ผู้เขียน หัวข้อ: อาลัย หมอมีน คุณหมออินเทิร์น เสียชีวิตหลังออกเวร ใจหายเพิ่งเริ่มงาน 1 มิ.ย.  (อ่าน 199 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9763
    • ดูรายละเอียด
เป็นเหตุการณ์ความสูญเสียอีกครั้งของวงการแพทย์ไทย เมื่อต้องสูญเสียคุณหมอจบใหม่ ด้วยอุบัติเหตุรถยนต์ หลังออกเวรในช่วงเย็น ซึ่งแพทยสภาจะมีการตรวจสอบสาเหตุอย่างแน่ชัดต่อไป

เฟซบุ๊ก พล.อ.ท. นพ. อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา ได้โพสต์ไว้อาลัย คุณหมอหลังจากประสบอุบัติเหตุหลังจากเพิ่งเริ่มงานเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. ที่ผ่านมา และได้รับการส่งตัวเข้ารับการรักษาอย่างสุดความสามารถ

โดยโพสต์ระบุว่า "อาลัยน้องหมอมีน อินเทิร์น1..23วัน" ขอแสดงความเสียใจ กับครอบครัวของคุณหมอ Yanisa Mean ในการจากไปของน้องหมอมีน แพทย์จบใหม่ 2566 เพิ่งเริ่มปฏิบัติงานในตำแหน่ง แพทย์เพิ่มพูนทักษะ รพ.พหลฯ กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2566 ด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์ หลังจากออกเวร ขอบคุณทีมพี่ๆ โรงพยาบาลพหลพลพยุหะเสนาที่ พยายามช่วยเหลือน้องอย่างสุดความสามารถ หลังได้รับการส่งตัวเข้าโรงพยาบาล

แพทยสภาจะขอประสานข้อมูลว่าเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานอย่างไรหรือไม่ เพื่อเป็นแนวทางที่อาจช่วยป้องกันได้ในอนาคต แต่เบื้องต้นทราบว่าเกิดเหตุที่แยกที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยๆ #มอตาเขียว และเกิดในช่วงเย็น อยากให้ผู้เกี่ยวข้องช่วยสำรวจพื้นที่ถนนและการจราจรด้วยครับ

คุณหมอมีนอยู่ในโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทของจังหวัดราชบุรี กว่าจะเป็นหมอ 1 คน ต้องทุ่มเทเรียน เป็นเวลา 6 ปี นับเป็นการสูญเสียบุคลากรที่มีคุณค่าของประเทศอย่างยิ่ง ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวอีกครั้งครับ ขออนุญาตลงกำหนดการ งานศพพระอภิธรรมของน้องครับ

หมออิทธพร เลขาธิการแพทยสภา

ข่าวสด
24/มิถุนายน/2566

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9763
    • ดูรายละเอียด
กาญจนบุรี - พ่อหมอมีน แพทย์จบใหม่ ทำงานไม่ถึงเดือน ฝากถึง สธ.จัดตารางเวรให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของแพทย์ ส่วนอุบัติเหตุที่ลูกเสียชีวิต เชื่อไม่ชำนาญเส้นทางมากกว่าอ่อนเพลีย

จากเหตุการณ์ที่แพทย์หญิงญาณิศา สืบเชียง หรือหมอมีน แพทย์จบใหม่ที่เพิ่งเริ่มงานวันที่ 1 มิถุนายน ในตำแหน่งแพทย์เพิ่มพูนทักษะ โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ที่ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ที่แยกมอตาเขียว ตำบลสมเด็จเจริญ อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี จนได้รับบาดเจ็บสาหัส หลังจากออกเวรเมื่อช่วงเวลา 16.00 น. วันศุกร์ 23 มิถุนายนที่ผ่านมา และเสียในวันที่ 24 มิถุนายน โดยทางแพทยสภาเตรียมตรวจสอบว่าเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ที่ต้องควบหลายกะหรือไม่ จนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุดังกล่าว

ล่าสุด วันนี้ (25 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปที่ศาลาสวดพระอภิธรรมศพ ภายในวัดชัยชุมพลชนะสงคราม พระอารามหลวง (วัดใต้) ต.บ้านใต้ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี ซึ่งเป็นสถานที่ จัดงานศพของคุณหมอมีน และได้พูดคุยกับ นายนิธาน สืบเชียง อายุ 51 ปี ซึ่งเป็นพ่อของคุณหมอมีน โดยคุณพ่อของหมอมีน ยังคงอยู่ในอาการเสียใจจากการสูญเสียลูกสาวในครั้งนี้

