปี 2536
และเป็นแพทย์เฉพาะทางมา 12 ปี ตั้งแต่ 2542
โดยไม่ได้ทำ รพ.เอกชนเลย

ปัจจัยที่ทำให้อยู่ในระบบราชการ
1. ได้รักษาคนจน ที่ไม่มีเงินจ่ายรพ.เอกชน
2. ได้ทำงานที่ตัวเองรัก โดยไม่ต้องเรียกเก็บเงินจากคนไข้ เพราะรับเงินเดือนหลวง
3. เป็นตัวอย่างของเศรษฐกิจพอเพียง
4. อยากเป็นข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นความภูมิใจอย่างยิ่ง
5. อยากสอนนักเรียนแพทย์ให้เป็นแพทย์ที่ดี มีอุดมการณ์ และสามารถเป็นแพทย์ที่มีความสุขได้
6. อุดมคติ กินไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งที่เหนือกว่าของกิน
7. ไม่สวนทางนิพพาน ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของชีวิต

ไม่รู้จะช่วยอะไรได้บ้างหรือเปล่า แต่เป็นอย่างนั้นจริง ๆ ครับ  :)

ขอบคุณคุณหมอมากคะ ถ้าหมอทุกคนคิดและทำเหมือนอย่างคุณหมอ ดิฉันคิดว่าคนจน คนชนบท ในประเทศเราก็คงจะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเยอะเลยคะ
แต่ก็อย่างที่คุณ pani บอกอ่ะคะ ว่าระบบราชการที่ไม่เป็นธรรม และไม่โปร่งใส อาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดสมองไหลของแพทย์ที่ทำงานให้รัฐ ย้ายไปทำงานที่เอกชนแทน ในเรื่องนี้คุณหมอมีความคิดเห็นอย่างไรคะ หรือผู้รู้ท่านอื่นๆมีความคิดเห็นในเรื่องนี้อย่างไรคะ

rabb

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 157
    • ดูรายละเอียด
อย่าเอาหมอไทยไปเปรียบเทียบกับอเมริกา เพราะระบบราชการไทย ไม่สามารถเลี้ยงดูคนในระบบได้ หมอส่วนใหญ่หาทางอยู่ได้ด้วยตัวเอง หากินกันเอง เหมือนครู เหมือนตำรวจ ต้องช่วยตัวเองไม่ได้พึ่งรัฐ ยกเว้นคนที่เหมือนคุณDr.Peter98 ซึ่งเป็นส่วนน้อย ต้องยอมรับความจริงกัน ยิ่งสังคมเรามุ่งหน้าสู่วัตถุนิยมมากขึ้น ระบบราชการแบบนี้ไม่สามารถมีคุณภาพ และประสิทธิภาพได้หรอก

หมอไทยทำงานหนักเมื่อเทียบกับมาตรฐานที่ควรเป็น ไม่เหมือนอเมริกาที่ทุกอย่างมีมาตรฐาน ไม่ขาดแคลนเหมือนของเรา การย้ายของเราย้ายไปที่ๆมีคนเยอะๆเพื่่องานจะได้น้อยลง ไม่งั้นเหนื่อยตาย

Kanokwan T.

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 8
    • ดูรายละเอียด
แล้วเรื่อง free trade in health services ของ ASEAN ละคะ  จะทำให้เกิดการสมองไหลออกนอกประเทศหรือเปล่า
เช่น หมอเก่งๆของไทยจะไปสิงคโปร์กันหมดมั้ย
หรือข้อจำกัดเรื่องภาษา/วัฒนธรรม จะเป็นตัวยึดให้หมอไทยไม่ย้ายถิ่น

