ผู้เขียน หัวข้อ: ผ่าร่างกฎหมายคุ้มครองผู้เสียหายฯจุดยืนต่างขั้ว “หมอ-ประชาชน”‏  (อ่าน 2328 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9772
    • ดูรายละเอียด


สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย -  คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย(คปก.)จัดประชุมรับฟังความเห็นต่อร่างกฎหมายที่ประชาชนเข้าชื่อ 2 ฉบับว่าด้วยการคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข โดยได้เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องประกอบ ด้วยพญ.อรพรรณ์ เมธาดิลกกุล รองประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย (สผพท.) ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานเข้าชื่อเสนอกฎหมายร่างพรบ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากระบบบริการสาธารณสุข พ.ศ....นางสาวปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ในฐานะคณะทำงานเข้าชื่อเสนอกฎหมายร่างพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ....

นอกจากนี้ได้เชิญผู้แทนจากแพทยสภา ประกอบด้วยศ.คลินิก นพ.อำนาจ กุสลานันท์ นายกแพทยสภา และกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(บอร์ด สปสช.)  นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ ศัลยแพทย์สมองและระบบประสาท และผู้เชี่ยวชาญกฎหมายการแพทย์  นาวาเอก(พิเศษ)นายแพทย์อิทธพร คณะเจริญ ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา และนพ.วิสุทธิ์ ลัจฉเสวี ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา รวมถึงผู้แทนจากกระทรวงสาธารณสุข นำโดยนพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ร่วมอภิปรายและให้ความเห็นเกี่ยวกับร่างพรบ.ดังกล่าวด้วย  ทั้งนี้คปก.จะประมวลข้อมูลเพื่อเสนอความเห็นต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

พญ.อรพรรณ์ เปิดเผยว่า  ร่างกฎหมายภาคประชาชน มีเจตนาที่มุ่งร้ายต่อสังคมไทย หากพิจารณาตามมาตรา 50 ระบุระหว่างที่ยังไม่คณะกรรมการให้มีคณะกรรมการเฉพาะกิจ ให้มีเอ็นจีโอ 5 คนและผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งพ.ร.บ.สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พ.ร.บ.การสร้างเสริมสุขภาพ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ร.บ. คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ พ.ร.บ.สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ร.บ.รับรองสถานพยาบาล และร่าง พ.ร.บ.ภาคประชาชน จึงไม่มีความยึดโยงกับภาคประชาชนผู้แทนที่มาจากเอ็นจีโอก็ไม่มีข้อบ่งชี้ว่าจะเป็นผู้แทนของประชาชนอย่างแท้จริงนอกจากนี้ยังพบว่าในพรบ.ดังกล่าวไม่ได้ให้อำนาจกับรัฐมนตรีทำให้การบริหารราชการแผ่นดินไม่บรรลุเป้าหมาย จึงเห็นว่าควรเพิกถอน พ.ร.บ. ข้างต้นทั้งหมดเนื่องจากไม่มีความจำเป็นและมองว่าระบบเดิมดีอยู่แล้ว หากพบบกพร่องตรงจุดใดก็ให้แก้ไขตรงนั้นเป็นกรณีไป ดังนั้นจึงขอให้ คปก.พิจารณาทบทวน พ.ร.บ. ข้างต้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2535อีกครั้ง 

“สังคมไทยต้องพิจารณาความรับผิดที่เป็นการจำเพาะ มาตรฐานวิชาชีพสังคม โดยขณะนี้มี พ.ร.บ.วิชาชีพแล้วแม้จะล่าช้าแต่เทียบกับความเป็นธรรม กฎหมายแพ่งและอาญายังทำหน้าที่ได้ ซึ่งหากเป็นเจ้าหน้าที่รัฐก็สามารถใช้พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดฯได้ ขณะที่ความเสียหาย ความบกพร่องทางการรักษา มาตรฐานของภาวะวิสัยในสังคม กล่าวถึงคนให้เป็นโทษเกินจริงเพียงเพราะอยากตั้งกองทุน คณะกรรมการสามารถสั่งจ่ายได้ตามแต่กำหนด อีกทั้งยังมีการบังคับค่าชดเชยค่าเสียหาย ดอกเบี้ย รวมถึงยึดสถานพยาบาล ตรงจุดนี้รับไม่ได้” พญ.อรพรรณ์ กล่าว