โดยคุณพ่อของหมอมีน เล่าถึงเหตุการณ์ก่อนที่ลูกสาวจะประสบอุบัติเหตุจนเสียชีวิตว่า ลูกสาวเป็นนักเรียนทุนของมหาวิทยาลัยมหิดล และได้เป็นแพทย์อินเทิร์นปี 1 ที่โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา ซึ่งหลังจากปฏิบัติหน้าที่เข้าเวรในวันศุกร์ที่ 23 มิถุนายนที่ผ่านมา เสร็จเรียบร้อยในเวลา 16.00 น. คุณหมอมีน ได้ขับรถออกจากโรงพยาบาล มุ่งหน้าไปพื้นที่อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อจะไปดูสถานที่ของสถานพยาบาลสมเด็จพระบารมี และโรงพยาบาลหนองปรือ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลในพื้นที่ห่างไกล อยู่ห่างจากตัวจังหวัดกาญจนบุรีกว่า 100 กิโลเมตร ซึ่งคุณหมอมีน มีความตั้งใจที่จะไปปฏิบัติหน้าที่เป็นแพทย์อินเตอร์ปี 2 ที่โรงพยาบาล 1 ใน 2 แห่งนี้ในปีหน้า

หลังออกเวรจึงได้ตัดสินใจมุ่งหน้าไปดูสถานที่ของโรงพยาบาลทั้ง 2 แห่ง เพื่อประกอบการตัดสินใจว่าจะไปปฏิบัติหน้าที่ที่โรงพยาบาลใด ก่อนที่จะประสบอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บสาหัส และเสียชีวิตในเวลาต่อมา

คุณพ่อของหมอมีน กล่าวว่า ลูกสาวเป็นคนที่ตั้งใจทำงาน บางครั้งเข้าเวรติดต่อกันจนไม่ได้กลับบ้าน ส่วนในวันก่อนเกิดเหตุนั้น คุณหมอมีน ได้เข้าเวรติดต่อกันหลายกะเหมือนอย่างที่มีการกล่าวอ้างหรือไม่นั้นตนไม่ทราบ ทราบเพียงว่าหมอมีน มีความตั้งใจที่จะไปปฏิบัติหน้าที่ในโรงพยาบาลพื้นที่ห่างไกลเพื่อช่วยเหลือประชาชนให้สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้ดีขึ้น

ตนในฐานะที่เป็นพ่อของหมอมีน อยากจะฝากไปถึงผู้บริหารของกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงโรงพยาบาลให้ดูแลจัดตารางเวรการปฏิบัติงานของหมอทุกคนให้มีความเหมาะสม ไม่ให้ปฏิบัติหน้าที่ติดต่อกันจนร่างกายเกิดอาการเหนื่อยล้าอ่อนเพลียจนรับไม่ไหว แต่ในส่วนของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับลูกสาวของตนนั้น ตนคิดว่าอาจจะมาจากเรื่องของการไม่ชำนาญเส้นทางมากกว่าความอ่อนเพลียของร่างกายที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่

25 มิ.ย. 2566 ผู้จัดการออนไลน์


story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9763
    • ดูรายละเอียด
รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ รพ.พหลพลพยุหเสนา ชี้แจงกรณี "หมอมีน" ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต ระบุเข้าเวรปกติ อยู่เวร 3-4 เวรต่อเดือน ตกประมาณสัปดาห์ละ 1 วัน ชี้ต้องอยู่เพื่อเป็นการเรียนรู้การทำงานในโรงพยาบาลระดับนี้ พร้อมเตือนแพทย์ทุกท่านต้องพักผ่อนให้เพียงพอ อย่าฝืนขับรถทางไกล

จากกรณี หมอมีน พญ.ญาณิศา สืบเชียง แพทย์อินเทิร์นปี 1 ของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จ.กาญจนบุรี ที่ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ได้รับบาดเจ็บสาหัส เมื่อช่วงเย็นวันที่ 23 มิ.ย.ที่ผ่านมา ก่อนจะเสียชีวิตลง เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. ขณะที่ทางแพทยสภาจะขอประสานข้อมูลว่าเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานอย่างไรหรือไม่ ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น

ความคืบหน้าเมื่อเวลา 12.00 น. วันที่ 25 มิถุนายน 2566 ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไป รพ.พหลพลพยุหเสนา ต.ปากแพรก อ.เมือง จ.กาญจนบุรี เพื่อสอบถาม เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของ หมอมีน พญ.ญาณิศา สืบเชียง ได้รับการเปิดเผยจาก นายแพทย์รักษ์พงษ์ เวียงเจริญ รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ รพ.พหลพลพยุหเสนา ทางวิดีโอคอล ระบุว่า