ขอทราบความคิดเห็นในเรื่องนี้ด้วยนะคะ  :D

p.s. ขอบคุณ คุณ rabb มากคะสำหรับคำแนะนำ  ;D

khunpou

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 111
    • ดูรายละเอียด
สาเหตุที่แพทย์ลาออกจากราชการนั้น มีงานวิจัยหลายเรื่องที่เกี่ยวข้อง  ส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุการลาออกของแพทย์ทั่วไป ไม่ได้แยกว่าเป็นแพทย์เฉพาะทางหรือไม่ จากการเก็บข้อมูลของคณะกรรมการแพทมยสภาในช่วงปีพ.ศ. 2546 ได้สรุปว่า สาเหตุที่แพทย์ลาออกจากราชการคือ
1.งานหนัก(ต้องทำงานสัปดาห์ละ 90- 120 ชั่วโมง โดยถือเป็นภาระหน้าที่ที่ไม่สามารถปฏิเสธได้) และต้องตรวจรักษาให้คำแนะนำผู้ป่วยจำนวนมาก บางแห่งมีผู้ป่วย100+คนต่อแพทย์ 1 คน ต่อวัน เปรียบเทียบกับภาระงานในภาคเอกชนก็มากกว่าเป็นหลายสิบเท่า
2.เงินเดือนและค่าตอบแทนต่ำมาก (ยิ่งถ้าไปเทียบกับเงินเดือนภาคเอกชนแล้ว จะน้อยกว่าเป็น 10ๆเท่า) โดยเฉพาะการถูกบังคับให้อยู่เวรกในเวลาวิกาล แต่ค่าตอบแทนชั่วโมงละ ๕๐ บาท
3.เสี่ยงต่อการถูกร้องเรียน/ฟ้องร้อง
4.ถูกบังคับให้ไปทำงานในท้องที่ห่างไกล และไม่สามารถขอย้ายเพราะความจำเป็นทางครอบครัวได้
5.ไม่พอใจระบบบริหารงานของโรงพยาบาลหรือนโยบายระดับประเทศ เช่น กระทรวงสาธารณสุขค้างจ่ายค่าทำงานนอกเวลา  ต้องทำตามการเรียกร้องของผู้ป่วยที่ให้ส่งตรวจพิเศษทั้งๆที่ไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์แต่ประชาชนอ้างว่า "ฉันมีสิทธิ์ทำได้ หมอต้องทำตาม" หรือ ไม่มีอิสระในทางวิชาการแพทย์เนื่องจากระบบหลักประกันสุขภาพ สวัสดิการข้าราชการและประกันสังคม มีระเบียบข้อบังคับจำกัดรายการยา ทั้งๆที่คนเหล่านั้นไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ และอื่นๆอีกมากมาย

  นอกจากนี้ก็มีปัญหาการไม่ได้บรรจุเป็นข้าราชการ แต่ถูกบังคับให้ไปชดใช้ทุนทั้งๆที่กพ.ได้บอกแล้วว่าแพทย์ไม่เคยได้รับทุนจริง

ยังมีงานวิจัยที่ได้ส่งจดหมายสำรวจความคิดเห็นแพทย์จำนวน 1.300 คน โดยการสุ่มตัวอย่างตามระเบียบวิธีทางสถิติ พบว่า
   ในทัศนคติของแพทย์เองปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลาออก 3 อันดับแรกคือ ความพึงพอใจในลักษณะงานที่ทำปฏิบัติ ความภาคภูมิใจในวิชาชีพ และชีวิตความเป็นอยู่หรือคุณภาพชีวิตตามลำดับ  การวิจัยกลับพบว่าปัจจัยที่มีผลแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญต่อโอกาสการตัดสินใจลาออกจากระบบราชการของแพทย์ คือ   ความพึงพอใจในลักษณะงานที่ปฏิบัติ  ระดับความพึงพอใจในนโยบาย และการบริหารระดับกระทรวงและระดับประเทศ   การได้รับการสนับสนุนเครื่องมือเพื่อให้ทำงานสำเร็จ เช่น ยา เครื่องมือ อุปกรณ์     เงินค่าตอบแทนการปฏิบัติงานในเวลาราชการ  และ เงินค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ 
การลาออกของแพทย์จะสูงเมื่อผลได้จากการรับราชการ(สิ่งตอบแทนในทางบวก) น้อยกว่าผลเสียจากการรับราชการ(สิ่งตอบแทนในทางลบ)
ส่วนการวัดค่าสิ่งตอบแทนจากการรับราชการของแพทย์ด้วยการวัดความเต็มใจที่จะจ่ายซึ่งตีค่าเป็นเงินพบว่าไม่สามารถแสดงความแตกต่างของโอกาสการลาออกจากราชการของแพทย์ว่ามากหรือน้อยได้