นางสาวปรียานันท์  กล่าวว่า  เมื่อเกิดความเสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์ ไม่ปรากฏความรับผิดชอบที่น่าพอใจภาระตกอยู่กับประชาชนผู้รับบริการ แม้ว่าประชาชนผู้เสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์จะใช้กระบวนการทางกฎหมายเพื่อร้องขอความเป็นธรรม ทั้งอาศัยพ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ ยังเกิดปัญหาความไม่เป็นธรรม ความไม่เสมอภาค และมีภาระการพิสูจน์ กระบวนการพิจารณา การไกล่เกลี่ย ภาระจึงตกแก่ผู้เสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์ทั้งสิ้น จึงเห็นควรให้ยกร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ.... เพื่อชดเชยผู้เสียหายจากการใช้บริการสาธารณสุข และ เพื่อลดการฟ้องร้องของผู้ป่วยต่อแพทย์และสถานพยาบาล และความขัดแย้งในปัจจุบันโดยเฉพาะการกำหนดวงเงินเยียวยา

“ที่มาเงินกองทุนส่วนหนึ่งจะมาจากเงินสมทบจากสถานพยาบาลเอกชน โดยเรียกเก็บเมื่อต่อทะเบียนใบอนุญาตประจำปี รวมถึงเงินสมทบจากกองทุนประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามาตรา 41 และรัฐบาลจ่ายจากงบประมาณรวม” นางสาวปรียานันท์  กล่าว

ศ.คลินิก นพ.อำนาจ กล่าวว่า เจตนารมณ์ของกฎหมายทางแพทยสภาเห็นด้วยว่าทุกฝ่ายควรได้รับการดูแล ทั้งนี้เห็นว่าควรนำร่างดังกล่าวทำประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความเห็นของทุกภาคส่วนก่อนเพื่อพิจารณาว่าร่างพรบ.ดังกล่าวแก้ปัญหาได้จริงหรือไม่ แต่เบื้องต้นตนเห็นด้วยกับการขยายมาตรา 41 และมีความเห็นว่าแพทยสภามีบทลงโทษแพทย์อยู่แล้ว การทำตามมาตรฐานในทางปฏิบัติทำได้ยากขึ้นกับตัวแปรเช่น สังขารคนไข้ ซึ่งเคยมีแพทย์ถูกลงโทษมาแล้ว แพทย์บางคนก็ตัดสินใจออกจากวิชาชีพไปแล้วบางส่วน

นพ. เมธี  กล่าวว่า  มีข้อสังเกตว่าจุดประสงค์ของร่าง พ.ร.บ.ภาคประชาชนที่เห็นส่วนใหญ่กล่าวอ้างอาจไม่ตรงกับความเป็นจริง ทั้งลดการฟ้องร้อง และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ความเป็นจริงไม่ได้อยู่ที่การเขียนกฎหมาย และวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทา และแก้ปัญหาความเดือดร้อนนั้นทั้งแพทย์ บุคลากรที่ทำงานยังไม่มีใครเอากฎหมายฉบับนี้ หากพิจารณาแล้วร่างพรบ.ภาคประชาชนก็เหมือน พ.ร.บ. สังคมสงเคราะห์ ผิดแล้วสำนึก เปลี่ยนเป็นเรื่องการสังคมสงเคราะห์ ไม่มีผิดถูก แต่ในกฎหมายมีคณะกรรมการพิสูจน์ผิดถูกเต็มไปหมด โดยแพทย์ต่างเป็นห่วงว่าจะให้ผู้ที่ไม่มีความรู้ทางการแพทย์เป็นผู้ตัดสิน

นพ.ธเรศ  กล่าวว่า แพทยสภามีหน้าที่ตรวจสอบผู้ที่ทำผิด ถ้าการกล่าวหากล่าวโทษมีมากขึ้นจะเจอปัญหาการวินิจฉัยอาการของแพทย์ที่มากเกินไปซึ่งไม่เป็นผลดีต่อผู้รับบริการ อย่างไรก็ตามควรเปิดรับฟังความเห็นให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการยกร่างกฎหมาย และไม่ควรจะกำหนดระยะเวลารับฟังความเห็นเพื่อให้กระบวนการครบถ้วน ตั้งแต่กระบวนการยกร่างของรัฐบาลการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนให้มีความรอบคอบในการพิจารณาประเด็นและข้อสังเกตทั้ง12 ประเด็นหลักเช่น

ความครอบคลุมของบทนิยาม รวมถึงที่มาของกรรมการต้องมีการทบทวนองค์ประกอบเนื่องจากยังมีหลายภาคส่วนที่ยังไม่ได้เข้ามาร่วม ขณะเดียวกันสำนักงานเลขาต้องอยู่ภายใต้กระทรวงสาธารณสุข รวมถึงประเด็นเรื่องการเรียกเก็บเงินจากสถานพยาบาล กองทุนสำนักงานสุขภาพ ประกันสังคม ข้าราชการ การพิจารณาการจ่ายเงินช่วยเหลือ  รวมถึงการยุติการดำเนินคดี  การฟ้องคดีอาญาและเมื่อทำระบบดีแล้วจึงค่อยนำกลุ่มสถานพยาบาลนอกระบบเข้าสู่ระบบ

ฐานเศรษฐกิจ  14 มีนาคม 2012