ก็ตามที่มีข่าวนี้ ผมได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการได้ให้ข้อมูลเบื้องต้น ก็มี 2 กรณี กรณีแรกคือการทำงานของแพทย์จบใหม่โดยทั่วไปที่โรงพยาบาล กรณีที่สอง คือกรณีการเกิดเหตุ กรณีแรกคือโรงพยาบาลพหลฯ คือโรงพยาบาลจังหวัด ก็เป็นสถานที่ที่แพทย์จบใหม่จะมาฝึกทักษะ คือตามศักยภาพของโรงพยาบาลเรารับได้ 30 คน แต่ปีนี้ได้รับจัดสรรจากกระทรวง 14 คน ก็เนื่องจากห่วงเรื่องปัญหาภาระงานต่างๆ ทางโรงพยาบาลก็ได้จ้างแพทย์เพิ่ม เป็นแพทย์ที่จบจากมหาวิทยาลัยเอกชนอีก 7 คน ก็รวมเป็น 21 คน อันนี้ก็คือแนวทางที่โรงพยาบาลปรับตัวเพื่อที่จะให้แพทย์ไม่ทำงานหนักเกินไป แล้วแพทย์มาทำอะไรที่นี่บ้าง ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการฝึกเรียนรู้ในเรื่องของการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงานในโรงพยาบาลต่างจังหวัด ส่วนใหญ่คุณหมอก็จะจบจากโรงเรียนแพทย์ต่างๆ

ซึ่งที่ผ่านมาเราก็ดูแลในเรื่องของการทำงานร่วมกับแพทย์ประจำ มีแพทย์เฉพาะทางสาขาต่างๆ ที่น้องๆ ต้องเรียนรู้ร่วม อีกเรื่องจะเป็นเรื่องการอยู่เวรที่จะเป็นประเด็นที่มีความห่วงใยว่าน้อง อยู่เวรเยอะไปรึเปล่า ปัจจุบันเราไม่ได้ให้น้องๆ อยู่เวรคนเดียว ก็จะให้แพทย์จบใหม่อยู่ร่วมกับแพทย์เฉพาะทาง เช่นที่ห้องฉุกเฉินก็จะมีแพทย์เฉพาะทางฉุกเฉินอยู่ด้วยตลอดทุกเวร เพราะฉะนั้นทุกสาขาหลักไม่ว่าจะเป็น ศัลยกรรม อายุรกรรม ก็จะมีแพทย์คอยอยู่ให้คำปรึกษาตลอด รวมทั้งแพทย์ประจำบ้าน และนักศึกษาแพทย์จากศิริราชด้วย

สำหรับน้องที่จบมาซึ่งอยู่แผนกศัลยกรรม ซึ่งมีแพทย์ที่ฝึกทักษะอยู่ด้วยกัน 4 คน เพราะฉะนั้นน้องอยู่ประมาณเวร 3 ถึงเวร 4 ทุกๆ 4 วัน และก็มีเวรฉุกเฉิน ซึ่งมีน้องอยู่ 21 คน ก็จะอยู่ประมาณ 3 ถึง 4 เวรต่อเดือน ก็ตกประมาณสัปดาห์ละ 1 วัน และประเด็นเรื่องเวร ก็อาจจะต้องอยู่เพื่อเป็นการเรียนรู้การทำงานในโรงพยาบาลระดับนี้ แต่ก็มีการทำงานร่วมกับแพทย์สตาฟฟ์และแพทย์ประจำบ้าน อันนี้คือประเด็นที่ 1 การทำงานทั่วไปที่โรงพยาบาลจะปรับตัวเพื่อให้แพทย์ทำงานได้เหมาะสมที่สุด

นายแพทย์รักษ์พงษ์ กล่าวต่อว่า ทีนี้ประเด็นของคุณหมอที่เกิดอุบัติเหตุ คุณหมออยู่แผนกศัลยกรรม ก็ได้อยู่เวรในคืนวันที่ 21 คือคืนก่อนหน้า แต่ว่าเมื่อได้ตรวจสอบแล้ว ในคืนนั้นก็มีผู้ป่วยไม่มากนัก มีผู้ป่วยรับใหม่ 3 คน ประมาณเที่ยงคืนก็ได้รายงานแพทย์สตาฟฟ์ หรือแพทย์ฉุกเฉิน เราไม่ได้เข้าผ่าตัดเอง ก็อันนั้นเป็นงานในคืนนั้น และก็วันรุ่งขึ้นน้องมาทำงานที่วอร์ดอุบัติเหตุ ซึ่งมีคนไข้อยู่ประมาณ 15 คน มาทำงานอยู่กับสตาฟฟ์และแพทย์ประจำบ้านที่จะมาคอยดูคนไข้และก็เซตผ่าตัดอะไรต่างๆ

