ผู้เขียน หัวข้อ: “หมอณรงค์” ไม่กดดันถูกจี้ปลดปลัด สธ. ยันเสนอจัดสรรงบบัตรทอง ไม่ล้วงลูก สปสช.  (อ่าน 409 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9763
    • ดูรายละเอียด
ปลัด สธ. ไม่กดดันถูกเครือข่ายตั้งธงต้องปลดออก เหตุต้นเหตุความขัดแย้งระบบสาธารณสุข เสนอจัดสรรงบบัตรทองใหม่ไม่ล้วงลูกการทำงาน สปสช. ลั่นหากไม่มีตนทำงาน แต่คน สธ. ตื่นแล้ว รู้ว่า 12 ปีที่ผ่านมาอะไรคือทุกข์ ชี้ตั้งงบเฉพาะแก้ รพ.ขาดทุน ไม่ใช่การแก้ปัญหาระยะยาว
       
       วันนี้ (5 ม.ค.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าประชุมหารือการปรับเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณรายหัวหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ถึงกรณีเครือข่ายผู้ป่วยเสนอให้ปลดตนจากตำแหน่งปลัด สธ. เพราะพยายามล้วงลูก แทรกแซงการบริหารจัดการภายในของ สปสช. ว่า อยากให้ดูข้อเสนอของ สธ. ซึ่งผ่านการร่วมกันคิดของหน่วยบริการสาธารณสุข และผ่านคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง บอร์ด สปสช. ว่า ส่วนใดที่ไปล้วงลูก สปสช. ที่สำคัญคือ ข้อเสนอดังกล่าวก็ไม่ได้มีแนวคิดนำเงินมาไว้ที่เขตสุขภาพ ทั้งนี้ เงินงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวเป็นเงินภาษีที่จัดสรรให้ปีละกว่าแสนล้านบาท ประชาชนต้องจับตาว่างบดังกล่าวจัดสรรไปที่ไหน อย่างไร เพราะเงินนี้ไม่ใช่เงินของบอร์ด สปสช.
       
       “ผมเป็นข้าราชการมีที่มาที่ไป และข้อเสนอของ สธ. ก็ไม่ใช่ผมคิด แต่เป็นคน สธ. ช่วยกันคิด เพราะฉะนั้นไม่กังวลว่าใครจะมากดดัน การหารือในครั้งนี้หากไม่สำเร็จผมก็ทำหน้าที่ของผมต่อไป ซึ่งต่อไปหากไม่มีผมแล้ว สธ. ก็จะยังเดินหน้าข้อเสนอนี้ต่อ เพราะขณะนี้คนใน สธ. ตื่นหมดแล้ว รู้ว่า 12 ปีที่ผ่านมาคืออะไร มีทุกข์อะไร ไม่เชื่อว่าประชาชนอยากเห็นวัฒนธรรมสอยเงินเหมือนที่ผ่านมา ถึงตอนนี้เป็นเรื่องของแนวคิดบริการประชาชนนำเงิน หรือเงินนำบริการ ผมว่าเป็นเรื่องที่รัฐบาลผู้กำหนดนโยบายต้องตัดสินใจ” ปลัด สธ. กล่าว
       
       ด้าน นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัด สธ. กล่าวว่า การหารือในวันนี้ สธ. ยังยืนยันข้อเสนอเดิม โดยมุ่งเน้นเฉพาะงบเหมาจ่ายรายหัว เพื่อให้เงินไปถึงโรงพยาบาลเต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่ได้ไปแตะเงินในส่วนของงบผู้ป่วยเอดส์ ไตวายเรื้อรัง และควบคุมรักษาโรคเรื้อรังแต่อย่างใด นอกจากนี้ ยืนยันว่า ข้อเสนอในการปรับการจัดสรรงบดังกล่าว ไม่ได้ทำให้โรงพยาบาลเกิดปัญหาสภาพคล่องมากกว่าเดิมอย่างที่ สปสช. คิด เพราะเป็นการจัดสรรงบให้โรงพยาบาลที่ขาดสภาพคล่องให้อย่างพอเพียงก่อน ที่สำคัญ ทำให้หน่วยบริการรู้รายได้ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ เพื่อวางแผนการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีโรงพยาบาลประสบภาวะวิกฤตทางการเงินรุนแรงระดับ 7 และมีศักยภาพบริการเพิ่มขึ้น ขณะที่ข้อเสนอแยกงบประมาณโรงพยาบาลขาดสภาพคล่องนั้น ไม่ใช่การแก้ปัญหาในระยะยาว และทั้งระบบที่ต้องการให้มีการบริหารจัดการร่วม

ASTVผู้จัดการออนไลน์    5 มกราคม 2558