ยังมีรายละเอียดข้อมูลอีกมากมายที่ได้เก็บรวบรวมไว้ สนใจติดต่อได้ที่ drchurchoo@gmail.com
ส่วนการเปิดเสรีในการบริการทางการแพทย์นั้น เท่าที่ได้เคยไปประชุมASEAN SUMMIT  FTA หลายครั้ง พบว่าปัญหาสมองไหลไปทำงานต่างประเทศนั้น น่าจะเกิดขึ้นในวิชาชีพพยาบาลมากที่สุด ทีพยาบาลไทยจะไปหางานทำนอกประเทศ ส่วนแพทย์อาจจะไหลออกไปโรงพยาบาลเอกชนในประเทศมากกว่า เนื่องด้วยวิชาชีพแพทย์ต้องระมัดระวังเกี่ยวกับกฎหมาย Medical malpractice ในแต่ละประเทศแตกต่างกันไป เนื่องจากแพทย์มีหน้าที่เป็นหัวหน้าทีมในการรักษาผู้ป่วย จึงมีความรับผิดชอบสูงสุด ส่วนวิชาชีพพยาบาลถ้าปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์ในการรักษาแล้ว ก็จะเป็นเกราะป้องกันกาความรับผิดได้เป็นอย่างดี
คิดว่าการเปิดเสรีทางการแพทย์ จะทำให้ไทยได้ประโยชน์จากการที่มีผู้ป่วยต่างชาติไหลเข้ามารับบริการมากขึ้น แต่ประชาชนไทยทั่วไปที่ไม่มีเงินไปรพ.เอกชนจะขาดหมอมากขึ้น เพราะหมอ พยาบาล จะไหลไปอยู่เอกชนมากขึ้น

seeat

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 470
    • ดูรายละเอียด
Free trade in health services ของ ASEAN ในปี 2015 จะเกิดสมองไหลออกไปสู่ภาคเอกชนระลอกใหญ่ ส่วนการไหลไปต่างประเทศคงน้อย สำคัญที่ผู้บริหารประเทศ หรือกระทรวงสาธารณสุข ยังไม่มีมาตรการอะไรเพื่อรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเลย น่าเป็นห่วงมาก

Kanokwan T.

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 8
    • ดูรายละเอียด
ขอบคุณมากคะคุณ khunpou, คุณ seeat

 ::)

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด
ระบบราชการไม่สามารถรักษาบุคลากรให้อยู่ในระบบได้ การย้ายถิ่นของแพทย์อาจมองได้ ๒ แบบ คือ
๑. ย้ายไปทั้งตัวและใจ
๒. ตัวอยู่แต่ใจไม่อยู่(ใจย้ายไปถิ่นแล้ว)

ปัญหาการย้ายแบบที่ ๑ รู้กันดี มีการย้ายถิ่น ไหลออกไปตลอด รัฐยังแก้ไม่ได้ (พยายามแก้มานาน  แต่แก้ไม่ถูกจุด)
ปัญหาการย้ายแบบที่ ๒ (มีมากกว่าแบบที่ ๑ อีก) ไม่ค่อยมีการพูดถึงกัน ยิ่งไม่ได้รับการแก้ไข
ระบบสาธารณสุขของเราก็เลยอยู่ในช่วงขาลง เสื่อมถอยลงไปเรื่อยๆ (คนนอกวงการสาธารณสุขไม่รู้กันหรอก)

Kanokwan T.

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 8
    • ดูรายละเอียด
ขอบคุณคุณ pradit มากคะ

ขอถามต่อยอดไปอีกนะคะ
อยากรู้ว่า ประเภทตัวอยู่แต่ใจไม่อยู่เนี่ย มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ยังออกจากราชการไม่ได้ ? เป็นเพราะข้อบังคับของกระทรวงอย่างเดียว หรือ รวมทั้งเรื่องศักยภาพของแพทย์แต่ละคน, ความต้องการของแพทย์สาขานั้นๆในหน่วยงานเอกชน ด้วยคะ

knife05

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 60
    • ดูรายละเอียด
ประเภทตัวอยู่แต่ใจไม่อยู่เนี่ย มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ยังออกจากราชการไม่ได้ ?
ไม่ใช่ออกจากราชการไม่ได้ แต่ไม่ออกเอง
อยู่ราชการเป็น sideline ไปงั้นๆ
เอาใจไปอยู่กับงานส่วนตัว(คลืนิค หรือ รพ.เอกชน หรืองานอื่นๆ)แทน
ศักยภาพของแพทย์แต่ละคน, ความต้องการของแพทย์สาขานั้นๆในหน่วยงานเอกชน ก็อาจเป็นปัจจัยเหมือนกัน เพราะเอกชนก็มีการเลือกบุคลากรเหมือนกัน

Kanokwan T.

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 8
    • ดูรายละเอียด