และก็การเกิดเหตุของคุณหมอ ก็คือเกิดจากหลังเลิกงานในวันนั้น ซึ่งเป็นภารกิจส่วนตัว เข้าใจว่าไปพบเพื่อนร่วมงานอีกโรงพยาบาลหนึ่ง ก็อาจไปเกิดอุบัติเหตุในต่างอำเภอ และก็มีการบาดเจ็บหลายแห่ง ก็ได้ส่งตัวเข้ามารักษาที่โรงพยาบาลพหลฯ ก็เกิดเหตุประมาณเย็นๆ ก็ได้มีการช่วยเหลือเบื้องต้นที่โรงพยาบาลนั้น และก็ต้องแวะรักษาเพิ่มเติมในการให้เลือดที่โรงพยาบาลระหว่างทางและก็มาถึงโรงพยาบาลพหลฯ ประมาณ 3 ทุ่ม และก็เข้าผ่าตัดประมาณ 4 ทุ่ม และคุณหมอก็เสียชีวิตในวันรุ่งขึ้น ได้มีการบาดเจ็บหลายอวัยวะ ทางทีมแพทย์ซึ่งเป็นอาจารย์ของน้องเองก็เข้าร่วมผ่าตัด ไม่ว่าจะเป็นคุณหมอศัลยกรรม คุณหมอกระดูก คุณหมอประสาท ก็ได้ช่วยกันดูแลจนสุดความสามารถ หลังผ่าตัดก็มีอาการหนักอยู่ และเสียชีวิตในวันรุ่งขึ้นประมาณเที่ยง ทางโรงพยาบาลก็แสดงความเสียใจอย่างยิ่ง ในการดูแลหลังจากนี้เราก็ได้ทบทวนงานทั้งหมด เพื่อจะนำไปปรับปรุงดูแลแพทย์ที่อยู่ในความดูแลของเรา

ประเด็นสำคัญในเรื่องงาน ในเรื่องการเรียนรู้ของแพทย์ก็มีความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ทั้งในเวลาและนอกเวลา แต่ว่าในเรื่องของภาระงานทางโรงพยาบาล ทางกระทรวงสาธารณสุข ก็ต้องพิจารณาให้เหมาะสม และการดูแลร่วมกันระหว่างแพทย์แต่ละสาขาที่มีความเชี่ยวชาญที่หลากหลาย ก็ทางโรงพยาบาลก็พยายามปรับภาระงานแต่ก็ต้องสอดคล้องกับแพทย์ที่ทางกระทรวงจัดสรรด้วย เรื่องของการพักผ่อนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นห้องพักในโรงพยาบาลและเวลาพักผ่อนของแพทย์ อันนี้ก็เป็นสิ่งที่โรงพยาบาลจัดไว้แล้ว และในเรื่องภารกิจส่วนตัวต่างๆ เช่นการจะต้องขับรถไปที่ไหนอันนี้ก็คงจะเป็นอิสระของแพทย์แต่ละท่าน ในส่วนที่โรงพยาบาลทำได้คือให้คำแนะนำว่าไม่ควรขับรถเดินทางไกลคนเดียว ไม่ใช่ว่าจะเป็นการเดินทางที่สะดวกสบายเท่าไหร่ เนื่องจากว่าเป็นอีกอำเภอหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นพื้นที่ที่ถนนหนทางไม่ค่อยดีนักก็อาจจะต้องไปปรับปรุง คุณหมอที่ทำงานในโรงพยาบาลต่างอำเภอที่ห่างไกลก็อาจจะต้องดูแลเรื่องนี้ และอย่างน้อยก็ต้องมีการพักผ่อนที่เพียงพอ

“ความสูญเสียระดับชาติแน่นอน เพราะคุณหมอเพิ่งจบมาเรียน 6 ปี และคุณหมอเป็นแพทย์ในโครงการหนึ่งแพทย์หนึ่งอำเภอ ซึ่งเป็นคนเมืองกาญจน์แท้ๆ ตั้งใจกลับมาทำงานในพื้นที่ ซึ่งมาทำงานได้ไม่ถึงเดือนก็อาจจะต้องมีการปรับตัวเรื่องถนนหนทาง เรื่องอะไรต่างๆ อาจจะไม่ชำนาญ อันนี้ก็เป็นความสูญเสียที่ไม่น่าเกิด ทางโรงพยาบาล ทางทีมงานแพทย์ทุกคนก็เห็นใจเป็นอย่างยิ่ง”

“เนื่องจากน้องเป็นข้าราชการ ก็ได้รับสิทธิ์ข้าราชการและเรื่องของการดูแลเรื่องค่ารักษา เรื่องครอบครัว เรื่องงานศพ ตอนนี้ก็อยู่ในระหว่างการดำเนินการ ทางโรงพยาบาลก็รับเป็นเจ้าภาพให้ตลอด” นายแพทย์รักษ์พงษ์ กล่าวท้ายสุด

ส่วน ทางด้านนายนิธาร สืบเชียง บิดาของหมอมีน เปิดเผยว่า “ตนได้คุยกับลูกสาวครั้งสุดท้ายทางไลน์ ลูกสาวสอบถามเส้นทางจากท่าม่วงไปหนองปรือ กับเมืองกาญจน์ไปหนองปรือ อันไหนใกล้กว่ากัน โดยปกติลูกสาวจะให้ตนขับพาไป”

25 มิ.ย. 2566
ไทยรัฐออนไลน์

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9763
    • ดูรายละเอียด
เผยแชทความตั้งใจสุดท้าย "หมอมีน" คุณหมอจิตใจงดงาม ก่อนประสบอุบัติเหตุจนเสียชีวิต ด้านคุณพ่อยังคงโศกเศร้า ยันลูกสาวตั้งใจที่จะไปปฏิบัติหน้าที่ในโรงพยาบาลพื้นที่ห่างไกลเพื่อช่วยเหลือประชาชนอย่างแท้จริง
อีกหนึ่งรายงานข่าวเศร้า หมอมีน หรือ แพทย์หญิงญาณิศา สืบเชียง ที่ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ที่บริเวณแยกมอตาเขียว ตำบลสมเด็จเจริญ อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี จนได้รับบาดเจ็บสาหัสหลังจากออกเวร เมื่อช่วงเวลา 16.00 น. วันศุกร์ 23 มิถุนายน และเสียในวันที่ 24 มิถุนายน ที่ผ่านมา 

แชทสุดท้าย
หมอมีน...."พ่อ" จากท่าม่วงไปหนองหรือ กะกาญไปหนองปรือ อันไหนใกล้กว่ากัน
          จะไปออก รพช  ไปทางไหนงะ ไปเองได้มะ
          ถ้าไปทางเขาทะลุบ่อพลอยได้ปะพ่อ

พ่อหมอมีน...ได้ได้ ทางห้วยสะพาน ข้ามเขาไปบ่อพลอย

หมอมีน....แล้วไปไงต่อ พอทะลุเข้าบ่อพลอยแล้ว มันใกล้กว่าใช่มะถ้ากะไปทางลาดหญ้า

พ่อหมอมีน...ใกล้กว่าเยอะ จากบ้านเรา   
           ทะลุบ่อพลอย ตรงไปอย่างเดียว
           อ.หนองปรือ น่ะ



โดยหมอมีนแพทย์จบใหม่ที่เพิ่งเริ่มงานวันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา ในตำแหน่งแพทย์เพิ่มพูนทักษะ โรงพยาบาลพหลพลพายุหาเสนา อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี  โดยทางแพทย์สภาฯ เตรียมตรวจสอบว่าเกี่ยวกับการปฎิบัติหน้าที่ที่ต้องควบหลายกะหรือไม่จนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิอุบัติเหตุดังกล่าว

ทางด้านคุณพ่อของหมอมีน หรือ นายนิธาน สืบเชียง อายุ 51 ปี ยังคงอยู่ในอาการโศกเศร้าเสียใจจากการสูญเสียลูกสาวสุดที่รักไปในครั้งนี้ คุณพ่อของหมอมีนได้กล่าวว่า

ลูกสาวของตนเองเป็นคนที่ตั้งใจทำงาน บางครั้งก็เข้าเวรติดต่อกันจนไม่ได้กลับบ้าน

ส่วนในวันก่อนเกิดเหตุนั้น คุณหมอมี ได้เข้าเวรติดต่อกันหลายกะเหมือนอย่างที่มีการกล่าวอ้างหรือไม่นั้น ตนเองก็ไม่ทราบ ทราบเพียงว่าหมอมีนมีความตั้งใจที่จะไปปฏิบัติหน้าที่ในโรงพยาบาลพื้นที่ห่างไกลเพื่อช่วยเหลือประชาชนให้สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้ดีขึ้น

หลังออกเวรจึงได้ตัดสินใจ มุ่งหน้าไปดูสถานที่ของโรงพยาบาลทั้ง 2 แห่งเพื่อประกอบการตัดสินใจว่าจะไปปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่โรงพยาบาลใดก่อนที่จะประสบอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิตในเวลาต่อมา

‘พ่อหมอมีน’ ฝากถึงผู้บริหาร สธ.จัดตารางเวรหมอให้สอดคล้องกับสภาพร่างกาย ส่วนอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับลูกสาว คาดไม่ชำนาญเส้นทาง ขณะที่ หน.หมวดทางหลวงบ่อพลอยลงพื้นที่ตรวจสอบเพื่อหาแนวทางแก้ไข

จากกรณี พญ.ญาณิศา สืบเชียง หรือ หมอมีน แพทย์อินเทิร์นปี 1 ของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จ.กาญจนบุรี ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ก่อนจะเสียชีวิตเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน บุคลากรทางการแพทย์ได้ออกมาแสดงความอาลัย รวมถึงตั้งข้อสังเกตว่า หมอมีน ซึ่งเป็นแพทย์จบใหม่ต้องเข้าเวรควบกะหลายชั่วโมงติดต่อกันจนร่างกายอ่อนเพลีย ก่อนจะขับรถไปประสบอุบัติเหตุจนเสียชีวิต ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) รวมถึงโรงพยาบาลต้นสังกัดไม่ควรให้บุคลากรทางการแพทย์ทำงานหนักจนพักผ่อนไม่พอ อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุและเสียชีวิตหรือไม่นั้น

เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2566 ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองผักแว่น ต.สมเด็จเจริญ อ.หนองปรือ จ.กาญจนบุรี พบกับ นายนิพนท์ เจ้าหน้าที่ของหน่วยปฏิบัติการแพทย์ระดับพื้นฐาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองผักแว่น ซึ่งเป็นผู้เข้าไปช่วยเหลือ

นายนิพนท์ เปิดเผยว่า

จุดเกิดเหตุอยู่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 15-16 เนินซอยหมู่ 6 เขย จากนั้นจึงนำรถฉุกเฉินพร้อมกำลังรุดไปที่เกิดเหตุเพื่อทำการช่วยเหลือ เมื่อถึงที่เกิดเหตุพบควันพุ่งขึ้นมาจากหน้ารถจำนวนมาก เกรงว่ารถจะระเบิดจึงรีบนำผู้บาดเจ็บออกจากตัวรถ นำส่งโรงพยาบาลหนองปรือ

ช่วงแรกตนเองไม่ทราบว่าผู้บาดเจ็บเป็นใคร และไม่คิดว่าเป็นแพทย์ จนมาตรวจภายในรถแล้วพบเสื้อกาวน์ มีชื่อเป็น พญ.ญาณิศา สืบเชียง หรือ คุณหมอมีน หมอสาวอายุ 23 ปี ที่ขับรถมาเพียงผู้เดียว

นายวรรณเฉลิม จันทร์เมือง หัวหน้าหมวดทางหลวงบ่อพลอย ลงพื้นที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจไปตรวจสอบจุดเกิดเหตุเพื่อหาแนวทางปรับปรุง รวมถึงติดป้ายบอกเส้นทางให้มากกว่าเดิม พร้อมกันนี้จะดำเนินการจัดหางบประมาณตั้งไฟกะพริบเตือนให้ผู้ใช้รถใช้ถนนทราบ เนื่องจากประชาชนในพื้นที่จะทราบเส้นทางดี แต่หากคนนอกพื้นที่ โดยเฉพาะถนนเส้นนี้มีจุดท่องเที่ยวสำคัญ ๆ กว่า 10 แห่ง อาจไม่ชำนาญเส้นทางทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

นายวรรณเฉลิมกล่าวว่า จุดดังกล่าวเกิดอุบัติเหตุหลายครั้งแล้ว มีทั้งบาดเจ็บและเสียชีวิต ล่าสุดต้องเสียบุคลากรคือ พญ.ญาณิศา ฝากแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้สูญเสียด้วย และจะเร่งดำเนินการนำป้ายมาติดตั้งเพิ่มเป็นการเร่งด่วนต่อไป

ผู้สื่อข่าวเดินทางไปที่วัดไชยชุมพลชนะสงคราม (วัดใต้) ต.บ้านใต้ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี สถานที่จัดงานสวดพระอภิธรรม พญ.ญาณิศา หรือหมอมีน พร้อมพูดคุยกับ นายนิธาน อายุ 51 ปี บิดาของหมอมีน ซึ่งยังอยู่ในอาการโศกเศร้า

ลูกสาวเป็นนักเรียนทุนของมหาวิทยาลัยมหิดล และได้เป็นแพทย์อินเทิร์นปี 1 ที่โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา หลังจากเข้าเวรวันที่ 22 มิถุนายน เสร็จเรียบร้อยในเวลา 16.00 น. ลูกขับรถออกจากโรงพยาบาลมุ่งหน้าไป อ.หนองปรือ จ.กาญจนบุรี เพื่อไปดู รพ.สมเด็จพระบารมี และ รพ.หนองปรือ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลในพื้นที่ห่างไกล อยู่ห่างจากตัว จ.กาญจนบุรี กว่า 100 กิโลเมตร

นายนิธาน กล่าวว่า

ลูกสาวมีความตั้งใจจะไปปฏิบัติหน้าที่เป็นแพทย์อินเทิร์นปี 2 ที่โรงพยาบาล 1 ใน 2 แห่งดังกล่าว หลังออกเวรจึงมุ่งหน้าไปดูสถานที่ของโรงพยาบาลทั้ง 2 แห่ง เพื่อประกอบการตัดสินใจว่าจะไปปฏิบัติหน้าที่อยู่โรงพยาบาลใด ก่อนจะประสบอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิตในเวลาต่อมา

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมอีกว่า

หมอมีน หรือ พญ.ญาณิศา เป็นแพทย์จบใหม่ 2566 เพิ่งจะเข้าปฏิบัติงานได้เพียง 23 วัน ก็มาประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต

จับตาอีกประเด็นร้อนๆ ที่สังคมให้ความสนใจ

พล.อ.ท.นพ.อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา โพสต์เฟซบุ๊ก “Ittaporn Kanacharoen” ระบุว่า

“คุณหมอลงเวร ถ้าง่วงโปรด #หลีกเลี่ยงการขับรถเอง ถ้าจำเป็น #ควรงีบก่อน อย่าฝืน..อันตรายจริงๆ”

นอกจากนี้ ยังโพสต์ด้วยว่า ขอท้องถิ่นช่วยแก้ไข อย่ารอให้เกิดครั้งต่อไป

ก่อนหน้านี้ พล.อ.ท.นพ.อิทธพร ได้โพสต์ข้อความระบุว่า

“การที่อยู่เวรยาวนาน ของแพทย์จะส่งผลให้เกิดความผิดพลาดได้ง่ายเพราะ Human error แพทยสภาจึงจำกัดเวลาการทำงานนอกเวลาของแพทย์เริ่มที่แพทย์เพิ่มพูนทักษะ ที่อยู่ในการดูแลของแพทยสภา ไม่ให้เกินสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง และ เป็นข้อแนะนำสำหรับทุกสังกัดหน่วยงาน ที่ควรจำกัดเช่นกันหากยังเกินอยู่ และควรพัฒนาเป็นกฎหมายในอนาคต ทั้งนี้สถานพยาบาลนั้น จะต้องรีบบรรจุให้มีแพทย์เพียงพอ ในการสลับเวร เพื่อดูแลประชาชนเสียก่อน

ขอขอบคุณทาง สธ. และ ภาครัฐที่ให้ความสำคัญ ขึ้นมาแก้ไขปัญหานี้ร่วมกันในการ ผลิต และหาตำแหน่งบรรจุให้กับแพทย์ ในการดูแลผู้ป่วย หวังว่าระบบจะดีขึ้นเรื่อยๆและเข้าสู่มาตรฐาน ที่ควรจะเป็นโดยเร็วครับ

26 มิถุนายน 2566
เนชั่นออนไลน์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 มิถุนายน 2023, 21:13:57 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9763
    • ดูรายละเอียด
สืบเนื่องจาก ข่าวคุณหมอมีน หมออินเทิร์น ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตหลังออกเวร และมีการเผยข้อมูลว่าหมอมีนทำงานเข้าเวรติดกัน 4 กะ ติด ๆ กันกว่า 72 ชั่วโมง ล่าสุด เพจดังตีแผ่ชีวิต "หมออินเทิร์น" งานหนัก หามรุ่งหามค่ำ เผย หากระบบดีจะไม่ต้องมีใครทำงานหนักเพราะเป็นคนดี
 
โดยทางเพจดัง ระบุเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ขอเขียนด้วยความเคารพค่ะ ปัจจุบัน หมอไทยโดยเฉพาะน้อง ๆ อินเทิร์นโดยทั่วไปทำงานเดือนละสามสิบ-สามสิบเอ็ดวันไม่มีวันหยุด เสาร์อาทิตย์ ส่วนใหญ่แม้ไม่ได้อยู่เวรเริ่มเช้าเลิกบ่าย เป็นแบบนี้ทั้งปี 

ลองสมมุติว่า หมอสองคนสลับเวร คนละสิบห้าเวร แปลว่า เดือนนึงทำงาน ในเวลาถึง16.00 ถ้าเคลียร์เคสไม่จบ ต้องทำให้จบทั่วๆไปเลยเสร็จ สองสามทุ่ม ทุกวัน เสาร์อาทิตย์มาทำงานเช้า เสร็จเที่ยงนี่ไปแก้บนแล้ว ทีนี้ถ้าอยู่เวรแปลว่าข้ามวันข้ามคืนเลย แปลว่าเอาจริงๆ หมอทั่วไป ทำงานทุกวัน ทั้งเดือน ทั้งปี ไม่มีใครอยากรับเวรเพื่อเงิน แต่คนไม่มีก็จำเป็นต้องอยู่ เพราะไม่อยู่ไม่มีใครทำแทน ไม่นับงานในเวลา แต่ความเร่งด่วนกดทับ ความเครียดสะสม เจ็บไข้ไม่สบาย เกินร่างกายมนุษย์ปกติรับไหว ปีๆหนึ่ง หมอขับรถชนเสียชีวิต หลายราย จบแค่ให้ระวัง…ถ้าให้หมอนอนพัก หมอผู้หญิงห้องพักพอไหม

ตอนปีห้า เรานอนห้องพักแพทย์หญิงครึ่งเดือน กลางห้องอายุรกรรมชายและอื่นๆอีกมาก แพทย์ส่วนใหญ่ ไม่ได้ขออะไรมากมาย ถึงขั้นขอ รถรับส่ง แต่อย่างน้อยขอความเข้าใจและเคารพให้เกียรติในฐานะ คนทำงาน ก็เพียงพอแล้วค่ะ

ระบบที่ดี จะไม่มีใครต้องทำงานเพราะ "เป็นคนดี"


Thainewsonline
26มิย2566

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9763
    • ดูรายละเอียด
วันนี้ (26 มิถุนายน 2566) พญ.อัจฉรา นิธิอภิญญาสกุล ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เขตสุขภาพที่ 5 กล่าวถึงกรณี พญ.ญาณิศา สืบเชียง หรือ หมอมีน แพทย์เพิ่มพูนทักษะ (อินเทิร์น) ปี 1 โรงพยาบาล (รพ.) พหลพลพยุหเสนา จ.กาญจนบุรี ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ได้รับบาดเจ็บสาหัสก่อนเสียชีวิตในเวลาต่อมา ว่า สธ. และ รพ.พหลพลพยุหเสนา ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวของ พญ.ญาณิศา รวมถึงประชาชนชาว จ.กาญจนบุรี ที่ต้องเสียแพทย์ที่จะมาช่วยเหลือดูแลสุขภาพ เนื่องจาก พญ.ญาณิศา เป็นชาว จ.กาญจนบุรี ที่เข้ารับการศึกษาตามโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท ซึ่งเมื่อจบแล้วจะกลับไปทำงานที่บ้านเกิดเพื่อดูแลประชาชนในพื้นที่

“เหตุการณ์ครั้งนี้ นับเป็นความสูญเสียครั้งใหญ่ที่ไม่มีใครคาดคิด ทั้งนี้ ต้องขอบคุณเจ้าหน้าที่ รพ.พหลพลพยุหเสนา ทุกคนที่พยายามช่วยชีวิต พญ.ญาณิศา อย่างเต็มความสามารถ โดย สธ.และ รพ.พหลพลพยุหเสนาจะให้การดูแลเรื่องต่างๆ ตามสิทธิต่อไป ส่วนสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุนั้น ต้องรอการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง” พญ.อัจฉรากล่าว

ผู้ตรวจราชการ สธ.เขตสุขภาพที่ 5 กล่าวต่อไปว่า นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัด สธ. มีนโยบายให้ความสำคัญกับการดูแลบุคลากรทุกวิชาชีพให้มีคุณภาพชีวิตและการทำงานที่เหมาะสม ในส่วนของแพทย์อินเทิร์น ได้มีการกำชับผู้อำนวยการโรงพยาบาลทุกแห่ง และองค์กรแพทย์ให้ช่วยดูแลเรื่องการจัดเวรและภาระงานให้เหมาะสมเช่นกัน รวมทั้งจะมีการปรับปรุงกฎระเบียบ พัฒนาระบบต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น โดยในวันนี้ ตนจะเป็นผู้แทน สธ. ไปร่วมงานสวดพระอภิธรรมของ พญ.ญาณิศา เพื่อแสดงความเสียใจและให้การดูแลทางครอบครัวต่อไป

มติชน
26มิย2566